โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไอโซเมอร์

ดัชนี ไอโซเมอร์

อโซเมอร์ (Isomer) เป็นโมเลกุลที่มีสูตรเคมีเหมือนกันแต่มีโครงสร้างทางเคมีต่างกัน ไอโซเมอร์ 2 ตัวไม่จำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติคล้ายกัน เว้นแต่ว่าไอโซเมอร์ทั้งสองจะอยู่ในหมู่ฟังก์ชันเดียวกัน ไอโซเมอร์มีหลายชนิดเช่น stereoisomers, enantiomers, geometrical isomers, เป็นต้น.

8 ความสัมพันธ์: สูตรเคมีหมู่ฟังก์ชันออกซิเจนอีเทอร์คาร์บอนแอลกอฮอล์ไฮดรอกซิลไฮโดรเจน

สูตรเคมี

ูตรเคมี (chemical formula) เป็นวิธีรวบรัดที่ใช้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับอะตอมที่อยู่ในสารประกอบเคมีนั้นๆ สูตรเคมีจะแสดงเอกลักษณ์ของธาตุเคมีต่างๆ โดยใช้สัญลักษณ์ธาตุ และจำนวนอะตอมของธาตุนั้นๆที่มีอยู่ในหนึ่งโมเลกุลของสารประกอบ จำนวนอะตอมถ้ามีมากกว่าหนึ่งจะแสดงเป็นตัวห้อย (subscript) คือส่วนล่างของบรรทัด ที่อยู่ด้านหลังสัญลักษณ์ธาตุ สำหรับสารประกอบที่ไม่เป็นโมเลกุล ตัวห้อยจะแสดงเป็นอัตราส่วนของธาตุในสูตรเอมพิริคัล (empirical formula) สูตรเคมีที่ใช้สำหรับสารประกอบที่เป็นกลุ่มซีรีส์ซึ่งมีความแตกต่างกันที่ค่าคงที่ค่าหนึ่ง เราเรียกว่า สูตรทั่วไป และกลุ่มซีรี่เราเรียกว่า โฮโมโลกัส ซีรีส์ (homologous series) และสมาชิกในกลุ่มเราเรียกว่า โฮโมลอกส์ (homologs).

ใหม่!!: ไอโซเมอร์และสูตรเคมี · ดูเพิ่มเติม »

หมู่ฟังก์ชัน

หมู่ฟังก์ชัน (functional groups) เป็นส่วนโครงสร้างย่อยของโมเลกุลที่มีองค์ประกอบและโครงสร้างเฉพาะตัว หมู่ฟังก์ชันมักเป็นตัวกำหนดการทำปฏิกิริยาและสมบัติทางเคมีอื่น ๆ ของโมเลกุลที่มีพวกมันเป็นส่วนประกอบ ตารางต่อไปนี้แสดงหมู่ฟังก์ชันนัลที่พบได้บ่อย ๆ ในวิชาเคมีอินทรีย์ สูตรโครงสร้างของหมู่ฟังก์ชันจะใช้สัญลักษณ์ R และ R' แทนกลุ่มของอะตอมใด ๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหมายถึงส่วนที่เหลือของโมเลกุลที่มีหมู่ฟังก์ชันนั้นเป็นส่วนประกอบ Functional groups การรวมชื่อฟังก์ชันนัลกรุป เข้ากับชื่อสารประกอบหลัก อัลเคน (alkane) จะทำให้มีน้ำหนักในระบบการตั้งชื่อสารเคมี (systematic name) เพื่อใช้ตั้งชื่อ สารประกอบอินทรีย์ อะตอมที่ไม่ใช่ไฮโดรเจนในฟังก์ชันนัลกรุป จะเชื่อมต่อซึ่งกันและกันแกบโมเลกุลที่ว่างด้วย โควาเลนต์ บอนด์ (covalent bond) แต่ถ้ากลุ่มของอะตอมเชื่อมต่อกับโมเลกุลว่างด้วยแรง ไอออนิก (ionic forces) กลุ่มของอะตอมนั้นจะถูกเรียกว่า พอลิอะตอมิก ไอออน (polyatomic ion) หรือ คอมเพล็ก ไอออน (complex ion) และทั้งหมดนี้จะถูกเรียกว่า อนุมูลทางเคมี (radical) หรือ อนุมูลอิสระ (free radical) คาร์บอนตัวแรกหลังคาร์บอนที่ติดกับฟังก์ชันนัลกรุปจะเรียกว่า แอลฟ่า คาร์บอน.

ใหม่!!: ไอโซเมอร์และหมู่ฟังก์ชัน · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ใหม่!!: ไอโซเมอร์และออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

อีเทอร์

รงสร้างทั่วไปของอีเทอร์ อีเทอร์ (Ether) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชันเป็น หมู่แอลคอกซี (alcoxy, R–O–R’) มีสูตรทั่วไปเป็น ROR’ มีสูตรโมเลกุลเหมือนแอลกอฮอล์และฟีนอล จึงเป็นไอโซเมอร์โครงสร้างกับแอลกอฮอล์และฟีนอล ตัวอย่างของอีเทอร์ เช่น เมทอกซีมีเทนหรือมีชื่อสามัญคือไดเมทิลอีเทอร์ (CH3OCH3) ซึ่งเป็นไอโซเมอร?โครงสร้างกับเอทานอล (CH3CH2OH).

ใหม่!!: ไอโซเมอร์และอีเทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอน

ร์บอน (Carbon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ C และเลขอะตอม 6 เป็นธาตุอโลหะที่มีอยู่มาก มีวาเลนซ์ 4 และมีหลายอัญรูป.

ใหม่!!: ไอโซเมอร์และคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

แอลกอฮอล์

รงสร้างของแอลกอฮอล์ ในทางเคมี แอลกอฮอล์ (alcohol) คือสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอลคิล สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง) คือ CnH2n+1OH โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ มักจะอ้างถึงเอทานอลเกือบจะเพียงอย่างเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า grain alcohol ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล นอกจากนี้ยังสามารถใช้อ้างถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นที่มาของคำว่าโรคพิษสุรา (alcoholism) เอทานอลเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท ที่ลดการตอบสนองของระบบประสาทส่วนกลาง แอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ จะอธิบายด้วยคำวิเศษณ์เพิ่มเติม เช่น isopropyl alcohol (ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์) หรือด้วยคำอุปสรรคว่า -ol เช่น isopropanol (ไอโซโพรพานอล).

ใหม่!!: ไอโซเมอร์และแอลกอฮอล์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฮดรอกซิล

ำว่า หมู่ไฮดรอกซิล(hydroxyl group) ใช้ในการกล่าวถึงหมู่ฟังก์ชัน -OH ในสารประกอบอินทรีย์ (organic compounds) สารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยหมู่ไฮดรอกซิลเราจะเรียกว่าสารประเภทแอลกอฮอล์ (สูตรเคมีอย่างง่ายของแอลกอฮอล์คือ CnH2n+1 -OH).

ใหม่!!: ไอโซเมอร์และไฮดรอกซิล · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจน

รเจน (Hydrogen; hydrogenium ไฮโดรเจเนียม) เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 1 สัญลักษณ์ธาตุคือ H มีน้ำหนักอะตอมเฉลี่ย 1.00794 u (1.007825 u สำหรับไฮโดรเจน-1) ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุดและพบมากที่สุดในเอกภพ ซึ่งคิดเป็นมวลธาตุเคมีประมาณร้อยละ 75 ของเอกภพ ดาวฤกษ์ในลำดับหลักส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจนในสถานะพลาสมา ธาตุไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหาได้ค่อนข้างยากบนโลก ไอโซโทปที่พบมากที่สุดของไฮโดรเจน คือ โปรเทียม (ชื่อพบใช้น้อย สัญลักษณ์ 1H) ซึ่งมีโปรตอนหนึ่งตัวแต่ไม่มีนิวตรอน ในสารประกอบไอออนิก โปรเทียมสามารถรับประจุลบ (แอนไอออนซึ่งมีชื่อว่า ไฮไดรด์ และเขียนสัญลักษณ์ได้เป็น H-) หรือกลายเป็นสปีซีประจุบวก H+ ก็ได้ แคตไอออนหลังนี้เสมือนว่ามีเพียงโปรตอนหนึ่งตัวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง แคตไอออนไฮโดรเจนในสารประกอบไอออนิกเกิดขึ้นเป็นสปีซีที่ซับซ้อนกว่าเสมอ ไฮโดรเจนเกิดเป็นสารประกอบกับธาตุส่วนใหญ่และพบในน้ำและสารประกอบอินทรีย์ส่วนมาก ไฮโดรเจนเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาเคมีกรด-เบส โดยมีหลายปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนโปรตอนระหว่างโมเลกุลละลายได้ เพราะเป็นอะตอมที่เรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทราบ อะตอมไฮโดรเจนจึงได้ใช้ในทางทฤษฎี ตัวอย่างเช่น เนื่องจากเป็นอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าเพียงชนิดเดียวที่มีผลเฉลยเชิงวิเคราะห์ของสมการชเรอดิงเงอร์ การศึกษาการพลังงานและพันธะของอะตอมไฮโดรเจนได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม มีการสังเคราะห์แก๊สไฮโดรเจนขึ้นเป็นครั้งแรกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการผสมโลหะกับกรดแก่ ระหว่าง..

ใหม่!!: ไอโซเมอร์และไฮโดรเจน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

IsomerIsomerism

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »