โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาราจักรและที่ตั้งของโลกในเอกภพ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ดาราจักรและที่ตั้งของโลกในเอกภพ

ดาราจักร vs. ที่ตั้งของโลกในเอกภพ

ราจักร '''NGC 4414''' ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง. ที่ตั้งของโลกในเอกภพ (Earth's location in the Universe) นั้นตั้งแต่ที่มนุษย์ได้เริ่มมีการสร้างและสมมุติตำแหน่งที่ตั้งของโลกขึ้นเมื่อประมาณ 400 ปีที่แล้วโดยเริ่มจากการสังเกตการณ์ด้วยกล้องส่องทางไกลและซึ่งเริ่มมีความแพร่หลายมากในหลายศตวรรษที่ผ่านมา ในอดีตนานมาแล้วนั้นมนุษย์เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลซึ่งประกอบด้วยดาวเคราะห์, ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่หมุนรอบโลกและในศตวรรษที่ 17 ก็มีแนวคิดว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางซึ่งเป็นผลมาจากการสังเกตของนักดาราศาสตร์นามว่าวิลเลียม เฮอร์เชลและยังได้อธิบายต่ออีกว่าดวงอาทิตย์และระบบสุริยะอยู่ในกาแลคซีที่เป็นรูปแผ่นดิสก์ขนาดใหญ่ และในศตวรรษที่ 20 ได้มีการขอสังเกตจากการสำรวจดาราจักรชนิดก้นหอยจึงเผยให้เห็นว่ากาแลคซี่ทางช้างเผือกของเราเป็นหนึ่งในพันล้านกาแลคซีในจักรวาลที่กำลังขยายตัวจึงได้มีการจัดกลุ่มกระจุกดาราจักรขึ้นในตอนปลายของศตวรรษที่ 20 จากนั้นก็มีการกำหนดเอกภพที่สังเกตได้ซึ้งเกิดจากกลุ่มกระจุกดาราจักรและช่องว่างขนาดใหญ่ (Cosmic voids) รวมกันเป็นใยเอกภพ (Galaxy filament) ซึ่งกลุ่มกระจุกดาราจักร, ช่องว่างและใยเอกภพนั้นเป็นโครงสร้างใหญ่ ๆ ที่สามารถพบและสังเกตได้ในเอกภพ โครงสร้างเหล่ามีขนาดใหญ่มากอาจมีขนาดมากกว่า 1000 เมกะพาร์เซก และเอกภพนั้นจะรวมจนกลายเป็นเนื้อเดียวกันซึ่งหมายความว่าทุกส่วนของเอกภพนั้นมีค่าเฉลี่ยความหนาแน่นขององค์ประกอบและโครงสร้างเดียวกัน และในปัจจุบันนี้มนุษย์ก็ยังไม่รู้ว่าจุดสิ้นสุดหรือขอบของเอกภพนั้นอยู่ที่ใดเนื่องจากโลกเป็นส่วนเล็ก ๆ ในเอกภพจึงไม่สามารถหาตำแหน่งขอบของเอกภพได้จากโลก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ดาราจักรและที่ตั้งของโลกในเอกภพ

ดาราจักรและที่ตั้งของโลกในเอกภพ มี 18 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พาร์เซกกลุ่มกระจุกดาราจักรกลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาวกลุ่มท้องถิ่นมหานวดาราระบบสุริยะวิลเลียม เฮอร์เชลทางช้างเผือกดวงอาทิตย์ดาราจักรชนิดก้นหอยดาราจักรแอนดรอมิดาดาวเคราะห์นักดาราศาสตร์นาซาใยเอกภพโลกเอกภพเอกภพที่สังเกตได้

พาร์เซก

ร์เซก (Parsec; มาจาก parallax of one arcsecond ตัวย่อ: pc) เป็นหน่วยวัดระยะทางทางดาราศาสตร์ เท่ากับความสูงของสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีเส้นฐานยาว 1 หน่วยดาราศาสตร์และมีมุมยอด 1 พิลิปดา มีค่าประมาณ 3.2616 ปีแสง (3.26 ปีแสง)หรือ 206,265 หน่วยดาราศาสตร์ มักใช้วัดระยะทางภายในดาราจักร การวัดระยะจากโลกถึงดาวฤกษ์คือการวัดแพรแลกซ์ของดาวฤกษ์ แพรัลแลกซ์ คือ ปรากฏการณ์ที่ผู้สังเกตมองจาก 2 จุด แล้วเห็นตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนไปเมื่อเทียบกับวัตถุอ้างอิง ทดลองได้โดยใช้มือถือวัตถุยื่นไปข้างหน้า แล้วสังเกตวัตถุดังกล่าวด้วยตาซ้าย และขวาจะสังเกตเห็นตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนไปหรือไม่ หมวดหมู่:หน่วยความยาว หมวดหมู่:มาตรดาราศาสตร์.

ดาราจักรและพาร์เซก · ที่ตั้งของโลกในเอกภพและพาร์เซก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มกระจุกดาราจักร

กลุ่มกระจุกดาราจักร (Supercluster) คือโครงสร้างขนาดใหญ่ของกลุ่มและกระจุกดาราจักรจำนวนมาก เป็นหนึ่งในบรรดาโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดในจักรวาล ลักษณะการมีอยู่ของกลุ่มกระจุกดาราจักรบ่งชี้ว่า ดาราจักรในเอกภพของเราไม่ได้กระจายตัวอย่างเป็นระเบียบ ดาราจักรส่วนมากจับกลุ่มอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มและกระจุก โดยกลุ่มของดาราจักรประกอบด้วยดาราจักรประมาณ 50 แห่ง ส่วนกระจุกประกอบด้วยดาราจักรหลายพันแห่ง กลุ่มและกระจุกเหล่านี้รวมกับดาราจักรเดี่ยวอีกจำนวนหนึ่งรวมกันเป็นโครงสร้างที่ใหญ่กว่า เรียกว่า กลุ่มกระจุกดาราจักร ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าโลกของเราอยู่ในกลุ่มกระจุกดาราจักรขนาดใหญ่ ชื่อว่า "กลุ่มกระจุกดาราจักรลาเนียเคอา" (Laniakea Supercluster) โครงสร้างระดับกลุ่มกระจุกดาราจักรนั้นเชื่อว่าเป็นโครงสร้างย่อยของกำแพงหรือชีทขนาดยักษ์ บางครั้งอาจเรียกว่า "กลุ่มกระจุกดาราจักรอันซับซ้อน" ซึ่งอาจมีความกว้างถึง 1 พันล้านปีแสง หรือมากกว่า 5% ของขนาดของเอกภพที่สังเกตได้ ขณะที่ตัวกลุ่มกระจุกดาราจักรเองอาจมีขนาดราวไม่กี่ร้อยล้านปีแสง ความเร็วโดยทั่วไปของดาราจักรอยู่ที่ประมาณ 1000 กิโลเมตรต่อวินาที ตามกฎของฮับเบิลที่ระบุว่า ดาราจักรทั่วไปสามารถเคลื่อนที่ได้ 30 ล้านปีแสงที่ความเร็วฮับเบิล 1/H ซึ่งมีค่าโดยประมาณเท่ากับอายุของเอกภพ แม้นี่จะเป็นระยะทางอันมโหฬารเมื่อเทียบกับขนาดของมนุษย์ แต่ต้องถือว่าเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดของกลุ่มกระจุกดาราจักร ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับโครงสร้างระดับที่ใหญ่กว่ากลุ่มกระจุกดาราจักร (ดูเพิ่มที่ ใยเอกภพ) ช่องว่างระหว่างกลุ่มกระจุกดาราจักรเป็นที่ว่างขนาดใหญ่ในอวกาศซึ่งไม่ค่อยมีดาราจักรอยู่ ปัจจุบันกลุ่มกระจุกดาราจักรเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่สุดที่มีการยอมรับอย่างเป็นทางการ แต่จำนวนโดยรวมของกลุ่มกระจุกดาราจักรทำให้คิดกันว่า มีความเป็นไปได้ของการกระจายตัวของโครงสร้างที่ใหญ่กว่านั้น เชื่อว่ามีกลุ่มกระจุกดาราจักรในเอกภพทั้งสิ้นประมาณเกือบ 10 ล้านแห่ง.

กลุ่มกระจุกดาราจักรและดาราจักร · กลุ่มกระจุกดาราจักรและที่ตั้งของโลกในเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาว

กลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาว (Virgo Supercluster) หรือ กลุ่มกระจุกดาราจักรท้องถิ่น (Local Supercluster) เป็นกลุ่มกระจุกดาราจักรผิดปกติ ที่ประกอบด้วยกลุ่มกระจุกหญิงสาว นอกเหนือจากกลุ่มท้องถิ่น ซึ่งจะประกอบด้วยดาราจักรทางช้างเผือก กับแอนดรอเมดา ไม่น้อยกว่า 100 กลุ่มดาราจักรและกลุ่ม ตั้งอยู่ภายในเส้นผ่าศูนย์กลางของ 33 เมก้าพาร์เซก (110 ล้านปีแสง) มันเป็นหนึ่งในล้านของกลุ่มกระจุกดาราจักรในจักรวาล.

กลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาวและดาราจักร · กลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาวและที่ตั้งของโลกในเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มท้องถิ่น

ราจักรแคระ Sextans A หนึ่งในดาราจักรสมาชิกของกลุ่มท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยดาราจักรแอนโดรเมดาและทางช้างเผือก ซึ่งปรากฏเป็นแถบดาวสีเหลืองในภาพ Sextans A คือภาพดาวสีน้ำเงินอ่อนที่เห็นได้ชัดเจน กลุ่มท้องถิ่น (Local Group) เป็นกลุ่มของดาราจักรซึ่งมีดาราจักรทางช้างเผือกของเราเป็นสมาชิกอยู่ ประกอบด้วยดาราจักรมากกว่า 35 แห่ง มีจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงอยู่ระหว่างทางช้างเผือกกับดาราจักรแอนโดรเมดา กลุ่มท้องถิ่นกินเนื้อที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 ล้านปีแสง และมีรูปร่างเหมือนดัมเบลล์ ประมาณการว่ากลุ่มท้องถิ่นมีมวลรวมประมาณ (1.29 ± 0.14) เท่าของมวลดวงอาทิตย์ และเป็นสมาชิกหนึ่งอยู่ใน กลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาว (หรือเรียกว่าเป็น กลุ่มกระจุกดาราจักรท้องถิ่น) ด้วย สมาชิกที่มีมวลมากที่สุดสองแห่งในกลุ่มท้องถิ่น คือ ดาราจักรทางช้างเผือก และ ดาราจักรแอนโดรเมดา ดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานทั้งสองแห่งนี้มีดาราจักรบริวารโคจรอยู่โดยรอบเป็นระบบดาราจักร ดังนี้.

กลุ่มท้องถิ่นและดาราจักร · กลุ่มท้องถิ่นและที่ตั้งของโลกในเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

มหานวดารา

ำลองจากศิลปินแสดงให้เห็นมหานวดารา SN 2006gy ที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีเอกซ์จันทราจับภาพได้ อยู่ห่างจากโลก 240 ล้านปีแสง มหานวดารา นิพนธ์ ทรายเพชร, อารี สวัสดี และ บุญรักษา สุนทรธรรม.

ดาราจักรและมหานวดารา · ที่ตั้งของโลกในเอกภพและมหานวดารา · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ดาราจักรและระบบสุริยะ · ที่ตั้งของโลกในเอกภพและระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เฮอร์เชล

วิลเลียม เฮอร์เชล วิลเลียม เฮอร์เชล (William Herschel) (พ.ศ. 2281 - 2365) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมัน ผู้ค้นพบดาวยูเรนัสโดยบังเอิญใน พ.ศ. 2324 ขณะเขากำลังส่องกล้องโทรทรรศน์ศึกษาดาวฤกษ์ ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าดวงแรกที่ถูกค้นพบ เฮอร์เชลเป็นนักดนตรีอาชีพที่อพยพจากเมืองฮันโนเวอร์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนี) มาตั้งหลักแหล่งอยู่ในอังกฤษ งานอดิเรกของเขาคือ การสร้างกล้องโทรทรรศน์ และมีความชำนาญมากในการศึกษาสังเกตดวงดาว การค้นพบดาวยูเรนัสทำให้เฮอร์เชลมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลก น้องสาวของเขา คือ แคโรลีน เฮอร์เชล (พ.ศ. 2293 - 2391) ทำงานร่วมกับเขา และได้ค้นพบดาวหางหลายดวง.

ดาราจักรและวิลเลียม เฮอร์เชล · ที่ตั้งของโลกในเอกภพและวิลเลียม เฮอร์เชล · ดูเพิ่มเติม »

ทางช้างเผือก

ทางช้างเผือก คือดาราจักรที่มีระบบสุริยะและโลกของเราอยู่ เมื่อมองบนท้องฟ้าจะปรากฏเป็นแถบขมุกขมัวคล้ายเมฆของแสงสว่างสีขาว ซึ่งเกิดจากดาวฤกษ์จำนวนมากภายในดาราจักรที่มีรูปร่างเป็นแผ่นจาน ส่วนที่สว่างที่สุดของทางช้างเผือกอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู ซึ่งเป็นทิศทางไปสู่ใจกลางดาราจักร แต่เดิมนั้น นักดาราศาสตร์คิดว่าดาราจักรทางช้างเผือกมีลักษณะเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยธรรมดา แต่หลังจากผ่านการประเมินครั้งใหม่ในปี พ.ศ. 2548 พบว่าทางช้างเผือกน่าจะเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานเสียมากกว่า เมื่อเทียบกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า ทางช้างเผือกขึ้นไปเหนือสุดที่กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย และลงไปใต้สุดบริเวณกลุ่มดาวกางเขนใต้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระนาบศูนย์สูตรของโลก ทำมุมเอียงกับระนาบดาราจักรอยู่มาก คนในเมืองใหญ่ไม่มีโอกาสมองเห็นทางช้างเผือกเนื่องจากมลภาวะทางแสงและฝุ่นควันในตัวเมือง แถบชานเมืองและในที่ห่างไกลสามารถมองเห็นทางช้างเผือกได้ แต่บางคนอาจนึกว่าเป็นก้อนเมฆในบรรยากาศ มุมมองของทางช้างเผือกไปทางกลุ่มดาวแมงป่อง (รวมถึงศูกย์กลางดาราจักร) เห็นได้จากการปนเปื้อในนเขตที่ไม่ใช่แสง (ทะเลทรายหินสีดำ, รัฐเนวาด้า, สหรัฐอเมริกา) เมื่อสังเกตเห็นท้องฟ้ายามค่ำคืนคำว่า "ทางช้างเผือก" ถูกจำกัดกลุ่มหมอกของแสงสีขาวบาง 30 องศา ลอยกว้างข้ามท้องฟ้า (แม้ว่าทั้งหมดของดาวที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของดาราจักรทางช้างเผือก) แสงในแถบนี้มาจากดาวที่สลายและวัสดุอื่น ๆ ที่อยู่ภายในระนาบทางช้างเผือก บริเวณมืดภายในวง เช่น ระแหงดี และถุงถ่าน ที่สอดคล้องกับบริเวณที่มีแสงจากดาวไกลถูกบล็อกโดย ฝุ่นละอองระหว่างดวงดาว ดาราจักรทางช้างเผือก มีความสว่างพื้นผิวที่ค่อนข้างต่ำ การมองเห็นของมันสามารถลดน้อยลงโดยแสงพื้นหลังเช่น มลพิษทางแสงหรือแสงเล็ดลอดจากดวงจันทร์ เราสามารถมองเห็นได้อย่างง่ายดายเมื่อมีขนาด จำกัดคือ 5.1 หรือมากกว่า ในขณะที่แสดงการจัดการที่ดีของรายละเอียดที่ 6.1 ซึ่งทำให้ทางช้างเผือกมองเห็นได้ยากจากใด ๆ สถานที่ในเมืองหรือชานเมืองสดใสสว่าง แต่ที่โดดเด่นมากเมื่อมองจากพื้นที่ชนบทเมื่อดวงจันทร์อยู่ใต้เส้นขอบฟ้า ดาราจักรทางช้างเผือกผ่านส่วนในประมาณ 30 กลุ่มดาว ศูนย์กลางของดาราจักรที่อยู่ในทิศทางของกลุ่มดาวคนยิงธนู มันอยู่ที่นี่ว่าทางช้างเผือกเป็นที่สว่างที่สุด จากราศีธนู กลุ่มหมอกแสงสีขาวที่ปรากฏขึ้นจะผ่านไปทางทิศตะวันตกในทางช้างเผือกไปยังไม่ใช้ศูนย์กลางของทางช้างเผือกในกลุ่มดาวสารถี กลุ่มดาวแล้วยังไปทางทิศตะวันตกส่วนที่เหลือของทางรอบท้องฟ้ากลับไปกลุ่มดาวคนยิงธนู ข้อเท็จจริงที่ว่ากลุ่มแบ่งออกท้องฟ้ายามค่ำคืนเป็นสองซีกโลกเท่ากับแสดงให้เห็นว่าระบบสุริยะตั้งอยู่ใกล้กับระนาบทางช้างเผือก ระนาบทางช้างเผือก มีแนวโน้มเอียงประมาณ 60 องศาไปสุริยุปราคา (ระนาบของวงโคจรของโลก) เมื่อเทียบกับเส้นศูนย์สูตร ที่ผ่านเท่าทิศเหนือของกลุ่มดาวค้างคาว และเท่าทิศใต้ของกลุ่มดาวกางเขนใต้ แสดงให้เห็นความโน้มเอียงสูงของระนาบเส้นศูนย์สูตรของโลกและระนาบสัมพันธ์สุริยุปราคากับระนาบทางช้างเผือก ขั้วโลกเหนือทางช้างเผือกที่ตั้งอยู่ที่ขวาขึ้น 12h 49m ลดลง +27.4° (B1950) อยู่ใกล้กับ Beta Comae Berenices และขั้วโลกทางช้างเผือกทิศใต้ที่อยู่ใกล้กับดาวอัลฟา ช่างแกะสลัก เนื่องจากการแนวโน้มเอียงสูง ขึ้นอยู่กับเวลากลางคืนและปี ส่วนโค้งของทางช้างเผือกจะปรากฏค่อนข้างต่ำหรือค่อนข้างสูงในท้องฟ้า สำหรับผู้สังเกตการณ์จากประมาณ 65 องศาเหนือถึง 65 องศาใต้บนพื้นผิวโลกทางช้างเผือกผ่านโดยตรงข้างบนวันละสองครั้ง ตาปลา โมเสกในดาราจักรทางช้างเผือก โค้งที่เอียงสูงทั่วท้องฟ้ายามค่ำคืนที่ถ่ายจากตำแหน่งที่ตั้งท้องฟ้ามืดใน ชิลี.

ดาราจักรและทางช้างเผือก · ทางช้างเผือกและที่ตั้งของโลกในเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ดวงอาทิตย์และดาราจักร · ดวงอาทิตย์และที่ตั้งของโลกในเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักรชนิดก้นหอย

ราจักรชนิดก้นหอย M 101 หรือ NGC 5457 ดาราจักรชนิดก้นหอย (Spiral Galaxy) เป็นดาราจักรแบบหนึ่งในสามประเภทหลักของดาราจักรที่จัดแบ่งโดย เอ็ดวิน ฮับเบิล ในปี ค.ศ. 1936 ตามรูปร่างที่มองเห็น ในงานของเขาที่ชื่อว่า "The Realm of the Nebulae" (อาณาจักรของเนบิวลา) จึงถูกจัดประเภทอยู่ในลำดับของฮับเบิลด้วย ดาราจักรชนิดก้นหอยประกอบด้วยแผ่นจานหมุนแบนๆ ของดาวฤกษ์ แก๊ส และฝุ่น มีจุดศูนย์กลางเป็นกลุ่มดาวฤกษ์หนาแน่นเรียกว่าดุมดาราจักร ล้อมรอบด้วยกลุ่มกลดแบบจางๆ จำนวนมาก ส่วนใหญ่รวมตัวกันเป็นกระจุกดาวทรงกลม ดาราจักรชนิดก้นหอยได้ชื่อนี้จากรูปร่างภายนอกที่มองเห็น ซึ่งมักมีแขนสองแขนเป็นรูปก้นหอยยืดต่อออกมาจากดุมที่ใจกลางไปเชื่อมกับแผ่นจาน แขนก้นหอยเป็นแหล่งซึ่งดาวฤกษ์กำลังก่อตัวใหม่ มักสว่างกว่าบริเวณที่เป็นแผ่นจานโดยรอบ เพราะมีดาวฤกษ์ที่อายุน้อยและร้อนจัด ประมาณครึ่งหนึ่งของดาราจักรชนิดก้นหอยทั้งหมดพบว่าอยู่ในรูปแบบของโครงสร้างก้นหอยมีคาน ยืดต่อออกมาจากดุม เชื่อว่าดาราจักรทางช้างเผือกของเราก็จัดเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคาน แม้ว่าส่วนที่เป็นโครงสร้างคานจะสังเกตเห็นได้ไม่ชัดเจนนักจากตำแหน่งของโลกเราที่อยู่บนจานหมุน สมมุติฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดได้มาจากการสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ ในการสำรวจบริเวณใจกลางดาราจักร ดาราจักรชนิดก้นหอยพบอยู่มากเป็นจำนวนถึง 70% ของดาราจักรทั้งหมดในเอกภพของเรา พบได้มากที่สุดในเขตที่มีความหนาแน่นต่ำ และไม่ค่อยพบที่ใจกลางของกระจุกดาราจักร.

ดาราจักรและดาราจักรชนิดก้นหอย · ดาราจักรชนิดก้นหอยและที่ตั้งของโลกในเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักรแอนดรอมิดา

ราจักรแอนดรอมิดา ดาราจักรแอนดรอมิดา (Andromeda Galaxy; หรือที่รู้จักในชื่ออื่นคือ เมสสิเยร์ 31 เอ็ม 31 หรือ เอ็นจีซี 224 บางครั้งในตำราเก่า ๆ จะเรียกว่า เนบิวลาแอนดรอมิดาใหญ่) เป็นดาราจักรชนิดก้นหอย ที่อยู่ห่างจากเราประมาณ 2.5 ล้านปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวแอนดรอมิดา ถือเป็นดาราจักรแบบกังหันที่อยู่ใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือกของเรามากที่สุด สามารถมองเห็นเป็นรอยจาง ๆ บนท้องฟ้าคืนที่ไร้จันทร์ได้แม้มองด้วยตาเปล่า ดาราจักรแอนดรอมิดาเป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มดาราจักรท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยดาราจักรแอนดรอมิดา ดาราจักรทางช้างเผือก ดาราจักรสามเหลี่ยม และดาราจักรขนาดเล็กอื่น ๆ อีกกว่า 30 แห่ง แม้แอนดรอมิดาจะเป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ดาราจักรที่มีมวลมากที่สุด จากการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้บ่งชี้ว่า ดาราจักรทางช้างเผือกมีสสารมืดมากกว่าและน่าจะเป็นดาราจักรที่มีมวลมากที่สุดในกลุ่ม ถึงกระนั้น จากการสังเกตการณ์โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์เมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า ดาราจักร M31 มีดาวฤกษ์อยู่ราว 1 ล้านล้านดวง ซึ่งมีจำนวนมากกว่าดาวฤกษ์ในดาราจักรของเรา ผลการคำนวณเมื่อปี 2006 ประมาณการว่า มวลของดาราจักรทางช้างเผือกน่าจะมีประมาณ 80% ของดาราจักรแอนดรอมิดา คือประมาณ 7.1 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ดาราจักรแอนดรอมิดามีระดับความสว่างที่ 4.4 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัตถุเมสสิเยร์ที่สว่างที่สุดชิ้นหนึ่ง และสามารถมองเห็นได้โดยง่ายด้วยตาเปล่า แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะในอากาศอยู่บ้าง หากไม่ใช้กล้องโทรทรรศน์ช่วย อาจมองเห็นดาราจักรเป็นดวงเล็ก ๆ เพราะสามารถมองเห็นได้เพียงส่วนสว่างที่สุดซึ่งเป็นศูนย์กลาง แต่เส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุมทั้งหมดของดาราจักรกินอาณาบริเวณกว้างถึง 7 เท่าของดวงจันทร์เต็มดวงทีเดียว ทั้งนี้ ดาราจักรแอนดรอมิดาและดาราจักรทางช้างเผือกคาดว่าจะปะทะและรวมกันเป็นดาราจักรรี (elliptical galaxy) ขนาดใหญ่ ในอีก 3.75 พันล้านปีข้างหน้.

ดาราจักรและดาราจักรแอนดรอมิดา · ดาราจักรแอนดรอมิดาและที่ตั้งของโลกในเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์

วเคราะห์ (πλανήτης; planet หรือ "ผู้พเนจร") คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ คือ โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ ในปี..

ดาราจักรและดาวเคราะห์ · ดาวเคราะห์และที่ตั้งของโลกในเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

นักดาราศาสตร์

''กาลิเลโอ'' ผู้ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นบิดาของนักดาราศาสตร์ยุคใหม่ นักดาราศาสตร์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับดาราศาสตร์หรือฟิสิกส์ดาราศาสตร์ แต่เดิมมาในอดีตกาล นักดาราศาสตร์ นักฟิสิกส์ หรือนักปรัชญา มักจะเป็นบุคคลคนเดียวกัน เพราะเป็นผู้สืบหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ ต่อมาผู้ที่ให้ความสนใจกับปรากฏการณ์บนท้องฟ้าเป็นพิเศษ จึงเรียกเฉพาะเจาะจงไปว่าเป็น "นักดาราศาสตร์" หมวดหมู่:อาชีพ.

ดาราจักรและนักดาราศาสตร์ · ที่ตั้งของโลกในเอกภพและนักดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ดาราจักรและนาซา · ที่ตั้งของโลกในเอกภพและนาซา · ดูเพิ่มเติม »

ใยเอกภพ

ำหรับการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ใยเอกภพ (filament) คือโครงสร้างขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่รู้จักและปรากฏอยู่ในเอกภพ เป็นโครงสร้างแบบเส้นด้ายมีความยาวประมาณ 50 ถึง 80 ''h''-1 เมกะพาร์เซก ซึ่งเป็นขอบเขตครอบคลุมพื้นที่ว่างขนาดใหญ่ในเอกภพ ใยเอกภพประกอบด้วยดาราจักรหลายแห่งที่ดึงดูดกันอยู่ด้วยแรงโน้มถ่วง โดยมีดาราจักรจำนวนมากที่อยู่ใกล้กันเรียกว่า กระจุกดาราจักร ในปี..

ดาราจักรและใยเอกภพ · ที่ตั้งของโลกในเอกภพและใยเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ดาราจักรและโลก · ที่ตั้งของโลกในเอกภพและโลก · ดูเพิ่มเติม »

เอกภพ

อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิล ที่ประกอบด้วยกาแล็กซีที่มีอายุ ขนาด รูปร่าง และสีแตกต่างกัน เอกภพ หรือ จักรวาล โดยทั่วไปนิยามว่าเป็นผลรวมของการดำรงอยู่ รวมทั้งดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ดาราจักร สิ่งที่บรรจุอยู่ในอวกาศระหว่างดาราจักร และสสารและพลังงานทั้งหมด การสังเกตเอกภพทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเชื่อกันว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 9,999 ล้านปีแสง นำไปสู่อนุมานขั้นแรกเริ่มของเอกภพ การสังเกตเหล่านี้แนะว่า เอกภพถูกควบคุมด้วยกฎทางฟิสิกส์และค่าคงที่เดียวกันตลอดขนาดและประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ทฤษฎีบิกแบงเป็นแบบจำลองจักรวาลวิทยาทั่วไปซึ่งอธิบายพัฒนาการแรกเริ่มของเอกภพ ซึ่งในจักรวาลวิทยากายภาพเชื่อว่าเกิดขึ้นเมื่อราว 13,700 ล้านปีก่อน มีนักฟิสิกส์มากมายเชื่อสมมุติฐานเกี่ยวกับพหุภพ ซึ่งกล่าวไว้ว่าเอกภพอาจเป็นหนึ่งในภพจำนวนมากที่มีอยู่เช่นกัน ระยะทางไกลสุดที่เป็นไปได้ทางทฤษฎีแก่มนุษย์ที่จะมองเห็นอธิบายว่าเป็น เอกภพที่สังเกตได้ การสังเกตได้แสดงว่า เอกภพดูจะขยายตัวในอัตราเร่ง และมีหลายแบบจำลองเกิดขึ้นเพื่อพยากรณ์ชะตาสุดท้ายของเอกภพ แผนภาพตำแหน่งของโลกในสถามที่ต่างๆของเอก.

ดาราจักรและเอกภพ · ที่ตั้งของโลกในเอกภพและเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

เอกภพที่สังเกตได้

มุมกว้างของท้องฟ้าถ่ายด้วยเทคนิค near-infrared แสดงให้เห็นการกระจายตัวของกาแล็กซีต่างๆ นอกเหนือจากทางช้างเผือก มีจำนวนทั้งสิ้นมากกว่า 1.5 ล้านกาแล็กซี ตามทฤษฎีบิกแบง เอกภพที่สังเกตได้ (Observable Universe) คือขอบเขตห้วงอวกาศในกรอบทรงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่ผู้สังเกตการณ์ ที่มีขนาดเล็กพอที่เราจะสังเกตวัตถุต่างๆ ภายในได้ เช่น ระยะเวลาที่นานพอสำหรับการแพร่สัญญาณจากวัตถุ ณ เวลาใดๆ หลังเหตุการณ์บิกแบง มีการเคลื่อนที่เท่าความเร็วแสง และเดินทางมาถึงผู้สังเกตการณ์ ณ เวลาปัจจุบัน ทุกๆ ตำแหน่งมีเอกภพที่สังเกตได้ของจุดนั้นๆ ซึ่งอาจพอดีหรือเหลื่อมกันกับเอกภพที่สังเกตได้จากโลก ในทางทฤษฎีเอกภพที่สังเกตได้อาจมีขนาดเล็กกว่าหรือใหญ่กว่าขนาดของเอกภพจริง.

ดาราจักรและเอกภพที่สังเกตได้ · ที่ตั้งของโลกในเอกภพและเอกภพที่สังเกตได้ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ดาราจักรและที่ตั้งของโลกในเอกภพ

ดาราจักร มี 133 ความสัมพันธ์ขณะที่ ที่ตั้งของโลกในเอกภพ มี 45 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 18, ดัชนี Jaccard คือ 10.11% = 18 / (133 + 45)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ดาราจักรและที่ตั้งของโลกในเอกภพ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »