โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระดูกพิสิฟอร์ม

ดัชนี กระดูกพิสิฟอร์ม

กระดูกพิสิฟอร์ม (Pisiform bone) หรือ กระดูกเลนติฟอร์ม (Lentiform bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือ มีขนาดเล็ก รูปร่างกลมคล้ายเมล็ดถั่วลันเตา กระดูกนี้เป็นกระดูกข้อมือแถวต้น อยู่บริเวณที่กระดูกอัลนา (ulna) เชื่อมกับกระดูกข้อมือ กระดูกนี้เกิดข้อต่อกับกระดูกไตรกีตรัล (triquetral) เท่านั้น กระดูกพิสิฟอร์มจัดเป็นกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ (sesamoid bone) รากศัพท์ของชื่อ พิสิฟอร์ม (pisiform) มาจากภาษาละตินว่า pīsum แปลว่า ถั่วลันเตา (pea).

15 ความสัมพันธ์: กระดูกกระดูกพิสิฟอร์มกระดูกลูเนทกระดูกสแคฟฟอยด์กระดูกอัลนากระดูกฮาเมตกระดูกทราพีซอยด์กระดูกทราพีเซียมกระดูกข้อมือกระดูกแคปปิเตตกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อกระดูกไตรกีตรัลกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสภาษาละตินถั่วลันเตา

กระดูก

กระดูกต้นขาของมนุษย์ กระดูก เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา การเจริญพัฒนาของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน เช่นกะโหลกศีรษะ (skull) ที่มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของสมอง หรือกระดูกต้นขา (femur) ที่มีลักษณะยาวเพื่อเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง เป็นต้น.

ใหม่!!: กระดูกพิสิฟอร์มและกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกพิสิฟอร์ม

กระดูกพิสิฟอร์ม (Pisiform bone) หรือ กระดูกเลนติฟอร์ม (Lentiform bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือ มีขนาดเล็ก รูปร่างกลมคล้ายเมล็ดถั่วลันเตา กระดูกนี้เป็นกระดูกข้อมือแถวต้น อยู่บริเวณที่กระดูกอัลนา (ulna) เชื่อมกับกระดูกข้อมือ กระดูกนี้เกิดข้อต่อกับกระดูกไตรกีตรัล (triquetral) เท่านั้น กระดูกพิสิฟอร์มจัดเป็นกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ (sesamoid bone) รากศัพท์ของชื่อ พิสิฟอร์ม (pisiform) มาจากภาษาละตินว่า pīsum แปลว่า ถั่วลันเตา (pea).

ใหม่!!: กระดูกพิสิฟอร์มและกระดูกพิสิฟอร์ม · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกลูเนท

กระดูกลูเนท หรือ กระดูกรูปเสี้ยวพระจันทร์ (Lunate bone; Semilunar bone) เป็นกระดูกในที่อยู่ภายในมือของมนุษย์ มีลักษณะเด่นคือมีความเว้าและรูปร่างเหมือนพระจันทร์เสี้ยว ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของกระดูกข้อมือแถวต้น (proximal row) อยู่ระหว่างกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกไตรกีตรัล (triangular bone) คำว่า ลูเนท (lunate) มาจากรากศัพท์ภาษาละตินคำว่า luna ที่แปลว่า ดวงจันทร.

ใหม่!!: กระดูกพิสิฟอร์มและกระดูกลูเนท · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสแคฟฟอยด์

กระดูกสแคฟฟอยด์ (Scaphoid bone) อยู่บริเวณข้อมือ พบอยู่ทางด้านนิ้วหัวแม่มือภายในอนาโตมิคัล สนัฟฟ์ บอกซ์ (anatomical snuff-box) ลักษณะคล้ายกับเรือ ในอดีตจึงเรียกกระดูกนี้ว่า navicular (ซึ่งปัจจุบัน navicular หมายถึงกระดูกรูปเรือที่อยู่ในกระดูกข้อเท้า) ขนาดและรูปร่างของกระดูกนี้คล้ายกับเม็ดมะม่วงหิมพานต์ กระดูกสแคฟฟอยด์เป็นกระดูกที่ใหญ่ที่สุดในกระดูกข้อมือแถวต้น (proximal row) อยู่ที่ด้านเรเดียส (ด้านนิ้วหัวแม่มือ) แกนยาวของกระดูกวิ่งจากบนลงล่าง ไปทางด้านข้างและด้านหน้า คำว่า สแคฟฟอยด์ (scaphoid) มาจากภาษากรีกว่า skaphe แปลว่า "เรือ" และ eidos แปลว่า "รูปร่าง".

ใหม่!!: กระดูกพิสิฟอร์มและกระดูกสแคฟฟอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกอัลนา

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกอัลนา (Ulna) หรือ กระดูกปลายแขนด้านนิ้วก้อย เป็นหนึ่งในสองกระดูกที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขนซึ่งเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อที่สำคัญของรยางค์บน คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) และขนานไปกับกระดูกเรเดียส และเชื่อมกันโดยเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) เช่นเดียวกับกระดูกเรเดียส กระดูกอัลนาเป็นจุดเกาะที่สำคัญของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมือ.

ใหม่!!: กระดูกพิสิฟอร์มและกระดูกอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฮาเมต

กระดูกฮาเมต (hamate bone or unciform bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือของมนุษย์ซึ่งมีลักษณะเด่นคือมีรูปร่างคล้ายลิ่ม และทีส่วนยื่นของกระดูกที่มีรูปร่างคล้ายตะขอออกมาจากพื้นผิวด้านฝ่ามือ กระดูกนี้เป็นกระดูกข้อมือ (carpus) ในแถวหลังที่วางตัวอยู่ทางด้านใกล้กลาง (ด้านนิ้วก้อย) ซึ่งมีฐานอยู่ด้านล่างติดกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4 และ 5 ส่วนยอดชี้ขึ้นด้านบนและไปทางด้านข้างลำตัว รากศัพท์ของชื่อกระดูกมาจากภาษาละติน hamus แปลว่า ตะขอ.

ใหม่!!: กระดูกพิสิฟอร์มและกระดูกฮาเมต · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกทราพีซอยด์

กระดูกทราพีซอยด์ (Trapezoid bone; lesser multangular bone) เป็นกระดูกข้อมือชิ้นหนึ่งในสัตว์สี่เท้า (tetrapod) รวมทั้งมนุษย์ มีขนาดเล็กที่สุดในกระดูกข้อมือแถวปลาย มีลักษณะเด่นคือมีรูปร่างเหมือนลิ่ม โดยมีปลายด้านหลังกว้าง และพื้นผิวด้านฝ่ามือแคบ กระดูกนี้มีหน้าประกบเกิดเป็นข้อต่อ 4 หน้าซึ่งแต่ละหน้าแยกกันด้วยขอบแหลมคม รากศัพท์ของ ทราพีซอยด์ (trapezoid) มาจากภาษากรีก trapezion แปลว่า สี่เหลี่ยมไม่สม่ำเสมอ ซึ่งมาจาก tra- แปลว่า สี่ และ peza แปลว่า เท้าหรือขอบ หากแปลตามตัวอักษรอาจแปลได้ว่า โต๊ะขนาดเล็ก มาจาก trapeza หมายถึง โต๊ะ และ -oeides หมายถึง รูปร่าง.

ใหม่!!: กระดูกพิสิฟอร์มและกระดูกทราพีซอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกทราพีเซียม

กระดูกทราพีเซียม (Trapezium bone; Greater multangular bone) เป็นกระดูกข้อมือ (carpus) ในแถวปลาย อยู่ภายในข้อมือ กระดูกทราพีเซียมมีลักษณะเด่นคือจะมีร่องลึกทางด้านฝ่ามือ กระดูกชิ้นนี้จะตั้งอยู่ที่ด้านเรเดียส (ด้านนิ้วหัวแม่มือ) ของข้อมือ ระหว่างกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 (first metacarpal bone) รากศัพท์ของชื่อกระดูกมาจากภาษากรีก trapezion ซึ่งหมายความตามตัวอักษรว่า รูปสี่เหลี่ยมไม่สม่ำเสมอ (irregular quadrilateral) หรือมาจาก trapeza หมายถึง โต๊ะ หรือมาจาก tra- แปลว่า สี่ และ peza แปลว่า เท้า หรือ ขอ.

ใหม่!!: กระดูกพิสิฟอร์มและกระดูกทราพีเซียม · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกข้อมือ

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกข้อมือ (Carpal bones; Carpus) เป็นกลุ่มของกระดูกชิ้นเล็กๆที่เรียงตัวอยู่ระหว่างกระดูกของส่วนปลายแขนและกระดูกฝ่ามือ (Metacarpal bones) และเป็นกระดูกที่ประกอบกันเป็นส่วนประกอบหลักของข้อมือ (wrist) กระดูกส่วนใหญ่ของกลุ่มกระดูกข้อมือจะมีรูปร่างคล้ายลูกเต๋า โดยที่พื้นผิวทางด้านหลังมือ (dorsal surface) และฝ่ามือ (palmar surface) จะมีลักษณะขรุขระเนื่องจากมีเอ็นและปลอกหุ้มเอ็น (tendon sheath) พาดผ่าน ขณะที่พื้นผิวด้านอื่นๆจะค่อนข้างเรียบเพื่อต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆได้อย่างสนิท สำหรับในมนุษย์ จะมีกระดูกข้อมือจำนวน 8 ชิ้น ซึ่งจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือกระดูกข้อมือที่ติดต่อกับกระดูกเรเดียส จะเรียกว่า กระดูกข้อมือแถวแรก (proximal row) ซึ่งมีจำนวน 4 ชิ้น ส่วนอีกกลุ่มจะติดต่อกับกระดูกฝ่ามือ จะเรียกว่ากระดูกข้อมือแถวหลัง (distal row) ซึ่งมีจำนวน 4 ชิ้นเช่นกัน.

ใหม่!!: กระดูกพิสิฟอร์มและกระดูกข้อมือ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกแคปปิเตต

กระดูกแคปปิเตต (Capitate bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือของมนุษย์ กระดูกนี้นับว่าเป็นกระดูกข้อมือที่ใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่ตรงกลางของข้อมือ ส่วนบนมีลักษณะเป็นหัวกระดูกกลม ซึ่งรับกับส่วนของกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกลูเนท (lunate) และถัดลงมาเป็นส่วนคอดเรียกว่า คอกระดูก และด้านล่างเป็นตัวกระดูก รากศัพท์ของชื่อกระดูก มาจากภาษาละติน capitātus แปลว่า มีหัว มาจาก capit- แปลว่า หัว.

ใหม่!!: กระดูกพิสิฟอร์มและกระดูกแคปปิเตต · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ

กระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ หรือ กระดูกเซซามอยด์ (sesamoid bone) ในทางกายวิภาคศาสตร์เป็นกระดูกชนิดหนึ่งที่ฝังอยู่ในเอ็นกล้ามเนื้อ รูปร่างของกระดูกจะคล้ายเมล็ดงา มักจะพบในตำแหน่งที่เอ็นกล้ามเนื้อพาดข้ามข้อต่อ เช่นในมือ, เข่า, และเท้า หน้าที่ของกระดูกชนิดนี้คือทำหน้าที่ปกป้องเอ็นกล้ามเนื้อและช่วยเพิ่มความได้เปรียบเชิงกล การมีกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อจะช่วยให้เอ็นกล้ามเนื้ออยู่ห่างจากศูนย์กลางของข้อเล็กน้อย ซึ่งช่วยทำให้เพิ่มความยาวแขนโมเมนต์ในการหมุน นอกจากนั้นกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อยังช่วยป้องกันไม่ให้เอ็นแบนเข้าไปในข้อต่อเมื่อความตึงมากขึ้น และช่วยคงให้แขนโมเมนต์คงที่ไม่ว่าจะต้องรับแรงมากเท่าใด กระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อแตกต่างจากเมนิสคัส (Meniscus) ซึ่งเป็นกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่ช่วยกระจายน้ำหนักของร่างกายที่ลงบนข้อต่อและช่วยลดแรงเสียดทานขณะที่เคลื่อนไหว.

ใหม่!!: กระดูกพิสิฟอร์มและกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกไตรกีตรัล

กระดูกไตรกีตรัล (Triquetral bone; หรืออาจเรียกว่า triquetrum bone, cuneiform bone, pyramidal bone, cubital bone, three-cornered bone, และ triangular bone) เป็นกระดูกที่อยู่บริเวณข้อมือ อยู่บริเวณด้านใกล้กลาง (medial side) ของกระดูกข้อมือแถวต้น ระหว่างกระดูกลูเนท (lunate) และกระดูกพิสิฟอร์ม (pisiform) กระดูกนี้อยู่ด้านอัลนา (ด้านนิ้วก้อย) ของมือ แต่ไม่เกิดข้อต่อกับกระดูกอัลนา กระดูกไตรกีตรัลเกิดข้อต่อกับกระดูกพิสิฟอร์ม, กระดูกฮาเมต (hamate), และกระดูกลูเนท กระดูกนี้มีโอกาสหักมากเป็นอันดับที่ 3 เมื่อเกิดกระดูกข้อมือหัก กระดูกไตรกีตรัลมีลักษณะเด่นคือ มีรูปร่างคล้ายพีระมิด และที่เด่นชัดที่สุดคือรอยบุ๋มรูปวงรีที่อยู่บนพื้นผิวด้านหน้า ซึ่งเป็นบริเวณเกิดข้อต่อกับกระดูกพิสิฟอร์ม กระดูกนี้อยู่ด้านบนและด้านอัลนาของข้อมือ ในการคลำกระดูกนี้เพื่อตรวจ มือต้องอยู่ในท่าเบนไปทางนิ้วหัวแม่มือเพื่อให้กระดูกไตรกีตรัลเลื่อนออกจากสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกอัลนา (ulnar styloid process) กระดูกไตรกีตรัลอาจหาได้ยากเพราะว่ากระดูกนี้วางตัวอยู่ใต้กระดูกพิสิฟอร์ม รากศัพท์ของชื่อกระดูกนี้มาจากภาษาละติน triquetrus ซึ่งแปลว่า สามเหลี่ยม (three-cornered).

ใหม่!!: กระดูกพิสิฟอร์มและกระดูกไตรกีตรัล · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (flexor carpi ulnaris muscle; FCU) เป็นกล้ามเนื้อของปลายแขนของมนุษย์ ทำหน้าที่งอ (flex) และหุบ (adduct) มือ.

ใหม่!!: กระดูกพิสิฟอร์มและกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: กระดูกพิสิฟอร์มและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ถั่วลันเตา

''Pisum sativum'' ถั่วลันเตา จัดอยู่ในตระกูลถั่ว มีถิ่นกำเนิด แถบประเทศ เอธิโอเปีย ต่อมา แพร่กระจายปลูก ในแถบ เมดิเตอร์เรเนียน และเอเชีย และเขตอบ อุ่นต่างๆ ของโลก ถั่วลันเตา เป็นพืชฤดูเดียว มีใบแบสลับ ปลายใบเปลี่ยน เป็นมือเกาะ การเจริญ เติบโตแบบพุ่ม หรือขึ้นค้าง บางสายพันธุ์ อาจมีเฉพาะ ใบบางพันธุ์ อาจมีเฉพาะ มือเกาะ ใบมีสีเขียวอ่อน ถึงสีเขียวเข้ม ลำต้นเล็ก เป็นเหลี่ยม รากเป็นระบบ รากแก้ว ดอกเป็นแบบ ดอกสมบูรณ์เพศ ผสมตัวเอง สามารถแบ่ง ประเภทของ ถั่วลันเตาเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภท ฝักเหนียว และแข็ง เมล็ดโต นิยมปลูกเพื่อ รับประทานเมล็ด ส่วนอีกชนิดปลูก เพื่อรับประทานฝักสด โดยฝักจะมี ขนาดใหญ่ มีปีก เป็นต้น.

ใหม่!!: กระดูกพิสิฟอร์มและถั่วลันเตา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

PisiformPisiform boneพิสิฟอร์ม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »