โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเข้ารหัสทางประสาทและศักย์สนามไฟฟ้าเฉพาะที่

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การเข้ารหัสทางประสาทและศักย์สนามไฟฟ้าเฉพาะที่

การเข้ารหัสทางประสาท vs. ศักย์สนามไฟฟ้าเฉพาะที่

การยิงศักยะงานเป็นขบวนหรือเป็นลำดับ ๆ ของเซลล์ประสาท การเข้ารหัสทางประสาท (Neural coding) เป็นการศึกษาทางประสาทวิทยาศาสตร์ เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองของเซลล์ประสาทเดี่ยว ๆ หรือของกลุ่มเซลล์ประสาท และความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานทางไฟฟ้าของเซลล์ประสาทในกลุ่ม โดยอาศัยทฤษฎีว่า การทำงานของเครือข่ายเซลล์ประสาทในสมองจะเป็นตัวแทนข้อมูลทางประสาทสัมผัสและข้อมูลอื่น ๆ นักวิชาการจึงเชื่อว่า เซลล์ประสาทสามารถเข้ารหัสข้อมูลเป็นทั้งแบบดิจิตัลและแบบแอนะล็อก. ักย์สนามไฟฟ้าเฉพาะที่ (local field potential ตัวย่อ LFP) เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า-สรีรภาพที่เกิดจากกระแสไฟฟ้ารวมกันจากเซลล์ประสาทใกล้ ๆ ภายในเนื้อเยื่อประสาทในปริมาตรที่จำกัด คือ ความต่างศักย์จะเกิดข้ามปริภูมินอกเซลล์เนื่องจากศักยะงานและ Graded potential ของนิวรอนใกล้ ๆ โดยจะมีค่าหรือระดับต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับระดับการสื่อสารผ่านไซแนปส์ คำว่า ศักย์ (Potential) หมายถึงศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า โดยเฉพาะที่บันทึกได้ด้วยไมโครอิเล็กโทรดที่ฝังลงภายในเยื่อเซลล์ประสาทโดยปกติในสมองของสัตว์ที่ได้รับยาชา หรือภายในแผ่นเนื้อเยื่อสมองบาง ๆ ที่เลี้ยงไว้นอกกาย (in vitro).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การเข้ารหัสทางประสาทและศักย์สนามไฟฟ้าเฉพาะที่

การเข้ารหัสทางประสาทและศักย์สนามไฟฟ้าเฉพาะที่ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ศักยะงานสัตว์จุดประสานประสาทเซลล์ประสาท

ศักยะงาน

การเกิดกระแสประสาท ในวิชาสรีรวิทยา ศักยะงาน (action potential) เป็นเหตุการณ์ที่กินเวลาสั้น ๆ ซึ่งศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ (membrane potential) ไฟฟ้าของเซลล์เพิ่มและลดลงอย่างรวดเร็ว ตามด้วยแนววิถีต่อเนื่อง ศักยะงานเกิดขึ้นในเซลล์สัตว์หลายชนิด เรียกว่า เซลล์ที่เร้าได้ (excitable cell) ซึ่งรวมถึงเซลล์ประสาท เซลล์กล้ามเนื้อ และเซลล์ไร้ท่อ (endocrine cell) เช่นเดียวกับเซลล์พืชบางเซลล์ ในเซลล์ประสาท ศักยะงานมีบทบาทศูนย์กลางในการสื่อสารเซลล์ต่อเซลล์ ส่วนในเซลล์ประเภทอื่น หน้าที่หลักของศักยะงาน คือ กระตุ้นกระบวนการภายในเซลล์ ตัวอย่างเช่น ในเซลล์กล้ามเนื้อ ศักยะงานเป็นขั้นแรกในชุดเหตุการณ์ที่นำไปสู่การหดตัว ในเซลล์บีตาของตับอ่อน ศักยะงานทำให้เกิดการหลั่งอินซูลิน ศักยะงานในเซลล์ประสาทยังรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า "กระแสประสาท" หรือ "พลังประสาท" (nerve impulse) หรือ spike ศักยะงานสร้างโดยช่องไอออนที่ควบคุมด้วยศักย์ไฟฟ้า (voltage-gated ion channel) ชนิดพิเศษที่ฝังอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ ช่องเหล่านี้ถูกปิดเมื่อศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ใกล้กับศักยะพัก (resting potential) แต่จะเริ่มเปิดอย่างรวดเร็วหากศักย์เยื่อหุ้มเซลล์เพิ่มขึ้นถึงค่าระดับกั้น (threshold) ที่นิยามไว้อย่างแม่นยำ เมื่อช่องเปิด จะทำให้ไอออนโซเดียมไหลเข้ามาในเซลล์ประสาท ซึ่งเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้า (electrochemical gradient) การเปลี่ยนแปลงนี้ยิ่งเพิ่มศักย์เยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปอีก ทำให้ช่องเปิดมากขึ้น และเกิดกระแสไฟฟ้าแรงขึ้นตามลำดับ กระบวนการดังกล่าวดำเนินไปกระทั่งช่องไอออนที่มีอยู่เปิดออกทั้งหมด ทำให้ศักย์เยื่อหุ้มเซลล์แกว่งขึ้นอย่างมาก การไหล่เข้าอย่างรวดเร็วของไอออนโซเดียมทำให้สภาพขั้วของเยื่อหุ้มเซลล์กลายเป็นตรงข้าม และช่องไอออนจะหยุดทำงาน (inactivate) อย่างรวดเร็ว เมื่อช่องโซเดียมปิด ไอออนโซเดียมจะไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ประสาทได้อีกต่อไป และจะถูกลำเลียงแบบใช้พลังงานออกจากเยื่อหุ้มเซลล์ จากนั้น ช่องโปแทสเซียมจะทำงาน และมีกระแสไหลออกของไอออนโปแทสเซียม ซึ่งคืนประจุไฟฟ้ากลับสู่สถานะพัก หลังเกิดศักยะงานแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า ระยะดื้อ (refractory period) เนื่องจากกระแสโปแทสเซียมเพิ่มเติม กลไกนี้ป้องกันมิให้ศักยะงานเดินทางย้อนกลับ ในเซลล์สัตว์ มีศักยะงานอยู่สองประเภทหลัก ประเภทหนึ่งสร้างโดย ช่องโซเดียมที่ควบคุมด้วยศักย์ไฟฟ้า อีกประเภทหนึ่งโดยช่องแคลเซียมที่ควบคุมด้วยศักย์ไฟฟ้า ศักยะงานที่เกิดจากโซเดียมมักคงอยู่น้อยกว่าหนึ่งมิลลิวินาที ขณะที่ศักยะงานที่เกิดจากแคลเซียมอาจอยู่ได้นานถึง 100 มิลลิวินาทีหรือกว่านั้น.

การเข้ารหัสทางประสาทและศักยะงาน · ศักยะงานและศักย์สนามไฟฟ้าเฉพาะที่ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

การเข้ารหัสทางประสาทและสัตว์ · ศักย์สนามไฟฟ้าเฉพาะที่และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

จุดประสานประสาท

องไซแนปส์เคมี ซึ่งเป็นการติดต่อกันระหว่างเซลล์ประสาทเพื่อเปลี่ยนกระแสประสาทเป็นสารสื่อประสาทในการนำสัญญาณประสาทไปยังเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ ไซแนปส์ (Synapse) หรือ จุดประสานประสาท เป็นช่องว่างพิเศษระหว่างส่วนแรก คือ เซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์ กับส่วนที่สองที่อาจเป็นเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์หรือเซลล์ชนิดอื่น เช่น เซลล์กล้ามเนื้อลาย และเซลล์ของต่อม เป็นต้น เพื่อสื่อสารและถ่ายทอดข้อมูลในการทำงานของระบบประสาท ในทางประสาทวิทยาศาสตร์ ไซแนปส์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ.

การเข้ารหัสทางประสาทและจุดประสานประสาท · จุดประสานประสาทและศักย์สนามไฟฟ้าเฉพาะที่ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ประสาท

ซลล์ประสาท หรือ นิวรอน (neuron,, หรือ) เป็นเซลล์เร้าได้ด้วยพลัง ของเซลล์อสุจิที่ทำหน้าที่ประมวลและส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมี โดยส่งผ่านจุดประสานประสาท (synapse) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อโดยเฉพาะกับเซลล์อื่น ๆ นิวรอนอาจเชื่อมกันเป็นโครงข่ายประสาท (neural network) และเป็นองค์ประกอบหลักของสมองกับไขสันหลังในระบบประสาทกลาง (CNS) และของปมประสาท (ganglia) ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) นิวรอนที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง.

การเข้ารหัสทางประสาทและเซลล์ประสาท · ศักย์สนามไฟฟ้าเฉพาะที่และเซลล์ประสาท · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การเข้ารหัสทางประสาทและศักย์สนามไฟฟ้าเฉพาะที่

การเข้ารหัสทางประสาท มี 123 ความสัมพันธ์ขณะที่ ศักย์สนามไฟฟ้าเฉพาะที่ มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 2.99% = 4 / (123 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การเข้ารหัสทางประสาทและศักย์สนามไฟฟ้าเฉพาะที่ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »