โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การรู้จำอักขระด้วยแสง

ดัชนี การรู้จำอักขระด้วยแสง

การรู้จำอักขระด้วยแสง (optical character recognition) หรือมักเรียกอย่างย่อว่า โอซีอาร์ (OCR) คือกระบวนการทางกลไกหรือทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแปลภาพของข้อความจากการเขียนหรือจากการพิมพ์ ไปเป็นข้อความที่สามารถแก้ไขได้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ การจับภาพอาจทำโดยเครื่องสแกนเนอร์ กล้องดิจิทัล โอซีอาร์เป็นสาขาวิจัยในการรู้จำแบบ, ปัญญาประดิษฐ์, และคอมพิวเตอร์วิทัศน์ แม้การวิจัยเชิงวิชาการในสาขายังคงดำเนินอยู่ แต่จุดเน้นในสาขาโอซีอาร์ได้เปลี่ยนไปสู่การสร้างระบบที่ใช้ได้จริงจากเทคนิคที่พิสูจน์แล้ว การรู้จำอักขระด้วยแสง (การใช้เทคนิคทางแสง เช่นกระจกและเลนส์) การรู้จำอักขระทางดิจิทัล (การใช้เทคนิคทางดิจิทัล เช่นสแกนเนอร์และอัลกอริธึมคอมพิวเตอร์) เดิมเคยเป็นสาขาที่แยกจากกัน แต่เนื่องจากเหลือการใช้งานน้อยมากที่ใช้เฉพาะเทคนิคทางแสง คำว่า โอซีอาร์ ในปัจจุบันจึงกินความกว้างถึงการประมวลผลภาพทางดิจิทัลด้วยเช่นกัน ระบบในสมัยเริ่มแรกต้องการการฝึกฝน (สอนตัวอย่างที่รู้จักแล้วของแต่ละตัวอักษร) เพื่ออ่านฟอนต์หนึ่ง ๆ ปัจจุบัน ระบบ "อัจฉริยะ" ที่สามารถอ่านฟอนต์ส่วนใหญ่ได้แม่นยำสูงนั้นสามารถพบได้ทั่วไป บางระบบถึงกับสามารถคงรูปแบบการจัดหน้าเดิมไว้ได้เกือบหมด ซึ่งรวมถึง รูปภาพ การแบ่งคอลัมน์ และส่วนประกอบที่ไม่ใช่ข้อความอื่น ๆ หมวดหมู่:โปรแกรมประยุกต์ปัญญาประดิษฐ์ หมวดหมู่:โปรแกรมประยุกต์คอมพิวเตอร์วิทัศน์ หมวดหมู่:การระบุและการยึดเก็บข้อมูลอัตโนมัติ หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:ยูนิโคด หมวดหมู่:สัญลักษณ์.

4 ความสัมพันธ์: กล้องดิจิทัลการรู้จำแบบคอมพิวเตอร์วิทัศน์ปัญญาประดิษฐ์

กล้องดิจิทัล

กล้องดิจิทัลเทียบขนาดกับกล่องไม้ขีดไฟ กล้องดิจิทัลชนิดเลนส์สะท้อนเดี่ยว จะมีขนาดใหญ่กว่ากล้องดิจิทัลแบบพกพา กล้องดิจิทัล เป็นกล้องถ่ายรูปที่ใช้ระบบดิจิทัล โดยเก็บรูปภาพลงในสื่ออิเล็กทรอนิกส์เช่น เอสดีการ์ด หรือ คอมแพ็กต์แฟลช เป็นกล้องที่เก็บบันทึกภาพโดยไม่ใช้ฟิล์ม หากแต่เป็นกล้องที่บันทึกภาพโดยอยู่ในรูปของข้อมูลดิจิตอล (1 / 0) กล้องดิจิตอล มีวิวัฒนาการจากเทคโนโลยีอะนาล็อกที่ใช้กับเครื่องอัดวิดีโอเทป หรือวีทีอาร์ ที่ใช้บันทึกภาพจากโทรทัศน์ แปลงข้อมูลเป็นกระแสไฟฟ้าดิจิตอล ไปบันทึกบนเทปแม่เหล็กห้องทดลอง บิงครอสบีที่มี นายจอห์น มูลลิน วิศวกร เป็นหัว หน้าทีมในปี 2494 (ค.ศ.1956) สร้าง สรรค์เทคโนโลยี วีทีอาร์ยุคแรกนี้ และพัฒนาต่อเป็นนวัตกรรมใหม่ ชื่อ วีอาร์ 1000 ใช้ในวงการโทรทัศน์อย่างแพร่หลาย โดยทีมงานของชาร์ลส์ พี.

ใหม่!!: การรู้จำอักขระด้วยแสงและกล้องดิจิทัล · ดูเพิ่มเติม »

การรู้จำแบบ

การรู้จำแบบ (pattern recognition) เป็นสาขาย่อยหนึ่งของ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นศาสตร์ที่มีจุดประสงค์ในเพื่อการจำแนก วัตถุ (objects) ออกเป็นประเภท (classes) ตาม รูปแบบของวัตถุ โดยในการคำนวณจะมีการใช้เทคนิคจากสาขาอื่น ๆ มากมาย เช่น การประมวลผลสัญญาณ ปัญญาประดิษฐ์ และสถิติ รูปแบบ (pattern) ในที่นี้หมายถึง รูปร่าง หรือ คุณลักษณะ ของวัตถุ ที่เราสนใจ โดยวัตถุนั้นอาจเป็น รูปธรรม หรือ นามธรรม ก็ได้ หรือจะเป็นรูปแบบ ที่กระจายบนพื้นที่ หรือ เปลี่ยนแปลงตามเวลา ก็ได้.

ใหม่!!: การรู้จำอักขระด้วยแสงและการรู้จำแบบ · ดูเพิ่มเติม »

คอมพิวเตอร์วิทัศน์

อมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับการดึงสารสนเทศจากรูปภาพหรือวีดิทัศน์ เครื่องมือที่ใช้ในคอมพิวเตอร์วิทัศน์ได้แก่ คณิตศาสตร์โดยเฉพาะ เรขาคณิต พีชคณิตเชิงเส้น สถิติ และ การวิจัยดำเนินงาน (การหาค่าเหมาะที่สุด) และการวิเคราะห์เชิงฟังก์ชัน โดยเครื่องมือเหล่านี้ใช้ในการสร้างขั้นตอนวิธีหรือ ขั้นตอนวิธี ในการแยกส่วนภาพ และ การจัดกลุ่มภาพเพือให้คอมพิวเตอร์สามารถ "เข้าใจ" ทัศนียภาพ หรือคุณลักษณะต่าง ๆ ในภาพ เป้าหมายโดยทั่วไปของคอมพิวเตอร์วิทัศน์ได้แก.

ใหม่!!: การรู้จำอักขระด้วยแสงและคอมพิวเตอร์วิทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

ปัญญาประดิษฐ์

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่น ๆ อย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง แม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่แนวคิดหลาย ๆ อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่นๆ เช่น.

ใหม่!!: การรู้จำอักขระด้วยแสงและปัญญาประดิษฐ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

OCRซอฟต์แวร์รู้จำตัวอักษรโอซีอาร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »