โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บันยัน

ดัชนี บันยัน

ันยัน (Banyan, Banyan tree, Banian) เป็นสกุลย่อยของไม้ในสกุล Ficus โดยจัดอยู่ในสกุลย่อย Urostigma ในวงศ์ Moraceae (โดยปกติแล้วจะหมายถึง ไกร (F. benghalensis)) ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำชาติอินเดีย ลักษณะส่วนใหญ่ของไม้ในสกุลย่อยนี้ คือ ส่วนใหญ่เป็นแบบกึ่งอิงอาศัย มีรากอากาศ ไม่มีรากตามข้อ ดอกแยกเพศร่วมต้น แผ่นใบด้านล่างมีต่อมไขที่โคนเส้นกลางใบ 1 ต่อมฟิกส์เกลี้ยง ออกเป็นคู่หรือออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบหรือตามกิ่ง พบน้อยออกตามลำต้น ใบประดับที่โคน 2-3 ใบ ไม่มีใบประดับด้านข้าง ช่องเปิดมีใบประดับ 2-5 ใบ ปิดด้านบน ดอกเพศผู้เรียงกระจัดกระจายระหว่างดอกเพศเมีย หรืออยู่ใกล้ช่องเปิด กลีบรวม 3-5 กลีบ เกสรเพศผู้ 1 อัน ยอดเกสรเพศเมียส่วนมากมี 1 อัน มีหลากหลายชนิด พบในประเทศไทยประมาณ 45 ชนิด นอกจากไกรแล้ว อาทิ ไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamin), โพ (F. religiosa), ไทรย้อยใบทู่ (F. microcarpa) เป็นต้น.

14 ความสัมพันธ์: พืชพืชดอกพืชใบเลี้ยงคู่พืชใบเลี้ยงคู่แท้วงศ์ขนุนสกุลโพสปีชีส์อันดับกุหลาบประเทศอินเดียโพโรสิดไกรไทรย้อยใบทู่ไทรย้อยใบแหลม

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: บันยันและพืช · ดูเพิ่มเติม »

พืชดอก

ืชดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliophyta เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Angiospermae หรือ Angiosperms เป็นกลุ่มของพืชกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง มีดอกไม้ และเมล็ดเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเมล็ดจะกลายเป็นผลไม้ พืชดอกแบ่งได้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ 8 กลุ่มดังนี้ เรียงตามจำนวนสปีชี.

ใหม่!!: บันยันและพืชดอก · ดูเพิ่มเติม »

พืชใบเลี้ยงคู่

ืชใบเลี้ยงคู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliopsida หรือ Dicotyledons กลุ่มของพืชกลุ่มหนึ่งมีเมล็ดที่ประกอบด้วยใบเลี้ยงคู่ ซึ่งเป็นชั้นทางชีววิทยา ต่อจากส่วนทางชีววิทยา ของพืชดอก (Magnoliophyta) ชื่อวิทยาศาสตร์ของ พืชใบเลี้ยงคู่ ได้มีระบบการจัดชั้นแบบใหม่ขึ้นมา ในขณะที่ระบบเก่า ระบบ Cronquist ยังคงเป็นที่นิยมอยู่ ในระบบใหม่ ระบบ Angiosperm Phylogeny Group ได้มีการจัดชั้นดังแสดง.

ใหม่!!: บันยันและพืชใบเลี้ยงคู่ · ดูเพิ่มเติม »

พืชใบเลี้ยงคู่แท้

ืชใบเลี้ยงคู่แท้ หรือ Eudicots, Eudicotidae หรือ Eudicotyledons เป็นกลุ่มทางไฟโลเจนเติกของพืชมีดอก บางครั้งเรียกว่าพืชใบเลี้ยงคู่ที่ไม่ใช่แมกโนลิด คำนี้กำหนดขึ้นครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: บันยันและพืชใบเลี้ยงคู่แท้ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ขนุน

วงศ์ขนุน หรือ Moraceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่มีสมาชิก 40 สกุลและมีมากกว่า 1000 สปีชีส์ แพร่กระจายในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน มียางสีขาวเหมือนน้ำนม ดอกเป็นดอกช่อและผลเป็นผลรวม พืชในวงศ์นี้ที่รู้จักกันดีได้แก่ มะเดื่อ, บันยัน, สาเก, หม่อน.

ใหม่!!: บันยันและวงศ์ขนุน · ดูเพิ่มเติม »

สกุลโพ

กุลโพ-ไทร-มะเดื่อ เป็นสกุลของไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Ficus บางชนิดอาจขึ้นเป็นไม้พุ่มหรือไม้เถา ขึ้นบนดินหรือกึ่งอิงอาศัย โดยมีรากเกาะอาศัยต้นไม้อื่นแล้วเจริญโอบรัดต้นไม้ที่เกาะลักษณะคล้ายกาฝาก แยกเพศร่วมต้นหรือต่างต้น ส่วนต่าง ๆ มีน้ำยาง หูใบหุ้มตาใบชัดเจน กิ่งมีรอยแผลหูใบเป็นวงรอบข้อ ใบเดี่ยว ส่วนมากเรียงเวียนหรือเรียงสลับในระนาบเดียวกัน เแผ่นใบด้านล่างส่วนมากมีต่อมไขตามโคนเส้นใบใกล้ฐานใบ บางครั้งมีซิสโทลิท ดอกขนาดเล็กจำนวนมากเรียงแน่นอยู่ภายในฐานรองดอกที่โอบหุ้มดอกทั้งหมดไว้ภายใน หรือ ซิทโอเนียม หรือฟิก โดยมีช่องเปิด ส่วนใหญ่มีใบประดับที่โคน ดอกเพศผู้ กลีบรวมส่วนมากมี 2-6 กลีบ แยกกันหรือติดกัน หรือไม่มีกลีบรวม เกสรเพศผู้ 1-5 อัน ดอกเพศเมียก้านยาว กลีบรวมส่วนมากมี 3-5 กลีบ แยกกันหรือติดกัน ยอดเกสรเพศเมีย 2 อัน แยกกันหรือติดกัน ดอกที่เป็นหมันเป็นปม ก้านเกสรเพศเมียสั้น เป็นที่อยู่ของแมลงขนาดเล็ก บางชนิดมีดอกแบบไม่มีเพศ คือไม่มีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย ลักษณะเฉพาะนี้มีความสัมพันธ์กับแมลงในลักษณะพึ่งพากัน ชนิดของแมลงมีความเฉพาะกับไทรแต่ละชนิด ผลขนาดเล็ก คล้ายผลมีผนังชั้นในแข็งหรือผลแห้งเมล็ดล่อน เมล็ดมีเอนโดสเปิร์ม ผลของมะเดื่อ (''F. carica'') ผ่าครึ่ง ไม้ที่อยู่ในสกุลนี้มีมากกว่า 800 ชนิดทั่วโลก (แบ่งออกได้เป็น 6 สกุลย่อย) ส่วนใหญ่กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อน พบในประเทศไทยประมาณ 115 ชนิด มีประมาณ 7-8 ชนิดที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ซึ่งคนไทยมีความเชื่อมาแต่โบราณว่าไม้เหล่านี้เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงสถิตย์ของเทพารักษ์หรือนางไม้ เป็นไม้มงคล นำมาสู่คึวามร่มเย็นหรือโชคลาภแก่ผู้ปลูก เช่น โพ (F. religiosa), ไทร (F. benjamina) ส่วนที่นำมาปลูกเพื่อใช้รับประทานผล ได้แก่ มะเดื่อ (F. carica) ที่มีคุณค่าทางสารโภชนาการสูงมาก, มะเดื่อชุมพร (F. racemosa) เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นอาหารหลักของสัตว์และนกหลายชนิด เช่น นกเงือก, นกโพระดก ด้ว.

ใหม่!!: บันยันและสกุลโพ · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: บันยันและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกุหลาบ

อันดับกุหลาบ หรือ Rosales เป็นอันดับของพืชมีดอกPeter F. Stevens (2001 onwards).

ใหม่!!: บันยันและอันดับกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: บันยันและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

โพ

(มักเขียนว่า โพธิ์) (คำว่า "โพ" มาจากภาษาสิงหล; Sacred fig) เป็นต้นไม้สปีชีส์หนึ่งของไทรหรือมะเดื่อ เป็นพืชพื้นเมืองของอินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, ตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และ อินโดจีน เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน สูงได้ถึง 30 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 3 เมตร รูปใบโดยทั่วไปของต้นโพ ใบมีรูปหัวใจปลายยาว ยาว 10-17 เซนติเมตร กว้าง 8-12 เซนติเมตร ก้านใบยาว 6-10 เซนติเมตร ผลมีขนาดเล็กมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร สีเขียวเมื่อสุกมีสีม่วง โพเป็นต้นไม้ที่ถูกสักการะในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนาเชน และ พระพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้จึงมีชื่อว่า "Sacred fig" พระโคตมพุทธเจ้าก็ได้ตรัสรู้เมื่อนั่งอยู่ใต้ต้นโพเช่นกัน โดยต้นโพที่พระโคตมพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นชื่อ "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" ปัจจุบันยังคงมีชีวิตอยู่ที่ประเทศอินเดีย จึงเชื่อกันว่าโพเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุข, ความสำเร็จ, อายุยืน และ ความโชคดี และเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดปราจีนบุรี.

ใหม่!!: บันยันและโพ · ดูเพิ่มเติม »

โรสิด

รสิด หรือ rosids เป็นเคลดขนาดใหญ่ของพืชมีดอก ประกอบด้วย 70,000 สปีชีส์ ซึ่งมากกว่าหนึ่งในสี่ของพืชมีดอกทั้งหมดเคลดนี้แบ่งเป็น 16 - 20 อันดับ ขึ้นกับระบบการจัดจำแนก อันดับเหล่านี้แบ่งเป็นวงศ์ได้ประมาณ 140 วง.

ใหม่!!: บันยันและโรสิด · ดูเพิ่มเติม »

ไกร

ำหรับกร่างชนิดอื่น ดูที่: ไทรทอง ไกร หรือ กร่าง (บาลี: นิโครธ; สันสกฤต: บันยัน; ฮินดี: บาร์คาด; Bengal fig, Indian fig, Banyan tree) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ในสกุล Ficus เช่นเดียวกับโพ (F. religiosa) และไทรย้อยใบแหลม (F. benjamina) ในวงศ์ Moraceae.

ใหม่!!: บันยันและไกร · ดูเพิ่มเติม »

ไทรย้อยใบทู่

ทรย้อยใบทู่ หรือ ไทรย้อย (Chinese banyan, Malayan banyan; 細葉榕) เป็นไม้ประเภทบันยัน ในสกุล Ficus ในวงศ์ Moraceae เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 12-25 เมตร และสูงได้ถึง 30 เมตร บางครั้งอาจรอเลื้อยกับพื้นดินหรือกึ่งอาศัยกับไม้อื่น ๆ มีรากอากาศอยู่ตามกิ่งไม้เป็นเส้นเรียงยาวจำนวนมาก เปลือกมีสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบเวียน มีลักษณะรูปไข่หรือรูปวงรี ขนาดกว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ปลายใบแหลมถึงเป็นติ่งทู่เกือบแหลม หรือเป็นติ่งสั้น และเรียวแหลม ไม่ค่อยพบแบบเว้า ฐานใบสอบรูปลิ่ม ขอบใบเรียว ผิวใบมัน เนื้อใบบางเหนียวคล้ายผิวหนัง ออกดอกตามง่ามใบ เป็นดอกเดี่ยวหรือน้อยมากที่จะเป็นดอกคู่ ตาดอกสีแดงแกมชมพู ก้านดอกยาว 0.5-1.5 เซนติเมตร วงกลีบเลี้ยงรูประฆัง จำนวน 6 กลีบ ยาว 3-7 กลีบ กลีบดอกแบบอิสระ 6 กลีบ รูปไข่มน ยาว 3-8 มิลลิเมตร มีลักษณะย่น เกสรตัวผู้ 12 อัน ขดเป็นวง ผลเป็นรูปไข่กลับหรือกระสวยรี มีกลีบเลี้ยงเป็นท่อหุ้ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-10 มิลลิเมตร ผลเกลี้ยง ผลแก่แตกออก มีเมล็ดจำนวนมาก มีปีกยาว รูปลิ่มแกมไข่กลับ มีการกระจายพันธุ์ที่กว้าง โดยพบได้ที่ปากีสถาน, อินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, จีนตอนใต้, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, พม่า, ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย จนถึงฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ขึ้นกระจายในป่าดิบแล้ง, ป่าดิบชื้น และป่าเบญจพรรณ บางครั้งพบตามป่าเสื่อมโทรม, ชายทะเล, ป่าชายเลน หรือเขาหินปูน จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,100 เมตร จากระดับน้ำทะเล ใบของไทรย้อยใบทู่ เป็นไม้ที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา ออกดอกและออกผลตลอดทั้งปี รากอากาศใช้ต้มดื่มขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้นิ่ว บำรุงน้ำนม รากสมานลำไส้ แก้ท้องเสียได้.

ใหม่!!: บันยันและไทรย้อยใบทู่ · ดูเพิ่มเติม »

ไทรย้อยใบแหลม

ทรย้อยใบแหลม หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ไทร (Weeping fig, Ficus tree) เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นตรงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ บางชนิดก็เป็นพุ่มโปร่ง มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น ผิวเปลือกเรียบสีขาวปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกจากกิ่ง และส่วนยอดของลำต้น ใบออกเป็นคู่สลับกัน ลักษณะใบ ขนาดใบ และสีสันแตกต่างกันตามชนิดย่อ.

ใหม่!!: บันยันและไทรย้อยใบแหลม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

BanianBanyanBanyan treeUrostigmaบันยันทรีต้นบันยัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »