โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อ้นใหญ่

ดัชนี อ้นใหญ่

อ้นใหญ่ (Bamboo rat, Large bamboo rat, Indomalayan bamboo rat) เป็นสัตว์ฟันแทะที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhizomys sumatrensis อยู่ในวงศ์ Spalacidae มีลำตัวกลมอ้วนป้อมสีน้ำตาล มีตาและหูเล็กมาก ขาและหางสั้น เพื่อความสะดวกในการขุดโพรงอยู่ใต้ดิน อาศัยอยู่ใต้ดิน หรือโพรงไม้ มีฟันแทะคู่หน้ามีขนาดใหญ่เห็นได้ชัด กินหน่อไม้และไม้ไผ่เป็นอาหาร มีการแพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าไผ่หรือป่าโปร่ง ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยในโพรงจะมีด้วยกันหลายห้อง ใช้ประโยชน์ต่างกัน อ้นใหญ่นับเป็นอ้น 1 ใน 3 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วย อ้นใหญ่, อ้นกลาง (R. pruinosus) และอ้นเล็ก (Cannomys badius) อ้นใหญ่นับเป็นอ้นชนิดที่ใหญ่ที่สุด โดยวัดจากปลายหัวจรดปลายหางได้ถึง 48 เซนติเมตร เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ในประเทศไทย ที่วัดหนองปรือ จังหวัดกำแพงเพชร พระสงฆ์ที่พำนักอยู่ที่วัดแห่งนี้ได้ทำการเลี้ยงดูอ้นใหญ่จำนวนกว่า 10 ตัวในบ่อปูนซีเมนต์ ความสูงประมาณ 150 เซนติเมตร โดยทำการเลี้ยงมานานกว่า 6 ปี จนกระทั่งเชื่อง สามารถอุ้มเล่นได้ ให้อาหารเป็นมันแกวกับข้าวโพด ตัวที่ใหญ่ที่สุดมีความยาวประมาณ 50-60 เซนติเมตร น้ำหนักมากกว่า 8 กิโลกรัม โดยเริ่มจากขอซื้อจากชาวบ้านที่กำลังจะฆ่าเพื่อนำไปรับประทานเป็นอาหาร.

23 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2364การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามมันแกววงศ์ย่อยอ้นวงศ์อ้นสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ป่าคุ้มครองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสีน้ำตาลหน่อไม้อันดับสัตว์ฟันแทะอ้นอ้น (สกุล)อ้นกลางอ้นเล็กจิตรกรรมข้าวโพดประเทศไทยไผ่เมตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

พ.ศ. 2364

ทธศักราช 2364 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1821.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และพ.ศ. 2364 · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

มันแกว

มันแกว (Jícama) เป็นพืชตระกูลถั่ว มีชื่อทวินามว่า "Pachyrhizus erosus (L.) Urbar" ลักษณะต้นเป็นเถาเลื้อย หัวอวบใหญ่ โคนตันเนื้อแข็ง ใบประกอบด้วย 3 ใบย่อยมีจักใหญ่ ดอกมีสีขาวหรือชมพูเป็นช่อ เมล็ดมีสีเหลือง สีน้ำตาล หรือสีแดงลักษณะสี่เหลี่ยมจตุรัสแบน โดยต้นมันแกว 1 ต้นมีเพียงหัวเดียว ส่วนที่ใช้รับประทานคือส่วนของรากแก้ว ชาวเม็กซิโกชอบรับประทานมันแกวตั้งแต่สมัยอารยธรรมมายาและแอซเต็ก นิยมใช้เป็นอาหารว่าง ใส่น้ำมะนาว พริกผง และเกลือ มันแกวเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในหลายพื้นที่เช่นในแถบอเมริกากลาง แอฟริกาตะวันออก และในประเทศแถบทวีปเอเชียคือ ฟิลิปปนส์ อินเดีย จีน อินโดจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ในประเทศไทยมันแถวมีอยู่ 2 ชนิดคือ พันธุ์หัวใหญ่ และพันธุ์หัวเล็ก อาจจะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแต่ภูมิภาคได้แก่ ภาคใต้เรียกว่า "หัวแปะกัวะ" ภาคเหนือเรียกว่า "มันละแวก" "มันลาว" ส่วนภาคอีสานเรียกว่า "มันเพา" นอกจากนี้ยังอาจเรียกด้วยชื่ออื่นๆ เช่น "เครือเขาขน" "ถั้วบ้ง" และ"ถั่วกินหัว" ส่วนหัวของมันแกว (รากแก้ว) เป็นส่วนที่ใช้รับประทาน ลักษณะภายนอกมีสีน้ำตาลอ่อนภายในมีสีขาว เมื่อเคี้ยว รู้สึกกรอบคล้ายลูกสาลี่สด อีกทั้งยังมีรสคล้ายแป้งแต่ออกหวาน โดยทั่วไปจะรับประทานสดๆ หรือจิ้มกับพริกเกลือ แล้วยังสามารถนำไปประกอบอาหารได้ทั้งคาวและหวานอีกด้วย เช่น แกงส้ม แกงป่า ผัดเปรี้ยวหวาน ผัดไข่ เป็นส่วนผสมของไส้ซาลาเปา และทับทิมกรอบ แต่ในทางกลับกัน ต้นมันแกวสามารถใช้เป็นยากำจัดศัตรูพืช โดยใช้ส่วนของเมล็ด ฝักแก่ ลำต้น และราก แต่ส่วนเมล็ดจะมีสารพิษมากที่สุด ทำให้มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงดีที่สุด นอกจากนั้นถ้ามนุษย์รับประทานเมล็ดเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งถ้าได้รับในปริมาณมาก สารพิษ Routinone จะกระตุ้นระบบหายใจ แล้วกดการหายใจ ชัก และอาจเสียชีวิตได้ คุณค่าทางอาหารของมันแกวนั้นประกอบด้วยน้ำ 90.5% โปรตีน 0.9% คาร์โบไฮเดรต 7.6% โดยรสหวานนั้นมาจาก oligofructose ซึ่ง inulin ในร่างกายของมนุษย์ ไม่สามารถเผาผลาญได้ ดังนั้นมันแกวจึงเหมาะสำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ควบคุมน้ำหนัก มันแกวควรเก็บในที่แห้ง อุณหภูมิระหว่าง 12 - 16 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่านี้จะทำให้ส่วนรากช้ำได้ ถ้าเก็บรักษาถูกวิธีสามารถอยู่ได้นานถึง 1-2 เดือน.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และมันแกว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยอ้น

วงศ์ย่อยอ้น (Bamboo rat, Root rat, Mole-rat) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกฟันแทะวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhizomyinae (เดิมใช้ชื่อว่า Rhizomyidae) เป็นวงศ์ย่อยอยู่ในวงศ์ใหญ่ Spalacidae เป็นวงศ์ที่มีความใกล้ชิดกับวงศ์ย่อย Spalacinae ซึ่งเป็นสัตว์ฟันแทะที่พบในทวีปแอฟริกาและภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยรวมสมาชิกทั้งหมดในวงศ์นี้ เป็นสัตว์ที่มีลำตัวอ้วนป้อม เคลื่อนที่ได้ช้า มีใบหูและดวงตาขนาดเล็ก ในสกุล Rhizomys จัดเป็นสกุลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวตั้งแต่ 150-480 มิลลิเมตร (เฉพาะส่วนหัวและลำตัว) กับความยาวหางตั้งแต่ 50-200 มิลลิเมตร และน้ำหนักตั้งแต่ 150 กรัมถึง 4 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับชนิด ส่วนใหญ่กินลำต้นหรือส่วนหัวของพืชที่อยู่ใต้ดินเป็นอาหาร โดยขึ้นจากโพรงมาหาอาหาร มักไม่ค่อยออกจากโพรงหากไม่ใช่เป็นการหาอาหาร ระยะเวลาในการออกหากินในช่วงโพล้เพล้หรือกลางคืน ขนาดของโพรงกว้างขวางและแบ่งออกเป็นห้องต่าง ๆ ได้หลายห้อง มีความคล้ายคลึงกับโกเฟอร์กระเป๋า แต่ไม่มีกระพุ้งแก้มใช้สำหรับเก็บอาหาร ทั้งหมดถือเป็นศัตรูพืชทางการเกษตร โดยจะกัดกินทำลายพืชผลทางการเกษตรจึงถูกตามล่าและถูกจับเพื่อรับประทานเป็นอาหาร โดยมีความเชื่อว่าช่วยในการบำรุงกำลัง ในขณะที่หนังของชนิดที่พบในทวีปแอฟริกันจะถูกใช้เป็นเครื่องราง.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และวงศ์ย่อยอ้น · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์อ้น

วงศ์อ้น หรือ วงศ์หนูตุ่น (Mole rat, Bamboo rat) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์ฟันแทะวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Spalacidae (/สปา-ลา-ซิ-ดี/) จัดเป็นสัตว์ฟันแทะขนาดกลาง มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับหนูตะเภาหรือตุ่น ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ต่างอันดับกัน มีการดำรงชีวิตคล้ายกับตุ่น คือ ขุดโพรงอยู่ใต้ดิน ในโพรงมีทางเข้าออกหลายทาง ซึ่งในโพรงนั้นเป็นแบ่งเป็นห้อง ๆ ทั้งที่อยู่อาศัย, เลี้ยงดูลูกอ่อน และเก็บสะสมอาหาร และไม่รวมฝูงกับสัตว์ฟันแทะในวงศ์อื่น กินอาหารจำพวกรากพืชชนิดต่าง ๆ และพืชบางประเภท เช่น ไผ่ ในเวลากลางคืน มีลักษณะโดยรวม คือ มีขาสั้น มีหัวกะโหลกที่กลมสั้น มีกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรง ฟันหน้าใหญ่ และดวงตาเรียวเล็ก กรงเล็บหน้าขยายใหญ่โตมากใช้สำหรับขุดดิน หูและหางมีขนาดเล็กมาก หรือบางชนิดไม่มีเลย สัตว์ในวงศ์นี้ มีอายุการตั้งท้องแตกต่างออกไปตามแต่ละชนิด แต่ลูกอ่อนเมื่อเกิดออกมาตาจะยังไม่ลืม และขนจะยังไม่ปกคลุมลำตัว จะยังดูดนมแม่เป็นเวลาหลายเดือน ก่อนจะแยกออกไป แต่ในบางชนิด ก็จะแยกตัวออกไปทันที พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่ไซบีเรีย, เอเชียกลาง, เอเชียตะวันออก, เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในทวีปแอฟริกา แบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้ 3 วงศ์ 6 สกุล (ดูในตาราง) พบประมาณ 37 ชนิดCorbet, Gordon (1984).

ใหม่!!: อ้นใหญ่และวงศ์อ้น · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ป่าคุ้มครอง

ัตว์ป่าคุ้มครอง หมายถึง สัตว์ป่าเพื่อการอนุรักษ์ ตามบัญชีแนบท้าย กฎกระทรวง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง..

ใหม่!!: อ้นใหญ่และสัตว์ป่าคุ้มครอง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำตาล

ีน้ำตาล (Brown) เป็นสีชนิดหนึ่งที่คล้ายกับสีของลำต้นของต้นไม้ ออกสีส้มแก่ๆ ผสมกับสีเขียวไปด้วย พบเห็นได้ทั่วไป เช่น กิ่งและลำต้นของต้นไม้ เป็นต้น เป็นสีที่ไม่ค่อยจะสะท้อนแสงเท่าไรนัก จัดอยู่ในกลุ่มจำพวกสีเย็น.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

หน่อไม้

หน่อไม้ เป็นคำที่ใช้เรียกหน่ออ่อนของไผ่ที่รับประทานได้ที่แตกจากเหง้าใต้ดิน โดยมาจากสปีชีส์ Bambusa vulgaris และ Phyllostachys edulis นิยมรับประทานในทวีปเอเชียหลายประเทศ และมีวิธีการปรุงที่หลากหล.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และหน่อไม้ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์ฟันแทะ

อันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodent, ชื่อวิทยาศาสตร์: Rodentia) เป็นอันดับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับหนึ่ง ที่มีความหลากหลายมาก ใช้ชื่ออันดับว่า Rodentia ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีฟันหน้าในขากรรไกรบน 2 ซี่ และขากรรไกรล่าง 2 ซี่ ลักษณะของฟันหน้ามีรูปร่างคล้ายสิ่ว มีความแข็งแรงมาก ใช้สำหรับกัด ขุด และแทะอาหาร ไม่มีฟันเขี้ยว ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันหน้าและฟันหน้ากราม ผิวเคลือบทางด้านนอกของฟันหน้าเป็นอีนาเมล จึงทำให้ฟันแข็งแรง นอกจากนี้ฟันหน้าของสัตว์ในอันดับนี้ยังเป็นรูทเลสส์ โดยที่ฟันจะไม่หยุดการเจริญเติบโต เฉลี่ย 12 เซนติเมตรครึ่งต่อปี เนื่องจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงฟันตลอดเวลา จึงต้องแทะฟันเสมอ ๆเพื่อให้ฟันสึกกร่อน มิฉะนั้นฟันจะทะลุออกมานอกปาก ทำให้การหุบปากและการกินอาหารลำบากทำให้อดตายได้ รูปร่างลักษณะภายนอกของสัตว์ในอันดับนี้แตกต่างกัน รวมทั้งแหล่งอาศัย บางจำพวกก็อาศัยอยู่บนต้นไม้ ขุดรูอยู่ใต้ดินหรือบนดิน เช่นเดียวกับชนิดของอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นผลไม้เปลือกแข็ง, เมล็ดไม้, รากไม้ หรือกินทุกสิ่งทุกอย่างทั้งพืชและเนื้อสัตว์ ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ หนู, กระรอก, เม่น, บีเวอร์ เป็นต้น พบกระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทั่วโลก ในภูมิประเทศที่หลากหลาย ขณะที่กระต่าย, กระแตและตุ่นหรือหนูผี หรือชูการ์ไกลเดอร์ แม้จะมีรูปลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก สัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ หนูจิ๋วแอฟริกัน (Mus minutoides) พบในทวีปแอฟริกา ที่มีขนาดใหญ่เต็มที่จากส่วนหัวจรดปลายหาง 30-80 มิลลิเมตร (1.2-3.1 นิ้ว) ความยาวหาง 20-40 มิลลิเมตร (0.79-1.6 นิ้ว) น้ำหนักประมาณ 3-12 กรัม (0.11-0.42 ออนซ์) และที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ คาปิบารา (Hydrochoerus hydrochaeris) พบในอเมริกาใต้ ที่มีน้ำหนักได้มากถึง 65 กิโลกรัม และมีรายงานว่าพบมากถึง 91 กิโลกรัม.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และอันดับสัตว์ฟันแทะ · ดูเพิ่มเติม »

อ้น

อ้น หรือ หนูอ้น (Bamboo rat, Root rat) เป็นสัตว์ฟันแทะจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในเผ่า Rhizomyini ในวงศ์ย่อย Rhizomyinae ในวงศ์ Spalacidae มีรูปร่างคล้ายหนูขนาดใหญ่ มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวกลม อ้วน ป้อม ขนสีน้ำตาล ตาและหูเล็กมาก ขาและหางสั้นไม่มีขน อาศัยอยู่ใต้ดินหรือโพรงไม้ฟันแทะคู่หน้ามีขนาดใหญ่เห็นได้ชัด มีทั้งหมด 4 ชนิด ใน 2 สกุล ที่พบในทวีปเอเชีย แถบภูมิภาคเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีนตอนใต้ ได้แก.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และอ้น · ดูเพิ่มเติม »

อ้น (สกุล)

อ้น (Bamboo rat, Root rat) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกสัตว์ฟันแทะในสกุล Rhizomys ในวงศ์ Spalacidae (หรือ Rhizomyidae) มีรูปร่างโดยรวม คือ มีรูปร่างอ้วนป้อมคล้ายหนูตะเภา ใบหูเล็ก ดวงตาเล็ก ขนตามลำตัวสีน้ำตาล มีฟันแทะที่แข็งแรง แลเห็นได้ชัดเจน มีขาและหางสั้นไม่มีขน แพร่กระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชียตั้งแต่อินเดีย, จีนตอนใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำรังโดยการขุดรูอยู่ใต้ดินหรือในโพรงไม้ แบ่งออกเป็นห้องได้หลายห้อง กินพืชหลายชนิดเป็นอาหาร มีขนาดใหญ่สุดได้ถึง 60 เซนติเมตร น้ำหนักมากกว่า 8 กิโลกรัม.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และอ้น (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

อ้นกลาง

อ้นกลาง (Hoary bamboo rat) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ในวงศ์ Rhizomyinae เป็นอ้นขนาดกลาง มีรูปร่างคล้ายอ้นชนิดอื่นทั่วไป มีความยาวจากปลายจมูกถึงรูทวาร ประมาณ 26-35 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในป่าไผ่ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของจีน, ในประเทศไทย ในภาคเหนือ แนวป่าตะวันตกและตามแนวเขาหินปูนในภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ และหลายประเทศในภูมิภาคอินโดจีน.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และอ้นกลาง · ดูเพิ่มเติม »

อ้นเล็ก

อ้นเล็ก (Lesser bamboo rat) เป็นสัตว์ฟันแทะในอยู่ในวงศ์ย่อย Rhizomyinae ในวงศ์ Spalacidae จัดเป็นอ้นชนิดที่มีขนาดเล็กที่สุด และจัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในสกุล Cannomys มีความแตกต่างไปจากอ้นที่อยู่ในสกุล Rhizomys คือ ฝ่าเท้าจะเรียบ และมีลายสีขาวบริเวณหน้าผากและหัวคล้ายหนูตะเภา ในขณะที่มีขนอ่อนนุ่มสีน้ำตาล โดยขนที่ท้องจะมีสีเข้มกว่าขนที่หลัง มีความยาวตั้งแต่ปลายจมูกจรดหางประมาณ 15-30 เซนติเมตร หางมีขนาดสั้นยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยประมาณ 0.5 กิโลกรัม มีจุดเด่นคือ ฟันแทะคู่หน้าที่ยาวอย่างเห็นได้ชัดเจน ใช้สำหรับขุดโพรงใต้ดินเพื่ออยู่อาศัยและใช้กัดแทะอาหาร ซึ่งได้แก่ ไม้ไผ่และหน่อไม้ รวมถึงผลไม้ประเภทต่าง ๆ ด้วยที่หล่นบนพื้นดิน บริเวณปากโพรงที่อ้นอยู่อาศัยจะมีกองดินปิดไว้ มักจะขุดโพรงในป่าบริเวณใกล้แหล่งน้ำหรือบริเวณที่เป็นป่าไผ่ ออกหากินในเวลากลางคืนและพลบค่ำ ออกลูกครั้งละ 3-5 ตัว พบกระจายพันธุ์ในอนุทวีปอินเดียตั้งแต่ เนปาล, บังกลาเทศ, รัฐอัสสัมในอินเดีย, ภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์อยู่เหนือบริเวณคอคอดกร.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และอ้นเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรม

มนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก โดย นายชัยยะนุช จิตรกรรม (painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวโพด

ลักษณะของข้าวโพด ''Zea mays "fraise"'' ''Zea mays "Oaxacan Green"'' ''Zea mays "Ottofile giallo Tortonese”'' ข้าวโพด (Linn.) ชื่ออื่นๆ ข้าวสาลี สาลี (เหนือ) คง (กระบี่) โพด (ใต้) บือเคเส่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้ามีลำต้นสูง โดยเฉลี่ย 2.2 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 0.5-2.0 นิ้ว เมล็ดจากฝักใช้เป็นอาหารคนและสัตว.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และข้าวโพด · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ไผ่

ผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า (วงศ์ Poaceae; เดิมคือวงศ์ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra Munro) ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และไผ่ · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: อ้นใหญ่และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Nyctoclepte dekanRhizomys sumatrensis

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »