โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาออร์

ดัชนี ปลาออร์

ปลาออร์ หรือ ปลาริบบิ้น (Oarfish, King of herrings; 皇帶魚; พินอิน: huángdài yú) เป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Regalecus glesne อยู่ในวงศ์ Regalecidae มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับพญานาคตามความเชื่อของไทย หรือมังกรทะเลในความเชื่อในยุคกลางของชาวตะวันตก โดยมีความยาวได้สูงสุดยาวถึง 9 เมตร และหนัก 300 กิโลกรัม แต่ก็มีบันทึกไว้ในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ด้วยว่า ปลาชนิดนี้เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ยาวที่สุดในโลก โดยอาจยาวได้ถึง 11 เมตร ในขณะที่รายงานไม่ยืนยันอีกบางกระแสระบุว่าอาจยาวถึง 15 เมตร หรือกว่านั้น มีส่วนหัวที่ใหญ่ ลำตัวแบนสีเงิน มีจุดสีฟ้าและดำประปราย มีครีบหลังสีชมพูแดง บนหัวที่อวัยวะแลดูคล้ายหงอนเป็นจุดเด่น เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลลึกระหว่าง 50–250 เมตร จึงพบเห็นได้ยากมาก แต่มีผู้พบเห็นกันเป็นระยะ ๆ ในหลายพื้นที่ ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของออสเตรเลีย เรื่อยไปจนถึงทะเลนอกชายฝั่งเม็กซิโก และแถบหมู่เกาะเบอร์มิวดา ส่วนใหญ่มักถูกคลื่นซัดออกมาเกยหาด หรือไม่ก็เกิดอาการผิดปกติขึ้นกับปลา เช่น ป่วย หรือใกล้ตาย น้อยครั้งที่จะมีการพบเห็นขณะมีชีวิตอยู่ ภาพถ่ายของปลาออร์ ที่เคยเชื่อกันว่าเป็นพญานาคที่ประเทศลาว เป็นปลาที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ไม่เป็นอันตรายและไม่ทำร้ายมนุษย์ แม้จะมีรายงานไม่ยืนยันจากนักวิจัยในนิวซีแลนด์ที่ระบุว่าถ้าหากแตะไปที่ตัวของมันขณะยังมีชีวิตอยู่จะปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาช็อตได้ ปลาออร์เมื่อปรากฏตัวขึ้นมามักจะปรากฏเป็นข่าวครึกโครมอยู่เป็นระยะ ๆ ว่าเป็นพญานาคหรือสัตว์ประหลาด อาทิ ในกลางปี ค.ศ. 1996 ได้ปรากฏภาพถ่ายใบหนึ่งของกลุ่มทหารชาวอเมริกันอุ้มปลาชนิดนี้ แพร่กระจายกันทั่วไปในสังคมไทย ทำให้เกิดความเชื่อว่า นั่นเป็นพญานาคที่จับได้จากแม่น้ำโขง และเชื่อว่า ภาพถ่ายนั้นถ่ายที่ค่ายทหารแห่งหนึ่งในประเทศลาวและถ่ายมานานแล้วกว่า 30 ปี ในยุคสงครามเวียดนาม แต่แท้จริงแล้วเป็นภาพที่ถ่ายในค่ายทหารที่เกาะโคโรนาโด รัฐแคลิฟอร์เนีย ในปีเดียวกันนั้นเอง และเป็นปลาที่อยู่จับได้ในมหาสมุทรแปซิฟิก แถบทวีปอเมริกาใต้.

43 ความสัมพันธ์: บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ชั้นปลากระดูกแข็งชาวอเมริกันพ.ศ. 2539พญานาคพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำพินอินกระแสไฟฟ้าการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามภาพถ่ายมหาสมุทรแปซิฟิกมนุษย์รัฐแคลิฟอร์เนียสมัยกลางสัตว์สัตว์มีกระดูกสันหลังสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ประหลาดสีชมพูสีน้ำเงินสีแดงสงครามเวียดนามสปีชีส์สนุก.คอมอวัยวะอ่าวเม็กซิโกจุดทวีปอเมริกาใต้ความยาวความเชื่องูทะเล (สัตว์ประหลาด)ประเทศญี่ปุ่นประเทศลาวประเทศออสเตรเลียประเทศนิวซีแลนด์ปลาทะเลลึกปลาที่มีก้านครีบแพลงก์ตอนแม่น้ำโขงโลกตะวันตกไทยสยามเบอร์มิวดา

บันทึกสถิติโลกกินเนสส์

หน้าปกกินเนสส์บุ๊ก ฉบับปี ค.ศ. 2008 หนังสือบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ หรือ กินเนสส์บุ๊ค (Guinness Book of World Records) เป็นหนังสือที่บันทึกที่สุดในโลกด้านต่างๆ โดยออกเป็นรูปแบบหนังสือรายปี.

ใหม่!!: ปลาออร์และบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ · ดูเพิ่มเติม »

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: ปลาออร์และชั้นปลากระดูกแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอเมริกัน

วอเมริกัน หรือ ประชากรของสหรัฐอเมริกา (People of the United States หรือ U.S. Americans หรือ Americans หรือ American people) คือประชาชนของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ประกอบด้วยกลุ่มชนจากหลายชาติพันธุ์และเชื้อชาติ ซึ่งทำให้ชาวอเมริกันบางคนไม่ถือว่าอเมริกันเป็น "ชาติพันธุ์" (ethnicity) และจะบ่งตนเองโดยเชื้อชาติ (nationality) และชาติพันธุ์ดั้งเดิม (ancestral origin) เช่นชาวฮังการีอเมริกันเป็นต้น นอกไปจากชาวอเมริกันอินเดียนแล้ว ชาวอเมริกันเกือบทั้งหมดหรือบรรพบุรุษก็เป็นผู้ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในช่วงระยะเวลาห้าร้อยปีที่ผ่านมา การที่ชาวอเมริกันมาจากหลายชาติพันธุ์ทำให้เป็นชาติที่มีธรรมเนียม และคุณค่าที่แตกต่างกันออกไปเป็นอันมากAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ปลาออร์และชาวอเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2539

ทธศักราช 2539 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1996 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลาออร์และพ.ศ. 2539 · ดูเพิ่มเติม »

พญานาค

ญานาค (नागराज นาคราช) หมายถึง นาคผู้เป็นใหญ่ นาคผู้เป็นหัวหน้า ตามความเชื่อในศาสนาแบบอินเดีย คล้ายกับพญามังกร (龍王 หลงหวัง) ตามคติศาสนาพื้นบ้านจีน.

ใหม่!!: ปลาออร์และพญานาค · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ

ปลาสวายและปลาน้ำจืดชนิดอื่น ๆ ในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุพรรณบุรี พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ หรือ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ (Public Aquarium) เป็นลักษณะหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงสิ่งมีชีวิต มาจากภาษาอังกฤษว่า aquarium ซึ่งหมายถึงตู้ปลา พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ผสมผสานเข้ากับการท่องเที่ยวได้อย่างดี ในประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทั้งน้ำจืด น้ำเค็ม เช่น.

ใหม่!!: ปลาออร์และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: ปลาออร์และพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

กระแสไฟฟ้า

วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย โดยที่กระแสถูกแสดงด้วยอักษร ''i'' ความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันไฟฟ้า (V), ตัวต้านทาน (R), และกระแส (I) คือ V.

ใหม่!!: ปลาออร์และกระแสไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: ปลาออร์และการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: ปลาออร์และการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

ภาพถ่าย

รูปแมว ภาพถ่าย ได้แก่ ภาพซึ่งได้มาจากกรรมวิธีการถ่ายภาพ คือ การใช้กล้องถ่ายภาพ วัสดุไวแสงสำหรับบันทึกภาพ และมีกระบวนการในการขยายภาพหรือการพิมพ์ภาพออกมา ภาพถ่ายจึงเกิดจากกระบวนการการถ่ายภาพ ภาพถ่ายที่ดีนั้นจะต้องสะท้อนความจริงที่เกิดขึ้น สามารถสื่อเรื่องราวได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง ภาพถ่ายในงานวารสารศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ภาพข่าว ภาพสารคดี และภาพโฆษณ.

ใหม่!!: ปลาออร์และภาพถ่าย · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: ปลาออร์และมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: ปลาออร์และมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแคลิฟอร์เนีย

รัฐแคลิฟอร์เนีย (California,, แคลึฟอรฺนยะ) เป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาและมีพื้นที่ใหญ่สุดเป็นอันดับสาม ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตก (ติดมหาสมุทรแปซิฟิก) ของสหรัฐอเมริกา มีชายแดนติดกับรัฐแอริโซนา รัฐเนวาดาและรัฐออริกอน และมีชายแดนระหว่างประเทศติดต่อกับรัฐบาฮากาลิฟอร์เนียของประเทศเม็กซิโก เมืองหลวงรัฐ คือ แซคราเมนโต ลอสแอนเจลิสเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดของรัฐแคลิฟอร์เนีย และเป็นนครใหญ่สุดอันดับสองของประเทศรองจากนครนิวยอร์ก รัฐแคลิฟอร์เนียยังมีเคาน์ตีที่มีประชากรที่สุดของประเทศ คือ ลอสแอนเจลิสเคาน์ตี และมีพื้นที่มากที่สุด คือ แซนเบอร์นาร์ดีโนเคาน์ตี ภูมิศาสตร์หลากหลายของรัฐแคลิฟอร์เนียมีตั้งแต่ชายฝั่งแปซิฟิกทางทิศตะวันตกถึงเทือกเขาเซียร์ราเนวาดาทางทิศตะวันออก และตั้งแต่ป่าเรดวูด–สนดักลาสทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนถึงทะเลทรายโมฮาวีทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เซ็นทรัลแวลลี พื้นที่เกษตรกรรมหลัก กินพื้นที่ตอนกลางส่วนใหญ่ของรัฐ แม้รัฐแคลิฟอร์เนียจะขึ้นชื่อด้านภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่น แต่ขนาดที่ใหญ่หมายความว่าภูมิอากาศมีหลากหลายตั้งแต่ป่าฝนเขตอบอุ่นชื้นทางทิศเหนือ ถึงทะเลทรายแห้งแล้งด้านใน ตลอดจนแบบแอลป์หิมะในเขตภูเขา ทีแรกพื้นที่รัฐแคลิฟอร์เนียปัจจุบันมีชนเผ่าอเมริกันพื้นเมืองตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนมีการสำรวจของชาวยุโรปจำนวนหนึ่งระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ต่อมาจักรวรรดิสเปนอ้างสิทธิ์เป็นส่วนหนึ่งของอัลตาแคลิฟอร์เนียในอาณานิคมนิวสเปน พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งของเม็กซิโกใน..

ใหม่!!: ปลาออร์และรัฐแคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ปลาออร์และสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาออร์และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ใหม่!!: ปลาออร์และสัตว์มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาออร์และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ประหลาด

รา หนึ่งในสัตว์ประหลาดของเทพปกรณัมกรีกที่มีชื่อเสียง สัตว์ประหลาด หรือ อสูรกาย (Monster, Cryptid) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ผิดแปลกจากสภาพแวดล้อมโดยทั่ว ๆ ไป หรือสัตว์ที่มนุษย์ไม่เป็นที่รู้จัก สัตว์ประหลาดถูกกล่าวถึงในตำนานหรือนิทานของชนชาติต่าง ๆ มาแต่อดีตแล้ว โดยคำว่า Monster ที่หมายถึง สัตว์ประหลาด หรือ อสูรกาย ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากภาษาละตินคำว่า Monstrum ซึ่งหมายถึง การเกิดสิ่งผิดปกติทางชีววิทยามักจะที่ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ว่าสิ่งที่ถูกต้องภายในเพื่อธรรมชาติ ความหมายของคำว่า Monster ไม่เหมือนกับปีศาจ ซึ่งหมายถึง ความชั่วร้าย โดยปกติแล้ว Monster หรือ สัตว์ประหลาด จะหมายถึงสิ่งที่น่ารังเกียจหรือผิดศีลธรรม หรือความผิดปกติทางร่างกายหรือจิตใจอย่างน่าเกลียด หรือความวิปริตทางธรรมชาติ นอกจากนี้แล้วยังนำมาใช้เปรียบเปรยกับผู้ที่มีลักษณะโลภโมโทสันหรือบุคคลที่แลดูน่ากลัวด้วย นอกจากนี้แล้ว สัตว์ประหลาดยังปรากฏตัวในสื่อวัฒนธรรมร่วมสมัยทั้งการ์ตูน ภาพยนตร์ และวิดีโอเกม โดยทั่วไปแล้ว สัตว์ประหลาดมักมีลักษณะน่ากลัวและดุร้าย แต่ในสื่อสารมวลชนยุคใหม่ก็มีสัตว์ประหลาดที่มีบทบาทในลักษณะของอสูรกายที่เป็นมิตรหรือถูกเข้าใจผิด เช่น คิงคอง หรือ อสูรกายของแฟรงเกนสไตน์ เป็นต้น ในภาพยนตร์มีเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดอยู่มากมาย อาทิ Godzilla ของฮอลลีวู้ดในปี ค.ศ. 1998 ที่ดัดแปลงมาจากตัวละครเอกคือ ก็อตซิลล่า ของญี่ปุ่น, The Mist ในปี ค.ศ. 2008 หรือแม้แต่ในภาพยนตร์ไทย เช่น มันมากับความมืด ในปี ค.ศ. 1971 จากการกำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล, มาห์ ในปี ค.ศ. 1991 หรือ ปักษาวายุ ในปี ค.ศ. 2004 เป็นต้น ในวัฒนธรรมไทย ก็มีสัตว์ประหลาดอยู่มากมาย ตามคติจักรวาลวิทยาทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูหรือพุทธศาสนา มีป่าหิมพานต์ซึ่งเป็นป่าศักดิ์สิทธิ์อยู่เชิงเขาไกรลาศ มีสัตว์ประหลาดมากมาย เรียกว่า สัตว์หิมพานต์ ซึ่งมักปรากฏภาพเป็นจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่าง ๆ ในเชิงวิชาการ มีศาสตร์แขนงหนึ่งของสัตววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดโดยเฉพาะ เรียกว่า สัตว์ประหลาดวิทยา หรือ สัตว์ลึกลับวิทยา (Cryptozoology) ซึ่งคำว่า Cryptozoology มาจากภาษากรีกคำว่า Kρυπτός (Kryptos) หมายถึง "ซ่อนอยู่" ผสมกับ Zoology ก็คือ สัตววิทยา นั่นเอง โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ประเภทนี้ เรียกว่า นักสัตว์ประหลาดวิทยา นักสัตว์ประหลาดวิทยาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ คาร์ล ชูเกอร์ ชาวอังกฤษ, เบอร์นาร์ด ฮูเวลมานส์ ชาวเบลเยียม ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งศาสตร์แขนงนี้และเป็นผู้ตั้งศาสตร์แขนงนี้ด้ว.

ใหม่!!: ปลาออร์และสัตว์ประหลาด · ดูเพิ่มเติม »

สีชมพู

ีชมพู เป็นสีที่เกิดจากการผสมสีแดงและสีขาว ในบางครั้งจะถูกกล่าวถึงในลักษณะสีแดงอ่อน สีชมพูมักจะถูกใช้ในการกล่าวถึงลักษณะของเด็กหญิง ซึ่งนิยมใช้ควบคู่กับ สีน้ำเงินหรือสีฟ้า ที่จะแสดงถึงเด็กชาย ในภาษาเหนือ เรียกสีชมพูว่า "จมออน" (จม-ออน).

ใหม่!!: ปลาออร์และสีชมพู · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำเงิน

ีน้ำเงิน เป็นหนึ่งในแม่สี ทั้งแม่สีทางแสง และทางวัตถุธาตุ เป็นแม่สีที่มีความยาวคลื่นต่ำที่สุด แสงสีน้ำเงินมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 440-490 นาโนเมตร เป็นสีที่ใกล้เคียงกับสีฟ้าและสีกรมท่า และถือเป็น 1 ในแม่สีร่วมกับ สีแดง และสีเขียว สีน้ำเงิน เป็นสีในกลุ่มสีโทนเย็น สีน้ำเงินเป็นสีที่สร้างความสุขุมเยือกเย็น หนักแน่นและละเอียดรอบคอบ ใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจและการแสดงออกทางศิลปะได้ดีอีกด้วย ขณะที่สีฟ้าให้ความรู้สึกแบบเดียวกับสีเขียว คือ สบายตา ให้ความรู้สึกเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง โล่งใจ ลดความร้อนรุ่มกระวนกระวายใจลงได้.

ใหม่!!: ปลาออร์และสีน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

สีแดง

ีแดง คือสีมีความถี่ของแสงที่ต่ำที่สุด ที่ตามนุษย์สามารถแยกแยะได้ แสงสีแดงมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 630-760 นาโนเมตร สีแดงเป็นสีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง จัดเป็น 1 ในแม่สี 3 สี ร่วมกับสีเขียว, สีน้ำเงิน.

ใหม่!!: ปลาออร์และสีแดง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ใหม่!!: ปลาออร์และสงครามเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาออร์และสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

สนุก.คอม

นุก.คอม (Sanook.com ตราสัญลักษณ์สะกดว่า Sanook!) เป็นเว็บท่าที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ของประเทศไทยมาโดยตลอดนับตั้งแต่เริ่มดำเนินการ เว็บไซต์ สนุก.คอม ก่อตั้งโดย ปรเมศวร์ มินศิริ เมื่อปี..

ใหม่!!: ปลาออร์และสนุก.คอม · ดูเพิ่มเติม »

อวัยวะ

อวัยวะ เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อที่มีหน้าที่คล้ายกัน พืชและสัตว์ต้องพึ่งอวัยวะหลายชิ้นในระบบอวัยวะ หน้าที่ของระบบอวัยวะมักจะมีหน้าที่ทับซ้อนกัน เช่น ไฮโปทาลามัส (hypothalamus) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ทั้งในระบบประสาท (nervous system) และระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ทำให้การศึกษาทั้งสองระบบมักจะทำร่วมกันเรียกว่า ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine system) เช่นเดียวกันกับ ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (musculoskeletal system) ซึ่งเป็นความเกี่ยวข้องกันระหว่างระบบกล้ามเนื้อ (muscular system) และ ระบบโครงกระดูก (skeletal system).

ใหม่!!: ปลาออร์และอวัยวะ · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวเม็กซิโก

อ่าวเม็กซิโก อ่าวเม็กซิโก (Gulf of Mexico; Golfo de México) ตั้งอยู่ทางใต้ของสหรัฐอเมริกาและทางตะวันออกของประเทศเม็กซิโก และอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศคิวบา มีพื้นที่ประมาณ 615,000 ตารางไมล์หรือประมาณ 1.6 ล้านตารางกิโลเมตร จุดที่ลึกที่สุดมีความลึกประมาณ 4,384 เมตร ในอ่าวเป็นแหล่งทรัพย์กรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก เม็กซิโก หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานในประเทศเม็กซิโก.

ใหม่!!: ปลาออร์และอ่าวเม็กซิโก · ดูเพิ่มเติม »

จุด

อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ปลาออร์และจุด · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: ปลาออร์และทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ความยาว

ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากรูปหนึ่ง แสดงความกว้าง ความยาว และความสูง ความยาว คือ ปริมาณของรูปหนึ่งมิติ หรือ มิติตามแนวยาวของวัตถุใด ๆ ความยาวของของสิ่งหนึ่งคือระยะทาง (หรือการกระจัด) จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสิ้นสุด ซึ่งเป็นการขยายเชิงเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ความยาวอาจมีความหมายแยกออกจากความสูง ซึ่งเป็นการขยายตามแนวดิ่ง และความกว้าง ซึ่งเป็นระยะทางจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง เช่นวัดจากมุมข้างซ้ายไปยังมุมข้างขวาผ่านวัตถุเป็นต้น ในทางวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรม คำว่า ความยาว นี้มีความหมายเหมือนกับ ระยะทาง และย่อด้วยอักษร l หรือ L (แอล) หรือสัญลักษณ์คล้ายแอล ความยาวเป็นการวัดในหนึ่งมิติ ในขณะที่พื้นที่เป็นการวัดในสองมิติ และปริมาตรเป็นการวัดในสามมิติ ในระบบการวัดส่วนใหญ่ หน่วยความยาวเป็นหน่วยวัดพื้นฐานสำหรับการนิยามหน่วยวัดอื่น.

ใหม่!!: ปลาออร์และความยาว · ดูเพิ่มเติม »

ความเชื่อ

วามเชื่อ (belief) หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน.

ใหม่!!: ปลาออร์และความเชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

งูทะเล (สัตว์ประหลาด)

ำหรับงูทะเลที่เป็นสัตว์ที่เป็นที่รู้จัก ดูที่: งูทะเล สำหรับมังกรทะเลที่เป็นปลาจำพวกม้าน้ำ ดูที่: มังกรทะเล ภาพวาดงูทะเลตามคำบอกเล่าของฮันส์ เอดจ์ ว่าพบเห็นในปี ค.ศ. 1734 งูทะเล หรือ มังกรทะเล (Sea serpent, Sea dragon) เป็นสัตว์ประหลาดที่พบในทะเลหรือในแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งยังพิสูจน์หรือจัดอันดับไม่ได้ว่าเป็นสัตว์ชนิดใด โดยมากเป็นสัตว์ที่มีลำตัวยาวคล้ายงูหรือมังกรขนาดใหญ่ การพบเห็นและพิสูจน์งูทะเลได้รับรายงานเป็นเวลาหลายร้อยปีและยังคงอ้างว่าพบเห็นในทุกวันนี้ นักสัตว์ลึกลับวิทยา บรูซ แคมเพจน์ ระบุว่ามีมากกว่า 1,200 รายที่พบเห็นงูทะเล (แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันได้ชัดเจน) ปัจจุบันเชื่อกันว่าการพบสัตว์ที่มีลักษณะดังกล่าวสามารถอธิบายได้ดีที่สุดว่าเป็นสัตว์ที่รู้จักกันดี เช่น ปลาปอด, ปลาออร์, วาฬหรือปลาฉลาม (โดยเฉพาะปลาฉลามครุย) รวมถึงสัตว์อย่างอื่น เช่น ปลาสเตอร์เจียน, ปลาฉลามบาสกิน, ปลาไหล, สาหร่ายทะเล หรือหมึกยักษ์ นักสัตว์ลึกลับวิทยาบางคนได้ชี้ให้เห็นว่างูทะเลเป็นสัตว์ทะเลในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน เช่น เพลสิโอซอร์, โมซาซอร์ หรือสัตว์เลื้อยคลานทะเลชนิดอื่น ๆ จากมหายุคมีโซโซอิค ซึ่งเป็นแนวความคิดที่มักเกี่ยวข้องกับสัตว์ประหลาดในทะเลสาบเช่น สัตว์ประหลาดล็อกเน.

ใหม่!!: ปลาออร์และงูทะเล (สัตว์ประหลาด) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ปลาออร์และประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ใหม่!!: ปลาออร์และประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ใหม่!!: ปลาออร์และประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์ (New Zealand; มาวรี: Aotearoa หมายถึง "ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว" หรือ Niu Tirenio ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้ - นิวซีแลนด์มีเมืองหลวงชื่อเวลลิงตัน นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มากที่สุด ประเทศที่อยู่ใกล้ที่สุดคือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ 2,000 กิโลเมตร โดยที่มี ทะเลแทสมันกั้นกลาง ดินแดนเดียวที่อยู่ทางใต้คือทวีปแอนตาร์กติกา และทางเหนือคือนิวแคลิโดเนีย ฟิจิ และตองกา นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวตางี (Treaty of Waitangi) เมื่อปี พ.ศ. 2383 ซึ่งได้สัญญาไว้ว่าจะให้สิทธิในการเป็นผู้นำชนเผ่าอย่างเต็มรูปแบบ "complete chieftainship" (tino rangatiratanga) แก่ชาวมาวรีพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ ในปัจจุบันความหมายที่แน่นอนของสนธิสัญญานี้ยังคงเป็นข้อพิพาท และยังคงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความไม่พอใจกันอยู่เนื่องจากมีการแปลสนธิสัญญาทั้งสองฉบับไม่ตรงกัน โดยในฉบับภาษาอังกฤษมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะปกครองประเทศและประชาชนของประเทศ ในขณะที่ในฉบับภาษามาวรีมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะเป็นฝ่ายสนับสนุนการปกครองของผู้นำที่ชาวมาวรีพึงใจให้ปกครอง ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ปลาออร์และประเทศนิวซีแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทะเลลึก

ปลาไหลกัลเปอร์หนึ่งในปลาน้ำลึกรูปร่างประหลาด ปลาทะเลลึก (Deep sea fish) คือปลาที่พบได้ในทะเลลึกและแสงแดดส่องไม่ถึงจากการสำรวจปลาทะเลลึกนั้นจะมีจำนวนคิดเป็น 2% จากสายพันธ์และสิ่งมีชีวิตในทะเลทั้งหมดโดยพวกมันจะอาศัยอยู่ในก้นสมุทรที่มืดมิด โดยทั่วไปปลาทะเลลึกจะพบอยู่ได้ตั้งแต่ความลึก 1,000-4,000 เมตรหรือบางชนิดอาจอยู่ได้ลึกถึง 4,000-6,000 เมตร ปลาที่เรืองแสงได้ส่วนใหญ่จะพบในระดับความลึกประมาณ 200-1,000 เมตร ระดับความลึกที่มีออกซิเจนน้อยมากจะอยู่ที่ระดับ 700-1,000 เมตรแต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานที่นั้นด้วยว่ามีแหล่งผลิตออกซิเจนหรือไม่ ซึ่งจากความลึกของสถานที่แห่งนั้นมีทั้งความมืดมิดและหนาวเย็นถึง 3 องศาเซลเซียสจนถึง -1.8 องศาเซลเซียส อีกทั้งยังมีแรงกดดันของน้ำจำนวนมหาสารขนาดความดันระหว่าง 20 ถึง 1,000 เท่าของบรรยากาศ (ระหว่าง 2 ถึง 100 megapascals)จึงเป็นสถานที่ ๆ ยากต่อการสำรวจ ปลาทะเลลึกนั้นจะมีการปรับตัวให้ใช้พลังงานน้อยลง ขนาดเล็กลง มีปากและกระเพาะขนาดใหญ่ มีการเรืองแสงเพื่อหลอกล่อเหยือซึ่งแตกต่างจากปลาผิวน้ำแต่ถึงอย่างนั้นโครงสร้างทางกายภาพเช่นการหายใจ ขับน้ำ การหายใจยังคงเหมือนปลาทะเลแต่จะมีการวิวัฒนาการแปลก ๆ เพื่อให้พวกมันสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แต่ถึงอย่างนั้นทะเลลึกก็ยังมี่แหล่งอาหารจากปล่องแบบน้ำร้อนและซากสัตย์จากทะเลด้านบน.

ใหม่!!: ปลาออร์และปลาทะเลลึก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาออร์และปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

แพลงก์ตอน

แพลงก์ตอน แพลงก์ตอน (plankton) มาจากคำว่า πλανκτος ("planktos") ในภาษากรีกแปลว่า wanderer หรือผู้ท่องเที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย คือสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ที่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ไม่สามารถว่ายน้ำไปยังทิศทางที่ต้องการอย่างอิสร.

ใหม่!!: ปลาออร์และแพลงก์ตอน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง (မဲခေါင်မြစ်; ແມ່ນ້ຳຂອງ; ទន្លេដ៏ធំ; Mê Kông) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านบริเวณที่ราบสูงทิเบตและมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ หลานชางเจียง (จีนตัวย่อ: 澜沧江, จีนตัวเต็ม: 瀾滄江) แปลว่า "แม่น้ำที่มีความเชี่ยวกราก" และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงได้แก่ ปลาบึก.

ใหม่!!: ปลาออร์และแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

โลกตะวันตก

ลกตะวันตก (Western world และอาจเรียก The West หรือ Occident) เป็นคำซึ่งใช้กล่าวถึงประเทศได้หลายประเทศ โดยประเทศที่หมายถึงอาจแตกต่างกันไปตามบริบทของการใช้คำศัพท์ นอกจากนี้เป็นคำซึ่งมีคำจำกัดความอยู่มากมาย, Our Tradition; James Kurth; accessed 30 August 2011 แนวคิดส่วนของโลกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกมีรากฐานมาจากอารยธรรมกรีกโรมันในยุโรปและการกำเนิดของศาสนาคริสต์Cambridge University Historical Series, An Essay on Western Civilization in Its Economic Aspects, p.40: Hebraism, like Hellenism, has been an all-important factor in the development of Western Civilization; Judaism, as the precursor of Christianity, has indirectly had had much to do with shaping the ideals and morality of western nations since the christian era.

ใหม่!!: ปลาออร์และโลกตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ไทยสยาม

ทยสยาม (Thai Siam) โดยทั่วไปหมายถึง คือกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งพูดภาษาไทยกลาง หรือมี เชื้อชาติไทยสยามผสมอยู่ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และอาศัยกระจายอยู่ในประเทศอื่นทั่วโลก โดยคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาคริสต์ ในความหมายทางชาติพันธุ์ ใช้เฉพาะเจาะจงถึงคนไทยภาคกลาง หรือเดิมเรียกว่า ชาวสยาม แต่ในความหมายมุมกว้าง สามารถหมายความครอบคลุมถึง กลุ่มชาติพันธุ์ไทย อื่นๆ ทั้งนอกและในราชอาณาจักร เช่น ไทยโคราช ไทยอีสาน ไทยโยเดีย หรือ ไทยเกาะกง เช่นกัน.

ใหม่!!: ปลาออร์และไทยสยาม · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์มิวดา

อร์มิวดา เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาห่างจากรัฐนอร์ทแคโรไลนาไปทางตะวันออก 580 ไมล์ เบอร์มิวดาเป็นดินแดนโพ้นทะเลที่เก่าแก่ที่สุดของสหราชอาณาจักร ที่ยังคงเหลืออยู่ โดยมีชาวอังกฤษมาตั้งรกรากก่อนการรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรถึงสองศตวรรษ โดยค้นพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1609).

ใหม่!!: ปลาออร์และเบอร์มิวดา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

OarfishRegalecus glesneออร์ฟิชปลาออร์ฟิช

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »