โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชิ (し)

ดัชนี ชิ (し)

ป็นคะนะของภาษาญี่ปุ่นตัวหนึ่ง ฮิระงะนะเขียนว่า し มีที่มาจากตัวเขียนหวัดของมันโยงะนะ 之 และคะตะกะนะเขียนว่า シ มีที่มาจากการดัดแปลงตัวเขียนหวัดของมันโยงะนะ 之 ออกเสียงว่า แต่ในการพูดจริงอาจแปรเป็น เมื่อเติมดะกุเต็งจะออกเสียงว่า หรือ แต่ในการพูดจริงอาจแปรเป็น หรือ เสียงอ่านที่เปลี่ยนไปจากปกติเนื่องจากเหตุผลทางสัทศาสตร์ คะตะกะนะที่เติมดะกุเต็ง ジ นิยมใช้แทนเสียง ที่มาจากภาษาต่างประเทศโดยการแปรเสียงสระ ในบางโอกาสที่พบได้น้อยใช้ทับศัพท์ di แทนที่จะใช้ ヂ หรือ ディ เช่น Aladdin ทับศัพท์ว่า アラジン (อะระจิง) หรือ radio ทับศัพท์ว่า ラジオ (ระจิโอะ) เป็นต้น し เป็นอักษรลำดับที่ 12 อยู่ระหว่าง さ (ซะ) กับ す (ซุ) ในการจัดลำดับอักษรปัจจุบัน ส่วนการจัดลำดับแบบอิโระฮะ し เป็นอักษรลำดับที่ 42 อยู่ระหว่าง み (มิ) กับ ゑ (เวะ).

10 ความสัมพันธ์: การจัดลำดับแบบอิโระฮะภาษาญี่ปุ่นภาษาไอนุมันโยงะนะยูนิโคดสึ (คะนะ)ฮิระงะนะคะตะกะนะคะนะคันจิ

การจัดลำดับแบบอิโระฮะ

การจัดลำดับแบบอิโระฮะ (いろは順 อิโระฮะจุง) คือการจัดลำดับคะนะในภาษาญี่ปุ่นแบบหนึ่ง ขึ้นต้นด้วย อิ, โระ, ฮะ ฯลฯ.

ใหม่!!: ชิ (し)และการจัดลำดับแบบอิโระฮะ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาญี่ปุ่น

ษาญี่ปุ่น (日本語) เป็นภาษาทางการของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่างๆ คำภาษาญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาจีน ที่ได้นำมาเผยแพร่มาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1,500 ปีที่แล้ว และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้มีการยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เช่นคำที่มาจากภาษาดัตช์ ビール (bier แปลว่า เบียร์) และ コーヒー (koffie แปลว่า กาแฟ).

ใหม่!!: ชิ (し)และภาษาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไอนุ

ษาไอนุ หรือ ไอนู (ไอนุ: アイヌ イタク ไอนู อีตัก; アイヌ語 ไอนุโงะ) เป็นภาษาของชาวไอนุ ชนกลุ่มน้อยในเกาะฮกไกโด ครั้งหนึ่งเคยใช้พูดในหมู่เกาะคูริล ทางภาคเหนือของเกาะฮนชูและภาคใต้ของเกาะซาฮาลิน คำหลายคำของภาษาไอนุก็ได้กลายเป็นคำในภาษาญี่ปุ่นเลยด้วย เช่นเมืองซัปโปะโระบนเกาะฮกไกโด และคำว่ารักโกะ ที่แปลว่าแมวน้ำ.

ใหม่!!: ชิ (し)และภาษาไอนุ · ดูเพิ่มเติม »

มันโยงะนะ

มันโยงะนะ เป็นระบบการเขียนในสมัยโบราณของภาษาญี่ปุ่นโดยอักษรจีนหรือคันจิ ช่วงเวลาที่เริ่มใช้ระบบการเขียนนี้ไม่ทราบแน่ชัด แต่ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชื่อ "มันโยงะนะ" นี้ ได้จากชื่อหนังสือ “มันโยชู” อันเป็นวรรณกรรมรวมบทกวีในยุคนาระที่เขียนด้วยระบบมันโยงะน.

ใหม่!!: ชิ (し)และมันโยงะนะ · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิโคด

The Unicode Standard, Version 5.0 อักขระยูนิโคดทั้งหมดเมื่อพิมพ์ลงกระดาษ (รวมทั้งสองแผ่น) ยูนิโคด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์ ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์ สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2).

ใหม่!!: ชิ (し)และยูนิโคด · ดูเพิ่มเติม »

สึ (คะนะ)

ึ เป็นคะนะของภาษาญี่ปุ่นตัวหนึ่ง ฮิระงะนะเขียนว่า つ มีที่มาจากตัวเขียนหวัดของมันโยงะนะ 川 และคะตะกะนะเขียนว่า ツ มีที่มาจากตัวเขียนหวัดอีกแบบหนึ่งของมันโยงะนะ 川 ออกเสียงว่า เมื่อเติมดะกุเต็งจะออกเสียงว่า หรือ (づ ออกเสียงเหมือน ず แต่มีที่ใช้น้อยกว่า) เสียงอ่านที่เปลี่ยนไปจากปกติเนื่องจากเหตุผลทางสัทศาสตร์ つ เป็นอักษรลำดับที่ 18 อยู่ระหว่าง ち (ชิ) กับ て (เทะ) ในการจัดลำดับอักษรปัจจุบัน ส่วนการจัดลำดับแบบอิโระฮะ つ เป็นอักษรลำดับที่ 19 อยู่ระหว่าง そ (โซะ) กับ ね (เนะ).

ใหม่!!: ชิ (し)และสึ (คะนะ) · ดูเพิ่มเติม »

ฮิระงะนะ

รางานะ คือ อักษรในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของอักษรญี่ปุ่นที่ใช้ในปัจจุบันควบคู่กับคาตากานะและคันจิ ฮิรางานะและคาตากานะเป็นระบบคานะที่ตัวอักษรหนึ่งตัวแสดงถึงหนึ่งเสียง ในแต่ละ "คานะ" สามารถเป็นได้ทั้งในรูปสระและตัวสะก.

ใหม่!!: ชิ (し)และฮิระงะนะ · ดูเพิ่มเติม »

คะตะกะนะ

ตากานะ เป็นตัวอักษรสำหรับแทนเสียงในภาษาญี่ปุ่นประเภทหนึ่ง คาตากานะได้รับการนำไปเขียนภาษาไอนุซึ่งเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยอยู่ทางภาคเหนือของเกาะฮกไก.

ใหม่!!: ชิ (し)และคะตะกะนะ · ดูเพิ่มเติม »

คะนะ

การพัฒนาอักษรคานะจากตัวอักษรจีน คานะ เป็นคำที่ใช้เรียกตัวอักษรภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแบ่งออกเป็นฮิรางานะและคาตากานะ ซึ่งรวมถึงภาษาระบบเก่า มังโยงานะ คานะหนึ่งตัวอักษรจะมีเสียงเฉพาะของแต่ละตัวอักษร.

ใหม่!!: ชิ (し)และคะนะ · ดูเพิ่มเติม »

คันจิ

ันจิ เป็นอักษรจีนที่ใช้ในระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่นในปัจจุบัน จัดอยู่ในประเภทอักษรคำ (Logograms) ใช้ร่วมกับตัวอักษร อีก 4 ประเภท ได้แก่ ฮิรางานะ (ひらがな, 平仮名 Hiragana) คะตาคานะ (カタカナ, 片仮名 Katakana) โรมะจิ (ローマ字 Rōmaji) และตัวเลขอารบิก คำว่า "คันจิ" หากอ่านตามเสียงภาษาจีนกลางจะอ่านว่า "ฮั่นจื้อ" มีความหมายว่า ตัวอักษรของชาวฮั่น อันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน คำว่าภาษาจีนในภาษาจีนเอง ก็เรียกว่า ภาษาฮั่น (ภาษาจีนกลาง: 漢語, hànyǔ) เช่นกัน.

ใหม่!!: ชิ (し)และคันจิ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สิจิซิ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »