โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กัณฑ์และปฐมเทศนา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กัณฑ์และปฐมเทศนา

กัณฑ์ vs. ปฐมเทศนา

กัณฑ์ (แปลว่า ส่วน, วรรค, ตอน, หมวด) หมายถึง ข้อความส่วนหนึ่ง วรรคหนึ่ง ตอนหนึ่ง หรือ หมวดหนึ่ง ปกติใช้กับการเทศน์ คือข้อความธรรมะที่เทศน์อธิบายจบเรื่องโดยสมบูรณ์ในตอนเดียว เรียกว่ากัณฑ์ เรื่องที่มีเนื้อความยาวซึ่งถูกแบ่งออกเป็นตอนๆ แต่ละตอนก็เรียกว่ากัณฑ์ เช่น เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก ถูกแบ่งเป็น 13 ตอน เรียกว่ามี 13 กัณฑ์ 1000 พระคาถาคือ. ระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ที่ขุดพบในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่มีผู้ยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปปางแสดงปฐมเทศนาที่งามที่สุดในโลกhttp://www.pharm.chula.ac.th/computer/web_india_1/idia1_09_esipat2/9_esipat2.htm อิสิปตนมฤคทายวัน สมัยหลังพุทธกาล. ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ออนไลน์. เรียกข้อมูลเมื่อ 12-6-52 (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์สารนาถ) ปฐมเทศนา (อ่านได้หลายอย่าง คือ "ปะ-ถม-มะ-เท-สะ-นา", "ปะ-ถม-มะ-เทด-สะ-หนา", "ปะ-ถม-เทด-สะ-หนา") แปลว่า การแสดงธรรมครั้งแรก เป็นคำเรียกเทศน์กัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และ อัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เมื่อวันเพ็ญกลางเดือน 8 (วันอาสาฬหบูชา) ปฐมเทศนา มีชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เรียกสั้นๆ ว่า ธรรมจักร ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงเรื่อง อริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั่นเอง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กัณฑ์และปฐมเทศนา

กัณฑ์และปฐมเทศนา มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)ราชบัณฑิตวัดราชโอรสารามราชวรวิหารเทศน์

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)

ระมหาโพธิวงศาจารย์ นามเดิม ทองดี สุรเดช ฉายา สุรเตโช เป็นราชบัณฑิต พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลั.

กัณฑ์และพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) · ปฐมเทศนาและพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) · ดูเพิ่มเติม »

ราชบัณฑิต

ราชบัณฑิต คือ "นักปราชญ์หลวง" ที่เป็นสมาชิกขององค์การวิทยาการของรัฐคือ ราชบัณฑิตยสภาโดยต้องเป็นผู้ที่มีเกียรติประวัติดีงาม ได้รับการยอมรับและการยกย่องจากผู้รู้ในศาสตร์สาขาเดียวแห่งตนและจากคนทั่วไป มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ได้รับการคัดเลือกจากสภาราชบัณฑิตว่าเป็นผู้รู้ในสาขาวิชาใดสาขาหนึ่งที่มีกำหนดไว้ในราชบัณฑิตยสถาน เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตและจะได้รับค่าสมนาคุณเป็นรายเดือน.

กัณฑ์และราชบัณฑิต · ปฐมเทศนาและราชบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดจอมทอง ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีใน พ.ศ. 2363 เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม พร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดราชโอรส ซึ่งหมายถึง พระราชโอรสคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในปัจจุบันมี พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) เป็นเจ้าอาว.

กัณฑ์และวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร · ปฐมเทศนาและวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

เทศน์

ในประเทศไทย การเทศน์แบบพิธีการพระสงฆ์จะนั่งบนธรรมมาสน์สูงเพื่อแสดงถึงความเคารพในพระธรรม ในฐานะที่เป็นหนึ่งในองค์รัตนตรัย เทศน์ แปลว่า การแสดง การชี้แจง การชี้ให้เห็นแจ้ง ใช้ว่า เทศนา (อ่านว่า เท-สะ-นา หรือ เทด-สะ-หนา) ก็ได้ เทศน์ หมายถึงการถ่ายทอดธรรมอันเป็นคำสั่งสอนทางศาสนาด้วยการแสดงชี้แจงให้ฟัง เป็นการเผยแผ่ศาสนาแบบหนึ่งที่ใช้กันมาแต่สมัยพุทธกาล การเทศน์ในสมัยพุทธกาลไม่มีพิธีการแต่อย่างใด เพียงผู้แสดงนั่งอยู่ในสถานที่สมควรและผู้ฟังมีลักษณะตั้งใจฟังก็สามารถแสดงได้ ในขณะที่การเทศนานั้น อาจมีลักษณะลีลาต่างกันไปบ้างตามแต่อุปนิสัยของแต่ละบุคคล สำหรับพระพุทธเจ้าแล้วบางครั้งจะทรงใช้คาถาประพันธ์หรือร้อยแก้วธรรมดา ในประเทศไทย การเทศน์กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญในพิธีกรรมต่าง ๆ ของชาวไทยมาช้านาน เช่น วันขึ้นบ้านใหม่ วันแต่งงาน ไปจนถึงงานศพ และมีข้อปลีกย่อยในการประกอบพิธีกรรมมากมาย เช่น ต้องมีการอาราธนาศีลอาราธนาธรรม การจุดเทียนส่องธรรม เป็นต้น พระสงฆ์ไทยแต่โบราณก็มีการดัดแปลงโดยเพิ่มทำนองให้น่าสนใจ เรียกว่า เทศน์แหล่ ปัจจุบันอาจแบ่งการเทศน์พิธีกรรมของพระสงฆ์ในประเทศไทยตามจำนวนผู้เทศน์ได้เป็น เทศเดี่ยว (เทศน์รูปเดียว) และเทศน์สองธรรมมาสน์ขึ้นไป (ปุจฉา-วิสัชนา) คำว่า เทศน์ หรือการเทศน์แบบพิธีการ ในความรู้สึกส่วนใหญ่ของคนไทยมักจะเข้าใจว่าเป็นพิธีกรรมการสอนที่เป็นทางการ เน้นพิธีการ และมีรูปแบบตายตัวที่ผู้เทศน์ไม่สามารถใช้ลูกเล่นหรือใช้อุปกรณ์ เช่น ภาพหรือสื่อประสมมาใช้เพื่อประกอบการเทศน์ได้ ทำให้ในปัจจุบันพระสงฆ์ได้มีปรับเปลี่ยนวิธีการเทศน์ด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น การเทศน์ในพิธีการโดยไม่ใช้สำนวนโบราณ การสอนธรรมะผ่านสื่อต่าง ๆ การแต่งหนังสือ การแต่งเพลงธรรมะ เป็นต้น ซึ่งการเทศน์ด้วยวิธีหลังจะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากกว่า เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ทำนองแบบเทศน์พิธีการ และอาจมีมุกสอดแทรกลงไปทำให้น่าสนใจมากขึ้น.

กัณฑ์และเทศน์ · ปฐมเทศนาและเทศน์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กัณฑ์และปฐมเทศนา

กัณฑ์ มี 5 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปฐมเทศนา มี 25 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 13.33% = 4 / (5 + 25)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กัณฑ์และปฐมเทศนา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »