โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การขัดกันแห่งผลประโยชน์และเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การขัดกันแห่งผลประโยชน์และเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน

การขัดกันแห่งผลประโยชน์ vs. เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน

การขัดกันแห่งผลประโยชน์ หรือศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานว่า ผลประโยชน์ขัดกัน (conflict of interest) คือ สถานการณ์ที่บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งอันเป็นที่ไว้วางใจ เช่น ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในองค์กร ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข เป็นต้น ต้องเลือกระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ในวิชาชีพ ซึ่งทำให้ตัดสินใจยากในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอคติได้ การขัดกันแห่งผลประโยชน์นี้สามารถเกิดขึ้นได้แม้ไม่ส่งผลทางจริยธรรมหรือความไม่เหมาะสมต่าง ๆ และสามารถทำให้ทุเลาเบาบางลงได้ด้วยการตรวจสอบโดยบุคคลภายนอก การขัดกันแห่งผลประโยชน์มิได้ปรากฏแต่ในทางวิชาชีพเท่านั้น แต่ยังอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่บุคคลมีบทบาทหลากหลายและบทบาทเหล่านั้นก็เกิดขัดกันเอง เช่น ผู้จัดการฝ่ายขายอาจมีหน้าที่ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และก็อาจมีหน้าที่ในทางกตัญญูกตเวทีต่อญาติพี่น้องที่มาเสนอขายสินค้าใด ๆ เป็นต้น. ำว่า เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน (Evidence-based medicine ตัวย่อ EBM) เป็นแบบการแพทย์ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการวินิจฉัยตัดสินใจให้ดีที่สุด โดยเน้นการใช้หลักฐานจากงานวิจัยที่มีการออกแบบและการดำเนินการที่ดี แม้ว่าการแพทย์ที่อาศัยวิทยาศาสตร์ (คือไม่ใช่การแพทย์ทางเลือกเป็นต้น) ทั้งหมดล้วนแต่ต้องอาศัยหลักฐานทางประสบการณ์ (empirical evidence) แต่ว่า EBM เข้มงวดยิ่งกว่านั้น คือมีการจัดระดับหลักฐานโดยกำลังของวิธีการสืบหาหลักฐาน (epistemologic strength) และมีการกำหนดว่า หลักฐานที่มีกำลังที่สุด (คือที่มาจากงาน meta-analysis, งานปริทัศน์เป็นระบบ, และงานวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม) เท่านั้นที่จะใช้เป็นคำแนะนำ (ในการรักษา) ที่เข้มแข็งน่าเชื่อถือที่สุดได้ ส่วนหลักฐานจากงานที่มีกำลังอ่อนประเภทอื่น (เช่นงานศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุมเป็นต้น) จะใช้เป็นคำแนะนำ (ในการรักษา) แบบอ่อนเท่านั้น ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Evidence-based medicine" ดั้งเดิม (เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1992) ใช้หมายถึงวิธีการสอนวิชาการทางแพทย์ และวิธีเพื่อเพิ่มคุณภาพการวินิจฉัยตัดสินใจของแพทย์แต่ละบุคคล ๆ หลังจากนั้น คำก็เริ่มใช้กินความหมายมากขึ้นและรวมถึงวิธีการที่มีมาก่อนแล้ว คือวิธีการที่เน้นใช้หลักฐานในการแนะนำแนวทางและนโยบายทางการแพทย์ที่ใช้กับทั้งชุมชน (เช่นคำว่า "evidence-based practice policies" แปลว่า นโยบายการปฏิบัติอาศัยหลักฐาน) ต่อจากนั้นอีก คำก็กินความมากขึ้น หมายถึงวิธีที่ใช้ในการวินิจฉัยตัดสินใจในการแพทย์ทุกระดับ และแม้ในวิชาการสาขาอื่น ๆ อีกด้วย โดยเรียกใช้คำที่กว้างขึ้นว่า evidence-based practice (ตัวย่อ EBP แปลว่า การปฏิบัติอาศัยหลักฐาน) ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการศึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยตัดสินใจในคนไข้รายบุคคล แนวทางและนโยบายทางการแพทย์ที่ใช้กับทั้งกลุ่มชน หรือการให้บริการทางสุขภาพโดยทั่ว ๆ ไป EBM สนับสนุนว่า โดยมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การตัดสินใจและนโยบายการปฏิบัติ ควรจะอาศัยหลักฐาน ไม่ใช่เพียงแค่อาศัยความเชื่อของแพทย์รักษา ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้บริหารเท่านั้น คือ เป็นแบบการปฏิบัติเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ความคิดเห็นของแพทย์รักษา ซึ่งอาจจะจำกัดโดยความรู้ที่ไม่ทันสมัย หรือโดยความเอนเอียง มีการบูรณาการด้วยความรู้ที่มีอยู่ทั้งหมดจากสิ่งเผยแพร่ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practice) และนำไปใช้ได้ EBM โปรโหมตระเบียบวิธีที่เป็นรูปนัย (formal) และชัดแจ้ง (explicit) ในการวิเคราะห์หลักฐาน เพื่อให้เป็นข้อมูลกับผู้มีอำนาจตัดสินใจ EBM สนับสนุนโปรแกรมการศึกษาเพื่อสอนข้อปฏิบัติของ EBM ต่อนักศึกษาแพทย์ แพทย์รักษา และผู้กำหนดน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การขัดกันแห่งผลประโยชน์และเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน

การขัดกันแห่งผลประโยชน์และเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การขัดกันแห่งผลประโยชน์และเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน

การขัดกันแห่งผลประโยชน์ มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน มี 26 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (7 + 26)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การขัดกันแห่งผลประโยชน์และเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »