โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จรวดและอัตราเร็วเหนือเสียง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จรวดและอัตราเร็วเหนือเสียง

จรวด vs. อัตราเร็วเหนือเสียง

รวดโซยุซ-ยู (Soyuz-U) ณ ฐานปล่อยที่ 1/5 ไบโคนูร์ ไซต์1/5 (Baikonur's Site 1/5) ในคาซัคสถาน (Kazakhstan) การปล่อยจรวดแซทเทิร์น 5 อะพอลโล 15: เวลาเริ่มปล่อย T - 30 วินาที เวลาเสร็จสิ้น T + 40 วินาที จรวด หมายถึงขีปนาวุธ, ยานอวกาศ, เครื่องบิน หรือพาหนะอื่นใดที่อาศัยแรงผลักดันของไอเสียที่มีต่อตัวจรวดในการพุ่งไปข้างหน้า โดยใช้การเผาผลาญเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์จรวด ในจรวดทุกชนิดไอเสียจะเกิดขึ้นทั้งหมดจากเชื้อเพลิงขับดันที่บรรทุกไปด้วยภายในจรวดก่อนที่จะถูกใช้งาน chapter 1 จรวดเคมีสร้างพลังงานจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงจรวด ผลจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงและตัวอ๊อกซิไดซ์ภายในห้องเผาไหม้จะทำให้เกิดก๊าซร้อนที่มีอุณหภูมิสูงมากและขยายตัวออกไปทางหัวฉีดทำให้ก๊าซเคลื่อนที่ด้วยความเร่งในระดับไฮเปอร์โซนิก ซึ่งทำให้เกิดแรงผลักมหาศาลต่อตัวจรวดตามกฎข้อที่สามของนิวตัน (แรงกิริยาเท่ากับแรงปฏิกิริยา)โดยในทางทหารและสันทนาการมีประวัติของการใช้จรวดเป็นอาวุธและเครื่องมือในช่วงเวลานั้น จรวดได้ถูกใช้สำหรับงานทางทหารและสันทนาการ ย้อนกลับไปอย่างน้อยศตวรรษที่ 13 ในประเทศจีน (China) "Rockets in Ancient Times (100 B.C. to 17th Century)" ในทางทหาร, วิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมได้ใช้จรวดเป็นอาวุธและเครื่องมือแต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายจนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 20, เมื่อวิทยาการที่เกี่ยวกับจรวดได้ถือกำเนิดขึ้น เป็นการเปิดประตูสู่ยุคอวกาศ,กับการที่มนุษย์กำลังจะไปเหยียบดวงจันทร์ จรวดได้ถูกใช้สำหรับทำดอกไม้ไฟและอาวุธ, เก้าอี้ดีดตัวสำหรับนักบินและพาหนะสำหรับนำส่งดาวเทียม, นักบินอวกาศ และการสำรวจดาวเคราะห์ต่าง ๆ ในขณะที่จรวดที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพนั้นจะใช้สำหรับการขับเคลื่อนด้วยอัตราเร็วที่ต่ำ ๆ, นักวิทยาศาสตร์จะเปรียบเทียบหาจรวดที่มีแรงขับเคลื่อนในระบบอื่น ๆ, ที่มีน้ำหนักเบากว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่า, ทำให้สามารถสร้างความเร่งในการเคลื่อนที่ของจรวดได้มากขึ้น และสามารถทำให้เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วที่สูงอย่างยิ่งด้วยประสิทธิภาพที่เหมาะสม จรวดเคมีเป็นชนิดของจรวดที่พบมากที่สุดและพวกมันมักจะสร้างไอเสียโดยการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจรวด จรวดเคมีต้องการที่เก็บพลังงานเชื้อเพลิงที่มีขนาดใหญ่โตมากในรูปแบบที่พร้อมจะปลดปล่อยตัวเองออกมาได้อย่างง่ายดาย และมีอันตรายมาก อย่างไรก็ตาม, จะต้องทำด้วยการออกแบบอย่างรอบคอบ, การทดสอบ, การก่อสร้าง, และใช้ความเสี่ยงอันตรายให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้. อัตราเร็วเหนือเสียง เป็นการจำกัดความของความเร็วซึ่งมีค่ามากกว่าอัตราเร็วเสียง (1 มัค) ในอากาศแห้งที่อุณหภูมิ 20 °C ค่าเริ่มเปลี่ยนที่ต้องการสำหรับวัตถุที่เดินทางที่อัตราเร็วเสียงอยู่ที่ประมาณ 343 เมตร/วินาที (หรือ 1,236 กิโลเมตร/ชั่วโมง) อัตราเร็วที่สูงกว่า 5 เท่าของอัตราเร็วเสียงมักเรียกว่า ไฮเปอร์โซนิก อัตราเร็วของอากาศบางบริเวณโดยรอบวัตถุ (อย่างเช่นปลายของใบพัดเฮลิคอปเตอร์) ที่ถึงอัตราเร็วเสียงจะถูกเรียกว่า ทรานโซนิก (อยู่ที่อัตราเร็วระหว่าง 0.8-1.2 มัค) เสียงเคลื่อนที่ด้วยการสั่น (คลื่นความดัน) ในตัวกลางยืดหยุ่น ในตัวกลางสถานะแก๊ส เสียงจะเดินทางตามยาวที่ความเร็วระดับต่างกัน ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับมวลโมเลกุลและอุณหภูมิของแก๊ส (โดยที่ความดันมีผลเล็กน้อย) เนื่องจากอุณหภูมิและส่วนประกอบของอากาศมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนตามระดับความสูง เลขมัคสำหรับอากาศยานจึงสามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้โดยที่อัตราเร็วอากาศไม่เปลี่ยนแปลง ในน้ำที่อุณหภูมิห้อง พิจารณาได้ว่าอัตราเร็วเหนือเสียงคืออัตราเร็วที่มีค่าสูงกว่า 1,440 เมตร/วินาที ในของแข็ง คลื่นเสียงสามารถเดินทางตามยาวหรือทแยง และมีอัตราเร็วสูงกว่าการเคลื่อนที่ในน้ำเสียอีก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จรวดและอัตราเร็วเหนือเสียง

จรวดและอัตราเร็วเหนือเสียง มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อัตราเร็วของเสียง

อัตราเร็วของเสียง

อัตราเร็วของเสียง คือ ระยะทางที่เสียงเดินทางไปในตัวกลางใดๆ ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา โดยทั่วไปเสียงเดินทางในอากาศที่มีอุณหภูมิ 25°C (.

จรวดและอัตราเร็วของเสียง · อัตราเร็วของเสียงและอัตราเร็วเหนือเสียง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จรวดและอัตราเร็วเหนือเสียง

จรวด มี 107 ความสัมพันธ์ขณะที่ อัตราเร็วเหนือเสียง มี 4 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 0.90% = 1 / (107 + 4)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จรวดและอัตราเร็วเหนือเสียง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »