โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อันดับพะยูน

ดัชนี อันดับพะยูน

อันดับพะยูน เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sirenia เดิมที สัตว์ในอันดับนี้ถูกจัดให้อยู่ในอันดับเดียวกับอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ด้วยเห็นว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล และมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1816 อ็องรี มารี ดูว์ครอแต เดอ แบล็งวีล นักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นบุคคลแรกที่ทำการแยกความแตกต่างระหว่างพะยูนกับโลมาและวาฬ ออกจากกันและจัดพะยูนเข้าไว้ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกีบในอันดับ Sirenia โดยนับว่าพะยูนมีบรรพบุรุษร่วมกันกับช้างมาก่อน คือ Paenungulata รวมถึงการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของพะยูนสกุล Eotheroides ที่พบในประเทศอียิปต์ พบว่ามีลักษณะบางอย่างเหมือนและใกล้เคียงกันกับ Moeritherium ซึ่งเป็นต้นตระกูลของช้างยุคอีโอซีนตอนต้น (ประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว) Eotheroides เป็นสัตว์มี 4 ขา มีฟันครบและอาศัยอยู่ในน้ำ ต่อมามีวิวัฒนาการเพื่อให้อาศัยอยู่ในน้ำได้ดีขึ้น โดยที่ขาหลังจะลดขนาดลงและหายไปในที่สุด ส่วนขาหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะคล้ายใบพายเพื่อให้เหมาะสมกับการว่ายน้ำ จากนั้นก็มีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ จนกลายมาเป็นพะยูนในปัจจุบัน อีกทั้ง แอนสท์ แฮคเคิล นักชีววิทยาชาวเยอรมันได้วิจัยเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน โดยพบว่าตัวอ่อนของสัตว์ทั้งสองนี้มีโครงสร้างทางสรีระที่คล้ายกันมากจนในอดีตเมื่อ 40 ล้านปีก่อน ช้างและพะยูนมีต้นตระกูลร่วมกัน ถึงวันนี้มันก็ยังมีงวงและจมูกที่ใช้หายใจเหมือนกัน มีพฤติกรรมสืบพันธุ์ที่คล้ายคลึงกัน และเลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน ปัจจุบัน พะยูนได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 วงศ์ คือ Dugongidae และTrichechidae แบ่งได้เป็น 2 สกุล 4 ชนิด กระจายพันธุ์ไปในทะเลและแม่น้ำสายใหญ่ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก กินอาหารจำพวก หญ้าทะเล, สาหร่ายและตะไคร่น้ำ เป็นอาหาร โดยพะยูนชนิดที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา คือ วัวทะเลชเตลเลอร์ (Hydrodamalis gigas) ที่อยู่ในวงศ์ Dugongidae ที่มีความยาวถึง 7 เมตร แต่ปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อราว 300 ปีก่อน โดยคำว่า "Sirenia" นั้นมาจากคำว่า "ไซเรน" ซึ่งเป็นอสูรกายที่อาศัยอยู่ในทะเลในเทพปกรณัมกรีก.

33 ความสัมพันธ์: ชาวฝรั่งเศสชาวเยอรมันชีววิทยาช้างพ.ศ. 2354พะยูนพะยูนแมนนาทีการสูญพันธุ์การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามยูเธอเรียวัวทะเลชเตลเลอร์สกุล (ชีววิทยา)สมัยอีโอซีนสัตววิทยาสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ประหลาดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสาหร่ายสปีชีส์หญ้าทะเลอันดับวาฬและโลมาทะเลตะไคร่น้ำซากดึกดำบรรพ์ประเทศอียิปต์แม่น้ำไซเรนเมตรเอเอสทีวีผู้จัดการเทพปกรณัมกรีกเขตร้อน

ชาวฝรั่งเศส

วฝรั่งเศส (อังกฤษ: French, ฝรั่งเศส: Français) คือกลุ่มผสมของชาวเคลต์ ชาวเยอรมัน ชาวอิตาลี โดยมีประชากรประมาณ 85 ล้านคนทั่วโลก โดยมีประมาณ 66 ล้านคนในประเทศฝรั่งเศส ในสหรัฐอเมริกา 8.3-11 ล้านคน ในประเทศแคนาดา ประมาณ 4.7 ล้านคน และในประเทศแอฟริกาใต้ ประมาณ 2 ล้านคน และที่อื่นๆ ทั่วโลก โดยมีการขยายสังคมเพิ่มในช่วงการล่าอาณานิคม.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและชาวฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเยอรมัน

วเยอรมัน (die Deutschen) ชื่อ กลุ่มคนเผ่าพันธุ์ โปรโต-เจอรมานิก ซึ่งมีถิ่นกำเนิดบริเวณจัตแลนด์และบริเวณอเลมันเนียซึ่งก็คือประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน ซึ่งสมัยก่อนชนชาติพวกนี้ถูกเรียกว่าชาวติวตันและชาวก๊อธปัจจุบันมีประชากรโดยรวม160ล้านคน ชาวเยอรมันจัดว่าเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันกับพวกชาวสแกนดิเนเวีย ชาวอังกฤษและชาวดัตช์ซึ่งจัดว่าเป็นพวกตระกูลเจอร์มานิก.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและชาวเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ช้าง

รงกระดูกช้างแอฟริกา ช้าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่วงศ์ Elephantidae โดยแบ่งเป็นสองสกุล ได้แก่ Elephas และ Loxodonta ช้างในปัจจุบันเหลือ 3 สปีชีส์ คือ ช้างแอฟริกา, ช้างป่าแอฟริกา และช้างเอเชีย (หรือที่รู้จักกันในชื่อ ช้างอินเดีย) ส่วนสปีชีส์และสกุลอื่นของวงศ์ Elephantidae ล้วนสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว บางสปีชีส์หรือสกุลสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุด ถึงแม้ว่าช้างแมมมอธในรูปแคระอาจสืบสายพันธุ์ต่อมาจนถึง 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ช้างและสัตว์ในวงศ์ Elephantidae อื่น ๆ เคยถูกจัดเป็นประเภทเดียวกับสัตว์หนังหนาอื่น ๆ ชื่อว่าอันดับ Pachydermata ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว ช้างนับเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ใช้เวลาการตั้งครรภ์ถึง 22 เดือน ซึ่งนับว่านานที่สุดในบรรดาสัตว์บกทุกชนิด ช้างแรกเกิดมีน้ำหนักเฉลี่ย 120 กิโลกรัม มีอายุขัยอยู่ระหว่าง 50 ถึง 70 ปี แต่ช้างอายุมากที่สุดที่เคยบันทึกไว้มีอายุถึง 109 ปี ช้างขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้อาศัยอยู่ในแองโกลาในปี..

ใหม่!!: อันดับพะยูนและช้าง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2354

ทธศักราช 2354 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและพ.ศ. 2354 · ดูเพิ่มเติม »

พะยูน

ูน เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดเดียวที่เป็นสัตว์น้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugon อยู่ในอันดับพะยูน (Sirenia).

ใหม่!!: อันดับพะยูนและพะยูน · ดูเพิ่มเติม »

พะยูนแมนนาที

ูนแมนนาที บางทีเรียก พะยูนหางกลม หรือ วัวทะเล (Manatee, Sea cow) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอาศัยในน้ำขนาดใหญ่สกุลหนึ่ง สัตว์ในวงศ์ Trichechidae ต่างจากสัตว์ในวงศ์ Dugongidae หรือพะยูนตรงรูปร่างของกะโหลกศีรษะและรูปร่างของหาง โดยหางของพะยูนแมนนาทีจะมีรูปร่างแบนกลมคล้ายใบพาย ส่วนหางของพะยูนจะแยกออกเป็นส้อมคล้ายหางโลมา แมนนาทีเป็นสัตว์กินพืชซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการหาอาหารกินในเขตน้ำตื้น รวมถึงอาจเข้าไปหากินในแหล่งน้ำจืดที่ไกลจากทะเล 300 กิโลเมตรได้ด้วย โดยคำว่า "แมนนาที" (manatí) มาจากภาษาตีโน ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองในแถบแคริบเบียน หมายถึง "เต้านม" เขตอาศัยของพะยูนแมนนาทีได้แก่ พื้นที่หนองน้ำตื้นแถบชายฝั่งของอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และทะเลแคริบเบียน พะยูนแมนนาทีชนิด Trichechus senegalensis (พะยูนแมนนาทีแอฟริกาตะวันตก หรือ พะยูนแมนนาทีเซเนกัล) อยู่อาศัยแถบชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกา ส่วนชนิด T. inunguis (พะยูนแมนนาทีแอมะซอน) อยู่อาศัยแถบชายฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้ ส่วนอีกชนิดหนึ่งได้แก่ T. manatus (พะยูนแมนนาทีอินเดียตะวันตก หรือ พะยูนแมนนาทีแคริบเบียน) อยู่อาศัยแถบหมู่เกาะอินเดียตะวันตกในทะเลแคริบเบียน สำหรับแมนนาทีฟลอริดานั้น นักสัตวศาสตร์บางส่วนถือว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ระบบไอทีไอเอสจัดให้พะยูนแมนนาทีฟลอริดาเป็นชนิดย่อยของ T. manatus และปัจจุบันถือเป็นที่ยอมรับทั่วไปพะยูน แมนนาทีฟลอริดามีลำตัวยาว 4.5 เมตรหรือมากกว่านั้น และอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม ในอดีตพะยูนแมนนาทีฟลอริดาเคยถูกล่าเพื่อเอาน้ำมันและหนัง แต่ปัจจุบันสัตว์ชนิดนี้ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายให้พ้นจากการถูกล่า พะยูนแมนนาที พะยูนแมนนาทีอินเดียตะวันตกเป็นหนึ่งในกลุ่มสัตว์ชนิดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ แม้มันจะไม่มีผู้ล่าตามธรรมชาติ แต่การขยายดินแดนของมนุษย์ทำให้ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติแถบบึงน้ำตื้นชายฝั่งของมันลดลง พะยูนแมนนาทีจำนวนมากยังได้รับบาดเจ็บจากการถูกใบพัดเรือบาด อีกทั้งพะยูนแมนนาทียังมักกินอุปกรณ์ตกปลาที่มนุษย์ทิ้งไว้ เช่นเบ็ดหรือตุ้มถ่วงเข้าไปบ่อย ๆ วัตถุแปลกปลอมเหล่านี้โดยมากจะไม่ทำอันตรายแก่พะยูนแมนนาที ยกเว้นแต่สายเบ็ดหรือเอ็นตกปลา ซึ่งจะเข้าไปอุดตันระบบย่อยอาหารของพะยูนแมนนาที และทำให้มันค่อย ๆ ตายอย่างช้า ๆ พะยูนแมนนาทีมักมารวมกันอยู่ใกล้โรงไฟฟ้าซึ่งน้ำในแถบนั้นจะมีอุณหภูมิสูงกว่าที่อื่น จนกระทั่งกลายเป็นการพึงพิงแหล่งน้ำอุ่นที่มนุษย์สร้างขึ้นนี้ไปในที่สุด โดยไม่ยอมอพยพไปยังแหล่งที่น้ำอุ่นกว่าเนื่องจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะให้ความร้อนตลอดทั้งปี ไม่นานมานี้ โรงไฟฟ้าหลายแห่งได้ปิดตัวลง กรมคุ้มครองสัตว์น้ำและสัตว์ป่าของสหรัฐอเมริกาซึ่งทราบถึงการพึ่งพิงแหล่งน้ำอุ่นของพะยูนแมนนาที จึงได้พยายามหาหนทางที่จะเพิ่มอุณหภูมิของน้ำเพื่อช่วยพะยูนแมนนาที.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและพะยูนแมนนาที · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

ยูเธอเรีย

ยูเธอเรีย (Infarclass Eutheria) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นชั้นฐานของเธอเรีย หมวดหมู่:สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและยูเธอเรีย · ดูเพิ่มเติม »

วัวทะเลชเตลเลอร์

วัวทะเลชเตลเลอร์ (Steller's sea cow, Great northern sea cow) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในอันดับพะยูน (Sirenia) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Hydrodamalis วัวทะเลชเตลเลอร์จัดเป็นพะยูนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เคยปรากฏมา มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 8 เมตร น้ำหนักมากถึง 3 ตัน นับได้ว่ามีขนาดพอ ๆ กับวาฬเพชฌฆาต อาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ในเขตอาร์กติกและช่องแคบเบริง ซึ่งอยู่ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต เมื่อกลางปี..

ใหม่!!: อันดับพะยูนและวัวทะเลชเตลเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สมัยอีโอซีน

''Basilosaurus'' ''Prorastomus'', an early sirenian สมัยอีโอซีน (Eocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคพาลีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 56 ถึง 33.9 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน สมัยอีโอซีนเป็นสมัยที่สองของยุคพาลีโอจีน ซึ่งเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก สมัยอีโอซีนต่อมาจากสมัยพาลีโอซีนและตามด้วยสมัยโอลิโกซีน ชื่อ Eocene มาจากกรีกโบราณἠώς (ēṓs, "รุ่งอรุณ") และκαινός (kainós, "ใหม่") และหมายถึง "รุ่งอรุณ" ของสัตว์สมัยใหม่ที่ปรากฏในช่วงยุคนี้.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและสมัยอีโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตววิทยา

ัตววิทยา (Zoology, มาจากภาษากรีกโบราณ ζῷον (zoon) หมายถึง "สัตว์" และ λόγος หมายถึง "วิทยาการ หรือ ความรู้") จัดเป็นศาสตร์ด้านชีววิทยาสาขาหนึ่ง เกี่ยวข้องกับสมาชิกในอาณาจักรสัตว์ และชีวิตสัตว์โดยทั่วไป โดยเป็นการศึกษาเรื่องสัตว์ ตั้งแต่พวกสัตว์ชั้นต่ำพวก ฟองน้ำ แมงกะพรุน พยาธิตัวแบน พยาธิตัวกลม กลุ่มหนอนปล้อง สัตว์ที่มีข้อปล้อง กลุ่มสัตว์พวกหอย ปลาดาว จนถึง สัตว์มีกระดูกสันหลัง และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตววิทยาศึกษาโดยรวมเกี่ยวกับร่างกายของสัตว์ ไม่ได้เน้นส่วนใดส่วนหนึ่ง และกระบวนการสำคัญในการดำรงชีพ แต่ศึกษาความสัมพันธ์ของสัตว์หรือกลุ่มสัตว์กับสภาพแวดล้อม เนื่องจากเป็นขอบเขตการศึกษาที่กว้าง จึงมักจะแบ่งย่อยเป็นสาขาอื่นๆ อีก เช่น วิทยาเซลล์, วิทยาตัวอ่อน, สัณฐานวิทยา, โบราณชีววิทยา, พันธุศาสตร์และวิวัฒนาการ, อนุกรมวิธาน, พฤติกรรมวิทยา, นิเวศวิทยา และสัตวภูมิศาสตร์ เป็นต้น สัตววิทยานั้นมีการศึกษามาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ และจักรวรรดิโรมัน จากงานของฮิปโปเครเตส, อะริสโตเติล, และพลินี นักธรรมชาตินิยมสมัยต่อมาเจริญรอยตามอริสโตเติล จนในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อมีการพิมพ์แพร่หลาย ความรู้เหล่านี้ก็กว้างขวางขึ้น มีการศึกษาและเผยแพร่มากขึ้น เช่น วิลเลียม ฮาร์วีย์ (การไหลเวียนของเลือด), คาโรลุส ลินเลียส (ระบบการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์), ฌอร์ฌ-หลุยส์ เลอแกลร์ก กงต์เดอบูว์ฟง (ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ) และฌอร์ฌ กูว์วีเย (กายวิภาคเปรียบเทียบ) ซึ่งเป็นการศึกษาในขั้นลึกของสัตววิทยา จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของการศึกษาสัตววิทยา ก็เมื่อชาลส์ ดาร์วิน ได้ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดพงศ์พันธุ์ (On the Origin of Species by Means of Natural Selection) ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต นับแต่นั้นการศึกษาด้านพันธุศาสตร์เริ่มมีความจำเป็นในการศึกษาทางชีววิทยา และการศึกษาในแนวลึกเฉพาะด้านเริ่มมีมากขึ้น และยังมีการศึกษาคาบเกี่ยวกันในแต่ละสาขาวิชาด้วย สำหรับสถาบันที่เปิดสอนศาสตร์ด้านสัตววิทยานั้น ในประเทศไทย ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ต้องผ่านการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ที่มีหลักสูตร สาขาวิชาสัตววิทยา และสาขาวิชาชีววิทยา เช่น คณะวิทยาศาสตร์ คณะเกษตร คณะประมง เช่น คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลักสูตร 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้วุฒิปริญญาตรี เป็นต้น และเมื่อศึกษาจบแล้ว สามารถเข้าทำงานในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนได้ต่าง ๆ หลากหล.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและสัตววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ประหลาด

รา หนึ่งในสัตว์ประหลาดของเทพปกรณัมกรีกที่มีชื่อเสียง สัตว์ประหลาด หรือ อสูรกาย (Monster, Cryptid) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ผิดแปลกจากสภาพแวดล้อมโดยทั่ว ๆ ไป หรือสัตว์ที่มนุษย์ไม่เป็นที่รู้จัก สัตว์ประหลาดถูกกล่าวถึงในตำนานหรือนิทานของชนชาติต่าง ๆ มาแต่อดีตแล้ว โดยคำว่า Monster ที่หมายถึง สัตว์ประหลาด หรือ อสูรกาย ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากภาษาละตินคำว่า Monstrum ซึ่งหมายถึง การเกิดสิ่งผิดปกติทางชีววิทยามักจะที่ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ว่าสิ่งที่ถูกต้องภายในเพื่อธรรมชาติ ความหมายของคำว่า Monster ไม่เหมือนกับปีศาจ ซึ่งหมายถึง ความชั่วร้าย โดยปกติแล้ว Monster หรือ สัตว์ประหลาด จะหมายถึงสิ่งที่น่ารังเกียจหรือผิดศีลธรรม หรือความผิดปกติทางร่างกายหรือจิตใจอย่างน่าเกลียด หรือความวิปริตทางธรรมชาติ นอกจากนี้แล้วยังนำมาใช้เปรียบเปรยกับผู้ที่มีลักษณะโลภโมโทสันหรือบุคคลที่แลดูน่ากลัวด้วย นอกจากนี้แล้ว สัตว์ประหลาดยังปรากฏตัวในสื่อวัฒนธรรมร่วมสมัยทั้งการ์ตูน ภาพยนตร์ และวิดีโอเกม โดยทั่วไปแล้ว สัตว์ประหลาดมักมีลักษณะน่ากลัวและดุร้าย แต่ในสื่อสารมวลชนยุคใหม่ก็มีสัตว์ประหลาดที่มีบทบาทในลักษณะของอสูรกายที่เป็นมิตรหรือถูกเข้าใจผิด เช่น คิงคอง หรือ อสูรกายของแฟรงเกนสไตน์ เป็นต้น ในภาพยนตร์มีเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดอยู่มากมาย อาทิ Godzilla ของฮอลลีวู้ดในปี ค.ศ. 1998 ที่ดัดแปลงมาจากตัวละครเอกคือ ก็อตซิลล่า ของญี่ปุ่น, The Mist ในปี ค.ศ. 2008 หรือแม้แต่ในภาพยนตร์ไทย เช่น มันมากับความมืด ในปี ค.ศ. 1971 จากการกำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล, มาห์ ในปี ค.ศ. 1991 หรือ ปักษาวายุ ในปี ค.ศ. 2004 เป็นต้น ในวัฒนธรรมไทย ก็มีสัตว์ประหลาดอยู่มากมาย ตามคติจักรวาลวิทยาทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูหรือพุทธศาสนา มีป่าหิมพานต์ซึ่งเป็นป่าศักดิ์สิทธิ์อยู่เชิงเขาไกรลาศ มีสัตว์ประหลาดมากมาย เรียกว่า สัตว์หิมพานต์ ซึ่งมักปรากฏภาพเป็นจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่าง ๆ ในเชิงวิชาการ มีศาสตร์แขนงหนึ่งของสัตววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดโดยเฉพาะ เรียกว่า สัตว์ประหลาดวิทยา หรือ สัตว์ลึกลับวิทยา (Cryptozoology) ซึ่งคำว่า Cryptozoology มาจากภาษากรีกคำว่า Kρυπτός (Kryptos) หมายถึง "ซ่อนอยู่" ผสมกับ Zoology ก็คือ สัตววิทยา นั่นเอง โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ประเภทนี้ เรียกว่า นักสัตว์ประหลาดวิทยา นักสัตว์ประหลาดวิทยาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ คาร์ล ชูเกอร์ ชาวอังกฤษ, เบอร์นาร์ด ฮูเวลมานส์ ชาวเบลเยียม ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งศาสตร์แขนงนี้และเป็นผู้ตั้งศาสตร์แขนงนี้ด้ว.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและสัตว์ประหลาด · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สาหร่าย

หร่ายทะเลที่เกาะอยู่ตามหินชายฝั่ง สาหร่าย เป็นชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตหลายชนิดในอาณาจักรโครมาลวีโอลาตา เอกซ์คาวาตา ไรซาเรีย มีลักษณะคล้ายพืช แต่ไม่มีส่วนที่เป็นราก ลำต้น และใบที่แท้จริง มีขนาดตั้งแต่เล็กมากมีเซลล์เดียว ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก อาจเป็นเส้นสายหรือมีลักษณะคล้ายพืชชั้นสูงก็มี การแบ่งพวกสาหร่ายแบ่งตามรูปร่างลักษณะภายนอกหรือดูตามสี จึงมีสาหร่ายสีเขียว เขียวแกมน้ำเงิน น้ำตาล และสีแดง สาหร่ายสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศก็มี อาศัยเพศก็มี อย่าสับสนกับสาหร่ายบางชนิด เช่น สาหร่ายหางม้า สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายข้าวเหนียว สาหร่ายเหล่านี้ คือพืชดอกไม่ใช่โพรทิสต์ แหล่งที่อยู่ของสาหร่ายมีต่าง ๆ กัน ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม คุณค่าทางอาหารของสาหร่ายพบว่าไม่สูงมากนัก คาร์โบไฮเดรตที่มีอยู่เป็นพวกที่ย่อยยากในตัวคน โปรตีนก็มีน้อยแต่สิ่งที่ได้จากสาหร่าย คือ แร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด นอกจากเป็นอาหารคน เช่น สาหร่ายอบกรอบ และปัจจุบันนำมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แล้วยังใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นปุ๋ยและเป็นยา สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สามารถจับไนโตรเจนในอากาศได้อย่างอิสระ (Nonsymbiotic Nitrogen Fixer) Anabaena, Oscillatoria, nostoc.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและสาหร่าย · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: อันดับพะยูนและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าทะเล

หญ้าตะกานน้ำเค็ม (''Ruppia maritima'') หญ้าทะเล (Seagrass) เป็นกลุ่มของพืชดอกเพียงกลุ่มเดียว ที่ได้มีวิวัฒนาการให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในทะเล โดยมีลักษณะโครงสร้างภายนอกคล้ายคลึงกับหญ้าที่เจริญอยู่บนบก ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1.ราก เป็นส่วนที่ใช้ในการดูดซึมสารอารหารและแร่ธาตุจากในดิน ทั้งยังช่วยในการยึดเกาะกับพื้นดินทำให้หญ้าทะเลมีความมั่นคง 2.เหง้า เป็นส่วนของลำต้นที่เจริญคืบคลานไปใต้พื้นผิวดิน 3.ใบ เป็นส่วนที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างอาหาร มีรูปร่างแตกต่างกันตามแต่ชนิดของหญ้าทะเล มีทั้งชนิดที่ใบมีลักษณะเป็นแผ่นแบน และชนิดที่เป็นท่อกลม ใบของหญ้าทะเลใช้เป็นลักษณะสำคัญในการจำแนกชนิดของหญ้าทะเล หญ้าทะเล เดิมเคยเป็นพืชที่อยู่บนบกมาก่อน ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตโบราณแบบเดียวกับฟองน้ำหรือปะการัง จึงมีโครงสร้างแบบพืชบนบกในปัจจุบันปรากฏให้เห็น.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและหญ้าทะเล · ดูเพิ่มเติม »

อันดับวาฬและโลมา

ซีทาเซีย (Order Cetacea) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นอันดับหนึ่งใน 18 อันดับของชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับซีทาเซีย ได้แก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลักษณะคล้ายปลา เช่นวาฬ โลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลักษณะภายนอกคล้ายปลา จนมักเรียกติดปลาว่า ปลาวาฬ และ ปลาโลมา ซึ่งผิดหลักอนุกรมภิธาน บรรพบุรุษของสัตว์ตระกูลนี้เป็นสัตว์บกที่วิวัฒนาการกลับลงไปในทะเล.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและอันดับวาฬและโลมา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ตะไคร่น้ำ

ตะไคร่น้ำ คือ สาหร่ายเซลล์เดียวซึ่งเกาะยึดในพื้นที่ที่มีน้ำไหล เพราะน้ำที่ไหลมีทั้งออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และสารอาหารไหลเวียนดี แสงดี สาหร่ายพวกนี้จะมายึดเกาะ กลายเป็นผืนเขียว ๆ ตะไคร่น้ำยังประกอบไปด้วยสาหร่ายชนิดต่าง ๆ รวมทั้งพวกไซยาโนแบคทีเรียมาเกาะกลุ่มอยู่รวมตัวกัน บางกลุ่มเกาะยึดในบริเวณที่เปียกชื้น บางกลุ่มอยู่ในน้ำ แต่ละกลุ่มจะมีสีที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าตะไคร่น้ำมีสาหร่ายกลุ่มใดเป็นองค์ประกอบ มักจะสับสนกับเทา ที่ป็นสาหร่ายน้ำจื.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและตะไคร่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้น.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและซากดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำ

แม่น้ำตาปี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำ (river) เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินจะไหลไปยังแม่น้ำแล้วออกสู่มหาสมุทรหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำมีส่วนประกอบโดยพื้นฐานหลายส่วน อาจมีแหล่งกำเนิดจากต้นน้ำหรือน้ำซับ แล้วไหลสู่กระแสน้ำหลัก ลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำเรียกว่าแคว โดยปกติกระแสน้ำจะไหลไปตามร่องน้ำที่ขนาบข้างด้วยตลิ่ง ที่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำหรือปากแม่น้ำ มักมีลักษณะแผ่ขยายออก เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) หรือชะวากทะเล (Estuary).

ใหม่!!: อันดับพะยูนและแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ไซเรน

ำหรับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกซาลาแมนเดอร์ ดูที่ ไซเรน จอห์น วิลเลี่ยม วาเตอร์เฮาส์ ไซเรน (Siren; กรีก: Σειρήν, Σειρῆνες) เป็นปีศาจในเทพปกรณัมกรีก โดยปรากฏบทบาทอย่างยิ่งจากตำนานเรื่องเจสันและเรืออาร์โกและโอดิสซีย์ ไซเรน มีลักษณะของสัตว์ผสม 3 อย่าง คือ คล้ายนางเงือก มีขาเป็นครีบปลา มีปีกและเสียงเหมือนนก แต่บ้างก็ว่า ไซเรน เป็นมนุษย์ครึ่งนกเหมือนกินร กินรี ในวรรณคดีไทย จากบทประพันธ์ตอนหนึ่ง ระบุว่า ไซเรน มีเสียงอันไพเราะ รูปร่างที่งดงามรองจากเงือกเล็กน้อย มีความสามารถในการสะกดจิตให้ผู้อื่น ทำตามในสิ่งที่ตนเองต้องการ เสียงของไซเรนไพเราะเพราะพริ้งจนทำให้คนที่เดินเรือผ่านมายังบริเวณใกล้เคียงที่ไซเรนอาศัยอยู่หลงทางเข้ามาตามเสียงเพลงของไซเรน ผู้ที่ทนฟังเสียงของนางไซเรนได้โดยไม่เสียสติจะได้รับปัญญาในการรู้จุดอ่อนของตน ในลุ่มแม่น้ำไรน์ในประเทศเยอรมนี มีอุบัติเหตุทางเรือเกิดขึ้นบ่อย ๆ เชื่อว่าเกิดจากไซเรน ที่เรียกว่า "ผู้หญิงแห่งแม่น้ำไรน์" ซึ่งปรากฏอยู่ในคติชนนิยมและวรรณกรรมต่าง ๆ ไซเรน ได้ถูกอ้างอิงถึงในวัฒนธรรมร่วมสมัยมากมาย เช่น เป็นตัวละครหนึ่งในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง เซนต์เซย่า ที่ชื่อ ไซเรน โซเรนต.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและไซเรน · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เอเอสทีวีผู้จัดการ

ผู้จัดการ 360° เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันภาษาไทย ในเครือผู้จัดการ วางแผง(วันจันทร์-วันเสาร์)โดยฉบับ(วันเสาร์จะควบวันอาทิตย์) วางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ (ในชื่อเอเอสทีวีผู้จัดการ) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: อันดับพะยูนและเอเอสทีวีผู้จัดการ · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ใหม่!!: อันดับพะยูนและเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

เขตร้อน

แผนที่โลกที่เน้นเขตร้อนด้วยสีแดง เขตร้อนหรือโซนร้อน (tropics) เป็นบริเวณของโลกที่อยู่รอบเส้นศูนย์สูตร จำกัดด้วยเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ในซีกโลกเหนือ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) เหนือ และทรอปิกออฟแคปริคอร์นในซีกโลกใต้ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) ใต้ ละติจูดนี้ใกล้เคียงกับความเอียงของแกนโลก เขตร้อนรวมทุกพื้นที่บนโลกซึ่งดวงอาทิตย์ถึงจุดใต้แสงอาทิตย์ (subsolar point) คือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงเหนือศีรษะพอดี อย่างน้อยครั้งหนึ่งในปีสุริยคติ.

ใหม่!!: อันดับพะยูนและเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Sireniaวัวทะเล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »