โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาปักเป้าปากแม่น้ำอเมริกาใต้

ดัชนี ปลาปักเป้าปากแม่น้ำอเมริกาใต้

ปลาปักเป้าปากแม่น้ำอเมริกาใต้ (South American estuarine puffer, Banded puffer, Parrot puffer) ปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง จำพวกปลาปักเป้า จัดอยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) มีลักษณะคล้ายกับปลาปักเป้าแอมะซอน (C. asellus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่พบเฉพาะในน้ำจืด แต่ปลาปักเป้าปากแม่น้ำอเมริกาใต้ มีขนาดความยาวเต็มที่ได้ถึง 30 เซนติเมตร และเป็นปลาสองน้ำที่อพยพไปมาระหว่างน้ำจืด-น้ำกร่อย-ทะเล และมีลักษณะร่วมที่เหมือนกัน คือ มีแถบสีดำที่บริเวณหลังและเป็นวงแหวนบริเวณโคนครีบหาง พบกระจายพันธุ์ในเขตชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกฝั่งตะวันตกในทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่อ่าวเปเรียจนถึงปากแม่น้ำแอมะซอนในบราซิล นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลาปักเป้าแอมะซอน โดยควรเลี้ยงให้อยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ กินอาหารจำพวก มอลลัสคาและครัสเตเชียนเหมือนปลาปักเป้าชนิดอื่น หากเลี้ยงในน้ำเค็มและสถานที่กว้างพอจะทำให้มีสุขภาพดีและทำให้มีอายุที่ยาวนาน.

10 ความสัมพันธ์: มอลลัสกาวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่สัตว์สัตว์พวกกุ้งกั้งปูสัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลาปักเป้าปลาที่มีก้านครีบปลาปักเป้าน้ำจืดอเมริกาใต้ปลาปักเป้าแอมะซอนปลาน้ำกร่อย

มอลลัสกา

มอลลัสกา (ไฟลัม: Mollusca, เสียงอ่าน) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง คือสัตว์ที่มีลำตัวนิ่ม ส่วนใหญ่มีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก พบทั้งบนบก น้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย ดำรงชีวิตเป็นอิสระ มีต่อมเมือกตามผิวลำตัว ระบบอวัยวะมีความซับซ้อน ลำตัวสั้น ด้านหน้าเป็นส่วนหัว ด้านล้างเป็นแผ่นเท้าสำหรับเคลื่อนที่และว่ายน้ำ ด้าบบนมีแมนเทิลที่ทำหน้าที่สร้างเปลือกแข็ง ภายในช่องปากมีแรดูลา ยกเว้นในหอยสองฝา ช่วยในการกินอาหาร มีต่อมน้ำลายและตับช่วยสร้างน้ำย่อย ระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วยหัวใจอยู่ด้านบนและเส้นเลือดไปตามส่วนต่างๆ ระบบขับถ่ายมีเนฟริเดียม ระบบหายใจประกอบด้วยเหงือกหรือถุงหายใจที่คล้ายปอด ระบบประสาทมีปมประสาทสามคู่และมีเส้นประสาทยึดระหว่างปม มีอวัยวะสำหรับรับภาพ กลิ่นและการทรงตัว ระบบสืบพันธุ์ส่วนใหญ่แยกเพศ มีบางพวกไม่แยกเพศและเปลี่ยนเพศได้ มีการปฏิสนธิทั้งแบบภายในและภายนอก สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกาเรียกโดยรวมว่า มอลลัสก์ (mollusc, mollusk).

ใหม่!!: ปลาปักเป้าปากแม่น้ำอเมริกาใต้และมอลลัสกา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่

วงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Puffers, Toadfishes, Blowfishes, Globefishes, Swellfishes) เป็นวงศ์ปลาปักเป้าจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างเฉพาะตัวคือ กลมป้อม ส่วนโคนหางเล็ก ครีบหลังและครีบก้นเล็กสั้นอยู่ค่อนไปทางท้าย ครีบอกใหญ่กลมมน ครีบหางใหญ่ปลายมน ว่ายน้ำโดยใช้ครีบอกโบกพร้อมกับครีบหลังและครีบก้น เวลาตกใจสามารถพองตัวได้โดยสูบน้ำหรือลมเข้าในช่องท้อง ช่องเหงือกเล็ก หัวโต จะงอยปากยื่น มีฟันลักษณะคล้ายปากนกแก้ว 4 ซี่ ตาโตอยู่ค่อนไปทางด้านบนของหัว รูจมูกเป็นติ่งสั้น ๆ ผิวขรุขระ มีเกล็ดเป็นหนามเล็ก ๆ อยู่บริเวณด้านท้อง ผิวลำตัวส่วนอื่นเรียบ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Tetraodontidae (/เท-ทรา-โอ-ดอน-ทิ-ดี้/) พบมากในทะเลเขตร้อนรอบโลกและบริเวณปากแม่น้ำ ชนิดที่พบในน้ำจืดมีน้อย สำหรับในประเทศไทย พบทั้งสิ้น 32 ชนิดทั้งในทะเล, น้ำกร่อยและน้ำจืด (ดูในเนื้อหาข้างล่าง) กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำมีเปลือกเป็นอาหารหลัก เนื่องจากมีฟันสำหรับกัดแทะเปลือกแข็งที่เป็นแคลเซี่ยมได้เป็นอย่างดี และปลาด้วย รวมทั้งสามารถกัดแทะครีบปลาชนิดอื่นได้ด้วย ในบางชนิดมีพฤติกรรมชอบซุกตัวใต้พื้นทรายเพื่อรอดักเหยื่อ นอกจากแล้วยังสามารถพ่นน้ำจากปากเพื่อเป่าพื้นทรายหาอาหารที่อยู่ซ่อนตัวอยู่ได้อีกด้วย นิตยสารอควาเรี่ยมบิส Vol.1 issue 4 ฉบับเดือนตุลาคม 2010 คอลัมน์ เปิดกร...ปักเป้าน้ำจืด เป็นปลาที่มีพิษร้ายแรง เมื่อกินเข้าไปอาจถึงตายได้ โดยจากการศึกษาปลาปักเป้าในวงศ์นี้ที่พบในประเทศไทย พบเป็นปลาปลาปักเป้าน้ำจืดที่มีการสะสมพิษในตัวจะมีอยู่จำนวน 8 ชนิด มากกว่าปลาปักเป้าน้ำกร่อยมีพิษ ซึ่งมีอยู่แค่ 4 ชนิด และลักษณะพิษของปลาปักเป้าน้ำจืดจะมีการสะสมพิษในอวัยวะทุกส่วน และพิษจะมีมากเป็นพิเศษในช่วงฤดูวางไข่ ราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน โดยพิษเกิดเนื่องจากแพลงก์ตอน หรือแบคทีเรียที่ทำให้เกิดพิษหลังจากปลาปักเป้ากินเข้าไป เมื่อมีผู้จับไปกินก็เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าปากแม่น้ำอเมริกาใต้และวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าปากแม่น้ำอเมริกาใต้และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์พวกกุ้งกั้งปู

รัสเตเชียน หรือ กุ้ง-กั้ง-ปู เป็นไฟลัมย่อยของสัตว์ขาปล้อง ประกอบด้วยพวกกุ้ง กั้ง และปู สัตว์ในกลุ่มนี้มีระยางค์ 5 คู่ แต่ละคู่มี 2 ก้าน ส่วนท้ายมีระยางค์อีก 8 คู่ ตาประกอบเป็นก้าน มีขนแข็งทั่วตัวใช้รับสัมผัส ระบบสืบพันธุ์แยกเพศกัน ปฏิสนธิภายใน ตัวอ่อนลอกคราบหลายครั้งจนกว่าจะเป็นตัวเต็มวัย แบ่งย่อยเป็น.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าปากแม่น้ำอเมริกาใต้และสัตว์พวกกุ้งกั้งปู · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าปากแม่น้ำอเมริกาใต้และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาปักเป้า

อันดับปลาปักเป้า (Puffers, Sunfishes, Triggerfishes, Filefishes) เป็นชื่อเรียกของปลาอันดับ Tetraodontiformes มีอยู่หลายชนิด หลายวงศ์ หลายสกุล อาศัยอยู่ทั้งในทะเล น้ำกร่อย และน้ำจืด โดยมากมีลำตัวกลม ครีบและหางเล็ก จึงว่ายน้ำได้เชื่องช้าดูน่ารัก หัวโต ฟันแหลมคมใช้สำหรับขบกัดสัตว์น้ำมีเปลือกต่าง ๆ เป็นอาหาร คนที่ลงเล่นน้ำจึงมักถูกกัดทำร้ายเป็นแผลบ่อย ๆ เมื่อตกใจหรือข่มขู่สามารถสูดน้ำหรือลมเข้าช่องท้องให้ตัวพองออกได้หลายลูกโป่ง ในบางชนิดมีหนามด้วย แต่การที่ปลาพองตัวออกเช่นนี้ จะมีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน ในบางครั้ง เช่น ปลาตกใจอาจไปกระทบกับถุงลมซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการทรงตัวเมื่ออยู่ใต้น้ำ ให้แตกได้ ปลาปักเป้าที่เป็นเช่นนี้จะไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ แต่จะลอยตัวอยู่บนผิวน้ำไปอย่างนั้น จนกระทั่งตาย เนื่องจากไม่สามารถป้องกันตัวหรือหากินได้อีก ปลาในอันดับนี้ที่รู้จักกันดี คือ ปลาปักเป้า ปักเป้าทุกชนิดเป็นปลาที่มีพิษในตัว โดยเฉพาะอวัยวะภายในและรังไข่ แม้บริโภคเพียงเล็กน้อยก็อาจถึงแก่ความตายได้ แต่บางชนิดในบางแหล่งน้ำหรือบางภูมิภาคก็มีผู้จับมาบริโภค โดยต้องรู้วิธีชำแหละเป็นพิเศษ เช่น ประเทศญี่ปุ่น นิยมบริโภคปลาปักเป้าโดยทำเป็นซูชิ จนเป็นอาหารประจำชาติญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จัก วงศ์ปลาปักเป้ามีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 วงศ์ คือ Diodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 2 ซี่ Tetraodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 4 ซี่ และ Triodontidae ปลาในวงศ์นี้ลักษณะลำตัวแบนข้าง สำหรับในประเทศไทยพบปลาทั้ง 3 วงศ์นี้ ทั้งหมด 42 ชนิด เป็นชนิดในน้ำจืด 9 ชนิด อีก 33 ชนิด เป็นชนิดในน้ำกร่อยรวมถึงทะเล ในประเทศไทย มีการนำปลาปักเป้ามาจำหน่ายในท้องตลาดในชื่อปลาเนื้อไก่ ซึ่งผู้บริโภคอาจได้รับพิษทำให้รู้สึกชาที่ริมฝีปาก ลิ้น ปลายนิ้วมือ คลื่นไส้วิงเวียน แขนขาไม่มีแรง ยืนและเดินไม่ได้ หายใจลำบาก หมดสติ และอาจจะอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้ เนื่องจากสารพิษชื่อว่า เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ในหนังปลา ไข่ปลา เนื้อปลา ตับ และลำไส้ มีความทนต่อความร้อนสูง ความร้อนในการปรุงอาหาร การหุงต้ม การแปรรูป ไม่สามารถทำลายสารพิษดังกล่าวได้ ส่วนปลาในวงศ์อื่นแต่อยู่ในอันดับนี้ คือ ปลาแสงอาทิตย์ (Mola mola) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในอันดับนี้ด้วย รวมทั้งปลาวัว (Balistidae) เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าปากแม่น้ำอเมริกาใต้และอันดับปลาปักเป้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าปากแม่น้ำอเมริกาใต้และปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าน้ำจืดอเมริกาใต้

ปลาปักเป้าน้ำจืดอเมริกาใต้ หรือ ปลาปักเป้าแอมะซอน หรือ ปลาปักเป้าอะเซลล์ หรือ ปลาปักเป้าเปรู (South American freshwater puffer, Amezon puffer, Peruvian puffer, Asell puffer) ปลาปักเป้าชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) เป็นปลาปักเป้าขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในสกุล Colomesus ซึ่งเป็นปลาปักเป้าชนิดที่พบได้ในแหล่งน้ำจืดของทวีปอเมริกาใต้ โดยมีขนาดเฉลี่ยประมาณ 8 เซนติเมตร ขนาดเมื่อโตเต็มที่ได้ประมาณ 15 เซนติเมตร มีแถบสีดำที่บริเวณหลังและเป็นวงแหวนบริเวณโคนครีบหาง พบอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้ เช่น แม่น้ำแอมะซอน และอาจพบได้จนถึงบริเวณน้ำกร่อย แต่จะไม่พบในน้ำเค็มหรือทะเล เป็นปลาเฉพาะถิ่นที่พบได้เฉพาะในประเทศเปรูเท่านั้น เป็นปลาที่มีอุปนิสัยไม่ดุร้าย จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม สามารถเลี้ยงรวมกันเป็นฝูง และเลี้ยงรวมกับปลาจำพวกอื่น ชนิดอื่นได้.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าปากแม่น้ำอเมริกาใต้และปลาปักเป้าน้ำจืดอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าแอมะซอน

ปลาปักเป้าแอมะซอน (South American puffers, Amazon puffers, Brazilian puffers) เป็นชื่อของปลาปักเป้า 2 ชนิดที่อยู่ในสกุล Colomesus ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) ทั้ง 2 ชนิดนี้ได้แก่ C. psittacus และ C. asellus จัดเป็นปลาปักเป้าที่มีขนาดเล็ก มีนิสัยไม่ดุร้ายและชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำมีเปลือก อาทิ กุ้ง, หอย หรือปู มีการกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำแอมะซอนแถบประเทศเปรู, เวเนซุเอลา, โคลอมเบีย, กายอานา และบราซิล ความแตกต่างของทั้ง 2 ชนิดนี้ กล่าวคือ C. psittacus มีขนาดความยาวเต็มที่ได้ถึง 30 เซนติเมตร และเป็นปลาสองน้ำที่อพยพไปมาระหว่างน้ำจืด-น้ำกร่อย-ทะเล ในขณะที่ C. asellus มีขนาดเล็กกว่า โดยมีขนาดเฉลี่ยประมาณ 8 เซนติเมตร โตเต็มที่ได้ถึง 15 เซนติเมตร และมีแถบสีดำที่บริเวณหลังและเป็นวงแหวนบริเวณโคนครีบหาง และจะอาศัยอยู่เฉพาะแค่ในน้ำกร่อยกับน้ำจืดเท่านั้น ทั้ง 2 ชนิดนี้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในชนิด C. asellus มีการจำหน่ายในประเทศไทยด้วย จัดเป็นปลานำเข้าที่ราคาไม่แพง.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าปากแม่น้ำอเมริกาใต้และปลาปักเป้าแอมะซอน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำกร่อย

ปลาชะลิน(''Chanos chanos'') ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ปลาน้ำกร่อย หรือ ปลาสองน้ำ (Amphidromous fish) คือ ปลาที่สามารถปรับสภาพให้อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำเค็มหรือในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืดตามแม่น้ำลำคลอง ปลาน้ำกร่อย อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าปากแม่น้ำอเมริกาใต้และปลาน้ำกร่อย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Banded pufferColomesus psittacus

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »