โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาราจักรและระบบพิกัดดาราจักร

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ดาราจักรและระบบพิกัดดาราจักร

ดาราจักร vs. ระบบพิกัดดาราจักร

ราจักร '''NGC 4414''' ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง. ระบบพิกัดดาราจักร เป็นระบบพิกัดท้องฟ้าซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ดวงอาทิตย์และวางแกนตามแนวศูนย์กลางปรากฏของดาราจักรทางช้างเผือก โดยที่ "เส้นศูนย์สูตร" อยู่ที่ระนาบของดาราจักร และมีค่าละติจูด ลองจิจูด ในลักษณะใกล้เคียงกับระบบพิกัดภูมิศาสตร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ดาราจักรและระบบพิกัดดาราจักร

ดาราจักรและระบบพิกัดดาราจักร มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): จานดาราจักรทางช้างเผือกดวงอาทิตย์ดุมดาราจักรเขตบดบัง

จานดาราจักร

จานดาราจักร เป็นส่วนประกอบของดาราจักรจาน อย่างเช่น ดาราจักรชนิดก้นหอยหรือดาราจักรรูปเลนส์ ประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่นและดาวฤกษ์เป็นส่วนใหญ่ ส่วนประกอบที่เป็นแก๊สและฝุ่นของจานดาราจักร เรียกว่า แผ่นก๊าซ ส่วนประกอบที่เป็นดาวฤกษ์ของจานดาราจักรเรียกว่า แผ่นดาราจักร จานดาราจักรเป็นระนาบที่พบกังหัน คานและจานของดาราจักรจาน จานดาราจักรมักจะมีแก๊สและฝุ่น ตลอดจนดาวฤกษ์อายุน้อยมากกว่าดุมดาราจักรหรือกลดดาราจักร หมวดหมู่:ดาราจักร.

จานดาราจักรและดาราจักร · จานดาราจักรและระบบพิกัดดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

ทางช้างเผือก

ทางช้างเผือก คือดาราจักรที่มีระบบสุริยะและโลกของเราอยู่ เมื่อมองบนท้องฟ้าจะปรากฏเป็นแถบขมุกขมัวคล้ายเมฆของแสงสว่างสีขาว ซึ่งเกิดจากดาวฤกษ์จำนวนมากภายในดาราจักรที่มีรูปร่างเป็นแผ่นจาน ส่วนที่สว่างที่สุดของทางช้างเผือกอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู ซึ่งเป็นทิศทางไปสู่ใจกลางดาราจักร แต่เดิมนั้น นักดาราศาสตร์คิดว่าดาราจักรทางช้างเผือกมีลักษณะเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยธรรมดา แต่หลังจากผ่านการประเมินครั้งใหม่ในปี พ.ศ. 2548 พบว่าทางช้างเผือกน่าจะเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานเสียมากกว่า เมื่อเทียบกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า ทางช้างเผือกขึ้นไปเหนือสุดที่กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย และลงไปใต้สุดบริเวณกลุ่มดาวกางเขนใต้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระนาบศูนย์สูตรของโลก ทำมุมเอียงกับระนาบดาราจักรอยู่มาก คนในเมืองใหญ่ไม่มีโอกาสมองเห็นทางช้างเผือกเนื่องจากมลภาวะทางแสงและฝุ่นควันในตัวเมือง แถบชานเมืองและในที่ห่างไกลสามารถมองเห็นทางช้างเผือกได้ แต่บางคนอาจนึกว่าเป็นก้อนเมฆในบรรยากาศ มุมมองของทางช้างเผือกไปทางกลุ่มดาวแมงป่อง (รวมถึงศูกย์กลางดาราจักร) เห็นได้จากการปนเปื้อในนเขตที่ไม่ใช่แสง (ทะเลทรายหินสีดำ, รัฐเนวาด้า, สหรัฐอเมริกา) เมื่อสังเกตเห็นท้องฟ้ายามค่ำคืนคำว่า "ทางช้างเผือก" ถูกจำกัดกลุ่มหมอกของแสงสีขาวบาง 30 องศา ลอยกว้างข้ามท้องฟ้า (แม้ว่าทั้งหมดของดาวที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของดาราจักรทางช้างเผือก) แสงในแถบนี้มาจากดาวที่สลายและวัสดุอื่น ๆ ที่อยู่ภายในระนาบทางช้างเผือก บริเวณมืดภายในวง เช่น ระแหงดี และถุงถ่าน ที่สอดคล้องกับบริเวณที่มีแสงจากดาวไกลถูกบล็อกโดย ฝุ่นละอองระหว่างดวงดาว ดาราจักรทางช้างเผือก มีความสว่างพื้นผิวที่ค่อนข้างต่ำ การมองเห็นของมันสามารถลดน้อยลงโดยแสงพื้นหลังเช่น มลพิษทางแสงหรือแสงเล็ดลอดจากดวงจันทร์ เราสามารถมองเห็นได้อย่างง่ายดายเมื่อมีขนาด จำกัดคือ 5.1 หรือมากกว่า ในขณะที่แสดงการจัดการที่ดีของรายละเอียดที่ 6.1 ซึ่งทำให้ทางช้างเผือกมองเห็นได้ยากจากใด ๆ สถานที่ในเมืองหรือชานเมืองสดใสสว่าง แต่ที่โดดเด่นมากเมื่อมองจากพื้นที่ชนบทเมื่อดวงจันทร์อยู่ใต้เส้นขอบฟ้า ดาราจักรทางช้างเผือกผ่านส่วนในประมาณ 30 กลุ่มดาว ศูนย์กลางของดาราจักรที่อยู่ในทิศทางของกลุ่มดาวคนยิงธนู มันอยู่ที่นี่ว่าทางช้างเผือกเป็นที่สว่างที่สุด จากราศีธนู กลุ่มหมอกแสงสีขาวที่ปรากฏขึ้นจะผ่านไปทางทิศตะวันตกในทางช้างเผือกไปยังไม่ใช้ศูนย์กลางของทางช้างเผือกในกลุ่มดาวสารถี กลุ่มดาวแล้วยังไปทางทิศตะวันตกส่วนที่เหลือของทางรอบท้องฟ้ากลับไปกลุ่มดาวคนยิงธนู ข้อเท็จจริงที่ว่ากลุ่มแบ่งออกท้องฟ้ายามค่ำคืนเป็นสองซีกโลกเท่ากับแสดงให้เห็นว่าระบบสุริยะตั้งอยู่ใกล้กับระนาบทางช้างเผือก ระนาบทางช้างเผือก มีแนวโน้มเอียงประมาณ 60 องศาไปสุริยุปราคา (ระนาบของวงโคจรของโลก) เมื่อเทียบกับเส้นศูนย์สูตร ที่ผ่านเท่าทิศเหนือของกลุ่มดาวค้างคาว และเท่าทิศใต้ของกลุ่มดาวกางเขนใต้ แสดงให้เห็นความโน้มเอียงสูงของระนาบเส้นศูนย์สูตรของโลกและระนาบสัมพันธ์สุริยุปราคากับระนาบทางช้างเผือก ขั้วโลกเหนือทางช้างเผือกที่ตั้งอยู่ที่ขวาขึ้น 12h 49m ลดลง +27.4° (B1950) อยู่ใกล้กับ Beta Comae Berenices และขั้วโลกทางช้างเผือกทิศใต้ที่อยู่ใกล้กับดาวอัลฟา ช่างแกะสลัก เนื่องจากการแนวโน้มเอียงสูง ขึ้นอยู่กับเวลากลางคืนและปี ส่วนโค้งของทางช้างเผือกจะปรากฏค่อนข้างต่ำหรือค่อนข้างสูงในท้องฟ้า สำหรับผู้สังเกตการณ์จากประมาณ 65 องศาเหนือถึง 65 องศาใต้บนพื้นผิวโลกทางช้างเผือกผ่านโดยตรงข้างบนวันละสองครั้ง ตาปลา โมเสกในดาราจักรทางช้างเผือก โค้งที่เอียงสูงทั่วท้องฟ้ายามค่ำคืนที่ถ่ายจากตำแหน่งที่ตั้งท้องฟ้ามืดใน ชิลี.

ดาราจักรและทางช้างเผือก · ทางช้างเผือกและระบบพิกัดดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ดวงอาทิตย์และดาราจักร · ดวงอาทิตย์และระบบพิกัดดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

ดุมดาราจักร

มสสิเยร์ 81 ดาราจักรที่มีดุมแบบดั้งเดิม (classical bulge) สังเกตว่าโครงสร้างแบบก้นหอยสิ้นสุดลงที่ขอบของดุม ภาพเมสสิเยร์ 63 ดาราจักรที่มีดุมแบบไม่ใช่ดุมดั้งเดิม (non-classical bulge) โครงสร้างก้นหอยจะหมุนวนลงไปจนถึงบริเวณใจกลางของดาราจักร ในทางดาราศาสตร์ ดุมดาราจักร (Galactic bulge) คือส่วนที่มีดาวฤกษ์เกาะกลุ่มกันอยู่อย่างหนาแน่นที่สุดในดาราจักร มักใช้ในความหมายถึงกลุ่มดาวฤกษ์ใจกลางดาราจักรที่พบในดาราจักรชนิดก้นหอยโดยส่วนใหญ่ แต่เดิมเคยเชื่อกันว่าดุมดาราจักรนี้เป็นดาราจักรชนิดรีที่มีจานดาวฤกษ์อยู่รอบๆ แต่จากภาพถ่ายความละเอียดสูงโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้เผยให้ทราบว่า ดุมดาราจักรจำนวนมากมีคุณลักษณะที่คล้ายคลึงกับดาราจักรชนิดก้นหอยมากกว่า ในปัจจุบันนี้เชื่อกันว่า มีดุมดาราจักรอยู่อย่างน้อย 2 ชนิด คือชนิดที่มีลักษณะเหมือนดาราจักรชนิดรี กับชนิดที่มีลักษณะเหมือนดาราจักรชนิดก้นหอย ดุมดาราจักรแบบดั้งเดิม (classical bulge) จะมีลักษณะคล้ายดาราจักรชนิดรี มักประกอบด้วยดาวฤกษ์ชนิดดารากร 2 ซึ่งเก่าแก่กว่า และมีสีค่อนไปทางแดง การเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ในดุมชนิดนี้มักเป็นไปแบบไม่เป็นระเบียบ ส่วนดุมดาราจักรที่มีลักษณะคล้ายดาราจักรชนิดก้นหอยจะมีอยู่เป็นจำนวนมากกว่า และจะเรียกว่า pseudobulges หรือ disky-bulges ดาวฤกษ์จะเคลื่อนที่แบบเป็นระเบียบไปตามทิศทางของระนาบดาราจักรหรือแผ่นจานดาราจักรด้านนอก.

ดาราจักรและดุมดาราจักร · ดุมดาราจักรและระบบพิกัดดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

เขตบดบัง

ทางช้างเผือก ทำให้เกิดเขตบดบังสำหรับผู้สังเกตที่อยู่ภายในดาราจักร เขตบดบัง (Zone of Avoidance; ZOA) คือพื้นที่ส่วนหนึ่งบนท้องฟ้ายามราตรีที่ถูกบังโดยทางช้างเผือก ดาราจักรของเราเอง ทำให้ไม่สามารถสังเกตวัตถุที่อยู่ไกลออกไปเบื้องหลังได้ เดิมเขตบดบังนี้เคยถูกเรียกว่า "เขตเนบิวลาส่วนน้อย" (Zone of Few Nebulae) ในเอกสารชิ้นหนึ่งเมื่อปี ค.ศ. 1878 ของนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ ริชาร์ด พร็อกเตอร์ ซึ่งอ้างถึงการกระจายตัวของ "เนบิวลา" ในรายการแคตาล็อกเนบิวลาของเซอร์ จอห์น เฮอร์เชล.

ดาราจักรและเขตบดบัง · ระบบพิกัดดาราจักรและเขตบดบัง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ดาราจักรและระบบพิกัดดาราจักร

ดาราจักร มี 133 ความสัมพันธ์ขณะที่ ระบบพิกัดดาราจักร มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 3.52% = 5 / (133 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ดาราจักรและระบบพิกัดดาราจักร หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »