โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาวิหารซันตาโกรเช

ดัชนี มหาวิหารซันตาโกรเช

้านหน้าบาซิลิกา ภายใน บาซิลิกาซานตาโครเช (ภาษาอิตาลี: Basilica di Santa Croce; ภาษาอังกฤษ: Basilica of the Holy Cross) เป็นวัดบาซิลิกาชั้นรองของนิกายโรมันคาทอลิกตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ที่ตั้งแต่เดิมเป็นที่ลุ่มนอกกำแพงเมืองฟลอเรนซ์ ภายในวัดเป็นที่เก็บศพคนสำคัญๆ ของอิตาลีเช่นไมเคิล แอนเจโล, กาลิเลโอ กาลิเลอี, และคนอื่นจึงเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น “Pantheon of the Italian Glories” (จุดยอดของความเลิศของอิตาลี).

44 ความสัมพันธ์: ชีมาบูเอฟรังซิสแห่งอัสซีซีฟลอเรนซ์ฟลอเรนซ์ ไนติงเกลฟีลิปโป บรูเนลเลสกีพระนางมารีย์พรหมจารีการคืนพระชนม์ของพระเยซูการตรึงพระเยซูที่กางเขนการปฏิรูปคาทอลิกกาลิเลโอ กาลิเลอีกูลเยลโม มาร์โกนีภาษาอังกฤษภาษาอิตาลีมารีย์ชาวมักดาลามีเกลันเจโลราเวนนาวิหารคดสมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 4สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกหอระฆังหอฉันหอประชุมนักบวชหินอ่อนอาสนวิหารฟลอเรนซ์อาหารค่ำมื้อสุดท้ายอนุสรณ์ผู้ตายผังอาสนวิหารจอร์โจ วาซารีจอตโต ดี บอนโดเนจิตรกรรมฝาผนังที่เก็บศพคอนแวนต์คณะฟรันซิสกันงานกระจกสีฉากกางเขนฉากประดับแท่นบูชาประเทศอิตาลีนักฟิสิกส์แม่พระรับสารโรมันคาทอลิกโลเรนโซ กีแบร์ตีโดนาเตลโลเลออน บัตติสตา อัลแบร์ตีเอนรีโก แฟร์มี

ชีมาบูเอ

“จิตรกรรมมาเอสตา” ค.ศ. 1280-ค.ศ. 1285 ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์ “Crucifix” ค.ศ. 1287-ค.ศ. 1288 ที่ บาซิลิกาดิซานตาโครเช (Basilica di Santa Croce)ฟลอเรนซ์ เชนนี ดิ เป็บโป (จิโอวานนี) ชิมาบูเย (ภาษาอิตาลี: Cenni di Pepo (Giovanni) Cimabue) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า เบนชิเวียนี ดิ เป็บโป (Bencivieni Di Pepo) หรือในภาษาอิตาลีสมัยใหม่ว่า เบนเวนูโต ดิ จุยเซ็พปี (Benvenuto Di Giuseppe) (ประมาณ ค.ศ. 1240-ประมาณ ค.ศ. 1302) เป็นจิตรกรและช่างโมเสกชาวอิตาลีจากเมืองฟลอเรนซ์ (ผู้เป็นอาจารย์ของจอตโต ดี บอนโดเน) ชิมาบูเยมีบทบาทสำคัญต่องานจิตรกรรมในประเทศอิตาลี และถือว่าเป็นจิตรกรคนสำคัญคนสุดท้ายของสมัยศิลปะไบแซนไทน์ ศิลปะยุคนี้ประกอบด้วยโครงสร้างและทิวทัศน์ที่ยังเป็นสองมิติและเป็นสมัยที่เน้นการตกแต่ง (highly stylized) คล้ายจิตรกรรมฝาผนังในวัดไทย ชิมาบูเยเป็นผู้ริเริ่มการวาดแบบใกล้เคืยงธรรมชาติดังจะเห็นได้จากรูปคนที่ขนาดสัดส่วนเท่าคนจริงและการเริ่มใช้แสงเงาบ้างเล็กน้อ.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและชีมาบูเอ · ดูเพิ่มเติม »

ฟรังซิสแห่งอัสซีซี

นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 148 (Saint Francis of Assisi) มีนามเดิมว่า ฟรันเชสโก ดี ปีเอโตร ดี แบร์นาร์โดเน เป็นไฟรเออร์และนักเทศน์ในนิกายโรมันคาทอลิกชาวอิตาลี ผู้ก่อตั้งคณะฟรันซิสกัน คณะกลาริส และคณะชั้นสามของนักบุญฟรังซิส แม้นักบุญฟรังซิสจะไม่ใช่บาทหลวง แต่ถือเป็นศาสนบุคคลที่ไดัรับการเคารพนับถือมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์Brady, Ignatius Charles.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและฟรังซิสแห่งอัสซีซี · ดูเพิ่มเติม »

ฟลอเรนซ์

ฟลอเรนซ์ (Florence) หรือ ฟีเรนเซ (Firenze) เป็นเมืองหลวงของแคว้นทัสกานีและมณฑลฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ระหว่าง..

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล

ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) (เครื่องราชอิสริยาภรณ์ OM, เข็มกาชาดหลวง) (12 พฤษภาคม พ.ศ. 2363 - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2453) ได้รับการขนานนามและเป็นที่รู้จักว่า "สุภาพสตรีแห่งดวงประทีป" (Lady of the Lamp) เนื่องจากภาพลักษณ์ติดตาของผู้คนที่เห็นกิจวัตรการตรวจดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บแม้ยามค่ำคืน และถือว่าเป็นผู้บุกเบิกด้านพยาบาลศาสตร์ยุคใหม่ ยกระดับวิชาชีพพยาบาล นอกจากนี้ยังมีบทบาทผลักดัน การพัฒนาด้านสถิติศาสตร.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและฟลอเรนซ์ ไนติงเกล · ดูเพิ่มเติม »

ฟีลิปโป บรูเนลเลสกี

รูปปั้นฟีลิปโป บรูเนลเลสกี ฟีลิปโป บรูเนลเลสกี (Filippo Brunelleschi) (ค.ศ. 1377 - 15 เมษายน ค.ศ. 1446) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลี และเป็นหนึ่งในสถาปนิกกลุ่มแรกที่เข้าร่วมกระบวนการเรอเนซองซ์ในเมืองฟลอเรนซ์ งานออกแบบส่วนใหญ่ของเขาจะอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์แห่งนี้ บรูเนลเลสกีเป็นสถาปนิกที่โด่งดังและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในยุคของเขา ผลงานหนึ่งที่สำคัญของเขาอันเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อวงการออกแบบสถาปัตยกรรมของโลกมาจนถึงทุกวันนี้คือ การคิดค้นระบบการเขียนแบบทัศนียภาพหรือเพอร์สเปกทีฟ (perspective).

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและฟีลิปโป บรูเนลเลสกี · ดูเพิ่มเติม »

พระนางมารีย์พรหมจารี

ริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) ว่า พระนางมารีย์พรหมจารี (the Blessed Virgin Mary) เพราะเชื่อว่าพระแม่มารีย์เป็นพรหมจารีเสมอ และพระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าก็มารับสภาพมนุษย์ผ่านทางครรภ์ของพระแม่มารีย์ จึงทำให้พระแม่มารีย์มีสถานะเป็น "พระมารดาพระเจ้า" ด้วย คริสตจักรโรมันคาทอลิกได้รับรองความเชื่อนี้มาตั้งแต่สังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง ในปี..

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและพระนางมารีย์พรหมจารี · ดูเพิ่มเติม »

การคืนพระชนม์ของพระเยซู

การคืนพระชนม์ของพระเยซู (Resurrection of Jesus) หมายถึง เหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่มีความสำคัญที่สุดในความเชื่อทางคริสต์ศาสนาที่เป็นพื้นฐานของปรัชญาและหลักการทางคริสต์ศาสนวิทยา ตามพันธสัญญาใหม่พระเยซูผู้เป็นหัวใจของคริสต์ศาสนาถูกตรึงกางเขน, สิ้นพระชนม์, ถูกนำไปไว้ในที่เก็บศพ, และทรงคืนพระชนม์สามวันหลังจากนั้น (ยอห์น, มาระโก, มาระโก). พันธสัญญาใหม่ยังกล่าวถึงการคืนพระชนม์และการสำแดงพระองค์ของพระเยซูคริสต์อีกหลายครั้งต่ออัครสาวกสิบสององค์ และสาวกคนอื่นๆ รวมทั้ง “พี่น้องอีกห้าร้อยคนพร้อมกัน” () ก่อนที่จะเสด็จขึ้นสวรรค์ เหตุการณ์สำคัญสองเหตุการณ์นี้ฉลองกันระหว่างวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ และ อีสเตอร์ ชนกลุ่มอื่นๆ เช่น ชาวยิว มุสลิม บาไฮ และนิกายหรือลัทธิบางลัทธิของคริสต์ศาสนาไม่เห็นด้วยหรือไม่เชื่อว่าพระเยซูทรงคืนพระชนม์จริงหรือไม.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและการคืนพระชนม์ของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

การตรึงพระเยซูที่กางเขน

“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดยซิโมน วูเอท์ (Simon Vouet) ที่ เจนัว (ค.ศ. 1622) การตรึงพระเยซูที่กางเขน (Crucifixion of Jesus) เป็นเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูที่ถูกบันทึกในพระวรสารทั้งสี่ฉบับ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากที่พระเยซูถูกจับและถูกพิพากษา ในทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ การสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็นเหตุการณ์หัวใจสำคัญ ส่งอิทธิพลให้เกิดเหตุการณ์อื่น ๆ ต่อเนื่องมา นอกจากนั้นการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็เป็นสัญลักษณ์สำคัญทางปรัชญาความเชื่อ เป็นการเสียชีวิตของผู้ที่มาช่วยโลก เห็นได้จากการรับทรมานและความตายของพระเมสสิยาห์เพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ตามด้วยพันธสัญญาใหม่ที่กล่าวถึง การคืนชีพในสามวันหลังจากสิ้นพระชนม์ และทรงปรากฏพระกายต่ออัครทูตก่อนพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ การทรมานและการเสียชีวิตของพระเยซูบนกางเขนมักจะเรียกกันว่า “พระทรมานของพระเยซู” (Passion) เทววิทยาศาสนาคริสต์ถือว่าพระเยซูพลีชีพเพื่อเป็นการไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ดังปรากฏในพระธรรมที่รู้จักกันในนาม “พิธีทดแทนบาป” (Substitutionary atonement) กล่าวกันว่าความตายของพระองค์ถูกทำนายไว้ล่วงหน้าในพันธสัญญาเดิม เช่น เพลงของอิสยาห์ที่กล่าวถึง การทรมานของผู้รับใช้พระเจ้.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและการตรึงพระเยซูที่กางเขน · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปคาทอลิก

การปฏิรูปคาทอลิกราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 147 (Catholic Reformation) หรือการปฏิรูปคู่เคียง (Counter-Reformation), from Encyclopædia Britannica Online, latest edition, full-article.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและการปฏิรูปคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

กาลิเลโอ กาลิเลอี

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่" "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่"Weidhorn, Manfred (2005).

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและกาลิเลโอ กาลิเลอี · ดูเพิ่มเติม »

กูลเยลโม มาร์โกนี

กูลเยลโม มาร์โกนี กูลเยลโม มาร์โกนี (Guglielmo Marconi; 25 เมษายน ค.ศ. 1874 – 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1937) เป็นวิศวกรไฟฟ้าชาวอิตาลี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปี ค.ศ. 1909 เป็นที่รู้จักมีชื่อเสียงจากผลงานการพัฒนาระบบโทรเลขไร้สายที่สามารถใช้งานได้จริง เรียกว่า วิทยุ มาร์โกนีเคยเป็นนายกราชบัณฑิตยสถานแห่งอิตาลี (Accademia d'Italia) และสมาชิกพรรคฟาสซิสต์ของอิตาลีด้ว.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและกูลเยลโม มาร์โกนี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอิตาลี

ษาอิตาลี (Italiano หรือ lingua italiana; Italian) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์,โดยส่วนใหญ่ภาษาอิตาลีเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาละตินมากที่สุดในภาษากลุ่มโรมานซ์ด้วยกัน, ภาษาอิตาลีเป็นภาษาทางการในอิตาลี, สวิตเซอร์แลนด์, ซานมารีโน, นครรัฐวาติกัน และอิสเตรียตะวันตก (ในสโลวีเนียและโครเอเชีย), เคยมีสถานะเป็นภาษาทางการของแอลเบเนีย, มอลตา และ โมนาโก ซึ่งมีการพูดภาษานี้กันอย่างกว้างขวางรวมทั้งอดีตแอฟริกาตะวันออกของอิตาลีและแอฟริกาเหนือของอิตาลี (ปัจจุบันคือประเทศลิเบีย), มีการพูดภาษาอิตาลีในกลุ่มผู้อพยพชาวอิตาเลียนขนาดใหญ่ในอเมริกาและออสเตรเลีย, มีสถานะเป็นภาษาทางการของชนกลุ่มน้อยในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, สโลวีเนีย, โครเอเชีย และ โรมาเนีย left.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและภาษาอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

มารีย์ชาวมักดาลา

มารีย์ชาวมักดาลา หรือพบเขียนว่าแมรี แม็กดาเลน (Μαρία ἡ Μαγδαληνή, Mary Magdalene) เป็นหนึ่งในผู้ติดตามพระเยซูที่ได้รับการสรรเสริญสูงสุดคนหนึ่ง และเป็นสาวกสตรีคนสำคัญที่สุดในการเคลื่อนไหวของพระเยซู พระเยซูทรงขับ "เจ็ดผี" ออกจากตัวนาง ซึ่งตามฉบับนั้นตีความว่าหมายถึงอาการป่วยอันซับซ้อนSaint Mary Magdalene.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและมารีย์ชาวมักดาลา · ดูเพิ่มเติม »

มีเกลันเจโล

มีเกลันเจโล หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ ไมเคิลแองเจโล มีชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บูโอนาร์โรตี ซีโมนี (Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni, 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564) เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดัง ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) มีเกลันเจโลเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1475 ที่หมู่บ้านคาปรีส (ปัจจุบันอยู่ในทัสกานี, อิตาลี) เขาเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ หลังจากที่ไปอยู่ที่กรุงโรมเมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโลสร้างประติมากรรมรูปสลัก เดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมัน ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโล เดิมทีเป็นคนที่เกลียดเลโอนาร์โด ดา วินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก ในช่วงนี้ (ค.ศ. 1497 - ค.ศ. 1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ตอนอายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี ค.ศ. 1545 ต่อมาในปี ค.ศ. 1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะภาพ คำพิพากษาครั้งสุดท้าย (The Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปี มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี เสียชีวิตที่กรุงโรม เมื่อปี ค.ศ. 1564 รวมอายุได้ 88 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจากสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า "ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของมิเกลันเจโลให้ยืนยาวออกไปอีก".

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและมีเกลันเจโล · ดูเพิ่มเติม »

ราเวนนา

มเสกจักรพรรดิจัสติเนียนและข้าราชสำนักที่บาซิลิกาซานวิทาเล ที่ราเวนนา ราเวนนา (Ravenna) เป็นเมืองที่อยู่ในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา ประเทศอิตาลี ราเวนนาเคยเป็นเมืองหลักของจักรวรรดิโรมันตะวันตก และอาณาจักรออสโตรกอท (Ostrogoth Kingdom) ในเวลาต่อมา ปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของจังหวัดราเวนนา มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 652 ตารางกิโลเมตร ราเวนนาเป็นเมืองที่มีเนี้อที่ใหญ่เป็นที่สองของอิตาลีรองจากกรุงโรม.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและราเวนนา · ดูเพิ่มเติม »

วิหารคด

วิหารคดที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วิหารคด คือส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมพุทธศาสนสถาน มีลักษณะเป็นวิหารล้อมรอบลานด้านในของวิหารหลักและคดเป็นข้อศอกตรงมุม มีลักษณะเทียบได้กับ ระเบียงฉันนบถ ในสถาปัตยกรรมตะวันตก.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและวิหารคด · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 4

thumb สมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 4 (Eugene IV) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1431 ถึง ค.ศ. 1447 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 1926 ยูจีนที่ 4 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 14 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:บุคคลจากเวนิส.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและสมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก

วัดโวทิฟ (Votivkirche) เป็นวัดกอทิกใหม่ที่ เวียนนา หอวิคตอเรียที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Victoria Tower, Palace of Westminster) ลอนดอน รายละเอียดกอทิกโดยออกัสตัส พิวจิน (Augustus Pugin สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก (Neo-Gothic architecture หรือ Gothic Revival architecture) หรีอ สถาปัตยกรรมวิกตอเรีย (Victorian architecture) เป็นสถาปัตยกรรมที่เริ่มราวปี..

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

หอระฆัง

หอระฆังจัตุรมุขในวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร หอระฆัง คืออาคารประเภทหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งก่อสร้างในวัดทุกแห่ง ใช้เป็นอาคารสำหรับแขวนระฆังเพื่อใช้ตีบอกสัญญาณ เวลาแก่พระสงฆ์ในการลงทำวัตรและประกอบกิจของสง.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและหอระฆัง · ดูเพิ่มเติม »

หอฉัน

ทมาร์ในโปรตุเกส หอฉัน หรือ โรงอาหาร (Refectory หรือ frater house หรือ fratery) คือห้องกินข้าวของคริสต์ศาสนสถาน โดยเฉพาะของสำนักสงฆ์, โรงเรียนประจำ หรือสถาบันการศึกษา สถานที่ที่มักจะใช้กันบ่อยในปัจจุบันคือในสถาบันฝึกนักบวช “หอฉัน” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Refectory” ที่แผลงมาจากภาษาละติน “reficere” ที่แปลว่าทำใหม่ ที่มาจากภาษาละตินตอนปลาย “refectorium” ที่แปลว่าสถานที่ที่บุคคลจะไปทำการฟื้นตัว.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและหอฉัน · ดูเพิ่มเติม »

หอประชุมนักบวช

หอประชุมนักบวชที่มหาวิหารลิงคอล์น ที่อังกฤษ แสดงให้เห็นค้ำยันแบบปีกรอบตัวอาคาร หอประชุมนักบวชที่มหาวิหารแคนเทอร์เบอรี ที่อังกฤษ หอประชุมนักบวช (Chapter house) คือสิ่งก่อสร้างหรือห้องที่ติดกับอาสนวิหารหรือโบสถ์หรืออาราม ซึ่งใช้เป็นที่ประชุมของนักบวช ถ้าหอประชุมนักบวชเป็นส่วนหนึ่งของอารามก็มักจะตั้งอยู่ทางตะวันออกของระเบียงฉันนบถ จะเป็นห้องโล่งใหญ่เพื่อให้พอเพียงกับนักพรตที่จำวัดอยู่ในอารามและมักจะตกแต่งอย่างสวยงาม ถ้าเป็นหอประชุมนักบวชเป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์หรือสถาปัตยกรรมกอทิกทางเข้ามักจะเป็น façade เล็กและบนซุ้มโค้งเหนือประตูก็จะมีการตกแต่ง นักพรตในอารามจะประชุมในหอเพื่ออ่านหนังสือศาสนาที่เป็นบท หรือ “Chapter” ฉะนั้นหอประชุมนักบวชในภาษาอังกฤษจึงเรียกว่า “Chapter house” นอกจากอ่านหนังสือศาสนาแล้วก็ยังใช้เป็นที่ประชุมเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับกิจการของอาราม การประชุมมักทำกันตอนเช้าหลังจากพิธีมิสซา นักพรตจะนั่งเรียงติดผนังตามลำดับความสำคัญ เมื่อประชุมเสร็จก็จะสารภาพบาปต่อหน้าที่ประชุม หรือกล่าวประณามผู้ที่ทำผิดโดยไม่กล่าวนาม ระเบียงฉันนบถด้านที่จะสร้างหอประชุมนักบวชจะเป็นด้านที่สร้างก่อนและจะสร้างไม่นานหลังจากที่สร้างโครงสร้างของโบสถ์ ถ้าเป็นหอประชุมนักบวชของมหาวิหาร เคลอจีของมหาวิหารก็จะประชุมกันที่นี่ถ้าเป็นหอประชุมนักบวชของโบสถ์ ดีน Prebendries และนักพรตก็จะประชุมกันที่นี.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและหอประชุมนักบวช · ดูเพิ่มเติม »

หินอ่อน

หินอ่อนในธรรมชาติ หินอ่อนเกิดจากแคลเซียมคาร์บอเนต(หินปูน)ที่สะสมอยู่ในท้องทะเลหรือมหาสมุทรมาก่อน กระทั่งเกิดการเคลื่อนไหวขึ้นในบริเวณดังกล่าว คือที่ๆ เคยเป็นทะเลหรือมหาสมุทรกลับกลายเป็นภูเขาขึ้นมา และที่ๆ เคยเป็นบกเป็นภูเขามากลับ กลายเป็นทะเล รวมถึงผ่านกระบวนการทางธรณี เช่น เกิดมีแมกมาไหลออกมา และพอดีหินที่สะสมไว้ในทะเลไปโดนกับแมกมาเข้า สำคัญคือแมกมานั้นเต็มไปด้วยความร้อน ความดัน และก๊าซ จึงทำให้แคลเซียมคาร์บอเนต(หินปูน)ละลาย แล้วตกผลึก เกิดเป็นหินอ่อนขึ้นมาได้ในที่สุด แต่ในกรณีที่เกิดการหลอมละลาย แล้วตกผลึกไม่หมดทีเดียว ก็จะเกิดหินปูนคล้ายหินอ่อน และจะพบพวกซากเปลือกหอยทะเลต่างๆ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยอยู่รวมกับตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต หมวดหมู่:หิน.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและหินอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารฟลอเรนซ์

อาสนวิหารฟลอเรนซ์ (Florence Cathedral) หรือชื่อเต็มคือ อาสนวิหารซันตามาเรียแห่งฟลอเรนซ์ (Cattedrale di Santa Maria del Fiore) เป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขนายกแห่งฟลอเรนซ์ ตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ มณฑลฟลอเรนซ์ แคว้นตอสคานา ประเทศอิตาลี สร้างขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ออกแบบโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี ด้านหน้าโบสถ์ประดับตกแต่งด้วยหินอ่อนสีขาว เขียว และชมพู อาสนวิหารแห่งนี้ใหญ่เป็นลำดับที่ 4 ของทวีปยุโรป รองจากมหาวิหารนักบุญเปโตร มหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง และอาสนวิหารมิลาน มีความยาว 153 เมตร และฐานของโดมกว้างถึง 90 เมตร หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 13 หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ทศวรรษ 1290 หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ทศวรรษ 1430 หมวดหมู่:แคว้นตอสคานา หมวดหมู่:อาสนวิหารในประเทศอิตาลี.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและอาสนวิหารฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อาหารค่ำมื้อสุดท้าย

“อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” โดย ไซมอน อูชาคอฟ (Simon Ushakov) ราว ค.ศ. 1685 อาหารค่ำมื้อสุดท้าย (Last Supper, Lord's Supper, Mystical Supper) ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนคืออาหารมื้อสุดท้ายที่พระเยซูเสวยร่วมกับสาวกของพระองค์ ก่อนจะมีการตรึงพระเยซูที่กางเขน “อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในการสร้างงานจิตรกรรม ภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดคือภาพที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ตามคำกล่าวของนักบุญเปาโลอัครทูตในหนังสือโครินธ์ ระหว่างเสวยพระกระหารที่มีขนมปังและเหล้าองุ่น พระเยซูตรัสต่อสาวกว่า “จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา” เหตุการณ์อื่นและบทสนทนาบันทึกในพระวรสารสหทรรศน์และพระวรสารนักบุญยอห์น คริสต์ศาสนิกชนบางคนถือว่าเป็นรากฐานของศีลมหาสนิท ถ้วยที่ใช้ใส่ไวน์บางทีก็เรียกว่าจอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Chalice) และเป็นหนึ่งในวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่องถ้วยศักดิ์สิทธิ์ (Holy Grail) ในปรัมปราวิทยาในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและอาหารค่ำมื้อสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

อนุสรณ์ผู้ตาย

อนุสรณ์ผู้ตาย หรือ รูปสัญลักษณ์ผู้ตาย หรือ หุ่นพยนต์ (EffigyMerriam-Webster, Definition of Effigy) คือรูปสัญลักษณ์ที่ใช้แทนผู้ตายซึ่งมักจะเป็นรูปปั้นหรือรูปสลักจากหินหรือไม้ รูปสัญลักษณ์มักจะเป็นรูปเต็มตัวของผู้ตายที่มักจะตั้งอยู่ภายในวัดคริสต์ศาสนา อนุสรณ์ผู้ตายแตกต่างจาก “อนุสรณ์ที่เก็บศพ” ตรงที่อนุสรณ์ผู้ตายจะเป็นเพียงสิ่งที่สร้างแทนผู้ตายโดยไม่มี่ร่างของผู้ตายฝังอยู่ด้วยเช่นอนุสรณ์ที่เก็บศพ โดยทั่วไปรูปสัญลักษณ์ที่ทำจะเป็นร่างนอนหงายพนมมือ หรือบางครั้งอาจจะคุกเข่าหรือยืนสวดมนต์ ในบางครั้งอนุสรณ์ผู้ตายจะเป็นเพียงครึ่งตัว เช่นเหรียญที่มีภาพอับราฮัม ลิงคอล์นครึ่งตัว รูปสัญลักษณ์ผู้ตายอาจจะใช้ในพิธีทางศาสนาเพื่อแทนผู้ที่ไม่เป็นที่นิยม เช่นการเผารูปเพื่อแสดงถึงการกำจัดผู้ตาย เช่นในอังกฤษจะมีการเผารูปสัญลักษณ์ที่ทำจากฟางหรือเศษวัสดุเป็นรูปกาย ฟอคส์ (Guy Fawkes) ทุกวันที่ 5 พฤศจิกายนของทุกปี เพี่อเป็นการระลึกถึงกาย ฟอคส์ผู้มีส่วนในการวางการคบคิดระเบิดรัฐสภาอังกฤษ (Gunpowder Plot) โดยผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกเพื่อจะพยายามกำจัดพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1605 แต่ไม่สำเร็.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและอนุสรณ์ผู้ตาย · ดูเพิ่มเติม »

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและผังอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

จอร์โจ วาซารี

อร์โจ วาซารี (Giorgio Vasari) (30 กรกฎาคม ค.ศ. 1511 - 27 มิถุนายน ค.ศ. 1574) เป็นสถาปนิกและจิตรกรชาวอิตาลี ผลงานที่ทำให้เขามีชื่อเสียงมากที่สุดคืองานบันทึก ประวัติชีวิตและงานของศิลปินอิตาลีก่อนหน้าและร่วมสมัยในชื่อ “ชีวิตจิตรกร, ประติมากร, และสถาปนิกผู้ดีเด่น” (หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ชีวิตศิลปิน” (The Vite)) ซึ่งเป็นงานที่ยังมีการอ้างอิงกันในการเขียนประวัติชีวิตศิลปินหรือการวิจัยจิตรกรรมและประติมากรรมกันอยู่จนทุกวันนี้.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและจอร์โจ วาซารี · ดูเพิ่มเติม »

จอตโต ดี บอนโดเน

อตโต ดี บอนโดเน จอตโต ดี บอนโดเน (Giotto di Bondone) (ค.ศ. 1267 – 8 มกราคม ค.ศ. 1337), เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนาม จอตโต (Giotto), เป็นสถาปนิกและจิตรกรชาวอิตาลี จากเมืองฟลอเรนซ์ ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้มีส่วนสร้างสรรค์ผลงาน ที่ก่อให้เกิดกระแสใหม่ในสังคมที่นำไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ในที่สุด จอตโต ดี บอนโดเนเป็นจิตรกรร่วมสมัยกับจิโอวานนี วิลลานิผู้กล่าวว่าจอตโตเป็นช่างผู้มีความสามารถที่สุดในสมัยนั้น เป็นผู้วาดภาพตามกฎของธรรมชาติ และจอตโตได้รับเงินเดีอนจากรัฐบาลเมืองฟลอเรนซ์เนื่องมาจากความสามารถBartlett, Kenneth R. (1992).

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและจอตโต ดี บอนโดเน · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมฝาผนัง

วาติกัน, โรม ประเทศอิตาลี จิตรกรรมฝาผนังโดยดิโอนิเซียส (Dionisius) เล่าเรื่องนักบุญนิโคลัส จิตรกรรมฝาผนัง จากมหากาพย์ “ไตรภูมิดานเต” ของดานเตโดยโดเมนิโค ดิ มิเคลลิโน (Domenico di Michelino) ที่มหาวิหารฟลอเรนซ์ จิตรกรรมฝาผนังจากบาวาเรียประเทศเยอรมนี “ที่ฝังศพของนักดำน้ำ” พบเมื่อปีค.ศ. 1968 (470 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จิตรกรรมฝาผนังจากอจันตา (Ajanta) คริสต์ศตวรรษที่ 6 จิตรกรรมฝาผนังโคลาของนักรำที่ Brihadisvara Temple ประมาณ ค.ศ. 1100 จิตรกรรมฝาผนัง (ภาษาอังกฤษ: Mural painting) คือภาพเขียนหลายชนิดที่เขียนบนปูนบนผนังหรือเพดาน เทคนิคที่นิยมกัน คือ การวาดภาพบนผนังปูนปลาสเตอร์เปียก (fresco) โดยที่คำว่า “fresco” มาจากภาษาอิตาลี “affresco” ซึ่งมาจากคำว่า “fresco” หรือ “สด” รากศัพท์มาจากภาษาเยอรมัน.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและจิตรกรรมฝาผนัง · ดูเพิ่มเติม »

ที่เก็บศพ

ที่เก็บศพแบบหนึ่ง: มอโซเลียมโมฮัมหมัดที่ 5 ที่โมร็อกโก ที่เก็บศพแบบหนึ่ง: ฝาครอบโลงหินของอิทรัสกันที่อิตาลี ที่เก็บศพ (Tomb) คือที่เก็บร่างของผู้ตายซึ่งมิใช่การฝัง คำนี้โดยทั่วไปจะหมายถึงสิ่งก่อสร้างที่มีที่เก็บร่างของผู้ตายที่มีขนาดต่างๆ กัน.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและที่เก็บศพ · ดูเพิ่มเติม »

คอนแวนต์

อนแวนต์ Beguine ในกรุงอัมสเตอร์ดัม คอนแวนต์ (convent) คือชุมชนของบาทหลวง นักพรตหญิง ภราดา หรือภคินี หรืออาจหมายถึงตัวอาคารที่ชุมชนนักบวชเหล่านี้ใช้พักอาศัย พบได้ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิกและแองกลิคันคอมมิวเนียน ในปัจจุบันคำว่าคอนแวนต์มักใช้หมายถึงเฉพาะชุมชนนักบวชหญิง ขณะที่อาราม ไพรออรี หรือไฟรอารี จะใช้กับชุมชนนักบวชชาย แต่ในอดีตคำเหล่านี้มักใช้แทนกันได้ ในทางเทคนิค คำว่า "อาราม" จะหมายถึงชุมชนนักพรต ขณะที่ "คอนแวนต์" คือชุมชนของนักบวชภิกขาจาร (ถ้าเป็นของไฟรเออร์จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า "ไฟรอารี") ส่วน "แคนันรี" คือชุมชนแคนันที่สังกัดคณะนักบวช คำว่า "แอบบีย์" และ "ไพรออรี" คืออารามและแคนันรีนั่นเอง แต่ต่างกันที่แอบบีย์มีคุณพ่ออธิการเป็นหัวหน้า แต่ไพรออรีเป็นสำนักที่มิอิสระน้อยกว่าและปกครองโดยไพรเออร.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและคอนแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะฟรันซิสกัน

ณะฟรันซิสกัน (Franciscan Order) บางแห่งเรียกว่าคณะฟรังซิสกัน เป็นกลุ่มคณะนักบวชคาทอลิกที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้ก่อตั้งขึ้น นอกจากในคริสตจักรโรมันคาทอลิกแล้วยังมีคณะฟรันซิสกันในคริสตจักรคาทอลิกเก่า นิกายแองกลิคัน และประชาคมฟรังซิสกันสากล (ecumenical Franciscan communities) ด้วย กลุ่มที่โดดเด่นที่สุดคือคณะภราดาน้อย (Order of Friars Minor) หรือที่รู้จักกันในนามคณะฟรันซิสกัน ซึ่งได้ชื่อนี้เพราะไฟรเออร์ในคณะถือวัตรปฏิบัติตามแบบที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้วางแนวทางและก่อตั้งคณะไว้ มีลักษณะเป็นคณะนักบวชภิกขาจาร คณะฟรันซิสกันยังประกอบด้วยคณะย่อย 3 คณะ โดยแต่ละคณะมีการปกครองตนเองเป็นอิสระต่อกัน ได้แก่ คณะผู้ถือวินัย (Observants) เรียกอีกชื่อว่าคณะภราดาน้อย คณะภราดาน้อยกาปูชิน และคณะภราดาน้อยคอนเวนชวล ทุกคณะยึดถือวินัยของนักบุญฟรังซิสเป็นวินัยประจำคณ.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและคณะฟรันซิสกัน · ดูเพิ่มเติม »

งานกระจกสี

หน้าต่างประดับกระจกสีเป็นรูปอีแวนเจลลิสทั้งสี่ที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ หน้าต่างประดับกระจกสี (รายละเอียด) เป็นรูปพระเยซูปรากฏตัวต่อนักบุญทอมัสที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ การทำแก้วมงกุฏ งานกระจกสี (Stained glass) คำว่า งานกระจกสี หมายถึงงานที่ใช้กระจกสีตกแต่งหรืองานการทำกระจกสี ซึ่งไม่แต่เฉพาะแต่หน้าต่างเท่านั้น ยังรวมถึงศิลปะอื่นๆ ที่ใช้กระจกสีตกแต่งด้วยเช่น บานกระจกที่ทำเพื่อการตกแต่งโดยเฉพาะ หรือโคมตะเกียงเป็นต้น ตลอดระยะพันปีการตกแต่งด้วยกระจกสีจะหมายถึงหน้าต่างประดับกระจกสีของวัด หรือ มหาวิหารทางคริสต์ศาสนา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ การตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยเดิมจะแต่งบนแผงแบนสำหรับใช้ทำหน้าต่าง แต่วิธีการตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยปัจจุบันจะรวมไปถึงโครงสร้างกระจกสีแบบสามมิติและงานแกะสลักกระจกสีด้วย และจะรวมไปถึงบานกระจกสีสำหรับที่อยู่อาศัยที่เรียกกันว่า “leadlight” ด้วย หรืองานศิลปะที่ทำจากกระจกสีและเชื่อมต่อกันด้วยตะกั่วอย่างเช่น โคมกระจกสีที่มีชื่อเสียงที่ทำโดย หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) เมื่อพูดถึงวัสดุคำว่า “กระจกสี” โดยทั่วไปจะหมายถึงแก้วที่ทำให้เป็นสีโดยการเติม Metallic salts ระหว่างการผลิต ช่างจะใช้กระจกสีในการสร้าง “หน้าต่างประดับกระจกสี” โดยการเอากระจกสีชิ้นเล็กๆ มาจัดให้เป็นลวดลายหรือภาพภายในกรอบโดยเชื่อมชิ้นกระจกด้วยกันด้วยเส้นตะกั่ว เมื่อเสร็จแล้วก็อาจจะทาสีและย้อมสีเหลืองตกแต่งอีกเล็กน้อยเพื่อให้ลวดลายเด่นขึ้น นอกจากนั้นคำว่า “กระจกย้อมสี” (Stained glass) จะหมายถึงหน้าต่างกระจกที่วาดทาสีเสร็จแล้วเผาในเตาหลอมก่อนที่จะทิ้งไว้ให้เย็น “งานกระจกสี” เป็นงานฝีมือที่ศิลปินต้องมีพรสวรรค์ทางศิลปะเพื่อที่จะออกแบบได้ และต้องมีความรู้ทางวิศวกรรมเพี่อที่สามารถประกอบบานกระจกที่ทำใว้ให้แน่นหนาภายในกรอบสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะกระจกบานใหญ่ๆ ที่จะต้องรับน้ำหนักของตัวบานกระจกเองและสามารถทนทานต่อสภาวะอากาศภายนอกได้ หน้าต่างบานใหญ่เหล่านี้ยังอยู่รอดมาให้เราชมบ้างตั้งแต่สมัยยุคกลางโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในยุโรปตะวันตกหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นจักษุศิลป์ชนิดเดียวที่เหลือมาตั้งแต่ยุคกลาง จุดประสงค์ของหน้าต่างประดับกระจกสีมิใช่ให้ผู้ดูมองออกไปดูโลกภายนอกหรือให้แสงส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างแต่จะควบคุมผู้อยู่ภายใน จากเหตุผลนี้หน้าต่างประดับกระจกสีจึงอาจจะเรียกได่ว่าเป็น “การตกแต่งผนังส่องแสง” (“illuminated wall decorations”) มากกว่าจะเป็นหน้าต่างอย่างตามความหมายทั่วไปของหน้าต่างที่ใช้มองออกสู่ภายนอก การออกแบบหน้าต่างวัดอาจจะเป็นได้ทั้งอุปมาอุปไมยหรือไม่ก็ได้ หน้าต่างอาจจะเป็นตำนานจากคัมภีร์ไบเบิล ประวัติศาสตร์ หรือ วรรณคดี หรือ ชีวิตของนักบุญ หรือผู้อุปการะวัด หรืออาจจะเป็นลวดลายสัญญลักษณ์ เช่นตราประจำตระกูล การตกแต่งภายในสิ่งก่อสร้างหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวในหัวข้อเดียวกันเช่นถ้าเป็นวัดก็อาจจะเป็นเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซู หรือนักบุญ หรือผู้สร้างวัด ถ้าเป็นภายในวิทยาลัยกระจกอาจจะมีสัญลักษณ์สำหรับศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ หรือภายในบ้านอาจจะเป็นลวดลายแบบใดแบบหนึ่งที่เจ้าของเลือก.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและงานกระจกสี · ดูเพิ่มเติม »

ฉากกางเขน

กางเขนบนฉากกางเขนจากคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่วัดซังเอเทืยงดูมองท์ ที่ปารีส ฉากกางเขน (Rood screen หรือ Choir screen หรือ Chancel screen) คือฉากที่แยกระหว่างบริเวณสำหรับผู้เข้าร่วมในคริสต์ศาสนพิธีหรือทางเดินกลางและบริเวณสำหรับสงฆ์หรือบริเวณที่พระใช้ทำพิธีที่แกะตกแต่งอย่างสวยงามที่นิยมสร้างกันในสมัยกลาง วัสดุที่สร้างอาจจะเป็นไม้หรือหินแกะสลักหรือฉลุทาสีหรือเหล็กดัด ฉากกางเขน ปรากฏทั่วไปในโบสถ์คริสต์ในยุโรป ภาษาเยอรมันใช้คำว่า “Lettner”, ภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า “jubé”, ภาษาดัทช์ใช้คำว่า “doksaal” ฉากกางเขนทางตะวันออกจะตกแต่งหรูหรากว่าทางตะวันตก.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและฉากกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

ฉากประดับแท่นบูชา

ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) คือภาพหรืองานแกะสลักนูนที่เป็นภาพที่เกี่ยวกับคริสต์ศาสนาที่แขวนหน้าแท่นบูชา ฉากแท่นบูชามักจะประกอบด้วยแผงสองหรือสามแผง ประกอบกันที่เรียกว่า “จิตรกรรมแผง” และมักจะเรียกว่า “บานพับภาพ” ซึ่งอาจจะเป็นสองหรือสามบานหรือมากกว่านั้น บางครั้งฉากแท่นบูชาอาจจะเป็นกลุ่มประติมากรรม บางครั้งฉากแท่นบูชาก็อาจจะตั้งบนแท่นบูชา ถ้าแท่นบูชาเป็นแท่นลอยที่มองได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังก็จะมีฉากแท่นบูชาได้ทั้งสองด้าน นอกจากนั้นก็ยังอาจจะตกแต่งด้วยภาพเขียนฉากกางเขนหรือชั้นแท่นบู.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและฉากประดับแท่นบูชา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

นักฟิสิกส์

นักฟิสิกส์ คือนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาหรือปฏิบัติงานด้านฟิสิกส์ นักฟิสิกส์ศึกษาปรากฏการณ์ทางกายภาพอย่างกว้างขวางในทุกขนาด ตั้งแต่อนุภาคระดับต่ำกว่าอะตอม (sub atomic particles) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของสสาร (ฟิสิกส์ของอนุภาค) ไปจนถึงพฤติกรรมของวัตถุในเอกภพโดยรวม (จักรวาลวิทยา หรือ Cosmology) วิชาฟิสิกส์มีมากมายหลายสาขา แต่ละสาขามีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในสาขานั้น.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและนักฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระรับสาร

“แม่พระรับสาร” รูปเคารพจากมาเซโดเนีย แม่พระรับสาร (Annunciation, Annunciation of Mary, Annunciation of the Lady หรือ Annunciation of the Blessed Virgin Mary) หมายถึง เหตุการณ์ที่ที่พระแม่มารีย์รับสารจากทูตสวรรค์กาเบรียลว่านางจะตั้งครรภ์พระบุตรพระเป็นเจ้า เหตุการณ์แม่พระรับสารเกิดเมื่อไร ไม่ทราบได้ แต่เมื่อมีการฉลองวันการประสูติของพระเยซูในวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ก็มีผู้ริเริ่มจัดการฉลองเหตุการณ์แม่พระรับสารนี้ขึ้นในวันที่ 25 มีนาคมของทุกปี เรียกว่า "วันแม่พระรับสาร" (Annunciation of the Lady's Day) โดยนับถอยหลังจากวันคริสต์มาสขึ้นไปเก้าเดือน นอกจากนี้ เหตุการณ์แม่พระรับสารเกิดที่ไหนก็ไม่มีใครทราบได้ ทว่าฝ่ายออร์ทอดอกซ์เชื่อว่าเกิดที่เมืองนาซาเรธ ประเทศอิสราเอล ที่ "โบสถ์ออร์ทอดอกซ์แม่พระรับสาร" (Orthodox Church of the Annunciation) ส่วนฝ่ายโรมันคาทอลิกก็เชื่อว่าเกิดที่เมืองนาซาเรธนั้น และเกิดที่ "โบสถ์แม่พระรับสาร" (Church of the Annunciation).

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและแม่พระรับสาร · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โลเรนโซ กีแบร์ตี

ลเรนโซ กีแบร์ตี บน "ประตูสวรรค์" (Gates of Paradise) ที่หอศีลจุ่มซานจิโอวานนี (Battistero di San Giovanni) ที่ฟลอเรนซ์ งานของโลเรนโซ กีแบร์ตี ที่ชนะการประกวดเมื่อปี ค.ศ. 1401 ซึ่งยังเป็นฉากแบบยุคกลาง แต่รูปนี้ไม่มีบน "ประตูสวรรค์" เมื่อสร้าง "ประตูสวรรค์" ประตูที่เห็นในปัจจุบันเป็นประตูที่ทำเลียนแบบของจริง พระเจ้าสร้างอาดัมและอีฟบานภาพจาก "ประตูสวรรค์" โลเรนโซ กีแบร์ตี (Lorenzo Ghiberti; ชื่อเมื่อแรกเกิด: Lorenzo di Bartolo; ค.ศ. 1378 - 1 ธันวาคม ค.ศ. 1455) เป็นประติมากรสมัยศิลปะเรอแนซ็องส์ตอนต้นคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางประติมากรรม งานโลหะ และจิตรกรรมฝาผนัง.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและโลเรนโซ กีแบร์ตี · ดูเพิ่มเติม »

โดนาเตลโล

รูปปั้นโดนาเตลโลที่ฟลอเรนซ์ โดนาเตลโล หรือ โดนาโต ดี นิกโกเลาะ ดี เบตโต บาร์ดี (Donatello หรือ Donato di Niccolò di Betto Bardi; ค.ศ. 1386 - 13 ธันวาคม ค.ศ. 1466) ศิลปินชาวอิตาลีในด้านงานปั้นในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและโดนาเตลโล · ดูเพิ่มเติม »

เลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี

ลีออน บาตติสตา อัลเบอร์ติ ลีออน บาตติสตา อัลเบอร์ติ (Leon Battista Alberti) (18 กุมภาพันธ์พ.ศ. 1947 – 25 เมษายน พ.ศ. 2015) เป็นผู้รู้รอบด้าน ผู้เป็นปราชญ์ สถาปนิก นักเขียน กวี นักภาษาศาสตร์ นักปรัชญา นักถอดรหัส ชาวอิตาลี ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน ผู้ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาของศิลปวิทยาการในยุคเรอเนซอง.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและเลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี · ดูเพิ่มเติม »

เอนรีโก แฟร์มี

อนริโก แฟร์มี เอนริโก แฟร์มี (Enrico Fermi) (29 กันยายน พ.ศ. 2444 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลชาวอิตาลีผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวิชานิวเคลียร์ฟิสิกส์ เป็นนักฟิสิกส์ที่เชี่ยวชาญทั้งการทดลองและทฤษฎี ซึ่งหาได้ยากยิ่งในวงการฟิสิกส์ปัจจุบัน.

ใหม่!!: มหาวิหารซันตาโกรเชและเอนรีโก แฟร์มี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Basilica di Santa Croceวัดซานตาโครเชบาซิลิกา ดิ ซานตาโครเชบาซิลิกาดิซานตาโครเชบาซิลิกาซานตาโครเช

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »