โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตะพาบไบคอลโลไซต์และวงศ์ย่อยตะพาบ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ตะพาบไบคอลโลไซต์และวงศ์ย่อยตะพาบ

ตะพาบไบคอลโลไซต์ vs. วงศ์ย่อยตะพาบ

ตะพาบไบคอลโลไซต์ (Bicallosite softshell turtles) เป็นสกุลของตะพาบในสกุล Rafetus (/รา-เฟ-ตุส/) เป็นตะพาบที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ในทวีปเอเชีย เป็นตะพาบขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม มีความยาวกว่า 0.9144 เมตร และมีอายุยืนยาวได้มากกว่า 100 ปี ปัจจุบัน ได้ถูกจำแนกออกเป็น 2 ชนิด โดยอีกชนิดหนึ่งนั้น คือ ตะพาบฮหว่านเกี๊ยม (Rafetus leloii, ชื่อพ้อง R. vietnamensis) มีตัวอย่างที่มีชีวิตที่รับรู้กันในปัจจุบันเพียงตัวเดียวเท่านั้น คือ ที่ทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยม ในประเทศเวียดนาม โดยถือเป็นชื่อพ้องรองของ ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง (Rafetus swinhoei) โดยนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ. วงศ์ย่อยตะพาบ (Soft-shelled turtle) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับเต่า ในวงศ์ใหญ่ Trionychidae หรือ ตะพาบ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionychinae ลักษณะโดยรวมของตะพาบในวงศ์ย่อยนี้ คือ กระดูกฮัยโปพลาสทรอนไม่เชื่อมรวมกับกระดองท้อง และกระดองท้องไม่มีแผ่นกระดูกบริเวณต้นขา มีขนาดตั้งแต่ความยาวกระดองประมาณ 20-25 เซนติเมตร ไปจนถึง 1.5 เมตร หรือเกือบ ๆ 2 เมตร น้ำหนักนับร้อยกิโลกรัม มีพฤติกรรมหากินและอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นท้องน้ำ ว่ายน้ำเพื่อแสวงหาอาหาร เนื่องจากมีลำตัวแบนราบจึงว่ายน้ำได้ดี หรืออาจใช้วิธีการฝังตัวอยู่ใต้โคลนหรือทรายใต้พื้นน้ำเพื่อรอเหยื่อเข้ามาใกล้ บางครั้งอาจฝังตัวในแหล่งน้ำตื้นแล้วโผล่มาแค่ส่วนปลายหัวเพื่อหายใจรวมทั้งใช้ผิวหนังแลกเปลี่ยนแก๊สได้ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำ, ทะเลสาบ, คลอง มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบอาศัยอยู่ในลำธารบนภูเขาด้วย แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ, แอฟริกากลางไปจนถึงแอฟริกาตะวันตก, ทางใต้ของเอเชียไปจนถึงญี่ปุ่น และเกาะนิวกินี มีประมาณ 20 ชนิด ใน 10 สกุล ได้แก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตะพาบไบคอลโลไซต์และวงศ์ย่อยตะพาบ

ตะพาบไบคอลโลไซต์และวงศ์ย่อยตะพาบ มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วงศ์ตะพาบวงศ์ใหญ่ตะพาบและเต่าจมูกหมูสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์อะแนปซิดาเต่า

วงศ์ตะพาบ

วงศ์ตะพาบ (Soft-shelled turtle) เป็นวงศ์ของเต่าจำพวกหนึ่ง ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionychidae ตะพาบ เป็นเต่าที่มีลักษณะเด่นคือ ลำตัวแบน จมูกแหลม กระดองอ่อนนิ่ม มีกระดองหลังค่อนบ้างเรียบแบน กระดองมีลักษณะเป็นหนังที่ค่อนข้างแข็งเฉพาะในส่วนกลางกระดอง แต่บริเวณขอบจะมีลักษณะนิ่มแผ่นกระดองจะปราศจากแผ่นแข็งหรือรอยต่อ ซึ่งแตกต่างจากกระดองของเต่าอย่างสิ้นเชิง ซึ่งขอบที่อ่อนนิ่มนี้เรียกว่า "เชิง" กระดองส่วนท้องหุ้มด้วยผิวหนังเรียบ มีส่วนที่เป็นกระดูกน้อยมาก กระดองจะมีรูปร่างกลมเมื่อ ยังมีขนาดเล็ก และจะรีขึ้นเล็กน้อยเมื่อโตเต็มวัยตั้งแต่คอส่วนบนไปจรดขอบกระดองจะมีตุ่มแข็งเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ คอเรียวยาวและสามารถเอี้ยวกลับมาด้านข้าง ๆ ได้ มีจมูกค่อนข้างยาวแต่มีขนาดเล็กและส่วนปลายจมูกอ่อน ตามีขนาดเล็กโปนออกมาจากส่วนหัวอย่างเห็นได้ชัด มีฟัน ขากรรไกรแข็งแรงและคม มีหนังหุ้มกระดูกคล้ายริมฝีปาก ขาทั้งสี่แผ่กว้างที่นิ้วจะมีพังพืดเชือมติดต่อกันแบบใบพายอย่างสมบูรณ์ มีเล็บเพียง 3 นิ้ว และมีหางสั้น มักอาศัยอยู่ในน้ำมากกว่าบนบก โดยตะพาบสามารถกบดานอยู่ใต้น้ำได้นานกว่าเต่า แม้จะหายใจด้วยปอด แต่เมื่ออยู่ในน้ำ ตะพาบจะใช้อวัยวะพิเศษช่วยหายใจเหมือนปลา เรียกว่า "Rasculavpharyngcal capacity" ตะพาบจัดเป็นเต่าน้ำที่จะพบได้ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืดและน้ำกร่อยในเขตร้อนทุกทวีปทั่วโลก ทั้ง อเมริกาเหนือ, แอฟริกา และเอเชีย ไปจนถึงโอเชียเนีย เมื่อจะวางไข่ ตะพาบจะคลานขึ้นมาวางไข่ในพื้นทรายริมตลิ่งริมน้ำที่อาศัย โดยขุดหลุมแบบเดียวกับเต่าทะเลและเต่าจำพวกอื่นทั่วไป ตะพาบเป็นสัตว์ที่กินสัตว์มากกว่าจะกินพืช โดยหลายชนิดมีอุปนิสัยที่ดุร้ายกว่าเต่า ตะพาบเป็นเต่าที่มนุษย์นิยมนำมาทำเป็นอาหาร โดยเฉพาะซุปในอาหารจีนและอาหารญี่ปุ่น หรืออาหารเกาหลี โดยเชื่อว่าทั้งเนื้อและกระดองเป็นเครื่องบำรุงกำลังและเสริมสมรรถนะทางเพศ โดยตะพาบชนิดที่นิยมใช้เพื่อการบริโภคนี้คือ ตะพาบไต้หวัน (Pelodiscus sinensis) ซึ่งในหลายประเทศได้มีการเพาะเลี้ยงตะพาบไต้หวันเป็นสัตว์เศรษฐกิจรวมทั้งประเทศไทยด้วย สำหรับตะพาบชนิดที่หายากที่สุดในโลก หลายข้อมูลระบุว่าคือ ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง (Rafetus swinhoei) ซึ่งเป็นตะพาบขนาดใหญ่ เป็นสัตว์พื้นเมืองที่พบได้เฉพาะในประเทศจีนและเวียดนามเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันพบเพียง 5 ตัวใน 2 ที่เท่านั้น คือที่สวนสัตว์ในประเทศจีน 4 ตัว และที่ทะเลสาบคืนดาบที่เมืองฮานอย 1 ตัว แต่ในทัศนะของ กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ นักสำรวจธรรมชาติและผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์น้ำและปลาน้ำจืดชาวไทย ที่มีผลงานค้นพบปลาน้ำจืดชนิดใหม่ของโลกหลายชนิด เห็นว่า ตะพาบชนิดที่หายากที่สุดในโลกน่าจะเป็น "กริวดาว" หรือ "ตะพาบหัวกบลายจุด" ซึ่งเป็นตะพาบที่เคยจัดให้เป็นชนิดเดียวกับตะพาบหัวกบ (Pelochelys cantorii) ซึ่งเป็นตะพาบขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย แต่ทว่า กริวดาว นั้น มีความแตกต่างจากตะพาบหัวกบ คือ มีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่บริเวณขอบกระดอง โดยที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามวัย เหมือนตะพาบหัวกบ ซึ่งถึงแม้จะเป็นตะพาบขนาดใหญ่แล้ว แต่ลายจุดนี้ยังคงเห็นได้ชัดเจน ซึ่งกิตติพงษ์ได้ระบุไว้ว่า ตะพาบแบบนี้ไม่ได้พบเห็นมานานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 หรือ..

ตะพาบไบคอลโลไซต์และวงศ์ตะพาบ · วงศ์ตะพาบและวงศ์ย่อยตะพาบ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ใหญ่ตะพาบและเต่าจมูกหมู

วงศ์ใหญ่ตะพาบและเต่าจมูกหมู (Soft-shell turtle, Pignose turtle) เป็นวงศ์ใหญ่ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับเต่า (Testudines) ในอันดับย่อย Cryptodira ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionychia หรือ Trionychoidea เป็นเต่าที่มีกระดองแบนราบ ตีนทั้ง 4 ข้าง เป็นใบพาย ใช้สำหรับว่ายน้ำได้ดี มีจมูกแหลมยาว เพราะเป็นเต่าที่อาศัยและหากินในน้ำเป็นหลัก จะขึ้นมาบนบกก็ต่อเมื่ออาบแดดหรือวางไข่ในตัวเมียเท่านั้น กระจายพันธุ์ทั้งในทวีปเอเชีย, แอฟริกา, อเมริกาเหนือ และโอเชียเนีย ปัจจุบัน มีเพียง 2 วงศ์ รวมกันแล้วประมาณ 14 สกุล คือ.

ตะพาบไบคอลโลไซต์และวงศ์ใหญ่ตะพาบและเต่าจมูกหมู · วงศ์ย่อยตะพาบและวงศ์ใหญ่ตะพาบและเต่าจมูกหมู · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ตะพาบไบคอลโลไซต์และสัตว์ · วงศ์ย่อยตะพาบและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ตะพาบไบคอลโลไซต์และสัตว์มีแกนสันหลัง · วงศ์ย่อยตะพาบและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ตะพาบไบคอลโลไซต์และสัตว์เลื้อยคลาน · วงศ์ย่อยตะพาบและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ตะพาบไบคอลโลไซต์และสปีชีส์ · วงศ์ย่อยตะพาบและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อะแนปซิดา

อะแนปซิดา หรือ อะแนปซิด (ชั้นย่อย: Anapsida, Anapsid) เป็นชั้นย่อยของสัตว์สี่ขาในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน (Reptilia) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anapsida อะแนปซิดา มีลักษณะของช่องเปิดกะโหลกที่ไม่มีช่องขมับเลย โดยกระดูกพาไรทัลที่เป็นหลังคาของกะโหลกเชื่อมต่อกับกระดูกสคาโมซัลที่อยู่ด้านข้างและกับกระดูกซูปราออคซิพิทัลที่อยู่ด้านท้ายจึงไม่มีช่องเปิดบริเวณขมับ ลักษณะของสัตว์เลื้อยคลานที่อยู่ในชั้นย่อยนี้ ได้แก่ เต่า (Testudines) และสัตว์เลื้อยคลานในหลายอันดับที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อะแนปซิดา ได้ปรากฏขึ้นมาครั้งแรกในยุคคาร์บอนิเฟอรัสจนถึงปัจจุบัน.

ตะพาบไบคอลโลไซต์และอะแนปซิดา · วงศ์ย่อยตะพาบและอะแนปซิดา · ดูเพิ่มเติม »

เต่า

ต่า คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาแล้วกว่า 200 ล้านปี ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า "กระดอง" ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน โดยมากแล้ว เต่า เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ช้า อาศัยและใช้ช่วงชีวิตหนึ่งอยู่ในน้ำ ซึ่งมีอาศัยทั้งน้ำจืด และทะเล แต่เต่าบางจำพวกก็ไม่ต้องอาศัยน้ำเลย เรียกว่า "เต่าบก" (Testudinidae) ซึ่งเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่ายักษ์กาลาปากอส (Geochelone nigra) ที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส ในเอกวาดอร์ (มีทั้งหมด 15 ชนิดย่อย) ในขณะที่เต่าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่าอัลลิเกเตอร์ (Macrochelys temminckii) อาศัยอยู่ตามหนองน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ.

ตะพาบไบคอลโลไซต์และเต่า · วงศ์ย่อยตะพาบและเต่า · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ตะพาบไบคอลโลไซต์และวงศ์ย่อยตะพาบ

ตะพาบไบคอลโลไซต์ มี 16 ความสัมพันธ์ขณะที่ วงศ์ย่อยตะพาบ มี 34 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 16.00% = 8 / (16 + 34)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตะพาบไบคอลโลไซต์และวงศ์ย่อยตะพาบ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »