โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จิตรกรรมแผงและชีวิตของพระเยซู

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จิตรกรรมแผงและชีวิตของพระเยซู

จิตรกรรมแผง vs. ชีวิตของพระเยซู

"ฉากแท่นบูชาเกนต์" โดยยัน ฟัน ไอก์ และพี่ชาย, ค.ศ. 1432. ฉากแท่นบูชา (altarpiece) บนแผ่นไม้ เขียนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จิตรกรรมแผง (panel painting) คือการเขียนภาพบนแผ่นไม้ อาจจะเป็นแผ่นเดียวหรือหลายแผ่นเชื่อมต่อกันเป็นเนื้อเดียว ซึ่งแตกต่างกับบานพับภาพที่จะแยกจากกัน (บานพับภาพ มักรวมเรียกเป็นส่วนหนึ่งของจิตรกรรมแผง) แผ่นไม้ใช้เป็นพื้นสำหรับวาดภาพจนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยผ้าใบในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นอกเหนือไปจากการวาดบนผนัง หรือบนหนังสัตว์ ซี่งวัสดุชนิดหลังนี้นิยมใช้ในการวาดหนังสือวิจิตร หรือเขียนภาพสำหรับใส่กรอ. ีวิตของพระคริสต์ (Life of Christ) เป็นฉากชุดจากชีวิตบนโลกของพระเยซูที่เป็นหัวเรื่องที่ใช้ในการเขียนภาพชุดในศิลปะศาสนาคริสต์ มักจะเป็นชุดเอกลักษณ์หรือเป็นส่วนหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระนางพรหมจารี จำนวนฉากก็ต่างกันไปตามแต่เนื้อที่ใช้วาดภาพ ลักษณะการสร้างงานก็อาจจะเป็นจิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมแผง หน้าต่างประดับกระจกสี เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร พรมทอแขวนผนัง งานสลักหิน งานแกะงาช้างและอื่นๆ บางฉากก็เป็นภาพเขียนเดี่ยว ๆ เช่น “การตรึงพระเยซูที่กางเขน” ที่นิยมเขียนกันมาก ชุดที่นิยมเขียนกันก็ได้แก่ชุดที่เกี่ยวกับการประสูติและพระทรมานของพระเยซู ที่นำไปสู่การตรึงพระเยซูที่กางเขนและการคืนพระชนม์ แต่ภาพเขียนที่เกี่ยวกับการเทศนาก่อนที่จะถึงเหตุการณ์ในวาระสุดท้ายของพระองค์แทบจะไม่เขียนกันในยุคกลางด้วยเหตุผลหลายอย่าง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จิตรกรรมแผงและชีวิตของพระเยซู

จิตรกรรมแผงและชีวิตของพระเยซู มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระเยซูการตรึงพระเยซูที่กางเขนการประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)การนมัสการของโหราจารย์จิตรกรรมฝาผนังแม่พระรับสารเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

จิตรกรรมแผงและพระเยซู · ชีวิตของพระเยซูและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

การตรึงพระเยซูที่กางเขน

“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดยซิโมน วูเอท์ (Simon Vouet) ที่ เจนัว (ค.ศ. 1622) การตรึงพระเยซูที่กางเขน (Crucifixion of Jesus) เป็นเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูที่ถูกบันทึกในพระวรสารทั้งสี่ฉบับ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากที่พระเยซูถูกจับและถูกพิพากษา ในทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ การสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็นเหตุการณ์หัวใจสำคัญ ส่งอิทธิพลให้เกิดเหตุการณ์อื่น ๆ ต่อเนื่องมา นอกจากนั้นการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็เป็นสัญลักษณ์สำคัญทางปรัชญาความเชื่อ เป็นการเสียชีวิตของผู้ที่มาช่วยโลก เห็นได้จากการรับทรมานและความตายของพระเมสสิยาห์เพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ตามด้วยพันธสัญญาใหม่ที่กล่าวถึง การคืนชีพในสามวันหลังจากสิ้นพระชนม์ และทรงปรากฏพระกายต่ออัครทูตก่อนพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ การทรมานและการเสียชีวิตของพระเยซูบนกางเขนมักจะเรียกกันว่า “พระทรมานของพระเยซู” (Passion) เทววิทยาศาสนาคริสต์ถือว่าพระเยซูพลีชีพเพื่อเป็นการไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ดังปรากฏในพระธรรมที่รู้จักกันในนาม “พิธีทดแทนบาป” (Substitutionary atonement) กล่าวกันว่าความตายของพระองค์ถูกทำนายไว้ล่วงหน้าในพันธสัญญาเดิม เช่น เพลงของอิสยาห์ที่กล่าวถึง การทรมานของผู้รับใช้พระเจ้.

การตรึงพระเยซูที่กางเขนและจิตรกรรมแผง · การตรึงพระเยซูที่กางเขนและชีวิตของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

การประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)

นายช่างโบฮีเมีย ราวปี ค.ศ. 1350 แสดงให้เห็นอิทธิพลของไบเซนไทน์แบบอิตาลีในราชสำนักของจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ การประสูติของพระเยซู (Nativity หรือ Nativity of Jesus) เป็นหัวเรื่องที่วาดกันบ่อยที่สุดหัวข้อหนึ่งในศิลปะศาสนาคริสต์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 องค์ประกอบของศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อฉลองวันคริสต์มาสตามข้อมูลในพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกา และต่อมาก็มีการเพิ่มเรื่องราวจากข้อเขียนอื่น ๆ หรือเรื่องเล่าต่างๆ ศิลปะคริสต์ศาสนามักจะมีรูปเคารพของพระนางมารีย์พรหมจารีและพระกุมารเยซู งานศิลปะแบบนี้จะเรียกว่า “แม่พระและพระกุมาร” หรือ “พระนางพรหมจารีและพระกุมาร” แต่รูปนี้จะไม่รวมอยู่ในชุด “การประสูติของพระเยซู” ฉากการประสูติของพระเยซูจะมีคำบรรยายอย่างชัดเจนจากหลักฐานหลายแห่ง การกำเนิดของพระเยซูเป็นฉากที่ใช้ในการสร้างศิลปะหลายแบบทั้งทางจักษุศิลป์และประติมากรรม และศิลปะแบบอื่นๆ ในรูปของจักษุศิลป์ก็อาจจะเป็น ไอคอน, จิตรกรรมฝาผนัง, บานพับภาพ, ภาพเขียนสีน้ำมัน, หนังสือวิจิตร และ หน้าต่างประดับกระจกสี บางครั้งการแสดงภาพก็อาจจะผสมระหว่างจักษุศิลป์และประติมากรรม ที่ตั้งของภาพหรืองานศิลปะก็อาจจะเป็น ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) ศิลปะแบบอื่นๆ ก็อาจจะเป็นจุลจิตรกรรม งานแกะงาช้าง การแกะภาพบนโลงหิน การสลักบนหน้าบันเหนือประตูทางเข้าโบสถ์ หรือคานเหนือประตู หรืออาจจะเป็นรูปปั้นแบบลอยตัว รูปปั้นแบบลอยตัวของ “การประสูติของพระเยซู” มักจะทำเป็น “Creche” หรือ “Presepe” ซึ่งเรียกว่า “ฉากพระเยซูประสูติ” (Nativity scene) ซึ่งอาจจะใช้ตั้งตรงมุมใดมุมหนึ่งของโบสถ์ หน้าหรือในสถานที่สาธารณะ, บ้าน หรือกลางแจ้งเป็นการชั่วคราว ขนาดของกลุ่มรูปปั้นก็มีตั้งแต่ขนาดเล็กๆ ไปจนขนาดเท่าคนจริง ที่มาของการสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” อาจจะมาจากการแสดงกลุ่มรูปปั้น ที่เรียกว่า “Tableau vivant” ที่กรุงโรม ซึ่งนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีมีบทบาททำให้เป็นที่นิยมกันมากขึ้น การสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” ก็ยังเป็นที่นิยมกันถึงปัจจุบันนี้ โดยบางครั้งฉากเล็กอาจจะทำจากกระเบื้องพอร์ซิเลน (Porcelain), พลาสเตอร์, พลาสติก หรือ กระดาษ เพื่อใช้ตั้งภายในที่อยู่อาศั.

การประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)และจิตรกรรมแผง · การประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)และชีวิตของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

การนมัสการของโหราจารย์

“การนมัสการของโหราจารย์” โดย เดียริค เบาท์ คริสต์ศตวรรษที่ 15 “การนมัสการของโหราจารย์” โดย เจนตีเล ดา ฟาบรีอาโน ค.ศ. 1423 การนมัสการของโหราจารย์ (Adoration of the Magi) เป็นชื่อที่ใช้ในหัวข้อการวาดภาพหนึ่งในชุดการประสูติของพระเยซู ซึ่งเป็นภาพของโหราจารย์สามคนเดินทางตามดาวแห่งเบธเลเฮม (star of Bethlehem) จนกระทั่งพบพระกุมารเยซู เมื่อพบแล้วก็มอบของขวัญที่เป็นทองคำ กำยาน และมดยอบ (myrrh) และถวายการสักการะ ในปฏิทินศาสนาเหตุการณ์นี้ฉลองกันทางตะวันตกในวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ ซึ่งเป็นวันฉลองการที่พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์คือพระเยซู ทุกวันที่ 6 มกราคม ทางนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ฉลองวันเดียวกับวันประสูติของพระเยซูในวันที่ 25 ธันวาคม การขยายความจากคำบรรยายเพียงสั้นๆ เกี่ยวกับแมไจในพระวรสารนักบุญมัทธิว บทที่ 2 ข้อที่ 1-11 เป็นการแสดงว่าการประสูติของพระเยซูเป็นที่ยอมรับตั้งแต่ประสูติในฐานะกษัตริย์แห่งโลก.

การนมัสการของโหราจารย์และจิตรกรรมแผง · การนมัสการของโหราจารย์และชีวิตของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมฝาผนัง

วาติกัน, โรม ประเทศอิตาลี จิตรกรรมฝาผนังโดยดิโอนิเซียส (Dionisius) เล่าเรื่องนักบุญนิโคลัส จิตรกรรมฝาผนัง จากมหากาพย์ “ไตรภูมิดานเต” ของดานเตโดยโดเมนิโค ดิ มิเคลลิโน (Domenico di Michelino) ที่มหาวิหารฟลอเรนซ์ จิตรกรรมฝาผนังจากบาวาเรียประเทศเยอรมนี “ที่ฝังศพของนักดำน้ำ” พบเมื่อปีค.ศ. 1968 (470 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จิตรกรรมฝาผนังจากอจันตา (Ajanta) คริสต์ศตวรรษที่ 6 จิตรกรรมฝาผนังโคลาของนักรำที่ Brihadisvara Temple ประมาณ ค.ศ. 1100 จิตรกรรมฝาผนัง (ภาษาอังกฤษ: Mural painting) คือภาพเขียนหลายชนิดที่เขียนบนปูนบนผนังหรือเพดาน เทคนิคที่นิยมกัน คือ การวาดภาพบนผนังปูนปลาสเตอร์เปียก (fresco) โดยที่คำว่า “fresco” มาจากภาษาอิตาลี “affresco” ซึ่งมาจากคำว่า “fresco” หรือ “สด” รากศัพท์มาจากภาษาเยอรมัน.

จิตรกรรมฝาผนังและจิตรกรรมแผง · จิตรกรรมฝาผนังและชีวิตของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระรับสาร

“แม่พระรับสาร” รูปเคารพจากมาเซโดเนีย แม่พระรับสาร (Annunciation, Annunciation of Mary, Annunciation of the Lady หรือ Annunciation of the Blessed Virgin Mary) หมายถึง เหตุการณ์ที่ที่พระแม่มารีย์รับสารจากทูตสวรรค์กาเบรียลว่านางจะตั้งครรภ์พระบุตรพระเป็นเจ้า เหตุการณ์แม่พระรับสารเกิดเมื่อไร ไม่ทราบได้ แต่เมื่อมีการฉลองวันการประสูติของพระเยซูในวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ก็มีผู้ริเริ่มจัดการฉลองเหตุการณ์แม่พระรับสารนี้ขึ้นในวันที่ 25 มีนาคมของทุกปี เรียกว่า "วันแม่พระรับสาร" (Annunciation of the Lady's Day) โดยนับถอยหลังจากวันคริสต์มาสขึ้นไปเก้าเดือน นอกจากนี้ เหตุการณ์แม่พระรับสารเกิดที่ไหนก็ไม่มีใครทราบได้ ทว่าฝ่ายออร์ทอดอกซ์เชื่อว่าเกิดที่เมืองนาซาเรธ ประเทศอิสราเอล ที่ "โบสถ์ออร์ทอดอกซ์แม่พระรับสาร" (Orthodox Church of the Annunciation) ส่วนฝ่ายโรมันคาทอลิกก็เชื่อว่าเกิดที่เมืองนาซาเรธนั้น และเกิดที่ "โบสถ์แม่พระรับสาร" (Church of the Annunciation).

จิตรกรรมแผงและแม่พระรับสาร · ชีวิตของพระเยซูและแม่พระรับสาร · ดูเพิ่มเติม »

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

Aberdeen Bestiary) (folio 4v) การตกแต่งตัวพยัญชนะตัวแรกและขอบอย่างวิจิตรใน “หนังสือกำหนดเทศกาล” ของฝรั่งเศส ราวปี ค.ศ. 1400 เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร (Illuminated manuscript) หรือหนังสือตัวเขียนสีวิจิตร คือเอกสารตัวเขียนที่ตัวหนังสือตกแต่งเพิ่มเติมด้วยสีสรรค์เช่นตัวหนังสือตัวแรกที่ขยายใหญ่ขึ้นและเล่นลายอย่างวิจิตร หรือเขียนขอบคัน หรือทำเป็นจุลจิตรกรรม ตามความหมายตรงตัวจะหมายถึงต้นฉบับที่ตกแต่งด้วยเงินและทอง แต่การใช้กันโดยทั่วไปโดยนักวิชาการสมัยใหม่ในปัจจุบันจะหมายถึงต้นฉบับใดก็ได้ที่มีการตกแต่งหรือหนังสือประกอบภาพจากทั้งทางตะวันตกและทางศาสนาอิสลาม งานเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรฉบับแรกที่สุดที่มีการตกแต่งพอประมาณมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงที่ 7 ส่วนใหญ่ทำในไอร์แลนด์, อิตาลี และประเทศอื่นๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ความสำคัญของเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรมิใช่เพียงคุณค่าทางวรรณกรรมแต่ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วย ซี่งจะเห็นได้จากต้นฉบับเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรที่ทำให้เราเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ โรมันและ กรีกที่ตกแต่งโดยผู้บันทึกและตกแต่งหนังสือตามอาราม เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรส่วนใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากยุคกลางแม้ว่าการสร้างเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะทำกันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื้อหาของงานส่วนใหญ่ในสมัยแรก ๆ จะเป็นงานศาสนา แต่ต่อมาโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เริ่มมีงานทางโลกเพิ่มขึ้น และเกือบทั้งหมดจะทำเป็นหนังสือแต่ก็มีบ้างที่เป็นม้วนหรือเป็นแผ่นเดียวเขียนบนหนัง (อาจจะเป็นหนังลูกวัว, แกะ, หรือแพะ) ที่มีคุณภาพดี หลังปลายยุคกลางวัสดุที่ใช้เขียนก็เปลี่ยนมาเป็นกระดาษ เมื่อวิวัฒนาการพิมพ์เพิ่งเริ่มใหม่ๆ ผู้พิมพ์ก็อาจจะทิ้งช่องว่างไว้สำหรับพยัญชนะตัวแรก, ขอบ หรือ ภายเขียนย่อส่วนแต่การพิมพ์ทำให้ ศิลปะการทำเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเสื่อมความนิยมลง แต่ก็ทำกันต่อมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่น้อยลงมากและทำสำหรับผู้มีฐานะดีจริงๆ เท่านั้น นอกจากเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะเป็นตัวอย่างของสิ่งที่หลงเหลือมาจากยุคกลางแล้วก็ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของจิตรกรรมที่มาจากยุคกลางด้วย และบางครั้งก็เป็นจิตรกรรมอย่างเดียวที่เหลืออยู่จากยุคนั้น.

จิตรกรรมแผงและเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร · ชีวิตของพระเยซูและเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จิตรกรรมแผงและชีวิตของพระเยซู

จิตรกรรมแผง มี 46 ความสัมพันธ์ขณะที่ ชีวิตของพระเยซู มี 33 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 8.86% = 7 / (46 + 33)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จิตรกรรมแผงและชีวิตของพระเยซู หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »