โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การล่าวาฬในญี่ปุ่น

ดัชนี การล่าวาฬในญี่ปุ่น

นิชชิงมะรุ (Nisshin Maru) ออสเตรเลียเผยแพร่ภายนี้เพื่อคัดค้านญี่ปุ่น การล่าวาฬในญี่ปุ่น (whaling in Japan) หมายถึงกรณีที่ไม่ได้เป็นไปเพื่ออุตสาหกรรม มีขึ้นในศตวรรษที่ 12 ส่วนการล่าวาฬญี่ปุ่น (Japanese whaling) หมายถึงกรณีที่เป็นไปเพื่ออุตสาหกรรม มีขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 1890 ในสมัยนั้นมีหลายชาติเข้าร่วม และปัจจุบันเกิดขึ้นแม้กระทั่งนอกเหนือน่านน้ำญี่ปุ่น ในศตวรรษที่ 20 ญี่ปุ่นล่าวาฬเพื่อการค้าอย่างมาก จนคณะกรรมการการล่าวาฬระหว่างประเทศ (International Whaling Commission) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อควบคุมการล่าวาฬ (International Convention for the Regulation of Whaling) ต้องสั่งระงับตั้งแต่ปี 1986 อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นยังคงล่าวาฬต่อไปโดยอาศัยข้อบทแห่งความตกลงระหว่างประเทศที่เปิดให้กระทำได้เพื่อการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และได้จัดตั้งสถาบันวิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล (Institute of Cetacean Research) ขึ้นเพื่อรับผิดชอบการล่าวาฬ แต่เนื้อของวาฬที่ล่ามาเพื่อวิทยาศาสตร์นั้นกลับนำออกขายตามภัตตาคารร้านรวงทั่วไป แม้การกระทำดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎเกณฑ์ของคณะกรรมการการล่าวาฬระหว่างประเทศ แต่กรรมการส่วนใหญ่คัดค้าน การล่าวาฬนี้ยังก่อให้เกิดความบาดหมางระหว่างประเทศและองค์การที่สนับสนุนและต่อต้านการล่าวาฬ บรรดาประเทศ องค์การ และนักวิทยาศาสตร์ที่คัดค้านการล่าวาฬมองว่า โครงการวิจัยของญี่ปุ่นนั้นไม่จำเป็นแม้แต่น้อย ทั้งปฏิบัติการล่าวาฬของญี่ปุ่นที่แฝงความมุ่งหมายทางการค้าเอาไว้นั้นยังเลวร้ายอย่างถึงที่สุด ฝ่ายญี่ปุ่นยืนยันว่า การล่าวาฬทุกปีนั้นจำเป็นเพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และการบริหารจำนวนวาฬ ญี่ปุ่นยังโต้แย้งว่า การคัดค้านการล่าวาฬนั้นมีเหตุผลเป็นเพียงความแตกต่างทางวัฒนธรรมและความรู้สึกนึกคิด วันที่ 31 พฤษภาคม 2010 ประเทศออสเตรเลียฟ้องญี่ปุ่นต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ต่อมาวันที่ 31 มีนาคม 2014 ศาลพิพากษาว่า การที่ญี่ปุ่นล่าวาฬในมหาสมุทรใต้นั้นไม่ได้เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ทางวิทยาศาสตร์ และสั่งให้เลิกโดยพลัน ญี่ปุ่นแถลงว่า จะปฏิบัติตามคำพิพากษ.

3 ความสัมพันธ์: มหาสมุทรใต้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเดอะเฮก

มหาสมุทรใต้

มหาสมุทรใต้(2002). มหาสมุทรใต้ (Southern Ocean) หรือที่รู้จักกันในชื่อ มหาสมุทรแอนตาร์กติก (Antarctic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่อยู่ล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นที่สุดท้ายที่องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization) นิยามให้เป็นมหาสมุทรเมื่อปี พ.ศ. 2543 แม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับกันมาก่อนหน้านั้นในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการสมุทรศาสตร์นานแล้ว โดยในอดีต มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย มีขอบเขตไกลลงไปถึงทวีปแอนตาร์กติกา มหาสมุทรใต้มีรูปร่างเป็นวงกลมล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา นับจากละติจูด 60° ใต้ ลงไปถึงชายฝั่งแอนตาร์กติกา อย่างไรก็ตาม นิยามนี้ไม่ได้ใช้ตรงกันทั่วโลก ในประเทศออสเตรเลีย มหาสมุทรใต้ยังรวมถึงพื้นที่ที่เป็นผืนน้ำระหว่างชายฝั่งทางใต้ของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์กับทวีปแอนตาร์กติกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแผนที่ชายฝั่งของเกาะทัสมาเนียและออสเตรเลียใต้ ที่ระบุพื้นที่นั้นว่าเป็น มหาสมุทรใต้ แทนที่จะเป็น มหาสมุทรอินเดีย ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับกันของคนทั่วไป.

ใหม่!!: การล่าวาฬในญี่ปุ่นและมหาสมุทรใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

ลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice; ICJ) หรือภาษาปากว่า ศาลโลก (World Court) เป็นศาลซึ่งตั้งขึ้นโดยกฎบัตรสหประชาชาติ เมื่อ..

ใหม่!!: การล่าวาฬในญี่ปุ่นและศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะเฮก

อะเฮก หรือ กรุงเฮก (The Hague, Den Haag แด็นฮาค) หรือชื่อทางการภาษาดัตช์คือ สคราเฟินฮาเคอ ('s-Gravenhage) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมืองมีประชากร 500,000 คน (ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2011) เดอะเฮกเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากกรุงอัมสเตอร์ดัมและรอตเทอร์ดาม ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ มีอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและการพิมพ์ เป็นที่ตั้งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกซึ่งตั้งอยู่ที่วังสันติสร้างบริจาคโดยมหาเศรษฐีชาวอเมริกัน ชื่อ แอนดรูว์ คาร์เนกี.

ใหม่!!: การล่าวาฬในญี่ปุ่นและเดอะเฮก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Japanese whalingWhaling in Japan

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »