โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กล้ามเนื้อโครงร่าง

ดัชนี กล้ามเนื้อโครงร่าง

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงร่าง กล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeletal Muscle) เป็นกล้ามเนื้อลายชนิดหนึ่งซึ่งมักมีส่วนยึดติดกับกระดูก กล้ามเนื้อโครงร่างเป็นกล้ามเนื้อที่ใช้สำหรับทำให้เกิดการเคลื่อนไหว โดยสร้างแรงกระทำกับกระดูกและข้อผ่านการหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยทั่วไปจะทำงานอยู่ภายใต้การควบคุม (ผ่านการกระตุ้นเส้นประสาทโซมาติก) อย่างไรก็ดี กล้ามเนื้อโครงร่างสามารถหดตัวนอกเหนือการควบคุมได้ผ่านรีเฟลกซ์ เซลล์กล้ามเนื้อ (บางครั้งเรียกว่า ใยกล้ามเนื้อ) มีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว หนึ่งเซลล์มีหลายนิวเคลียส นิวเคลียสของเซลล์กล้ามเนื้อนี้อยู่ที่ส่วนริมเซลล์ ใต้เยื่อหุ้มเซลล์ เพื่อให้ตรงกลางเซลล์มีที่ว่างสำหรับ myofibril (ในทางกลับกัน หากนิวเคลียสของเซลล์กล้ามเนื้อโครงร่างไปอยู่ตรงกลางเซลล์ จะถือว่าเป็นภาวะทางพยาธิวิทยาที่เรียกว่า centronuclear myopathy) กล้ามเนื้อโครงร่างจะมีปลายข้างหนึ่ง (จุดเกาะต้น) เกาะติดกับกระดูกส่วนที่ใกล้กับแกนกลางร่างกายมากกว่าและมักเป็นกระดูกที่ค่อนข้างยึดแน่น และปลายอีกข้างหนึ่ง (จุดเกาะปลาย) เกาะข้ามข้อไปยังกระดูกอีกชิ้นหนึ่งที่อยู่ห่างจากแกนกลางร่างกายมากกว่า การหดตัวของกล้ามเนื้อโครงร่างจะทำให้กระดูกหมุนตามข้อ เช่น กล้ามเนื้อที่ชื่อว่า biceps brachii มีจุดเกาะต้นอยู่ที่กระดูกสะบัก และมีจุดเกาะปลายอยู่ที่กระดูกเรเดียส (ส่วนหนึ่งของแขนท่อนล่าง) เมื่อกล้ามเนื้อนี้หดตัว จะทำให้เกิดการงอแขนที่ข้อศอก เป็นต้น การแบ่งประเภทของกล้ามเนื้อโครงร่างนั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน วิธีหนึ่งคือแบ่งตามโปรตีนที่มีอยู่ใน myosin วิธีนี้จะทำให้ได้กล้ามเนื้อโครงร่างสองชนิด คือ ชนิดที่หนึ่ง (Type I) และชนิดที่สอง (Type II) กล้ามเนื้อ Type I จะมีสีออกแดง มีความทนมากและทำงานได้นานก่อนจะล้าเนื่องจากใช้พลังงานจากกระบวนการ oxidative metabolism ส่วนกล้ามเนื้อ Type II จะมีสีออกขาว ใช้สำหรับการทำงานที่ต้องการความเร็วและกำลังมากในระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะล้าไป กล้ามเนื้อชนิดนี้ใช้พลังงานจากทั้งกระบวน oxidative metabolism และ anaerobic metabolism ขึ้นอยู่กับชนิดย่อยแต่ละชนิด * fr:Muscle strié.

12 ความสัมพันธ์: พยาธิวิทยากระดูกกระดูกสะบักกระดูกเรเดียสกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอรีเฟล็กซ์ข้อศอกข้อต่อนิวเคลียสโปรตีนเยื่อหุ้มเซลล์เซลล์ (ชีววิทยา)

พยาธิวิทยา

วิทยา เป็นการศึกษาและวินิจฉัยโรคจากการตรวจอวัยวะ, เนื้อเยื่อ, เซลล์, สารคัดหลั่ง, และจากทั้งร่างกายมนุษย์ (จากการชันสูตรพลิกศพ) พยาธิวิทยายังหมายถึงการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของการดำเนินโรค ซึ่งหมายถึงพยาธิวิทยาทั่วไป (General pathology) พยาธิวิทยาทางการแพทย์แบ่งออกเป็น 2 สาขาหลักๆ ได้แก่ พยาธิกายวิภาค (Anatomical pathology) และพยาธิวิทยาคลินิก (Clinical pathology) นอกจากการศึกษาในคนแล้ว ยังมีการศึกษาพยาธิวิทยาในสัตว์ (Veterinary pathology) และในพืช (Phytopathology) ด้วย วิชาพยาธิวิทยามักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพยาธิหรือปรสิตเนื่องจากมีคำที่พ้องรูปกัน ซึ่งในความเป็นจริงวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพยาธิคือวิชาปรสิตวิทยา (Parasitology) ส่วนผู้ที่มีอาชีพทางด้านพยาธิวิทยาเรียกว่าพยาธิแพท.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อโครงร่างและพยาธิวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

กระดูก

กระดูกต้นขาของมนุษย์ กระดูก เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา การเจริญพัฒนาของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน เช่นกะโหลกศีรษะ (skull) ที่มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของสมอง หรือกระดูกต้นขา (femur) ที่มีลักษณะยาวเพื่อเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง เป็นต้น.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อโครงร่างและกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสะบัก

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกสะบัก (Scapula) เป็นกระดูกแบบแบน (flat bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) โดยมีส่วนที่ติดต่อกับกระดูกไหปลาร้า (clavicle) และกระดูกต้นแขน (humerus) นอกจากนี้ยังเป็นที่ยึดเกาะของเอ็นเพื่อประกอบเป็นข้อต่อไหล่ (shoulder joint) และมีกล้ามเนื้อหลายมัดที่มีพื้นผิวบนกระดูกสะบักเป็นจุดเกาะต้น (origin) และจุดเกาะปลาย (insertion) อีกด้วย ดังนั้นกระดูกสะบักจึงเป็นกระดูกที่มีความสำคัญยิ่งในการเคลื่อนไหวของแขนรอบข้อต่อไหล.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อโครงร่างและกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกเรเดียส

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกเรเดียส (Radius, ภาษาละตินอ่านว่า ราดิอุส) หรือกระดูกปลายแขนด้านนิ้วหัวแม่มือ เป็นหนึ่งในกระดูกสองชิ้นที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขน และเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อสองจุดที่สำคัญ คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) กระดูกเรเดียสจะมีลักษณะเป็นแท่งยาวคล้ายรูปปริซึม และวางอยู่ทางด้านข้างของกระดูกอัลนา (Ulna, ภาษาละตินอ่านว่า อุลนา) โดยจะมีแผ่นของเอ็นซึ่งเรียกว่า เอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) และยังเป็นกระดูกที่มีจุดเกาะของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เพื่อรองรับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมืออีกด้ว.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อโครงร่างและกระดูกเรเดียส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ (Biceps brachii muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญมัดหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ด้านหน้าของต้นแขน (Anterior compartment of arm) กล้ามเนื้อมัดนี้มีหน้าที่หลายประการ แต่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการงอแขนและการหมุนของปลายแขนโดยมีข้อศอกเป็นจุดหมุน กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ ยังเป็นกล้ามเนื้อที่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักกันดี เนื่องจากเป็นกล้ามเนื้อที่เห็นได้ชัดจากภายนอก และสามารถบริหารกล้ามเนื้อนี้ให้มีรูปร่างที่ต้องการได้ง่ายโดยการยกน้ำหนัก.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อโครงร่างและกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ · ดูเพิ่มเติม »

รีเฟล็กซ์

รีเฟล็กซ์ หรือ ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ (Reflex) เป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยนอกการควบคุมของจิตใจ (involuntary) ที่เกิดขึ้นอย่างแทบฉับพลันทันที (instantaneous) เพื่อเป็นการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น (stimulus) โดยปกติและเมื่อหมายถึงรีเฟล็กซ์ของมนุษย์แล้ว รีเฟล็กซ์จะเกิดผ่านระบบการนำกระแสประสาทที่เรียกว่า วงรีเฟล็กซ์ (reflex arc) ซึ่งเมื่อกล่าวถึงสัตว์ประเภทอื่นๆ คำว่ารีเฟล็กซ์อาจมีรายละเอียดของความหมายที่แตกต่างกันออกไปได้.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อโครงร่างและรีเฟล็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ข้อศอก

้อศอก (Elbow joint) เป็นข้อต่อที่เกิดจากการติดต่อกันระหว่างกระดูกสามชิ้น คือ กระดูกต้นแขน (humerus) กระดูกอัลนา (Ulna) และกระดูกเรเดียส (Radius) และเป็นข้อต่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนไหวของปลายแขน (forearm) โดยเฉพาะการงอ-เหยียด และการพลิกปลายแขน ข้อศอกยังเป็นข้อต่อที่มีเอ็นรอบข้อต่อและกล้ามเนื้อต่างๆมาช่วยในการค้ำจุนระหว่างการเคลื่อนไหว รวมทั้งมีแขนงของหลอดเลือดและเส้นประสาทในบริเวณใกล้เคียงมาเลี้ยงอีกด้ว.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อโครงร่างและข้อศอก · ดูเพิ่มเติม »

ข้อต่อ

้อ หรือ ข้อต่อ (Joints) ในทางกายวิภาคศาสตร์ หมายถึงบริเวณที่กระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมีการติดต่อกัน ทำให้กระดูกมีการทำงานร่วมกันเป็นระบบเพื่อการค้ำจุนปกป้องร่างกายและการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสม ข้อต่อในร่างกายมนุษย์มีหลายแบบ และสามารถจัดจำแนกได้ตามลักษณะโครงสร้าง และคุณสมบัติในการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อโครงร่างและข้อต่อ · ดูเพิ่มเติม »

นิวเคลียส

นิวเคลียส (nucleus, พหูพจน์: nucleuses หรือ nuclei (นิวคลีไอ) มีความหมายว่า ใจกลาง หรือส่วนที่อยู่ตรงกลาง โดยอาจมีความหมายถึงสิ่งต่อไปนี้ โดยคำว่า นิวเคลียส (Nucleus) เป็นคำศัพท์ภาษาละตินใหม่ (New Latin) มาจากคำศัพท์เดิม nux หมายถึง ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว (nut).

ใหม่!!: กล้ามเนื้อโครงร่างและนิวเคลียส · ดูเพิ่มเติม »

โปรตีน

3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..

ใหม่!!: กล้ามเนื้อโครงร่างและโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มเซลล์

ื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ (plasma membrane) เป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ชิดกับผนังเซลล์ อาจมีลักษณะเรียบ หรือพับไปมา เพื่อขยายขนาดเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในเซลล์ เรียกว่า มีโซโซม (mesosome) หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า "เซลล์คุม" มีหน้าที่ควบคุม การเข้าออกของน้ำ สารอาหาร และอิออนโลหะต่าง ๆ เป็นตัวแสดงขอบเขตของเซลล์ เซลล์ทุกชนิดต้องมีเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยสารประกอบสองชนิด คือ ไขมันชนิดฟอสโฟลิปิดกับโปรตีน โดยมีฟอสโฟลิปิดอยู่ตรงกลาง 2 ข้างเป็นโปรตีน โดยมีไขมันหนาประมาณ 35 อังสตรอม และโปรตีนข้างละ 20 อังสตรอม รวมทั้งหมดหนา 75 อังสตรอม ลักษณะที่แสดงส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์นี้ต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จึงจะเห็นได้ เยื่อหุ้มสามารถแตกตัวเป็นทรงกลมเล็ก ๆ เรียกเวสิเคิล (Vesicle) ซึ่งมีช่องว่างภายใน (Lumen) ที่บรรจุสารต่าง ๆ และสามารถเคลื่อนที่ไปหลอมรวมกับเยื่อหุ้มอื่น ๆ ได้ การเกิดเวสิเคิลนี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับการขนส่งสารระหว่างออร์แกแนลล์ และการขนส่งสารออกนอกเซลล์ที่เรียกเอกโซไซโทซิส (Exocytosis) ตัวอย่างเช่น การที่รากเจริญไปในดิน เซลล์รากจะสร้างมูซิเลจ (Mucilage) ซึ่งเป็นสารสำหรับหล่อลื่น เซลล์สร้างมูซิเลจบรรจุในเวสิเคิล จากนั้นจะส่งเวสิเคิลนั้นมาหลอมรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์เพื่อปล่อยมูสิเลจออกนอกเซลล์ ในกรณีที่มีความต้องการขนส่งสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์จะเว้าเข้าไปด้านใน ก่อตัวเป็นเวสิเคิลหลุดเข้าไปในเซลล์ โดยมีสารที่ต้องการอยู่ภายในช่องว่างของเวสิเคิล การขนส่งแบบนี้เรียกเอ็นโดไซโตซิส (Endocytosis) นอกจากนั้น เยื่อหุ้มยังทำหน้าที่เป็นเยื่อเลือกผ่าน ยอมให้เฉพาะสารที่เซลล์ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้เท่านั้นผ่านเข้าออกได้ การแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เกิดขึ้นได้ดีกับสารที่ละลายในไขมันได้ดี ส่วนสารอื่น ๆ เช่น ธาตุอาหาร เกลือ น้ำตาล ที่แพร่เข้าเซลล์ไม่ได้ จะใช้การขนส่งผ่านโปรตีนที่เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบที่ใช้และไม่ใช้พลังงาน.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อโครงร่างและเยื่อหุ้มเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ (ชีววิทยา)

ทฤษฎีเซลล์ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยแมตเทียส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) และ ทีโอดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwann) ได้อธิบายว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า เซลล์ทั้งหมดมีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีมาก่อน (preexisting cells) ระบบการทำงานเพื่อความอยู่รอดของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์ และภายในเซลล์ยังประกอบด้วยข้อมูลทางพันธุกรรม (hereditary information) ซึ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมการทำงานของเซลล์ และการส่งต่อข้อมูลทางพันธุกรรมไปยังเซลล์รุ่นต่อไป คำว่าเซลล์ มาจากภาษาละตินที่ว่า cella ซึ่งมีความหมายว่า ห้องเล็กๆ ผู้ตั้งชื่อนี้คือโรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) เมื่อเขาเปรียบเทียบเซลล์ของไม้คอร์กเหมือนกับห้องเล็ก.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อโครงร่างและเซลล์ (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Skeletal muscle

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »