โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

1 − 2 + 3 − 4 + · · ·

ดัชนี 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·

กราฟแสดงผลรวมจำกัดพจน์ 15,000 ค่าแรกของอนุกรม 1 − 2 + 3 − 4 + … ในทางคณิตศาสตร์ 1 − 2 + 3 − 4 + ··· เป็นอนุกรมอนันต์ที่แต่ละพจน์เป็นจำนวนเต็มบวกลำดับถัดจากพจน์ก่อนหน้า โดยใส่เครื่องหมายบวกและลบสลับกัน ผลรวม m พจน์แรกของอนุกรมนี้สามารถเขียนโดยใช้สัญลักษณ์ผลรวมได้ในรูป อนุกรมนี้เป็นอนุกรมลู่ออก เพราะลำดับของผลรวมจำกัดพจน์ (1, -1, 2, -2, …) ไม่ลู่เข้าหาลิมิตที่เป็นจำนวนจำกัดใด ๆ อย่างไรก็ตาม มีปฏิทรรศน์จำนวนมากที่แสดงว่าอนุกรมนี้มีลิมิต ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ ได้เขียนสมการซึ่งเขายอมรับว่าเป็นปฏิทรรศน์ต่อไปนี้ เป็นเวลานานกว่าจะมีคำอธิบายอย่างชัดเจนถึงสมการดังกล่าว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 แอร์เนสโต เชซะโร, เอมีล บอแรล และนักคณิตศาสตร์คนอื่น ๆ ได้ร่วมกันพัฒนาวิธีการนิยามผลรวมของอนุกรมลู่ออกทั่วไป วิธีเหล่านั้นจำนวนมากต่างได้นิยามค่า 1 − 2 + 3 − 4 + … ให้ "เท่ากับ" 1/4 ผลรวมเซซาโรเป็นหนึ่งในวิธีการที่ไม่สามารถนิยามค่าของ 1 − 2 + 3 − 4 + … ได้ อนุกรมนี้จึงเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ต้องใช้วิธีการที่แรงกว่าเพื่อนิยามค่า เช่น ผลรวมอาเบล อนุกรม 1 − 2 + 3 − 4 + … เป็นอนุกรมที่เกี่ยวข้องกับอนุกรมแกรนดี 1 − 1 + 1 − 1 + … ออยเลอร์ได้พิจารณาอนุกรมทั้งสองว่าเป็นกรณีเฉพาะของอนุกรม งานวิจัยของเขาได้ต่อยอดไปสู่การศึกษาเรื่องปัญหาบาเซิล ซึ่งนำไปสู่สมการเชิงฟังก์ชันที่ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อฟังก์ชันอีตาของดิริชเลต์และฟังก์ชันซีตาของรีมันน.

47 ความสัมพันธ์: ฟังก์ชัน (คณิตศาสตร์)ฟังก์ชันอีตาของดิริชเลต์ฟังก์ชันซีตาของรีมันน์ฟิสิกส์พ.ศ. 2292พ.ศ. 2425พ.ศ. 2426พ.ศ. 2430พ.ศ. 2433พ.ศ. 2434พ.ศ. 2469ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)มัชฌิมเลขคณิตลิมิตของฟังก์ชันสมการเชิงฟังก์ชันออทโท เฮิลเดอร์อนุพันธ์อนุกรมอนุกรมลู่ออกอนุกรมสลับอนุกรมแกรนดีอนุกรมเรขาคณิตผลรวมผลรวมว่างผลรวมเซซาโรผลคูณโคชีจำนวนสามเหลี่ยมจำนวนจริงจำนวนธรรมชาติจำนวนทรงสี่หน้าจำนวนแบร์นูลลีจำนวนเต็มทฤษฎีบทค่าเฉลี่ยคริสต์ศตวรรษที่ 18คณิตศาสตร์ค่าสัมบูรณ์ปฏิทรรศน์ปัญหาบาเซิลนีลส์ เฮนริก อาเบลแอร์เนสโต เชซะโรแคลคูลัสเลออนฮาร์ด ออยเลอร์เอมีล บอแรลเออแฌน ชาร์ล กาตาล็องเซตนับได้01 + 2 + 3 + 4 + ⋯

ฟังก์ชัน (คณิตศาสตร์)

ในคณิตศาสตร์ ฟังก์ชัน คือ ความสัมพันธ์ จากเซตหนึ่งที่เรียกว่าโดเมน ไปยังอีกเซตหนึ่งที่เรียกว่าโคโดเมน (บางครั้งคำว่าเรนจ์อาจถูกใช้แทน แต่เรนจ์นั้นมีความหมายอื่นด้วย "โคโดเมน" จึงเป็นที่นิยมมากกว่า เพราะไม่กำกวม) โดยที่สมาชิกตัวหน้าไม่ซ้ำกัน ความคิดรวบยอดของฟังก์ชันนี้เป็นพื้นฐานของทุกสาขาของคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เชิงปริมาณ.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และฟังก์ชัน (คณิตศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ฟังก์ชันอีตาของดิริชเลต์

ในทางคณิตศาสตร์ ฟังก์ชันอีตาของดิริชเลต์ นิยามโดย เมื่อ ζ เป็นฟังก์ชันซีตาของรีมันน์ อ.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และฟังก์ชันอีตาของดิริชเลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟังก์ชันซีตาของรีมันน์

ฟังก์ชันซีตาของรีมันน์สำหรับจำนวนจริง ''s'' > 1 ในทางคณิตศาสตร์ ฟังก์ชันซีตาของรีมันน์ (Riemann zeta function) เป็นฟังก์ชันที่นิยามโดย \zeta(s).

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และฟังก์ชันซีตาของรีมันน์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2292

ทธศักราช 2292 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และพ.ศ. 2292 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2425

ทธศักราช 2425 ตรงกั.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และพ.ศ. 2425 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2426

ทธศักราช 2426 ตรงกั.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และพ.ศ. 2426 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2430

ทธศักราช 2430 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1887 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และพ.ศ. 2430 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2433

ทธศักราช 2433 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1890 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และพ.ศ. 2433 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2434

ทธศักราช 2434 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1891 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และพ.ศ. 2434 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2469

ทธศักราช 2469 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1926 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และพ.ศ. 2469 · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)

ในทางคณิตศาสตร์ จำนวนเต็มใด ๆ จะเป็นจำนวนคู่หรือจำนวนคี่อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าจำนวนนั้นเป็นพหุคูณของ 2 มันจะเป็นจำนวนคู่ มิฉะนั้น มันจะเป็นจำนวนคี่ ตัวอย่างของจำนวนคู่ เช่น -4, 8, 0 และ 70 ตัวอย่างของจำนวนคี่ เช่น -5, 1 และ 71 เลข 0 เป็นจำนวนคู่ เพราะ 0.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

มัชฌิมเลขคณิต

ในทางคณิตศาสตร์และสถิติศาสตร์ มัชฌิมเลขคณิต (อาจเรียกเพียง มัชฌิม หรือ ค่าเฉลี่ย) ของรายการของจำนวน คือผลบวกของสมาชิกทุกจำนวน หารด้วยจำนวนสมาชิกในรายการนั้น ถ้ารายการของจำนวนเกี่ยวข้องกับประชากรทางสถิติจะเรียกว่า ค่าเฉลี่ยประชากร และถ้าเกี่ยวข้องกับตัวอย่างทางสถิติจะเรียกว่า ค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง และเมื่อมัชฌิมเลขคณิตมีค่าประมาณไม่เท่ากับมัธยฐาน ดังนั้นรายการของจำนวน หรือการแจกแจงความถี่ จะเรียกว่ามีความเบ้ (skewness) ของข้อมูล.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และมัชฌิมเลขคณิต · ดูเพิ่มเติม »

ลิมิตของฟังก์ชัน

ในวิชาคณิตศาสตร์ ลิมิตของฟังก์ชัน เป็นแนวคิดพื้นฐานของ คณิตวิเคราะห์ (ภาคทฤษฎีของแคลคูลัส) ถ้าเราพูดว่า ฟังก์ชัน f มีลิมิต L ที่จุด p หมายความว่า ผลลัพธ์ของ f จะเข้าใกล้ L ที่จุดใกล้จุด p สำหรับนิยามอย่างเป็นทางการนั้น มีการกำหนดขึ้นครั้งแรก ช่วงปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีรายละเอียดอยู่ข้างล่าง ดูที่ ข่ายลำดับ (topology) สำหรับนัยทั่วไปของแนวคิดของลิมิต.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และลิมิตของฟังก์ชัน · ดูเพิ่มเติม »

สมการเชิงฟังก์ชัน

ในทางคณิตศาสตร์ สมการเชิงฟังก์ชัน เป็นสมการที่มีตัวแปรเป็นฟังก์ชัน.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และสมการเชิงฟังก์ชัน · ดูเพิ่มเติม »

ออทโท เฮิลเดอร์

ออทโท ลุดวิก เฮิลเดอร์ (Otto Ludwig Hölder, 22 ธันวาคม พ.ศ. 2402 – 29 สิงหาคม พ.ศ. 2480) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:บุคคลจากชตุทท์การ์ท.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และออทโท เฮิลเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุพันธ์

กราฟของฟังก์ชันแสดงด้วยเส้นสีดำ และเส้นสัมผัสแสดงด้วยเส้นสีแดง ความชันของเส้นสัมผัสมีค่าเท่ากับอนุพันธ์ของฟังก์ชันที่จุดสีแดง ในวิชาคณิตศาสตร์ อนุพันธ์ของฟังก์ชันของตัวแปรจริงเป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงของค่าของฟังก์ชันเทียบกับการเปลี่ยนแปลงของอาร์กิวเมนต์ (ค่าที่ป้อนเข้าหรือตัวแปรต้น) อนุพันธ์เป็นเครื่องมือพื้นฐานของแคลคูลัส ตัวอย่างเช่น อนุพันธ์ของตำแหน่งของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่เทียบกับเวลา คือ ความเร็วของวัตถุนั้น ซึ่งเป็นการวัดว่าตำแหน่งของวัตถุมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพียงใดเมื่อเวลาผ่านไป อนุพันธ์ของฟังก์ชันตัวแปรเดียวที่ตัวแปรต้นใด ๆ คือความชันของเส้นสัมผัสที่สัมผัสกับกราฟของฟังก์ชันที่จุดนั้น เส้นสัมผัสคือการประมาณเชิงเส้นของฟังก์ชันที่ดีที่สุดใกล้กับตัวแปรต้นนั้น ด้วยเหตุนี้ อนุพันธ์มักอธิบายได้ว่าเป็น "อัตราการเปลี่ยนแปลงขณะใดขณะหนึ่ง" ซึ่งก็คืออัตราส่วนของการเปลี่ยนแปลงขณะใดขณะหนึ่งของตัวแปรตามต่อตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ กระบวนการหาอนุพันธ์เรียกว่า การหาอนุพันธ์ (differentiation หรือ การดิฟเฟอเรนชิเอต) ส่วนกระบวนการที่กลับกันเรียกว่า การหาปฏิยานุพันธ์ (antidifferentiation) ทฤษฎีบทมูลฐานของแคลคูลัสกล่าวว่าการหาปฏิยานุพันธ์เหมือนกันกับการหาปริพันธ์ (integration หรือ การอินทิเกรต) การหาอนุพันธ์และการหาปริพันธ์เป็นตัวดำเนินการพื้นฐานในแคลคูลัสตัวแปรเดียว อนุพันธ์ของฟังก์ชันเป็นมโนทัศน์หนึ่งในสองมโนทัศน์หลักของแคลคูลัส (อีกมโนทัศน์หนึ่งคือปฏิยานุพันธ์ ซึ่งคือตัวผกผันของอนุพันธ์).

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และอนุพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรม

ในทางคณิตศาสตร์ อนุกรม คือผลจากการบวกสมาชิกทุกตัวของลำดับไม่จำกัดเข้าด้วยกัน หากกำหนดให้ลำดับของจำนวนเป็น \.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และอนุกรม · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมลู่ออก

ในทางคณิตศาสตร์ อนุกรมลู่ออก เป็นอนุกรมที่ไม่ลู่เข้า นั่นคือลำดับอนันต์ของผลบวกจำกัดพจน์ไม่สามารถหาลิมิตที่เป็นจำนวนจำกัดได้ หากอนุกรมหนึ่งลู่เข้า แต่ละพจน์ของอนุกรมจะต้องลู่เข้าสู่ศูนย์ ดังนั้นอนุกรมที่แต่ละพจน์ไม่ลู่เข้าสู่ศูนย์จะลู่ออกเสมอ อย่างไรก็ตาม บทกลับนั้นไม่เป็นจริง อนุกรมที่แต่ละพจน์ลู่เข้าสู่ศูนย์นั้นไม่จำเป็นต้องลู่เข้า ตัวอย่างค้านเช่น ลำดับฮาร์โมนิก.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และอนุกรมลู่ออก · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมสลับ

ในทางคณิตศาสตร์ อนุกรมสลับ คืออนุกรมอนันต์ที่อยู่ในรูป โดยที่ an > 0 สำหรับทุก n แต่ละพจน์ของอนุกรมจะมีเครื่องหมายบวกและลบสลับกัน เช่นเดียวกับอนุกรมอื่นๆ อนุกรมสลับจะลู่เข้าก็ต่อเมื่อลำดับของผลบวกจำกัดพจน์ลู่เข้.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และอนุกรมสลับ · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมแกรนดี

อนุกรมแกรนดี เป็นอนุกรมอนันต์ 1 − 1 + 1 − 1 + … หรือเขียนได้ในรูป อนุกรมนี้ตั้งชื่อตามชื่อของ กุอิโด แกรนดี นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี อนุกรมนี้เป็นอนุกรมลู่ออก จึงไม่สามารถหาผลบวกได้ อย่างไรก็ตาม มีผู้สร้างข้อความขัดแย้งโดยพิสูจน์ว่าผลบวกของอนุกรมนี้เป็นจำนวนต่างๆได้ เช่น.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และอนุกรมแกรนดี · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมเรขาคณิต

ในทางคณิตศาสตร์ อนุกรมเรขาคณิต เป็นอนุกรมที่พจน์ต่างๆ ถูกสร้างขึ้นโดยการคูณพจน์ก่อนหน้าด้วยค่าคงตัวค่าหนึ่ง นั่นคือมาจากลำดับเรขาคณิต ตัวอย่างเช่น และโดยทั่วไป อนุกรมเรขาคณิต จะเป็นอนุกรมลู่เข้าก็ต่อเมื่อ |z| หมวดหมู่:ลำดับและอนุกรม หมวดหมู่:แคลคูลัส.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และอนุกรมเรขาคณิต · ดูเพิ่มเติม »

ผลรวม

ในทางคณิตศาสตร์ ผลรวม (summation) หมายถึงการบวกของเซตของจำนวน ซึ่งจะให้ผลลัพธ์เป็น ผลบวก (sum, total) จำนวนที่กล่าวถึงอาจเป็นจำนวนธรรมชาติ จำนวนเชิงซ้อน เมตริกซ์ หรือวัตถุอื่นที่ซับซ้อนกว่านั้น ผลรวมไม่จำกัดของลำดับเรียกว่าเป็นอนุกรม.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และผลรวม · ดูเพิ่มเติม »

ผลรวมว่าง

ผลรวมว่าง (empty sum, nullary sum) ในทางคณิตศาสตร์ หมายถึงผลของการบวกจำนวนที่ไม่มีอยู่ เช่นจากผลรวม (summation) เป็นต้น ค่าของผลรวมว่างจะเท่ากับศูนย์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์การบวก ข้อเท็จจริงนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษาวิยุตคณิตและพีชคณิตมูลฐาน ด้วยกรณีที่ว่า 0a.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และผลรวมว่าง · ดูเพิ่มเติม »

ผลรวมเซซาโร

ในทางคณิตวิเคราะห์ ผลรวมเซซาโร เป็นการกำหนดค่า "ผลรวม" บางค่าให้กับอนุกรมลู่ออก ซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่สามารถหาผลรวมได้ ผลรวมเซซาโรได้นิยามโดยลิมิตของค่าเฉลี่ยเลขคณิตของผลบวกจำกัดพจน์ของอนุกรมนั้น ผลรวมเซซาโรตั้งชื่อตามชื่อของ เออร์เนสโต เซซาโร นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี หมวดหมู่:อนุกรม.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และผลรวมเซซาโร · ดูเพิ่มเติม »

ผลคูณโคชี

ในคณิตศาสตร์เชิงวิเคราะห์ ผลคูณโคชี (Cauchy product) คือการคอนโวลูชันแบบไม่ต่อเนื่อง (หรือเรียกอย่างง่ายคือการคูณ) ของอนุกรมอนันต์สองอนุกรม ตั้งชื่อตามนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส โอกึสแต็ง ลวี โคชี.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และผลคูณโคชี · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนสามเหลี่ยม

ำนวนสามเหลี่ยม 6 ตัวแรก จำนวนสามเหลี่ยม คือจำนวนของสิ่งของที่สามารถวางเรียงเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่าได้ จำนวนสามเหลี่ยมตัวที่ n เกิดจากการสร้างสามเหลี่ยมด้านเท่าที่มีความยาวด้าน n ดังที่แสดงในแผนภาพด้านขวา ลำดับของจำนวนสามเหลี่ยม เริ่มจากตัวที่ 0 ได้แก่ จำนวนสามเหลี่ยมสามารถเขียนได้โดยสูตร T_n.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และจำนวนสามเหลี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนจริง

ำนวนจริง คือจำนวนที่สามารถจับคู่หนึ่งต่อหนึ่งกับจุดบนเส้นตรงที่มีความยาวไม่สิ้นสุด (เส้นจำนวน) ได้ คำว่า จำนวนจริง นั้นบัญญัติขึ้นเพื่อแยกเซตนี้ออกจากจำนวนจินตภาพ จำนวนจริงเป็นศูนย์กลางการศึกษาในสาขาคณิตวิเคราะห์จำนวนจริง (real analysis).

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และจำนวนจริง · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนธรรมชาติ

ในทางคณิตศาสตร์ จำนวนธรรมชาติ อาจหมายถึง จำนวนเต็มบวก หรือ จำนวนนับ (1, 2, 3, 4,...) หรือ จำนวนเต็มไม่เป็นลบ (0, 1, 2, 3, 4,...) ความหมายแรกมีการใช้ในทฤษฎีจำนวน ส่วนแบบหลังได้ใช้งานใน ตรรกศาสตร์,เซตและวิทยาการคอมพิวเตอร์ ถุ จำนวนธรรมชาติมีการใช้งานหลักอยู่สองประการ กล่าวคือเราสามารถใช้จำนวนธรรมชาติในการนับ เช่น มีส้มอยู่ 3 ผลบนโต๊ะ หรือเราอาจใช้สำหรับการจัดอันดับ เช่น เมืองนี้เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ในประเทศ เป็นต้น คุณสมบัติของจำนวนธรรมชาติที่เกี่ยวกับการหารลงตัว เช่นการกระจายของจำนวนเฉพาะ เป็นเนื้อหาในทฤษฎีจำนวน ปัญหาที่เกี่ยวกับการนับ เช่น ทฤษฎีแรมซี นั้นถูกศึกษาในคณิตศาสตร์เชิงการจั.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และจำนวนธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนทรงสี่หน้า

จำนวนทรงสี่หน้า คือจำนวนของสิ่งของที่สามารถวางเรียงเป็นทรงสี่หน้าด้านเท่าได้ จำนวนทรงสี่หน้าตัวที่ n เกิดจากผลรวมของจำนวนสามเหลี่ยม n ตัวแรก จำนวนทรงสี่หน้า 10 ตัวแรก ได้แก่ หมวดหมู่:ลำดับจำนวนเต็ม.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และจำนวนทรงสี่หน้า · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนแบร์นูลลี

ในทางคณิตศาสตร์ จำนวนแบร์นูลลี Bn เป็นลำดับของจำนวนตรรกยะ ค่าจำนวนแบร์นูลลีตัวแรก ๆ ได้แก่ หมวดหมู่:ลำดับจำนวนเต็ม.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และจำนวนแบร์นูลลี · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนเต็ม

ำนวนเต็ม คือจำนวนที่สามารถเขียนได้โดยปราศจากองค์ประกอบทางเศษส่วนหรือทศนิยม ตัวอย่างเช่น 21, 4, −2048 เหล่านี้คือจำนวนเต็ม แต่ 9.75, 5, √2 เหล่านี้ไม่ใช่จำนวนเต็ม เศษของจำนวนเต็มเป็นเศษย่อยของจำนวนจริง และประกอบด้วยจำนวนธรรมชาติ (1, 2, 3,...) ศูนย์ (0) และตัวผกผันการบวกของจำนวนธรรมชาติ (−1, −2, −3,...) เซตของจำนวนเต็มทั้งหมดมักแสดงด้วย Z ตัวหนา (หรือ \mathbb ตัวหนาบนกระดานดำ, U+2124) มาจากคำในภาษาเยอรมันว่า Zahlen แปลว่าจำนวน จำนวนเต็ม (พร้อมด้วยการดำเนินการการบวก) ก่อร่างเป็นกรุปเล็กที่สุดอันประกอบด้วยโมนอยด์เชิงการบวกของจำนวนธรรมชาติ จำนวนเต็มก่อให้เกิดเซตอนันต์นับได้เช่นเดียวกับจำนวนธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้ในทฤษฎีจำนวนเชิงพีชคณิตทำให้เข้าใจได้โดยสามัญว่า จำนวนเต็มซึ่งฝังตัวอยู่ในฟีลด์ของจำนวนตรรกยะ หมายถึง จำนวนเต็มตรรกยะ เพื่อแยกแยะออกจากจำนวนเต็มเชิงพีชคณิตที่ได้นิยามไว้กว้างกว.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และจำนวนเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีบทค่าเฉลี่ย

ฟังก์ชันที่มีความต่อเนื่องบนช่วง ''a'', ''b'' และมีอนุพันธ์บนช่วง (''a'', ''b'') จะมี c ที่อยู่ในช่วง (''a'', ''b'') ซึ่งเส้นที่เชื่อมระหว่างจุดปลายของช่วง ''a'', ''b'' จะขนานกับเส้นสัมผัสจุด ''c'' ทฤษฎีบทค่าเฉลี่ย (mean value theorem) ในแคลคูลัสกล่าวว่า สำหรับส่วนของเส้นโค้งที่กำหนดให้ จะมีจุดหนึ่งจุดอยู่บนส่วนของเส้นโค้งนั้น ซึ่งมีความชันเท่ากับความชันเฉลี่ยของส่วนของเส้นโค้ง.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และทฤษฎีบทค่าเฉลี่ย · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 18

ริสต์ศตวรรษที่ 18 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1701 ถึง ค.ศ. 1800.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และคริสต์ศตวรรษที่ 18 · ดูเพิ่มเติม »

คณิตศาสตร์

ยูคลิด (กำลังถือคาลิเปอร์) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ในสมัย 300 ปีก่อนคริสตกาล ภาพวาดของราฟาเอลในชื่อ ''โรงเรียนแห่งเอเธนส์''No likeness or description of Euclid's physical appearance made during his lifetime survived antiquity. Therefore, Euclid's depiction in works of art depends on the artist's imagination (see ''Euclid''). คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้าง, การเปลี่ยนแปลง และปริภูมิ กล่าวคร่าว ๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ "รูปร่างและจำนวน" เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์ ในอดีตผู้คนจะใช้สิ่งของแทนจำนวนที่จะนับยิ่งนานเข้าจำนวนประชากรยิ่งมีมากขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มคิดที่จะประดิษฐ์ตัวเลขขึ้นมาแทนการนับที่ใช้สิ่งของนับแทนจากนั้นก็มีการบวก ลบคูณ และหาร จากนั้นก็ก่อให้เกิดคณิตศาสตร์ คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ค่าสัมบูรณ์

้ากำหนดให้ a เป็นจำนวนจริง แล้วระยะจากจุด 0 ถึงจุดที่แทนจำนวนจริง a ว่า ค่าสมบูรณ์ กำหนดให้ค่าสัมบูรณ์ในเนื้อหาจำนวนเต็มหมายถึงระยะจากจุด 0 ถึงจุดที่แทนจำนวนเต็ม a ว่า ค่าสมบูรณ์ มีสัญลักษณ์คือ |a| และค่าสมบูรณ์ไม่เป็นจำนวนลบ ค่าสัมบูรณ์จะเป็นจำนวนบวกหรือศูนย์เสมอ นั่นคือจะไม่มีค่า a ที่ |a| ||a| − |b||.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และค่าสัมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทรรศน์

ปฏิทรรศน์ หรือ พาราด็อกซ์ (Paradox) คือ ประโยคหรือกลุ่มของประโยคที่เป็นจริงอย่างชัดเจน แต่นำไปสู่ความขัดแย้งในตัวเอง หรือสถานการณ์ที่อยู่นอกความคิดทั่วไป โดยทั่วไปแล้วอาจเป็นไปได้ว่า ประโยคดังกล่าวนี้แท้จริงแล้วอาจไม่ได้นำไปสู่สภาวะขัดแย้ง ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่ใช่ข้อขัดแย้งจริง ๆ หรือข้อกำหนดในตอนต้นอาจไม่จริงหรือไม่สามารถเป็นจริงพร้อม ๆ กันได้ คำว่าปฏิทรรศน์หรือพาราด็อกซ์มักถูกใช้แทนที่ไปมากับคำว่าข้อขัดแย้ง อย่างไรก็ตามแนวคิดทั้งสองนั้นไม่เหมือนกันเสียทีเดียว ในขณะที่ข้อขัดแย้งประกาศสิ่งที่ตรงกันข้ามกับตัวเองหลาย ๆ ปฏิทรรศน์กลับมีทางออกหรือคำอ.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และปฏิทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหาบาเซิล

ปัญหาบาเซิล เป็นปัญหาทางคณิตวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีจำนวน ปัญหานี้ถูกตั้งขึ้นครั้งแรกโดย ปิเอโตร เมนโกลี ในปี พ.ศ. 2187 และถูกแก้โดย เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ ในปี พ.ศ. 2277 ปัญหานี้ได้ตั้งชื่อตามชื่อของเมืองบาเซิล บ้านเกิดของออยเลอร์ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับการหาผลรวมของอนุกรม ผลรวมของอนุกรมดังกล่าวมีค่าประมาณ 1.644934 ปัญหาบาเซิลถามถึงการหาค่าที่แม่นยำในรูปแบบปิดของผลรวมดังกล่าว ออยเลอร์ค้นพบว่าผลรวมดังกล่าวมีค่าเท่ากับ และได้ประกาศการค้นพบในปี..

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และปัญหาบาเซิล · ดูเพิ่มเติม »

นีลส์ เฮนริก อาเบล

นีลส์ เฮนริก อาเบล (Neils Henrik Abel) เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1802 เสียชีวิต 6 เมษายน ค.ศ. 1829 เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวนอร์เวย์ เป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกจากนั้นบางท่านยกย่องอาเบลว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของสแกนดิเนเวีย อย่างไรก็ตามอาเบลเสียชีวิตด้วยอายุเพียง 26 ปี และเป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่มีชีวิตอาภัพที่สุดในประวัติศาสตร์ของวงการคณิตศาสตร์ เคียงคู่ไปกับ เอวารีสต์ กาลัว (เสียชีวิตเมื่ออายุ 20 ปี), รามานุจัน (เสียชีวิตเมื่ออายุ 33 ปี) และ โซฟี่ แชร์แมง (เสียชีวิตโดยที่ไม่มีโอกาสได้ทราบว่าตนเองได้รับปริญญากิตติมศักดิ์) อาเบลและเพื่อนนักคณิตศาสตร์ร่วมสมัยคือ เกาส์และโคชี่ มีส่วนร่วมเป็นอย่างสูงในการพัฒนาคณิตศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งแตกต่างจากคณิตศาสตร์สมัยเก่าตรงที่มีการพิสูจน์อย่างเคร่งครัดในทุกทฤษฎีบท.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และนีลส์ เฮนริก อาเบล · ดูเพิ่มเติม »

แอร์เนสโต เชซะโร

แอร์เนสโต เชซะโร (Ernesto Cesàro; 12 มีนาคม พ.ศ. 2402 – 12 กันยายน พ.ศ. 2449) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลีที่ศึกษาด้านเรขาคณิตอนุพันธ์ หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี หมวดหมู่:บุคคลจากเนเปิลส์.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และแอร์เนสโต เชซะโร · ดูเพิ่มเติม »

แคลคูลัส

แคลคูลัส เป็นสาขาหลักของคณิตศาสตร์ และสังคมศาสตร์ แคลคูลัสมีต้นกำเนิดจากสองแนวคิดหลัก ดังนี้ แนวคิดแรกคือ แคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ (Differential Calculus) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยอัตราการเปลี่ยนแปลง และเกี่ยวข้องกับการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ ตัวอย่างเช่น การหา ความเร็ว, ความเร่ง หรือความชันของเส้นโค้ง บนจุดที่กำหนดให้.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และแคลคูลัส · ดูเพิ่มเติม »

เลออนฮาร์ด ออยเลอร์

องเลออนฮาร์ด ออยเลอร์ วาดโดยจิตรกร เอ็มมานูเอล ฮันด์มันน์ (Emanuel Handmann) เมื่อ ค.ศ.1753 เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ (Leonhard Euler, 15 เมษายน พ.ศ. 2250 – 18 กันยายน พ.ศ. 2326) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวสวิส ได้ชื่อว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลก เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้คำว่า "ฟังก์ชัน" ในแวดวงคณิตศาสตร์ (ตามคำนิยามของไลบ์นิซ ใน ค.ศ. 1694) ในการบรรยายถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปร เช่น y.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และเลออนฮาร์ด ออยเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอมีล บอแรล

เอมีล บอแรล (Émile Borel) หรือชื่อเต็มคือ เฟลิกซ์ เอดัวร์ ฌุสแต็ง เอมีล บอแรล (Félix Édouard Justin Émile Borel; 7 มกราคม พ.ศ. 2414 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักการเมืองชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:นักการเมืองฝรั่งเศส.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และเอมีล บอแรล · ดูเพิ่มเติม »

เออแฌน ชาร์ล กาตาล็อง

เออแฌน ชาร์ล กาตาล็อง (Eugène Charles Catalan, 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2357 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสและเบลเยียม หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ชาวเบลเยียม.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และเออแฌน ชาร์ล กาตาล็อง · ดูเพิ่มเติม »

เซตนับได้

ซตนับได้ (countable set) คือเซตที่มีภาวะเชิงการนับ (จำนวนของสมาชิก) เหมือนกับบางเซตย่อยของเซตของจำนวนธรรมชาติ ในทางตรงข้าม เซตที่ไม่สามารถนับได้เรียกว่า เซตนับไม่ได้ (uncountable set) ศัพท์คำนี้นิยามโดยเกออร์ก คันทอร์ สมาชิกของเซตนับได้สามารถถูกนับจำนวนได้ในครั้งหนึ่ง ๆ ถึงแม้ว่าการนับนั้นจะไม่มีวันสิ้นสุดก็ตาม สมาชิกทุก ๆ ตัวของเซตจะถูกจับคู่กับจำนวนธรรมชาติจำนวนใดจำนวนหนึ่งในที่สุด ผู้แต่งตำราบางท่านใช้ศัพท์ เซตนับได้ ว่าหมายถึงเซตที่มีภาวะเชิงการนับเหมือนกับเซตของจำนวนธรรมชาติสำหรับตัวอย่างการใช้เช่นนี้ดูที่ ความแตกต่างระหว่างนิยามสองนิยามนี้คือ เซตจำกัดจัดว่าเป็นเซตนับได้ภายใต้นิยามแรก ในขณะที่นิยามหลัง เซตจำกัดไม่ถือว่าเป็นเซตนับได้ เพื่อแก้ความกำกวมนี้ บางครั้งจึงใช้ศัพท์ว่า เซตนับได้เป็นอย่างมาก (at most countable set) สำหรับนิยามแรกและ เซตอนันต์นับได้ (countably infinite set) สำหรับนิยามหลัง นอกจากนี้ศัพท์ว่า denumerable set ก็ยังใช้ในความหมายของเซตอนันต์นับได้ดูที่ หรือเซตนับได้ ในทางตรงข้ามก็ใช้คำว่า nondenumerable set คือเซตนับไม่ได้ดูที.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และเซตนับได้ · ดูเพิ่มเติม »

0

0 (ศูนย์) เป็นทั้งจำนวนและเลขโดดที่ใช้สำหรับนำเสนอจำนวนต่าง ๆ ในระบบเลข มีบทบาทเป็นตัวกลางในทางคณิตศาสตร์ คือเป็นเอกลักษณ์การบวกของจำนวนเต็ม จำนวนจริง และโครงสร้างเชิงพีชคณิตอื่น ๆ ศูนย์ในฐานะเลขโดดใช้เป็นตัววางหลักในระบบเลขเชิงตำแหน่ง.

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และ0 · ดูเพิ่มเติม »

1 + 2 + 3 + 4 + ⋯

ี่ผลบวกย่อยแรกของอนุกรม 1 + 2 + 3 + 4 + ⋯ พาราโบลานี้คือเส้นกำกับปรับเรียบของมัน จุดตัด "y" คือ −1/12 ผลบวกของทุกจำนวนธรรมชาติ 1 + 2 + 3 + 4 + ⋯ เป็นอนุกรมลู่ออก ผลบวกย่อยที่ n ของอนุกรมเป็นจำนวนสามเหลี่ยม ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีขอบเขต โดย n เป็นอนันต์ เนื่องจากลำดับของผลบวกย่อยไม่ลู่เข้าลิมิตจำกัดค่าหนึ่ง อนุกรมดังกล่าวจึงลู่ออก และไม่มีผลบวกในความหมายทั่วไป แม้ว่าอนุกรมนี้ไม่มีค่าที่มีความหมายใด ๆ เมื่อแรกเห็น แต่อนุกรมนี้สามารถเปลี่ยนรูปให้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจทางคณิตศาสตร์ ซึ่งบางผลลัพธ์นั้นมีการใช้ในสาขาอื่น เช่น การวิเคราะห์เชิงซ้อน ทฤษฎีสนามควอนตัมและทฤษฎีสตริง มีการใช้วิธีการรวมยอดจำนวนมากในวิชาคณิตศาสตร์เพื่อกำหนดค่าตัวเลขให้แม้แต่กับอนุกรมลู่ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิธีการทำให้ปรกติของฟังก์ชันซีตา (zeta function regularization) และการรวมยอดรามานุจันกำหนดให้อนุกรมมีค่า −1/12 ซึ่งแสดงโดยสูตรอันขึ้นชื่อ ในเอกสารเฉพาะเรื่องว่าด้วยทฤษฎีแสงจันทร์ (moonshine theory) เทอร์รี แกนนอนเรียกสมการนี้ว่า "หนึ่งในสูตรที่สะดุดตาที่สุดของวิทยาศาสตร์".

ใหม่!!: 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·และ1 + 2 + 3 + 4 + ⋯ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

1-2+3-4+...

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »