โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เหยี่ยวนกเขา

ดัชนี เหยี่ยวนกเขา

หยี่ยวนกเขา (Bird hawk, Sparrow hawk) เป็นสกุลของนกล่าเหยื่อสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Accipiter จัดอยู่ในวงศ์เหยี่ยวและอินทรี (Accipitridae) มีลักษณะโดยรวม คือ ลำตัวมีขนสีเทาน้ำตาล มีลายตลอดตัว อกสีน้ำตาลลายกระขาว มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ตามลำพังหรือเป็นคู่ มักล่าเหยื่อด้วยการซ่อนตัวเงียบ ๆ ในพุ่มไม้บนต้นเพื่อโฉบเหยื่อไม่ให้รู้ตัว มีขนาดเล็กที่สุด คือ เหยี่ยวนกกระจอกเล็ก (A. minullus) ที่พบในทวีปแอฟริกา มีความยาวลำตัวน้อยกว่า 20 เซนติเมตร (7.9 นิ้ว) ความกว้างของปีก 39 เซนติเมตร (15 นิ้ว) น้ำหนัก 68 กรัม (2.4 ออนซ์) จนถึงเหยี่ยวนกเขาท้องขาว (A. gentilis) ที่ตัวเมียขนาดใหญ่สุด ความยาวลำตัว 64 เซนติเมตร (25 นิ้ว) ความยาวปีก 127 เซนติเมตร (50 นิ้ว) น้ำหนัก 2,200 กรัม (4.9 ปอนด์) สำหรับในประเทศไทย พบได้ทั้งสิ้น 7 ชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองทั้งหมด เช่น เหยี่ยวนกเขาชิครา (A. badius), เหยี่ยวนกเขาหงอน (A. trivirgatus) และเหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น (A. gularis) เป็นต้น.

13 ความสัมพันธ์: การสูญพันธุ์วงศ์ย่อยเหยี่ยววงศ์เหยี่ยวและอินทรีสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสปีชีส์อันดับเหยี่ยวจอร์จ โรเบิร์ต เกรย์คาโรลัส ลินเนียสนกล่าเหยื่อเหยี่ยวนกเขาชิครา

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: เหยี่ยวนกเขาและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยเหยี่ยว

วงศ์ย่อยเหยี่ยว เป็นวงศ์ย่อยของนกล่าเหยื่อประเภทเหยี่ยว และอินทรี ใช้ชื่อวงศ์ว่า Accipitrinae อยู่ในวงศ์เหยี่ยวและอินทรี (Accipitridae) มีลักษณะทั่วไปไม่ต่างกับนกที่อยู่ที่วงศ์ใหญ่ ทั่วโลกพบทั้งสิ้น 4 สกุล 55 ชนิด (ในข้อมูลเก่าจำแนกออกเป็น 64 สกุล ในประเทศไทยพบ 21 สกุล).

ใหม่!!: เหยี่ยวนกเขาและวงศ์ย่อยเหยี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เหยี่ยวและอินทรี

วงศ์เหยี่ยวและอินทรี (วงศ์: Accipitridae) เป็นหนึ่งในสองวงศ์หลักของอันดับ Accipitriformes (นกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน) นกในวงศ์มีขนาดเล็กถึงใหญ่ มีปากเป็นตะขอแข็งแรง มีสัณฐานต่างกันไปตามอาหารการกิน เหยื่อเป็นตั้งแต่แมลงถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลาง บางชนิดกินซากสัตว์ และสองสามชนิดกินผลไม้เป็นอาหาร วงศ์เหยี่ยวและอินทรีสามารถพบได้ทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา บางชนิดพบได้บนหมู่เกาะ และบางชนิดเป็นนกอพยพ นกในวงศ์นี้ ประกอบไปด้วย เหยี่ยวนกเขา, อินทรี, เหยี่ยวรุ้ง, เหยี่ยวไคต์ และ แร้งโลกเก่า, เหยี่ยวออสเปรนั้นโดยปกติแล้วจะถูกวางไว้ในอีกวงศ์ (Pandionidae) รวมถึง นกเลขานุการ (Sagittariidae), และ แร้งโลกใหม่ที่ปัจจุบันได้รับการพิจารณาเป็นวงศ์และอันดับที่แยกออกไป ข้อมูลแคริโอไทป์แสดงว่า การวิเคราะห์เหยี่ยวและนกอินทรีจนบัดนี้เป็นกลุ่มจากชาติพันธุ์เดียวที่แยกกันอย่างเด่นชัด แต่ถึงกระนั้นกลุ่มนี้ควรพิจารณาวงศ์ของอันดับเหยี่ยวปีกแหลมหรือหลายอันดับแยกออกมาเป็นของตัวเอง.

ใหม่!!: เหยี่ยวนกเขาและวงศ์เหยี่ยวและอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: เหยี่ยวนกเขาและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: เหยี่ยวนกเขาและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: เหยี่ยวนกเขาและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: เหยี่ยวนกเขาและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: เหยี่ยวนกเขาและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับเหยี่ยว

อันดับเหยี่ยว (Accipitriformes) เป็นอันดับที่ประกอบด้วยนกล่าเหยื่อเวลากลางวันส่วนมาก เช่น เหยี่ยวนกเขา, อินทรี และ แร้ง มีประมาณ 225 ชนิด ในอดีตจะรวมเหยี่ยวในอันดับ Falconiformes แต่ผู้แต่งบางคนแยกมาไว้ในอันดับ Accipitriformes การศึกษา DNA ในปัจจุบันแสดงว่า เหยี่ยวปีกแหลมไม่ได้เป็นญาติใกล้ชิดกับนกในอันดับ Accipitriformes แต่ใกล้ชิดกับนกแก้วและนกเกาะคอน ตั้งแต่การแบ่งแยก (แต่ก็ไม่ได้วางเหยี่ยวถัดจากนกแก้วหรือนกเกาะคอน) ได้รับการยอมรับโดยคณะกรรมการการการจัดแบ่งประเภทอเมริกาใต้แห่งสมาคมนักปักษีวิทยาแห่งอเมริกา (American Ornithologists' Union) (SACC), คณะกรรมการการจัดแบ่งประเภทอเมริกาเหนือ (NACC), และ การประชุมปักษีนานาชาติ (IOC) บนพื้นฐานของ DNA และการจัดประเภทของ NACC และ IOC ได้จัดแร้งโลกใหม่ใน Accipitriformes, ขณะที่ SACC ได้จัดแร้งโลกใหม่อยู่ในอันดับอื่น การจัดวางแร้งโลกใหม่นั้นยังคงเป็นปัญหามาตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1990.

ใหม่!!: เหยี่ยวนกเขาและอันดับเหยี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ โรเบิร์ต เกรย์

อร์จ โรเบิร์ต เกรย์ (George Robert Gray, FRS) (8 กรกฎาคม ค.ศ. 1808 - (6 พฤษภาคม ค.ศ. 1872) จอร์จ โรเบิร์ต เกรย์เป็นนักสัตววิทยาและนักเขียนชาวอังกฤษ และเป็นประธานแผนกปักษาวิทยาของพิพิธภัณฑ์บริติชในกรุงลอนดอนเป็นเวลาสี่สิบเอ็ดปี จอร์จเป็นน้องของจอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ ผู้เป็นนักสัตววิทยาเช่นกัน และเป็นลูกชายของนักพฤษศาสตร์ซามูเอล เฟรเดอริค เกรย์ งานที่ได้รับการตีพิมพ์ชิ้นสำคัญของเกรย์คือ “Genera of Birds” (ค.ศ. 1844-ค.ศ. 1849) ที่มีภาพประกอบโดยเดวิด วิลเลียม มิทเชลล์ และ โจเซฟ วูล์ฟ ที่รวมข้อมูลของนกด้วยกันทั้งหมด 46,000 สปีชี.

ใหม่!!: เหยี่ยวนกเขาและจอร์จ โรเบิร์ต เกรย์ · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: เหยี่ยวนกเขาและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

นกล่าเหยื่อ

หยี่ยว เป็นนกล่าเหยื่อประเภทหนึ่ง นกล่าเหยื่อ (Bird of prey, Raptor-มาจากภาษาละตินคำว่า rapere หมายถึง "บังคับด้วยกำลัง") เป็นชื่อสามัญเรียกโดยรวมของนกกลุ่มที่หากินในเวลากลางวัน และกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร รวมถึงอาจกินซากเป็นอาหารด้วย นกล่าเหยื่อจะมีหลักการบินโดยใช้ความรู้สึกกระตือรือร้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองเห็น นกกลุ่มนี้เป็นนกที่ล่าสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนใหญ่รวมทั้งนกด้วยกันจำพวกอื่น ๆ โดยมีกรงเล็บและจะงอยปากที่ค่อนข้างใหญ่และประสิทธิภาพและเหมาะสำหรับการฉีกขาดเนื้อ ส่วนใหญ่ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร Brown, Leslie (1997).

ใหม่!!: เหยี่ยวนกเขาและนกล่าเหยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยวนกเขาชิครา

Shikra, Chappad Chidi, Mohali, Punjab, India เหยี่ยวนกเขาชิครา หรือ เหยี่ยวชิครา (shikra) เป็นเหยี่ยวขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกเหยี่ยวนกเขา มีลักษณะปากแหลมปลายปากงุ้มลง ปีกกว้างสั้น ปลายปีกแหลม หางยาว ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อยและลำตัวออกสีน้ำตาลมากกว่า ลำตัวด้านบนมีสีเทาอมฟ้า แก้มสีเทามีสีขาวเป็นลายเล็ก ๆ สีน้ำตาลจาง ๆ อยู่ติดกัน ที่คอมีสีเส้นสีดำลากผ่านกึ่งกลางสันคอ ตามีสีแดงหรือเหลือง หางสีเทามีลายแถบสีคล้ำ 5 แถบ แข้งเป็นสีเหลือง เมื่อเวลาบินจะเห็นปีกด้านล่างเป็นสีขาว ปลายปีกเป็นสีดำและมีลายยาวสีน้ำตาลคล้ำ ลูกนกที่ยังไม่โตเต็มที่จะมีขนสีน้ำตาลเทาเข้ม มีแถบสีขาวและน้ำตาลแดงที่ท้ายทอย คิ้วสีขาว หน้าอกมีแถบใหญ่สีน้ำตาลแดง ที่สีข้างและต้นขามีสีน้ำตาลแดงเป็นขีดสั้น ๆ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30-36 เซนติเมตร จึงจัดเป็นเหยี่ยวขนาดเล็กที่สุดในสกุล Accipiter ชนิดหนึ่ง มีพฤติกรรมกระพือปีกได้เร็ว และร่อนอยู่กลางอากาศเพื่อหาเหยื่อ ล่าเหยื่อจำพวกสัตว์ชนิดอื่นและนกขนาดเล็ก รวมถึงแมลงขนาดใหญ่เป็นอาหาร มักอยู่ตามลำพังหรืออยู่เป็นคู่ ปกติชอบเกาะนิ่งอยู่ตามยอดไม้สูงชายป่าหรือป่าละเมาะ คอยออกบินโฉบจับเหยื่อไม่ให้รู้ตัว สร้างรังอย่างง่าย ๆ โดยการเอากิ่งไม้มาขัดกันบนคาคบ เหยี่ยวนกเขาชิครา เป็นนกที่มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้าง โดยพบได้ตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, เอเชียใต้, เอเชียอาคเนย์, เอเชียตะวันออกจนถึงเกาะสุมาตรา จึงแบ่งออกเป็นชนิดย่อยด้วยกันทั้งหมด 6 ชนิด (ดูในตาราง) สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภูมิภาคยกเว้นภาคใต้ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: เหยี่ยวนกเขาและเหยี่ยวนกเขาชิครา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

AccipiterBird hawk

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »