โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การข่มขืนสตรีชาวซาบีน

ดัชนี การข่มขืนสตรีชาวซาบีน

“การข่มขืนสตรีชาวซาบีน” โดยจามโบโลนยา ภาพแกะเดียวกับประติมากรรมที่ลอจเจียเดอิลันซิในฟลอเรนซ์ “การข่มขืนสตรีชาวซาบีน” โดยโยฮันน์ ไฮน์ริค เชินเฟลด์ (Johann Heinrich Schönfeld) การข่มขืนสตรีชาวซาบีน (The Rape of the Sabine Women) เป็นส่วนหนึ่งของตำนานประวัติศาสตร์โรมที่กล่าวว่าชาวโรมันรุ่นแรกไปเอาภรรยามาจากซาบีนที่อยู่ไม่ไกลนัก (ในบริบทนี้ “การข่มขืน” หมายถึง “การลักพา” หรือ “Rape” ที่มีรากมาจากคำว่า “raptio” ไม่ใช่ในความหมายของการข่มขืนที่เข้าใจกันในสมัยปัจจุบัน) จากคำบอกเล่าของนักประวัติศาสตร์โรมันไททัส ลิวิอัส และพลูทาร์ค (ในหนังสือ “Parallel Lives” II, 15 และ 19) หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่นิยมกันในการสร้างงานศิลปะในยุคเรอเนสซองซ์และต่อมา ซึ่งเป็นการใช้หัวเรื่องในการสื่อความหมายที่ส่งเสริมให้เกิดแรงบันดาลใจในทางความกล้าหาญของชาวโรมันโบราณและสำหรับศิลปินก็เป็นโอกาสที่จะสร้างภาพที่ประกอบด้วยคนหลายคนที่รวมทั้งร่างสตรีที่กำลังต่อสู้ดิ้นรน หัวเรื่องในทำนองเดียวกันจากสมัยโรมันโบราณก็ได้แก่ยุทธการระหว่างลาพิธและเซนทอร์ (Lapith) และหัวเรื่อง สงครามอะเมซอน (Amazonomachy) ซึ่งเป็นยุทธการระหว่างเธเซียสและนักรบอะเมซอน หรือเทียบได้กับตำนานคริสต์ศาสนาในหัวข้อการสังหารเด็กบริสุทธิ์ (Massacre of the Innocents).

36 ความสัมพันธ์: บารอกฟรันเชสโกที่ 1 เด เมดีชีฟลอเรนซ์พ.ศ. 2125พลูทาร์กพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ (บอสตัน)พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันการข่มขืนพรอสเซอร์พินาการประหารทารกผู้วิมล (ศิลปะ)มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์มีเกลันเจโลลอนดอนวรรณกรรมล้อวงศ์วานอิสราเอลสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวสัมฤทธิ์หอศิลป์บอร์เกเซหอศิลป์แห่งชาติ (ลอนดอน)หินอ่อนฌัก-หลุยส์ ดาวีดจริตนิยมจัน โลเรนโซ แบร์นีนีจิตรกรรมประวัติศาสตร์ดาวิด (มีเกลันเจโล)ประวัติศาสตร์โรมปาโบล ปีกัสโซนีกอลา ปูแซ็งแฟลนเดอส์แอนดรอมิดาโรมุลุสและแรมุสเพอร์ซิอัสเฮเลนแห่งทรอยเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์เนเปิลส์

บารอก

“การแต่งงานของนักบุญแคทเธอรินแห่งอเล็กซานเดรีย” (The Mystic Marriage of St. Catherine) โดย อันโตนิโอ ดา คอร์เรจจิโอ บารอก (Baroque) หรือบาโรก เป็นสมัยหนึ่งของศิลปะตะวันตกซึ่งเริ่มประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี บาโรกจะเน้นความเป็นนาฏกรรม ศิลปะจะแสดงความขัดแย้ง (tension) และความหรูหรา โอ่อ่า บาโรกเป็นลักษณะของ ประติมากรรม จิตรกรรม วรรณกรรม นาฏศิลป์ และดนตรี ถ้ากล่าวถึงดนตรีแบบบารอกก็จะหมายถึงสมัยสุดท้ายของเคาน์เตอร์พ็อยต์ (Counterpoint) ที่กล่างวถึงความสัมพันธ์ของการเล่นระหว่างเสียงหรือเครื่องดนตรีมากกว่าสองชนิดที่อาจจะสะท้อนกันและกัน แต่คนละระดับเสียง หรือบางครั้งก็อาจจะสลับเสียงสะท้อน หรือไม่อีกทีก็อาจจะย้อนแก่นสาร (reversing theme) ของดนตรีชิ้นนั้นไปเลย ยุคบารอกรุ่งเรืองขึ้นมาด้วยการสนับสนุนจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก ระหว่างการประชุมสภาสังคายนาแห่งเทรนต์ เมื่อปี..

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและบารอก · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันเชสโกที่ 1 เด เมดีชี

ฟรานเชสโคที่ 1 เดอ เมดิชิ (Francesco I de' Medici, Grand Duke of Tuscany; Francesco I de' Medici, Duca di Firenze e granduca di Toscana) (25 มีนาคม ค.ศ. 1541 - (17 ตุลาคม ค.ศ. 1587) ฟรานเชสโคที่ 1 เดอ เมดิชิปกครองทัสเคนี ระหว่างปี ค.ศ. 1574 ถึงปี ค.ศ. 1587 ฟรานเชสโคเกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1541 ที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี เป็นบุตรของ โคสิโมที่ 1 เดอ เมดิชิ และเอเลเนอร์แห่งโทเลโด และปกครองทัสเคนีในฐานะตัวแทนของโคสิโมที่ 1 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1564 ฟรานเชสโคที่ 1 เดอ เมดิชิสมรสกับอาร์คดัชเชสโยฮันนาแห่งออสเตรีย (Johanna of Austria) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1565 พระราชธิดาองค์สุดท้องของจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และแอนนาแห่งโบฮีเมียและฮังการี หลังจากการพิจารณาสตรีอื่นๆ ก่อนหน้านั้นรวมทั้งเจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งสวีเดน แต่จากหลักฐานต่างเท่าที่ทราบเป็นการแต่งงานที่ไม่มีความสุขเท่าใดนัก โยฮันนามีความคิดถึงบ้านเมืองในออสเตรียและฟรานเชสโคก็เป็นสามีที่ไม่ได้เอาใจภรรยาหรือมีความซื่อตรงต่อภรรยา โยฮันนาถึงแก่กรรมเมื่ออายุเพียงสามสิบปีในปี ค.ศ. 1578 ไม่นานหลังจากโยฮันนาถึงแก่กรรมฟรานเชสโคก็แต่งงานกับภรรยาน้อยจากเวนิสบิอังคา คัพเพลโล (Bianca Cappello) หลังจากบิอังคาทิ้งสามีที่เป็นข้าราชการ เพราะการที่แต่งงานกันอย่างรวดเร็วก็ทำให้เกิดข่าวลือว่าฟรานเชสโคและบิอังคาสมคบกันวางยาพิษโยฮันนา และมีหลักฐานว่าฟรานเชสโคสร้างและตกแต่งวิลลาเมดิเซียดิพราโตลิโน (Villa Medicea di Pratolino) ให้แก่บิอังคา แต่บิอังคาไม่เป็นที่นิยมในหมู่ชาวฟลอเรนซ์ ทั้งสองคนไม่มีบุตรธิดาด้วยกันแต่ฟรานเชสโครับอุปการะเพลเลกรินาและอันโทนิโอลูกสาวและลูกชายจากการแต่งงานครั้งแรกของบิอังคา อันโทนิโอได้รับเป็นบุตรบุญธรรมโดยบิอังคาตั้งแต่ยังเป็นทารกเพื่อจะยกให้ฟรานเชสโคในฐานะ “ลูกของทั้งสองคน” โดยการเป็น “ลูกหลง” (changeling) ฟรานเชสโคที่ 1 เดอ เมดิชิเมื่อยังเด็กเขียนโดยบรอนซิโน ฟรานเชสโคก็เช่นเดียวกับบิดาที่เป็นผู้ใช้อำนาจอย่างเฉียบขาดแต่ขณะที่โคสิโมสามารถรักษาความเป็นอิสระของฟลอเรนซ์ไว้ได้ฟรานเชสโคกลับปฏิบัติตัวเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของพ่อตา นอกจากนั้นก็ยังเรียกเก็บภาษีอย่างหนักเพื่อเอาไปให้จักรวรรดิ ฟรานเชสโคยังคงดำเนินการอุปถัมภ์ศิลปะต่อจากโคสิโมและเป็นผู้สร้างโรงละครเมดิชิและก่อตั้ง Accademia della Crusca ฟรานเชสโคมีความสนใจในการผลิตและวิทยาศาสตร์อย่างสมัครเล่น และได้ก่อตั้งโรงงานพอร์ซีเลนและกระเบื้องแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จจนหลังจากฟรานเชสโคเสียชีวิตไปแล้ว แต่ความสนใจในทางเคมีและการเล่นแร่แปรธาตุเป็นความสนใจอย่างจริงจัง ฟรานเชสโคใช้เวลาเป็นชั่วโมงๆ ในห้องทดลองส่วนตัวในพาลัซโซเว็คคิโอ (Palazzo Vecchio) ซึ่งมีงานสะสมธรรมชาติวิทยาและหินต่างๆ ของฟรานเชสโคเอง ฟรานเชสโคและบิอังคาเสียชีวิตในวันเดียวกันซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการถูกวางยา แต่นักประวัติศาสตร์กล่าวว่าทั้งสองคนเป็นไข้มาเลเรียตาย แต่หลักฐานล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีทำให้หันกลับไปสนับสนุนทฤษฎีที่ว่าถูกวางยาพิษ ผู้ครองทัสเคนีต่อมาคือเฟอร์ดินานโดที่ 1 เดอ เมดิชิ แกรนดยุคแห่งทัสเคนี (Ferdinando I de' Medici, Grand Duke of Tuscany) น้องคนรองของฟราน.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและฟรันเชสโกที่ 1 เด เมดีชี · ดูเพิ่มเติม »

ฟลอเรนซ์

ฟลอเรนซ์ (Florence) หรือ ฟีเรนเซ (Firenze) เป็นเมืองหลวงของแคว้นทัสกานีและมณฑลฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ระหว่าง..

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2125

ทธศักราช 2125 ใกล้เคียงกั..

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและพ.ศ. 2125 · ดูเพิ่มเติม »

พลูทาร์ก

ลูทาร์ก (Plutarch) เมื่อเกิดมีชื่อว่า ปลูตาร์โคส (Πλούταρχος) ต่อมาเมื่อเป็นพลเมืองโรมันได้เปลี่ยนชื่อเป็น ลูกิอุส แม็สตริอุส ปลูตาร์คุส (Lvcivs Mestrivs Plvtarchvs; ราว ค.ศ. 46 – ราว ค.ศ. 120) เป็นนักประวัติศาสตร์ นักเขียนชีวประวัติ นักเขียนบทความ และนักปรัชญาเพลโตชาวชาวโรมันเชื้อสายกรีกผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการเขียนชีวประวัติและสาขาวิชาต่าง ๆ ''Moralia'', 1531 งานเขียนที่สำคัญของพลูทาร์กก็คือ ชีวิตของชาวกรีกและโรมันชนชั้นขุนนาง (Parallel Lives) และ โมราเลีย (Moralia) พลูทาร์กเกิดในครอบครัวจากตระกูลสูงในเคโรเนียที่อยู่ทางตะวันออกของเดลฟีราว 20 ไมล.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและพลูทาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

ัณฑ์ลูฟวร์ (Musée du Louvre) หรือในชื่อทางการว่า the Grand Louvre เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้เมื่อปี พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์กาเปเซียง ตัวอาคารเดิมเคยเป็นพระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่าระดับโลกเป็นจำนวนมากกว่า 35,000 ชิ้น จากตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงศตวรรษที่ 19 อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ (บอสตัน)

ัณฑ์วิจิตรศิลป์ (Museum of Fine Arts) พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ที่ตั้งอยู่ที่บอสตันที่แมสซาชูเซตส์ในสหรัฐอเมริกาเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาที่ดึงดูดผู้เข้าชมกว่าหนึ่งล้านคนต่อปี พิพิธภัณฑ์มีงานศิลปะกว่า 450,000 ชิ้น ซึ่งทำให้เป็นงานสะสมที่สำคัญที่สุดในทวีปอเมริกา พิพิธภัณฑ์ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ (บอสตัน) · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน

ัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตัน (Metropolitan Museum of Art หรือ the Met) เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ตั้งอยู่ที่ทางตะวันออกของเซ็นทรัลพาร์คในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตันก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1870 พิพิธภัณฑ์เป็นเจ้าของงานศิลปะถาวรกว่าสองล้านชิ้นที่แบ่งเป็นสิบเก้าแผนก อาคารหลักมักจะเรียกสั้นๆ ว่า “the Met” เป็นหอศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกหอศิลป์หนึ่งแลมีสาขาที่สองที่เล็กกว่าที่“เดอะคล็อยสเตอร์ส” ในอัพเพอร์แมนแฮตตัน ซึ่งเป็นที่ตั้งแสดงศิลปะยุคกลาง ศิลปะถาวรที่เป็นเจ้าของเป็นงานศิลปะตั้งแต่ศิลปะยุคคลาสสิกและศิลปะอียิปต์โบราณ, จิตรกรรมและประติมากรรมของจิตรกรชั้นครูจากเกือบทุกประเทศในยุโรปตะวันตก และงานสะสมศิลปะอเมริกันและศิลปะสมัยใหม่ นอกจากนั้นพิพิธภัณฑ์ก็ยังเป็นเจ้าของงานศิลปะจากแอฟริกา, เอเชีย, ศิลปะจากหมู่เกาะปาซิฟิค, ศิลปะไบเซนไทน์ และศิลปะอิสลาม นอกไปจากศิลปะแล้วพิพิธภัณฑ์ก็ยังสะสมเครื่องดนตรี, เสื้อผ้าและเครื่องตกแต่ง, อาวุธโบราณ, เสื้อเกราะและอาวุธจากทั่วโลก ภายในพิพิธภัณฑ์มีสิ่งก่อสร้างที่แสดงการตกแต่งภายในเป็นการถาวรตั้งแต่จากคริสต์ศตวรรษที่ 1 ของสมัยโรมันไปจนถึงสมัยใหม่ของสหรัฐอเมริกา พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตันก่อตั้งในปี ค.ศ. 1870 โดยกลุ่มชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งรวมทั้งนักธุรกิจและนักการเงินและผู้นำศิลปินและนักคิดในสมัยนั้นผู้ที่ประสงค์จะก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ที่นำศิลปะและการศึกษาศิลปะมาสู่ประชาชนอเมริกัน พิพิธภัณฑ์เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1872 ในปี..

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน · ดูเพิ่มเติม »

การข่มขืนพรอสเซอร์พินา

รายละเอียดด้านขวาของรูปสลัก แสดงนิ้วมือของพลูโตกดลึกลงบนผิวเนื้อของ Proserpina การข่มขืนพรอสเซอร์พินา (The Rape of Proserpina) เป็นรูปสลักหินอ่อนขนาดใหญ่ ผลงานของจานลอเรนโซ เบร์นินี แสดงเหตุการณ์ขณะที่เทพพลูโตเจ้าแห่งยมโลก กำลังลักพาโพรเซอร์พีน่า (Proserpina) ธิดาของเทพี Ceres ต่อมาหลังจากที่เทพจูปิเตอร์เข้าไกล่เกลี่ย มารดาของนางจึงได้รับอนุญาตให้พาธิดากลับคืนสู่พื้นโลกเป็นเวลาครึ่งปี และอีกครึ่งปีต้องใช้ชีวิตอยู่ในยมโลก ดังนั้นทุกฤดูใบไม้ผลิ พื้นโลกจึงเต็มไปด้วยมวลไม้ดอกเพื่อต้อนรับนาง รูปสลักนี้ดำเนินการสร้างระหว่าง..

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและการข่มขืนพรอสเซอร์พินา · ดูเพิ่มเติม »

การประหารทารกผู้วิมล (ศิลปะ)

“การประหารทารกผู้วิมล” โดย จอตโต ดี บอนโดเน การสังหารทารกบริสุทธิ์ (ภาษาอังกฤษ: Massacre of the Innocents) เป็นฉากหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระแม่มารีที่เป็นการสังหารหมู่ของทารกในเมืองบ้านเบ็ธเลเฮม ตามพระราชโองการของ พระเจ้าแฮรอดมหาราช พระเจ้าแผ่นดินแห่งแคว้นยูเดีย (Iudaea Province) ของจักรวรรดิโรมัน ที่บรรยายในพระวรสารนักบุญแม็ทธิว ผู้ประพันธ์เชื่อกันว่าเป็นนักบุญแม็ทธิวอีแวนเจลลิส บันทึกว่าพระเจ้าแฮรอดมีพระบรมราชโองการให้ฆ่าเด็กผู้ชายในหมู่บ้านเบ็ธเลเฮมเพื่อป้องกันการยึดครองราชบัลลังก์โดยเด็กที่เกิดใหม่ ตามคำพยากรณ์ของแมไจที่ว่าเมื่อโตขึ้นจะได้เป็น “กษัตริย์ของชาวยิว” (King of the Jews) หัวเรื่อง “การประหารทารกผู้บริสุทธิ์” เป็นหัวเรื่องหนึ่งของศิลปะคริสต์ศาสนาที่ศิลปินนิยมสร้างหรือเขียนกัน.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและการประหารทารกผู้วิมล (ศิลปะ) · ดูเพิ่มเติม »

มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์

มักซีมีเลียง ฟร็องซัว มารี อีซีดอร์ เดอ รอแบ็สปีแยร์ (Maximilien François Marie Isidore de Robespierre; 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2301 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2337) เป็นอดีตประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมที่ตั้งขึ้นเพื่อสอดส่องดูแลความมั่นคงปลอดภัยในสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งประธานของคณะนี้มีอำนาจจับกุมและสั่งประหารชีวิตผู้คนได้ มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2301 (ค.ศ. 1758) ที่เมืองอารัส แคว้นนอร์-ปาดกาแล ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาก็ได้เข้าเป็นผู้นำของกลุ่มฌากอแบ็งที่กล่าวหาพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส และพระนางมารี อ็องตัวแน็ตว่า ได้ทรงกระทำการในสิ่งที่เป็นการขายชาติ ทั้งยังเรียกร้องให้ประหารชีวิตทั้งสองพระองค์อีกด้วย แต่หลังจากนั้น ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) มีฝูงชนฝรั่งเศสกลุ่มใหญ่ลุกฮือทลายคุกบัสตีย์ในกรุงปารีส เพื่อต่อต้านระบอบกษัตริย์และขุนนางของฝรั่งเศส แล้วไม่นานชาวฝรั่งเศสจำนวนมากก็เข้าร่วมฝูงชนนี้ ทำให้การปฏิวัติสำเร็จอย่างรวดเร็ว ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ประเทศอื่น ๆ ต่างคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัตินี้และพยายามกดขี่ข่มเหงฝรั่งเศส ดังนั้น ต่อมาในพ.ศ. 2336 รอแบ็สปีแยร์ก็ฉวยโอกาสตอนตนกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังและช่วงที่ฝรั่งเศสกำลังถูกคุกคาม เข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม เขาจึงได้กลายเป็นจอมเผด็จการอย่างแท้จริง ในเวลาปีเดียว เขาจับกุมและประหารผู้คนนับพัน ๆ ตั้งแต่ความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ จนถึงความผิดอุกฉกรรจ์ หรือแม้แต่การใส่ร้ายใส่ความโดยรอแบ็สปีแยร์ ต้องถูกประหารโดยเครื่องประหารกิโยตีน เขาคิดว่าสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม แต่คนอื่น ๆ เรียกช่วงเวลาที่รอแบ็สปีแยร์อยู่ในตำแหน่งว่า สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ศัตรูจึงขนานนามเขาว่า ดิกตาเตอร์ซ็องกีแนร์ หรือเผด็จการกระหายเลือด ดังนั้นใน พ.ศ. 2337 จึงมีผู้คนจำนวนมหาศาลรวมตัวกันโค่นอำนาจและจับกุมรอแบ็สปีแยร์ เขาพยายามฆ่าตัวตาย แต่ไม่สำเร็จ ต้องตายโดยการถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตีนท่ามกลางผู้คนมากมายที่รุมล้อมในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2337 (ค.ศ. 1794) หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2301 หมวดหมู่:นักการเมืองฝรั่งเศส หมวดหมู่:ผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส หมวดหมู่:บุคคลในการปฏิวัติฝรั่งเศส หมวดหมู่:ผู้สมรู้ร่วมคิดการประหารพระเจ้าหลุยส์ที่ 16.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ · ดูเพิ่มเติม »

มีเกลันเจโล

มีเกลันเจโล หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ ไมเคิลแองเจโล มีชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บูโอนาร์โรตี ซีโมนี (Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni, 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564) เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดัง ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) มีเกลันเจโลเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1475 ที่หมู่บ้านคาปรีส (ปัจจุบันอยู่ในทัสกานี, อิตาลี) เขาเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ หลังจากที่ไปอยู่ที่กรุงโรมเมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโลสร้างประติมากรรมรูปสลัก เดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมัน ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโล เดิมทีเป็นคนที่เกลียดเลโอนาร์โด ดา วินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก ในช่วงนี้ (ค.ศ. 1497 - ค.ศ. 1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ตอนอายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี ค.ศ. 1545 ต่อมาในปี ค.ศ. 1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะภาพ คำพิพากษาครั้งสุดท้าย (The Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปี มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี เสียชีวิตที่กรุงโรม เมื่อปี ค.ศ. 1564 รวมอายุได้ 88 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจากสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า "ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของมิเกลันเจโลให้ยืนยาวออกไปอีก".

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและมีเกลันเจโล · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรมล้อ

วรรณกรรมล้อ เป็นชิ้นงานที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบ ล้อเลียน หรือออกความเห็นต่อชิ้นงานดั้งเดิม ประเด็น ผู้เขียน รูปแบบ หรือเป้าหมายอื่น ๆ โดยจะเป็นการเลียนแบบเชิงเสียดสีหรือแฝงนัย นักทฤษฎี ลินดา ฮัตเชียน ให้ความหมายว่า "วรรณกรรมล้อ คือการเลียนแบบ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นการล้อเลียนข้อความเสมอไป" นักวิจารณ์อีกท่านหนึ่ง ไซมอน เด็นทิธ นิยามวรรณกรรมล้อว่า "การประกอบกิจใจ ๆ เชิงวัฒนธรรมที่เลียนแบบ พาดพิงอีกผลงานหรือการประกอบกิจหนึ่งอย่างมีศิลปะ" วรรณกรรมล้อพบได้ในศิลปะหรือวัฒนธรรม รวมถึง วรรณกรรม ดนตรี (แม้ว่าก่อนหน้านี้ "วรรณกรรมล้อ" ในดนตรีจะมีความหมายแตกต่างออกไป) แอนิเมชัน วิดีโอเกม และภาพยนตร์ นักเขียนและนักวิจารณ์ จอห์น โกรส สังเกตในหนังสือ Oxford Book of Parodies ของเขาว่าวรรณกรรมล้อดูจะเฟื่องฟูในดินแดนระหว่าง แพสติช ("ผลงานอีกแบบของศิลปิน โดยไม่มีเนื้อหาเสียดสี") และ เบอร์เลสก์ (ซึ่งหลอกเกี่ยวกับชิ้นงานวรรณกรรมชั้นสูงและดัดแปลงให้ดูต่ำลง) ขณะเดียวกับ หนังสือ Encyclopédie ของเดอนี ดีเดอโร แยกความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมล้อกับเบอร์เลสก์ว่า "วรรณกรรมล้อที่ดีคือการขบขันที่ทำให้บุคคลที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและไร้มลทินรู้สึกสนุกสนานได้ ส่วนเบอร์เลสก์เป็นการเล่นตลกร้ายที่ทำให้คนรู้สึกพอใจเท่านั้น" จากประวัติศาสตร์ เมื่อสูตรสำเร็จเริ่มน่าเบื่อ อย่างเช่นในกรณีละครประโลมโลกเกี่ยวกับศีลธรรมในยุค 1910 ยังคงเป็นได้แค่วรรณกรรมล้อ ดังที่เรื่องสั้นของบัสเตอร์ คีตันเคยล้อเลียนไว้Balducci, Anthony (2011) The Funny Parts: A History of Film Comedy Routines and Gags.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและวรรณกรรมล้อ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์วานอิสราเอล

ัญลักษณ์ 12 ชนเผ่าของอิสราเอล ซึ่งสลักไว้บนกำแพงเมืองกรุงเยรูซาเลม วงศ์วานอิสราเอล (Israelites; בני ישראל Bnai Yisraʾel; ܒܢܝ ܐܝܣܪܐܝܠ; Δώδεκα φυλές του Ισραήλ; بنى اسرائيل) แปลว่าลูกหลานของอิสราเอล จึงหมายถึงประชาชนที่อาศัยในบริเวณดินแดนคานาอันในตะวันออกใกล้ สมัยโบราณราวศตวรรษที่ 15-16 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากยาโคบ ต่อมาเป็นชาวยิวซี่งอาศัยในแคว้นยูเดียและชาวสะมาเรียในแคว้นสะมาเรีย ในคัมภีร์อัลกุรอานเรียกว่า วงศ์วานอิสรออีล วงศ์วานอิสราเอล ที่หมายถึงชนเผ่าที่สืบเชื้อสายมาจากยาโคบ (มีฉายาว่าอิสราเอล) มีทั้งหมด 12 ชนเผ่า ซึ่งประชากรที่อยู่ในชนเผ่าดังต่อไปนี้ถือเป็นประชากรของอาณาจักรอิสราเอล.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและวงศ์วานอิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว

มัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว (Reign of Terror; 5 กันยายน ค.ศ. 1793 – 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1794) หรือที่เรียกว่า The Terror (la Terreur) เป็นสมัยแห่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มต้น โดยถูกกระตุ้นจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มแยกทางการเมืองที่เป็นคู่แข่งกัน คือ ฌีรงแด็ง (Girondins) และฌากอแบ็ง (Jacobins) ซึ่งมีการประหารชีวิต "ศัตรูแห่งการปฏิวัติ" จำนวนมาก ยอดผู้เสียชีวิตอยู่ในหลักหมื่น โดยมีผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยติน 16,594 คน และอีก 25,000 คน ถูกประหารชีวิตอย่างรวบรัดทั่วฝรั่งเศส กิโยตินกลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งอุดมการณ์การปฏิวัติ ซึ่งมีการประหารชีวิตบุคคลสำคัญจำนวนมาก เช่น มารี อ็องตัวแน็ตและพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทั้งผู้สนับสนุนการปฏิวัติ ฟิลิปป์ เอกาลีเต (หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์) มาดามโรลองด์และกลุ่มฌีรงแด็ง นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายคน อาทิ อ็องตวน ลาวัวซีเย นักเคมีบุกเบิก ที่ต้องมาสังเวยชีวิตด้วยเช่นกัน ระหว่าง..

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว · ดูเพิ่มเติม »

สัมฤทธิ์

รื่องมือโบราณบางส่วนที่ทำจากสัมฤทธิ์ สัมฤทธิ์ (bronze; โบราณเขียน "สำริด") หมายถึง โลหะประสมทองแดงชนิดหนึ่ง ที่มีคุณลักษณะแปรผันหลากหลาย ปกติมีดีบุกเป็นส่วนประกอบหลัก แต่บางครั้งก็มีธาตุอื่นๆ เช่นฟอสฟอรัส, แมงกานีส, อะลูมิเนียม หรือ ซิลิกอน สัมฤทธิ์เป็นโลหะที่แข็งแรง และเหนียว และมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในทางอุตสาหกรรม และมีความสำคัญเป็นพิเศษในสมัยโบราณ จนนักโบราณคดีเรียกยุคหนึ่งว่า ยุคสัมฤท.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและสัมฤทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

หอศิลป์บอร์เกเซ

หอศิลป์บอร์เกเซ (Galleria Borghese; Borghese Gallery) เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ตั้งอยู่ที่กรุงโรมในประเทศอิตาลี ที่ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1903 หอศิลป์บอร์เกเซตั้งอยู่ในสิ่งก่อสร้างที่เดิมเป็น “วิลลาบอร์เกเซพินชิอานา” ที่เดิมเป็นส่วนสำคัญของสวนแต่ในปัจจุบันสวนแยกเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากเป็นสวนวิลลาบอร์เกเซ (Villa Borghese gardens) หอศิลป์บอร์เกเซเป็นที่ตั้งแสดงศิลปะของงานสะสมบอร์เกเซ ที่รวมทั้งจิตรกรรม, ประติมากรรม และศิลปะโบราณที่เริ่มสะสมโดยคาร์ดินัลสคิปิโอเน บอร์เกเซ (Scipione Borghese) หลานของสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 5 คฤหาสน์สร้างโดยสถาปนิกฟลามินิโอ พอนซิโอ (Flaminio Ponzio) จากร่างที่เขียนโดยสคิปิโอเนเอง ผู้ที่ใช้เป็นคฤหาสน์นอกเมืองสำหรับจัดงานเลี้ยง สคิปิโอเน บอร์เกเซเป็นผู้อุปถัมภ์คนแรกๆ ของจานโลเรนโซ แบร์นินี และเป็นผู้ชอบสะสมงานของคาราวัจโจ ที่ประกอบด้วย “เด็กชายกับตะกร้าผลไม้”, “นักบุญเจอโรมเขียนหนังสือ”, “บัคคัสไม่สบาย” และอื่นๆ ภาพเขียนอื่นๆ ที่สำคัญก็ได้แก่ “วีนัสและเจ้าสาว” โดยทิเชียน, “ชะลอร่างจากกางเขน” โดยราฟาเอล และงานของปีเตอร์ พอล รูเบนส์ และเฟเดอริโค บารอชชิ (Federico Barocci).

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและหอศิลป์บอร์เกเซ · ดูเพิ่มเติม »

หอศิลป์แห่งชาติ (ลอนดอน)

หอศิลป์แห่งชาติ (National Gallery) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในกรุงลอนดอนในอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1824 เป็นที่แสดงและเก็บรักษาจิตรกรรมกว่า 2,300 ภาพจากตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 จนถึงปี ค.ศ. 1900 หอศิลป์แห่งชาติเริ่มก่อตั้งเมื่อรัฐบาลซี้อภาพเขียน 36 ภาพจากนายธนาคาร จอห์น จูเลียส แองเกอร์สไตน์ (John Julius Angerstein) ในปี ค.ศ. 1824 หลังจากนั้นลักษณะการสะสมก็ขึ้นอยู่กับผู้อำนวยการของหอศิลป์ โดยเฉพาะชาลส์ ล็อก อีสต์เลค (Charles Lock Eastlake) และโดยการอุทิศเงินส่วนบุคคลซึ่งเป็นจำนวนประมาณสองในสามของภาพในหอศิลป์เจ็นทิลิ, ออกัสโต; บาร์แชม, วิลเลียม & ไวท์ลีย์, ลินดา (ค.ศ. 2000).

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและหอศิลป์แห่งชาติ (ลอนดอน) · ดูเพิ่มเติม »

หินอ่อน

หินอ่อนในธรรมชาติ หินอ่อนเกิดจากแคลเซียมคาร์บอเนต(หินปูน)ที่สะสมอยู่ในท้องทะเลหรือมหาสมุทรมาก่อน กระทั่งเกิดการเคลื่อนไหวขึ้นในบริเวณดังกล่าว คือที่ๆ เคยเป็นทะเลหรือมหาสมุทรกลับกลายเป็นภูเขาขึ้นมา และที่ๆ เคยเป็นบกเป็นภูเขามากลับ กลายเป็นทะเล รวมถึงผ่านกระบวนการทางธรณี เช่น เกิดมีแมกมาไหลออกมา และพอดีหินที่สะสมไว้ในทะเลไปโดนกับแมกมาเข้า สำคัญคือแมกมานั้นเต็มไปด้วยความร้อน ความดัน และก๊าซ จึงทำให้แคลเซียมคาร์บอเนต(หินปูน)ละลาย แล้วตกผลึก เกิดเป็นหินอ่อนขึ้นมาได้ในที่สุด แต่ในกรณีที่เกิดการหลอมละลาย แล้วตกผลึกไม่หมดทีเดียว ก็จะเกิดหินปูนคล้ายหินอ่อน และจะพบพวกซากเปลือกหอยทะเลต่างๆ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยอยู่รวมกับตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต หมวดหมู่:หิน.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและหินอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ฌัก-หลุยส์ ดาวีด

ัก-หลุยส์ ดาวีด ฌัก-หลุยส์ ดาวีด (Jacques-Louis David; 30 สิงหาคม ค.ศ. 1748 - 29 ธันวาคม ค.ศ. 1825) เป็นศิลปินในยุคนีโอคลาสสิก ที่มีชื่อเสียงในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสและยังเป็นจิตรกรในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและฌัก-หลุยส์ ดาวีด · ดูเพิ่มเติม »

จริตนิยม

ในภาพเขียน “แม่พระพระศอยาว” (Madonna with the Long Neck)-(ค.ศ. 1534-1540) โดยปาร์มีจานีโน แมนเนอริสม์แสดงโดยการทำให้สัดส่วนยาวขึ้นซึ่งทำให้มีผลต่อการวางรูปและบิดเบือนทัศนมิติไม่กระจ่างแจ้ง จริตนิยม (Mannerism) คือยุคของศิลปะของจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และการตกแต่ง ที่เริ่มตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยทึ่รุ่งเรืองที่สุดราวปี..

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและจริตนิยม · ดูเพิ่มเติม »

จัน โลเรนโซ แบร์นีนี

ีอันโลเรนโซ แบร์นินี (Gian Lorenzo Bernini) (Giovanni Lorenzo Bernini, 7 ธันวาคม พ.ศ. 2141 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2223) เป็นประติมากรและสถาปนิกบาโรกที่มีชื่อเสียงในกรุงโรม เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและจัน โลเรนโซ แบร์นีนี · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมประวัติศาสตร์

“วันสุดท้ายของปอมเปอี” (ค.ศ. 1833) เป็นตัวอย่างที่ดีของภาพเขียนประวัติศาสตร์ จิตรกรรมประวัติศาสตร์ (History painting) เริ่มเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ ค.ศ. 1667 โดยอันเดร เฟลิเบียน (André Félibien) จิตกรประวัติศาสตร์, สถาปนิก, นักทฤษฎีคลาสสิกซิสม์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นลักษณะที่ระบบ “การจัดลำดับคุณค่าของศิลปะ” (Hierarchy of genres) ถือว่าเป็นประเภทการเขียนภาพที่มีคุณค่าสูงที่สุดในบรรดาการเขียนภาพประเภทต่าง.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและจิตรกรรมประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวิด (มีเกลันเจโล)

thumb ดาวิด เป็นประติมากรรมชิ้นเอกสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่มีเกลันเจโลสลักขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและดาวิด (มีเกลันเจโล) · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์โรม

ผังกรุงโรมอย่างง่ายในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ประวัติศาสตร์โรม กินระยะเวลากว่า 2,700 ปีของการมีนครซึ่งเติบโตขึ้นจากหมู่บ้านละตินเล็ก ๆ ในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล มาเป็นศูนย์กลางอารยธรรมไพศาลอันครอบงำภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนหลายศตวรรษ ประชากรของนครลดลงในช่วงปลายจักรวรรดิโรมันหลังโรมมิได้เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิอีกต่อไป และยังน้อยกว่าที่เคยในอดีตกระทั่งโรมเป็นเมืองหลวงของประเทศอิตาลีที่กลับมารวมชาติอีกครั้งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งรับประกันความอยู่รอดของวัตถุโรมันโบราณที่สำคัญยิ่งที่ยังเหลืออยู่ใจกลางนคร บ้างถูกทิ้งและบ้างยังใช้มาถึงปัจจุบัน หลายศตวรรษระหว่างนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาเป็นผู้ปกครองนครและโรมกลายมาเป็นเมืองหลวงของรัฐสันตะปาปา ซึ่งเติบโตรวมบริเวณกวางของอิตาลีตอนกลาง แม้จะไม่ค่อยเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ แต่โรมยังเป็นศูนย์กลางของการจาริกแสวงบุญและการท่องเที่ยวด้ว.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและประวัติศาสตร์โรม · ดูเพิ่มเติม »

ปาโบล ปีกัสโซ

Signatur Pablo Picasso ปาโบล รุยซ์ ปีกัสโซ (Pablo Ruiz Picasso;;; 25 ตุลาคม ค.ศ. 1881 – 8 เมษายน ค.ศ. 1973) จิตรกรเอกของโลก เป็นบุคคลที่นิตยสาร TIME ยกย่องให้เป็นศิลปินที่มีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์มากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ปีกัสโซเกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม..

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและปาโบล ปีกัสโซ · ดูเพิ่มเติม »

นีกอลา ปูแซ็ง

นีกอลา ปูแซ็ง (Nicolas Poussin; 15 มิถุนายน ค.ศ. 1594 - 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1665) เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมสีน้ำมัน ปูแซ็งเกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1594 ที่เมืองเลซ็องเดอลีในนอร์ม็องดีในประเทศฝรั่งเศส และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1665 ลักษณะการเขียนเป็นแบบคลาสสิกซิสม์ งานของปูแซ็งเจะชัดเจน มีเหตุผลและมีระเบียบและนิยมเส้นมากกว่าสี ปูแซ็งมีอิทธิพลต่อจิตรกรที่มีลักษณะเขียนไปทางคลาสสิกมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เช่น ฌัก-หลุยส์ ดาวีด, ปอล เซซาน ปูแซ็งใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วงทำงานเขียนในกรุงโรม นอกจากช่วงที่คาร์ดินัลรีเชอลีเยอ (Cardinal Richelieu) เรียกตัวกลับมาฝรั่งเศสเพื่อมาเป็นเป็นจิตรกรเอกประจำราชสำนักพระเจ้าแผ่นดินฝรั่ง.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและนีกอลา ปูแซ็ง · ดูเพิ่มเติม »

แฟลนเดอส์

งฟลานเดอร์ ฟลานเดอร์ ในความหมายปัจจุบันหมายถึงพื้นที่ทางตอนเหนือของเบลเยียม ซึ่งใช้ภาษาดัตช์ (หรือฟลามส์) ในทางประวัติศาสตร์ ฟลานเดอร์เป็นพื้นที่ ครอบคลุมบางส่วนของประเทศเบลเยียม ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ ในทางการปกครอง ฟลานเดอร์ประกอบด้วยชุมชนฟลามส์และเขตฟลาม.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและแฟลนเดอส์ · ดูเพิ่มเติม »

แอนดรอมิดา

ภาพเขียนแสดงเจ้าหญิงแอนดรอมิดาถูกล่ามโซ่ไว้ริมทะเลเพื่อรอเป็นอาหารของซีตัส แอนดรอมิดา (Andromeda) เป็นนางในตำนานเทพปกรณัมกรีกผู้ซึ่งถูกตรึงโซ่ไว้กับหินเพื่อเป็นเครื่องสังเวยแก่สัตว์ประหลาดแห่งท้องทะเลและได้รับการช่วยเหลือโดยวีรบุรุษเพอร์ซิอัส (Perseus) ผู้ซึ่งนางได้สมรสด้วยในภายหลัง ตามตำนานของกรีกนั้นเจ้าหญิงแอนดรอมิดาเป็นธิดาของกษัตริย์ซีฟิอัส (Cepheus) กับราชินีแคสซิโอเปีย (Cassiopeia) แห่งอาณาจักรเอธิโอเปีย (ในตำนาน) เพราะมีพระราชชนนีเป็นคนคุยโวมาก เทพเจ้าแห่งท้องทะเลจึงส่งสัตว์มหายักษ์ ซีตัส (Sea Monster, Cetus) อสุรกายผู้มีร่างน่าเกลียดมาบันดาลคลื่นลม พายุกระหน่ำน้ำท่วมกรุงเอธิโอเปียอย่างหนักหน่วง วิธีเดียวที่จะแก้วิกฤตการณ์นี้ได้ คือ กษัตริย์ซีฟีอัสต้องเสียดวงใจอันเป็นที่รักยิ่งคือราชธิดา ส่งไปสังเวยสัตว์มหายักษ์ซีตัส เพื่อความผาสุกของประชากร กษัตริย์ซีฟีอัสจึงตัดใจเอาราชธิดาไปผูกติดไว้ที่ก้อนหินชายทะเลให้ซีตัสจัดการตามต้องการ เจ้าหญิงแอนดรอมิดาถูกล่ามโซ่ไว้เพื่อรอเป็นอาหารของปิศาจในทะเล และเธอก็ได้รับความช่วยเหลือจากเพอร์ซิอัส (วีรบุรุษผู้เพิ่งกลับจากการพิชิตกอร์กอน-ปิศาจเมดูซา) ซึ่งต่อมาเจ้าหญิงแอนดรอมิดาได้แต่งงานกับเพอร์ซิอัส มีลูกด้วยกัน 7 คน (ชาย 6 หญิง 1) บุตรชายคนหนึ่งชื่อเพอร์ซีส (Perses) ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวเปอร์เซีย หมวดหมู่:ตำนาน หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและแอนดรอมิดา · ดูเพิ่มเติม »

โรมุลุสและแรมุส

รูปหล่อสำริดแสดงโรมุลุสและแรมุสซึ่งมีแม่หมาป่าเป็นผู้เลี้ยงดู แผ่นเงินรูปโรมุลุสและแรมุส สมัยศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช โรมุลุส (Romvlvs; 771 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 717 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และ แรมุส (Remvs; 771 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 753 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นบุคคลในเรื่องปรัมปราเกี่ยวกับการก่อตั้งกรุงโรม ทั้งสองเป็นบุตรชายฝาแฝดของเรอา ซิลวิอา นักบวชหญิงพรหมจรรย์ กับมาร์ส เทพเจ้าแห่งสงคราม ตำนานการก่อตั้งกรุงโรมปรากฏอยู่ในบันทึกของพลูทาร์ก นักปราชญ์กรีก และลิวี นักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน โดยตำนานกล่าวว่า โรมุลุสและแรมุสถูกทิ้งไว้ริมแม่น้ำไทเบอร์มาตั้งแต่แบเบาะ และเติบโตขึ้นจากการเลี้ยงดูของหมาป่า เมื่ออายุ 18 ปี โรมุลุสและแรมุสออกเดินทางจากหมู่บ้านเพื่อไปตั้งหมู่บ้านใหม่ หมู่บ้านของโรมุลุสชื่อ "โรม" หมู่บ้านของแรมุสชื่อ "รีมอเรีย" (ปัจจุบัน ไม่มีผู้ใดทราบตำแหน่งที่แน่นอนของหมู่บ้านนี้แล้ว) ต่อมาทั้งคู่เกิดขัดแย้งกันและได้ประลองกำลังกันเมื่อวันที่ 21 เมษายน 753 ปีก่อนคริสต์ศักราช และแรมุสเสียชีวิตในการประลองครั้งนั้น ต่อมาโรมุลุสได้เป็นกษัตริย์องค์แรกของโรม โรมุลุสปกครองกรุงโรมอยู่เป็นเวลา 38 ปี และหายสาบสูญไปหลังจากเกิดพายุอย่างกะทันหัน ตำนานกล่าวว่า โรมุลุสไปเกิดใหม่บนสวรรค์ในนามของ "กวิรีนุส" (Qvirinvs).

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและโรมุลุสและแรมุส · ดูเพิ่มเติม »

เพอร์ซิอัส

อร์ซิอัสกับศีรษะเมดูซา งานปั้นของอันโตนิโอ คาโนวา ในปี ค.ศ. 1801 ปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วาติกัน เพอร์ซิอัส (Perseus; Περσεύς) เป็นบุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก เป็นบุตรของเทพซูสกับหญิงชาวมนุษย์ชื่อ นางแดนาอี ตามตำนานกรีกเพอร์ซิอัสเป็นผู้ก่อตั้งแคว้นไมซีนี และเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์เพอร์เซอิด เขาเป็นวีรบุรุษคนแรกในปกรณัมกรีกที่มีชื่อเสียงจากการปราบสัตว์ประหลาดโบราณมากมาย ในยุครุ่งเรืองเทพโอลิมปัสทั้ง 12 องค์ ชาวกรีกเชื่อกันว่าเพอร์ซิอัสเป็นผู้ก่อตั้งเมืองไมซีนีขึ้น ณ จุดที่ได้สังหารอะคริซิอัส พระเจ้าตาของตนโดยอุบัติเหตุ นอกจากนี้เพอร์ซิอัสยังเป็นผู้สังหารเมดูซาและเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าหญิงแอนดรอมิดาจากเคตัส (Cetus) ปีศาจทะเลซึ่งถูกส่งมาโดยเทพโปเซดอน เพื่อทำลายเอธิโอเปีย ชื่อของเพอร์ซิอัสยังขาดข้อสรุปทางนิรุกติศาสตร์ที่ชัดเจน ทำให้มีข้อสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นชื่อโบราณก่อนภาษากรีกจะเข้ามา แต่ก็มีผู้สันนิษฐานว่าอาจจะมีรากมาจากคำกริยากรีกว่า "πέρθειν" (perthein) แปลว่า ปล้นสะดม หรือ เข้าตีเมือง.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและเพอร์ซิอัส · ดูเพิ่มเติม »

เฮเลนแห่งทรอย

เฮเลนแห่งทรอย ภาพวาด ''เฮเลนกับปารีส'' โดย ฌาคส์-หลุยส์ เดวิด ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ประเทศฝรั่งเศส เฮเลน (Helen, ภาษากรีกว่า Ἑλένη – Helénē) คือหญิงสาวผู้เป็นชนวนศึกในสงครามเมืองทรอย ปกรณัมเก่าแก่ของกรีก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของงานมหากาพย์อีเลียดและโอดิสซีย์ ส่วนใหญ่มักเรียกชื่อนางว่า เฮเลนแห่งสปาร์ตา หรือ เฮเลนแห่งทรอย นางเป็นบุตรีของเทพซูสกับนางลีดา มีพี่ชายคือแคสเตอร์ พอลลักซ์ และคลีเทมเนสตรา เมื่อเฮเลนเติบโตถึงวัยวิวาห์ บิดามารดาได้จัดพิธีเลือกคู่ให้แก่นาง โดยมีกษัตริย์ เจ้าชาย และนักรบจากเมืองต่างๆ ทั่วแคว้นกรีกมาร่วมงาน ได้แก่ โอดิซูส เมเนสทีอัส ไดโอมีดีส อจักซ์ ปโตรกลัส เมนนิเลอัส และอักกะเมมนอน นางเลือกเมนนิลิอัสเป็นคู่วิวาห์ ส่วนกษัตริย์อื่นต่างให้สัญญาว่าจะคอยช่วยปกป้องนาง เฮเลนมีชื่อเสียงว่าเป็นหญิงงามไม่อาจหามนุษย์ผู้ใดเทียบได้ เมื่อครั้งปารีสแห่งทรอยเป็นผู้ตัดสินความงามระหว่างเหล่าเทพี อโฟรไดท์สัญญาว่าจะให้นางเฮเลนแก่เขาหากเขาเลือกให้พระนางเป็นเทพีผู้งามที่สุด เหตุนี้ปารีสจึงมาชิงตัวเฮเลนไปเสียโดยความช่วยเหลือของเทพเจ้า แล้วพานางหนีกลับไปเมืองทรอย ทำให้เหล่ากษัตริย์ที่ได้ให้สัตย์ไว้ต่อเมนนิลิอัส ต้องยกทัพมาช่วยเหลือเพื่อชิงนางเฮเลนกลับคืน หมวดหมู่:อีเลียด หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและเฮเลนแห่งทรอย · ดูเพิ่มเติม »

เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์

ปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ (Peter Paul Rubens,; 28 มิถุนายน พ.ศ. 2120 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2183) เป็นจิตรกรชาวเฟลมิชที่มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีผลงานในรูปแบบศิลปะบาโรก.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ · ดูเพิ่มเติม »

เนเปิลส์

นเปิลส์ (Naples), นาโปลี (Napoli) หรือ นาปูเล (เนเปิลส์: Napule) เป็นเมืองหลักของแคว้นคัมปาเนียและจังหวัดเนเปิลส์ในอิตาลี มีชื่อเสียงในด้านความร่ำรวยทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี และศาสตร์การทำอาหาร เป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญในคาบสมุทรอิตาลีมาตลอด 2,800 ปีนับแต่ก่อตั้งเมืองขึ้นมา ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ที่ชายฝั่งด้านตะวันตกของอิตาลีติดกับอ่าวเนเปิลส์ กึ่งกลางระหว่างพื้นที่ภูเขาไฟสองแห่ง คือ ภูเขาไฟวิสุเวียสและกัมปีเฟลเกรย์ เนเปิลส์ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 800-900 ปีก่อนคริสตกาล ในฐานะอาณานิคมกรีก จึงจัดว่าเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แรกเริ่มนั้นมีชื่อว่า Παρθενόπη Parthenope ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Νεάπολις Neápolis (เมืองใหม่) จัดเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญในพื้นที่ Magna Graecia โดยมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดวัฒนธรรมกรีกไปสู่สังคมโรมัน ต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางหลักทางวัฒนธรรมของสาธารณรัฐโรมัน โดยเวอร์จิล กวีภาษาละตินที่มีชื่อเสียง ก็ได้เคยศึกษาวิชาที่เนเปิลส์และต่อมาก็ได้อาศัยอยู่ที่บริเวณชานเมือง ตลอดระยะเวลาในประวัติศาสตร์ เนเปิลส์ได้รับสืบทอดอิทธิพลทางศิลปะและสถาปัตยกรรมจากอารยธรรมต่าง ๆ มากมาย รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เด่นชัดที่สุดที่ยังคงพบได้ในปัจจุบันถือกำเนิดมาจากยุคกลาง สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และสมัยบาโรก ใจกลางเนเปิลส์เป็นศูนย์กลางเมืองทางประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป (1,700 เฮกตาร์ หรือ 17 ตารางกิโลเมตร) และได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเมือง เนเปิลส์เคยมีฐานะเป็นเมืองหลวงของ Duchy และอาณาจักรต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งเคยเป็นเมืองหลวงของ Crown of Aragon และยังเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่สำคัญ (โดยเฉพาะในสมัยของลัทธิมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ และตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ถึง 19) อิทธิพลของเมืองได้แผ่ขยายครอบคลุมพื้นที่หลายส่วนในยุโรปไปจนถึงนอกทวีป และรอบเมืองก็เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญต่าง ๆ (เช่น พระราชวังกาแซร์ตา ปอมเปอี และเฮอร์คิวเลเนียม) ซึ่งล้วนแต่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดต่อเนเปิลส์ในด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ และสถาปัตยกรรม เนเปิลส์เคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรเนเปิลส์ตั้งแต่ พ.ศ. 1825 ถึง พ.ศ. 2349 ต่อมาได้ถูกผนวกอาณาจักรเข้ากับราชอาณาจักรซิซิลี และกลายเป็นเมืองหลวงของ Kingdom of Two Sicilies จนกระทั่งอาณาจักรต่าง ๆ บนคาบสมุทรถูกผนวกรวมเป็นประเทศอิตาลีเมื่อ พ.ศ. 2404 ซึ่งหลังสงคราม Neapolitan ฝ่ายเนเปิลส์ก็ได้สนับสนุนการรวมประเทศนี้อย่างเต็มที่ ภายในอาณาเขตการปกครองของเนเปิลส์มีประชากรประมาณ 1 ล้านคน แต่จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ระบุว่าเขตมหานครของเนเปิลส์มีประชากรมากเป็นอันดับสอง (รองจากมหานครมิลาน ซึ่ง Svimez Data ระบุว่ามีผู้อยู่อาศัย 4,434,136 คน ขณะที่สถาบัน Censis ระบุว่ามี 4,996,084 คน)) หรือสาม (ตามข้อมูลขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา มีผู้อยู่อาศัย 3.1 ล้านคน) ของอิตาลี นอกจากนี้ยังเป็นมหานครที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในอิตาลี เนเปิลส์ถูกจัดให้เป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งมากเป็นอันดับสี่ในอิตาลี รองจากมิลาน โรม และตูริน และถูกจัดให้เป็นเมืองที่ร่ำรวยเป็นอันดับที่ 91 ของโลกโดยวัดจากกำลังซื้อของประชากร และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมอยู่ที่ 43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเหนือกว่าเศรษฐกิจของบูดาเปสต์และซูริก ท่าเรือเนเปิลส์เป็นท่าเรือที่มีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป (มีผู้โดยสารคับคั่งมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากท่าเรือฮ่องกง) เมื่อไม่นานมานี้เศรษฐกิจของเนเปิลส์ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และอัตราการว่างงานของประชากรในเมืองและบริเวณโดยรอบก็ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2542 กระนั้นก็ยังคงเต็มไปด้วยการทุจริตทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นแหล่งตลาดมืดที่เฟื่องฟู ในตัวเมืองเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทขนาดใหญ่สัญชาติอิตาลีหลายแห่ง เช่น MSC-Cruises และเป็นที่ตั้งของ Center Rai of Naples (สื่อ) มาตั้งแต่ พ.ศ. 2501 ขณะที่ในเขตบัญโญลีเป็นที่ตั้งของสำนักงานขนาดใหญ่ขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ และยังมี SRM institution for economic research และบริษัทและศูนย์การศึกษา OPE ที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองเช่นกัน เนเปิลส์เป็นสมาชิกเต็มของเครือข่าย Eurocities นอกจากนี้ ยังได้รับเลือกให้เป็นศูนย์กลางของ Acp/Ue และได้รับการยกย่องจาก Creative Cities Network ในสังกัดขององค์การยูเนสโกให้เป็นเมืองแห่งวรรณกรรม ในเขตโปซิลลีโปของเมืองเป็นที่ตั้งของ Vill Rosebery ซึ่งเป็นที่พำนักอย่างเป็นทางการหนึ่งในสามแห่งของประธานาธิบดีอิตาลี ในศตวรรษที่ 20 เนเปิลส์ตกอยู่ภายใต้การปกครองของลัทธิฟาสซิสต์ และในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองก็เป็นเมืองที่ถูกทิ้งระเบิดมากที่สุดในอิตาลี ภายหลังสงครามสงบได้มีการบูรณะเมืองซึ่งได้ขยายตัวเมืองออกไปยังพื้นที่รอบนอก ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้ ได้มีการสร้างย่านธุรกิจ (เชนโตรดีเรซีโอนาเล) ที่มีอาคารระฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานแบบ TGV ในโรม รวมถึงการขยายเส้นทางรถไฟใต้ดินที่จะครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่งของภูมิภาค และเนเปิลส์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม International Astronautical Congress ใน พ.ศ. 2555 และ Universal Forum of Cultures ใน พ.ศ. 2556 เนเปิลส์เป็นเมืองที่เริ่มมีการทำพิซซาขึ้นเป็นครั้งแรก โดยในขณะนั้นจะใช้การทอดก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นการอบในภายหลัง นอกจากนี้วัฒนธรรม Neapolitan ยังมีอิทธิพลด้านดนตรีอย่างแพร่หลาย อย่างเช่นการประดิษฐ์ Romantic guitar และแมนโดลิน รวมทั้งอุปรากรและเพลงท้องถิ่น บุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ของเนเปิลส์คือนักบุญ Januarius ผู้ปกป้องคุ้มครองเมือง ส่วนตัวละครจากเรื่องแต่งที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์คือ พูลชิเนลลา และไซเรน สิ่งมีชีวิตจากมหากาพย์โอดิสซีของกรีก.

ใหม่!!: การข่มขืนสตรีชาวซาบีนและเนเปิลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Rape of the Sabine WomenThe Rape of the Sabine Women

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »