โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คาร์ล มากซ์และวิภาษวิธี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คาร์ล มากซ์และวิภาษวิธี

คาร์ล มากซ์ vs. วิภาษวิธี

ร์ล ไฮน์ริช มากซ์ (Karl Heinrich Marx, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 — 14 มีนาคม พ.ศ. 2426) เป็นนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักทฤษฎีการเมือง นักสังคมวิทยา นักหนังสือพิมพ์และนักสังคมนิยมปฏิวัติชาวเยอรมัน มากซ์เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางในเทรียร์ เขาศึกษากฎหมายและปรัชญาแบบเฮเกิล เนื่องจากงานพิมพ์การเมืองของเขาทำให้เขาไร้สัญชาติและอาศัยลี้ภัยในกรุงลอนดอน ซึ่งเขายังพัฒนาความคิดของเขาต่อโดยร่วมมือกับนักคิดชาวเยอรมัน ฟรีดริช เองเงิลส์ และจัดพิมพ์งานเขียนของเขา เรื่องที่ขึ้นชื่อของเขา ได้แก่ จุลสารปี 2391, แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ และทุน จำนวนสามเล่ม ความคิดทางการเมืองและปรัชญาของเขามีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อปัญญาชนรุ่นหลัง วิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและประวัติศาสตร์การเมือง ชื่อของเขาเป็นคำคุณศัพท์ นามและสำนักทฤษฎีสังคม ทฤษฎีของมากซ์เกี่ยวกับสังคม เศรษฐศาสตร์และการเมือง ที่เรียกรวมว่า ลัทธิมากซ์ ถือว่าสังคมมนุษย์พัฒนาผ่านการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ในทุนนิยม การต่อสู้ระหว่างชนชั้นแสดงออกมาในรูปการต่อสู้ระหว่างชนชั้นปกครอง (เรียก ชนชั้นกระฎุมพี) ซึ่งควบคุมปัจจัยการผลิตและชนชั้นแรงงาน (เรียก ชนกรรมาชีพ) นำปัจจัยการผลิตดังกล่าวไปใช้โดยขายากำลังแรงงานของพวกตนเพื่อแลกกับค่าจ้าง มากซ์ใช้แนวเข้าสู่การศึกษาวิพากษ์ที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ ทำนายว่าทุนนิยมจะก่อเกิดความตึงเครียดภายในซึงจะนำไปสู่การทำลายตนเองเช่นเดียวกับระบบสังคมและเศรษฐกิจก่อนหน้านี้ และแทนท่ด้วยระบบใหม่ คือ สังคมนิยม; สำหรับมากซ์ การต่อต้านชนชั้นภายใต้ทุนนิยมซึ่งบางส่วนมีสาเหตุจากความไม่มั่นคงและสภาพที่มีแนวโน้มเกิดวิกฤติ จะลงเอยด้วยการพัฒนาความสำนึกเรื่องชั้นชนของชนชั้นแรงงาน และนำไปสู่การพิชิตอำนาจทางการเมืองและสุดท้ายการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ปราศจากชนชั้นอันประกอบด้วยการรวมกันเป็นสมาคมอิสระของผู้ผลิต มากซ์เรียกร้องให้นำความคิดดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างแข็งขัน โดยแย้งว่าชนชั้นแรงงานควรเป็นผู้ลงมือปฏิวัติแบบจัดระเบียบเพื่อโค่นทุนนิยมและนำมาซึ่งการปลดปล่อยให้เป็นอิสระทางสังคมและเศรษฐกิจ มีผู้อธิบายว่ามากซ์เป็นบุคคลทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ และงานของเขาได้รับการสรรเสริญและวิพากษ์ งานของเขาในวิชาเศรษฐศาสตร์วางรากฐานสำหรับความเข้าใจในปัจจุบันของแรงงานและความสัมพันธ์กับทุน และความคิดทางเศษฐศาสตร์สมัยหลัง ปัญญาชน สหภาพแรงงาน ศิลปินและพรรคการเมืองจำนวนมากทั่วโลกได้รับอิทธิพลจากงานของมากซ์ มีหลายคนดัดแปลงหรือรับความคิดของเขามาใช้ มักออกชื่อมากซ์ว่าเป็นผู้สร้างสังคมศาสตร์สมัยใหม่คนสำคัญคนหนึ่ง. วิภาษวิธี (dialectic) เป็นวิธีการถกเถียงเพื่อระงับความไม่ลงรอยซึ่งอยู่กลางปรัชญายุโรปและอินเดียมาแต่สมัยโบราณ คำว่า dialectic กำเนิดในกรีซโบราณ และเพลโตทำให้แพร่หลายในบทสนทนาโสเครตีส วิภาษวิธีเป็นวจนิพนธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่มีมุมมองต่างกันเกี่ยวกับหัวเรื่องหนึ่ง ซึ่งปรารถนาสถาปนาความจริงของสสารที่มีการถกเถียงด้วยเหตุผลชี้นำ คำว่า วิภาษวิธี ไม่เป็นไวพจน์กับคำว่า การอภิปราย (debate) แม้ตามทฤษฎี ผู้อภิปรายไม่จำเป็นต้องมีอารมณ์ร่วมในมุมมองของตน แต่ในทางปฏิบัติ ผู้อภิปรายมักแสดงความยึดติดทางอารมณ์ซึ่งอาจบดบังการตัดสินด้วยเหตุผลได้ ผู้อภิปรายชนะโดยการโน้มน้าวฝ่ายตรงข้าม พิสูจน์ว่าการให้เหตุผลของตัวถูกต้อง หรือพิสูจน์ว่าการให้เหตุผลของฝ่ายตรงข้ามผิดรวมกัน การอภิปรายไม่จำเป็นต้องระบุผู้ชนะหรือผู้แพ้ชัดเจนในทันที ทว่า บ่อยครั้งผู้ชนะชัดเจนมักตัดสินโดยผู้พิพากษา คณะลูกขุนหรือโดยการเห็นพ้องต้องกันของกลุ่ม คำว่า วิภาษวิธี ยังไม่เป็นไวพจน์กับคำว่า วาทศิลป์ คือ วิธีหรือศาสตร์วจนิพนธ์ซึ่งมุ่งโน้มน้าว แจ้งหรือกระตุ้นผู้ฟัง นักวาทศิลป์มักใช้มโนทัศน์ เช่น logos หรือการอุทธรณ์เหตุผล pathos หรือการอุทธรณ์อารมณ์ และ ethos หรือการอุทธรณ์จริยศาสตร์ โดยเจตนาเพื่อชักจูงผู้ฟัง หมวดหมู่:ปรัชญาสังคม หมวดหมู่:วาทศิลป์ หมวดหมู่:วิธีวิทยาปรัชญา.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คาร์ล มากซ์และวิภาษวิธี

คาร์ล มากซ์และวิภาษวิธี มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คาร์ล มากซ์และวิภาษวิธี

คาร์ล มากซ์ มี 104 ความสัมพันธ์ขณะที่ วิภาษวิธี มี 0 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (104 + 0)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คาร์ล มากซ์และวิภาษวิธี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »