โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความจำเชิงกระบวนวิธีและเฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ความจำเชิงกระบวนวิธีและเฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน

ความจำเชิงกระบวนวิธี vs. เฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ความจำเชิงกระบวนวิธี (procedural memory) เป็นความจำเพื่อการปฏิการงานประเภทใดประเภทหนึ่ง เป็นความจำที่นำไปสู่พฤติกรรมเชิงกระบวนวิธีต่าง ๆ เป็นระบบที่อยู่ใต้สำนึก คือเมื่อเกิดกิจที่ต้องกระทำ จะมีการค้นคืนความจำนี้โดยอัตโนมัติเพื่อใช้ในการปฏิบัติตามกระบวนวิธีต่าง ๆ ที่มีการประสานกันจากทั้งทักษะทางประชาน (cognitive) และทักษะการเคลื่อนไหว (motor) มีตัวอย่างต่าง ๆ ตั้งแต่การผูกเชือกรองเท้าไปจนถึงการขับเครื่องบินหรือการอ่านหนังสือ ความจำนี้เข้าถึงและใช้ได้โดยไม่ต้องมีการควบคุมหรือความใส่ใจเหนือสำนึก (ที่เป็นไปใต้อำนาจจิตใจ) เป็นประเภทหนึ่งของความจำระยะยาว (long-term memory) และโดยเฉพาะแล้ว เป็นประเภทหนึ่งของความจำโดยปริยาย (implicit memory) ความจำเชิงกระบวนวิธีสร้างขึ้นผ่าน "การเรียนรู้เชิงกระบวนวิธี" (procedural learning) คือการทำกิจที่มีความซับซ้อนนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่งระบบประสาทที่เกี่ยวข้องจะสามารถทำงานร่วมกันโดยอัตโนมัติเพื่อให้เกิดการกระทำนั้น ๆ การเรียนรู้เชิงกระบวนวิธีที่เป็นไปโดยปริยาย (คือไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ) เป็นสิ่งที่สำคัญในกระบวนการพัฒนาทักษะทางการเคลื่อนไหวหรือแม้แต่ทักษะทางประชาน. นาย เฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน (Henry Gustav Molaison, 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1926-2 ธันวาคม ค.ศ. 2008) หรือที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า "H.M." เป็นคนไข้ความจำเสื่อมชาวอเมริกันผู้ได้รับการตัดสมองกลีบขมับด้านในออกทั้งสองข้าง คือในส่วน 2/3 ด้านหน้าของฮิปโปแคมปัส, parahippocampal cortex, entorhinal cortex, piriform cortex, และอะมิกดะลา เพื่อที่จะบำบัดโรคลมชัก (epilepsy) มีการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะอาการของเขาอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปลายปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ความจำเชิงกระบวนวิธีและเฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน

ความจำเชิงกระบวนวิธีและเฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กลีบขมับฮิปโปแคมปัสจิตวิทยาความจำความจำชัดแจ้งความจำอาศัยเหตุการณ์ความจำโดยปริยายเปลือกสมอง

กลีบขมับ

มองกลีบขมับ (Temporal lobe; lobus temporalis) ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นส่วนของเปลือกสมองในซีรีบรัม อยู่บริเวณด้านข้างของสมอง ใต้ร่องด้านข้าง (lateral fissure) หรือร่องซิลเวียน (Sylvian fissure) ในซีกสมองทั้งสองข้างของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หากมองสมองของมนุษย์ให้เหมือนนวมนักมวย สมองกลีบขมับเป็นส่วนของนิ้วโป้ง สมองกลีบขมับมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำทางการเห็น การประมวลความรู้สึกคือการเห็น การเข้าใจในภาษา การบันทึกความทรงจำใหม่ ๆ อารมณ์ความรู้สึก และการเข้าใจความหมาย นอกจากนั้นแล้ว สมองกลีบขมับยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน เป็นที่อยู่ของคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ และสมองส่วนนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ความหมาย (semantics) ทั้งในการพูดและการมองเห็น.

กลีบขมับและความจำเชิงกระบวนวิธี · กลีบขมับและเฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปโปแคมปัส

ปโปแคมปัส (hippocampus) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสมองของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ฮิปโปแคมปัสเป็นส่วนหนึ่งของระบบลิมบิก (limbic system) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างความทรงจำระยะยาวและการกำหนดทิศทางในที่ว่าง โครงสร้างนี้มีลักษณะเป็นคู่อยู่ด้านข้างซ้ายและขวาของสมองเหมือนกับซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ ในมนุษย์และไพรเมตชนิดอื่นๆ ฮิปโปแคมปัสวางตัวในสมองกลีบขมับส่วนใกล้กลาง (medial temporal lobe) ของสมองภายใต้พื้นผิวเปลือกคอร์เท็กซ์ รูปร่างของฮิปโปแคมปัสมีลักษณะโค้งจนนักกายวิภาคศาสตร์ในยุคแรกเปรียบเทียบว่าเหมือนกับเขาของแกะ (Cornu Ammonis) หรือเหมือนม้าน้ำ ดังจะเห็นจากชื่อ ฮิปโปแคมปัส มาจากภาษากรีกของคำว่าม้าน้ำ (กรีก: ιππος, hippos.

ความจำเชิงกระบวนวิธีและฮิปโปแคมปัส · ฮิปโปแคมปัสและเฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยา

ตวิทยา (psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม.

ความจำเชิงกระบวนวิธีและจิตวิทยา · จิตวิทยาและเฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน · ดูเพิ่มเติม »

ความจำ

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ในจิตวิทยา ความจำ (memory) เป็นกระบวนการที่ข้อมูลต่าง ๆ รับการเข้ารหัส การเก็บไว้ และการค้นคืน เนื่องจากว่า ในระยะแรกนี้ ข้อมูลจากโลกภายนอกมากระทบกับประสาทสัมผัสต่าง ๆ (มีตาเป็นต้น) ในรูปแบบของสิ่งเร้าเชิงเคมีหรือเชิงกายภาพ จึงต้องมีการเปลี่ยนข้อมูลไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็คือการเข้ารหัส เพื่อที่จะบันทึกข้อมูลไว้ในความจำได้ ระยะที่สองเป็นการเก็บข้อมูลนั้นไว้ ในสภาวะที่สามารถจะรักษาไว้ได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง ส่วนระยะสุดท้ายเป็นการค้นคืนข้อมูลที่ได้เก็บเอาไว้ ซึ่งก็คือการสืบหาข้อมูลนั้นที่นำไปสู่การสำนึกรู้ ให้สังเกตว่า การค้นคืนความจำบางอย่างไม่ต้องอาศัยความพยายามภายใต้อำนาจจิตใจ จากมุมมองเกี่ยวกับกระบวนการประมวลข้อมูล มีระยะ 3 ระยะในการสร้างและค้นคืนความจำ คือ.

ความจำและความจำเชิงกระบวนวิธี · ความจำและเฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน · ดูเพิ่มเติม »

ความจำชัดแจ้ง

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ "ความจำชัดแจ้ง" (Explicit memory) หรือบางครั้งเรียกว่า "ความจำเชิงประกาศ" (Declarative memory) เป็นประเภทหนึ่งของความจำระยะยาวสองอย่างในมนุษย์ ความจำชัดแจ้งหมายถึงความจำที่สามารถระลึกได้ใต้อำนาจจิตใจเช่นความจริงและความรู้ต่าง ๆ ดังนั้น การระลึกถึงประสบการณ์ในอดีตหรือข้อมูลอื่น ๆ โดยตั้งใจและประกอบด้วยความรู้สึกตัวว่ากำลังระลึกถึงความจำ จึงเป็นการระลึกถึงความจำชัดแจ้ง มนุษย์มีการจำได้แบบชัดแจ้งตลอดทั้งวัน เช่นจำเวลานัดได้ หรือจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วหลายปีได้ ส่วนความจำที่คู่กันก็คือ "ความจำโดยปริยาย" (implicit memory) หรือ "ความจำเชิงไม่ประกาศ" (non-declarative memory) หรือ "ความจำเชิงกระบวนวิธี" (procedural memory) ซึ่งหมายถึงความจำที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจเช่นทักษะต่าง ๆ (ตัวอย่างเช่น ทักษะในการขี่จักรยาน) การเข้าถึงความจำโดยปริยายไม่ประกอบด้วยความรู้สึกตัว ไม่ใช่เป็นการระลึกได้ด้วยความตั้งใจ ให้เทียบกับการระลึกถึงความจำชัดแจ้งซึ่งเป็นการระลึกได้พร้อมด้วยความรู้สึกตัว ตัวอย่างเช่น การระลึกถึงการหัดขับรถชั่วโมงหนึ่งได้เป็นตัวอย่างของการจำได้แบบชัดแจ้ง ส่วนทักษะการขับรถที่พัฒนาขึ้นเพราะการหัดขับรถนั้นเป็นตัวอย่างของการจำได้โดยปริยาย ส่วนความจำชัดแจ้งยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทอีก คือ.

ความจำชัดแจ้งและความจำเชิงกระบวนวิธี · ความจำชัดแจ้งและเฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน · ดูเพิ่มเติม »

ความจำอาศัยเหตุการณ์

วามจำอาศัยเหตุการณ์ (episodic memory) เป็นความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวประวัติของตนเอง (รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่ อารมณ์ความรู้สึกที่มี และเรื่องที่เกี่ยวข้องกันอื่น ๆ) ที่สามารถระลึกได้ภายใต้อำนาจจิตใจและนำมากล่าวได้อย่างชัดแจ้ง เป็นความจำรวมประสบการณ์ต่าง ๆ ของตนในอดีต แต่ละเหตุการณ์เกิดขึ้นที่วันเวลาหนึ่ง ๆ และในสถานที่หนึ่ง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราระลึกถึงงานเลี้ยง (หรือการทำบุญ) วันเกิดเมื่ออายุ 6 ขวบได้ นี่เป็นความจำอาศัยเหตุการณ์ เป็นความจำที่ยังให้เราสามารถเดินทางกลับไปในกาลเวลา (ในใจ) เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่วันเวลานั้น ๆ และสถานที่นั้น ๆ ความจำอาศัยความหมาย (semantic memory) และความจำอาศัยเหตุการณ์รวมกันจัดอยู่ในประเภทความจำชัดแจ้ง (explicit memory) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความจำเชิงประกาศ (declarative memory) ซึ่งเป็นหนึ่งในสองประเภทหลัก ๆ ของความจำ (โดยอีกประเภทหนึ่งเป็นความจำโดยปริยาย) นักจิตวิทยาชาวแคนาดาชื่อว่าเอ็นเด็ล ทัลวิง ได้บัญญัติคำว่า "Episodic Memory" ไว้ในปี..

ความจำอาศัยเหตุการณ์และความจำเชิงกระบวนวิธี · ความจำอาศัยเหตุการณ์และเฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน · ดูเพิ่มเติม »

ความจำโดยปริยาย

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ความจำโดยปริยาย"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (Implicit memory) เป็นความจำประเภทหนึ่งที่ประสบการณ์ในอดีตช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยที่ไม่ต้องมีการระลึกรู้ใต้อำนาจจิตใจถึงประสบการณ์ในอดีตนั้นSchacter, D. L. (1987).

ความจำเชิงกระบวนวิธีและความจำโดยปริยาย · ความจำโดยปริยายและเฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมอง

ปลือกสมอง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑"หรือ ส่วนนอกของสมองใหญ่ หรือ คอร์เทกซ์สมองใหญ่"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cerebral ว่า "-สมองใหญ่" หรือ "-สมอง" หรือ เซรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ เพียงแค่ว่า คอร์เทกซ์ (แต่คำว่า คอร์เทกซ์ สามารถหมายถึงส่วนย่อยส่วนหนึ่ง ๆ ในเปลือกสมองด้วย) (Cerebral cortex, cortex, Cortex cerebri) เป็นชั้นเนื้อเยื่อเซลล์ประสาทชั้นนอกสุดของซีรีบรัม (หรือเรียกว่าเทเลนฟาลอน) ที่เป็นส่วนของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางพวก เป็นส่วนที่ปกคลุมทั้งซีรีบรัมทั้งซีรีเบลลัม มีอยู่ทั้งซีกซ้ายซีกขวาของสมอง เปลือกสมองมีบทบาทสำคัญในระบบความจำ ความใส่ใจ ความตระหนัก (awareness) ความคิด ภาษา และการรับรู้ (consciousness) เปลือกสมองมี 6 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเซลล์ประสาทต่าง ๆ กัน และการเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เหมือนกัน เปลือกสมองของมนุษย์มีความหนา 2-4 มิลลิเมตร ในสมองดอง เปลือกสมองมีสีเทา ดังนั้น จึงมีชื่อว่าเนื้อเทา มีสีดังนั้นก็เพราะประกอบด้วยเซลล์ประสาทและแอกซอนที่ไม่มีปลอกไมอีลิน เปรียบเทียบกับเนื้อขาว (white matter) ที่อยู่ใต้เนื้อเทา ซึ่งประกอบด้วยแอกซอนที่โดยมากมีปลอกไมอีลิน ที่เชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทในเขตต่าง ๆ ของเปลือกสมองและในเขตอื่น ๆ ของระบบประสาทกลาง ผิวของเปลือกสมองดำรงอยู่เป็นส่วนพับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งว่า ผิวเปลือกสมองของมนุษย์มากกว่าสองในสามส่วน อยู่ใต้ช่องที่เรียกว่า "ร่อง" (sulci) ส่วนใหม่ที่สุดของเปลือกสมองตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ก็คือ คอร์เทกซ์ใหม่ (neocortex) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไอโซคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 6 ชั้น ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดก็คือฮิปโปแคมปัส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาร์คิคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 3 ชั้นเป็นอย่างมาก และแบ่งเขตออกเป็นฟิลด์ย่อยของฮิปโปแคมปัส (Hippocampal subfields) เซลล์ในชั้นต่าง ๆ ของเปลือกสมองเชื่อมต่อกันเป็นแนวตั้ง รวมตัวกันเป็นวงจรประสาทขนาดเล็กที่เรียกว่า "คอลัมน์ในคอร์เทกซ์" (cortical columns) เขตต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์ใหม่ สามารถแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ที่เรียกว่า เขตบร็อดแมนน์ (Brodmann areas) แต่ละเขตมีลักษณะต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า ความหนา ชนิดของเซลล์โดยมาก และตัวบ่งชี้สารเคมีประสาท (neurochemical markers).

ความจำเชิงกระบวนวิธีและเปลือกสมอง · เปลือกสมองและเฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ความจำเชิงกระบวนวิธีและเฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน

ความจำเชิงกระบวนวิธี มี 73 ความสัมพันธ์ขณะที่ เฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน มี 27 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 8.00% = 8 / (73 + 27)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความจำเชิงกระบวนวิธีและเฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »