โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

A

ดัชนี A

A (ตัวใหญ่: A, ตัวเล็ก: a) คืออักษรและสระตัวแรกในอักษรละติน มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า เอ ในขณะที่หลายภาษาเช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี เรียกตามชื่อเดิมของอักษรนี้คือ อา รูปพหูพจน์เขียนเป็น A's, As, as, หรือ a's อักษร A มีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณโดยมีหลักฐานในอักษรภาพไฮโรกลิฟฟิก และมีการหยิบยืมไปใช้โดยวัฒนธรรมอื่นจนกระทั่งปัจจุบัน โดยยังคงไว้ซึ่งจุดเด่นนั่นคือ A เป็นตัวอักษรแรกของชุดตัวอักษรในภาษาเสมอ ใช้แทนเสียงสระ อา เอ หรือ แอ ที่ประกอบกับเสียงพยัญชนะ หรือใช้แทนเสียงสระอย่างเดียวก็ได้ นอกจากนั้นอักษร A ก็มีการเติมเครื่องหมายและถูกดัดแปลงไปหลายรูปแบบเพื่อการนำไปใช้เป็นอักขรวิธีในภาษาหนึ่ง.

81 ความสัมพันธ์: ชีววิทยาฟลอปปีดิสก์ฟิสิกส์ฟีลด์พื้นที่กระดาษกรีซโบราณกลุ่มภาษาเซมิติกกึ่งแกนเอกภาษาฟินิเชียภาษาฝรั่งเศสภาษาละตินภาษาอังกฤษภาษาอิตาลีภาษาจาวาภาษาเยอรมันภาษาเอสเปรันโตยกทรงยุคสัมฤทธิ์ยูนิโคดระบบการวัดระบบเลขวัววิตามินเอสระสัทอักษรสากลหมู่โลหิตออกอแนกอักษรฟินิเชียอักษรกรีกอักษรละตินอักษรอาหรับอักษรอีทรัสคันอักษรฮีบรูอักษรตัวใหญ่อักขรวิธีอัตราส่วนอัตโตอารยธรรมอีทรัสคันอาร์ (หน่วยพื้นที่)อาเลฟอุปสรรค (ไวยากรณ์)อียิปต์โบราณอนาธิปไตยจักรวรรดิโรมันจำนวนเชิงพีชคณิตทรูไทป์ดอส (ระบบปฏิบัติการ)ดับเบิลเกรฟแอกเซนต์ดีเอ็นเอ...ความเร่งคาบสมุทรอิตาลีคำวิเศษณ์คำนามคำนำหน้าชื่อตรรกศาสตร์นาฬิกานิวคลีโอไทด์แอมแปร์แอลฟาแอสกีแครอนโน้ตไพ่ป๊อกไอคอน (คอมพิวเตอร์)ไฮเออโรกลีฟอียิปต์ไทป์เฟซเกมไพ่เกรฟแอกเซนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์เรขาคณิตเลขฐานสิบหกเลขที่อยู่ไอพีเวลาเสียงกัก เส้นเสียงเอชทีเอ็มแอลเอบซีดิกเฮิรตซ์เครื่องหมายเสริมสัทอักษรISO 216А ขยายดัชนี (31 มากกว่า) »

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: Aและชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ฟลอปปีดิสก์

ฟลอปปีดิสก์ขนาด 8 นิ้ว, 5¼ นิ้ว, และ 3½ นิ้ว เครื่องขับดิสก์ทั้งสามขนาดตามลำดับ แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ (floppy disk) หรือที่นิยมเรียกว่า แผ่นดิสก์ หรือ ดิสเกตต์ (diskette) หรือ แผ่นบันทึก (ศัพท์บัญญัติ) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปมีลักษณะบางกลมและบรรจุอยู่ในแผ่นพลาสติกสี่เหลี่ยม คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนฟลอปปีดิสก์ ผ่านทางฟลอปปีดิสก์ไดรฟ์ (floppy disk drive).

ใหม่!!: Aและฟลอปปีดิสก์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: Aและฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟีลด์

ในคณิตศาสตร์ ฟีลด์คือเซตที่สามารถนิยามการบวก ลบ คูณ และหารได้ และสามารถดำเนินการเหล่านั้นได้เหมือนกับจำนวนตรรกยะและจำนวนจริง ฟีลด์จึงมักถือว่าเป็นโครงสร้างเชิงพีชคณิตพื้นฐาน ซึ่งมักจะถูกใช้ในพีชคณิต, ทฤษฎีจำนวน และคณิตศาสตร์สาขาอื่น ๆ ฟีลด์ที่รู้จักกันดีที่สุดคือ ฟีลด์จำนวนตรรกยะและฟีลด์จำนวนจริง ฟีลด์จำนวนเชิงซ้อนก็ใช้กันมากเช่นกัน ไม่เฉพาะแค่ในคณิตศาสตร์ แต่ในวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมหลายสาขาเช่นกัน ฟีลด์อื่น ๆ มากมาย เช่น ฟีลด์ของฟังก์ชันตรรกยะ ฟีลด์ฟังก์ชันพีชคณิต ฟีลด์ตัวเลขพีชคณิต ก็มักจะถูกใช้และศึกษาในคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทฤษฎีจำนวนและเรขาคณิตเชิงพีชคณิต.

ใหม่!!: Aและฟีลด์ · ดูเพิ่มเติม »

พื้นที่

ื้นที่โดยรวมของรูปร่างทั้งสามรูปเท่ากับประมาณ 15.56 ตารางหน่วย พื้นที่ คือ ปริมาณของพื้นผิวหรือรูปร่างสองมิติ ที่แสดงถึงขอบเขตเนื้อที่ในแนวแผ่นระนาบ พื้นที่สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นจำนวนวัสดุที่หนาขนาดหนึ่งเท่าที่จำเป็นที่จะประกอบขึ้นเป็นรูปร่าง หรือปริมาณสีทาเท่าที่จำเป็นที่จะทาผิวหน้าในครั้งเดียว พื้นที่เป็นมโนทัศน์ในสองมิติที่คล้ายคลึงกับความยาวของเส้นโค้งในหนึ่งมิติ หรือปริมาตรของทรงตันในสามมิติ พื้นที่ของรูปร่างสามารถวัดได้โดยการเปรียบเทียบกับรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีขนาดตายตัวขนาดหนึ่ง หน่วยมาตรฐานของพื้นที่ในหน่วยเอสไอคือ ตารางเมตร (m2) ซึ่งเป็นพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านยาวด้านละหนึ่งเมตร Bureau International des Poids et Mesures, retrieved 15 July 2012 รูปร่างที่มีพื้นที่เท่ากับสามตารางเมตร จะเหมือนกับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเช่นนั้นสามรูป ในทางคณิตศาสตร์ หน่วยตารางหน่วยถูกนิยามขึ้นให้มีพื้นที่เท่ากับ "หนึ่ง" และพื้นที่ของรูปร่างหรือพื้นผิวอื่น ๆ ก็จะเป็นจำนวนจริงไร้มิติจำนวนหนึ่ง สูตรคำนวณหาพื้นที่ของรูปร่างพื้นฐานหลายสูตรเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก รูปวงกลม เป็นต้น จากการใช้สูตรเหล่านี้ พื้นที่ของรูปหลายเหลี่ยมใด ๆ สามารถหาได้จากการแบ่งรูปหลายเหลี่ยมเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนรูปร่างที่มีขอบเขตเป็นเส้นโค้งมักจะคำนวณพื้นที่ได้ด้วยแคลคูลัส (calculus) สำหรับรูปร่างทรงตันอย่างเช่นทรงกลม ทรงกรวย หรือทรงกระบอก พื้นที่บนผิวรอบนอกของรูปทรงเหล่านี้เรียกว่า พื้นที่ผิว สูตรคำนวณพื้นที่ผิวของรูปทรงพื้นฐานต่าง ๆ สามารถหาได้ตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ แต่การหาพื้นที่ผิวของรูปทรงที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นต้องใช้แคลคูลัสหลายตัวแปร (multivariable calculus).

ใหม่!!: Aและพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

กระดาษ

กระดาษ กระดาษ เป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นมาสำหรับการจดบันทึก มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เชื่อกันว่ามีการใช้กระดาษครั้งแรกๆ โดยชาวอียิปต์และชาวจีนโบราณ แต่กระดาษในยุคแรกๆ ล้วนผลิตขึ้นเพื่อการจดบันทึกด้วยกันทั้งสิ้น จึงกล่าวได้ว่าระบบการเขียนคือแรงผลักดันให้เกิดการผลิตกระดาษขึ้นในโลก ปัจจุบันกระดาษไม่ได้มีประโยชน์ในการใช้จดบันทึกตัวหนังสือ หรือข้อความ เท่านั้น ยังใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้มากมาย เช่น กระดาษชำระ กระดาษห่อของขวัญ กระดาษลูกฟูกสำหรับทำกล่อง เป็นต้น.

ใหม่!!: Aและกระดาษ · ดูเพิ่มเติม »

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

ใหม่!!: Aและกรีซโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเซมิติก

หมายของอมาร์นา เขียนด้วย ภาษาอัคคาเดีย กลุ่มภาษาเซมิติก (Semitic languages) เป็นกลุ่มของภาษาที่มีผู้พูดมากกว่า 300 ล้านคนในปริเวณแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลางและจะงอยของแอฟริกา เป็นสาขาย่อยในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก และเป็นสาขาเดียวของตระกูลนี้ที่มีผู้พูดในทวีปเอเชีย กลุ่มภาษาเซมิติกที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาอาหรับ (ภาษาแม่ 325 ล้านคน) รองลงมาคือภาษาอัมฮารา (27 ล้านคน) ภาษาตึกรึญญา (6.9 ล้านคน) และภาษาฮีบรู (5 ล้านคน) กลุ่มภาษาเซมิติกเป็นกลุ่มภาษาแรกๆ ที่มีระบบการเขียน ภาษาอัคคาเดียเริ่มเขียนตั้งแต่ราว 2,000 ปีก่อนพุทธศักราช นอกจากนั้นยังมีอักษรโบราณที่ใช้เขียนกลุ่มภาษาเซมิติกมากมาย เช่น อักษรฟินิเชีย อักษรอาหรับ อักษรแอราเมอิก อักษรซีรีแอก อักษรอาระเบียใต้ และอักษรเอธิโอปิก มีภาษามอลตาเท่านั้นที่เป็นกลุ่มภาษานี้แต่เขียนด้วยอักษรโรมัน ชื่อของกลุ่มภาษานี้มาจาก เซม บุตรชายของโนอาห์ ในไบเบิล.

ใหม่!!: Aและกลุ่มภาษาเซมิติก · ดูเพิ่มเติม »

กึ่งแกนเอก

กึ่งแกนเอกของวงรี ระยะกึ่งแกนเอก (Semi-major axis) ในทางเรขาคณิต หมายถึงความยาวครึ่งหนึ่งของแกนเอก ซึ่งใช้แสดงถึงมิติของวงรีหรือไฮเพอร์โบลา หมวดหมู่:ภาคตัดกรวย.

ใหม่!!: Aและกึ่งแกนเอก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฟินิเชีย

ษาฟินิเชีย เป็นภาษาที่มีจุดกำเนิดในชายฝั่งที่เรียก "Pūt" ในภาษาอียิปต์โบราณ "คานาอัน" ในภาษาฟินิเชีย ภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก และเรียก "ฟินิเชีย"ในภาษากรีกและภาษาละติน เป็นภาษากลุ่มเซมิติกสาขาคานาอัน ใกล้เคียงกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก บริเวณดังกล่าวปัจจุบันอยู่ในเลบานอนและซีเรีย และอิสราเอลทางตอนเหนือ เป็นที่รู้จักจากจารึกต่างๆในไบบลอสและหนังสือที่เขียนด้วยภาษาต่างๆ จารึกภาษาฟินิเชียเก่าสุดพบในไบบลอส อายุราว 457 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งพบทั้งใน เลบานอน ซีเรีย อิสราเอล ไซปรัส เกาะซิซิลี ตูนีเซีย โมร็อกโก แอลจีเรีย มอลตา และที่อื่นๆในคาบสมุทรไอบีเรีย การถอดความภาษาฟินิเชียใช้ความรู้ภาษาฮีบรูเป็นพื้นฐาน.

ใหม่!!: Aและภาษาฟินิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: Aและภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: Aและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: Aและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอิตาลี

ษาอิตาลี (Italiano หรือ lingua italiana; Italian) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์,โดยส่วนใหญ่ภาษาอิตาลีเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาละตินมากที่สุดในภาษากลุ่มโรมานซ์ด้วยกัน, ภาษาอิตาลีเป็นภาษาทางการในอิตาลี, สวิตเซอร์แลนด์, ซานมารีโน, นครรัฐวาติกัน และอิสเตรียตะวันตก (ในสโลวีเนียและโครเอเชีย), เคยมีสถานะเป็นภาษาทางการของแอลเบเนีย, มอลตา และ โมนาโก ซึ่งมีการพูดภาษานี้กันอย่างกว้างขวางรวมทั้งอดีตแอฟริกาตะวันออกของอิตาลีและแอฟริกาเหนือของอิตาลี (ปัจจุบันคือประเทศลิเบีย), มีการพูดภาษาอิตาลีในกลุ่มผู้อพยพชาวอิตาเลียนขนาดใหญ่ในอเมริกาและออสเตรเลีย, มีสถานะเป็นภาษาทางการของชนกลุ่มน้อยในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, สโลวีเนีย, โครเอเชีย และ โรมาเนีย left.

ใหม่!!: Aและภาษาอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจาวา

ลโก้ของภาษาจาวา ภาษาจาวา (Java programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming) พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้.

ใหม่!!: Aและภาษาจาวา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: Aและภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเอสเปรันโต

ษาเอสเปรันโต (Esperanto) เป็นภาษาประดิษฐ์ในกลุ่มภาษาช่วยในการสื่อสารระดับสากลที่ใช้กันมากที่สุดในโลก คิดค้นโดย แอล.แอล. ซาเมนฮอฟ (L.L. Zamenhof) จักษุแพทย์ชาวโปแลนด์ (ในช่วงที่รัสเซียปกครองโปแลนด์ โดยมีพ่อแม่เป็นชาวยิว) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2430 โดยต้องการให้ภาษาเอสเปรันโตเป็นภาษาที่เรียนง่าย และเป็นภาษาที่สองสำหรับการสื่อสารระดับนานาประเทศ ชื่อ เอสเปรันโต มาจากนามปากกา ดร.

ใหม่!!: Aและภาษาเอสเปรันโต · ดูเพิ่มเติม »

ยกทรง

กทรง ยกทรง หรือชื่อเรียกอื่น เช่น เสื้อชั้นใน เสื้อใน บราเซียร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า บรา เป็นเครื่องนุ่งห่มในหมวดของชุดชั้นในผู้หญิง ที่ใช้ปกปิดหน้าอก หรือเต้านม โดยผู้หญิงจะเริ่มใส่ยกทรง เมื่อเริ่มมีเต้านมช่วงวัยรุ่นตอนต้น และปัจจุบันมีรูปแบบหลากหลายตามแฟชั่น.

ใหม่!!: Aและยกทรง · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสัมฤทธิ์

ำริดคือยุคที่มนุษย์อาศัยอยู่เป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้น ดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก ปลูกข้าว มีการเลี้ยงสัตว์ ชีวิตความเป็นอยู่ได้ดีขึ้นกว่ายุคหิน รู้จักการทำสำริดเป็นเครื่องประดับ ยุคสำริดสิ้นสุดลงในช่วง 1206-1150 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จักรวรรดิฮิตไทต์ และอาณาจักรไมซีเนียล่มสลาย ยุคต่อมาหลังยุคสัมฤทธิ์ คือ ยุคเหล็ก.

ใหม่!!: Aและยุคสัมฤทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิโคด

The Unicode Standard, Version 5.0 อักขระยูนิโคดทั้งหมดเมื่อพิมพ์ลงกระดาษ (รวมทั้งสองแผ่น) ยูนิโคด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์ ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์ สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2).

ใหม่!!: Aและยูนิโคด · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการวัด

ระบบการวัด (อังกฤษ: systems of measurement) คือกลุ่มของหน่วยวัดที่สามารถใช้ระบุสิ่งใด ๆ ซึ่งสามารถวัดได้ และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีการวางระเบียบและนิยามเพื่อการค้าและการพาณิชย์ ในทางวิทยาศาสตร์ ปริมาณบางชนิดที่ได้วิเคราะห์แล้วถูกกำหนดขึ้นให้เป็นหน่วยมูลฐาน ซึ่งหมายความว่าหน่วยอื่น ๆ ที่จำเป็นสามารถพัฒนาได้จากหน่วยมูลฐานเหล่านี้ ในขณะที่ยุคก่อนหน้า หน่วยวัดต่าง ๆ ถูกกำหนดขึ้นโดยคำสั่งจากการวินิจฉัยสิ่งเหล่านั้น (ดูเพิ่มที่กฎหมายลายลักษณ์อักษร) และไม่จำเป็นว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับการใช้งานทางสากลหรือความสอดคล้องในหน่วยตัวเอง ระบบการวัดสำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน ใช้ตาม พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ๒)..

ใหม่!!: Aและระบบการวัด · ดูเพิ่มเติม »

ระบบเลข

ระบบเลข เป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวนต่าง ๆ ระบบเลขแต่ละระบบมีจำนวนตัวเลขที่ใช้เหมือนกับชื่อของระบบตัวเลขนั้น และมีฐานของจำนวนเลขตามชื่อของมัน เช่น เลขฐานสอง เลขฐานแปด เลขฐานสิบ เลขฐานสิบหก.

ใหม่!!: Aและระบบเลข · ดูเพิ่มเติม »

วัว

วัว หรือ โค (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: งัว) เป็นสัตว์มีกีบเท้าที่เป็นสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ชนิดที่สามัญที่สุด เป็นสมาชิกสมัยใหม่ที่โดดเด่นในวงศ์ย่อย Bovinae เป็นชนิดที่แพร่หลายที่สุดในสกุล Bos และถูกจำแนกเป็นกลุ่มอย่างกว้างขวางที่สุดว่า Bos primigenius วัวถูกเลี้ยงเป็นปศุสัตว์เพื่อเอาเนื้อ เพื่อเอานมและผลิตภัณฑ์นมอื่น ๆ และเป็นสัตว์ลากเทียม ผลิตภัณฑ์อื่นจากวัวมีหนังและมูลเพื่อใช้เป็นปุ๋ยคอกหรือเชื้อเพลิง ในบางประเทศ เช่น อินเดีย วัวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ จากบรรพบุรุษวัวที่เป็นสัตว์เลี้ยงเพียง 80 ตัว ในทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกีเมื่อราว 10,500 ปีก่อนBollongino, Ruth & al.

ใหม่!!: Aและวัว · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินเอ

รงสร้างของเรตินอล วิตามินเอที่พบได้บ่อย วิตามินเอ เป็นวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน มีส่วนประกอบสำคัญของคอร์เนีย และยังมีผลต่อการเจริญเติบโต การสร้างกระดูก และระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้ ยังป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ ทำให้ผิวและผมแข็งแรง ค้นพบโดย ดร.

ใหม่!!: Aและวิตามินเอ · ดูเพิ่มเติม »

สระ

ระ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: Aและสระ · ดูเพิ่มเติม »

สัทอักษรสากล

ตารางสัทอักษรสากลรุ่น ค.ศ. 2015 สัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet: IPA) คือสัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมัน สัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย สำหรับ ตารางสัทอักษรในภาษาไทย ดูได้ที่ ภาษาไท.

ใหม่!!: Aและสัทอักษรสากล · ดูเพิ่มเติม »

หมู่โลหิต

หมู่โลหิต แอนติเจนของหมู่เลือด ABO แสดงบนเม็ดเลือดแดง หมู่โลหิต (Blood Type หรือ Blood Group) คือ การแยกแยะ เลือด เป็นหมวดหมู่ ปัจจุบันมีระบบหมู่โลหิต 32 ระบบ ระบบหมู่โลหิตที่สำคัญ ระบบเอบีโอ (ABO System) และ ระบบอาร์เอช (Rh System) โดยจำแนกตาม แอนติเจน ที่อยู่บน เม็ดเลือดแดง.

ใหม่!!: Aและหมู่โลหิต · ดูเพิ่มเติม »

ออกอแนก

ออกอแนก (ogonek) เป็นสัญลักษณ์รูปร่างคล้ายตะขอ (˛) อยู่ใต้รูปสระของอักษรละตินในหลาย ๆ ภาษา เพื่อแสดงเสียงที่แตกต่างออกไปจากรูปสระปกติ คำว่า ogonek เป็นคำในภาษาโปแลนด์ที่ใช้เรียกสัญลักษณ์ดังกล่าว แปลว่า หางเล็กๆ เนื่องจากคนทั่วไปจะรู้จักสัญลักษณ์ดังกล่าวจากภาษาโปแลนด์มากกว่าภาษาอื่น ๆ นอกจากภาษาโปแลนด์แล้ว ยังมีการใช้ออกอแนกในภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษาลิทัวเนีย ภาษาต่าง ๆ ของอเมริกันอินเดียน เป็นต้น หมวดหมู่:อักษรละติน.

ใหม่!!: Aและออกอแนก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฟินิเชีย

ัญชนะและตัวเลขของอักษรฟินิเชีย อักษรฟินิเชีย พัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ยุคแรกเริ่ม ซึ่งปรากฏครั้งแรกราว 1,800-1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช จารึกเก่าสุดมาจากเมืองโบราณไบบลอส อายุราว 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีอักษร 22 ตัว ไม่มีเครื่องหมายสระ ชื่อตัวอักษรเหมือนที่ใช้เรียกอักษรฮีบรู.

ใหม่!!: Aและอักษรฟินิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกรีก

อักษรกรีก เป็นอักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษากรีก โดยมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคคลาสสิก ประมาณ 357 ปีก่อนพุทธศักราช (ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช) และยังคงใช้สืบต่อเรื่อยมา นับเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดแบบหนึ่งที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในสมัยกรีกโบราณนั้น อักษรกรีกยังใช้เขียนแทนจำนวนอีกด้วย ซึ่งในกรณีนี้จะเรียกว่าเลขกรีก ในทำนองเดียวกับเลขโรมัน ทุกวันนี้เราใช้อักษรกรีกเป็นสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ เป็นชื่อดาวฤกษ์ เป็นชื่อกลุ่มภราดรและกลุ่มภคินี และใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกมาก.

ใหม่!!: Aและอักษรกรีก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: Aและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอาหรับ

อักษรอาหรับ เป็นอักษรที่มีความสำคัญในศาสนาอิสลาม เพราะคัมภีร์อัลกุรอานเขียนด้วยอักษรนี้ อักษรนี้จึงมีใช้แพร่หลายในกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม แม้แต่ภาษานอกกลุ่มเซมิติก เช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอูรดู และภาษามลายูปัตตานี ตัวอักษรมีหลายแบบแต่รูปร่างของอักษรเหมือนกัน.

ใหม่!!: Aและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอีทรัสคัน

อักษรอีทรัสคัน (Etruscan alphabet)พัฒนามาจากอักษรกรีกตะวันตก จารึกที่พบครั้งแรกอายุราว 7 ปีก่อนพุทธศักราช ส่วนมากเขียนจากซ้ายไปขวา แนวนอน แต่บางหลักเขียนจากซ้ายไปขวาแล้วขวาไปซ้าย พบจารึกอักษรนี้ตามหลุมฝังศพ แจกัน รูปปั้น กระจก อัญมณี ชิ้นส่วนของจารึกเหล่านี้สามารถอ่านออกเสียงได้ แต่นักวิชาการยังไม่แน่ใจในความหมาย งานส่วนใหญ่ที่เหลืออยู่เป็นงานด้านศาสนา ประวัติศาสตร์และการละคร.

ใหม่!!: Aและอักษรอีทรัสคัน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฮีบรู

อรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เขียนโดย Elijah Levita อักษรฮีบรูเป็นอักษรตระกูลเซมิติกไร้สระชนิดหนึ่ง ใช้ในการเขียนงานในภาษาฮีบรู ในยุคแรกๆอักษรฮีบรูโบราณพัฒนามาจากอักษรฟินิเชีย อักษรฮีบรูรุ่นใหม่พัฒนามาจากอักษรอราเมอิกรุ่นแรกๆ จารึกภาษาฮีบรูพบครั้งแรกเมื่อ 557 ปีก่อนพุทธศักราช อักษรนี้เขียนจากขวาไปซ้ายในแนวนอน ตัวอักษรบางตัว เช่น กาฟ, เมม, นุน, ฟี และซาดดี มีรูปท้ายคำ ซึ่งจะพบในตำแหน่งสุดท้ายของคำเท่านั้น ไม่มีตัวเลข ใช้เลขอารบิกแทน สระเสียงยาวกำหนดโดยตัว อะเลฟ, วาว และโยด/ยุด ไม่แสดงสระเสียงสั้นยกเว้นในไบเบิล กวีนิพนธ์และหนังสือสำหรับเด็กและชาวต่างชาต.

ใหม่!!: Aและอักษรฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

อักษรตัวใหญ่

การเก็บตัวพิมพ์แยกระหว่างตัวใหญ่กับตัวเล็ก อักษรกรีก บีตา ตัวใหญ่อยู่ทางซ้าย อักษรตัวใหญ่ (อังกฤษ: capital letter, majuscule) คือกลุ่มของอักษรประเภทหนึ่งในระบบการเขียน เช่นในอักษรละติน: A, B, C, D,...

ใหม่!!: Aและอักษรตัวใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

อักขรวิธี

อักขรวิธี หมายถึงวิธีการเขียนและการใช้ระบบการเขียนของภาษาหนึ่งๆ ให้ถูกต้อง (ซึ่งภาษาหนึ่งๆ อาจมีระบบการเขียนมากกว่าหนึ่งแบบก็ได้ เช่นภาษาเคิร์ด) อักขรวิธีเป็นสิ่งที่นิยามหรืออธิบายถึงกลุ่มของสัญลักษณ์ที่ใช้ (คืออักษรหรือเครื่องหมายเสริมอักษรเป็นต้น) และกฎเกณฑ์ที่ว่าจะเรียบเรียงสัญลักษณ์เหล่านั้นอย่างไร กฎเกณฑ์เหล่านั้นอาจมีเรื่องของเครื่องหมายวรรคตอน การสะกดคำ และการขึ้นต้นอักษรตัวใหญ่เข้ามาประกอบด้วย ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาษา บุคคลทั่วไปมักเข้าใจว่าอักขรวิธีเป็นเรื่องของการสะกดคำเพียงอย่างเดียว ความจริงคือการสะกดคำเป็นส่วนหนึ่งของอักขรวิธีเท่านั้น.

ใหม่!!: Aและอักขรวิธี · ดูเพิ่มเติม »

อัตราส่วน

อัตราส่วนความยาวต่อความสูงของจอมอนิเตอร์โดยทั่วไป อัตราส่วน (อังกฤษ: ratio, IPA: เรโช) คือปริมาณอย่างหนึ่งที่แสดงถึงจำนวนหรือขนาดตามสัดส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับอีกปริมาณหนึ่งที่เกี่ยวข้องกัน อัตราส่วนจะเป็นปริมาณที่ไม่มีหน่วย หากอัตราส่วนนั้นเกี่ยวข้องกับปริมาณที่อยู่ในมิติเดียวกัน และเมื่อปริมาณสองอย่างที่เปรียบเทียบกันเป็นคนละชนิดกัน หน่วยของอัตราส่วนจะเป็นหน่วยแรก "ต่อ" หน่วยที่สอง ตัวอย่างเช่น ความเร็วสามารถแสดงได้ในหน่วย "กิโลเมตรต่อชั่วโมง" เป็นต้น ถ้าหน่วยที่สองเป็นหน่วยวัดเวลา เราจะเรียกอัตราส่วนชนิดนี้ว่า อัตรา (rate) ทั้งเศษส่วนและอัตราร้อยละเป็นอัตราส่วนที่นำเอาไปใช้เฉพาะทาง เศษส่วนเป็นปริมาณส่วนหนึ่งที่เทียบกับปริมาณทั้งหมด ในขณะที่อัตราร้อยละจะแบ่งปริมาณทั้งหมดออกเป็น 100 ส่วน นอกจากนั้น อัตราส่วนอาจสามารถเปรียบเทียบปริมาณได้มากกว่าสองอย่างซึ่งพบได้น้อยกว่า เช่นสูตรอาหาร หรือการผสมสารเคมี เป็นต้น อัตราส่วน 2:3 (สองต่อสาม) หมายความว่าปริมาณทั้งหมดประกอบขึ้นจากวัตถุแรก 2 ส่วนและวัตถุหลังอีก 3 ส่วน ดังนั้นปริมาณวัตถุจะมีทั้งหมด 5 ส่วน หรืออธิบายให้เจาะจงกว่านี้ ถ้าในตะกร้ามีแอปเปิล 2 ผลและส้ม 3 ผล เรากล่าวว่าอัตราส่วนระหว่างแอปเปิลกับส้มคือ 2:3 ถ้าหากเพิ่มแอปเปิลอีก 2 ผลและส้มอีก 3 ผลลงในตะกร้าใบเดิม ทำให้ในตะกร้ามีแอปเปิล 4 ผลกับส้ม 6 ผล เป็นอัตราส่วน 4:6 ซึ่งก็ยังเทียบเท่ากันกับ 2:3 (แสดงให้เห็นว่าอัตราส่วนก็สามารถลดทอนได้เหมือนกับเศษส่วน) ซึ่งในกรณีนี้ หรือ 40% ของผลไม้ทั้งหมดคือแอปเปิล และ หรือ 60% ของผลไม้ทั้งหมดคือส้ม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ อัตราส่วน 2:3 ไม่ได้มีความหมายเหมือนกับเศษส่วน ในทางวิทยาศาสตร์ อัตราส่วนของปริมาณทางกายภาพมักจะถูกทำให้เป็นจำนวนจริงจำนวนหนึ่ง เช่นอัตราส่วนของ 2\pi เมตรต่อ 1 เมตร (อัตราส่วนระหว่างเส้นรอบวงกับรัศมีของรูปวงกลม) เท่ากับจำนวนจริง 2\pi ด้วยเหตุจากนิยามของการวัดที่มีมาแต่เดิม ซึ่งเป็นการประมาณอัตราส่วนระหว่างปริมาณหนึ่งกับอีกปริมาณหนึ่งที่เป็นชนิดเดียวกัน ในทางพีชคณิต ปริมาณสองชนิดที่มีอัตราส่วนเป็นค่าคงตัว คือความสัมพันธ์เชิงเส้นชนิดพิเศษเรียกว่า สัดส่วน (proportionality) หมวดหมู่:คณิตศาสตร์มูลฐาน หมวดหมู่:พีชคณิต.

ใหม่!!: Aและอัตราส่วน · ดูเพิ่มเติม »

อัตโต

อัตโต (Atto) เป็นคำนำหน้าหน่วยในระบบเอสไอ แสดงถึงค่าหนึ่งส่วนล้านล้านล้าน (10-18 หรือ 0.000 000 000 000 000 001) มันมีสัญลักษณ์คือ a คำว่า อัตโต มาจากคำว่า atten ในภาษาเดนมาร์ก มีความหมายว่า 18 หมวดหมู่:คำอุปสรรคเอสไอ.

ใหม่!!: Aและอัตโต · ดูเพิ่มเติม »

อารยธรรมอีทรัสคัน

อารยธรรมอีทรัสคัน (Etruscan civilization) เป็นคำใหม่ที่ใช้เรียกอารยธรรมและวิธีการใช้ชีวิตของชนในอิตาลีโบราณและคอร์ซิกาที่ชาวโรมันเรียกว่า “อีทรัสคิ” (Etrusci) หรือ “ทัสคิ” (Tusci) ภาษากรีกแอตติคสำหรับชนกลุ่มนี้คือ “Τυρρήνιοι” (Tyrrhēnioi) ที่แผลงมาเป็นภาษาลาติน “Tyrrhēni” (อีทรัสคัน), “Tyrrhēnia” (อีทรูเรีย (Etruria)) และ “Mare Tyrrhēnum” (ทะเลไทเรเนียน (Tyrrhenian Sea)) ชาวอีทรัสคันเองเรียกตนเองว่า “Rasenna” (ราเซนา) ที่แผลงมาเป็น “Rasna” หรือ “Raśna” (ราซนา) ชาวอีทรัสคันมีภาษาและวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองแต่ไม่ทราบที่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ก่อนการก่อตั้งกรุงโรมมาจนกระทั่งกลืนไปกับชาวโรมันโบราณในสาธารณรัฐโรมัน ในจุดที่รุ่งเรืองสูงสุดระหว่าสมัยการก่อตั้งกรุงโรมและราชอาณาจักรโรมันอีทรัสคันประกอบด้วยสามรัฐในสมาพันธรัฐ: ในอีทรูเรีย, ในบริเวณลุ่มแม่น้ำโป (Po Valley) กับทางตะวันออกของเทือกเขาแอลป์ และในบริเวณละติอุมและคัมปาเนีย กรุงโรมเองก็อยู่ในดินแดนที่เป็นของอีทรัสคัน และมีหลักฐานว่าในสมัยแรกของโรมเป็นสมัยที่ครอบคลุมโดยอีทรัสคันจนกระทั่งเวอิอิ (Veii) โจมตีกรุงโรมในปี 396 ก่อนคริสต์ศักราช อารยธรรมที่กล่าวว่าเป็นอารยธรรมอีทรัสคันอย่างแน่นอนวิวัฒนาการขึ้นในอิตาลีหลังจากราวปี 800 ก่อนคริสต์ศักราชในบริเวณที่เป็นอารยธรรมวิลลาโนวัน (Villanovan culture) ของยุคเหล็กก่อนหน้านั้น อารยธรรมอีทรัสคันมาเสื่อมโทรมลงราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราชเมื่อมาได้รับอิทธิพลจากนักการค้าชาวกรีกและเพื่อนบ้านของกรีซกรีซใหญ่ (Magna Graecia), อารยธรรมกรีกทางตอนใต้ของอิตาลี หลังจากปี 500 ก่อนคริสต์ศักราชอำนาจทางการเมืองของอีทรัสคันก็สิ้นสุดลงCary, M.; Scullard, H. H., A History of Rome. Page 28.

ใหม่!!: Aและอารยธรรมอีทรัสคัน · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ (หน่วยพื้นที่)

อาร์ คือหน่วยของพื้นที่ มักย่อว่า a จากภาษาอังกฤษ are 1 อาร์ มีค่าเท่ากับ.

ใหม่!!: Aและอาร์ (หน่วยพื้นที่) · ดูเพิ่มเติม »

อาเลฟ

อาเลฟ (Aleph) เป็นอักษรตัวแรกของอักษรฮีบรู ตรงกับอักษรอาหรับ (ا; “อลิฟ”) อักษรกรีก “อัลฟา” และอักษรละติน “A” พัฒนามาจากอักษรฟินิเชีย ʾāleph ซึ่งมาจากอักษรคานาอันไนต์ ʾalp “วัว” อักษรนี้ในภาษาอาหรับใช้แทนเสียง /ʔ/ หรือเสียงสระอา เพื่อแสดงว่าอลิฟนั้นแทนเสียงพยัญชนะหรือสระจึงเพิ่มฮัมซะฮ์ (ء) ขึ้นมา เรียกว่า ฮัมซะตุลก็อฏอิ ฮัมซะฮ์ไม่ถือว่าเป็นตัวอักษรเต็มตัวเท่ากับอักษรอื่น ๆ เพราะมักจะใช้คู่กับตัวพาคือ วาว (و), ยาอ์ที่ไม่มีจุดข้างล่าง (ی) และอลิฟ (ا) อลิฟใช้คู่กับฮัมซะฮ์เมื่อเป็นพยางค์แรกของคำและประสมสระเสียงสั้น โดยอยู่ข้างบน (أ) เมื่อเป็นเสียงสระอะหรืออุ และอยู่ข้างล่าง (إ) เมื่อเป็นเสียงสระอิ ถ้าอลิฟเป็นสระเสียงยาวจะไม่แสดงฮัมซะฮ์ ฮัมซะฮ์ชนิดที่ 2 ฮัมซะตุลวัศลิ ใช้เฉพาะกับหน่วยเสียงแรกของคำว่า ال (อัล) อันเป็นคำกำหนดชี้เฉพาะหรือคำในกรณีใกล้เคียงกัน ต่างจากฮัมซะฮ์ชนิดแรกตรงที่ว่า จะถูกยกเลิกเมื่อมีสระอยู่ข้างหน้า ฮัมซะฮ์ชนิดนี้ใช้อะลิฟเป็นตัวพาเท่านั้น ปกติจะไม่เขียนอักษรฮัมซะฮ์ แต่จะเขียนอลิฟเพียงอย่างเดียว อลิฟมัดดะ (alif madda) ใช้ในกรณีที่อะลิฟ 2 ตัวเขียนติดกัน (เสียงอา) จะเขียนอะลิฟในรูป (آ) เช่น القرآن (อัลกุรอาน) อลิฟมักศูเราะฮ์ (alif maqsūrah) รูปร่างเหมือนตัวยาอ์ที่ไม่มีจุดข้างล่าง (ی) ใช้เฉพาะตำแหน่งท้ายคำเท่านั้น ใช้แทนเสียงสระอาเช่นเดียวกับอลิฟ ในคำทับศัพท์ภาษาอาหรับจะแทนฮัมซะฮ์ด้วย อ์ เมื่อเป็นตัวสะก.

ใหม่!!: Aและอาเลฟ · ดูเพิ่มเติม »

อุปสรรค (ไวยากรณ์)

อุปสรรค หรือ หน่วยคำเติมหน้า (Prefix) คือหน่วยคำเติมชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับเติมหน้ารากศัพท์ เพื่อเพิ่มความหมาย เปลี่ยนความหมาย หรือเปลี่ยนหน้าที่ของคำ (เช่นเปลี่ยนคำกริยาเป็นคำนาม) มีใช้ในภาษาต่าง ๆ ในหลายตระกูล เช่น ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน (ภาษาบาลี สันสกฤต กรีก ละติน แม้กระทั่งภาษาอังกฤษ) ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (ภาษามอญ เขมร) ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน (ภาษามลายู) เป็นต้น อุปสรรคจะไม่ปรากฏอยู่เดี่ยว ๆ ต้องเติมหน้าคำอื่น ในภาษาหนึ่ง ๆ มักจะมีอุปสรรคจำนวนจำกัด เช่น ในภาษาบาลีมีอุปสรรคเพียง 20 คำ อาทิ วิ, อุ, อา, นิ, ป, สํ, สุ, อต, อธิ, อนุ, อภิ, อุป ฯลฯ ในภาษาไทยไม่มีอุปสรรคแท้ แต่มักนำศัพท์ที่เติมอุปสรรคแล้วมาใช้ อย่างไรก็ตาม มีความนิยมสร้างคำโดยใช้อุปสรรคเติมหน้าศัพท์อื่นบ้างเช่นกัน ขณะที่ในบางภาษามีการยืมอุปสรรคของภาษาอื่นมาใช้เติมในคำศัพท์ของภาษาตัวเองอยู่บ้าง.

ใหม่!!: Aและอุปสรรค (ไวยากรณ์) · ดูเพิ่มเติม »

อียิปต์โบราณ

มมฟิสและสุสานโบราณ อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3150 ปีก่อนคริตศักราช โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 5,000 ปี ประวัติของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า "ราชอาณาจักร" มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ราชอาณาจักรกลาง" อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่ยมาก และส่วนมากลดลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์ชนพ่ายต่อการทำสงครามจากชาติอื่น ดังเช่นชาวอัสซีเรียและเปอร์เซีย จนกระทั่งเมื่อ 332 ปีก่อนคริสตศักราช ก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยึดครองอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิมาซิโดเนีย อารยธรรมอียิปต์พัฒนาการมาจากสภาพของลุ่มแม่น้ำไนล์ การควบคุมระบบชลประทาน, การควบคุมการผลิตพืชผลทางการเกษตร พร้อมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคม และวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปต์นั้นล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ และอียิปต์ยังเป็นชนชาติแรกๆที่มีการพัฒนาการด้วยการเขียน ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้,การบริหารอียิปต์เน้นไปทางสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตรกรรม พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาการทางทหารของอียิปต์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชอาณาจักร โดยประชาชนจะให้ความเคารพกษัตริย์หรือฟาโรห์เสมือนหนึ่งเทพเจ้า ฟาโรห์มีอำนาจและโหดร้ายมาก ทำให้การบริหารราชการบ้านเมืองและการควบคุมอำนาจนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็นเพียงแต่นักเกษตรกรรม และนักสร้างสรรค์อารยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคิด, นักปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 4,000 ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์, เทคนิคการสร้างพีระมิด, วัด, โอเบลิสก์, ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่างๆในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว นักประพันธ์กว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ๆในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็นมา เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่อารยธรรมอียิปต์ และเป็นหลักฐานแก่อารยธรรมของโลกต่อไป.

ใหม่!!: Aและอียิปต์โบราณ · ดูเพิ่มเติม »

อนาธิปไตย

อนาธิปไตย (anarchism) โดยทั่วไปนิยามว่าเป็นปรัชญาการเมืองซึ่งถือว่ารัฐนั้นเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา ไม่จำเป็นและให้โทษ หรืออีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการคัดค้านผู้มีอำนาจและองค์การมีลำดับชั้นบังคับบัญชาในการชี้นำความสัมพันธ์ของมนุษย์ ผู้เสนออนาธิปไตย หรือรู้จักกันว่า "ผู้นิยมลัทธิอนาธิปไตย" (anarchist) สนับสนุนสังคมที่ปราศจากรัฐโดยตั้งอยู่บนการรวมกลุ่มอย่างสมัครใจที่ไม่มีลำดับชั้น เสรีภาพของปัจเจกชนและการต่อต้านรัฐ คือหลักการที่ชัดเจนของลัทธิอนาธิปไตย สำหรับในเรื่องอื่น ๆ นั้นอาจมีความเห็นที่แตกต่างกันบ้างในหมู่ผู้ที่นิยมแนวคิดนี้ เช่น การใช้ความรุนแรงในการเปลี่ยนแปลงสังคม ชนิดของระบอบเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและลำดับชั้น การตีความหมายของแนวคิดเกี่ยวกับความสมภาค (egalitarian) และระดับของการจัดองค์กร คำว่า "อนาธิปไตย" ในความหมายที่นักอนาธิปไตยใช้นั้น มิได้หมายถึงภาวะยุ่งเหยิงหรืออโนมี แต่เป็นรูปแบบของความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่เสมอภาค ที่ถูกจัดตั้งขึ้นและรักษาอย่างจงใจ หมวดหมู่:ระบอบการปกครอง.

ใหม่!!: Aและอนาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: Aและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนเชิงพีชคณิต

ำนวนเชิงพีชคณิต (algebraic number) คือจำนวนเชิงซ้อนที่เป็นรากของพหุนามหนึ่งตัวแปร ซึ่งพหุนามไม่เป็นศูนย์ และมีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนตรรกยะ แทนด้วยสัญลักษณ์ \mathbb หรือ \mathbb จำนวนที่ไม่ใช่จำนวนเชิงพีชคณิตจะเรียกว่าจำนวนอดิศัย (transcendental number).

ใหม่!!: Aและจำนวนเชิงพีชคณิต · ดูเพิ่มเติม »

ทรูไทป์

ทรูไทป์ (TrueType) เป็นมาตรฐานของฟอนต์แบบเอาท์ไลน์ที่พัฒนาโดยแอปเปิล คอมพิวเตอร์ ในช่วงยุค 1980 เพื่อเป็นคู่แข่งกับมาตรฐานไทป์วัน (Type 1) ของบริษัทอะโดบีที่ใช้ในโพสต์สคริปต์ (PostScript) ในภายหลังไมโครซอฟท์ได้ซื้อสิทธิ์ในการใช้งานทรูไทป์ และทำให้ทรูไทป์กลายเป็นรูปแบบฟอนต์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และแมคอินทอช เนื่องจากเทคโนโลยีบางส่วนของทรูไทป์ถูกจดสิทธิบัตรโดยแอปเปิล ทำให้การนำไปใช้บนลินุกซ์จำเป็นต้องใช้วิธีการอื่น และเป็นที่มาของโครงการฟรีไทป์ (FreeType) หมวดหมู่:ไทป์เฟซ.

ใหม่!!: Aและทรูไทป์ · ดูเพิ่มเติม »

ดอส (ระบบปฏิบัติการ)

หน้าตาของดอส ดอส (DOS; ย่อมาจาก Disk Operating System) เป็นชื่อเรียกระบบปฏิบัติการหลายตัวที่พัฒนาโดยไอบีเอ็มและไมโครซอฟท์ ในช่วงปี..

ใหม่!!: Aและดอส (ระบบปฏิบัติการ) · ดูเพิ่มเติม »

ดับเบิลเกรฟแอกเซนต์

ับเบิลเกรฟแอกเซนต์ (double grave accent) เรียกย่อว่า ดับเบิลเกรฟ (double grave) เป็นเครื่องหมายเสริมสัทอักษรชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นขีดเล็ก ๆ เฉียงลงขวาสองขีดอยู่เหนืออักษร (◌̏) ใช้เขียนกำกับอักษรละตินในภาษาโครเอเชีย ภาษาสโลวีเนีย กำกับทั้งอักษรละตินและอักษรซีริลลิกในภาษาเซอร์เบีย บางครั้งก็ใช้ในสัทอักษรสากล เครื่องหมายนี้ในภาษาโครเอเชีย ภาษาสโลวีเนีย และภาษาเซอร์เบีย ใช้แสดงเสียงวรรณยุกต์ตกลงที่เป็นเสียงสั้น แต่ไม่ค่อยใช้ในชีวิตประจำวัน จะใช้เครื่องหมายนี้เพื่ออธิบายการออกเสียงในภาษาเหล่านี้เท่านั้น สำหรับอักษรซีริลลิก А Е И О Р У ที่เทียบเท่าอักษรละติน A E I O R U ไม่มีอักขระเฉพาะตัวในรูปแบบดับเบิลเกรฟ ต้องประสมขึ้นเองจากตัวผสานดับเบิลเกรฟ (U+030F) เช่น И + ◌̏.

ใหม่!!: Aและดับเบิลเกรฟแอกเซนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอ็นเอ

กลียวคู่ดีเอ็นเอ กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือย่อเป็น ดีเอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิกที่มีคำสั่งพันธุกรรมซึ่งถูกใช้ในพัฒนาการและการทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเท่าที่ทราบ (ยกเว้นอาร์เอ็นเอไวรัส) ส่วนของดีเอ็นเอซึ่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมนี้เรียกว่า ยีน ทำนองเดียวกัน ลำดับดีเอ็นเออื่น ๆ มีความมุ่งหมายด้านโครงสร้าง หรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้ข้อมูลพันธุกรรมนี้ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอและโปรตีนเป็นหนึ่งในสามมหโมเลกุลหลักที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทราบ ดีเอ็นเอประกอบด้วยพอลิเมอร์สองสายยาวประกอบจากหน่วยย่อย เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ โดยมีแกนกลางเป็นน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเอสเทอร์ ทั้งสองสายนี้จัดเรียงในทิศทางตรงกันข้าม จึงเป็น antiparallel น้ำตาลแต่ละตัวมีโมเลกุลหนึ่งในสี่ชนิดเกาะอยู่ คือ นิวคลีโอเบส หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เบส ลำดับของนิวคลีโอเบสทั้งสี่ชนิดนี้ตามแกนกลางที่เข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลนี้อ่านโดยใช้รหัสพันธุกรรม ซึ่งกำหนดลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีน รหัสนี้ถูกอ่านโดยการคัดลอกดีเอ็นเอเป็นกรดนิวคลีอิกอาร์เอ็นเอที่เกี่ยวข้องในขบวนการที่เรียกว่า การถอดรหัส ดีเอ็นเอภายในเซลล์มีการจัดระเบียบเป็นโครงสร้างยาว เรียกว่า โครโมโซม ระหว่างการแบ่งเซลล์ โครโมโซมเหล่านี้ถูกคัดลอกในขบวนการการถ่ายแบบดีเอ็นเอ ทำให้แต่ละเซลล์มีชุดโครโมโซมที่สมบูรณ์ของตัวเอง สิ่งมีชีวิตยูคาริโอต (สัตว์ พืช ฟังไจและโพรทิสต์) เก็บดีเอ็นเอส่วนมากไว้ในนิวเคลียส และดีเอ็นเอบางส่วนอยู่ในออร์แกเนลล์ เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ ในทางตรงข้าม โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) เก็บดีเอ็นเอไว้เฉพาะในไซโทพลาสซึม ในโครโมโซม โปรตีนโครมาติน เช่น ฮิสโตนบีบอัดและจัดรูปแบบของดีเอ็นเอ โครงสร้างบีบอัดเหล่านี้นำอันตรกิริยาระหว่างดีเอ็นเอกับโปรตีนอื่น ช่วยควบคุมส่วนของดีเอ็นเอที่จะถูกถอดรหั.

ใหม่!!: Aและดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

ความเร่ง

วามเร่ง คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง ที่จุดใดๆบนกราฟ v-t ความเร่งจะเท่ากับความชันของเส้นสัมผัสจุดนั้น ในฟิสิกส์ ความเร่ง (acceleration, สัญลักษณ์: a) คือ อัตราการเปลี่ยนแปลง (หรืออนุพันธ์เวลา) ของความเร็ว เป็นปริมาณเวกเตอร์ที่มีหน่วยเป็น ความยาว/เวลา² ในหน่วยเอสไอกำหนดให้หน่วยเป็น เมตร/วินาที² เมื่อวัตถุมีความเร่งในช่วงเวลาหนึ่ง ความเร็วของมันจะเปลี่ยนแปลงไป ความเร่งอาจมีค่าเป็นบวกหรือลบก็ได้ ซึ่งเรามักว่าเรียกความเร่ง กับ ความหน่วง ตามลำดับ ความเร่งมีนิยามว่า "อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง" และกำหนดโดยสมการนี้ \mathbf.

ใหม่!!: Aและความเร่ง · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรอิตาลี

ทางอากาศของคาบสมุทรอิตาลี คาบสมุทรอิตาลี หรือ คาบสมุทรแอเพนไนน์ (Penisola italiana, Penisola appenninica) เป็นคาบสมุทรที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปใต้ พื้นที่ทางตอนเหนือติดกับเทือกเขาแอลป์และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลเอเดรียติก ทางทิศใต้ติดกับทะเลไอโอเนียน และทางทิศตะวันตกติดกับทะเลติร์เรเนียนและทะเลลิกูเรียน คาบสมุทรนี้มีรูปร่างคล้ายรองเท้าบูท โดยบริเวณตอนกลางของคาบสมุทรมีเทือกเขาแอเพนไนน์เป็นแกนกลาง บริเวณตอนเหนือมีที่ราบลุ่มแม่น้ำโปซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอลป์กับเทือกเขาแอเพนไนน์นั้น เป็นที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์มีรูปร่างเป็นรูปสามเหลี่ยม และเป็นที่ตั้งเมืองสำคัญของประเทศอิตาลี เช่น มิลาน ตูริน เวนิส โบโลญญา ปาร์มา เวโรนา คาบสมุทรอิตาลีมีความยาวประมาณ 1,000 กิโลเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 290 กิโลเมตร และตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปใต้ มีพื้นที่ประมาณ 260,000 ตารางกิโลเมตร (ไม่นับรวมพื้นที่เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย) เป็นคาบสมุทรที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของทวีปยุโรป รองจาก คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย คาบสมุทรไอบีเรีย และคาบสมุทรบอลข่าน ตามลำดับ เมืองใหญ่ที่ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรอิตาลีเรียงตามลำดับ 4 อันดับแรกได้แก่ โรม มิลาน เนเปิลส์ และตูริน ภูมิอากาศบริเวณคาบสมุทรอิตาลีเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน พืชที่ปลูกส่วนใหญ่ที่นิยมปลูกคือ มะกอกเพื่อทำน้ำมันมะกอก และองุ่นเพื่อใช้ทำไวน์ เมืองท่าที่สำคัญบนคาบสมุทรอิตาลีได้แก่ เจนัว เวนิส และเนเปิล.

ใหม่!!: Aและคาบสมุทรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

คำวิเศษณ์

ำวิเศษณ์ คือคำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยกัน เพื่อให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ในภาษาไทย คำวิเศษณ์สามารถใช้ขยายได้ทั้งนาม สรรพนาม กริยา และวิเศษณ์ ในขณะที่ในภาษาอังกฤษจะแยกคำวิเศษณ์ออกเป็นสองประเภทคือ คำคุณศัพท์ (adjective) ใช้ขยายได้เฉพาะคำนามและสรรพนามเท่านั้น และคำกริยาวิเศษณ์ (adverb) ใช้ขยายกริยา คุณศัพท์ และกริยาวิเศษณ์ด้วยกัน.

ใหม่!!: Aและคำวิเศษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

คำนาม

ำนาม คือคำที่ทำหน้าที่เป็นชื่อของสิ่งของใด ๆ หรือชุดของสิ่งของใด ๆ เช่น สิ่งมีชีวิต วัตถุ สถานที่ การกระทำ คุณสมบัติ สถานะ หรือแนวคิด ในทางภาษาศาสตร์ คำนามเป็นหนึ่งในวจีวิภาคแบบเปิดที่สมาชิกสามารถเป็นคำหลักในประธานของอนุประโยค กรรมของกริยา หรือกรรมของบุพบท หมวดหมู่คำศัพท์ (วจีวิภาค) ถูกนิยามในทางที่ว่าสมาชิกจะอยู่รวมกับนิพจน์ชนิดอื่น ๆ กฎทางวากยสัมพันธ์ของคำนามจะแตกต่างกันระหว่างภาษาต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ คำนามคือคำที่สามารถมาพร้อมกับคำนำหน้านาม (article) และคำคุณศัพท์กำหนดลักษณะ (attributive adjective) และสามารถทำหน้าที่เป็นคำหลัก (head) ของนามวลี.

ใหม่!!: Aและคำนาม · ดูเพิ่มเติม »

คำนำหน้าชื่อ

ำนำหน้าชื่อ หรือ คำนำหน้านาม คือคำที่ใส่เพิ่มไปในชื่อของบุคคลเพื่อบ่งบอกถึงสถานภาพ เช่น การศึกษา ยศตำแหน่ง หรือบรรดาศักดิ์ อาทิ นาย นาง นางสาว ศาสตราจารย์ พันเอก เจ้าชาย กษัตริย์ จักรพรรดิ ฯลฯ ในบางวัฒนธรรมอาจใช้คำแทรกระหว่างชื่อตัวกับนามสกุล เช่น Graf ในชุมชนภาษาเยอรมัน หรือ พระคาร์ดินัลในตำแหน่งบาทหลวงโรมันคาทอลิก แต่เดิมประเทศไทย ไม่มีการใช้คำนำหน้าชื่อเป็นกิจลักษณะ ต่อมาเมื่อมีการประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้ พระราชบัญญัติให้ใช้คำนำหน้าชื่อชนต่าง ๆ (ณ วันพุธ เดือน 10 ขึ้น 7 ค่ำ ปีระกาตรีศก) ซึ่งกำหนดคำนำหน้าชื่อ อยู่สำหรับ หญิงและชาย ซึ่งเป็นสามัญชนไว้เพียง 3 คำ ได้แก่ นาย อ้าย และ อี.

ใหม่!!: Aและคำนำหน้าชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

ตรรกศาสตร์

ตรรกศาสตร์ (logic - มีรากศัพท์จากภาษากรีกคือ λόγος, logos) โดยทั่วไปประกอบด้วยการศึกษารูปแบบของข้อโต้แย้งอย่างเป็นระบบ ข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผลคือข้อโต้แย้งที่มีความสัมพันธ์ของการสนับสนุนเชิงตรรกะที่เฉพาะเจาะจงระหว่างข้อสมมุติพื้นฐานของข้อโต้แย้งและข้อสรุป ตรรกศาสตร์เป็นการศึกษาเชิงปรัชญาว่าด้วยการให้เหตุผล โดยมักจะเป็นส่วนสำคัญของวิชาปรัชญา คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงภาษาศาสตร์ ตรรกศาสตร์เป็นการตรวจสอบข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผล (valid argument) หรือการให้เหตุผลแบบผิดๆ (fallacies) ตรรกศาสตร์ เป็นการศึกษาที่มีมานานโดยมนุษยชาติที่เจริญแล้ว เช่น กรีก จีน หรืออินเดีย และถูกยกขึ้นเป็นสาขาวิชาหนึ่งโดย อริสโตเติล.

ใหม่!!: Aและตรรกศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นาฬิกา

นาฬิกาติดผนัง นาฬิกา (Clock) เป็นเครื่องมือสำหรับใช้บอกเวลา โดยมากจะมีรอบเวลา 12 ชั่วโมง หรือ 24 ชั่วโมง สำหรับนาฬิกาทั่วไป มีเครื่องหมายบอกชั่วโมง นาที หรือวินาที เครื่องมือสำหรับจับเวลาระยะสั้นๆ เรียกว่านาฬิกาจับเวลา เดิมนั้นเป็นอุปกรณ์เชิงกล มีลานหมุนขับเคลื่อนกำลัง และมีเฟืองเป็นตัวทดความเร็วให้ได้รอบที่ต้องการ และใช้เข็มบอกเวลา โดยใช้หน้าปัดเขียนตัวเลขระบุเวลาเอาไว้ ลักษณนามของนาฬิกา เรียกว่า “เรือน” แต่ก็มีนาฬิกาแบบอื่นๆ ซึ่งใช้บอกอีก เช่น นาฬิกาทราย ใช้จับเวลา, นาฬิกากะลา เป็นกะลาเจาะรูใช้จับเวลา โดยการลอยในน้ำ จนกว่าจะจมก็ถือว่าหมดเวลา, นาฬิกาแดด เป็นการตั้งเครื่องมือเพื่อให้สังเกตการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ โดยดูจากเงาของเครื่องมือ บางครั้งเราก็มีการบอกเวลาโดยใช้เครื่องมืออื่น ซึ่งไม่ได้เรียกว่าเป็น นาฬิกา เช่น การตีกลองบอกเวลาเพล ของพระสงฆ์, การตีฆ้องบอกเวลาของแขกยาม หรือการยิงปืนบอกเวลา เป็นต้น.

ใหม่!!: Aและนาฬิกา · ดูเพิ่มเติม »

นิวคลีโอไทด์

รงสร้างของนิวคลีโอไทด์ที่พบบ่อย นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) เป็นโครงสร้างพื้นฐานของกรดนิวคลีอิก ซึ่งประกอบด้วย นิวคลีโอไซด์ (neucleoside) กับหมู่ฟอสเฟต โดยนิวคลีโอไซด์ประกอบด้วยไนโตรจีนัสเบส (nitrogenous base; เรียกสั้นๆว่าเบส) กับน้ำตาลเพนโทส (มีคาร์บอน 5 โมเลกุล) ทั้งนี้เบสแบ่งตามโครงสร้างได้เป็นสองกลุ่มคือ ไพริมิดีน (โครงสร้างมี 1 วง) ได้แก่ ไซโตซีน (C) ไทมีน (T) และยูราซิล (U) และเบสไพรีน (โครงสร้างมี 2 วง) ได้แก่ อะดีนีน (A) กวานีน (G) ในการรวมตัวเป็นนิวคลีโอไทด์ เบสจะต่อกับคาร์บอนตัวที่ 1 ของน้ำตาลเพนโทส และฟอสเฟตต่อกับน้ำตาลตัวที่ 5 ของเพนโทส น้ำตาลเพนโทสที่พบในนิวคลีโอไทด์มีสองชนิดคือน้ำตาลไรโบสกับน้ำตาลดีออกซีไร.

ใหม่!!: Aและนิวคลีโอไทด์ · ดูเพิ่มเติม »

แอมแปร์

แอมแปร์ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า แอมป์ (สัญลักษณ์: A) เป็นหน่วยวัดกระแสไฟฟ้า หรือปริมาณของประจุไฟฟ้าต่อวินาที แอมแปร์เป็นหน่วยฐานเอสไอ ตั้งชื่อตามอ็องเดร-มารี อ็องแปร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส หนึ่งในผู้ค้นพบแม่เหล็กไฟฟ้.

ใหม่!!: Aและแอมแปร์ · ดูเพิ่มเติม »

แอลฟา

แอลฟา (alpha) หรือ อัลฟา (άλφα, ตัวใหญ่ Α, ตัวเล็ก α) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 1 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 1.

ใหม่!!: Aและแอลฟา · ดูเพิ่มเติม »

แอสกี

ตัวอย่างอักขระแอสกี จากรหัส 32 ถึง 126 แอสกี้(ASCII) หรือ รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ (ASCII: American Standard Code for Information Interchange) เป็นรหัสอักขระที่ประกอบด้วยอักษรละติน เลขอารบิก เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ต่างๆ โดยแต่ละรหัสจะแทนด้วยตัวอักขระหนึ่งตัว เช่น รหัส 65 (เลขฐานสิบ) ใช้แทนอักษรเอ (A) พิมพ์ใหญ่ เป็นต้น.

ใหม่!!: Aและแอสกี · ดูเพิ่มเติม »

แครอน

อเล็กซานเดอร์ ลีตอฟเชนโค แครอน (Charon หรือ Kharon,; Χάρων) เป็นคนแจวของเฮดีสผู้นำวิญญาณของผู้เพิ่งตายข้ามแม่น้ำแอเคอรอนจากมนุษยโลกไปยังยมโลก บางครั้งญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตจะใส่ "เหรียญของแครอน" (Charon's obol) ในปากของผู้เสียชีวิตเพื่อเป็นค่าโดยสาร นักเขียนบางท่านกล่าวว่าผู้ที่ไม่มีเงินจ่ายค่าโดยสารหรือผู้ที่ไม่ได้ถูกฝังต้องเดินร่อนเร่อยู่ริมฝั่งเป็นเวลาหนึ่งร้อยปีจึงจะข้ามไปได้ วีรบุรุษที่ได้เดินทางข้ามจากมนุษยโลกไปยังยมโลก และข้ามกลับมายังมนุษยโลกอีกเช่น เฮราคลีส, ออร์เฟียส, อีเนียส, ไดอะไนซัส และไซคี ต่างก็ใช้เรือของแครอน.

ใหม่!!: Aและแครอน · ดูเพิ่มเติม »

โน้ต

น้ต (note) อาจหมายถึง; ดนตรี.

ใหม่!!: Aและโน้ต · ดูเพิ่มเติม »

ไพ่ป๊อก

ป๊อก หรือเรียกกันทั่วไปว่า ไพ่ ทำจากแผ่นพลาสติกหรือกระดาษแข็งขนาดประมาณฝ่ามือใช้เพื่อการเล่นเกมไพ่ มีรูปร่างและจำนวนหน้าหรือใบแตกต่างกันไปตามชนิดของไพ่ แต่ชนิดหรือแบบที่นิยมมากที่สุด หน้าไพ่แบบชาติตะวันตก คือไพ่หนึ่งสำรับจะมีจำนวน 52 ใบ ประกอบด้วยไพ่ 4 ชุด ชุดละ 13 ใบ แต่ละชุดจะมีสัญลักษณ์ได้แก่ โพดำ โพแดง ข้าวหลามตัด และดอกจิก ในชุด 13 ใบประกอบด้วยตัวเลข 2 ถึง 10 และมี J (jack) Q (queen คนไทยนิยมเรียกว่า แหม่ม) K (king) A (ace) ในการเล่นบางชนิดอาจต้องใช้โจ๊กเกอร์ (joker) ด้วย ซึ่งมีสองใบคือสีดำกับสีแดง (หรือโจ๊กเกอร์ดำกับโจ๊กเกอร์สี) นอกจากไพ่จะใช้ในการเล่นเกมไพ่แล้ว บางครั้งไพ่มักถูกนำไปใช้เป็นอุปกรณ์ในการเล่นมายากล หรือใช้ในการดูดวง และในหลายๆครั้งก็ถูกนำไปใช้ในการเล่นการพนันอีกด้วย ไพ่หนึ่งสำรับ มี 52 ใ.

ใหม่!!: Aและไพ่ป๊อก · ดูเพิ่มเติม »

ไอคอน (คอมพิวเตอร์)

ไอคอน เป็นรูปภาพที่แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์และใช้ในการสำรวจระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์มือถือ ไอคอนเป็นภาพขนาดเล็กหรือสัญลักษณ์ที่ให้บริการเป็นอย่างรวดเร็ว หมวดหมู่:ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้.

ใหม่!!: Aและไอคอน (คอมพิวเตอร์) · ดูเพิ่มเติม »

ไฮเออโรกลีฟอียิปต์

ออโรกลีฟอียิปต์ (Egyptian hieroglyphs) เป็นระบบการเขียนที่ชาวอียิปต์โบราณใช้อย่างเป็นทางการ ประกอบด้วยอักษร (alphabet) และสัญรูป (logograph) อักขระในระบบไฮเออโรกลีฟอียิปต์นี้ยังสัมพันธ์กับอักขระอียิปต์อีก 2 ชุด คือ อักขระไฮเออแรติก (hieratic) และอักขระดีมอติก (demotic) ไฮเออโรกลีฟอียิปต์แบบหวัดนั้นมักใช้เขียนวรรณกรรมทางศาสนาลงบนแผ่นไม้และแผ่นพาไพรัส ไฮเออโรกลีฟอียิปต์ยุคแรกย้อนหลังไปได้ไกลถึง 3,300 ปีก่อน..

ใหม่!!: Aและไฮเออโรกลีฟอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไทป์เฟซ

ตัวอย่างการทดสอบการพิมพ์ไทป์เฟซด้วยขนาดและภาษาต่างๆ ไทป์เฟซ หรือ ฟอนต์ หรือในชื่อไทยว่า ชุดแบบอักษร (typeface หรือ font) คือชุดของรูปอักขระ (glyph) ที่ได้รับการออกแบบไว้อย่างเป็นเอกภาพด้วยรูปแบบเฉพาะตัว ไทป์เฟซอาจประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอน และอาจรวมไปถึงอักษรภาพ (ideogram) เช่นอักษรจีนหรือสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์หรือทางเทคน.

ใหม่!!: Aและไทป์เฟซ · ดูเพิ่มเติม »

เกมไพ่

กมไพ่ หรือ เกมการ์ด (card game) เป็นเกมที่ใช้ไพ่ป๊อกหรือไพ่เฉพาะที่มีลวดลายของตนเอง เป็นอุปกรณ์หลักในการเล่น อาจใช้เล่นเพื่อความสนุกสนานหรือเพื่อการพนันก็ได้ ผู้เล่นเกมไพ่อาจมีเพียงคนเดียว (เกมไพ่จำพวก Solitaire) หรือหลายคนก็ได้ บางเกมจำกัดจำนวนผู้เล่นที่แน่นอน บางเกมก็ปรับให้เข้ากับจำนวนผู้เล่นที่แตกต่างได้ กลุ่มคนที่เล่นไพ่มักจะเรียกว่า วง.

ใหม่!!: Aและเกมไพ่ · ดูเพิ่มเติม »

เกรฟแอกเซนต์

กรฟแอกเซนต์ (grave accent) เรียกย่อว่า เกรฟ (grave) เป็นเครื่องหมายเสริมสัทอักษรชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นขีดเล็ก ๆ เฉียงลงขวาอยู่เหนืออักษร (`) ใช้เขียนกำกับอักษรละตินเพื่อใช้ในภาษาต่าง ๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ภาษาดัตช์ ภาษาโปรตุเกส ภาษานอร์เวย์ ภาษาเวียดนาม ฯลฯ กำกับอักษรกรีกในภาษากรีก (ใช้จนถึง ค.ศ. 1982) หรือใช้กำกับอักษรอื่น ๆ ด้วยจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป ทั้งการเปลี่ยนระดับเสียง การแปรเสียง การเน้นเสียง หรือการแยกแยะคำ เป็นต้น คำว่า grave มาจากภาษาละติน gravis แปลว่า หนัก ในภาษาอังกฤษมีการอ่านว่า กราฟ เพิ่มเข้ามาเพื่อให้แตกต่างจากคำว่า grave เกรฟ ที่แปลว่า ร้ายแรง หรือหลุมศพ ซึ่งเลียนแบบมาจากภาษาฝรั่งเศส accent grave อักซอง กราฟ แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์มีแป้นเกรฟอยู่บริเวณมุมบนซ้ายของผัง บางภูมิภาคใช้ร่วมกับแป้นตาย (dead key) เพื่อประสมกับอักษร บางภูมิภาคใช้เพื่อสลับภาษาป้อนเข้า (คนไทยเรียก "ปุ่มตัวหนอน" ซึ่งเป็นปุ่มเดียวกับทิลเดอ) วงการโปรแกรมเมอร์เรียกเครื่องหมายนี้ว่า แบ็กโควต (back quote) หรือแบ็กทิก (backtick) ในยูนิโคดมีทั้งรูปแบบเดี่ยว (U+0060 `) และตัวผสาน (U+0300 ◌̀).

ใหม่!!: Aและเกรฟแอกเซนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เมอร์เซเดส-เบนซ์

มอร์เซเดส-เบนซ์ (Mercedes-Benz) เป็นบริษัทยานยนต์เยอรมนีในเครือเดมเลอร์ ผลิตทั้งรถยนต์ รถบัส รถบรรทุก ก่อตั้งโดยก็อตต์ลีบ เดมเลอร์และคาร์ล เบนซ์ ในปีพ.ศ. 2469 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองชตุทท์การ์ท.

ใหม่!!: Aและเมอร์เซเดส-เบนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เรขาคณิต

รขาคณิต (Geometry; กรีก: γεωμετρία; geo.

ใหม่!!: Aและเรขาคณิต · ดูเพิ่มเติม »

เลขฐานสิบหก

ลขฐานสิบหก (hexadecimal) หมายถึงระบบเลขฐานที่มีสัญลักษณ์ 16 ตัว (ฐานสิบมี 10 ตัวคือ 0-9) โดยปกติจะใช้สัญลักษณ์ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F ในการแสดงหรือเขียนทั้ง 16 ตัว ตัวอย่างของเลขฐานสิบหกได้แก่เลข 2AF316 ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นเลขฐานสิบได้ สังเกตได้ว่า 2AF316 นั้นคือผลบวกของ (200016 + A0016 + F016 + 316) โดยเปลี่ยนเลขแต่ละหลักเป็นเลขฐานสิบได้ตามนี้ \begin \mathrm_ &.

ใหม่!!: Aและเลขฐานสิบหก · ดูเพิ่มเติม »

เลขที่อยู่ไอพี

ลขที่อยู่ไอพี (IP address: Internet Protocol address) หรือชื่ออื่นเช่น ที่อยู่ไอพี, หมายเลขไอพี, เลขไอพี, ไอพีแอดเดรส คือฉลากหมายเลขที่กำหนดให้แก่อุปกรณ์แต่ละชนิด (เช่นคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์) ที่มีส่วนร่วมอยู่ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตโพรโทคอลในการสื่อสาร RFC 760, DOD Standard Internet Protocol (January 1980) เลขที่อยู่ไอพีทำหน้าที่สำคัญสองอย่างได้แก่ การระบุแม่ข่ายหรือส่วนต่อประสานเครือข่าย และการกำหนดที่อยู่ให้ตำแหน่งที่ตั้ง บทบาทของมันได้บรรยายไว้ว่า "ชื่อใช้แสดงว่าเราค้นหาอะไร ที่อยู่ใช้แสดงว่ามันอยู่ที่ไหน เส้นทางใช้แสดงว่าจะไปที่นั่นอย่างไร" RFC 791, Internet Protocol – DARPA Internet Program Protocol Specification (September 1981) แต่เดิมผู้ออกแบบอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล ได้กำหนดเลขที่อยู่ไอพีให้เป็นตัวเลข 32 บิตค่าหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 (IPv4) และระบบนี้ยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล และมีการคาดการณ์ว่าเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 จะถูกใช้หมดไป เลขที่อยู่ไอพีรุ่นใหม่จึงได้พัฒนาขึ้นใน..

ใหม่!!: Aและเลขที่อยู่ไอพี · ดูเพิ่มเติม »

เวลา

ำหรับนวนิยายซีไรต์ดูที่ เวลา (นวนิยาย) นาฬิกาพก เครื่องมือที่ใช้ในการรักษาเวลา เวลา ในมุมมองหนึ่งกล่าวว่า เวลาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานหนึ่งของจักรวาล ให้เหตุการณ์ต่าง ๆ ดำเนินอยู่ในนั้น ซึ่งเป็นแนวคิดของไอแซก นิวตัน อีกมุมมองหนึ่งกล่าวว่า เวลาเป็นสิ่งสมมุติเช่นเดียวกับพื้นที่ (สเปซ) และตัวเลข มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นลำดับ แต่ไม่ได้หมายความว่าเวลากับเหตุการณ์เหล่านั้นจะรวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นแนวคิดของอิมมานูเอล คานต์ และกอตฟรีด ไลบ์นิซ บางที มุมมองทั้งสองเกี่ยวกับเวลาก็ยังน่าสับสนอยู่ จึงมีการนิยามโดยการปฏิบัติ ความหมายของการดำเนินงาน หรือ(operational definition) ซึ่งมักใช้การเคลื่อนที่หรือการเปลี่ยนแปลงแบบเป็นคาบของวัตถุเป็นตัววัดเวลา เช่น ดิถี (ข้างขึ้นข้างแรม) ของดวงจันทร์ การแกว่งของลูกตุ้ม การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ เวลา เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ปรัชญา และศิลปศาสตร์ แต่ละสาขาก็มีมุมมองต่าง ๆ กันไป เช่น ในวิชาเศรษฐศาสตร์ อาจมองว่า "เวลาเป็นเงินทอง" ("Time is money.") เป็นต้น.

ใหม่!!: Aและเวลา · ดูเพิ่มเติม »

เสียงกัก เส้นเสียง

เสียงกัก เส้นเสียง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ ? เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร อ หรือปรากฏหลังสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: Aและเสียงกัก เส้นเสียง · ดูเพิ่มเติม »

เอชทีเอ็มแอล

อชทีเอ็มแอล (HTML: Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติ) เป็นภาษามาร์กอัปหลักในปจจุบันที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งตัวโค้ดจะแสดงโครงสร้างของข้อมูล ในการแสดง หัวข้อ ลิงก์ ย่อหน้า รายการ รวมถึงการสร้างแบบฟอร์ม เชื่อมโยงภาพหรือวิดีโอด้วย โครงสร้างของโค้ดเอชทีเอ็มแอลจะอยู่ในลักษณะภายในวงเล็บสามเหลี่ยม เอชทีเอ็มแอลเริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) สำหรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่งที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ HTML รุ่น 5 ยังคงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา โดยได้มีการออกดราฟต์มาเสนอเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 HTML ยังคงเป็นรูปแบบไฟล์อย่างหนึ่ง สำหรั.html และ สำหรั.htm ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการที่รองรับ รูปแบบนามสกุล 3 ตัวอักษร.

ใหม่!!: Aและเอชทีเอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

เอบซีดิก

อบซีดิก หรือ รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยาย (EBCDIC: Extended Binary Coded Decimal Interchange Code) เป็นรหัสอักขระ 8 บิตที่พัฒนาโดยบริษัท IBM ซึ่งพัฒนาสำหรับระบบปฏิบัติการขนาดใหญ่ โดยเป็นรหัสสำหรับไฟล์ข้อความที่ใช้กับระบบปฏิบัติการ IBM OS-390 สำหรับเครื่องแม่ข่าย S/390 และบริษัทจำนวนมากใช้กับโปรแกรมประยุกต์ legacy application และฐานข้อมูล ในไฟล์เอบซีดิก ตัวอักษรพยัญชนะและตัวเลขได้รับการนำเสนอเป็นเลขฐานสอง 8 บิต (8 ตัวอักษรของ 0 และ 1) ทำให้สามารถสร้างรหัสได้ 256 รหัส (2 ยกกำลัง 8) ได้แก่ ตัวพยัญชนะ ตัวเลข และเครื่องหมายพิเศษ แต่ในปัจจุบันนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCII) มากกว.

ใหม่!!: Aและเอบซีดิก · ดูเพิ่มเติม »

เฮิรตซ์

ลื่นไซน์ในความถี่ที่แตกต่างกัน เฮิรตซ์ (อ่านว่า เฮิด) (Hertz ย่อว่า Hz) เป็นหน่วย SI ของค่าความถี่ โดย 1 Hz คือความถี่ที่เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อวินาที (1/s) หรือ:1 Hz.

ใหม่!!: Aและเฮิรตซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องหมายเสริมสัทอักษร

รื่องหมายเสริมสัทอักษร เป็นเครื่องหมายที่ใช้กำกับอักษรโรมัน ซึ่งมีอยู่ในแป้นพิมพ์ ซึ่งได้แก่ เกรฟ และดับเบิลเกรฟ.

ใหม่!!: Aและเครื่องหมายเสริมสัทอักษร · ดูเพิ่มเติม »

ISO 216

ISO 216 เป็นมาตรฐานสากลว่าด้วยขนาดกระดาษซึ่งประเทศส่วนใหญ่ใช้กันในปัจจุบัน ยกเว้นแต่สหรัฐอเมริกาและแคนาดาเป็นหลัก มาตรฐานนี้กำหนดให้ขนาดของกระดาษเป็นชุด "เอ" และ "บี" รวมทั้งขนาดกระดาษที่สามัญที่สุดคือ เอ4 นอกจากนี้มาตรฐาน ISO 217 และ ISO 269 ได้กำหนดขนาดกระดาษที่สัมพันธ์เพิ่มเติม รวมไปถึงชุด "ซี" ที่แสดงรายการออกมาควบคู่กับสองชุดแรก ขนาดกระดาษในมาตรฐานทั้งหมดที่กล่าวมา (ยกเว้น "ดีแอล") มีอัตราส่วนลักษณะ 1: √2 อัตราส่วนนี้มีสมบัติเฉพาะคือ เมื่อตัดหรือพับครึ่งตามแนวกว้าง ขนาดกระดาษจะยังคงมีอัตราส่วนเช่นเดิม ขนาดกระดาษของแต่ละหมายเลขก็มีพื้นที่เป็นครึ่งหนึ่งของหมายเลขก่อนหน้.

ใหม่!!: AและISO 216 · ดูเพิ่มเติม »

А

อา (А, а) เป็นอักษรตัวแรกในอักษรซีริลลิก มีพัฒนาการโดยตรงมาจากอักษรกรีก แอลฟา ในอักษรซีริลลิกยุคเก่า อักษรตัวนี้มีชื่อว่า azǔ และมีค่าของตัวเลขเท่ากับ 1 ในหลายๆ ภาษาที่ใช้อักษรซีริลลิก เช่น ภาษารัสเซีย ภาษาเซอร์เบีย ภาษามาซิโดเนีย และภาษาบัลแกเรีย อ่านอักษรนี้ว่า // (อา) บางครั้งอาจจะอ่านเป็น // (อา ปากกว้าง) หรือ // (เออ) ในภาษาอย่างเช่น ภาษาอิงกุช หรือ ภาษาเชอเชน ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา อักษรนี้มีหลากหลายลักษณะ แต่ทุกวันนี้ถูกทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงดูเหมือนอักษรละติน A (รวมทั้งรูปแบบตัวเอนด้วย).

ใหม่!!: AและА · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »