โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เขตลัมบักนางคากายัน

ดัชนี เขตลัมบักนางคากายัน

ลัมบักนางคากายัน (Lambak ng Cagayan; Cagayan Valley; อีโลคาโน: Tanap ti Cagayan; อีบานัก: Tana' na Cagayan; อีตาวิส: Tanap yo Cagayan) หรือ เขตที่ 2 เป็นเขตการปกครองระดับบนสุดเขตหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะลูซอน ประกอบด้วยจังหวัด 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดบาตาเนส, จังหวัดคากายัน, จังหวัดอีซาเบลา, จังหวัดนูเวบาบิซคายา และจังหวัดคีรีโน และมีนคร 4 แห่ง ได้แก่ คาวายัน, อีลากัน, ซันเตียโก และตูเกกาเรา พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในหุบเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะ อยู่ระหว่างทิวเขาคอร์ดิลเยรา‎กับซีเยร์รามาเดร แม่น้ำสายสำคัญคือแม่น้ำคากายัน ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่สองของประเทศ ไหลจากทิวเขาคาราบัลโยทางทิศใต้ ไปสู่ช่องแคบลูซอนทางทิศเหนือ เขตนี้ยังครอบคลุมถึงหมู่เกาะบาบูยันและกลุ่มเกาะบาตาเนสทางทิศเหนืออีกด้วย ลัมบักนางคากายันเป็นเขตที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของประเทศ รองจากเขตมีมาโรป.

19 ความสัมพันธ์: บัสโกบารังไกย์บาโยมโบงภาษาอังกฤษภาษาอีบานักภาษาอีวาตันภาษาอีโลกาโนภาษาตากาล็อกอีลากันจังหวัดบาตาเนสจังหวัดอีซาเบลาจังหวัดคากายันจังหวัดคีรีโนจังหวัดนูเวบาบิซคายาคาบาร์โรกิสตูเกกาเราประเทศฟิลิปปินส์เกาะลูซอนเขตมีมาโรปา

บัสโก

ทศบาลบัสโก (Bayan ng Basco; อีโลกาโน: Ili ti Basco), เป็นเทศบาลหลักของจังหวัดบาตาเนส เขตลัมบักนางคากายัน ประเทศฟิลิปปินส์ มีประชากรประมาณ 8,579 คนในปี..

ใหม่!!: เขตลัมบักนางคากายันและบัสโก · ดูเพิ่มเติม »

บารังไกย์

รังไกย์ เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นของรัฐบาลที่เล็กที่สุดในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นคำที่ชาวฟิลิปปินส์พื้นเมืองสำหรับหมู่บ้านตำบลหรือวอร์ด ในการใช้งานเป็นภาษาพูดคำที่มักจะหมายถึงเขตเมืองชั้นในย่านชานเมืองหรือย่านชานเมือง คำว่าบารังไกย์คำมาจาก Balangay ชนิดของเรือที่ใช้โดยกลุ่มของประชาชนออสโตรนีเชียน เมื่อพวกเขาอพยพไปอยู่ในฟิลิปปินส์ ในเขตเทศบาลเมืองและเมืองที่มีองค์ประกอบของเกส์และพวกเขาอาจจะถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ขนาดเล็กที่เรียกว่า Purok (ไทย:เขต) และ Sitio ซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ภายในวงล้อมรังเกย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท ณ วันที่ 30 กันยายน 2012 จำนวนบารังไกย์มีจำนวน 42,028 บารังไกย์ทั่วฟิลิปปิน.

ใหม่!!: เขตลัมบักนางคากายันและบารังไกย์ · ดูเพิ่มเติม »

บาโยมโบง

ทศบาลบาโยมโบง เป็นเทศบาลหลักของจังหวัดนูเวบาบิซคายา ประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดนูเวบาบิซคายา ประชากรในปี..

ใหม่!!: เขตลัมบักนางคากายันและบาโยมโบง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: เขตลัมบักนางคากายันและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอีบานัก

ภาษาอีบานัก มีผู้พูด 500,000 คน ในฟิลิปปินส์ตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดอีซาเบลา จากายัน โซลานา จาบากัน และอีลากัน รวมทั้งผู้อพยพไปอยู่ ตะวันออกกลางและสหรัฐ ผู้พูดภาษานี้ ส่วนใหญ่จะพูดภาษาอีโลกาโน ที่เป็นภาษากลางของลูซอนภาคเหนือได้ด้วย คำว่า “อีบานัก” มาจาก “บันนัก” แปลว่าแม่น้ำ ใกล้เคียงกับภาษากัดดัง ภาษาอีตาวิส ภาษาอักตา ภาษาโยกัด และภาษามาลาเวก อีบานัก.

ใหม่!!: เขตลัมบักนางคากายันและภาษาอีบานัก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอีวาตัน

ภาษาอีวาตัน หรืออีบาตัน เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซีย มีผู้พูดบนเกาะบาตาเนส ทางเหนือสุดของฟิลิปปินส์ เนื่องจากอยู่ใกล้ไต้หวัน จึงมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาพื้นเมืองในไต้หวัน มากกว่าภาษาในฟิลิปปินส์อื่นๆ แต่ไม่จัดอยู่ในภาษากลุ่มเกาะฟอร์โมซา อักษร “e” จะออกเสียงใกล้เคียงกับ “uh” ในภาษาอังกฤษ เช่น palek ออกเสียงเป็น pa-luhk อีวาตัน.

ใหม่!!: เขตลัมบักนางคากายันและภาษาอีวาตัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอีโลกาโน

ษาอีโลกาโนเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นลำดับสามในฟิลิปปินส์ เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนซึ่งใกล้เคียงกับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮิติ ภาษาชาร์โมโร ภาษาเตตุมและภาษาไปวัน.

ใหม่!!: เขตลัมบักนางคากายันและภาษาอีโลกาโน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตากาล็อก

ษาตากาล็อก เป็นหนึ่งในภาษาหลักของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุม และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนในไต้หวันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้เป็นภาษากลางภายในประเทศ มีผู้พูดราว 85 ล้านคน ในทางธุรกิจนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากกว.

ใหม่!!: เขตลัมบักนางคากายันและภาษาตากาล็อก · ดูเพิ่มเติม »

อีลากัน

อีลากัน (อีบานัก: Siudad nat Ilagan; อีโลกาโน: Siudad ti Ilagan; Lungsod ng Ilagan) หรือชื่ออย่างเป็นทางการ นครอีลากัน, เป็นนครศูนย์กลางของจังหวัดอีซาเบลา ประเทศฟิลิปปินส์ ประชากรในปี..

ใหม่!!: เขตลัมบักนางคากายันและอีลากัน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดบาตาเนส

ังหวัดบาตาเนส (อีวาตัน: Probinsya nu Batanes; อีโลกาโน: Probinsia ti Batanes; Lalawigan ng Batanes) เป็นจังหวัดหมู่เกาะของเขตลัมบักนางคากายัน ประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุด มีพื้นที่และประชากรน้อยที่สุดของประเทศ เมืองหลักคือบัสโก ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะบาตัน หมู่เกาะนี้ อยู่ห่างจากเกาะลูซอนไปทางทิศเหนือ และอยู่ห่างจากเกาะไต้หวันไปทางทิศใต้ จังหวัดนี้แยกจากหมู่เกาะบาบูยันของจังหวัดคากายันโดยช่องแคบบาลินตัง และแยกจากไต้หวันโดยช่องแคบบาชี.

ใหม่!!: เขตลัมบักนางคากายันและจังหวัดบาตาเนส · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอีซาเบลา

ังหวัดอีซาเบลา (อีโลกาโน: Probinsia ti Isabela; Lalawigan ng Isabela) เป็นจังหวัดที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดบนเกาะลูซอน เมืองหลักคืออีลากัน ตั้งอยู่ในเขตลัมบักนางคากายัน อยู่ติดกับจังหวัดคากายันทางทิศเหนือ, ติดกับจังหวัดกาลิงกาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ, ติดกับจังหวัดเมาน์เทนทางทิศตะวันตก, ติดกับจังหวัดอีฟูเกาและนูเวบาบิซคายาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้, ติดกับจังหวัดคีรีโนและเอาโรรา‎ทางทิศใต้ และติดกับทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก ผลผลิตทางเกษตรกรรมที่สำคัญได้แก่ ข้าว และข้าวโพด ในปี..

ใหม่!!: เขตลัมบักนางคากายันและจังหวัดอีซาเบลา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดคากายัน

ังหวัดคากายัน (อีโลกาโน: Probinsia ti Cagayan, ฟิลิปีโน: Lalawigan ng Cagayan) เป็นจังหวัดในเขตลัมบักนางคากายันของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะลูซอน และยังรวมพื้นที่ของหมู่เกาะบาบูยันทางทิศเหนือ จังหวัดคากายันอยู่ติดกับจังหวัดฮีลากังอีโลโคสและอาปาเยาทางทิศตะวันตก และติดกับจังหวัดกาลิงกาและอีซาเบลาทางทิศใต้ เมืองหลักคือตูเกกาเรา จังหวัดมีพื้นที่ 9,295.75 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ทำให้เป็นจังหวัดที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของเขตลัมบักนางคากายัน สำหรับในปี..

ใหม่!!: เขตลัมบักนางคากายันและจังหวัดคากายัน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดคีรีโน

ังหวัดคีรีโน (อีโลกาโน: Probinsia ti Quirino) เป็นจังหวัดที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเขตลัมบักนางคากายันของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งชื่อตามเอลปิดิโอ กีริโน ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนที่ 6 เมืองหลักคือคาบาร์โรกิส จังหวัดคีรีโน มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดเอาโรรา‎ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้, จังหวัดนูเวบาบิซคายาทางทิศตะวันตก และจังหวัดอีซาเบลาทางทิศเหนือ จังหวัดคีรีโนเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดนูเวบาบิซคายา จนถึงปี..

ใหม่!!: เขตลัมบักนางคากายันและจังหวัดคีรีโน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนูเวบาบิซคายา

ังหวัดนูเวบาบิซคายา (อีโลกาโน: Probinsia ti Nueva Vizcaya) เป็นจังหวัดในเขตลัมบักนางคากายันของประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลักคือบาโยมโบง อาณาเขตติดต่อกับจังหวัดเบงเกตทางทิศตะวันตก, ติดกับจังหวัดอิฟูเกาทางทิศเหนือ, ติดกับจังหวัดอีซาเบลาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ, ติดกับจังหวัดคีรีโนทางทิศตะวันออก, ติดกับจังหวัดเอาโรรา‎ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้, ติดกับจังหวัดนูเวบาเอซีฮาทางทิศใต้ และติดกับจังหวัดปังกาซีนันทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เขตเทือกเขาคอร์ดิลเลรัส จังหวัดนูเวบาบิซคายามีพื้นที่ 3,975.67 ตารางกิโลเมตร และเป็นจังหวัดใต้สุดของเขตลัมบักนางคากายัน อยู่ห่างจากเมโทรมะนิลาไปทางทิศเหนือประมาณ สามารถเดินทางได้โดยถนนลัมบักนางคากายัน (ทางหลวงมาฮาร์ลิกา).

ใหม่!!: เขตลัมบักนางคากายันและจังหวัดนูเวบาบิซคายา · ดูเพิ่มเติม »

คาบาร์โรกิส

ทศบาลคาบาร์โรกิส เป็นเทศบาลศูนย์กลางของจังหวัดคีรีโน ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี..

ใหม่!!: เขตลัมบักนางคากายันและคาบาร์โรกิส · ดูเพิ่มเติม »

ตูเกกาเรา

นครตูเกกาเรา (อีบานัก: Siudad nat Tuguegarao; อีตาเวส: Siudad yo Tuguegarao; อีโลกาโน: Siudad ti Tuguegarao; Lungsod ng Tuguegarao) เป็นนครศูนย์กลางของจังหวัดคากายันและเขตลัมบักนางคากายัน ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นเมืองหลักที่สำคัญทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นหนึ่งในเมืองที่เติบโตเร็วที่สุดของผระเทศ สมญาของนครคือ “ประตูสู่อีโลแกนเดียและคอร์ดิลเลรัส”http://www.rdc2.gov.ph/invest/tuguegarao/index.php/basicfacts/reasons-to-invest ตัวนครตั้งอยู่บริเวณขอบด้านใต้ของจังหวัด บริเวณที่แม่น้ำปินาคานาอวนไหลรวมกับแม่น้ำคากายัน และล้อมรอบด้วยเทือกเขาเซียร์รามาเดรทางทิศตะวันออก, เทือกเขาคอร์ดิลเลราทางทิศตะวันตก และเทือกเขาคาราบัลโลทางทิศใต้ ประชากรในปี..

ใหม่!!: เขตลัมบักนางคากายันและตูเกกาเรา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: เขตลัมบักนางคากายันและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะลูซอน

ลูซอน (Luzon) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองมากที่สุดของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นหนึ่งในกลุ่มเกาะทั้งสามกลุ่มของประเทศ (อีกสองกลุ่มได้แก่ วีซายันและมินดาเนา) โดยกลุ่มเกาะลูซอน ได้แก่ ตัวเกาะลูซอนเอง รวมทั้งหมู่เกาะบาตันและหมู่เกาะบาบูยันทางทิศเหนือ และเกาะต่าง ๆ ทางทิศใต้ ได้แก่ เกาะกาตันดัวเนส เกาะมารินดูเก เกาะมัสบาเต เกาะรอมบลอน และเกาะมินโดโร เกาะลูซอนปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในชื่อว่า "จักรวรรดิซ้องน้อย" (Lesser Song Empire) หรือ Lusong Kok จากนั้นนักสำรวจชาวโปรตุเกสได้บันทึกเกาะนี้ไว้ในแผนที่ของพวกเขาในชื่อ "ลูโซเนีย" (Luçonia) หรือ "ลูซอน" (Luçon) ชาวสเปนเข้ามาถึงเกาะนี้และอ้างกรรมสิทธิ์เพื่อครอบครองในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ภายใต้การปกครองของสเปน ลูซอนยังมีชื่อเรียกว่า นวยบากัสตียา (Nueva Castilla) หรือ นิวคาสตีล (New Castile) อีกด้วย ต่อมาในช่วงการปฏิวัติฟิลิปปินส์ เอมีลีโอ อากีนัลโดได้ประกาศเอกราชจากสเปนและจัดตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 ที่เกาะแห่งนี้ แต่หลังจากนั้นทั้งหมู่เกาะก็ตกไปอยู่ในการปกครองของสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งเกาะลูซอนและเกาะอื่น ๆ ได้เอกราชอย่างสมบูรณ์อีกครั้งในปี ค.ศ. 1946 ลูซอน.

ใหม่!!: เขตลัมบักนางคากายันและเกาะลูซอน · ดูเพิ่มเติม »

เขตมีมาโรปา

ตเซาเวสเทิร์นตากาล็อก หรือ เขตมีมาโรปา เป็นเขตหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ เคยเป็นเขตที่ 4-B จนถึง..

ใหม่!!: เขตลัมบักนางคากายันและเขตมีมาโรปา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Cagayan Valley

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »