โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โอนิ

ดัชนี โอนิ

อะนิในชุดผู้แสวงบุญ ยุคโทะกุงะวะ วาดด้วยหมึกและสีบนกระดาษ 59.2 x 22.1 ซม. โอะนิ (鬼 oni) คือ โยไกในความเชื่อของลัทธิชินโต ในประเทศญี่ปุ่น อาจเทียบได้กับโอเกอร์ในความเชื่อของตะวันตก คือ เป็นยักษ์สูงใหญ่ที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ แต่มีบางส่วนในร่างกายที่ไม่เหมือนมนุษย์ธรรมดาทั่วไป เช่น มี 3 ตา มี 2 เขา มีเขี้ยวและเล็บคมกริบ มีผิวหนังสีแดงหรือสีส้ม มีนิ้วมือนิ้วเท้ามากกว่าข้างละ 5 นิ้ว นุ่งห่มหนังเสือ และในมือถือกระบองอันใหญ่ที่มีหนามที่เรียกว่า คะนะบุ(金棒) เป็นอาวุธ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หมายถึง ความแข็งแกร่งที่ไม่อาจเอาชนะได้ เชื่อกันว่าโอะนิจะนำพามาซึ่งโรคร้าย โรคระบาด ความโชคร้าย และความหายนะ โอะนิสามารถเหาะเหินเดินในอากาศได้ และจะคอยจับเอาดวงวิญญาณของคนชั่วที่กำลังจะตาย โอะนิมักชอบหลบซ่อนตัวอยู่ห่างไกลจากสังคม หรือหลบซ่อนตัวอยู่ตามภูเขาหรือป่าทึบ ความเชื่อเรื่อง โอะนิ ได้รับอิทธิพลมาจากจีนและผสมกับพุทธศาสนาในเรื่องของยักษ์และความเชื่อที่ว่าทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เรียกว่า คิม่อน เป็นทิศของปีศาจ เป็นทิศทางที่ไม่เป็นมงคลเนื่องจากเป็นเส้นทางเดินของภูตผีปีศาจ ปัจจุบันในหมู่บ้านบางแห่งในประเทศญี่ปุ่น มีเทศกาลประจำปี คือ เซะสึบัง เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นมาเพื่อขับไล่โอะนิ เริ่มต้นในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ โดยชาวบ้านจะขว้างปาถั่วเหลืองออกนอกบ้าน พร้อมตะโกนขับไล่โอะนิ และกล่าววาจาเชื้อเชิญสิ่งที่เป็นมงคลเข้ามาในบ้าน นอกจากนี้แล้วยังเชื่อว่าลิงสามารถป้องกันโอะนิได้ เนื่องจากคำว่าลิงในภาษาปุ่นออกเสียงว่า "ซะรุ" (猿) ซึ่งยังสามารถแปลได้อีกหลายความหมาย จึงมีการปั้นรูปปั้นลิงไว้ตามหน้าบ้าน และยังเชื่อว่าต้นโฮลลี่ก็ยังช่วยป้องกันโอะนิได้ด้วย ในบางครั้งผู้คนมักสับสนโอนิกับฮันเนีย เนื่องจากหน้าตาที่มีความใกล้เคียงกัน ปัจจุบัน โอะนิได้ถูกแปรความเชื่อไป กลายเป็นสิ่งที่พิทักษ์ความดีและป้องกันความชั่ว มีการผลิตกระเบื้องหลังคาเป็นรูปโอะนิ ด้วยคติที่คล้ายคลึงกับการ์กอยล์ของตะวันตก.

10 ความสัมพันธ์: ชินโตยักษ์ฤดูใบไม้ผลิลิงฮันเนียทิศตะวันออกเฉียงเหนือประเทศญี่ปุ่นปนาลีโยไกโอเกอร์

ชินโต

ทะริอิ ที่ ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ สัญลักษณ์ที่สำคัญของชินโต ชินโต เป็นลัทธิตามความเชื่อเดิมของชาวญี่ปุ่น คำว่า ชินโต มาจากตัวอักษรจีน หรือคันจิ 2 ตัวรวมกัน คือ ชิน หมายถึงเทพเจ้า (ภาษาจีน: 神, พินอิน: shén, เสิน) และ โต หมายถึงวิถีทางหรือศาสตร์วิชา (ภาษาจีน: 道, พินอิน: dào, เต้า) หรือ เต๋า ในลัทธิเต๋านั่นเอง เมื่อรวมกันแล้ว จะหมายถึงศาสตร์แห่งเทพเจ้า หรือวิถีแห่งเทพเจ้า นั่นเอง ชินโตของญี่ปุ่นมีตำนานความเชื่อว่า เทพเจ้ามีมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งในป่า บนภูเขา ทะเล แม่น้ำ ลำธาร ในสายลม แม้แต่ในบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาในธรรมชาติที่ที่มีความบริสุทธิ์ล้วนเป็นที่สถิตของเทพเจ้าได้ทั้งสิ้น จึงมีคำที่ว่า "เทพแปดล้านองค์" เป็นการรวมคำเพื่อแสดงว่ามีทวยเทพอยู่มากมาย ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถือให้เป็นลัทธิความเชื่อพื้นเมืองประจำประเทศญี่ปุ่น พิธีกรรมของลัทธิชินโตนี้มาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นพิธีกรรมอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งศาสนาพุทธ และ ลัทธิขงจื๊อ กับ ลัทธิเต๋า รวมทั้งภายหลัง ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ได้เริ่มให้เข้ามาในดินแดนญี่ปุ่น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 พิธีกรรมของลัทธิชินโตได้ถูกบันทึกและบัญญัติเป็นครั้งแรกในคัมภีร์โคะจิคิ และจดหมายเหตุนิฮงโชะกิ ในศตวรรษที่ 8 เพื่อตอบโต้ศาสนาที่มีระดับความพัฒนามากกว่าจากแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม งานเขียนในยุคแรกๆก็ยังมิได้บ่งบอกว่าเป็น ลัทธิชินโต แต่งานเขียนในสมัยต่อมาก็ได้บ่งชี้อย่างชัดเจน พร้อมขนบธรรมเนียบของสังคมเกษตรกรรมและเทศกาลประจำปีเข้าไปด้วย รวมไปถึงความเชื่อเรื่องเทพปกรณัมและการกำเนิดโลกต่าง ๆ ซึ่งเล่าถึงต้นกำเนิดของชนชาติญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะหมายถึงเชื้อสายยะมะโตะ และอิสึโมะ ในสมัยนั้น พุทธศาสนาได้แพร่จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่น และมีผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม อย่างเช่น ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในลัทธิชินโตและความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถูกจัดให้เป็นลัทธิบูชาเทพเจ้าหลายองค์ หรือ พหุเทวนิยม และลัทธิบูชาภูตผีวิญญาณ ที่เน้นความบริสุทธิ์ของพิธีกรรมเป็นอย่างมาก รวมถึงยกย่องเกียรติและความมีตัวตนของเทพเจ้า ซึ่งมีทั้งเทพเจ้าที่มีมาจากการยกบุคคลให้เป็นเทพ หรือการบูชาธรรมชาติ และเทพเจ้ายังสามารถมีลูกได้ด้วย ลัทธิชินโตเป็นลัทธิที่ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมทางศาสนาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่จะทำให้ศาสนิกชนเข้าถึงและเป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้าได้มากที่สุด ลัทธิชินโตยุคใหม่ไม่มีสถาบันที่ที่ยกตัวเป็นผู้ควบคุมส่วนกลาง มีเพียงแต่กลุ่มคนที่พยายามรักษาวิถีปฏิบัติของลัทธิชินโตมาตั้งแต่สมัยบรรพกาลจนถึงปัจจุบัน ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ชินโตได้ถูกยกเลิกจากการเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งในปัจจุบันชินโตเริ่มลดหายไปจากวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยที่ยังเห็นได้ในปัจจุบันได้แก่ โอมิคุจิ (การดึงฉลากเสี่ยงโชคในศาลเจ้าชินโต) และการเฉลิมฉลอง งานปีใหม่ญี่ปุ่น ที่มีจัดขึ้นตามศาลเจ้าชินโต.

ใหม่!!: โอนิและชินโต · ดูเพิ่มเติม »

ยักษ์

รูปปั้นยักษ์ '''ทศกัณฐ์''' ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นยักษ์จากเรื่องรามเกียรติ์ ยักษ์ เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งที่มีกล่าวถึงทั้งในทางศาสนาและวรรณคดี ยักษ์ในความเชื่อของไทยมักได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ในขณะที่ความเชื่อในบริเวณอื่นๆของโลกก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับอมนุษย์ที่มีร่างกายใหญ่โต ชอบของสดคาว ซึ่งเทียบได้กับยักษ์ในความเชื่อของคนไทยเช่นกัน.

ใหม่!!: โอนิและยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูใบไม้ผลิ

ีสันแสนสวยงามในฤดูใบไม้ผลิ ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) หรือที่เรียกกันว่า วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) มีชื่อไทยว่า วสันตฤดู เป็นฤดูในเขตอบอุ่นและเขตหนาว มีสภาพอากาศปลอดโปร่ง โดยทั่วไป ฤดูใบไม้ผลิในซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 21 มีนาคม ถึง 20 มิถุนายน ของทุกปี ในขณะที่ในซีกโลกใต้ จะมีระยะเวลาตั้งแต่เดือนกันยายน ถึง เดือนพฤศจิกายน.

ใหม่!!: โอนิและฤดูใบไม้ผลิ · ดูเพิ่มเติม »

ลิง

แสม (''Macaca fascicularis'') ลิงที่คุ้นเคยและพบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย อาจพบได้ถึงในชุมชนเมืองhttp://1081009.tourismthailand.org/trip/dcp?id.

ใหม่!!: โอนิและลิง · ดูเพิ่มเติม »

ฮันเนีย

หนักกากฮันเนีย ฮันเนีย (般若 - Hannya) เป็นชื่อหน้ากากที่ใช้ในการแสดงละครโนะของญี่ปุ่น แสดงถึงลักษณะของปีศาจหญิงขี้อิจฉา ฮันเนียมีเขาแหลมคมสองข้าง มีตาเป็นโลหะ และปากที่ฉีกยิ้มจนถึงหู ฮันเนียถูกใช้ในการแสดงโนะ และงานเต้นรำคะงุระของทางชินโต ฮันเนียใช้แสดงสำหรับวิญญาณหญิงสาวที่กลายเป็นปีศาจเนื่องจากเป็นสาวที่มีความอิจฉา การแสดงที่เป็นรู้จัก อาทิเช่น อะโอะอิ โนะ อุเอะ และ โดโจจิ หน้ากากฮันเนียปรากฏในหลายเฉดสี เช่น หน้ากากสีขาวแสดงถึงชนชั้นสูง หน้ากากสีแดงแสดงถึงชนชั้นต่ำ และหน้ากากสีแดงเข้มแสดงถึงปีศาจที่แท้จริง.

ใหม่!!: โอนิและฮันเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

วงกลมแสดงทิศ ระบุทิศหลักและทิศรอง โดยทิศตะวันออกเฉียงเหนือแสดงโดยทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (NE) ทางขวาเฉียงขึ้นไปด้านบน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน เป็นหนึ่งในทิศรองทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันตกเฉียงใต้ ขวามือของทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หมวดหมู่:การกำหนดทิศทาง.

ใหม่!!: โอนิและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: โอนิและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ปนาลี

ปนาลี บนวิหารนอเตอร์ดามในฝรั่งเศส ปนาลี หรือ การ์กอยล์ (Gargoyle; gargouille) ความหมายของปนาลีทางสถาปัตยกรรมหมายถึงหินที่แกะเป็นรูปอัปลักษณ์ (grotesque) ยื่นออกไปจากสิ่งก่อสร้างที่มีรางและช่องให้น้ำจากหลังคาไหลห่างจากตัวสิ่งก่อสร้าง คำว่า “gargoyle” มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า “gargouille” ซึ่งแปลว่าคอหอย ซึ่งมาจากภาษาละติน “gurgulio, gula” หรือคำที่มีรากมาจาก “gar” ที่แปลว่า กลืน ซึ่งคล้ายเสียงน้ำไหลในท่อ (ตัวอย่าง: ภาษาสเปน “garganta” แปลว่าคอหอย จึงใช้คำว่า “garganta” สำหรับ “gargoyle”) รูปอัปลักษณ์ที่มิได้ใช้เป็นรางน้ำแต่ใช้เป็นสิ่งตกแต่ง ตามภาษาสามัญก็ยังเรียกว่าปนาลี ถึงแม้ว่าทางสถาปัตยกรรมจะแยกการใช้ระหว่างคำว่าปนาลี และคำว่ารูปอัปลักษณ์ ปนาลีจะเป็นคำที่ใช้สำหรับรูปอัปลักษณ์ที่ใช้เป็นรางน้ำ และคำว่ารูปอัปลักษณ์จะหมายถึงรูปสลักที่มิได้ใช้เป็นรางน้ำ ปนาลีจะเป็นรูปสลักตามมุมต่าง ๆ ของสถาปัตยกรรมในแบบกอธิคในยุโรป โดยมากจะสลักเป็นรูปมังกรหรือปีศาจในท่วงท่าต่าง ๆ โดยท่าที่รู้จักมากที่สุดคือท่านั่งยอง ๆ ตามองไปทางข้างหน้า ปนาลีเชื่อว่าเดิมเป็นมังกร ชาวยุโรปในยุคกลางเชื่อว่าการ์กอยล์เมื่อตอนกลางวันจะเป็นรูปสลัก ตกกลางคืนจะกลายร่างเป็นมังกรบินไปทั่วหมู่บ้านหรือเมืองที่อาศัย เพื่อปกป้องดูแลมิให้มีสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ เข้ามารังควาน.

ใหม่!!: โอนิและปนาลี · ดูเพิ่มเติม »

โยไก

อุกิโยะ ที่วาดถึงโยไก โดยอะโอะโตะชิ มะสึอิ โยไก เป็นประเภทหนึ่งของสิ่งมีชีวิตเหนือธรรมชาติ ในคติความเชื่อญี่ปุ่น ซึ่งโยไกอาจจะนำโชคลาภหรือลางร้ายมาก็เป็นได้ ซึ่งในบันทึกหรือคำบอกเล่าต่างๆของผู้คน บ่อยครั้งที่มักจะพบเจอโยไกที่มีลักษณะคล้ายกับสัตว์ (เช่น คัปปะ มีกระดองคล้ายเต่า หรือ เท็งงุ มีปีกคล้ายนก) ซึ่งบางครั้งโยไกสามารถปรากฏอยู่ในร่างมนุษย์และปะปนกับผู้คนได้ หรืออาจจะปรากฏในรูปแบบอื่นๆ ที่มนุษย์ทั่วไปไม่สามารถมองเห็น โยไกมักจะมีอำนาจที่เหนือธรรมชาติ โดยประเภทแปลงกายเป็นหนึ่งในประเภทที่พบมากที่สุด ซึ่งความสามารถในการแปลงกายนี้ เรียกว่า "โอะบะเกะ".

ใหม่!!: โอนิและโยไก · ดูเพิ่มเติม »

โอเกอร์

อเกอร์จับมนุษย์กิน โดย จีโอวานนี ลานฟรังโก ศิลปินชาวอิตาเลียน ในปี ค.ศ. 1624 โอเกอร์ (ogre (เพศชาย) หรือ ogress (เพศหญิง)) เป็นสัตว์ประหลาดรูปร่างอย่างมนุษย์ มีรูปลักษณ์หน้าเกลียดหน้ากลัว มีอุปนิสัยดุร้ายและอำมหิต และมีสัณฐานมหึมา ปรากฏในเทพปกรณัม คติชน และบันเทิงคดี โดยเฉพาะในเทพนิยาย และวรรณคดีคลาสสิก ซึ่งนิยมพรรณนาว่า โอเกอร์กินคนเป็นอาหาร ส่วนในศิลปะ มักสาธยายว่าโอเกอร์มีศีรษะใหญ่โต มีหนวดเคราและผมเผ้ารุงรัง มีร่างกายอันกำยำ และมีทีท่าตะกละตะกลามเสมอ คำว่า "โอเกอร์" ในภาษาอังกฤษ ใช้อุปมาถึงบุคคลที่แสวงหาประโยชน์ กระทำทารุณ หรือกินเลือดเนื้อเหยื่อของตน โอเกอร์ได้ปรากฏเป็นครั้งแรกในวัฒนธรรมร่วมสมัย ด้วยการเป็นตัวละครในวรรณกรรมเรื่อง Histoires ou contes du temps passé ในปี..

ใหม่!!: โอนิและโอเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Oni (folklore)โอะนิ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »