โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรคกามวิปริต

ดัชนี โรคกามวิปริต

รคกามวิปริต (paraphilia, sexual perversion, sexual deviation) หรือ กามวิปริต เป็นประสบการณ์ความตื่นตัวทางเพศระดับสูงต่อวัตถุ สถานการณ์ หรือบุคคลที่ไม่ทั่วไป แต่ก็ไม่มีมติส่วนใหญ่ของนักวิชาการว่าเส้นแบ่งระหว่างความสนใจทางเพศที่แปลก กับโรคกามวิปริตอยู่ที่ไหน มีข้อโต้แย้งที่ยังไม่ยุติว่า กามวิปริตแบบไหน ควรจะมีรายชื่ออยู่ในคู่มือวินิจฉัยทางแพทย์เช่น คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) หรือ บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (ICD) หรือถ้าจะต้องมีโดยประการทั้งปวง จำนวนประเภทและอนุกรมวิธาน (taxonomy) ของกามวิปริตก็ยังโต้เถียงยังไม่ยุติอีกด้วย มีหนังสือเล่มหนึ่งที่มีรายการถึง 549 ประเภท ส่วน DSM-5 มีรายการความผิดปกติทางกามวิปริต (paraphilic disorder) 8 ประเภท นักวิชาการได้เสนอการจัดหมวดหมู่ย่อยแบบต่าง ๆ โดยอ้างว่า วิธีการจัดหมวดหมู่แบบอื่น ๆ เช่นวิธีการที่รวมมิติทั้งหมด วิธีกำหนดอาการเป็นพิสัย หรือวิธีกำหนดตามคำให้การของคนไข้ (complaint-oriented) จะเข้ากับหลักฐานได้ดีกว.

63 ความสัมพันธ์: บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องพฤติกรรมพัฒนาการความต้องการทางเพศกรีซโบราณการร่วมเพศทางทวารหนักการวิจัยการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองการทารุณเด็กทางเพศการข่มขืนกระทำชำเราการแข็งตัวขององคชาตการเมืองกิจกรรมทางเพศของมนุษย์ภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษรสนิยมทางเพศรักร่วมเพศรักต่างเพศรัฐบาลกลางสหรัฐรัฐของสหรัฐรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบวิทยาศาสตร์สภาวะตื่นตัวสหรัฐสหสัมพันธ์สังคมสถานะเพศหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อาชีพองค์การอนามัยโลกอนุกรมวิธานจิตวิทยาจิตวิเคราะห์จิตแพทย์จิตเวชศาสตร์จินตนาการท่อไอเสียดิลโดดีเอสเอ็มคริสต์ศตวรรษความผิดปกติทางจิตความต้องการความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์ความเอนเอียงคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตตัวกระตุ้นซาดิสม์และมาโซคิสม์ซิกมุนด์ ฟรอยด์ซีกสมองประสบการณ์ประสาทวิทยา...ประเทศออสเตรียประเทศโครเอเชียนิ้วชี้นิ้วนางโรคชอบแต่งกายลักเพศโรคจิตเภทโรคใคร่เด็กโลกตะวันตกเพศกับกฎหมายเพศวิทยาเพศสภาพของมนุษย์เทสโทสเตอโรนเด็ก ขยายดัชนี (13 มากกว่า) »

บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

ัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems มีชื่อย่อว่า ICD) เป็นรายละเอียดของโรคและการบาดเจ็บต่าง ๆ จัดพิมพ์เผยแผ่โดย องค์การอนามัยโลก และใช้ข้อมูลเป็นสถิติพยาธิภาวะและอัตราตาย จากทั่วโลก มีการแก้ไขปรับปรุงเป็นช่วง ๆ ปัจจุบันได้ทำการจัดพิมพ์ครั้งที่ 11 แล้ว โรคหรือกลุ่มของโรคที่มีความสัมพันธ์กันจะอธิบายด้วยการวินิจฉัยและมีรหัสกำหนดให้เป็นการเฉพาะตั้งแต่ 4-6 หลัก โดยหลักแรกในหมวดที่ 1-9 จะใช้ตัวเลข 1-9 เมื่อเข้าสู่หมวดที่ 10-26 จะใช้เป็นอักษร A-S นอกจากนี้ หมวด V คือSupplementary section for functioning assessment และหมวด X คือ External Cause แล้วจากนั้นจะแยกออกเป็นหมวดหมู่ในหลักถัดไป.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง · ดูเพิ่มเติม »

พฤติกรรม

ติกรรม หมายความถึง การแสดงและกิริยาท่าทางซึ่งสิ่งมีชีวิต ระบบหรืออัตลักษณ์ประดิษฐ์ ที่เกิดร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมระบบอื่นหรือสิ่งมีชีวิตโดยรวมเช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พฤติกรรมเป็นการตอบสนองของระบบหรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้าหรือการรับเข้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก มีสติหรือไม่มีสติระลึก ชัดเจนหรือแอบแฝง และโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใ.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและพฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

พัฒนาการความต้องการทางเพศ

ในจิตวิทยาของฟรอยด์ พัฒนาการความต้องการทางเพศ (psychosexual development) เป็นองค์ประกอบใจกลางของทฤษฎีแรงขับทางเพศของสำนักคิดจิตวิเคราะห์ ที่ว่ามนุษย์มีความต้องการทางเพศตามสัญชาตญาณตั้งแต่เกิดซึ่งพัฒนาในห้าขั้น ได้แก่ ขั้นปาก ขั้นทวารหนัก ขั้นอวัยวะเพศ ขั้นแฝงและขั้นสนใจเพศตรงข้าม ซึ่งแบ่งตามลักษณะของอีโรจีเนียสโซน ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของแรงขับความต้องการทางเพศ ซิกมุนด์ ฟรอยด์เสนอว่า หากเด็กประสบความคับข้องใจทางเพศสัมพันธ์กับขั้นพัฒนาการความต้องการทางเพศขั้นใด เด็กจะประสบความวิตกกังวลซึ่งจะติดตัวไปถึงวัยผู้ใหญ่เป็นโรคประสาท ซึ่งเป็นความผิดปกติของจิตอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและพัฒนาการความต้องการทางเพศ · ดูเพิ่มเติม »

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและกรีซโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

การร่วมเพศทางทวารหนัก

การร่วมเพศทางทวารหนัก หรือ การสมสู่วัจมรรค (anal sex) หมายถึงการร่วมประเวณีด้วยการสอดใส่อวัยวะเพศชายเข้าไปทางรูทวารหนัก และยังอาจจะหมายถึงการร่วมเพศที่เกี่ยวข้องกับทวารหนัก เช่นการสอดใส่ช่องทวารหนักด้วยนิ้วมือหรือวัตถุอื่น หรือการใช้ลิ้นเลียช่องทวารหนัก ในลักษณะของพฤติกรรมทางเพศ การร่วมเพศทางทวารหนักเป็นพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงอันเนื่องมาจากเนื้อเยื่อช่องทวารที่อ่อนแอต่อการเสียดสี และลักษณะที่ไม่เหมาะต่อการร่วมเพศของทวารหนัก ถึงแม้ว่าเยื่อเมือกรูทวารจะให้สารหล่อลื่นได้ แต่สารหล่อลื่นสำหรับการร่วมเพศก็ยังจำเป็นต้องใช้อยู่ดี.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและการร่วมเพศทางทวารหนัก · ดูเพิ่มเติม »

การวิจัย

อลิน เลวี วอร์เนอร์ (Olin Levi Warner) การวิจัยชูคบเพลิงแห่งความรู้ (พ.ศ. 2439) ห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐฯ อาคารโทมัส เจฟเฟอร์สัน, วอชิงตัน ดีซี การวิจัย (research) หมายถึงการกระทำของมนุษย์เพื่อค้นหาความจริงในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กระทำด้วยพื้นฐานของปัญญา ความมุ่งหมายหลักในการทำวิจัยได้แก่การค้นพบ (discovering), การแปลความหมาย, และ การพัฒนากรรมวิธีและระบบ สู่ความก้าวหน้าในความรู้ด้านต่าง ๆ ในเชิงวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายในโลกและจักรวาล การวิจัยอาจต้องใช้หรือไม่ต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อาศัยการประยุกต์ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้แรงผลักดันจากความอยากรู้อยากเห็น การวิจัยเป็นตัวสร้างข้อมูลข่าวสารเชิงวิทยาศาสตร์และทฤษฎีที่มนุษย์นำมาใช้ในการอธิบายธรรมชาติและคุณสมบัติของสรรพสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา การวิจัยช่วยให้การประยุกต์ทฤษฎีต่าง ๆ มีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ องค์การการกุศล กลุ่มเอกชนซึ่งรวมถึงบริษัทต่าง ๆ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำแนกได้เป็นประเภทตามสาขาวิทยาการและวิชาเฉพาะทาง คำว่าการวิจัยยังใช้หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับวิชาการบางสาขาอีกด้ว.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและการวิจัย · ดูเพิ่มเติม »

การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง

การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง หรือ อัตกาม (masturbation) หรือที่มักเรียกว่าการช่วยตัวเอง คือการกระตุ้นอวัยวะเพศของตนเองเพื่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศหรือความพอใจอื่น ๆ ปกติจะทำจนถึงความเสียวสุดยอดทางเพศ การกระตุ้นอาจใช้มือ นิ้วมือ วัตถุในชีวิตประจำวัน เซ็กซ์ทอย หรือหลายอย่างร่วมกัน การสำเร็จความใคร่ร่วมกัน (กระตุ้นทางเพศด้วยตนเองร่วมกับผู้อื่น) สามารถแทนการสอดใส่ได้ จากการศึกษาพบว่าการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองพบมากในมนุษย์ทุกเพศ และทุกวัย กิจกรรมการสำเร็จความใคร่นับว่ามีประโยชน์ทางการแพทย์และจิตวิทยา ยังไม่มีความสัมพันธ์เหตุภาพระหว่างการสำเร็จความใคร่กับความผิดปกติทางจิตหรือทางร่างกายใด ๆ มีการพรรณนาถึงการสำเร็จความใคร่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีการพูดถึงและอภิปรายถึงในงานเขียนยุคแรก ๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 นักเทววิทยาและหมอชาวยุโรปมองว่า "น่าเกลียด" "น่าตำหนิ" และ "น่ากลัว" แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ข้อห้ามดังกล่าวเริ่มลดความสำคัญลง มีการอภิปรายและพรรณนาถึงการสำเร็จความใคร่ในงานศิลปะ ดนตรีสมัยนิยม โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และวรรณกรรม ในปัจจุบัน ศาสนาต่าง ๆ มีมุมมองต่อการสำเร็จความใคร่ที่แตกต่างกัน บางศาสนามองว่าเป็นกิจกรรมที่เป็นภัยต่อจิตใจ บางศาสนามองว่าไม่เป็นภัยดังกล่าว และบางศาสนามองต่างกันตามสถานการณ์ การสำเร็จความใคร่ในทางกฎหมายมีความแตกต่างตามช่วงประวัติศาสตร์ และการสำเร็จความใคร่ในที่สาธารณะในหลายประเทศนับเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ในโลกตะวันตก การช่วยตัวเองคนเดียวหรือกับคู่รักนับถือเป็นเรื่องปกติและนับเป็นส่วนหนึ่งของการมีความสุขทางเพศ การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองยังถูกพบในสัตว์หลายสายพันธุ์ทั้งในถิ่นที่อยู่และในกรงขัง.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

การทารุณเด็กทางเพศ

การทารุณเด็กทางเพศ (Child sexual abuse ตัวย่อ CSA, child molestation) หรือ การกระทำทารุณต่อเด็กทางเพศ หรือ การทำร้ายเด็กทางเพศ เป็นรูปแบบการกระทำทารุณต่อเด็กที่ผู้ใหญ่, หรือเยาวชนหรือวัยรุ่นที่มีอายุมากกว่าและต่างระดับพัฒนา ใช้เด็กกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ มีรูปแบบตั้งแต่การขอหรือบังคับให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศ (ไม่ว่าจะได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่), การแสดงสิ่งลามกอนาจารไม่ว่าจะเป็นอวัยวะเพศ หัวนมหญิง เป็นต้น เพื่อสนองความต้องการทางเพศของตน เพื่อขู่ขวัญเด็ก หรือเพื่อปะเหลาะประเล้าประโลมเตรียมเด็กเพื่อทารุณกรรม, การสัมผัสเด็กทางเพศ, หรือการใช้เด็กเพื่อผลิตสื่อลามกอนาจาร ทารุณกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายที่หลายสถาน รวมทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือสำนักงานที่มีเด็กทำงานเป็นปกติ การจับเด็กแต่งงานเป็นรูปแบบการทารุณหลักอย่างหนึ่ง ที่กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ได้กล่าวไว้ว่า "อาจเป็นรูปแบบการทารุณและฉวยผลประโยชน์จากเด็กหญิงทางเพศที่แพร่หลายที่สุด" ทารุณกรรมต่อเด็กส่งผลทางจิตใจ ให้เกิดความซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจแบบซับซ้อน (complex post-traumatic stress disorder) ความโน้มเอียงที่จะตกเป็นเหยื่อทารุณกรรมอีกในวัยผู้ใหญ่ รวมทั้งการบาดเจ็บทางกาย และเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาทั้งหมด ทารุณกรรมโดยสมาชิกครอบครัวซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการร่วมประเวณีกับญาติสนิท จะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงยิ่งกว่าต่อเด็ก ส่งผลกระทบต่อจิตใจในระยะยาว โดยเฉพาะในกรณีที่ทำโดยผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ พ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง พ่อบุญธรรม แม่บุญธรรม ความแพร่หลายทั่วโลกของทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กประเมินอยู่ที่ 19.7% ในหญิง และ 7.9% ในชาย ผู้กระทำผิดส่วนมากรู้จักเหยื่อ ราว 30% เป็นญาติ บ่อยที่สุดเป็นพี่ชาย พ่อ ลุง หรือลูกพี่ลูกน้อง ราว 60% เป็นคนรู้จักอื่นอย่างเช่น "เพื่อน"ของคนในครอบครัว พี่เลี้ยงเด็ก หรือเพื่อนบ้าน และราว 10% เป็นคนแปลกหน้า ผู้กระทำผิดส่วนใหญ่เป็นชาย จากการศึกษาพบว่า หญิงทำผิดต่อ 14-40% ของเหยื่อเด็กชาย และ 6% ของเหยื่อเด็กหญิง(โดยที่เหลือของเหยื่อทำโดยผู้ทำผิดเพศชาย) ส่วนคำภาษาอังกฤษว่า pedophile (คนใคร่เด็ก) มักจะใช้อย่างไม่เลือกกับทุก ๆ คนที่ทารุณเด็กทางเพศ แต่ผู้ทำผิดต่อเด็กทุกคนไม่ใช่คนใคร่เด็ก ยกเว้นถ้ามีความรู้สึกทางเพศที่รุนแรงกับเด็กที่อยู่ในวัยก่อนหนุ่มสาว และคนใคร่เด็กทุกคนก็ไม่ใช่ผู้ทำผิดต่อเด็ก ในกฎหมายบางประเทศ คำว่า child sexual abuse (การทารุณเด็กทางเพศ) ใช้เป็นคำคลุมทั้งการละเมิดกฎหมายอาญาและแพ่ง ที่ผู้ใหญ่ทำกิจทางเพศร่วมกับผู้เยาว์ หรือฉวยประโยชน์จากผู้เยาว์เพื่อสนองความรู้สึกทางเพศ สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ยืนยันว่า "เด็กไม่สามารถยินยอมมีกิจกรรมทางเพศร่วมกับผู้ใหญ่" และประณามการทำเช่นนั้นของผู้ใหญ่ คือ "ผู้ใหญ่ที่มีกิจกรรมทางเพศร่วมกับเด็ก กำลังละเมิดทั้งกฎหมายและจริยธรรม ที่ไม่มีทางพิจารณาได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ปกติหรือที่ยอมรับได้ในสังคม".

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและการทารุณเด็กทางเพศ · ดูเพิ่มเติม »

การข่มขืนกระทำชำเรา

การข่มขืนกระทำชำเรา (rape) เป็นการทำร้ายร่างกายทางเพศซึ่งปกติเกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์หรือการใช้การล่วงล้ำทางเพศแบบอื่นต่อบุคคลโดยปราศจากความยินยอมของบุคคลเหล่านั้น การกระทำดังกล่าวอาจโดยใช้กำลังทางกาย การบีบบังคับ การละเมิดอำนาจหรือต่อบุคคลที่ไม่สามารถให้ความยินยอมสมบูรณ์ได้ เช่น ผู้ที่หมดสติ ไร้ความสามารถหรืออายุต่ำกว่าอายุที่ยอมให้มีการร่วมประเวณีได้ตามกฎหมาย คำว่า "ข่มขืนกระทำชำเรา" บางครั้งใช้แทนคำว่า "การทำร้ายร่างกายทางเพศ" ได้ อุบัติการณ์การข่มขืนกระทำชำเราที่ตำรวจบันทึกทั่วโลกในปี 2553 แปรผันระหว่าง 0.2 ต่อ 100,000 คนในประเทศอาเซอร์ไบจาน ถึง 92.9 ต่อ 100,000 คนในประเทศบอตสวานา โดยมีค่า 6.3 ต่อ 100,000 คนในประเทศลิทัวเนียเป็นมัธยฐาน United Nations.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและการข่มขืนกระทำชำเรา · ดูเพิ่มเติม »

การแข็งตัวขององคชาต

การแข็งตัวขององคชาต (erection, ศัพย์การแพทย์: penile erection, penile tumescence) เป็นปรากฏการณ์ทางสรีรภาพของอวัยวะเพศชายในสัตว์หลายสปีชีส์ ที่องคชาตแข็งตัวขึ้น คั่งไปด้วยเลือด และขยายใหญ่ขึ้น เป็นผลของปฏิกิริยาอันสลับซับซ้อนของจิตใจ ระบบประสาท ระบบหลอดเลือด และระบบต่อมไร้ท่อ มักจะเกิดขึ้นพร้อมกับอารมณ์ทางเพศ แต่จริง ๆ อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ รูปร่าง มุมตั้ง และทิศทางขององคชาตที่แข็งตัวมีความแตกต่างกันอย่างมากแม้ในหมู่มนุษย์ โดยสรีรภาพแล้ว กระบวนการแข็งตัวขององคชาตเริ่มจากระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (ส่วนหนึ่งของระบบประสาทอัตโนมัติ) ที่เป็นเหตุให้ระดับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (เป็นสารขยายหลอดเลือด) สูงขึ้นในหลอดเลือด trabecular และในกล้ามเนื้อเรียบขององคชาต หลอดเลือดนั้นก็จะขยายใหญ่ขึ้นทำให้เนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำที่เรียกว่า corpora cavernosa (ดูรูป) (และ corpus spongiosum แม้ว่าจะน้อยกว่า) เต็มไปด้วยเลือด และในขณะเดียวกัน ก็จะทำให้กล้ามเนื้อ ischiocavernosus และ bulbospongiosus เข้าไปกดหลอดเลือดดำของเนื้อเยื่อ จำกัดการไหลออกของเลือด (จากเนื้อเยื่อ) และการไหลเวียนของโลหิตที่ไหลเข้าไป (ในเนื้อเยื่อ) การแข็งตัวจะลดลงเมื่อการทำงานในระบบประสาทพาราซิมพาเทติกลดระดับลงไปเป็นปกติ เพราะว่าเป็นการตอบสนองอัตโนมัติ การแข็งตัวอาจเกิดขึ้นจากสิ่งเร้าหลายอย่างรวมทั้งการเร้าอารมณ์เพศ (sexual stimulationการเร้าอารมณ์เพศ (sexual stimulation) เป็นตัวกระตุ้นอะไรก็ได้ รวมทั้งสัมผัสทางกาย ที่เพิ่มและรักษาอารมณ์เพศ ซึ่งอาจนำไปสู่การหลั่งน้ำอสุจิและ/หรือจุดสุดยอดทางเพศในที่สุด ถึงแม้ว่าอารมณ์เพศอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยการกระตุ้น แต่จะถึงจุดสุดยอดทางเพศได้ ปกติต้องมีการกระตุ้นทางเพศ) และอารมณ์ทางเพศ ดังนั้น จึงไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจโดยสิ้นเชิง การแข็งตัวในระหว่างการนอนหลับหรือเมื่อตื่นนอนมีศัพท์ทางแพทย์ภาษาอังกฤษว่า nocturnal penile tumescence และความปราศจากการแข็งตัวในระหว่างการนอนหลับสามารถใช้ในการแยกแยะเหตุที่เป็นไปทางกายภาพหรือทางจิตใจของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศสาเหตุทางร่างกาย (ICD-10 N48.4) หรืออวัยวะเพศไม่ตอบสนอง (เหตุทางใจ ICD-10 F52.2) องคชาตที่ไม่แข็งตัวเต็มที่มีศัพท์การแพทย์ภาษาอังกฤษว่า partial tumescence.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและการแข็งตัวขององคชาต · ดูเพิ่มเติม »

การเมือง

การเมือง (politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา '''ฮาโรลด์ ลาสเวลล์''' นักโทษคนหนึ่ง ได้นิยามการเมืองว่า เป็นการตัดสินว่า "ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร" วิชาแนะแนวคือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และวิเคราะห์การได้มาซึ่งอำนาจและการนำอำนาจไปใช้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามสิ่งที่ตนตั้งใ.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

กิจกรรมทางเพศของมนุษย์

กิจกรรมทางเพศของมนุษย์ หรือ พฤติกรรมทางเพศของมนุษย์ มีความหมายถึงการปฏิบัติที่มนุษย์ได้พบและปลดปล่อยเรื่องทางเพศ มีหลากหลายกิจกรรมแตกต่างกันไป อย่างเช่นแผนการในการหาคู่ (จับคู่และแสดงพฤติกรรม) การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล, ความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางร่างกายหรืออารมณ์ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ คำว่ากิจกรรมทางเพศ สามารถหมายถึง การกระทำที่เกี่ยวกับคน 2 คนหรือมากกว่า เช่นมีเพศสัมพันธ์ ออรัลเซ็กส์ หรือการสำเร็จความใคร่ให้ผู้อื่น หรือการสำเร็จความใคร่ให้ตัวเองคนเดียว ในบางวัฒนธรรม กิจกรรมทางเพศได้รับการยอมรับเฉพาะผู้ที่แต่งงานแล้วเท่านั้น ถึงแม้ว่าการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสและความสัมพันธ์นอกสมรสถือเป็นเรื่องทั่วไป กิจกรรมทางเพศบางชนิดก็เป็นสิ่งผิดกฎหมายและผิดปกติในบางประเทศ และในบางครั้งอาจพิจารณาว่าเป็นสิ่งที่ผิดวิสัยในสังคม ตัวอย่างเช่น กิจกรรมทางเพศอย่างการข่มขืนกระทำชำเราถือเป็นอาชญากรรม.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและกิจกรรมทางเพศของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์

ษาศาสตร์ (linguistics) คือ การศึกษาเกี่ยวกับภาษามนุษย์ ผู้ที่ศึกษาในด้านนี้เรียกว่า นักภาษาศาสตร.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและภาษาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รสนิยมทางเพศ

รสนิยมทางเพศ หรือ เพศวิถี (sexual orientation) มีความหมายถึงรูปแบบพื้นฐานของอารมณ์ ความใคร่ และ/หรือ ความสนใจทางเพศต่อชาย หญิง หรือทั้งสองเพศ หรือไม่ใช่เพศไหน หรือเพศที่ 3 จากข้อมูลของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน รสนิยมทางเพศ คือความมีอยู่ และอาจหมายถึง ความรู้สึกของบุคคล เรื่อง ลักษณะเฉพาะตัวและอัตลักษณ์ทางสังคม ที่ดูจากด้านความสนใจ การปลดปล่อยพฤติกรรม และการเป็นสมาชิกของสังคมที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและรสนิยมทางเพศ · ดูเพิ่มเติม »

รักร่วมเพศ

รักร่วมเพศ (homosexuality) หมายถึงพฤติกรรมทางเพศหรือความสนใจของคนในเพศเดียวกันหรือรสนิยมทางเพศ ในเรื่องรสนิยมทางเพศหมายถึง "มีเพศสัมพันธ์หรือความรักในทางโรแมนติกพิเศษกับบุคคลในเพศเดียวกัน" และยังหมายถึง "ความรู้สึกส่วนตัวและการแสดงออกทางสังคมโดยยึดจากความชอบ พฤติกรรมที่พวกเขาแสดงออก และการเป็นสมาชิกในกลุ่มสังคมเดียวกันของพวกเขา" รักร่วมเพศ, ไบเซ็กชวล และรักต่างเพศ ถือเป็นกลุ่มคนหลัก 3 ประเภทของรสนิยมทางเพศ สัดส่วนของประชากรที่เป็นกลุ่มคนรักเพศเดียวกันค่อนข้างยากที่จะประเมินLeVay, Simon (1996).

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและรักร่วมเพศ · ดูเพิ่มเติม »

รักต่างเพศ

รักต่างเพศ (Heterosexuality) หมายถึง ความรักทั้งในทางโรแมนติกและทางเพศ ระหว่างสองบุคคลที่เป็นเพศตรงข้าม รักต่างเพศถือเป็นรสนิยมทางเพศอย่างหนึ่ง ซึ่งตรงกันข้ามกับรักเพศเดียวกัน โดยจะมีความรักในทั้งทางโรแมนติกและทางเพศ กับบุคคลในเพศตรงข้าม หรือมีความรักเฉพาะในทางโรแมนติกเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีความสนใจในเรื่องเพศเลยก็ได้ หมวดหมู่:เพศภาวะ หมวดหมู่:มนุษยสัมพันธ์ หมวดหมู่:เพศศึกษา หมวดหมู่:รสนิยมทางเพศ หมวดหมู่:ความรัก.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและรักต่างเพศ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลกลางสหรัฐ

รัฐบาลกลางสหรัฐ (Federal Government of the United States) เป็นรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาซึ่งใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐตามรัฐธรรมนูญและประกอบด้วยรัฐห้าสิบรัฐ รวมตลอดถึงเขตการปกครองใหญ่หนึ่งแห่ง และดินแดนอื่น ๆ แบ่งเป็นสามฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาให้ใช้อำนาจผ่านรัฐสภา ประธานาธิบดี และศาลกลาง รวมถึง ศาลสูงสุด ตามลำดับ อำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่ายนั้น กับทั้งการจัดตั้งกระทรวงในฝ่ายบริหารและศาลชั้นรองนั้น เป็นไปตามที่บัญญัติเพิ่มเติมไว้ในรัฐบัญญัติ ชื่อเต็มของประเทศ คือ "สหรัฐอเมริกา" (The United States of America) ไม่ปรากฏชื่ออื่นในรัฐธรรมนูญ และชื่อนี้ยังปรากฏบนเงินตรา สนธิสัญญา และคดีความซึ่งรัฐเป็นคู่ความ (เช่น คดีระหว่างชาลส์ ที. เช็งก์ กับสหรัฐอเมริกา) ส่วนคำว่า "รัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกา" (Government of the United States of America) หรือ "รัฐบาลสหรัฐ" (United States Government) นั้นนิยมใช้ในเอกสารราชการเพื่อแทนรัฐบาลกลางแยกจากรัฐทั้งหลายโดยรวม ในระดับภาษาเขียนหรือสนทนาอย่างเป็นกันเองนั้น นิยมใช้ว่า "รัฐบาลกลาง" (Federal Government) และบางทีก็ใช้ว่า "รัฐบาลแห่งชาติ" (National Government) คำว่า "กลาง" และ "แห่งชาติ" ที่ปรากฏในชื่อส่วนราชการและโครงการราชการนั้นมักบ่งบอกการสังกัดรัฐบาลกลาง (เช่น สำนักงานสอบสวนกลาง และองค์การบริหารบรรยากาศและมหาสมุทรแห่งชาติ) นอกจากนี้ เพราะรัฐบาลกลางตั้งอยู่ในวอชิงตัน ดี.ซี. โดยทั่วไปจึงใช้ "วอชิงตัน" เรียกแทนรัฐบาลกลาง.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและรัฐบาลกลางสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐของสหรัฐ

แผนที่ สหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งชื่อรัฐ (อะแลสกา และ ฮาวาย ไม่ได้จัดตามมาตราส่วน) รัฐ (State, แต่สำหรับ รัฐเคนทักกี รัฐแมสซาชูเซตส์ รัฐเพนซิลเวเนีย และ รัฐเวอร์จิเนีย ใช้คำว่า Commonwealth) ในสหรัฐอเมริกา เป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกาซึ่งมีอธิปไตยในการปกครองตนเองร่วมกับรัฐบาลกลาง ประกอบด้วยรัฐทั้งหมด 50 รัฐ ในแต่ละรัฐแบ่งเป็นหลายเคาน์ตี (county) แต่ละเคาน์ตีแบ่งเป็นหลายเมือง (city) แต่ละรัฐมีผู้ว่าการรัฐหนึ่งคน และมีสภานิติบัญญัติประจำรั.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและรัฐของสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สภาวะตื่นตัว

ใน สรีรวิทยาและจิตวิทยา สภาวะตื่นตัว หรือ ความตื่นตัว (arousal) เป็นสภาวะของการตื่นตัวหรือการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น จะมีความตื่นตัวได้ก็ต่อเมื่อมีการทำงานในระบบ reticular activating system (ตัวย่อ RAS)ในก้านสมอง ในระบบระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system) และในระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มระดับการเต้นของหัวใจและความดันเลือด และสภาวะความตื่นตัวทางความรู้สึก ทางการเคลื่อนไหว และทางความพร้อมเพรียงในการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น มีระบบประสาทหลายระบบที่เกี่ยวข้องกัน ที่เรียกรวมๆ กันว่า ระบบความตื่นตัวนี้ ระบบสำคัญ 4 ระบบในก้านสมอง ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับเปลือกสมองทั้งหมด มีหน้าที่การงานเกี่ยวกับสารสื่อประสาทรวมทั้งอะเซทิลโคลิน (acetylcholine) นอเรพิเนฟรีน (norepinephrine) โดพามีน (dopamine) และเซโรโทนิน (serotonin) เมื่อระบบสำคัญเหล่านี้ทำงานอยู่ เขตประสาทส่วนต่างๆ ที่รับสารสื่อประสาทเหล่านั้น ก็จะเริ่มมีความไวและมีการตอบสนองต่อสัญญาณที่เข้ามาในเขตประสาท.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและสภาวะตื่นตัว · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหสัมพันธ์

ำหรับสถิติศาสตร์ สหสัมพันธ์ (correlation) หมายถึงความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างตัวแปรสุ่มตั้งแต่สองตัวแปรขึ้นไป Several sets of (''x'', ''y'') points, with the Pearson correlation coefficient of ''x'' and ''y'' for each set. Note that the correlation reflects the noisiness and direction of a linear relationship (top row), but not the slope of that relationship (middle), nor many aspects of nonlinear relationships (bottom). N.B.: the figure in the center has a slope of 0 but in that case the correlation coefficient is undefined because the variance of ''Y'' is zero.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและสหสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

สังคม

กลุ่มคนในสังคม สังคม หรือ สังคมมนุษย์ คือการอยู่รวมกันของมนุษย์โดยมีลักษณะความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหลายรูปแบบ เช่น อาชีพ อายุ เพศ ศาสนา ฐานะ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ สำหรับระบบสังคมที่รวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นนอกเหนือจากมนุษย์อาจใช้คำว่าระบบนิเวศ ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆกับสภาพแวดล้อม สังคมของมนุษย์เกิดจากกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจร่วมกันไม่ว่าจะในด้านใด เช่น ประเทศ จังหวัด และอื่นๆ และมักจะมีวัฒนธรรมหรือประเพณีรวมถึงภาษา การละเล่นและอาหารการกินของตนเองในแต่ละสังคม การที่มนุษย์รวมกันเป็นสังคมนั้น ช่วยให้มนุษย์สามารถสร้างและพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งอาจเป็นไปไม่ได้ถ้าต้องทำสิ่งนั้นโดยลำพัง ขณะเดียวกันสังคมที่พัฒนาหรือกำลังพัฒนาเป็นเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำงานอย่างมากนั้น ก็อาจส่งผลให้ประชากรที่ไม่สามารถปรับตัวตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือความรู้สึกว่าตนเองไม่มีส่วนร่วมในสังคมขึ้นมาได้.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและสังคม · ดูเพิ่มเติม »

สถานะเพศ

นะเพศ (gender) หรือ เพศสภาพ คือลักษณะต่างๆ ที่บ่งบอกความเป็นชาย (masculinity) และความเป็นหญิง (femininity) ซึ่งอาจหมายถึง เพศทางชีววิทยา (เช่น เพศชาย เพศหญิง เพศกำกวม) โครงสร้างทางสังคมที่อาศัยความเป็นเพศ (เช่น บทบาทประจำเพศ และบทบาททางสังคมด้านอื่นๆ) หรือ อัตลักษณ์ทางเพศ (หรือ เพศเอกลักษณ์, gender identity) แล้วแต่บริบท ผู้ที่ไม่มองว่าตนเองเป็นเพศชายหรือเพศหญิงมักเรียกรวมๆ ว่าเป็นเพศทางเลือก มีคำเรียกหลายอย่าง เช่น non-binary, genderqueer บางวัฒนธรรมจะมีบทบาทโดยเฉพาะของเพศที่สาม เช่น กลุ่มฮิจรา ในเอเชียใต้ เป็นต้น องค์การอนามัยโลก ให้ความหมายของสถานะเพศ เอาไว้ว่า ไว้ว่า "คุณลักษณะของผู้หญิงและผู้ชายในบทบาทประกอบสร้างทางสังคม พฤติกรรม กิจกรรมและคุณลักษณะที่ให้สังคมพิจารณาว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง" ในขณะที่คำว่า เพศ (Sex) มีความหมายในลักษณะทางชีววิทยาของบุคคล ที่แบ่งเป็นเพศหญิง และเพศชาย เพศภาวะมิใช่เป็นเพียงการแบ่งเพศชาย เพศหญิง ทางกายวิภาคและสรีรวิทยาเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงการถูกกำหนดโดยสังคมและวัฒนธรรมที่กำหนดความเป็นหญิง-ชาย ความความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหญิงชาย ลักษณะเฉพาะประจำเพศ (gender stereotype) และความเป็นตัวตนของหญิงชายที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ส่วนภาษาไทย อาจมีคนแปลความหมายของคำว่า gender ว่า “เพศภาวะ” “ความเป็นชาย ความ เป็นหญิง” “บทบาทหญิงชาย” “มิติหญิงชาย” หรือ “เพศทางสังคม”.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและสถานะเพศ · ดูเพิ่มเติม »

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (Scientific evidence) เป็นหลักฐานที่สนับสนุนหรือคัดค้านทฤษฎีหรือสมมติฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะต้องเป็นหลักฐานเชิงประสบการณ์ (empirical evidence) ตามระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ มาตรฐานของหลักฐานต่างกันในสาขาวิชาต่าง ๆ แต่ความเข้มแข็งของหลักฐานโดยทั่วไปมีมูลฐานอยู่ที่กำลังของการวิเคราะห์ทางสถิติ (statistical analysis) และกำลังของกลุ่มควบคุม (scientific control) ที่ใช้ในการหาและอธิบายหลักฐาน.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาชีพ

อาชีพ เป็น รูปแบบการดำรงชีพในสังคมมนุษย์ปัจจุบัน อาชีพเป็นหน้าที่ของบุคคลในสังคม การที่บุคคลประกอบอาชีพจะได้มาซึ่งค่าตอบแทน หรือ รายได้ เพื่อใช้จ่ายในการดำรงชีวิต.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและอาชีพ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมวิธาน

อนุกรมวิธานวิทยา (อังกฤษ: Taxonomy) เป็นการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ตามสายวิวัฒนาการ อนุกรมวิธานเป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ ในการศึกษาอนุกรมวิธานจะมีศัพท์ที่ใช้เรียกแตกต่างกันออกไป ถ้าหากการศึกษาเป็นไปในทางรวบรวมตัวอย่าง (specimen) บิดาแห่งอนุกรมวิธานวิทยา คือ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและอนุกรมวิธาน · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยา

ตวิทยา (psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและจิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิเคราะห์

ตวิเคราะห์ (psychoanalysis) เป็นชุดทฤษฎีและเทคนิคจิตวิทยาและจิตบำบัดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเดิมแพทย์ชาวออสเตรีย ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ทำให้แพร่หลายและบางส่วนกำเนิดจากงานด้านการรักษาของโยเซฟ บรอแยร์ (Josef Breuer) และอื่น ๆ นับแต่นั้น จิตวิเคราะห์ได้ขยายและมีการทบทวน ปฏิรูปและพัฒนาในทิศทางต่าง ๆ เดิมโดยผู้ร่วมงานและศิษย์ของฟรอยด์ เช่น อัลเฟรด อัดแลร์และคาร์ล กุสทัฟ ยุงผู้พัฒนาความคิดของตนเองเป็นเอกเทศจากฟรอยด์ นักจิตวิทยาฟรอยด์ใหม่ (neo-Freudian) สมัยหลังมีเอริช ฟรอมม์, คาเริน ฮอร์ไน, แฮร์รี สแทก ซัลลิแวนและฌัค ลาคา (Jacques Lacan) หลักพื้นฐานของจิตวิเคราะห์มีดังนี้.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและจิตวิเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตแพทย์

ตแพทย์ (psychiatrist) เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านจิตเวชศาสตร์และได้รับการรับรองให้ทำการรักษาความผิดปกติทางจิตAmerican Psychiatric Association.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและจิตแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตเวชศาสตร์

ตเวชศาสตร์ มาจากคำว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับ เวชศาสตร์ ที่แปลว่า ศาสตร์ด้านการแพทย์ เมื่อรวมกันจึงหมายถึง การศึกษาทางด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับอาการบกพร่องทางจิต ต่างกับ คำว่า จิตวิทยา ตรงที่ว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับคำว่า วิทยา ที่มาจากวิทยาศาสตร์แทน ดังนั้น จิตวิทยาจึงเน้นเกี่ยวกับทฤษฎีทางจิตใจที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์ อาการบกพร่องทางจิต มีความหมายตามแนวความคิดที่มีอยู่ในขณะนี้ว่า เป็นอาการที่เกิดจากความบกพร่องจากการทำงานของระบบประสาทของสมองมนุษย์ โดยมีสาเหตุมาจากกระบวนการพัฒนาสมองที่ถูกกำหนดจากยึน และสภาพแวดล้อม.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและจิตเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

จินตนาการ

นตนาการ (Imagination) เป็นความสามารถในการสร้างภาพในสมอง ซึ่งภาพเหล่านี้ไม่ได้รับรู้ผ่านการมองเห็น การได้ยิน หรือผ่านวิธีการรับรู้อื่น ๆ จินตนาการถือได้ว่าเป็นตัวช่วยสำคัญในการนำความรู้ไปใช้งานจริงและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และยังเป็นรากฐานในการรวมประสบการณ์และกระบวนการเรียนรู้เข้าด้วยกันNorman 2000 pp.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและจินตนาการ · ดูเพิ่มเติม »

ท่อไอเสีย

ท่อไอเสีย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับระบายควันหรือไอเสียของการเผาไม้ของเครื่องชนิดสันดาปภายใน ช่วยลดเสียงซึ่งจากการจุดระเบิดเผาไหม้ภายในเครื่องยนต์ ในปัจจุบันท่อไอเสียยังได้ติดตั้งระบบลดมลพิษหรือเครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา ท่อไอเสียตรงท้ายร.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและท่อไอเสีย · ดูเพิ่มเติม »

ดิลโด

ดิลโดซิลิโคน เลื่อยฉลุไฟฟ้าดิลโด ดิลโด (dildo) หรือ องคชาตเทียม เป็นอวัยวะสืบพันธุ์เพศชายปลอม มักนำไปใช้ประกอบการร่วมเพศหรือการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง หมวดหมู่:เซ็กซ์ทอย.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและดิลโด · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอสเอ็ม

ีเอสเอ็ม (DSM) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและดีเอสเอ็ม · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษ

หน้านี้แสดงช่วงเวลาเป็นสหัสวรรษและศตวรรษตามปีคริสต์ศักร.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและคริสต์ศตวรรษ · ดูเพิ่มเติม »

ความผิดปกติทางจิต

วามผิดปกติทางจิต หรือ การป่วยทางจิต เป็นรูปแบบทางจิตวิทยาหรือวิกลภาพ ซึ่งอาจสะท้อนออกมาทางพฤติกรรม ที่โดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับความทุกข์ทรมาน (distress) หรือความพิการ และไม่ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการปกติของวัฒนธรรมของบุคคล ความผิดปกติทางจิตโดยทั่วไปนิยามโดยการรวมว่าบุคคลรู้สึก กระทำ คิดหรือรับรู้อย่างไร ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับบริเวณใดบริเวณหนึ่งหรือการทำหน้าที่ของสมองหรือระบบประสาทส่วนที่เหลือ มักในบริบททางสังคม การยอมรับและการเข้าใจภาวะสุขภาพจิตเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและวัฒนธรรม และยังมีข้อแตกต่างในการนิยาม ประเมินและจำแนกอยู่บ้าง แม้เกณฑ์แนวปฏิบัติมาตรฐานจะใช้กันอย่างกว้างขวางก็ตาม ในหลายกรณี ดูเหมือนจะมีความต่อเนื่องระหว่างสุขภาพจิตและการป่วยทางจิต ทำให้การวินิจฉัยซับซ้อน ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ประชาชนกว่าหนึ่งในสามในประเทศส่วนใหญ่รายงานปัญหาที่เกิดขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งในชีวิตของเขา ซึ่งเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยประเภทความผิดปกติทางจิตที่พบทั่วไปหนึ่งชนิดหรือมากกว่าWHO International Consortium in Psychiatric Epidemiology (2000), Bulletin of the World Health Organization v.78 n.4 สาเหตุของความผิดปกติทางจิตมีหลากหลายและไม่ชัดเจนในบางกรณี และหลายทฤษฎีอาจรวมเอาการค้นพบจากหลายสาขาเข้าด้วยกัน มีการบริหารอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวชหรือในชุมชน และการประเมินกระทำโดยจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก และนักสังคมสงเคราะห์คลินิก โดยใช้หลายวิธี แต่มักอาศัยการสังเกตและการถาม ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตจำนวนมากเป็นผู้ให้การรักษาทางคลินิก จิตบำบัดและการเยียวยาจิตเวชเป็นสองทางเลือกหลักในการรักษา เช่นเดียวกับการแทรกแซงทางสังคม การสนับสนุนจากเพื่อนและการช่วยเหลือตนเอง ในกรณีส่วนน้อยอาจมีการกักขังโดยไม่สมัครใจหรือการรักษาโดยไม่สมัครใจ ตามที่กฎหมายอนุญาต การประทับตราทางสังคม (social stigma) และการเลือกปฏิบัติเพราะสภาพจิต (mentalism หรือ sanism) สามารถซ้ำเติมความทุกข์ทรมานและความพิการที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางจิต (หรือที่ถูกวินิจฉัยหรือตัดสินว่ามีความผิดปกติทางจิต) นำไปสู่ขบวนการทางสังคมจำนวนมากที่พยายามเพิ่มความเข้าใจและคัดค้านการกีดกันทางสังคม ปัจจุบันการป้องกันปรากฏในยุทธศาสตร์สุขภาพจิตบ้างแล้ว.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและความผิดปกติทางจิต · ดูเพิ่มเติม »

ความต้องการ

ความต้องการ เป็นรูปแบบทางจิตวิทยาหรือความรู้สึก ที่นำไปสู่จุดมุ่งหมาย หรือเหตุผล การกระทำของพฤติกรรม แบบจำลองสำหรับความต้องการที่เป็นที่รู้จักคือ ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ที่นิยามในปี ค.ศ. 1943 โดย อับราฮัม มาสโลว์ นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เกี่ยวกับความต้องการ 5 ระดับขั้น ในทางพุทธศาสนา ความต้องการ ความอยากได้อยากมี ที่นอกเหนือจากการดำรงชีวิตในปัจจุบัน อาจกล่าวได้เป็นกิเลสทั้งปวง หมวดหมู่:จิตวิทยา หมวดหมู่:อภิธานศัพท์เศรษฐศาสตร์.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและความต้องการ · ดูเพิ่มเติม »

ความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์

วามเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์ (Scientific consensus) หรือ มติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ เป็นข้อตัดสิน จุดยืน และความเห็น โดยรวม ๆ ของชุมชนนักวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง คำว่า มติส่วนใหญ่ หมายถึงการเห็นพ้องกันโดยทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่ความเป็นเอกฉันท์ นักวิทยาศาสตร์จะถึงมติส่วนใหญ่ได้ก็ต้องอาศัยงานประชุม กระบวนการตีพิมพ์ (เช่นหนังสือหรือวารสารวิทยาศาสตร์) การทำงานทดลองซ้ำ (ที่ได้ผลอย่างเดียวกันโดยผู้อื่น) และกระบวนการทบทวนระดับเดียวกัน ซึ่งรวมกันมีผลเป็นสถานการณ์ที่นักวิทยาศาสตร์ในสาขานั้น บ่อยครั้งสามารถรู้ได้ว่าอะไรเป็นมติส่วนใหญ่ แต่การบอกบุคคลอื่น ๆ นอกสาขาว่า มีมติส่วนใหญ่ อาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะว่า การอภิปรายที่เป็นเรื่องธรรมดาของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ อาจจะปรากฏต่อบุคคลภายนอกว่าเป็นการต่อสู้กัน บางครั้ง จะมีสถาบันวิทยาศาสตร์ที่พิมพ์คำแถลงการณ์เกี่ยวกับจุดยืน เพื่อที่จะสื่อสารใจความสำคัญเกี่ยวกับประเด็นใดประเด็นหนึ่ง จากบุคคลภายในไปยังกลุ่มบุคคลภายนอก ในกรณีที่ไม่มีข้อโต้เถียงกันมากในประเด็นใต้การศึกษา การถึงมติส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา อาจจะมีการอ้างถึงมติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ในการอภิปรายทั่วไปหรือทางการเมือง เกี่ยวกับประเด็นที่ยังเป็นเรื่องโต้เถียงยังไม่ยุติในมวลชน แต่ความจริงไม่ใช่เรื่องที่ยังตกลงกันไม่ได้ในหมู่นักวิทยาศาสตร์ เช่นประเด็นเรื่องวิวัฒนาการ หรือเรื่องการฉีดวัคซีนรวมแบบ MMR ที่ไม่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ รวมทั้งออทิซึม หรือเรื่องโลกร้อน.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียง

วามเอนเอียง (Bias) เป็นความโน้มไปของภาวะจิตใจหรือทัศนคติ ที่จะแสดงหรือยึดถือความคิดเห็นที่ไม่สมบูรณ์ บ่อยครั้งพร้อมกับการปฏิเสธที่จะแม้พิจารณาความเป็นไปได้ของความคิดเห็นที่ต่างออกไป เราอาจจะมีความเอนเอียงต่อบุคคล ต่อเชื้อชาติ ต่อศาสนา ต่อชนชั้นในสังคม หรือต่อพรรคการเมือง การมีความเอนเอียงหมายถึง เอนไปข้างเดียว ไม่มีความเป็นกลาง ไม่เปิดใจ ความเอนเอียงมาในหลายรูปแบบ และคำว่า Bias ในภาษาอังกฤษอาจใช้เป็นไวพจน์ของคำว่า prejudice (ความเดียดฉันท์) และ bigotry (ความหัวดื้อ ความมีทิฏฐิมานะ).

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและความเอนเอียง · ดูเพิ่มเติม »

คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต

ู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, ย่อ: DSM) เป็นหลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดปกติทางจิตซึ่งจัดทำโดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) ซึ่งถูกอ้างอิงอย่างกว้างขวางโดยแพทย์ นักวิจัย ผู้ผลิตและผู้ตรวจสอบคุณภาพยาในทางจิตเวช และบริษัทประกันภัยทั้งในสหรัฐอเมริกาและที่อื่นๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ในปัจจุบันฉบับปรับปรุงล่าสุดคือเป็นฉบับที่ 4 เรียกว่า DSM-IV ในปี พ.ศ. 2537 และมีฉบับปรับปรุงครั้งย่อยในปี พ.ศ. 2543 นอกเหนือจากเกณฑ์การวินิจฉัยดังกล่าว ยังมีเกณฑ์วินิจฉัยอีกอย่างหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้มากเช่นกันในประเทศไทยและหลายประเทศ คือส่วนของความผิดปกติทางจิตในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (International Classification of Diseases and Related Health Problems, ย่อ: ICD) ซึ่งมีการจัดระบบใกล้เคียงกันและแตกต่างกันในบางรายละเอี.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต · ดูเพิ่มเติม »

ตัวกระตุ้น

ในสรีรวิทยา ตัวกระตุ้น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stimulus ว่า "ตัวกระตุ้น" หรือ "สิ่งเร้า" หรือ ตัวเร้า หรือ สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (stimulus, พหูพจน์ stimuli) เป็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ตรวจจับได้โดยสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะรับรู้ความรู้สึก โดยปกติ เมื่อตัวกระตุ้นปรากฏกับตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ก็จะก่อให้เกิด หรือมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเซลล์ ผ่านกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้สามารถรับข้อมูลทั้งจากภายนอกร่างกาย เช่นตัวรับสัมผัส (touch receptor) ในผิวหนัง หรือตัวรับแสงในตา และทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ตัวรับสารเคมี (chemoreceptors) และตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ตัวกระตุ้นภายในมักจะเป็นองค์ประกอบของระบบการธำรงดุล (homeostaticภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นคุณสมบัติของระบบหนึ่ง ๆ ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในของระบบ และมักจะดำรงสภาวะที่สม่ำเสมอและค่อนข้างจะคงที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด control system) ของร่างกาย ส่วนตัวกระตุ้นภายนอกสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองแบบทั่วระบบของร่างกาย เช่นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight-or-flight response) การจะตรวจพบตัวกระตุ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับของตัวกระตุ้น คือต้องเกินระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน (absolute thresholdในประสาทวิทยาและจิตฟิสิกส์ ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ (absolute threshold) เป็นระดับที่ต่ำสุดของตัวกระตุ้นที่จะตรวจพบได้ แต่ว่า ในระดับนี้ สัตว์ทดลองบางครั้งก็ตรวจพบตัวกระตุ้น บางครั้งก็ไม่พบ ดังนั้น การจำกัดความอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับของตัวกระตุ้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจพบได้ 50% ในโอกาสทั้งหมดที่ตรวจ) ถ้าสัญญาณนั้นถึงระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีการส่งสัญญาณนั้นไปยังระบบประสาทกลาง ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ และตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอย่างไร แม้ว่าร่างกายโดยสามัญจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น แต่จริง ๆ แล้ว ระบบประสาทกลางเป็นผู้ตัดสินใจในที่สุดว่า จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นนั้นหรือไม.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและตัวกระตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

ซาดิสม์และมาโซคิสม์

ลื่อยฉลุไฟฟ้าดิลโด ซาดิสม์ (sadism) และ มาโซคิสม์ (masochism) คือความสุขหรือความพึงพอใจในความเจ็บปวดและความทุกข์ของผู้อื่น คำนี้มีที่มาจากชื่อของมาร์กีส์ เดอ ซาด (Marquis de Sade) นักเขียนและนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่ขึ้นชื่อในการเขียนนิยายแนวนี้ สิ่งที่ตรงกันข้ามกับซาดิสม์คือ มาโซคิสม์ ซึ่งหมายถึงความสุขหรือความพึงพอใจทางเพศเมื่อได้รับความเจ็บปวดกับตัวเอง โดยมักจะเกี่ยวข้องกับจินตนาการทางเพศหรือการถูกตบตี การถูกเหยียดหยาม การถูกผูกมัด หรือถูกทรมาน เพื่อเป็นการเพิ่มหรือทดแทนความสุขทางเพศ ชื่อนี้มาจากชื่อของนักเขียนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ลีโอโพลด์ วอน ซาเชอร์มาโซค (Leopold von Sacher-Masoch) ที่เป็นที่รู้จักจากนิยายชื่อ "Vinus in Furs" ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในทางมาโซคิสม์ พฤติกรรมซาดิสม์และมาโซคิสม์มักเกิดร่วมกัน (ฝ่ายหนึ่งมีพฤติกรรมซาดิสม์ ในขณะที่อีกฝ่ายมีพฤติกรรมมาโซคิสม์) และเรียกว่า ซาโดมาโซคิสม์ หรือเรียกย่อว่า "S&M" หรือ "SM".

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและซาดิสม์และมาโซคิสม์ · ดูเพิ่มเติม »

ซิกมุนด์ ฟรอยด์

ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, IPA:; 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1856 — 23 กันยายน ค.ศ. 1939) เป็นประสาทแพทย์ชาวออสเตรีย ผู้เป็นที่รู้จักในฐานะบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ บิดามารดาของฟรอยด์ยากจน แต่ได้ส่งเสียให้ฟรอยด์ได้รับการศึกษา เขาสนใจกฎหมายเมื่อครั้งเป็นนักเรียน แต่เปลี่ยนไปศึกษาแพทยศาสตร์แทน โดยรับผิดชอบการวิจัยโรคสมองพิการ ภาวะเสียการสื่อความ และจุลประสาทกายวิภาคศาสตร์ เขาเดินหน้าเพื่อพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับจิตไร้สำนึกและกลไกของการกดเก็บ และตั้งสาขาจิตบำบัดด้วยวาจา โดยตั้งจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีการทางคลินิกเพื่อรักษาจิตพยาธิวิทยาผ่านบทสนทนาและระหว่างผู้รับการรักษากับนักจิตวิเคราะห์Ford & Urban 1965, p. 109 แม้จิตวิเคราะห์จะใช้เป็นการปฏิบัติเพื่อการรักษาลดลง แต่ก็ได้บันดาลใจแก่การพัฒนาจิตบำบัดอื่นอีกหลายรูปแบบ ซึ่งบางรูปแบบแตกออกจากแนวคิดและวิธีการดั้งเดิมของฟรอยด์ ฟรอยด์ตั้งสมมุติฐานการมีอยู่ของ libido (พลังงานซึ่งให้กับกระบวนการและโครงสร้างทางจิต) พัฒนาเทคนิคเพื่อการรักษา เช่น การใช้ความสัมพันธ์เสรี (ซึ่งผู้เข้ารับการรักษารายงานความคิดของตนโดยไม่มีการสงวน และต้องไม่พยายามเพ่งความสนใจขณะทำเช่นนั้น) ค้นพบการถ่ายโยงความรู้สึก (กระบวนการที่ผู้รับการรักษาย้ายที่ความรู้สึกของตนจากประสบการณ์ภาพในอดีตของชีวิตไปยังนักจิตวิเคราะห์) และตั้งบทบาทศูนย์กลางของมันในกระบวนการวิเคราะห์ และเสนอว่า ฝันช่วยรักษาการหลับ โดยเป็นเครื่องหมายของความปรารถนาที่สมหวัง ที่หาไม่แล้วจะปลุกผู้ฝัน เขายังเป็นนักเขียนบทความที่มีผลงานมากมาย โดยใช้จิตวิเคราะห์ตีความและวิจารณ์วัฒนธรรม จิตวิเคราะห์ยังทรงอิทธิพลอยู่ในทางจิตเวชศาสตร์ และต่อมนุษยศาสตร์โดยรวม แม้ผู้วิจารณ์บางคนจะมองว่าเป็นวิทยาศาสตร์ลวงโลกและกีดกันทางเพศ การศึกษาเมื่อ..

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและซิกมุนด์ ฟรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ซีกสมอง

ซีกสมอง หรือ ซีกสมองใหญ่' (cerebral hemisphere, hemispherium cerebri) เป็นคู่ของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ที่แยกออกจากกันโดยระนาบแบ่งซ้ายขวา คือ medial longitudinal fissure (ช่องตามยาวแนวกลาง) ดังนั้น จึงพรรณนาสมองได้ว่าแบ่งออกเป็นสมองซีกซ้าย (left cerebral hemisphere) และสมองซีกขวา (right cerebral hemisphere) สมองแต่ละซีกมีชั้นด้านนอกเป็นเนื้อเทาที่เรียกว่าเปลือกสมอง (cerebral cortex) มีชั้นด้านในเป็นเนื้อขาวที่พยุงรับชั้นด้านนอก.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและซีกสมอง · ดูเพิ่มเติม »

ประสบการณ์

ประสบการณ์ หมายถึง ประสบการณ์ หมายถึง ความจัดเจนที่เกิดจากการกระทำหรือได้พบเห็นมา และประสบการณ์ก็เป็นสิ่งที่มีคุณค่าในการเรียนรู้ทุก ๆ ด้าน ประสบการณ์ที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะมีอยู่ 2 ลักษณะ ดังนี้ 1) ประสบการณ์ตรง เป็นประสบการณ์ที่เราได้ปะทะหรือสัมผัสด้วยตัวเองได้พบเอง กระทำเอง ได้ยินได้ฟังเอง 2) ประสบการณ์รอง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ประสบการณ์ทางอ้อม" เป็นประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดหรือรับรู้มาอีกทอดหนึ่ง หมวดหมู่:ปรัชญา.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและประสบการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทวิทยา

Jean-Martin Charcot ประสาทวิทยา (Neurology) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาท กล่าวคือเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและรักษาโรคที่จัดว่าเกี่ยวข้องกับระบบประสาทกลาง, ระบบประสาทนอกส่วนกลาง และระบบประสาทอิสระ รวมทั้งหลอดเลือด เนื้อเยื่อปกคลุม และอวัยวะที่ประสาทสั่งการ เช่น กล้ามเนื้อ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาจะได้รับการฝึกเพื่อการสืบค้น, การวินิจฉัย และรักษาความผิดปกติของระบบประสาท.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและประสาทวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรีย

ออสเตรีย (Austria; Österreich เออสฺตะไรฌ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria; Republik Österreich) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศเยอรมนีและเช็กเกีย ทางตะวันออกจรดสโลวาเกียและฮังการี ทางใต้จรดสโลวีเนียและอิตาลี และทางตะวันตกจรดสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนภายใต้หลักการของรั.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและประเทศออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโครเอเชีย

รเอเชีย (Croatia; Hrvatska) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโครเอเชีย (Republic of Croatia; Republika Hrvatska) เป็นประเทศรูปเสี้ยววงเดือนในยุโรปที่มีอาณาเขตจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปกลาง และบอลข่าน เมืองหลวงชื่อซาเกร็บ ในประวัติศาสตร์ปัจจุบัน โครเอเชียเคยเป็นสาธารณรัฐในยูโกสลาเวียเดิม แต่ได้รับเอกราชในพ.ศ. 2534 และได้สมัครเพื่อเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในอนาคต ชาวโครเอเชียลงประชามติรับรองการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลในกลางปี 2013 และเป็นสมาชิกลำดับที่ 28.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและประเทศโครเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

นิ้วชี้

ผู้ชายกำลังชี้ไปที่ผู้หญิงคนหนึ่งในระหว่างการโต้แย้งทางการเมือง นิ้วชี้ (index finger; หรือชื่อเรียกอื่น forefinger, pointer finger, trigger finger, digitus secundus, digitus II และ ฯลฯ) เป็นนิ้วมือแรกในการนับจำนวนของมือมนุษย์ ซึ่งมีอยู่ระหว่างนิ้วมือแรกกับนิ้วมือที่สามคือนิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลาง ซึ่งเป็นนิ้วมือที่มีความคล่องตัวและมีความละเอียดอ่อนมากที่สุด แต่ไม่ได้เป็นนิ้วที่ยาวที่สุดเนื่องด้วยสั้นกว่านิ้วกลาง โดยที่อาจมีความสั้นหรือยาวกกว่านิ้วนาง เมื่อเทียบกับอัตราส่วนของนิ้วมือ "index finger" ในภาษาอังกฤษแท้จริงแล้วหมายถึง "นิ้วสำหรับชี้" จากภาษาละตินเช่นเดียวกับคำว่า indicate ซึ่งมีชื่อทางกายวิภาคคือ "นิ้วชี้" หรือ "นิ้วหลักที่สอง".

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและนิ้วชี้ · ดูเพิ่มเติม »

นิ้วนาง

นิ้วนาง นิ้วนาง คือนิ้วที่สี่บนมือของมนุษย์ อยู่ระหว่างนิ้วกลางและนิ้วก้อย หลายคนมีนิ้วนางยาวเท่ากับนิ้วชี้ ในทางกายวิภาคศาสตร์ นิ้วนางอาจมีชื่อเรียกอื่นเป็นภาษาละตินเช่น digitus medicinalis, digitus annularis, digitus quartus หรือ digitus IV เป็นต้น นิ้วนางไม่ค่อยมีบทบาทเด่นชัดมากนัก เพราะเมื่อหยิบจับสิ่งของก็ต้องใช้งานร่วมกับนิ้วอื่นหรือไม่ใช้เลย บางภาษาไม่มีชื่อเรียกเฉพาะสำหรับนิ้วนางด้วยซ้ำ สำหรับวัฒนธรรมตะวันตก การใส่แหวนที่นิ้วนาง โดยเฉพาะนิ้วนางมือซ้าย สื่อความหมายว่าผู้นั้นได้หมั้นหรือแต่งงานแล้ว ด้วยความเชื่อที่ว่า เส้นเลือดดำที่นิ้วนางมือซ้ายเชื่อมต่อโดยตรงเข้ากับหัวใจที่อยู่ข้างซ้ายเช่นกัน อันเป็นตัวแทนแห่งความรัก แต่สำหรับวัฒนธรรมยุโรป การใส่แหวนที่นิ้วนางมือซ้ายหมายถึงการหมั้น ส่วนนิ้วนางมือขวาหมายถึงการแต่งงาน ด้วยเหตุนี้หลายภาษาจึงเรียกนิ้วนางว่าเป็น นิ้วเพื่อสวมแหวน (ring finger).

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและนิ้วนาง · ดูเพิ่มเติม »

โรคชอบแต่งกายลักเพศ

รคชอบแต่งกายลักเพศ (transvestism หรือ transvestitism) เป็นพฤติกรรมการแต่งกายข้ามเพศ ที่จะแต่งกายตรงข้ามกับเพศของตัวเอง คำว่า transvestism เกิดขึ้นในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1910 แต่คำนี้ก็เคยมีกล่าวถึงในไบเบิล ย้อนกลับไปถึงการกำเนิดของคน แต่อย่างไรก็ตามความหมายของคำได้เปลี่ยนไปหลายแบบ และยังคงใช้ในความหมายหลายแบบ แม็กนัส เฮิร์ชเฟลด์ ได้ริเริ่มคำว่า transvestism (มาจากภาษาละตินว่า trans-, "ข้าม" และ vestitus, "แต่งกาย") มีความหมายว่าความสนใจทางเพศในการแต่งกายข้ามเพศ เขาใช้อธิบายคนที่มีนิสัยและสวมเสื้อผ้าของเพศตรงข้ามอย่างสมัครใจ โดยเขาได้แบ่งกลุ่มว่า มีทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ที่มีรสนิยมรักเพศเดียวกัน รักร่วมเพศ รักสองเพศ และไม่ฝักใจทางเพศHirschfeld, Geschlechtsverirrungen, 10th Ed.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและโรคชอบแต่งกายลักเพศ · ดูเพิ่มเติม »

โรคจิตเภท

รคจิตเภท เป็นความผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่งซึ่งทำให้มีการแตกแยกของกระบวนการคิดและการตอบสนองทางอารมณ์ ส่วนใหญ่แสดงอาการเป็นหูแว่ว หวาดระแวง หลงผิดแบบแปลกประหลาด หรือมีการพูดและการคิดที่เสียโครงสร้าง และมักนำไปสู่การสูญเสียความสามารถในการเข้าสังคมหรือการประกอบอาชีพ มักเริ่มแสดงอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยมีความชุกตลอดชีวิตอยู่ที่ประมาณ 0.3-0.7% การวินิจฉัยทำโดยการสังเกตพฤติกรรมและรายงานประสบการณ์ที่ได้จากตัวผู้ป่วยเอง เชื่อกันว่าปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อมในวัยเด็ก ประสาทชีววิทยา ปัจจัยทางจิตใจ และกระบวนการทางสังคม เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเกิดโรค ยาเสพติดและยาบางชนิดอาจเป็นสาเหตุหรือทำให้อาการแย่ลงได้ งานวิจัยในปัจจุบันเน้นไปทางบทบาทของประสาทชีววิทยา แม้จะยังไม่สามารถหาสาเหตุทางกายที่เป็นสาเหตุเดี่ยวๆ ของโรคได้ก็ตาม เนื่องจากโรคนี้มีการแสดงออกของอาการได้หลายรูปแบบ จึงยังเป็นที่ถกเถียงว่าคำวินิจฉัยโรคจิตเภทนี้เป็นโรคเพียงโรคเดียวหรือเป็นกลุ่มของโรคหลายๆ โรค ถึงแม้คำภาษาอังกฤษของ schizophrenia จะมาจากภาษากรีกที่แปลว่าการแบ่งแยกของจิตใจ แต่โรคนี้ไม่ใช่โรคที่ทำให้มีหลายบุคลิกอย่างที่สังคมบางส่วนเข้าใจ แนวทางการรักษาในปัจจุบันคือการใช้ยาต้านโรคจิต ส่วนใหญ่ทำงานโดยยับยั้งผลของโดปามีน การใช้จิตบำบัดและการบำบัดการเข้าสังคมก็มีส่วนสำคัญในการรักษาผู้ป่วยจิตเภท ในกรณีป่วยรุนแรงจนมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นอาจจำเป็นต้องได้รับการกักตัวไว้ในโรงพยาบาล อย่างไรก็ดีการนอนโรงพยาบาลในปัจจุบันใช้เวลาสั้นกว่าในสมัยก่อนมาก เชื่อว่าโรคนี้มีผลต่อการรู้เป็นสำคัญ แต่หลายครั้งก็ทำให้เกิดปัญญาทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์อย่างเรื้อรังได้ ผู้ป่วยจิตเภทมักมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่นโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล มีอัตราการใช้สารเสพติดรวมตลอดชีวิตถึง 50% ของผู้ป่วย ปัญหาทางสังคม เช่นการว่างงาน ความยากจน และไม่มีที่อยู่อาศัยนั้นพบได้บ่อย อายุขัยโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยน้อยกว่าคนทั่วไปอยู่ 12-15 ปี ซึ่งเป็นผลจากปัญหาสุขภาพและอัตราการฆ่าตัวตายที่มากขึ้น (ประมาณ 5%).

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและโรคจิตเภท · ดูเพิ่มเติม »

โรคใคร่เด็ก

รคใคร่เด็ก หรือ ความใคร่เด็ก (Pedophilia, paedophilia) เป็นความผิดปกติทางจิตที่ผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นตอนปลายมีความต้องการทางเพศเป็นหลักหรืออย่างจำกัดเฉพาะ ต่อเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพัน.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและโรคใคร่เด็ก · ดูเพิ่มเติม »

โลกตะวันตก

ลกตะวันตก (Western world และอาจเรียก The West หรือ Occident) เป็นคำซึ่งใช้กล่าวถึงประเทศได้หลายประเทศ โดยประเทศที่หมายถึงอาจแตกต่างกันไปตามบริบทของการใช้คำศัพท์ นอกจากนี้เป็นคำซึ่งมีคำจำกัดความอยู่มากมาย, Our Tradition; James Kurth; accessed 30 August 2011 แนวคิดส่วนของโลกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกมีรากฐานมาจากอารยธรรมกรีกโรมันในยุโรปและการกำเนิดของศาสนาคริสต์Cambridge University Historical Series, An Essay on Western Civilization in Its Economic Aspects, p.40: Hebraism, like Hellenism, has been an all-important factor in the development of Western Civilization; Judaism, as the precursor of Christianity, has indirectly had had much to do with shaping the ideals and morality of western nations since the christian era.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและโลกตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เพศกับกฎหมาย

ทความเพศกับกฎหมายนี้ ว่าด้วยเพศสภาพและกิจกรรมทางเพศของมนุษย์มีผลต่อหรือถูกควบคุมโดยกฎหมายของมนุษย์อย่างไร โดยทั่วไป กฎหมายห้ามการกระทำที่ถูกมองว่าเป็นการกระทำทารุณทางเพศ (sexual abuse) หรือพฤติกรรมที่สังคมมองว่าไม่เหมาะสมและขัดต่อจารีต นอกเหนือจากนี้ กิจกรรมบางหมวดหมู่อาจถูกมองว่าเป็นอาชญากรรมแม้จะได้รับความยินยอมเสรี กฎหมายทางเพศแตกต่างกันตามกาลเทศะ การกระทำทางเพศที่ถูกกฎหมายห้ามในเขตอำนาจหนึ่ง ๆ เรียกว่า อาชญากรรมทาง.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและเพศกับกฎหมาย · ดูเพิ่มเติม »

เพศวิทยา

ตร์ หรือ เพศวิทยา เป็นสหสาขาวิชาประกอบด้วยจิตวิทยา แพทยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และเพศศึกษา เพศศาสตร์จะมีเนื้อหาเชิงสังคมและจิตวิทยามาก ตัวอย่างเช่น การให้คำปรึกษาทางด้านเพศ ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ปัญหาผู้หญิงที่ถูกข่มขืน ผู้หญิงที่ถูกทารุณกรรมทางเพศ โดยผู้ที่เรียนสาขานี้ต้องผ่านการคัดเลือก วิชาชีววิทยา, สถิติ, คุณธรรมและจริยธรรม, การให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยา และทัศนคติทางด้านเพศศาสตร์ ในประเทศไทยมีการสอนสาขาวิชานี้ในระดับปริญญาโท ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและเพศวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เพศสภาพของมนุษย์

องมนุษย์ (Human sexuality) เป็นประสบการณ์ซึ่งกระตุ้นความรู้สึกทางเพศและการปลดปล่อยด้านเพศของมนุษย์Rathus, Spencer A., Jeffrey S. Nevid, and Lois Fichner-Rathus.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและเพศสภาพของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

เทสโทสเตอโรน

ทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนหลักในกลุ่มฮอร์โมนเพศชายและสเตอรอยด์การสร้าง (anabolic steroid) ประเภทหนึ่งที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการของเนื้อเยื่อในระบบสืบพันธุ์ชาย เช่น อัณฑะและต่อมลูกหมาก ตลอดจนส่งเสริมลักษณะเฉพาะทางเพศทุติยภูมิ เช่น การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อกับกระดูก และการเกิดขนตัว นอกจากนั้นแล้ว ฮอร์โมนยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ต่อสุขภาพและความอยู่เป็นสุข ตลอดจนป้องกันโรคกระดูกพรุน ระดับฮอร์โมนที่ไม่พอในชาย อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความอ่อนแอและการเสียกระดูก ฮอร์โมนอาจใช้เพื่อรักษาอวัยวะเพศชายทำงานไม่พอ (male hypogonadism) และมะเร็งเต้านมบางชนิด เนื่องจากระดับฮอร์โมนจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุ แพทย์บางครั้งจะให้ฮอร์โมนสังเคราะห์กับชายสูงอายุเพื่อแก้ปัญหาการขาด เทสโทสเตอโรนเป็นสเตอรอยด์ในกลุ่ม androstane ที่มีกลุ่มคีโทนและไฮดรอกซิลที่ตำแหน่ง 3 และ 17 ตามลำดับ ซึ่งสามารถสังเคราะห์จากคอเลสเตอรอลในหลายขั้นตอน และตับจะเปลี่ยนมันเป็นเมแทบอไลต์ที่ไม่มีฤทธิ์ ฮอร์โมนสามารถเข้ายึดและออกฤทธิ์ต่อตัวรับแอนโดรเจน (androgen receptor) ในนิวเคลียสของเซลล์ ในมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก อัณฑะเป็นอวัยวะที่หลั่งฮอร์โมนในชาย และรังไข่ในหญิงแม้ในระดับที่ต่ำกว่า ต่อมหมวกไตก็หลั่งฮอร์โมนแม้เล็กน้อยด้วย โดยเฉลี่ย ในชายผู้ใหญ่ ระดับเทสโทสเตอโรนจะอยู่ที่ 7-8 เท่าของหญิงผู้ใหญ่ เพราะฮอร์โมนมีเมแทบอลิซึมที่สูงกว่าในชาย การผลิตแต่ละวันจะมากกว่าหญิงประมาณ 20 เท่า หญิงยังไวต่อฮอร์โมนมากกว่าชายอีกด้ว.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและเทสโทสเตอโรน · ดูเพิ่มเติม »

เด็ก

็กในโรงเรียนแห่งหนึ่ง เด็ก หมายถึง มนุษย์ที่อยู่ระหว่างการเกิดและวัยแรกรุ่น ส่วนคำจำกัดความในทางกฎหมาย "เด็ก" หมายถึง ผู้เยาว์ หรือบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าประชากรส่วนใหญ่ คำว่า "เด็ก" ยังอาจใช้อธิบายความสัมพันธ์กับผู้ปกครองหรือต่ออำนาจหน้าที่ หรือแสดงความเป็นส่วนหนึ่งในสกุล เผ่าหรือศาสนา และความหมายอื่น.

ใหม่!!: โรคกามวิปริตและเด็ก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Paraphiliaกามวิตถารกามวิปริตความผิดปกติแบบกามวิตถารความผิดปกติแบบกามวิปริตโรคกามวิตถาร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »