โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาราจักรและดาราจักรชนิดดาวกระจาย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ดาราจักรและดาราจักรชนิดดาวกระจาย

ดาราจักร vs. ดาราจักรชนิดดาวกระจาย

ราจักร '''NGC 4414''' ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง. ราจักรหนวดแมลง ตัวอย่างของดาราจักรชนิดดาวกระจายระดับสูง เกิดจากการปะทะกันระหว่างดาราจักร NGC 4038 กับ NGC 4039 ปฏิกิริยาดาวกระจายที่เกิดขึ้นย่านใจกลางของดาราจักรแคระ NGC 1569 ภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ดาราจักรชนิดดาวกระจาย (Starburst Galaxy) คือดาราจักรที่อยู่ในกระบวนการก่อเกิดดาวฤกษ์ใหม่ในอัตราสูงเป็นพิเศษ เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการก่อเกิดดาวฤกษ์ใหม่ที่พบในดาราจักรทั่วไป บ่อยครั้งที่มักตรวจพบดาราจักรที่ก่อเกิดดาวฤกษ์ใหม่อย่างมหาศาลภายหลังการปะทะกันระหว่างดาราจักรสองแห่ง อัตราการเกิดดาวฤกษ์นี้มีมากขนาดที่ว่า หากคงอัตราเดิมต่อไป แก๊สที่มีอยู่ในดาราจักรจะถูกใช้หมดไปในเวลาอันสั้นกว่าอายุเฉลี่ยของดาราจักรอย่างมาก เหตุนี้การเกิดปฏิกิริยาดาวกระจายจำนวนมากจึงเป็นภาวะชั่วคราวเท่านั้น ดาราจักรชนิดดาวกระจายที่มีชื่อเสียงได้แก่ ดาราจักร M82 ดาราจักร NGC 4038/NGC 4039 (ดาราจักรแอนเทนนา) และดาราจักร IC 10 เป็นต้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ดาราจักรและดาราจักรชนิดดาวกระจาย

ดาราจักรและดาราจักรชนิดดาวกระจาย มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลดาวฤกษ์นิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) คือ กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน..

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและดาราจักร · กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและดาราจักรชนิดดาวกระจาย · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ดาราจักรและดาวฤกษ์ · ดาราจักรชนิดดาวกระจายและดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์

ดาราจักร M87 (ดาราจักรวิทยุ) นิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์ (Active Galactic Nucleus: AGN) เป็นพื้นที่อัดแน่นบริเวณศูนย์กลางของดาราจักร ซึ่งมีสภาพส่องสว่างสูงกว่าค่าสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า‎ปกติ (ทั้งในระดับของคลื่นวิทยุ อินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ อัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ และรังสีแกมมา) ดาราจักรที่มีนิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์จะถูกเรียกว่าเป็น ดาราจักรกัมมันต์ เชื่อว่าการแผ่รังสีจากแกนกลางดาราจักรกัมมันต์เป็นผลจากการพอกพูนมวลของหลุมดำมวลยวดยิ่งซึ่งอยู่ที่บริเวณใจกลางของดาราจักรนั้น ๆ แกนกลางนี้เป็นแหล่งกำเนิดรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีสภาพส่องสว่างสูงที่สุดในเอกภพ เหตุนี้มันจึงใช้เป็นจุดสังเกตทำให้สามารถค้นพบวัตถุที่อยู่ไกลมาก ๆ ได้ หมวดหมู่:หลุมดำ หมวดหมู่:ดาราจักร.

ดาราจักรและนิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์ · ดาราจักรชนิดดาวกระจายและนิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ดาราจักรและดาราจักรชนิดดาวกระจาย

ดาราจักร มี 133 ความสัมพันธ์ขณะที่ ดาราจักรชนิดดาวกระจาย มี 6 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 2.16% = 3 / (133 + 6)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ดาราจักรและดาราจักรชนิดดาวกระจาย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »