โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โลก (ดาวเคราะห์)

ดัชนี โลก (ดาวเคราะห์)

ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.

351 ความสัมพันธ์: บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลกบรรพชีวินวิทยาบรรยากาศบรรยากาศของโลกบริเวณแห้งแล้งชลประทานชั่วโมงชาวแองเกิลชีวมณฑลชีวิตชีวนิเวศฟลูออรีนพระวรสารลินดิสฟาร์นพระธรณีพลังงานความร้อนพายุหมุนเขตร้อนกฎหมายระหว่างประเทศกระบวนการก่อตัวใหม่กระแสน้ำมหาสมุทรกรีนแลนด์กลุ่มภาษาจีนกลุ่มภาษาโรมานซ์กลุ่มภาษาเจอร์แมนิกการก่อเทือกเขาการสลับขั้วแม่เหล็กโลกการสลายให้กัมมันตรังสีการสังเคราะห์ด้วยแสงการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่การหมุนการหมุนควงการทำลายป่าการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคการแปรใช้ใหม่การเพิ่มของระดับน้ำทะเลการเดินเรือกำมะถันกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิตกำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะกิโลกรัมกิโลเมตรกึ่งแกนเอกฐานธรณีภาคฝุ่นคอสมิกฝนกรดภัยแล้งภาษาบาลีภาษากรีกภาษาญี่ปุ่นภาษาฝรั่งเศส...ภาษาละตินภาษาลาวภาษาสันสกฤตภาษาอังกฤษภาษาอังกฤษสมัยกลางภาษาอังกฤษเก่าภาษาอิตาลีภาษาดัตช์ภาษาไทยภาษาเกาหลีภาษาเยอรมันภูมิศาสตร์ภูมิอากาศภูเขาภูเขาไฟมลพิษมวลมวลดวงอาทิตย์มวลโมเลกุลมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันมหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตตมหาสมุทรแอตแลนติกมหาสมุทรแปซิฟิกมหาทวีปมหาทวีปแพนเจียมานุษยรูปนิยมมิลลิวินาทีมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกามีโซสเฟียร์มีเทนยอดเขาชิมโบราโซยอดเขาเอเวอเรสต์ยายุคดีโวเนียนยุคน้ำแข็งยุคแคมเบรียนยูริ กาการินยูแคริโอตยูเรเนียมระบบสุริยะระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศระบบนิเวศระดับน้ำทะเลรัฐสมาชิกสหประชาชาติรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียรัฐเอกราชรังสีอัลตราไวโอเลตรายชื่อรัฐที่ได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์รายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวงร่องลึกก้นสมุทรร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนาฤดูกาลลมสุริยะลมค้าละติจูดลัทธินอกศาสนาลิปดาวอยเอจเจอร์ 1วัฏจักรของน้ำวัฏจักรคาร์บอนวัสดุก่อสร้างวัตต์วันวิวัฒนาการวิวัฒนาการของมนุษย์วิวัฒนาการของดาวฤกษ์วิศวกรรมสำรวจวิษุวัตวิทยาศาสตร์โลกวินาทีวงกลมอาร์กติกวงกลมแอนตาร์กติกศาสนาพุทธศูนย์กลางมวลสมมติฐานเนบิวลาสหประชาชาติสะเก็ดดาวสัญกรณ์ส่วนในหลายส่วนสัตว์เลื้อยคลานสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสารานุกรมบริตานิกาสารประกอบอนินทรีย์สาธารณสมบัติสิ่งมีชีวิตสิ่งมีชีวิตที่ไม่ต้องการออกซิเจนสุริยวิถีสุริยุปราคาสถานีอวกาศนานาชาติสตราโทสเฟียร์สปีชีส์สนามแม่เหล็กของโลกหยาดน้ำฟ้าหลุมยุบหินบะซอลต์หินหนืดหินอัคนีหินทรายหินตะกอนหินปูนหินแกรนิตหินแปรหนังสือปฐมกาลหนูผีหน่วยดาราศาสตร์อวกาศออกซิเจนออโรรา (ดาราศาสตร์)อะลูมิเนียมอะลูมิเนียมออกไซด์อันดับของขนาด (ความยาว)อายันอารยธรรมอาร์กอนอาหารอาณานิคมอุทกภาคอุณหพลศาสตร์อุปราคาองศา (มุม)องศาเซลเซียสองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกจันทรุปราคาจันทร์ดับจันทร์เพ็ญจุลินทรีย์จุดร้อนจุดปลายระยะทางวงโคจรจีออยด์ธรณีฟิสิกส์ธรณีกาลธรณีภาคธรณีสัณฐานธารน้ำแข็งธาตุถ่านหินทรอปิกออฟแคนเซอร์ทรัพยากรสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติทรงกลมฟ้าทรงคล้ายทรงกลมทวีปยุโรปทวีปอเมริกาใต้ทวีปอเมริกาเหนือทวีปแอฟริกาทวีปแอนตาร์กติกาทวีปเอเชียทอร์ทอร์นาโดทอเรียมทะเลสาบทะเลทรายโมฮาวีทะเลเดดซีทางช้างเผือกที่ราบก้นสมุทรขั้วโลกขั้วโลกใต้ขนาดเชิงมุมดวงอาทิตย์ดวงอาทิตย์เที่ยงคืนดวงจันทร์ดาวบริวารดาวพลูโตดาวยักษ์แดงดาวหางดาวเทียมดาวเคราะห์ดาวเคราะห์คล้ายโลกดาวเคราะห์น้อยดาวเคราะห์แคระดิถีดินดินแดนที่ไม่มีเจ้าของครีษมายันคลอรีนคลื่นสึนามิควอตซ์ความชื้นความกดอากาศความสว่างดวงอาทิตย์ความหลากหลายทางชีวภาพความหนาแน่นประชากรความหนืดความถี่ความโน้มถ่วงความเร่งความเร็วหลุดพ้นความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์ความเอียงของแกนคัมภีร์ไบเบิลคาร์บอนไดออกไซด์ตระกูลภาษาไท-กะไดตันตากิตุสฉบับพระเจ้าเจมส์ซากดึกดำบรรพ์ซิลิกอนไดออกไซด์ซิลิคอนซิลิเกตปฏิกิริยารีดอกซ์ปฏิกิริยาเคมีปฏิทินจูเลียนประชากรโลกประเทศกำลังพัฒนาประเทศแคนาดาประเทศเอกวาดอร์ปรากฏการณ์โลกร้อนปรากฏการณ์เรือนกระจกปาสกาล (หน่วยวัด)ปิโตรเลียมปีปีแสงป่าป่าดิบชื้นนาทีนาซานิกเกิลนูนาวุตน้ำ (โมเลกุล)น้ำบาดาลน้ำท่วมน้ำขึ้นลงแชลเลนเจอร์ดีปแกรไฟต์แก๊สธรรมชาติแก๊สเรือนกระจกแมกนีเซียมแม่น้ำแม็กนีโตสเฟียร์แรงไทดัลแร่แผ่นยูเรเชียแผ่นอเมริกาเหนือแผ่นดินไหวแผ่นแปซิฟิกแขนนายพรานแครอน (ดาวบริวาร)แคลไซต์แคลเซียมแคลเซียมออกไซด์โพแทสเซียมโมโฮโลกโลหะโอลิวีนโอดินโอโซนโอเชียเนียโจวันนี โดเมนีโก กัสซีนีโทรจัน (ดาราศาสตร์)โทรโพสเฟียร์โดโลไมต์โครงการอะพอลโลโครงสร้างของโลกโคลนถล่มโซเดียมออกไซด์ไฟป่าไกอาไมกาไม้ไอน้ำไอโซโทปไอเอิร์น(II) ออกไซด์ไฮโดรเจนไดโนเสาร์ไต้ฝุ่นไนโตรเจนเบวูล์ฟเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์เฟลด์สปาร์เกษตรกรรมเกาะเอลสเมียร์เมฆโมเลกุลเมตรเมแทบอลิซึมเวลาสากลเส้นศูนย์สูตรเส้นศูนย์สูตรฟ้าเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นเมริเดียนเหมายันเหล็กเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีนเอกโซสเฟียร์เอลนีโญเฮกตาร์เทพปกรณัมนอร์สเทวดาเทห์ฟ้าเทอร์รา (เทพปกรณัม)เทอร์โมสเฟียร์เทือกเขากลางสมุทรเขตร้อนเขตอาศัยได้เขตขั้วโลกเดอะบลูมาร์เบิลเดอะนิวยอร์กไทมส์เคลวินเปลือกโลกเปลือกโลกภาคพื้นทวีปเนื้อโลกเนเจอร์ (วารสาร) ขยายดัชนี (301 มากกว่า) »

บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก

อาณาจักรและโดเมน สีม่วงคือแบคทีเรีย สีเทาเข้มคืออาร์เคีย สีน้ำตาลคือยูแคริโอต โดยยูแคริโอตยังแบ่งออกเป็น 5 อาณาจักรคือ สัตว์(แดง) ฟังไจ(น้ำเงิน) พืช(เขียว) โครมาลวีโอลาตา(น้ำทะเล) และ โพรทิสตา(เหลืองทอง) โดยมีจุดศูนย์กลางคือ บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก (LUCA) บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก (last universal common ancestor; ตัวย่อ: LUCA) หมายถึง สิ่งมีชีวิตรุ่นล่าสุด ที่เป็นบรรพบุรุษร่วมกันของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกนี้ คล้ายคลึงกับ บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุด (MRCA) ซึ่งหมายความถึงสับเซตใดๆของ LUCA ขณะที่ LUCA เองมีความหมายครอบคลุมถึงทุกเซตทั้งหม.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และบรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก · ดูเพิ่มเติม »

บรรพชีวินวิทยา

นักบรรพชีวินวิทยา บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) คือ วิชาที่ศึกษาลักษณะรูปร่าง ลักษณะความเป็นอยู่ และประวัติการวิวัฒนการของสิ่งมีชีวิต ได้แก่สัตว์และพืชในธรณีกาล โดยอาศัยข้อมูลหรือร่องรอยต่างๆ ของสัตว์และพืชนั้นๆที่ถูกเก็บบันทึกและรักษาไว้ในชั้นหิน จัดเป็นแขนงหนึ่งของวิชาธรณีวิทยา ที่อาศัยความรู้ทางชีววิทยาปัจจุบันไปเปรียบเทียบกับหลักฐานที่ได้สภาพซากดึกดำบรรพ์ เพื่อให้เข้าใจสภาพแวดล้อมในอดีตในช่วงที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาศัยอยู่ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ เรียกว่า นักบรรพชีวินวิท.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และบรรพชีวินวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

บรรยากาศ

มุมมองของชั้นบรรยากาศที่ตื่นตัวของดาวพฤหัสบดี รวมทั้งจุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) บรรยากาศ หมายถึงชั้นแก๊สชนิดต่าง ๆ ที่ปกคลุมอยู่ทั่วดาวเคราะห์หรือวัตถุท้องฟ้านั้น ๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละดาว บางดาวไม่มีชั้นบรรยากาศ สำหรับบรรยากาศของโลกนั้นเป็นอากาศที่ห้อหุ้มโลก ประกอบไปด้วยไนโตรเจน, ออกซิเจน และแก๊สอื่น ๆ มีขอบเขตนับจากระดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 1000 กิโลเมตรโดยเฉลี่ย ดาวเคราะห์ชั้นในมีส่วนประกอบเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก ส่วนดาวเคราะห์ชั้นนอกมีไฮโดรเจน, ฮีเลียม และแก๊สอื่นๆ เป็นหลัก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และบรรยากาศ · ดูเพิ่มเติม »

บรรยากาศของโลก

ลักษณะบรรยากาศของโลก บรรยากาศของโลก คือ อากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ วันที่สืบค้น 6 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และบรรยากาศของโลก · ดูเพิ่มเติม »

บริเวณแห้งแล้ง

ทะเลทราย ทะเลทรายอาตากามา บริเวณแห้งแล้ง หรือ ทะเลทราย (desert) เป็นบริเวณแผ่นดินแห้งแล้งซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อยและทำให้สภาพการดำรงชีพไม่เอื้อสำหรับพืชและสัตว์ ประมาณหนึ่งในสามของพื้นผิวดินของโลกแห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้ง ซึ่งรวมเขตขั้วโลกด้วยซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อย และบ้างเรียก "บริเวณแห้งแล้งเย็น" บริเวณแห้งแล้งสามารถจำแนกได้โดยปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตก อุณหภูมิ สาเหตุของการกลายเป็นบริเวณแห้งแล้ง (desertification) หรือโดยที่ตั้งภูมิศาสตร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และบริเวณแห้งแล้ง · ดูเพิ่มเติม »

ชลประทาน

ลประทานเป็นการทดน้ำและระบายน้ำ ใช้เพื่อช่วยให้พืชผลการเกษตรเติบโต บำรุงรักษาภูมิประเทศ และปลูกพืชคืนสภาพดินเปลี่ยนสภาพในพื้นที่แห้งแล้งระหว่างช่วงฝนตกไม่เพียงพอ นอกเหนือจากนี้ ชลประทานยังมีประโยชน์อื่นในการผลิตพืชผล ซึ่งรวมถึงการปกป้องพืชจากความเย็น การยับยั้งการเติบโตของวัชพืชในไร่ธัญพืช และการช่วยป้องกันดินอัดตัวคายน้ำ ระบบชลประทานยังใช้ยับยั้งฝุ่น การกำจัดสิ่งปฏิกูลและในการเหมืองแร่ ชลประทานมักจะศึกษาร่วมกับการระบายน้ำซึ่งเป็นการน้ำผิวดินหรือใต้ออกตามธรรมชาติหรือโดยการประดิษฐ์ของมนุษย์จากบริเวณที่กำหนด ชลประทานเป็นสิ่งสำคัญของการเกษตรมานานกว่า 5000 ปีและเป็นผลผลิตของวัฒนธรรมหลายวัฒนธรรม ในทางประวัติศาสตร์ชลประทานเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจและสังคัมทั่วโลกจากเอเชียจนถึงสหรัฐอเมริกาตะวันตกเฉียงใต้.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และชลประทาน · ดูเพิ่มเติม »

ชั่วโมง

ั่วโมง อักษรย่อ ชม. (Hour: h หรือ hr) เป็นหน่วยของเวล.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และชั่วโมง · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแองเกิล

ักรวรรดิโรมันภายไต้จักรพรรดิเฮเดรียน (ปกครอง ค.ศ. 117-ค.ศ. 138) แสดงที่ตั้งของ "Anglii" ที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณคอแหลมจัตแลนด์ (เดนมาร์ก) แองเกิล (Angles) เป็นคำภาษาอังกฤษใหม่สำหรับเรียกกลุ่มผู้พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกที่ได้ชื่อมาจากบริเวณการตั้งถิ่นฐานอังเงิลน์ (Angeln) ที่อยู่ในบริเวณรัฐชเลสวิก-โฮลชไตน์ (Schleswig-Holstein) ในเยอรมนีปัจจุบัน แองเกิลเป็นกลุ่มชนหลักที่มาตั้งถิ่นฐานในบริเตนในช่วงเวลาหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน (Fall of the Roman Empire) และก่อตั้งอาณาจักรหลายอาณาจักรในสมัยแองโกล-แซกซันของอังกฤษและ "Angles" เป็นรากของคำว่า "England" (อังกฤษ).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และชาวแองเกิล · ดูเพิ่มเติม »

ชีวมณฑล

ีวมณฑล (Biosphere.) จากβίος "ชีวิต" และ σφαῖρα (sphaira) หรือทรงกลม เป็นผลรวมทั่วโลกของระบบนิเวศทั้งหมด นอกจากนี้ยังสามารถที่เรียกว่าโซนของสิ่งมีชีวิตบนโลก ซึ่งเป็นระบบปิด (นอกเหนือจากรังสีจากดวงอาทิตย์ รังสีจักรวาล และความร้อนจากชั้นหินร้อนภายในของโลก) และระบบที่ปรับสมดุลตัวเองได้ ภายใต้นิยามที่กว้างที่สุดในทางชีวกายภาพของดาวเคราะห์ (biophysiological) ชีวมณฑล คือ ระบบนิเวศในระดับดาวเคราะห์ที่ควบรวมเอาสิ่งมีชีวิตทั้งหมด และความสัมพันธ์ทั้งระหว่างกันเอง กับทั้งปฏิสัมพันธ์กับองค์ประกอบต่างๆของธรณีภาค ปฐพีภาค อุทกภาค และชั้นบรรยากาศ มาไว้ด้วยกัน มีการสันนิษฐานว่าชีวมณฑลมีการวิวัฒนาการ มาตั้งแต่ต้นกำเนิดของชีวิตบนโลก ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต (biopoiesis) หรือ กระบวนการกำเนิดชีวิตจากสิ่งมีชีวิต (biogenesis) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นอย่างน้อยเมื่อ 3.5 พันล้านปีก่อน หมวดหมู่:สมุทรศาสตร์ หมวดหมู่:ระบบชีวภาพ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และชีวมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

ชีวิต

ีวิต คือสถานะที่แยกสิ่งมีชีวิตหรืออินทรีย์ออกจากสิ่งไม่มีชีวิตหรืออนินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว สิ่งมีชีวิตเติบโตผ่านกระบวนการสันดาป การสืบพันธุ์และ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดสามารถพบได้ในชีวมณฑลของโลก ส่วนประกอบทั่วไปของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ - พืช สัตว์ เห็ดรา โพรทิสต์ อาร์เคีย และ แบคทีเรีย - คือ เซลล์ที่มีส่วนของน้ำและคาร์บอนเป็นหลัก และ เซลล์แหล่านี้ถูกเรียบเรียงอย่างซับซ้อนตามข้อมูลจากหน่วยพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการสันดาป เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต ตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว และ มีการปรับตัวและวิวัฒนาการโดยการผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ สิ่งที่มีคุณสมบัติเหล่านี้เท่านั้นที่ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ชีวิต คือ หน่วยที่ต้องใช้พลังงาน มีคุณสมบัติทั้งกายภาพและชีวภาพดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ชีวนิเวศ

ีวนิเวศ (biome) หมายถึง สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น พื้นที่ทาง ภูมิศาสตร์ที่คล้ายคลึงกันบนโลก ซึ่งเป็นชุมชนกลุ่มสิ่งมีชีวิต ของพืชและสัตว์ รวมไปถึงสิ่งมีชีวิตในดิน ซึ่งมักจะหมายถึงระบบนิเวศ ซึ่งบางส่วนของโลกจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับชนิดการแพร่กระจายขององค์ประกอบสิ่งมีชีวิต (Abiotic Factor) และองค์ประกอบของสิ่งไม่มีชีวิต ในพื้นที่ขนาดใหญ่ ประเภทของชีวนิเวศ แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ คือ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และชีวนิเวศ · ดูเพิ่มเติม »

ฟลูออรีน

ฟลูออรีน (Fluorine) (จากภาษาละติน Fluere แปลว่า "ไหล") เป็นธาตุเคมีที่เป็นพิษและทำปฏิกิริยาได้มากที่สุด มีสัญลักษณ์ F และเลขอะตอม 9 เป็นธาตุแฮโลเจนที่เป็นเบาที่สุดและมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากที่สุด มันปรากฎอยู่ในรูปของแก๊สสีเหลืองที่ภาวะอุณหภูมิและความดันมาตรฐาน ธาตุนี้ทำปฏิกิริยาได้เกือบทุกธาตุรวมทั้งแก๊สมีตระกูลบางตัว มีสมบัติเป็นอโลหะมากที่สุด (ถ้าไม่รวมแก๊สมีตระกูล).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และฟลูออรีน · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารลินดิสฟาร์น

ระวรสารลินดิสฟาร์น (Lindisfarne Gospels, Lindisfarne Gospels - หอสมุดบริติช, ลอนดอน) เป็นหนังสือพระวรสารวิจิตรที่เขียนเป็นภาษาละติน ที่เขียนขึ้นที่ลินดิสฟาร์นในนอร์ทธัมเบรียเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 “พระวรสารลินดิสฟาร์น” ประกอบด้วยพระวรสารทั้งสี่ฉบับของพันธสัญญาใหม่ พระวรสารฉบับนี้ถือว่าเป็นงานศิลปะชิ้นที่งดงามที่สุดของงานศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ของราชอาณาจักร ซึ่งเป็นลักษณะงานศิลปะที่ผสานระหว่างศิลปะแองโกล-แซ็กซอนและศิลปะเคลติกที่เรียกว่าศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอนหรือศิลปะเกาะ พระวรสารเป็นงานฉบับสมบูรณ์ขาดก็แต่หน้าปกดั้งเดิม และอยู่ในสภาพที่ดีเมื่อคำนึงถึงอายุของหนังสือ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และพระวรสารลินดิสฟาร์น · ดูเพิ่มเติม »

พระธรณี

วัดท่าสุทธาวาส พระแม่ธรณี หรือ พระศรีวสุนธรา ภาษากะเหรี่ยงว่า ซ่งทะรี่ เป็นเทพีแห่งพื้นแผ่นดิน ปรากฏในตำนานทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ในคติของศาสนาฮินดูให้ความเคารพนับถือว่าแผ่นดินเป็นสิ่งค้ำจุนสรรพสิ่งทั้งปวงในโลกเปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดหล่อเลี้ยงโลกและแผ่นดิน จึงได้รับยกย่องว่าเป็นเทพจากธรรมชาติองค์หนึ่งเป็นเพศหญิง เรียกนามว่า "ธรณิธริตริ" แปลว่า "ผู้ค้ำจุนพระธรณี" แม้จะมิค่อยมีรูปเคารพอย่างแพร่หลายเช่นเทพองค์อื่นแต่ก็มีผู้ให้ความเคารพนับถือเป็นจำนวนมิใช่น้อย เพราะถือกันว่าพระธรณีสถิตย์อยู่ตามที่ต่าง ๆ ทุกหนทุกแห่ง จะทำการบูชาด้วย ข้าว ผลไม้ และนมด้วยการวางไว้บนก้อนหิน หรือประพรมลงบนพื้นดิน บางแห่งใช้เหล้าเป็นการสังเวยก็มี นอกจากนี้ชาวฮินดูยังมีการขอขมาลาโทษเมื่อจะวางเท้าลงบนพื้นดินก่อนจะลุกขึ้นในตอนเช้า วัวหรือควายที่มีลูกก่อนที่จะให้ลูกกินนมครั้งแรก เจ้าของจะปล่อยน้ำนมของแม่วัวลงบนพื้นดินเสียก่อนทุกครั้งไป ถ้าเป็นพวกชาวนาก็จะขอให้พระธรณีช่วยคุ้มครองผืนนาและวัวควาย แม้ในพระเวทก็มีการขอร้องต่อพระธรณีให้ช่วยพิทักษ์คุ้มครองวิญญาณของคนตาย และต่อมาได้นับถือว่าเป็นเทพแห่งไร่นาด้วย ในแคว้นปัญจาบเชื่อกันว่าพระธรณีจะนอนหลับเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ของทุก ๆ เดือนชาวไร่ชาวนาจะหยุดไม่ทำงานในระยะนี้ เทพแห่งแผ่นดินหรือพระธรณี ไม่ค่อยมีเรื่องราวประวัติความเป็นมาปรากฏมากมายดังเช่นเทพองค์อื่น หรือมีก็สับสน เช่น บางแห่งว่าพระธรณีมีโอรสกับพระนารายณ์องค์หนึ่งคือพระอังคาร บางแห่งว่าพระอังคารเป็นโอรสของพระศิวะกับพระธรณี หรือในคติพราหมณ์พบเพียงว่าเป็นชายาของพระธุรวะหรือดาวเหนือ ในพุทธศาสนา พระแม่ธรณีปรากฏกายเพื่อบีบน้ำจากมวยผมให้ท่วมทัพท้าววสวัตตีที่มาผจญพระโคตมพุทธเจ้าในคืนวันตรัสรู้.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และพระธรณี · ดูเพิ่มเติม »

พลังงานความร้อน

พลังงานความร้อน หรือ พลังงานอุณหภาพ (Thermal energy) เป็นรูปแบบหนึ่งของพลังงาน มนุษย์เราได้พลังงานความร้อนมาจากหลายแห่งด้วยกัน เช่น จากดวงอาทิตย์ พลังงานในของเหลวร้อนใต้พื้นพิภพ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานน้ำในหม้อต้มน้ำ พลังงานเปลวไฟ ฯลฯ ผลของความร้อนทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนสถานะไป และนอกจากนี้แล้ว พลังงานความร้อนยังสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้อีกด้วย หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อน คือ "แคลอรี" โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "แคลอรีมิเตอร์" หมวดหมู่:พลังงาน หมวดหมู่:พลังงานความร้อน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และพลังงานความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

พายุหมุนเขตร้อน

รนแบนด์โดยรอบ, และลักษณะของพายุหมุนเขตร้อน ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากอวกาศ พายุหมุนเขตร้อน คือ ระบบพายุที่พัฒนามาจากศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำ, ลมแรง และการจัดเกลียวของพายุฝนฟ้าคะนอง ทั้งนี้ขึ้นกับสถานที่และความรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณเขตร้อนของโลก ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น พายุเฮอร์ริเคน, พายุโซนร้อน, พายุไซโคลน, พายุดีเปรสชันเขตร้อน และพายุไซโคลนอย่างง่าย โดยทั่วไปรูปแบบพายุหมุนเขตร้อนจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกับความสัมพันธ์กับน้ำอุ่น โดยพายุจะได้รับพลังงานผ่านการระเหยของน้ำบริเวณพื้นผิวมหาสมุทร ซึ่งในที่สุดน้ำเหล่านั้นจะควบแน่นอีกครั้งและเข้าไปอยู่ในกลุ่มเมฆและฝน เมื่ออากาศชื้นและความเย็นอิ่มตัว ซึ่งแหล่งพลังงานนี้จะแตกต่างกับพายุหมุนละติจูดกลาง ตัวอย่างเช่น นอร์อิสเทิร์น และพายุลมยุโรป ซึ่งได้รับพลังพลักดันหลักจากความแตกต่างของอุณหภูมิในแนวนอน โดยลมหมุนวนรอบอย่างรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนนั้นเป็นผลมาจากการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ซึ่งเกิดจากสภาวะการหมุนรอบตัวเองของโลก ขณะที่อากาศไหลเข้ามาสู่แกนกลางของการหมุน ผลที่ตามมา คือ พายุมักไม่ค่อยเกิดขึ้นภายใน 5° จากศูนย์สูตร พายุหมุนเขตร้อนโดยทั่วไปเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 100 - 4,000 กิโลเมตร คำว่า พายุหมุน (หรือไซโคลน) หมายถึง พายุหมุนตามธรรมชาติ ซึ่งลมจะพัดหมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และจะพัดหมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ ซึ่งทิศทางตรงข้ามการของการไหลเวียนลม เป็นผลมาจากคอริโอลิส ส่วนคำว่า เขตร้อน หมายถึง แหล่งกำเนิดของพายุทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นรูปแบบพิเศษของทะเลในเขตร้อน นอกจากลมแรงและฝนตก พายุหมุนเขตร้อนมีความสามารถในการสร้างคลื่นสูง และก่อให้เกิดความเสียหายจากน้ำขึ้นจากพายุ และทอร์นาโด ซึ่งมักจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงที่พายุอยู่บนแผ่นดิน เนื่องจากถูกตัดขาดจากแหล่งพลังงานหลักของมัน จากเหตุผลนี้ ทำให้บริเวณชายฝั่งทะเล มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากพายุหมุนเขตร้อนมากกว่า เมื่อเทียบกับในแผ่นดิน อย่างไรก็ตามในแผ่นดินเองก็เกิดความเสียหายได้จากน้ำท่วมบนแผ่นดิน จากฝนตกหนัก และน้ำขึ้นจากพายุสามารถก่อให้เกิดน้ำท่วมบนแผ่นดินได้กว้างถึง 40 กิโลเมตร จากชายฝั่งทะเล แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนจะส่งผลกระทบต่อประชากรมนุษย์มหาศาล แต่พายุยังสามารถช่วยบรรเทาภาวะภัยแล้งได้ พวกมันยังพาพลังงานความร้อนออกไปจากเขตร้อน ข้ามผ่านไปยังละติจูดในเขตอบอุ่น ซึ่งอาจมีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนสภาวะภูมิอากาศในระดับภูมิภาคและระดับโลก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และพายุหมุนเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายระหว่างประเทศ

กฎหมายระหว่างประเทศ (International law) หมายถึง กฎ กฎเกณฑ์ และข้อตกลงที่เกิดขึ้นจากความตกลง หรือการแสดงเจตนาเข้าผูกพันของรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป และมักใช้เป็นหลักในการพิจารณาข้อพิพาทระหว่างประเท.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และกฎหมายระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

กระบวนการก่อตัวใหม่

กระบวนการก่อตัวใหม่ (Diagenesis) ในความหมายเชิงธรณีวิทยาและสมุทรศาสตร์ คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ, ทางเคมีหรือทางชีวภาพในระดับตะกอน ตั้งแต่ที่เริ่มมีการทับถมของตะกอนไปจนถึงหลังจากที่ตะกอนจับตัวกลายเป็นหิน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการ alteration หรือการแปรสภาพของหิน เนื่องจากการแปรสภาพมีความเกี่ยวข้องกับความดันและอุณหภูมิซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับแร่องค์ประกอบและเนื้อหิน หลังจากเกิดกระบวนการการทับถมของตะกอนแล้ว ตะกอนได้ถูกแรงกดอัดแน่นกลายเป็นชั้นหินตะกอน เม็ดตะกอนซึ่งอาจรวมไปถึงเศษหินแตก ซากบรรพชีวินที่อยู่ในชั้นหินอาจถูกแทนที่ด้วยแร่อื่นๆและจะถูกเชื่อมประสานด้วย matrix ทำให้ช่องว่างหรือความเป็นรูพรุนของตะกอนลดลงซึ่งอยู่ในขั้นตอนของกระบวนการก่อตัวใหม่ การศึกษากระบวนการก่อตัวใหม่ ของหินนั้น ทำให้เข้าใจถึงกระบวนการทางเทคโทนิคส์ หรือวัฏจักรของของไหลที่เกี่ยวข้องกับชั้นหินนั้นๆ ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการสำรวจหาแหล่งแร่หรือแหล่งปิโตรเลียมได้ หมวดหมู่:ธรณีวิทยา หมวดหมู่:เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และกระบวนการก่อตัวใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

กระแสน้ำมหาสมุทร

กระแสน้ำมหาสุมทร กระแสน้ำมหาสุมทร (Ocean current) เป็นกระแสน้ำที่ไหลต่อเนื่องในมหาสมุทรซึ่งเกิดจากหมุนเวียนของน้ำในมหาสมุทร ตามระบบเวลาและฤดูกาลที่แน่นอน เช่น คลื่น ลม แรงโคริโอลิส อุณหภูมิ ความแตกต่างของความเค็ม และการเกิดน้ำขึ้นน้ำลงซึ่งเกิดจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์และดวงอาทิต.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และกระแสน้ำมหาสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

กรีนแลนด์

กรีนแลนด์ (Kalaallit Nunaat; Grønland เกฺรินลันฺด) เป็นดินแดนทางเหนือสุดของโลก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติกและเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ 2,175,900 ตารางกิโลเมตร มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และกรีนแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาโรมานซ์

ภาษาโรมาเนีย กลุ่มภาษาโรมานซ์ เป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน และเป็นกลุ่มภาษาที่กลายพันธุ์มาจากภาษาละติน ประกอบด้วย ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส ภาษาโรมาเนีย และ ภาษากาตาลา เป็นต้น มีผู้พูดภาษาในกลุ่มนี้ทั่วโลกมากกว่า 700 ล้านคน รโมานซ์ หมวดหมู่:กลุ่มภาษาโรมานซ์.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และกลุ่มภาษาโรมานซ์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเจอร์แมนิก

้นแบ่งระหว่างกลุ่มเจอร์แมนิกตะวันตกและกลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ กลุ่มภาษาเจอร์แมนิก เป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก · ดูเพิ่มเติม »

การก่อเทือกเขา

ูเขา การก่อเทือกเขา (Orogeny/Orogenesis) เป็นกระบวนการกำเนิดแนวเทือกเขาขนาดใหญ่ที่เป็นผลจากแรงดัน ในขณะเกิดการเปลี่ยนลักษณะโครงสร้างของแผ่นเปลือกโลก เช่น การเคลื่อนที่เข้าปะทะกันของแผ่นเปลือกโลก หรือ การมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ได้ก่อให้เกิดความเค้น ขึ้นตามแนวรอยต่อระหว่างเปลือกโลกทั้งสอง ส่งผลให้เกิดมวลหินบริเวณนั้นถูกแปรสภาพและยกตัวสูงขึ้นเป็นแนวยาว เรียกว่า แดนเทือกเขา (orogenic belt) คำว่า “Orogeny” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ คำว่า oros แปลว่าภูเขา และ genesis ที่แปลว่าการเกิด หรือกำเน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และการก่อเทือกเขา · ดูเพิ่มเติม »

การสลับขั้วแม่เหล็กโลก

การสลับขั้วแม่เหล็กโลกในปัจจุบัน การสลับขั้วแม่เหล็กโลก (geomagnetic reversal) เป็นการเปลี่ยนแปลงทิศทางของสนามแม่เหล็กโลกโดยที่มีการสลับขั้วกันระหว่างขั้วแม่เหล็กเหนือกับขั้วแม่เหล็กใต้ ปรกติเหตุการณ์นี้จะเกี่ยวข้องกับการที่สนามแม่เหล็กโลกมีความเข้มข้นลดลง ตามด้วยการกลับคืนมาอย่างรวดเร็วหลังจากการสลับขั้วเกิดขึ้น เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเป็นช่วงระยะเวลาตั้งแต่หลายหมื่นปีไปจนหลายล้านปี.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และการสลับขั้วแม่เหล็กโลก · ดูเพิ่มเติม »

การสลายให้กัมมันตรังสี

การสลายให้อนุภาคแอลฟา เป็นการสลายให้กัมมันตรังสีชนิดหนึ่งที่นิวเคลียสของอะตอมปลดปล่อย อนุภาคแอลฟา เป็นผลให้อะตอมแปลงร่าง (หรือ "สลาย") กลายเป็นอะตอมที่มีเลขมวลลดลง 4 หน่วยและเลขอะตอมลดลง 2 หน่วย การสลายให้กัมมันตรังสี (radioactive decay) หรือ การสลายของนิวเคลียส หรือ การแผ่กัมมันตรังสี (nuclear decay หรือ radioactivity) เป็นกระบวนการที่ นิวเคลียสของอะตอมที่ไม่เสถียร สูญเสียพลังงานจากการปลดปล่อยรังสี.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และการสลายให้กัมมันตรังสี · ดูเพิ่มเติม »

การสังเคราะห์ด้วยแสง

ใบไม้เป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์ด้วยแสง การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) เป็นกระบวนการทางชีวเคมีที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้พืช สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิดสามารถเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานทางเคมีได้ สิ่งมีชีวิตแทบทั้งหมดล้วนอาศัยพลังงานที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อการเจริญเติบโตทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ยังมีการผลิตออกซิเจน ซึ่งมีเป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่มากของบรรยากาศโลกด้วย สิ่งมีชีวิตที่สร้างพลังงานจากกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ เรียกว่า "phototrophs" โดยโมเลกุลที่มีความสามารถในการดูดกลืนแสงที่มีอยู่ในพืชและสิ่งมีชีวิตนี้คือ รงควัตถุ (pigment).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และการสังเคราะห์ด้วยแสง · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่

ำลองเหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อยพุ่งเข้าชนโลก เมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ (mass extinction) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เป็นข้อสันนิษฐานว่า เป็นสาเหตุให้สิ่งมีชีวิตบนโลกหลากชนิดหลายสายพันธุ์ต้องสูญพันธุ์ไปในเวลาพร้อมๆกันหรือไล่เลี่ยกัน เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงครั้งเดียว ในช่วง ยุคครีเตเชียส (Cretaceous) ซึ่งเป็นยุคที่ไดโนเสาร์เป็นสิ่งมีชีวิตอันดับบนสุดของห่วงโซ่อาหารอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ หากแต่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง การประเมินระยะเวลาการเกิดเหตุการณ์ ทำโดยการวินิจฉัยจากซากฟอสซิลจากทะเลเป็นส่วนใหญ่ เนื่องมาจากว่าสามารถ ค้นพบได้ง่ายกว่าฟอสซิลที่อยู่บนบก เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่เป็นที่สนใจและผู้คนทั่วไปรู้จักกันดีที่สุดคือ เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในช่วงยุคครีเตเชียส (Cretaceous) เมื่อราว 65 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์ขนาดใหญ่สูญพันธุ์ทั้งหมด เมื่อทำการศึกษาพบว่าตั้งแต่ 550 ล้านปีก่อนเป็นต้นมา ได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ขึ้นทั้งหมดประมาณ 5 ครั้ง ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปราวๆ 50% ของทั้งหมด เนื่องจากระยะเวลาที่เกิดขึ้นนานมาก การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ก่อนหน้ายุคครีเตเชียสมักลำบากในการศึกษารายละเอียด เพราะหลักฐานซากฟอสซิลสำหรับตรวจสอบมีหลงเหลือน้อยมาก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

การหมุน

ทรงกลมหมุนรอบแกน การหมุน (Rotation) เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุรอบตัวเองในทิศทางเป็นวงกลม วัตถุสองมิติจะหมุนรอบจุด วัตถุสามมิติจะหมุนรอบแกน ถ้าจุดศูนย์กลางการหมุนอยู่ภายนอกวัตถุ จะเรียกว่าการโคจร เช่น การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ หมวดหมู่:กลศาสตร์ดั้งเดิม หมวดหมู่:เรขาคณิตแบบยุคลิด หมวดหมู่:ฟิสิกส์ หมวดหมู่:การกำหนดทิศทาง หมวดหมู่:การหมุน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และการหมุน · ดูเพิ่มเติม »

การหมุนควง

การหมุนควงของไจโรสโคป การหมุนควง หมายถึง การหมุนของวัตถุรอบแกน โดยแกนในการหมุนก็หมุนเป็นวงกลมอยู่ด้วย เช่น การหมุนของโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ มันสามารถกำหนดเป็นความเปลี่ยนแปลงในทิศทางของแกนหมุนที่มุมออยเลอร์ที่สอง (Euler angle) (การแกว่ง) เป็นค่าคงที่ แรงบิดฟรีและแรงบิดเหนี่ยวนำ: ในวิชาฟิสิกส์, การหมุนควงมีสองประเภท คือ: แรงบิดอิสระ (torque-free) และแรงบิดเหนี่ยวนำ (torque-induced) ในทางดาราศาสตร์, "การหมุนควง" หมายถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ อย่างช้า ๆ ในหลาย ๆ พารามิเตอร์ของการหมุนหรือการโคจรของวัตถุทางดาราศาสตร์, และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการหมุนควงของอิควิน็อกซ์ (precession of the equinoxes) ของโลก ดูส่วนดาราศาสตร์ (ด้านล่าง).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และการหมุนควง · ดูเพิ่มเติม »

การทำลายป่า

การทำลายป่าฝนอะเมซอน จากภาพถ่ายดาวเทียม จะเห็นถนนในป่ามีลักษณะเป็นรูปก้างปลา ("fishbone" pattern) การทำลายป่า คือ สภาวะของป่าตามธรรมชาติที่ถูกทำลายโดยการตัดไม้และการเผาป่า เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การนำต้นไม้และถ่านไม้มาใช้หรือจำหน่ายเป็นโภคภัณฑ์ ในระหว่างที่ทำการเลี้ยงสัตว์ เพาะปลูก และตั้งถิ่นฐาน บนพื้นที่ว่าง การตัดไม้โดยไม่ปลูกทดแทนด้วยจำนวนที่เพียงพอ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อที่อยู่อาศัย ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และปัญหาความแห้งแล้ง ซึ่งส่งผลเสียต่อการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศโดยพืช พื้นที่ป่าที่ถูกทำลายโดยมากจะเกิดความเสียหายจากการพังทลายของหน้าดิน และพื้นที่มักด้อยคุณภาพลงจนกลายเป็นที่ดินที่ทำประโยชน์มิได้.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และการทำลายป่า · ดูเพิ่มเติม »

การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน

การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน (Köppen climate classification) เป็นหนึ่งในระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศที่ใช้กันกว้างขวางที่สุด วลาดิเมียร์ เคิปเปนเป็นผู้เผยแพร่ระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศนี้เป็นคนแรกในปี พ.ศ. 2427 และการแก้ไขเล็กน้อยโดยเคิปเปนเองตามมาในปี พ.ศ. 2461 และ พ.ศ. 2479 ภายหลังนักกาลวิทยาชาวเยอรมนีนามว่ารูดอล์ฟ ไกเกอร์ ร่วมมือกับเคิปเปนเปลี่ยนแปลงระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศนี้ บางครั้งจึงสามารถเรียกได้ว่าการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนและไกเกอร์ (Köppen–Geiger climate classification system).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน · ดูเพิ่มเติม »

การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค

แผนที่แสดงแผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลก การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (plate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้พัฒนาต่อยอดจากทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปเดิมที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานนี้ได้รับการยอมรับเป็นที่แพร่หลายหลังจากการเสนอแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 (ช่วงต้น พ.ศ. 2500) โครงสร้างส่วนนอกของโลกนั้นแบ่งตามคุณสมบัติของชั้นหินต่อคลื่นไหวสะเทือนได้สองชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือชั้นธรณีภาคชั้นดินแข็ง (lithosphere) อันประกอบด้วยเปลือกโลกและเนื้อโลก (mantle) ชั้นบนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและแข็งเกร็ง ชั้นล่างลงไปคือชั้นฐานธรณีภาคชั้นดินอ่อน (asthenosphere) ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งแต่มีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนที่ได้คล้ายของเหลวเมื่อพิจารณาในช่วงระยะเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีกครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง ธรณีภาคแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่นประกอบกัน ในกรณีของโลกสามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้เคลื่อนที่สัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ขอบของเปลือกโลกสามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทตามลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกสัมพัทธ์ของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นนั้น คือ ขอบเปลือกโลกที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเปลือกโลกที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวของภูเขา และการเกิดขึ้นของเหวสมุทรนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค · ดูเพิ่มเติม »

การแปรใช้ใหม่

right การแปรใช้ใหม่ (recycling) เป็นการจัดการวัสดุเหลือใช้ที่กำลังจะเป็นขยะโดยนำไปผ่านกระบวนการแปรสภาพ (โดยเฉพาะการหลอม) เพื่อให้เป็นวัสดุใหม่แล้วนำกลับมาใช้ได้อีก วัสดุที่ผ่านการแปรสภาพนั้นอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์เดิมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ได้ การแปรใช้ใหม่มีความหมายต่างจาก การใช้ซ้ำ (reusing) ซึ่งหมายถึง การนำกลับมาใช้ใหม่โดยไม่ผ่านกระบวนการแปรสภาพใด ๆ ทั้งสิ้น ในความเข้าใจของคนบางกลุ่มนั้น การแปรใช้ใหม่ยังหมายถึง การนำวัสดุเหลือใช้กลับมาปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือพัฒนารูปร่างใหม่ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ขวดน้ำพลาสติก หากนำมาใช้ใส่น้ำอีกครั้งเป็นการใช้ซ้ำ แต่ถ้านำเอาขวดนำพลาสติกมาตัดให้เป็นกระป๋อง แล้วนำไปใช้ตัดดินบรรจุในถุง หรือนำขวดพลาสติกมาตัดครึ่งทำเป็นแจกันใส่ดอกไม้หรือเป็นที่ใส่ปากกา มักถูกเรียกว่าเป็นการแปรขวดน้ำพลาสติกเพื่อใช้ใหม.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และการแปรใช้ใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

การเพิ่มของระดับน้ำทะเล

แผนที่โลกโดยระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นหกเมตรแสดงด้วยสีแดง มีการประมาณว่าการเพิ่มของระดับน้ำทะเลเฉลี่ยอยู่ระหว่าง +2.6 มิลลิเมตรถึง 2.9 มิลลิเมตร ± 0.4 มิลลิเมตรต่อปีนับแต่ปี 2536 นอกจากนี้ การเพิ่มของระดับน้ำทะเลยังเร่งขึ้นในปีหลัง ๆ ในระยะระหว่างปี 2413 ถึง 2547 มีการประมาณว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มรวม 195 มิลลิเมตร และ 1.7 มิลลิเมตร ± 0.3 มิลลิเมตรต่อปี โดยมีความเร่งของการเพิ่มของระดับน้ำทะเลสำคัญ 0.013 มิลลิเมตร ± 0.006 มิลลิเมตรต่อปีต่อปี ตามการศึกษาการวัดหนึ่งซึ่งมีตั้งแต่ปี 2493 ถึง 2552 การวัดเหล่านี้แสดงการเพิ่มของระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1.7 มิลลิเมตร ± 0.3 มิลลิเมตรต่อปีในช่วงนี้ โดยข้อมูลดาวเทียมแสดงการเพิ่ม 3.3 มิลลิเมตร ± 0.4 มิลลิเมตรต่อปีตั้งแต่ปี 2536 ถึง 2552 การเพิ่มของระดับน้ำทะเลเป็นหลักฐานกระแสหลักอย่างหนึ่งซึ่งสนับสนุนทัศนะว่าสภาพภูมิอากาศของโลกเพิ่งร้อนขึ้น ในปี 2557 การประเมินสภาพภูมิอากาศแห่งชาติของ USGCRP ทำนายว่าเมื่อถึงปี 2643 การเพิ่มของระดับน้ำทะเลเฉลี่ยจะอยู่ร่ะหว่าง 300 ถึง 1,200 มิลลิเมตรนับแต่วันที่มีการประเมินในปี 2557 อัตราการเพิ่มของระดับน้ำทะเลปัจจุบันเพิ่มเป็นประมาณสองเท่าเทียบกับอัตราการเพิ่มของระดับน้ำทะเลในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก่อนปี 2535 ในปี 2550 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) แถลงว่า เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าการร้อนขึ้นที่มนุษย์ชักนำมีส่วนให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มที่สังเกตในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 รายงานของ IPCC ปี 2556 (AR5) สรุปว่า "มีความเชื่อมั่นสูงว่าอัตราการเพิ่มของระดับน้ำทะเลเพิ่มระหว่างสองศตวรรษหลังสุด และเป็นไปได้ที่ GMSL (ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยโลก) เร่งขึ้นนับแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1900" การเพิ่มของระดับน้ำทะเลสามารถมีอิทธิพลต่อประชากรมนุษย์ในพื้นที่ชายฝั่งและเกาะและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เช่น ระบบนิเวศทะเลพอสมควร คาดว่าการเพิ่มของระดับน้ำทะเลจะดำรงต่อไปอีกหลายศตวรรษ มีการประมาณว่ามนุษย์ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นแล้วประมาณ 2.3 เมตรต่ออุณหภูมิที่เพิ่มแต่ละองศาเซลเซียสภายใน 2,000 ปีข้างหน้า เนื่องจากมีความเฉื่อยต่ำ และเวลาสนองตอบนานสำหรับบางส่วนของระบบสภาพภูมิอากาศ มีการเสนอแนะว่า นอกจากการลดการปล่อยคาร์บอนไดอ็อกไซด์แล้ว การปฏิบัติระยะสั้นเพื่อลดการเพิ่มของระดับน้ำทะเล คือ การตัดการปล่อยแก๊สกักเก็บความร้อนอย่างมีเทนและละอองธุลีอย่างเขม.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และการเพิ่มของระดับน้ำทะเล · ดูเพิ่มเติม »

การเดินเรือ

การเดินเรือ ถือเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่ไม่เป็นที่แพร่หลาย จะมีเฉพาะในกลุ่มของชาวเรือและมีองค์กรหรือบุคคลที่สนใจจริงๆเท่านั้น และถ้าจะบอกว่าการเดินเรือเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด ก็คงจะไม่เกินเลยจากความเป็นจริง เพราะการเดินเรือถือเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ นักเดินเรือที่ดีจะต้องมีทั้ง 2 อย่างที่ว่านี้ ในประเทศไทยสถาบันซึ่งถือว่าเป็นสถาบันหลักในการผลิตนักเดินเรือทั้งผู้ที่เป็นผู้นำเรือรบทางทหารและผู้นำเรือสินค้า(พาณิชย์) อีกทั้งยังเป็นแหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับการเดินเรือและยังเป็นสถานที่สำหรับฝึกฝนอบรมเพิ่มความรู้และทักษะต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษามีลักษณะความเป็นชาวเรือ คือ - โรงเรียนนายเรือ - ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี() - คณะโลจิสติกส์ สาขาวิทยาการเดินเรือ มหาวิทยาลัยบูรพา (http://bmc.buu.ac.th/index.php) - วิทยาลัยพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา - คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และการเดินเรือ · ดูเพิ่มเติม »

กำมะถัน

กำมะถัน(สุพรรณถัน) หรือ ซัลเฟอร์ (Sulfur หรือ Sulphur) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ S และเลขอะตอม 16 เป็นอโลหะที่มีอยู่ทั่วไป ไม่มีรสหรือกลิ่น และมีวาเลนซ์ได้มากมาย กำมะถันในรูปแบบปกติเป็นของแข็งสีเหลืองที่เป็นผลึก ในธรรมชาติ สามารถพบได้ในรูปธาตุเอง หรือแร่ซัลไฟด์และซัลเฟต เป็นธาตุจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต และพบในกรดอะมิโนหลายชนิด การใช้ในเชิงพาณิชย์ที่เป็นหลัก คือ ในปุ๋ย แต่นอกจากนี้ยังใช้ในดินปืน ไม้ขีดไฟ ยาฆ่าแมลง และยาฆ่าร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และกำมะถัน · ดูเพิ่มเติม »

กำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต

กำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต (Abiogenesis) เป็นสมมติฐานเกี่ยวกับกระบวนการทางธรรมชาติเกี่ยวกับการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งไม่มีชีวิตบนโลก เช่น ปลาเกิดจากดินโคลนในแม่น้ำลำคลอง โดยสมมติฐานนี้ตั้งแต่สมัยอริสโตเติล ซึ่งฟรานเซสโก เรดิ และหลุยส์ ปาสเตอร์ ได้พิสูจน์ว่าสิ่งมีชีวิตไม่สามารถเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต สมมติฐานจึงไม่เป็นที่ยอมรั.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

กำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ

วาดโดยศิลปิน แสดงจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดในจินตนาการ กำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะดำเนินมาตั้งแต่ประมาณ 4,600 ล้านปีก่อน โดยเริ่มจากการแตกสลายด้วยแรงโน้มถ่วงภายในของเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์ มวลส่วนมากในการแตกสลายครั้งนั้นได้กระจุกรวมกันอยู่บริเวณศูนย์กลาง และกลายมาเป็นดวงอาทิตย์ มวลส่วนที่เหลือวนเวียนโดยรอบมีรูปร่างแบนลง กลายเป็นจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของดาวเคราะห์ ดาวบริวาร ดาวเคราะห์น้อย และวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ ในระบบสุริยะ แบบจำลองดังกล่าวมานี้ถือเป็นแบบที่ได้รับการยอมรับทั่วไป เรียกชื่อว่า สมมติฐานเนบิวลา มีการพัฒนาแบบจำลองนี้ขึ้นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเอมมานูเอล สวีเดนบอร์ก อิมมานูเอล คานท์ และปีแยร์-ซีมง ลาปลัส การวิวัฒนาการในลำดับถัดมาเกี่ยวข้องกับศาสตร์หลายแขนง เช่น ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ ธรณีวิทยา วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ นับแต่ยุคเริ่มต้นของการสำรวจอวกาศในคริสต์ทศวรรษ 1950 และการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบในคริสต์ทศวรรษ 1990 แบบจำลองนี้ได้ถูกท้าทายและผ่านการปรับแต่งมาอีกหลายครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการค้นพบใหม่ๆ ระบบสุริยะได้เริ่มวิวัฒนาการอย่างมากนับตั้งแต่มันเริ่มกำเนิดขึ้น ดาวบริวารหลายดวงกำเนิดขึ้นจากจานของแก๊สและฝุ่นรอบๆดาวเคราะห์แม่ของมัน ขณะที่มีดาวบริวารบางดวงที่เกิดในบริเวณอื่น แล้วถูกดึงดูดให้กลายเป็นดาวบริวารในภายหลัง นอกจากนั้น เช่น ดวงจันทร์ ซึ่งอาจจะกำเนิดหลังจากการปะทะครั้งใหญ่ การปะทะระหว่างวัตถุสองวัตถุ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และเคยเป็นหัวใจสำคัญของการวิวัฒนาการของระบบสุริยะ ตำแหน่งของดาวเคราะห์มักจะเลื่อนจากตำแหน่งเดิม เนื่องด้วยแรงโน้มถ่วง การย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์นี้คาดว่าจะเกิดขึ้นมากขณะในช่วงต้นของการวิวัฒนาการ ในช่วงประมาณ 5 พันล้านปีข้างหน้า ดวงอาทิตย์จะเย็นลง และผิวนอกจะขยายตัวออกไปหลายเท่าจากเส้นผ่านศูนย์กลางเดิม (กลายเป็นดาวยักษ์แดง) หลังจากนั้นดาวยักษ์แดงก็จะสลายผิวนอกกลายเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ และเหลือแกนกลางไว้ ซึ่งรู้จักกันว่าเป็น ดาวแคระขาว ในอนาคตอันไกลโพ้น ความโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์จะลดลง ดาวเคราะห์บางดวงอาจจะถูกทำลาย บางส่วนอาจจะหลุดออกไปสู่อวกาศระหว่างดวงดาว ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงประมาณหมื่นล้านปีข้างหน้า ดวงอาทิตย์จะกลายเป็นดาวฤกษ์ที่ไม่มีวัตถุใดโคจรรอบๆเล.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และกำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

กิโลกรัม

กิโลกรัม อักษรย่อ กก. (kilogram: kg) เป็นหน่วยฐานเอสไอของมวล นิยามไว้เท่ากับมวลของมวลต้นแบบระหว่างชาติของกิโลกรัม โดยสร้างจากโลหะเจือแพลตินัม-อิริเดียม.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และกิโลกรัม · ดูเพิ่มเติม »

กิโลเมตร

กิโลเมตร อักษรย่อ กม. (mètre, km) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 × 103 เมตร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

กึ่งแกนเอก

กึ่งแกนเอกของวงรี ระยะกึ่งแกนเอก (Semi-major axis) ในทางเรขาคณิต หมายถึงความยาวครึ่งหนึ่งของแกนเอก ซึ่งใช้แสดงถึงมิติของวงรีหรือไฮเพอร์โบลา หมวดหมู่:ภาคตัดกรวย.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และกึ่งแกนเอก · ดูเพิ่มเติม »

ฐานธรณีภาค

นธรณีภาค (Asthenosphere; มีรากศัพท์จากภาษากรีก "asthenēs" แปลว่า "ไม่แข็งแรง" และ "sphere" แปลว่า "โลก") เป็นส่วนที่มีลักษณะยืดหยุ่นตั้งอยู่ในชั้นหินหนืดตอนบนของโลกและตั้งอยู่ใต้ชั้นธรณีภาค ฐานธรณีภาคมีขอบเขตที่ระดับความลึกระหว่าง 100 – 200 กิโลเมตรจากชั้นพื้นผิว แต่สามารถขยายตัวไปจนถึงระดับความลึก 400 กิโลเมตร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และฐานธรณีภาค · ดูเพิ่มเติม »

ฝุ่นคอสมิก

ฝุ่นคอสมิก (Cosmic Dust) เป็นฝุ่นชนิดหนึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบเล็ก ๆ ในอวกาศ มีขนาดโมเลกุลราว 0.1 มม.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และฝุ่นคอสมิก · ดูเพิ่มเติม »

ฝนกรด

ฝนกรด (acid rain) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอันเกิดเนื่องมาจากมลภาวะทางอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดมาจากการกระบวนการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมทั่วไปของมนุษย์ โดยฝนกรดก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ต่อสภาพแวดล้อมมากมาย ฝนกรดเป็นผลมาจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (sulfur dioxide: SO2) และไนโตรเจนออกไซด์ (nitrogen oxide: NO) โดยก๊าซทั้งสองชนิดนี้มักจะเกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน ก๊าซทั้งสองชนิดนี้จะทำปฏิกิริยากับน้ำ (water: H2O) และสารเคมีอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศเพื่อก่อให้เกิดกรดซัลฟิวริก (sulfuric acid: H2SO4), กรดไนตริก (nitric acid: HNO3) และสารมลพิษอื่น ๆ ก๊าซเหล่านี้มักจะทำปฏิกิริยากับสารเคมีจะส่งผลทำให้อากาศอบอ้าวอากาศร้อนชื้นทำให้เกิดมลพิษทางอากาศเมื่อไปโดนกับออกซิเจนอาจถูกกระแสลมพัดพาไปหลายร้อยกิโลเมตร และมักจะกลับสู่พื้นโลกโดยฝน หิมะ หมอก หรือแม้แต่ในรูปฝุ่นผงละออง ความเสียหายอันเกิดมาจากฝนกรดได้แพร่ขยายไปทั่วอเมริกาเหนือ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฝนกรดจะละลายปุ๋ยในดิน ทำให้พืชเติบโตช้า เมื่อไหลลงแหล่งน้ำ ก็จะทำให้แหล่งน้ำนั้น ๆ ไม่เอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ หรือแม้แต่ในเมืองเอง ฝนกรดก็ก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ หรืออาจจะจับตัวรวมกับหมอกก่อให้เกิดหมอกควันพิษ (smog) ที่ทำอันตรายกับระบบทางเดินหายใจ และอาจรุนแรงถึงชีวิตได้หากมีมากถึงระดับหนึ่ง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และฝนกรด · ดูเพิ่มเติม »

ภัยแล้ง

ื้นดินแตกระแหง พื้นที่แห้งแล้ง เป็นสภาพอากาศที่แห้งและไม่มีน้ำ เกิดขึ้นเมื่อพื้นที่ที่ได้รับฝนตกน้อย ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย สิ่งที่มีผลมากที่สุดคือการเกษตร องค์การสหประชาชาติคาดว่าในแต่ละปี พื้นที่ดินอุดมสมบูรณ์มีจำนวนลดลงเท่ากับขนาดเนื้อที่ของประเทศยูเครน เนื่องจากภาวะฝนแล้ง และความไม่แน่นอนของสภาพอาก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และภัยแล้ง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาญี่ปุ่น

ษาญี่ปุ่น (日本語) เป็นภาษาทางการของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่างๆ คำภาษาญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาจีน ที่ได้นำมาเผยแพร่มาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1,500 ปีที่แล้ว และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้มีการยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เช่นคำที่มาจากภาษาดัตช์ ビール (bier แปลว่า เบียร์) และ コーヒー (koffie แปลว่า กาแฟ).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และภาษาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลาว

ษาลาว (ลาว: ພາສາລາວ พาสาลาว) เป็นภาษาราชการของประเทศลาว เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ในภาษากลุ่มไท และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาอีสานของประเทศไทย ระบบการเขียนในภาษาลาวจะใช้อักษรลาว ซึ่งเป็นระบบอักษรสระประกอบ (ระบบการเขียนที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์แทนพยัญชนะและตามด้วยสระที่จะอยู่ด้านหน้า หลัง บน ล่าง ของพยัญชนะ) และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอักษรไท.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และภาษาลาว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษสมัยกลาง

ษาอังกฤษสมัยกลาง (Middle English) เป็นชื่อที่นักภาษาศาสตร์ใช้เรียกภาษาอังกฤษในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งใช้พูดสื่อสารตั้งแต่สมัยชาวนอร์มันพิชิตอังกฤษ ใน..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และภาษาอังกฤษสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษเก่า

ษาอังกฤษเก่า (Ænglisc, Anglisc, Englisc; Old English ย่อว่า OE) หรือ ภาษาแองโกล-ซัคเซิน (Anglo-Saxon) เป็นภาษาอังกฤษยุคแรก ที่พูดกันในบริเวณที่ปัจจุบันคือแคว้นอิงแลนด์ อังกฤษและสกอตแลนด์ตอนใต้ ในระหว่าง กลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 นับเป็นภาษาเจอร์แมนิกตะวันตก ด้วยเหตุนี้ จึงมีความคล้ายคลึงกับภาษาฟริเซียนเก่า (Old Frisian) และภาษาแซกซันเก่า (Old Saxon) นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับภาษานอร์สเก่า (Old Norse) และเชื่อมโยงไปถึงภาษาไอซ์แลนด์ปัจจุบัน (modern Icelandic) ด้วย ไวยกรณ์ของภาษาอังกฤษเก่ามีความใกล้เคียงกับไวยกรณ์ของภาษาเยอรมันสมัยใหม่ กล่าวคือ คำนาม คำวิเศษณ์ คำสรรพนาม และคำกริยา มีการผันเปลี่ยนรูปข้างท้ายของคำอยู่หลากหลายแบบ และการลำดับคำในประโยคก็มีอิสระมากกว่า ตัวอักษรของภาษาอังกฤษเก่าแค่เดิมเป็นระบบอักษรรูน (runic system) แต่ถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินนับแต่ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษเก่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีการใช้งานตลอดระยะเวลาประมาณ 700 ปี นับตั้งแต่ชนแองโกล-แซ็กซอนอพยพเข้ามายังเกาะบริเตน สร้างอิงแลนด์ขึ้น ในคริสต์ศวรรษที่ 5 จนถึงระยะเวลาหลังพวกนอร์มันบุกรุกเข้าไปเมื่อ ค.ศ. 1066 หลังจากนั้นภาษาอังกฤษก็เคลื่อนเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สำคัญ ในยุคแรกๆ นี้ ภาษาอังกฤษเก่าได้ผสมกลมกลืนเข้ากับภาษาอื่นๆ ที่มีการติดต่อด้วย เช่น ภาษาเคลติก (Celtic) และภาษาถิ่นสองภาษาของภาษานอร์สเก่า (บรรพบุรุษของภาษาแดนิชในปัจจุบัน) จากการบุกรุกของพวกไวกิงจากทางเดนมาร์ก ซึ่งเข้ามาครอบครองและปกครองอาณาเขตในอิงแลนด์ตอนเหนือและตะวันออก หลังจากชาวนอร์แมนยกทัพเข้าชิงอังกฤษจากกษัตริย์แซ็กซอนมาปกครองได้ ใรปี..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และภาษาอังกฤษเก่า · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอิตาลี

ษาอิตาลี (Italiano หรือ lingua italiana; Italian) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์,โดยส่วนใหญ่ภาษาอิตาลีเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาละตินมากที่สุดในภาษากลุ่มโรมานซ์ด้วยกัน, ภาษาอิตาลีเป็นภาษาทางการในอิตาลี, สวิตเซอร์แลนด์, ซานมารีโน, นครรัฐวาติกัน และอิสเตรียตะวันตก (ในสโลวีเนียและโครเอเชีย), เคยมีสถานะเป็นภาษาทางการของแอลเบเนีย, มอลตา และ โมนาโก ซึ่งมีการพูดภาษานี้กันอย่างกว้างขวางรวมทั้งอดีตแอฟริกาตะวันออกของอิตาลีและแอฟริกาเหนือของอิตาลี (ปัจจุบันคือประเทศลิเบีย), มีการพูดภาษาอิตาลีในกลุ่มผู้อพยพชาวอิตาเลียนขนาดใหญ่ในอเมริกาและออสเตรเลีย, มีสถานะเป็นภาษาทางการของชนกลุ่มน้อยในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, สโลวีเนีย, โครเอเชีย และ โรมาเนีย left.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และภาษาอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาดัตช์

ษาดัตช์ (Dutch; Nederlands) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกต่ำที่มีคนพูด 22 ล้านคน ส่วนใหญ่ในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเบลเยียม ภาษาดัตช์ที่พูดในเบลเยียมมักเรียกว่าภาษาเฟลมิช และมักจะถือเป็นภาษาที่แยกต่างหากกัน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และภาษาดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเกาหลี

ษาเกาหลี (한국어 หรือ 조선말, ดูในส่วนชื่อ) เป็นภาษาที่ส่วนใหญ่พูดใน ประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการ และมีคนชนเผ่าเกาหลีที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนพูดโดยทั่วไป(ในจังหวัดปกครองตนเองชนชาติเกาหลีเหยียนเปียน มณฑลจี๋หลิน ซึ่งมีพรมแดนติดกับเกาหลีเหนือ) ทั่วโลกมีคนพูดภาษาเกาหลี 78 ล้านคน รวมถึงกลุ่มคนในอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล ญี่ปุ่น และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีผู้พูดใน ฟิลิปปินส์ ด้วย การจัดตระกูลของภาษาเกาหลีไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่คนส่วนมากมักจะถือเป็นภาษาเอกเทศ นักภาษาศาสตร์บางคนได้จัดกลุ่มให้อยู่ใน ตระกูลภาษาอัลไตอิกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากภาษาเกาหลีมีวจีวิภาคแบบภาษาคำติดต่อ ส่วนวากยสัมพันธ์หรือโครงสร้างประโยคนั้น เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา (SOV) อักษรเกาหลี เรียกว่าอักษรฮันกึล ใช้แทนเสียงของแต่ละพยางค์ นอกจากนี้ใช้ยังตัวอักขระแบบจีนเรียกว่าอักษรฮันจา ในการเขียนด้วย ในขณะที่คำศัพท์ที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นคำภาษาเกาหลีแท้ โดยที่มีคำศัพท์มากกว่า 50% มาจากภาษาจีนทั้งทางตรงและทางอ้อม.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และภาษาเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์

แผนที่โลก ภูมิศาสตร์ (geography) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ทำการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะ ของสถานที่ที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก ภูมิศาสตร์จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดวางสิ่งต่าง ๆ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่แบ่งแยกสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งอื่น ๆ โดยภูมิศาสตร์พยายามค้นหาเพื่อที่จะตีความให้กระจ่างถึงความสำคัญ ของสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ในรูปของสาเหตุและความเกี่ยวเนื่อง ปัจจุบันการศึกษาด้านภูมิศาสตร์ จะมุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดเบื้องต้นที่เกี่ยวกับพื้นที่มากกว่าที่จะศึกษาลักษณะเฉพาะและสถานที่ต่าง ๆ ของโลกอย่างคร่าว ๆ อย่างที่เคยปฏิบัติขึ้นมาในระยะแรก ๆ ภูมิศาสตร์ได้เปลี่ยนแนวทางมาสู่การศึกษารายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งจะใช้การศึกษานี้พิจารณาว่า "มีสิ่งใดบ้างที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้น และแต่ละสิ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร" โดยถือรูปแบบและวิธีการดังกล่าวว่า เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ภายใต้สภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะหรือเกิดปรากฏการณ์พิเศษในพื้นที่นั้น ๆ ขึ้น และถือว่าเป็น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาของโลก ลักษณะทางสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น โดยจะมีความเกี่ยวเนื่องและมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในแต่ละลักษณะที่กล่าวถึง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และภูมิศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิอากาศ

การแบ่งประเภทของภูมิอากาศทั่วโลก ภูมิอากาศ (climate) เป็นการวัดอย่างหนึ่งของรูปแบบค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ หยาดน้ำฟ้า(ฝน ลูกเห็บ หิมะ) ปริมาณอนุภาคในบรรยากาศ และตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาอื่นในภูมิภาคหนึ่งๆในช่วงระยะเวลานาน ภูมิอากาศแตกต่างจากลมฟ้าอากาศ (weather) ที่นำเสนอสภาพขององค์ประกอบเหล่านี้และการแปรผันในเวลาสั้นๆในพื้นที่ที่กำหนด ภูมิอากาศของภูมิภาคหนึ่งเกิดจาก "ระบบภูมิอากาศ" ซึ่งประกอบด้วยห้าองค์ประกอบ ได้แก่ บรรยากาศ (atmosphere) อุทกบรรยากาศ (hydrosphere) เยือกแข็ง (cryosphere) เปลือกโลก (lithosphere) และ ชีวมณฑล (biosphere).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และภูมิอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขา

ทือกเขาร็อกกี ภูเขา (mountain) เป็นลักษณะของพื้นโลกที่มีความสูงกว่าพื้นที่บริเวณโดยรอบ ภูเขา หรือเทือกเขาหมายถึง ลักษณะภูมิประเทศ ที่มีความสูงตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไปจากพื้นที่บริเวณรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเนินเขา แต่ว่าเนินเขานั้น จะมีพื้นที่สูงจากบริเวณรอบ ๆ ประมาณ 150 แต่ไม่เกิน 600 เมตร ภูเขาสามารถแบ่ง เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และภูเขา · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟ

ูเขาไฟโบรโมและภูเขาไฟสิเมรุบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐานที่หินหนืดปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีภูเขาไฟที่เป็นข้อยกเว้น เรียกว่า จุดร้อนภูเขาไฟ (Volcanic Hotspot) วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟ เรียกว่า วิทยาภูเขาไฟ (vulcanology หรือ volcanology).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

มลพิษ

มลพิษ หมายถึง ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกาก ตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และหมายความรวมถึง รังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดมลพิษด้ว.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และมลพิษ · ดูเพิ่มเติม »

มวล

มวล เป็นคุณสมบัติหนึ่งของวัตถุ ที่บ่งบอกปริมาณ ของสสารที่วัตถุนั้นมี มวลเป็นแนวคิดหลักอันเป็นหัวใจของกลศาสตร์แบบดั้งเดิม รวมไปถึงแขนงวิชาที่เกี่ยวข้อง หากแจกแจงกันโดยละเอียดแล้ว จะมีปริมาณอยู่ 3 ประเภทที่ถูกนิยามว่า มวล ได้แก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และมวล · ดูเพิ่มเติม »

มวลดวงอาทิตย์

มวลดวงอาทิตย์ เป็นวิธีพื้นฐานในการบรรยายค่ามวลในทางดาราศาสตร์ สำหรับใช้อธิบายถึงมวลดาวฤกษ์หรือมวลดาราจักร มีค่าเท่ากับมวลของดวงอาทิตย์ คือประมาณ 2 โนนิลเลียนกิโลกรัม หรือเท่ากับ 332,950 เท่าของมวลของโลก หรือ 1,048 เท่าของมวลของดาวพฤหัสบดี สัญลักษณ์และค่าพื้นฐานของมวลดวงอาทิตย์แสดงได้ดังนี้ เราสามารถบรรยายมวลดวงอาทิตย์ในรูปของระยะทางเป็นปี คือระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ (หนึ่งหน่วยดาราศาสตร์ หรือ AU) กับค่าคงที่แรงโน้มถ่วง (G) ได้ดังนี้ จนกระทั่งปัจจุบันยังไม่สามารถบอกตัวเลขที่แท้จริงของหน่วยดาราศาสตร์หรือค่าคงที่แรงโน้มถ่วงได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ดี การอธิบายถึงมวลสัมพันธ์ของดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะหรือในระบบดาวคู่ด้วยหน่วยของมวลดวงอาทิตย์ มิได้มีความจำเป็นต้องทราบถึงค่าแท้จริงเหล่านั้น ดังนั้นการบรรยายถึงมวลต่างๆ ด้วยหน่วยของมวลดวงอาทิตย์จึงเป็นวิธีที่มีประโยชน์ที.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และมวลดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

มวลโมเลกุล

มวลโมเลกุล (อังกฤษ: Molecular Mass) คือ มวลของสารนั้น ๆ 1 โมล โดยมวลโมเลกุลหาได้จากการเอามวลอะตอมของธาตุทั้งหมดในสูตรโมเลกุลนั้นมารวมกัน คำนี้ต่างจากน้ำหนักสูตร (Formula weight) ในกรณีที่สูตรของสารนั้นไม่ใช่สูตรโมเลกุล เช่น สารประกอบไอออนิก สารที่มีโครงสร้างผลึกร่างตาข่าย สารที่มีพันธะโลหะ หรือ พอลิเมอร์ ที่จะใช้สูตรอย่างง่ายแทนสูตรโมเลกุล และในกรณีที่ โมเลกุล อยู่ในรูป High polymer หรือมีการต่อพันธะเป็นพอลิเมอร์มาก จะมีการแสดงมวลโมเลกุลในรูปค่าเฉลี่ย เนื่องจากแต่ละโมเลกุลมี น้ำหนักไม่เท่ากัน หมวดหมู่:เคมี.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และมวลโมเลกุล · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน

มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน (University of Wisconsin-Madison) หรือนิยมเรียก มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองแมดิสัน ในรัฐวิสคอนซิน มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี พ.ศ. 2391 (ค.ศ. 1848) ในปัจจุบัน (ปี 2548 เทอมฤดูใบไม้ร่วง) มีนึกศึกษาทั้งหมด 41,480 คน ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน มีนักศึกษามากเป็นอันดับ 10 ของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน มีชื่อเสียงในด้านแพทยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในตัวเมืองโดยด้านหลังมหาวิทยาลัยเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ และด้านหน้ามหาวิทยาลัยเป็นถนนชื่อสเตต เป็นแหล่งชอปปิงชื่อดังของเมืองแมดิสัน ภาพในมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ด้านหลังเป็นตึกแคปิตอลของรัฐวิสคอนซิน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต

ทางเดินใน มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต (Arizona State University) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองเทมพี ในรัฐแอริโซนา มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) ในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2548) มีนักศึกษามากกว่า 60,000 คน โดยมีในแคมปัสหลัก 51,612 คน ซึ่งนับเป็นมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษามากที่สุดในประเทศ มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตตมี 3 แคมปัส ได้แก่ในเมืองเทมพี เมืองฟินิกซ์ และเมืองเมซ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และมหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

มหาทวีป

ลื่อนไหวของการเคลื่อนที่ของมหาทวีปแพนเจีย ในทาง ธรณีวิทยา มหาทวีป เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยแกนทวีปมากกว่าหนึ่งแกน หรือ เปลือกโลกที่คงตัวแล้ว การชุมนุมของเปลือกโลกที่คงตัวแล้ว และ การเกิดหิน ที่สร้างทวีปยูเรเชียขึ้น ถูกเรียกว่ามหาทวีปในปัจจุบัน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และมหาทวีป · ดูเพิ่มเติม »

มหาทวีปแพนเจีย

แผนที่ของทวีปแพนเจีย ภาพเคลื่อนไหวที่แสดงการแยกตัวของมหาทวีปแพนเจีย สู่ทวีปในยุคปัจจุบัน มหาทวีปแพนเจีย หรือ มหาทวีปพันเจีย Pangaea (แพน หมายถึง ทั้งหมด; และ เจีย หมายถึง โลก ในภาษากรีกโบราณ) เป็นมหาทวีป อยู่ในช่วง มหายุคพาลีโอโซอิก และ มหายุคมีโซโซอิก มหาทวีปแพนเจียก่อตัวขึ้นจากหน่วยทวีปต่างๆ เมื่อประมาณ 335 ล้านปีที่แล้ว ก่อนที่จะเริ่มแยกตัวกันออกเป็นทวีปต่างๆอีกครั้งราว 175 ล้านปีก่อน เป็นทวีปลอเรเชียทางตอนเหนือ-ออสเตรเลียและกอนด์วานาทางตอนใต้-อินเดีย-อเมริกาใต้-แอฟริกา มหาทวีปแพนเจียตั้งอยู่ในซีกโลกทางใต้ ล้อมรอบโดยมหาสมุทรยักษ์ แพนธาลัสซา (Panthallssa; (จากภาษากรีก πᾶν "ทั้งปวง" และ θάλασσα "ทะเล")) แพนเจีย เป็นการเกิดขึ้นของมหาทวีปครั้งล่าสุดนับแต่การอุบัติขึ้นของดาวเคราะห์โลก และเป็นมหาทวีปแรกที่นักธรณีวิทยาหาหลักฐานมายืนยันได้ว่ามีอยู่จริง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และมหาทวีปแพนเจีย · ดูเพิ่มเติม »

มานุษยรูปนิยม

มานุษยรูปนิยม (Anthropomorphism) หรือ บุคคลวัต หรือ บุคลาธิษฐาน (personification) คือ การเอาลักษณะของมนุษย์ไปใช้กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น สัตว์ สิ่งไม่มีชีวิต ปรากฏการณ์ องค์การ รวมถึงวิญญาณและเทวดา คำภาษาอังกฤษบัญญัติขึ้นช่วง..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และมานุษยรูปนิยม · ดูเพิ่มเติม »

มิลลิวินาที

มิลลิวินาที (ตัวย่อ: ms) เป็นหนึ่งในหนึ่งพันของวินาที 10 มิลลิวินาที (หนึ่งในร้อยของวินาที) เรียกว่า เซนติวินาที 100 มิลลิวินาที (หนึ่งในสิบของวินาที) เรียกว่า เดชิวินาที ในหนึ่งวันมี 86,400,000 (24×60×60×1000) มิลลิวินาทีในหนึ่งวัน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และมิลลิวินาที · ดูเพิ่มเติม »

มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา

มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Science Foundation ย่อว่า NSF) เป็นหน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาที่สนับสนุนงานวิจัยและงานด้านการศึกษา สำหรับองค์กรหรือสถานศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ โดยในปี..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

มีโซสเฟียร์

ภาพแสดงชั้นบรรยากาศของโลก มีโซสเฟียร์ (mesosphere) เป็นชั้นบรรยากาศของโลกชั้นที่สาม อยู่ระหว่างชั้นสตราโทสเฟียร์และเทอร์โมสเฟียร์ มีระยะตั้งแต่ความสูง 50 กิโลเมตร จนถึง 85 กิโลเมตร ซึ่งอุณหภูมิจะลดลงตามลำดับความสูง และเป็นชั้นสุดท้ายที่มีสภาพอากาศเหมือนชั้น โทรโพสเฟียร์ กับ สตราโตสเฟียร์ เมื่อมีวัตถุจากอวกาศตกลงมาบนผิวโลก เมื่อถึงชั้นบรรยากาศนี้จะถูกเผาไหม้ก่อนถึงพื้นโลก ม หมวดหมู่:อุตุนิยมวิทยา.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และมีโซสเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

มีเทน

มีเทน (Methane) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนพวกแอลเคน สูตรเคมี คือ CH4 เป็นแก๊สไม่มีสี ติดไฟได้ เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของแก๊สธรรมชาติ แก๊สมีเทนอาจได้มาจากการหมักมูลสัตว์และนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงราคาถูก ก๊าซมีเทนอาจพบได้ในชั้นถ่านหิน (Coal Bed Methane) โดยจากกระบวนการเกิดถ่านหินทำให้ก๊าซสะสมตัวและกักเก็บอยู่ในช่องว่างในเนื้อถ่านหิน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และมีเทน · ดูเพิ่มเติม »

ยอดเขาชิมโบราโซ

อดเขาชิมโบราโซ บรรยากาศยามพระอาทิตย์ขึ้น ที่ยอดเขาชิมโบราโซ ชิมโบราโซ (Chimborazo) เป็นภูเขาไฟที่เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาแอนดีส ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศเอกวาดอร์ อเมริกาใต้ ห่างจากกรุงกีโตไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 150 กิโลเมตร เป็นภูเขาไฟที่สงบแล้ว การระเบิดครั้งสุดท้ายเกิดเมื่อประมาณ ค.ศ. 640 ± 500 ปี ยอดเขาชิมโบราโซ มีความสูง 6,268.2 เมตร จากระดับน้ำทะเล ระดับความสูงนี้วัดด้วยระบบจีพีเอสในปี..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และยอดเขาชิมโบราโซ · ดูเพิ่มเติม »

ยอดเขาเอเวอเรสต์

อดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest) เป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ยอดเขาเอเวอเรสต์ถือเป็นจุดแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบต โดยชาวเนปาลเรียกยอดเขาเอเวอเรสต์ว่า สครมาตา (ภาษาสันสกฤต: सगरमाथा หมายถึง มารดาแห่งท้องสมุทร) ส่วนชาวทิเบตขนานนามยอดเขาแห่งนี้ว่า โชโมลังมา (จากภาษาทิเบต: จูมู่หลั่งหม่า (珠穆朗玛) หมายถึง มารดาแห่งสวรรค์) ชื่อยอดเขาเอเวอเรสต์นั้น ตั้งโดย เซอร์แอนดรูว์ วอ นักสำรวจประเทศอินเดียชาวอังกฤษ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์จอร์จ อีฟเรสต์ นักสำรวจประเทศอินเดียรุ่นก่อนหน้า (คำว่า Everest นี้ คนส่วนมากอ่านออกเสียงเป็น เอเวอเรสต์ ขณะที่เซอร์จอร์จอ่านออกเสียงชื่อสกุลของตัวเองว่า อีฟเรสต์) ซึ่งก่อนหน้านั้นนักสำรวจเรียกยอดเขาแห่งนี้เพียงว่า ยอดที่สิบห้า (Peak XV) คนทั่วไปจดจำชื่อเอเวอเรสต์ได้ในฐานะยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก แต่สำหรับชาวเชอร์ปา (Sherpa) และนักปีนเขา (climber) บางคนแล้ว ยอดเขาเอเวอเรสต์ไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกเท่านั้น หากยังเป็นจุดหมายสูงสุดในชีวิตพวกเขาด้วย การไปให้ถึงยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่เมื่อยอดเขาเอเวอเรสต์ถูกพิชิตได้ นั่นหมายความว่าขีดจำกัดของมนุษยชาติได้เพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้ว.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และยอดเขาเอเวอเรสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ยา

thumb ยา เป็นวัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และยา · ดูเพิ่มเติม »

ยุคดีโวเนียน

ีโวเนียน (Devonian) เป็นยุคที่สี่ของมหายุคพาลีโอโซอิก ยุคนี้เริ่มนับตั้งแต่จุดสิ้นสุดของยุคไซลูเรียน เมื่อประมาณ 419.2±3.2 ล้านปีก่อน และสิ้นสุดลงเมื่อก่อนเริ่มยุคคาร์บอนิเฟอรัส ประมาณ 358.9±0.4 ล้านปีก่อน ยุคนี้ตั้งชื่อตามเดวอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสถานที่แห่งแรกที่มีการศึกษาหินของยุคนี้ นักธรณีวิทยาจัดว่ายุคดีโวเนียนนี้เป็นยุคแรกที่มีสิ่งมีชีวิตบนบก และพืชบกเริ่มกระจายเข้าสู่แผ่นดินส่วนใน ทำให้เริ่มมีการก่อตัวเป็นป่าซึ่งจะค่อยๆปกคลุมทวีป ช่วงกลางยุคดีโวเนียน พืชบางชนิดจะเริ่มวิวัฒนาการเป็นพืชมีใบและมีรากที่มั่นคง และปลาได้วิวัฒนาการมามากกว่าออสทราโคเดิร์มแล้ว และยุคนี้มีปลาชุกชุมจึงถูกเรียกว่า ยุคแห่งปลา (Age of Fish) ปลาหลายชนิดได้เริ่มวิวัฒนาการขึ้น ซึ่งภายหลังพวกมันเป็นต้นตระกูลของปลาขนาดใหญ่หลายชนิด ขณะที่ปลามีเกราะได้เริ่มลงจำนวนลงในแหล่งน้ำทุกๆ แห่ง บรรพบุรุษของสัตว์สี่ขาได้เริ่มขึ้นมาเดินอยู่บนบก ครีบของพวกมันได้วิวัฒนาการมาเป็นขา ส่วนในทะเล ฉลามดึกดำบรรพ์มีจำนวนมากขึ้นกว่าที่มีในยุคไซลูเรียนและปลายยุคออร์โดวิเชียน ปลายยุคดีโวเนียนได้เกิดการสูญพันธุ์ขึ้น เมื่อประมาณ 375 ล้านปีก่อน การสูญพันธุ์นี้ส่งผลกระทบกับสัตว์น้ำ ปลามีเกราะและไทรโลไบต์ทั้งหมดสูญพันธุ์ ทวีปในยุคนี้แบ่งเป็นมหาทวีปกอนด์วานา ทางตอนใต้ ทวีปไซบีเรีย ทางตอนเหนือ และเริ่มมีการก่อตัวของทวีปขนาดเล็กที่มีชื่อว่า ยูราเมริกา ในตำแหน่งระหว่างกลางของกอนด์วานาและไซบีเรี.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และยุคดีโวเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคน้ำแข็ง

แผ่นน้ำแข็งที่ขยายระหว่างยุคน้ำแข็ง ภาพนี้เป็นแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก ยุคน้ำแข็ง หรือยุคไครโอจีเนีย (Ice Age)เป็นช่วงเวลาที่มีการลดลงของอุณหภูมิอย่างยาวนานบนพิ้นผิวและชั้นบรรยากาศโลกและโลกเกือบถึงจุดจบ ทำให้เกิดการขยายตัวของแผ่นน้ำแข็งในผืนทวีป แผ่นน้ำแข็งขั้วโลก และธารน้ำแข็งอัลไพน์ เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง หรือยุคไครโอจีเนีย จะมีหิมะตกลงมาอย่างหนักทั่วผืนผิวโลก ทั้งพื้นดิน และพื้นน้ำ เช่น มหาสมุทรแปซิฟิก เป็นต้น เมื่อพื้นผิวมหาสมุทรถูกปกคลุมด้วยหิมะ ทำให้ใต้ท้องมหาสมุทรไม่ได้รับแสงอาทิตย์ หรือได้รับน้อยมาก และหลังจากนั้นได้มีการระเบิดของภูเขาไฟครั้งใหญ่ขึ้น และพ่นเถ้าถ่านออกมาจากปล่องภูเขาไฟจำนวนมาก ทำให้โลกเกิดปรากฏการณ์โลกร้อน(Green House Effect)แล้วน้ำแข็ง และหิมะที่ปกคลุมทั่วโลกนั้นได้ละลายกลายเป็นน้ำ เมื่อน้ำแข็งละลายกลายเป็นน้ำ ทำให้น้ำที่ละลายไปนั้นไหลย้อนกลับขึ้นมาสู่พื้นดินดังเดิม.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และยุคน้ำแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ยุคแคมเบรียน

อีดีแอคารัน←ยุคแคมเบรียน→ยุคออร์โดวิเชียน ยุคแคมเบรียน (Cambrian) เป็นธรณีกาลยุคแรกของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ในช่วง 542 ± 0.3 ล้านปีมาแล้วถึง 488.3 ± 1.7 ล้านปีมาแล้ว ก่อนจะเข้าสู่ยุคออร์โดวิเชียน คำว่าแคมเบรียนตั้งโดย อดัม ซิดก์วิค (Adam Sedgwick) เป็นชื่อโรมันของเวลส์ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบหินยุคแคมเบรียนดีที่สุดของอังกฤษ ยุคแคมเบรียนเป็นช่วงสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตบนโลก ก่อนยุคแคมเบรียน สิ่งมีชีวิตนั้นมีขนาดเล็กและเรียบง่าย ก่อนจะค่อยๆเป็นองค์ประกอบซับซ้อนในอีกล้านปีถัดมาก่อนหน้ายุคแคมเบรียนButterfield, N. J. (2007).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และยุคแคมเบรียน · ดูเพิ่มเติม »

ยูริ กาการิน

นาวาอากาศเอก ยูริ อะเลคเซเยวิช กาการิน (Юрий Алексеевич Гагарин; อักษรโรมัน: Yuri Alekseyevich Gagarin) ชาวโซเวียต เป็นนักบินอวกาศคนแรกของโลกที่สามารถเดินทางกลับโลกอย่างปลอดภัย เกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2476 ในเมืองกชาทสค์ และเสียชีวิตวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 ใกล้กรุงมอสโก กาการินเป็นบุตรช่างไม้ในนารวม (เมื่อครั้งรัสเซียเป็นประเทศคอมมิวนิสต์) ได้เรียนเป็นช่างปั้นจากโรงเรียนการค้าใกล้กรุงมอสโก ปี พ.ศ. 2494 จากนั้นศึกษาต่อในวิทยาลัยอุตสาหกรรมที่เมืองซาราตอฟ และในเวลาเดียวกันก็เข้าอบรมการบินด้วย เมื่อสำเร็จหลักสูตรก็เข้าโรงเรียนนายเรืออากาศโซเวียต ในโอเรนบูร์ก และสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2500 ภารกิจของยูริกาการินครั้งนี้ไม่ได้ประกาศเป็นการล่วงหน้า ยานวอสตอค 1 (Vostok 1) ของกาการินมีน้ำหนัก 4 ¾ ตัน ปล่อยจากฐานยิงเมื่อเวลา 9.07 น. วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2504 และโคจรรอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 48 นาที ที่ระดับความสูงมากที่สุด 187 ไมล์ (301 กิโลเมตร) และลงจอดเมื่อเวลา 10.55 นาฬิกา ตามเวลาในรัสเซีย ซึ่งการบินในอวกาศครั้งนี้ทำให้กาการินมีชื่อเสียงก้องไปทั่วโลก และได้รับเครื่องประดับเกียรติยศเลนิน และได้ตำแหน่งเป็นวีรบุรุษแห่งสหภาพโซเวียต นอกจากนี้ยังมีการสร้างอนุสรณ์สถานและตั้งชื่อถนนเพื่อเป็นเกียรติแต่กาการินในสถานที่หลายแห่งทั่วประเทศ ยูริ กาการินไม่ใช่มนุษย์คนแรกที่ขึ้นไปยังอวกาศ ก่อนหน้านั้น สหภาพโซเวียตได้พยายามส่งมนุษย์ขึ้นไปหลายครั้ง คนที่ได้รับการเปิดเผยคือ วลาดีมีร์ โคมารอฟ เพื่อนของกาการิน ที่เสียชีวิตในเที่ยวบินทดสอบในโครงการโซยูส เนื่องจากร่มไม่กางระหว่างเดินทางกลับโลก ทำให้ร่างเขาแหลกด้วยแรงกระแทกพื้นโลก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และยูริ กาการิน · ดูเพิ่มเติม »

ยูแคริโอต

ูแคริโอต (eukaryote) คือ สิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่น (ออร์แกเนลล์) อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ยูแคริโอตเป็นหน่วยอนุกรมวิธาน ยูคาร์ยาหรือยูแคริโอตา อย่างเป็นทางการ เยื่อหุ้มนิวเคลียสเป็นโครงสร้างที่นิยามเซลล์ยูแคริโอตแยกจากเซลล์โปรแคริโอต โดยภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีสารพันธุกรรม การมีนิวเคลียสเป็นที่มาของชื่อยูแคริโอต ซึ่งมาจากภาษากรีก ευ (eu, "ดี") และ κάρυον (karyon, "ผลมีเมล็ดเดียว" หรือ "เมล็ด") เซลล์ยูแคริโอตส่วนใหญ่ยังมีออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มอื่นด้วย เช่น ไมโทคอนเดรียหรือกอลจิแอพพาราตัส นอกเหนือจากนี้ พืชและสาหร่ายยังมีคลอโรพลาสต์ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหลายชนิดเป็นยูแคริโอต เช่น โปรโตซัว แต่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ทุกชนิดเป็นยูแคริโอต ซึ่งได้แก่ สัตว์ พืชและเห็ดรา การแบ่งเซลล์ในยูแคริโอตแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีนิวเคลียส (โปรแคริโอต) มีกระบวนการแบ่งตัวสองประเภท คือ ไมโทซิสและไมโอซิส ไมโทซิสเป็นการที่เซลล์หนึ่งแบ่งตัวได้เซลล์ที่มีพันธุกรรมเหมือนกันสองเซลล์ ในไมโอซิสซึ่งจำเป็นในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เซลล์ดิพลอยด์หนึ่ง (ซึ่งมีโครโมโซมสองชุด ชุดหนึ่งมาจากพ่อ อีกชุดหนึ่งมาจากแม่) มีการจับคู่โครโมโซมจากพ่อแม่แต่ละคู่ใหม่ แล้วผ่านการแบ่งเซลล์อีกสองขั้นตอน จนได้เซลล์แฮพลอยด์สี่เซลล์ (เซลล์สืบพันธุ์) เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีโครโมโซมชุดเดียว ซึ่งเป็นการผสมโครโมโซมจากพ่อแม่คู่เดียวกัน โดเมนยูแคริโอตาดูเหมือนมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) จึงเป็นหนึ่งในสามโดเมนของสิ่งมีชีวิต อีกสองโดเมน ได้แก่ แบคทีเรียและอาร์เคีย เป็นโปรแคริโอตและไม่มีคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ยูแคริโอตเป็นสิ่งมีชีวิตส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ดี เนื่องจากยูแคริโอตมีขนาดใหญ่กว่ามาก มวลชีวภาพรวมทั่วโลกจึงประมาณว่าเท่ากับมวลชีวภาพของโปรแคริโอตWhitman, Coleman, and Wiebe,, Proc.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และยูแคริโอต · ดูเพิ่มเติม »

ยูเรเนียม

ูเรเนียม (Uranium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 92 และสัญลักษณ์คือ U เป็นธาตุโลหะหนักกัมมันตรังสี ตามธรรมชาติมีลักษณะสีเงินวาว อยู่ในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide group) ไอโซโทป U-235 ใช้เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และอาวุธนิวเคลียร์ ตามธรรมชาติพบยูเรเนียมในปริมาณเล็กน้อยในหิน ดิน น้ำ พืช และสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ด้วย ครึ่งชีวิตของธาตุยูเรเนียมคือ 4,500 ล้านปี (U-238).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และยูเรเนียม · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ

ลบีเรีย, พม่า และ สหรัฐอเมริกา ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ หรือ ระบบเอสไอ (International System of Units; Système international d'unités: SI.) เป็นระบบการวัดที่ปรับปรุงมาจากระบบเมตริก โดยเน้นการสร้างมาจากหน่วยฐานทั้งเจ็ดหน่วยและใช้ระบบเลขฐานสิบ ซึ่งถือว่าเป็นระบบการวัดที่ใช้แพร่หลายที่สุดในโลกทั้งในชีวิตประจำวันและทางวิทยาศาสตร์ ระบบเมตริกแต่เดิมนั้นแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม โดยระบบเอสไอได้รับการพัฒนามาจากระบบหน่วยเมตร-กิโลกรัม-วินาที (meter-kilogram-second: MKS) ในปี 1960 และได้ปรับเปลี่ยนนิยามรวมถึงเพิ่มลดหน่วยฐานเอสไอมาตลอดตามการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการวัด เพื่อเพิ่มความเที่ยงตรงในการวัดมากขึ้น ระบบเอสไอเป็นระบบที่ใช้กันเกือบทั้งโลก มีเพียงสามประเทศที่ยังไม่ใช้หน่วยเอสไอเป็นมาตรฐานของหน่วยวัด ได้แก่ ไลบีเรีย พม่า และ สหรัฐอเมริกา แม้ในอังกฤษเองได้ยอมรับให้ใช้ระบบเอสไออย่างเป็นทางการ แม้ว่าจะไม่สามารถทดแทนระบบดั้งเดิมได้ทั้งหม.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบนิเวศ

ืดหินปะการังเป็นระบบนิเวศทะเลอย่างหนึ่ง ระบบนิเวศ คือกลุ่มอินทรีย์ (พืช สัตว์และจุลินทรีย์) ร่วมกับองค์ประกอบอชีวนะของสิ่งแวดล้อมของพวกมัน (เช่น อากาศ น้ำและดินอนินทรีย์) ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กันเป็นร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และระบบนิเวศ · ดูเพิ่มเติม »

ระดับน้ำทะเล

กราฟระดับน้ำทะเลที่วัดได้จากบริเวณที่มีความเสถียรทางธรณีวิทยา แสดงถึงระดับน้ำทะเลซึ่งสูงขึ้นถึง 24 เซนติเมตรในรอบ 120 ปี (2 มิลลิเมตร/ปี) ระดับทะเลปานกลาง* (Mean Sea-Level) หรือ ร.ท.ก. เป็นค่าการวัด ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด (High Tide: HT) และลงต่ำสุด (Low Tide: LT) ของแต่ละวันในช่วงระยะเวลาที่กำหนด แล้วนำค่ามาเฉลี่ยเป็นระดับน้ำทะเลปานกลาง สำหรับระยะเวลาที่ทำการรังวัดโดยทั่วไปจะต้องวัดเป็นเวลา 18.6 ปี ตามวัฏจักรของน้ำ ระดับน้ำทะเลปานกลางของแต่ละบริเวณทั่วโลกอาจจะมีความสูงไม่เท่ากัน ในประเทศไทยใช้เวลาในการวัด 5 ปี โดยเลือกที่ ถนนเกาะหลัก ตำบลเกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่วัด แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย เพื่อใช้เป็นค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้มีค่า 0.000 เมตร ที่ 11°47'42.92"N/ 99°47'31.40"E ทำการถ่ายโยงมายังหมุด BM-A (ซึ่งถือว่าเป็นหมุดหลักฐานหมุดแรกของประเทศไทย) ที่ 13°46'23.74"N/100°31'45.39"E ซึ่งมีค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1.4477 เมตร ประโยชน์ของการวัดระดับน้ำทะเลปานกลาง เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบระดับความสูงต่ำของดิน หรือสิ่งก่อสร้างในงานสำรวจฯ งานก่อสร้างฯ และงานทั่วไป *มักถูกเขียนว่า ระดับน้ำทะเลปานกลาง หากอ้างอิงจากพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มพิมพ์ครั้งที่ 4 ใช้คำว่า "ระดับทะเลปานกลาง" หมุด BM-A ระดับน้ำทะเลปานกลาง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และระดับน้ำทะเล · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสมาชิกสหประชาชาติ

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และรัฐสมาชิกสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย

รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) หรือเรียกอย่างภาษาไทยเดิมว่า รัฐออสเตรเลียตะวันตก เป็นรัฐในประเทศออสเตรเลีย ถือเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย และเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสาธารณรัฐซาฮา มีประชากร 2.1 ล้านคน (10% ของประเทศ) มี 85% ของคนที่อาศัยทางมุมใต้-ตะวันตกของรัฐ มีเมืองหลวงคือนคร เพิร์ท.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเอกราช

รัฐเอกราชบนโลก ในภูมิศาสตร์การเมือง รัฐเอกราช (sovereign state) เป็นองค์กรทางการเมืองที่มีการปกครองแบบรวมศูนย์ (centralized government, รัฐบาลส่วนกลาง) ที่มีอำนาจสูงสุดที่ชอบธรรมและเป็นอิสระเหนือพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ มีประชากรถาวร, รัฐบาล, และวิสัยที่จะเข้าไปสร้างความสัมพันธ์กับรัฐเอกราชอื่น นอกจากนี้ยังเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นรัฐที่ไม่ขึ้นอยู่กับอำนาจหรือรัฐอื่น การดำรงอยู่หรือการหายตัวไปของรัฐเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ขณะที่ตามทฤษฎีปกครองของการรับรองรัฐ รัฐเอกราชสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐเอกราชอื่น รัฐที่ไม่ได้การยอมรับมักพบว่าเป็นการยากที่จะใช้อำนาจทำสนธิสัญญาเต็มรูปแบบและมีส่วนร่วมในความสัมพันธ์ทางการทูตกับรัฐอธิปไตยอื่น ๆ คำว่า "ประเทศ" เป็นภาษาพูดที่บ่อยครั้งมักหมายถึงรัฐเอกราช แม้ว่าต้นกำเนิดจะหมายถึงเพียงแค่ดินแดน และต่อมาความหมายได้ยื่นขยายกลายเป็นระบบการปกครองที่มีอำนาจซึ่งควบคุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และรัฐเอกราช · ดูเพิ่มเติม »

รังสีอัลตราไวโอเลต

แสงออโรราจากดาวพฤหัสบดีในช่วงรังสีอัลตราไวโอเลต ถ่ายโดยองค์การนาซา รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี (ultraviolet) หรือในชื่อภาษาไทยว่า รังสีเหนือม่วง เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็น แต่ยาวกว่ารังสีเอกซ์อย่างอ่อน มีความยาวคลื่นในช่วง 400-10 นาโนเมตร และมีพลังงานในช่วง 3-124 eV มันได้ชื่อดังกล่าวเนื่องจากสเปกตรัมของมันประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นที่มนุษย์มองเห็นเป็นสีม่วง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และรังสีอัลตราไวโอเลต · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อรัฐที่ได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์

รัฐสมาชิกสหประชาชาติ ไม่ได้รับการรับรองจากรัฐสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งประเทศ การขาดการรับรองทางการทูตเป็นอุปสรรคต่อหน่วย (entity) ทางภูมิรัฐศาสตร์ร่วมสมัยซึ่งปรารถนาจะได้รับการรับรองเป็นรัฐเอกราชโดยนิตินัย ในอดีต เคยมีหน่วยที่คล้ายกัน และปัจจุบันมีหน่วยที่ประกาศอิสรภาพ ซึ่งมีการควบคุมดินแดนของตนโดยพฤตินัย โดยมีการรับรองแปรผันตั้งแต่ได้รับการรับรองจากรัฐที่ได้รับการรับรองอื่นแทบทั้งหมดไปจนถึงแทบไม่มีรัฐใดรับรองเลย มีสองลัทธิแต่เดิมที่มให้การตีความว่าเมื่อใดรัฐเอกราชโดยนิตินัยควรได้รับการรับรองเป็นสมาชิกประชาคมระหว่างประเทศ ทฤษฎี "ประกาศ" (declarative) นิยามรัฐเป็นบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศหากเป็นไปตามเกณฑ์ต่อไปนี้: 1) มีดินแดนแน่นอน 2) มีประชากรถาวร 3) มีรัฐบาล และ 4) มีความสามารถสร้างความสัมพันธ์กับรัฐอื่น ตามทฤษฎีประกาศ สภาพเป็นรัฐของหน่วยไม่ขึ้นอยู่กับการรับรองของรัฐอื่น ทว่า ทฤษฎี "ก่อตั้ง" นิยามรัฐว่าเป็นบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศหากได้รับการรับรองจากรัฐอื่นซึ่งเป็นสมาชิกประชาคมระหว่างประเทศอยู่แล้ว หลายหน่วยอ้างลัทธิข้างต้นหนึ่งหรือทั้งสองลัทธิเพื่ออ้างความชอบของการอ้างสิทธิ์สภาพเป็นรัฐของหน่วย ตัวอย่างเช่น มีหน่วยที่เป็นไปตามเกณฑ์ทฤษฎีประกาศ (คือ มีการควบคุมเหนือดินแดนที่อ้างสิทธิ์อย่างสมบูรณ์หรือบางส่วนโดยพฤตินัย มีรัฐบาลและประชากรถาวร) แต่สภาพเป็นรัฐของหน่วยเหล่านั้นไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอย่างน้อยหนึ่งรัฐ การไม่รับรองมักเป็นผลแห่งข้อขัดแย้งกับประเทศอื่นซึ่งอ้างว่าหน่วยเหล่านั้นเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตน ในกรณีอื่น หน่วยที่ได้รับการรับรองบางส่วนสองหน่วยหรือกว่านั้นอาจอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่เดียวกัน ซึ่งแต่ละหน่วยมีการควบคุมบางส่วนของพื้นที่นั้นโดยพฤตินัย (เช่นในกรณีสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐจีน และเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้) หน่วยซึ่งได้รับการรับรองจากรัฐส่วนน้อยของโลกปกติอ้างอิงลัทธิประกาศเพื่อสร้างความชอบธรรมแก่การอ้างสิทธิ์ของตน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และรายชื่อรัฐที่ได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวง

ปัจจุบันทั่วโลกมีรัฐเอกราชซึ่งเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติส่วนใหญ่ 196 รัฐ (ทั้งหมดเป็นรัฐสมาชิกสหประชาชาติ ยกเว้นนครรัฐวาติกัน ปาเลสไตน์ และคอซอวอ) และมีรัฐอีก 8 แห่งที่ยังไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติส่วนใหญ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และรายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ร่องลึกก้นสมุทร

ปลือกโลกใต้มหาสมุทรจะเกิดขึ้นที่เทือกเขากลางสมุทรขณะที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกจะถูกมุดกลับเข้าไปในชั้นฐานธรณีภาคที่ร่องลึกก้นสมุทร ร่องลึกก้นสมุทร (oceanic trench) เป็นร่องหลุมลึกของพื้นผิวท้องทะเลที่มีลักษณะภูมิประเทศยาว แคบ และโค้ง และถือว่าเป็นส่วนของมหาสมุทรที่ลึกที่สุด ร่องลึกก้นสมุทรถือเป็นหนึ่งในขอบเขตทางธรรมชาติที่สำคัญที่สุดบนพื้นผิวในส่วนที่เป็นของแข็งของโลกระหว่างแผ่นเปลือกโลกสองแผ่น ขอบเขตระหว่างแผ่นธรณีภาคชั้นนอกมี 3 ประเภท คือ ขอบเขตแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว (divergent boundary) (เป็นขอบเขตที่เกิดขึ้นที่เทือกเขากลางสมุทร) ขอบเขตแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (convergent boundary) (เป็นขอบเขตที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกจมลงไปใต้อีกแผ่นหนึ่งกลับลงไปสู่ชั้นเนื้อโลก) และขอบเขตที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกเคลื่อนที่ผ่านซึ่งกันและกัน (transform boundary) ร่องลึกก้นสมุทรเป็นลักษณะของขอบเขตระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่โดดเด่นชัดเจน โดยเป็นบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่เข้าหากันด้วยอัตราการลู่เข้าหากันที่แปรผันจากปีละไม่กี่มิลลิเมตรจนไปถึงสิบเซนติเมตรหรือมากกว่า ร่องลึกก้นสมุทรหนึ่งๆเป็นตำแหน่งที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกหนึ่งมีการโค้งมุดลงไปใต้แผ่นธรณีภาคชั้นนอกอีกแผ่นหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วร่องลึกก้นสมุทรจะขนานไปกับแนวหมู่เกาะรูปโค้ง (volcanic arc) และอยู่ห่างจากแนวหมู่เกาะรูปโค้งออกไปประมาณ 200 กิโลเมตร โดยทั่วไปร่องลึกก้นสมุทรจะมีความลึกประมาณ 3 ถึง 4 กิโลเมตรลงไปจากพื้นมหาสมุทรรอบข้าง ส่วนที่ลึกที่สุดอยู่ที่ร่องลึกชาลเลนเจอร์ของร่องลึกก้นสมุทรมาเรียน่าซึ่งมีความลึก 10,911 เมตรใต้ระดับทะเล แผ่นธรณีภาคชั้นนอกใต้มหาสมุทรจะเคลื่อนที่หายเข้าไปในร่องลึกก้นสมุทรด้วยอัตราประมาณ 10 ตารางเมตรต่อวินาที.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และร่องลึกก้นสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา

ตำแหน่งของร่องลึกบาดาลมาเรียนา ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา (Mariana Trench, Marianas Trench) เป็นชื่อธรณีวิทยาทางทะเลของร่องลึกก้นสมุทรที่ลึกที่สุดในโลก และเป็นจุดที่ต่ำที่สุดของเปลือกโลกเท่าที่ทราบกันในปัจจุบัน ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนามีตำแหน่งอยู่ที่ก้นมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกเฉียงเหนือ และอยู่ในแนวตะวันออกและแนวใต้ของหมู่เกาะมาเรียนา ณ พิกัด 11° 21’ เหนือ และ 142° 12’ ตะวันออก ใกล้เกาะกวม.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูกาล

การโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก ฤดูกาล (Season) เป็นช่วงเวลาในแต่ละปีที่แบ่งตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดขึ้นจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากแกนโลกเอียงเป็นมุม 23.5 องศา จึงทำให้ในแต่ละช่วงของปี แต่ละบริเวณจะได้รับแสงแดดไม่เท่ากัน ทำให้มีอุณหภูมิต่างกัน จึงเกิดเป็นฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้น ในเขตอบอุ่นและเขตหนาว จะแบ่งออกเป็น 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ซึ่งโดยทั่วไป ฤดูในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาดังนี้.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และฤดูกาล · ดูเพิ่มเติม »

ลมสุริยะ

ลมสุริยะ (solar wind) คือ กระแสของอนุภาคประจุไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมาจากชั้นบรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์สู่อวกาศ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยอิเล็กตรอนและโปรตอน ซึ่งมีพลังงานเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 10-100 eV กระแสอนุภาคเหล่านี้มีอุณหภูมิและความเร็วที่แตกต่างกันออกไปตามช่วงเวลา กระแสอนุภาคจะหลุดออกพ้นจากแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ได้เนื่องจากมีพลังงานจลน์และอุณหภูมิโคโรนาที่สูงมาก ลมสุริยะทำให้เกิดเฮลิโอสเฟียร์ คือฟองอากาศขนาดใหญ่ในมวลสารระหว่างดาวที่ครอบคลุมระบบสุริยะเอาไว้ ลมสุริยะยังทำให้เกิดปรากฏการณ์อื่นที่เกี่ยวข้องได้แก่ พายุแม่เหล็กโลก (geomagnetic storm) ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ไฟฟ้าบนโลกใช้การไม่ได้บางครั้งบางคราว, ออโรรา (หรือปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้) และหางพลาสมาของดาวหางที่จะชี้ออกไปจากดวงอาทิตย์เสมอ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และลมสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

ลมค้า

ลมค้า (ลูกศรสีเหลืองและน้ำตาล) และลมตะวันตก (ลูกศรสีน้ำเงิน) ลมค้า (trade wind) เป็นลมประจำปีทางทิศตะวันออก เป็นลมที่มีความเร็วลมปานกลางถึงแรงจัด ทำให้อากาศแจ่มใสและใช้ประโยชน์ได้ในด้านการเดินเรือและการบิน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และลมค้า · ดูเพิ่มเติม »

ละติจูด

ละติจูด (latitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นรุ้ง แทนด้วยอักษรกรีก φ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลกและแบ่งเขตสภาวะอากาศโดยวัดจากเส้นศูนย์สูตร พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ลองจิจูด พื้นที่ที่มีพิกัดละติจูดต่างกัน จะมีภูมิอากาศ (climate) และสภาพอากาศ (weather) ต่างกัน ละติจูดมีค่าตั้งแต่ 0 องศาที่เส้นศูนย์สูตร ไปจนถึง 90 องศาที่บริเวณขั้วโลก (นับเป็น 90 องศาเหนือหรือใต้) เนื่องจากเป็นการวัดมุมจากจุดสมมติที่เส้นศูนย์สูตรไปยังจุดขั้วโลกที่ 90 อง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และละติจูด · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธินอกศาสนา

้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และลัทธินอกศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ลิปดา

ลิปดา (minute of arc, arcminute หรือ MOA) เป็นหน่วยหนึ่งในการวัดมุม มีค่าเท่ากับ ของหนึ่งองศา เนื่องจากหนึ่งองศาเท่ากับ ของวงกลม ดังนั้น 1 ลิปดาจึงเท่ากับ ของวงกลม หน่วยวัดขนาดเล็กเช่นนี้มักใช้ในการวัดค่าที่ละเอียดมากๆ เช่นในวิชาดาราศาสตร์หรือการกำหนดพิกัดการยิงอาวุธ ส่วน พิลิปดา (second of arc, arcsecond) (บ้างก็เขียนว่า วิลิปดา) เป็นหน่วยที่มีขนาดเป็น ของหนึ่งลิปดาอีกต่อหนึ่ง หรือเท่ากับ องศา หรือเท่ากับ ของวงกลม ลิปดาและพิลิปดาเป็นคำไทย การเขียน "ฟิลิปดา" ไม่ถูกต้องและมาจากความเข้าใจที่ผิดว่าคำนี้มาจากภาษาต่างประเทศ ตารางแสดงสัดส่วนและความสัมพันธ์ระหว่าง องศา ลิปดา พิลิปดา และมิลลิพิลิปดา แสดงได้ดังนี้.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และลิปดา · ดูเพิ่มเติม »

วอยเอจเจอร์ 1

วอยเอจเจอร์ 1 วอยเอเจอร์ 1 (Voyager 1) เป็นยานสำรวจอวกาศที่นาซาปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 5 กันยายน..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และวอยเอจเจอร์ 1 · ดูเพิ่มเติม »

วัฏจักรของน้ำ

* การระเหยเป็นขี้ (evaporation) เป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำบนพื้นผิวไปสู่บรรยากาศ ทั้งการระเหยเป็นไอ (evaporation) โดยตรงจากการคายน้ำของพืช (transpiration) ซึ่งเรียกว่า evapotranspiration.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และวัฏจักรของน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

วัฏจักรคาร์บอน

แผนภูมิของวัฏจักรคาร์บอน วัฏจักรคาร์บอน เป็นวัฏจักรชีวธรณีเคมี ซึ่งคาร์บอนถูกแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งมีชีวิต, พื้นดิน, น้ำ และบรรยากาศของโลกคาร์บอนเป็นธาตุสำคัญธาตุหนึ่งของสิ่งมีชีวิต เป็นองค์ประกอบประมาณ 50%ของเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต และในรูปคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช การหมุนเวียนของคาร์บอนในระบบนิเวศแบ่งได้เป็น 3 แบบ ตามระยะเวลาที่ใช้ในการหมุนเวียนให้ครบรอบคือ ระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และวัฏจักรคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

วัสดุก่อสร้าง

วัสดุก่อสร้าง คือ วัสดุที่ใช้ในจุดประสงค์สำหรับการก่อสร้าง ที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตที่มนุษย์สร้างขึ้นรวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้น วัสดุก่อสร้างมีการหลากหลายในทางวัสดุตั้งแต่ ดินจนถึงโลหะ พลาสติกหรือแก้ว วัสดุแบ่งแยกในหลายด้านไม่ว่าโครงสร้างทางวัตถุ จุดประสงค์การใช้งาน มักจะหมายถึงชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ สำหรับใช้ในงานจำเพาะเจาะจงและอาจหมายถึงวัสดุต่างชนิดได้เช่น เสาเข็ม สามารถหมายถึง เสาเข็มคอนกรีต เสาเข็มไม้ หรือเสาเข็มเหล็ก หรือแม้แต่ในปัจจุบันได้มีการเล็งเห็นถึงความสัมพันธ์ของวัสดุก่อสร้างและสิ่งแวดล้อม ได้มีหลายองค์การที่จัดแบ่งแยกวัสดุออกตามการนำกลับมาใช้ใหม่ ในเมืองไทยคอนกรีตเป็นวัสดุก่อสร้างที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (2549) เนื่องจากคุณสมบัติที่แข็งแรงและทนไฟ คอนกรีตได้มีการใช้ในงานอาคาร ถนน หรือแม้แต่อนุสาวรีย์ และด้วยเหตุผลทางการเมืองที่รัฐบาลมีการสนับสนุนคอนกรีต และมีการตั้งภาษีนำเข้าของเหล็กสูง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และวัสดุก่อสร้าง · ดูเพิ่มเติม »

วัตต์

วัตต์ (watt, สัญลักษณ์ W) เป็นหน่วยเอสไอของกำลังตั้งชื่อตาม เจมส์ วัตต์ ตัวอย่างพลังงานในหน่วยวัตต์ เช่น หลอดไฟที่ใช้ตามบ้านใช้ 100 วัตต์ ขณะที่ เขื่อนฮูเวอร์ผลิตสองพันล้านวัตต์ 1 วัตต์ มีค่าเท่ากับ 1 จูล ของ พลังงาน ต่อ วินาที วัตต์ (watt หรือ W)คือ หน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่เป็นตัวบอกพลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดที่ใช้ในการทำงาน เช่น หลอดไฟ 100 วัตต์ หมายความว่า หลอดไฟกินไฟ 100 จูลต่อวินาที.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และวัตต์ · ดูเพิ่มเติม »

วัน

วัน คือหน่วยของเวลาที่เท่ากับ 24 ชั่วโมง ถึงแม้หน่วยนี้จะไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่ก็มีการยอมรับเพื่อใช้ประกอบกับหน่วยเอสไออื่น ซึ่งหน่วยเวลาที่เป็นหน่วยเอสไอคือ วินาที คำว่า วัน มาจากภาษาไทยเดิม (ลาว: ວັນ วัน, ไทใหญ่:ဝၼ်း วั้น) คำว่า day ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า dæg ซึ่งสะกดคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ตัวอย่างเช่น dies ในภาษาละตินและ dive ในภาษาสันสกฤต ซึ่งกลายเป็น ทิวา ในภาษาไท.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และวัน · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของมนุษย์

''Homo sapiens sapiens'' ชาวอาข่าในประเทศไทย วิวัฒนาการของมนุษย์ (Human evolution) เป็นกระบวนการวิวัฒนาการที่นำไปสู่การปรากฏขึ้นของ "มนุษย์ปัจจุบัน" (modern human มีนามตามอนุกรมวิธานว่า Homo sapiens หรือ Homo sapiens sapiens) ซึ่งแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษแรกของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด แต่บทความนี้ครอบคลุมเพียงแค่ประวัติวิวัฒนาการของสัตว์อันดับวานร (primate) โดยเฉพาะของสกุล โฮโม (Homo) และการปรากฏขึ้นของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่จัดเป็นสัตว์วงศ์ลิงใหญ่เท่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์นั้นต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขา รวมทั้งมานุษยวิทยาเชิงกายภาพ (หรือ มานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ), วานรวิทยา, โบราณคดี, บรรพชีวินวิทยา, พฤติกรรมวิทยา, ภาษาศาสตร์, จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology), คัพภวิทยา และพันธุศาสตร์ กระบวนการวิวัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตผ่านหลายชั่วยุคชีวิต เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลายหลากกับสิ่งมีชีวิตในทุกระดับชั้น รวมทั้งระดับสปีชีส์ ระดับสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต และแม้กระทั่งโครงสร้างระดับโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอและโปรตีน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกสืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันที่มีชีวิตประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ และการแยกสายพันธุ์ออกจากกันของสิ่งมีชีวิต สามารถอนุมานได้จากลักษณะสืบสายพันธุ์ทางสัณฐานและทางเคมีชีวภาพ หรือโดยลำดับดีเอ็นเอที่มีร่วมกัน คือ ลักษณะสืบสายพันธุ์และลำดับดีเอ็นเอที่มีกำเนิดเดียวกัน จะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเร็ว ๆ นี้มากกว่าระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมานานแล้ว ดังนั้นความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันจึงสามารถใช้สร้างแบบของต้นไม้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิต ที่แสดงความสัมพันธ์เชิงญาติ โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ยังมีอยู่หรือใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานข้อมูล รูปแบบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเกิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ ๆ และการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ งานวิจัยต่าง ๆ ทางพันธุศาสตร์แสดงว่า สัตว์อันดับวานรรวมทั้งมนุษย์แยกออกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น ๆ เมื่อประมาณ โดยมีซากดึกดำบรรพ์ปรากฏเป็นครั้งแรกสุดเมื่อประมาณ ส่วนลิงวงศ์ชะนี (Hylobatidae) แยกสายพันธุ์ออกจากสายพันธุ์วงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae) รวมทั้งมนุษย์ ซึ่งเป็นวงศ์หนึ่ง ๆ ของสัตว์อันดับวานรนั้น เมื่อ แล้วลิงวงศ์ Ponginae (ลิงอุรังอุตัง) ก็แยกออกจากสายพันธุ์เมื่อประมาณ จากนั้น การเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ซึ่งเป็นการปรับตัวพื้นฐานที่สุดของสัตว์เผ่า Hominini ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ที่ลิงชิมแปนซีได้แยกออกไปแล้ว ก็เริ่มปรากฏในสัตว์สองเท้าแรกสุดในสกุล Sahelanthropus หรือ Orrorin โดยมีสกุล Ardipithecus ซึ่งเป็นสัตว์สองเท้าที่มีหลักฐานชัดเจนกว่า ตามมาทีหลัง ส่วนลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซีแยกออกจากสายพันธุ์ในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน คือลิงกอริลลาเมื่อ และลิงชิมแปนซีเมื่อ โดยอาจจะมี Sahelanthropus เป็นบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกันระหว่างชิมแปนซีและมนุษย์ สัตว์สองเท้ายุคเริ่มต้นเหล่านี้ในที่สุดก็วิวัฒนาการมาเป็นเผ่า hominini เผ่าย่อย Australopithecina (australopithecine ปกติรวมสกุล Australopithecus, Paranthropus, และในบางที่ Ardipithecus) ที่ และหลังจากนั้นจึงเป็นเผ่าย่อย Hominina ซึ่งรวมเอามนุษย์สกุล โฮโม เท่านั้น มนุษย์สกุลโฮโมที่มีหลักฐานยืนยันพวกแรกที่สุดเป็นสปีชีส์ Homo habilis ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ โดยเชื่อกันว่า สืบสายพันธุ์มาจาก homonin ในสกุล Australopithecus เป็นสปีชีส์แรก ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าใช้เครื่องมือหิน และการปรับตัวของสายพันธุ์มนุษย์อีกอย่างหนึ่งคือ การขยายขนาดของสมอง (encephalization) ก็ได้เริ่มขึ้นที่มนุษย์ยุคต้นนี้ ซึ่งมีขนาดสมองที่ประมาณ 610 ซม3 คือมีขนาดใหญ่กว่าของลิงชิมแปนซีเล็กน้อย (ระหว่าง 300-500 ซม3) มีนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอว่า นี้อยู่ในช่วงเวลาที่ยีนมนุษย์ประเภท SRGAP2 มีจำนวนเป็นสองเท่าเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาของสมองกลีบหน้าได้รวดเร็วกว่าในสัตว์อื่น ๆ ต่อมา มนุษย์สปีชีส์ Homo erectus/ergaster ก็เกิดขึ้นในช่วงประมาณ ที่มีปริมาตรกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของลิงชิมแปนซีคือ 850 ซม3 การขยายขนาดของสมองเช่นนี้เทียบเท่ากับมีเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้น 125,000 เซลล์ทุกชั่วยุคคน สปีชีส์นี้เชื่อว่าเป็นพวกแรก ๆ ที่สามารถควบคุมไฟ และใช้เครื่องมือหินที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เป็นมนุษย์สกุล Homo พวกแรกที่อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป อาจเริ่มตั้งแต่ ดังนั้น การวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ก่อนหน้านี้ล้วนเป็นไปในแอฟริกาเท่านั้น ส่วนกลุ่มมนุษย์โบราณที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Archaic humans ก็เกิดวิวัฒนาการขึ้นต่อมาประมาณ 600,000 ปีก่อน สืบสายพันธุ์มาจาก H. erectus/ergaster เป็นกลุ่มมนุษย์ที่อาจเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน โดยเฉพาะคือมนุษย์โบราณ H. heidelbergensis/rhodesiensis หลังจากนั้น มนุษย์สปีชีส์ ''Homo sapiens'' ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern human) ก็เกิดขึ้นโดยมีวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณในยุคหินกลาง (แอฟริกา) คือประมาณ 300,000 ปีก่อน ตามทฤษฎี "กำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา" มนุษย์ปัจจุบันได้วิวัฒนาการในทวีปแอฟริกาแล้วจึงอพยพออกจากทวีปประมาณ 50,000-100,000 ปีก่อน (ต่างหากจากมนุษย์ในยุคก่อน ๆ) ไปตั้งถิ่นฐานแทนที่กลุ่มมนุษย์สปีชีส์ H. erectus, H. denisova, H. floresiensis และ H. neanderthalensis ในที่ต่าง ๆ ที่เป็นเชื้อสายของมนุษย์ที่อพยพออกมาจากทวีปแอฟริกาในยุคก่อน ๆ โดยอาจได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณก่อน ๆ เหล่านั้น หลักฐานโดยดีเอ็นเอในปี..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และวิวัฒนาการของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของดาวฤกษ์

้นเวลาแสดงอายุของดวงอาทิตย์ วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ เป็นกระบวนการที่ดาวฤกษ์เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบภายในตามลำดับไปในช่วงอายุของมัน ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันตามขนาดของมวลของดาวฤกษ์นั้นๆ อายุของดาวฤกษ์มีตั้งแต่ไม่กี่ล้านปี (สำหรับดาวฤกษ์ที่มีมวลมากๆ) ไปจนถึงหลายล้านล้านปี (สำหรับดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย) ซึ่งอาจจะมากกว่าอายุของเอกภพเสียอีก การศึกษาวิวัฒนาการของดาวฤกษ์มิได้ทำเพียงการเฝ้าสังเกตดาวดวงหนึ่งดวงใด ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้ามากจนยากจะตรวจจับได้แม้เวลาจะผ่านไปหลายศตวรรษ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ทำความเข้าใจกับวิวัฒนาการของดาวฤกษ์โดยการสังเกตการณ์ดาวจำนวนมาก โดยที่แต่ละดวงอยู่ที่ช่วงอายุแตกต่างกัน แล้วทำการจำลองโครงสร้างของดาวออกมาโดยใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ช่ว.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมสำรวจ

วิศวกรรมสำรวจ Survey Engineering เป็นศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจ บันทึก ประมวลผล วิเคราะห์ เผยแพร่ และ การใช้งานสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นเชิงภูมิศาสตร์ (ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนผิวโลก) อวกาศ และใต้ดิน วิศวกรรมสำรวจประกอบด้วยสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันเพื่อให้เข้าใจลักษณะแบบจำลองของปรากฏการณ์ทางกายภาพต่าง ๆ และสามารถถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นลงมาเป็นข้อมูลรูปแผนที่ที่มีความถูกต้องและ น่าเชื่อถือทางตำแหน่งและข้อมูลอธิบายปรากฏการณ์นั้น ๆ สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจประกอบด้ว.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และวิศวกรรมสำรวจ · ดูเพิ่มเติม »

วิษุวัต

ทิศทางของแสงอาทิตย์ที่ส่องถูกโลกในวันวิษุวัต ซึ่งเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง (ภาพไม่แสดงความเข้มน้อยของแสงสลัวเวลาเช้ามืดและหัวค่ำ) วิษุวัต (equinox) หรือ จุดราตรีเสมอภาค เป็นศัพท์ดาราศาสตร์ หมายถึงช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตรงได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง หรือในหนึ่งรอบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ความเอียงของแกนโลกจะเลื่อนมาอยู่ในระนาบที่ได้ฉากกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ ซึ่งวันนั้นกลางวันจะเท่ากับกลางคืน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และวิษุวัต · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์โลก

อซ์แลนด์ กำลังพวยพุ่ง วิทยาศาสตร์โลก, โลกวิทยา, โลกศาสตร์, พิภพวิทยา, วิทยาศาสตร์พื้นพิภพ (Earth Sciences) เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกครอบคลุมแขนงต่าง ๆ ของวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์โลก วิทยาศาสตร์โลกอาจถือได้ว่าเป็นกรณีพิเศษของวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ เนื่องจากโลกเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวเท่าที่เรารู้จักที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ แนวทางในการศึกษาวิทยาศาสตร์โลกนั้น มีทั้งคตินิยมแบบลดทอนและแบบองค์รวม สาขาวิชาสำคัญ ๆ ของวิทยาศาสตร์โลกเท่าที่ผ่านมานั้น จะใช้วิชาฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ เคมี และชีววิทยา เพื่อสร้างความเข้าใจเชิงปริมาณในพื้นที่หรือภาค (sphere) หลัก ๆ ของระบบโลก ซึ่งได้แก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และวิทยาศาสตร์โลก · ดูเพิ่มเติม »

วินาที

วินาที (Second) เป็นหน่วยฐานของเวลาในระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (เอสไอ) และยังเป็นหน่วยเวลาในระบบการวัดอื่น เท่ากับ 1 ส่วน 60 ของนาที ระหว่าง..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และวินาที · ดูเพิ่มเติม »

วงกลมอาร์กติก

แผนที่ของอาร์กติก แสดงให้เห็นวงกลมอาร์กติก (เส้นประสีน้ำเงิน) เส้นสีแดงคือเส้นที่แสดงให้เห็นว่าบริเวณภายในเส้นนั้นมีอุณหภูมิมีค่าเท่ากัน วงกลมอาร์กติก (Arctic Circle) คือวงกลมละติจูดที่อยู่เหนือที่สุด ในบรรดา 5 วงกลมละติจูดหลักบนแผนที่โลก พื้นในในบริเวณนี้เรียกว่าอาร์กติก ด้านเหนือสุดของวงกลม มีปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือของฟ้าตลอดเวลาต่อเนื่องกัน 24 ชั่วโมง อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ทำให้สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้แม้ในเวลากลางคืน และมีปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าตลอดเวลาต่อเนื่องกัน 24 ชั่วโมง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทำให้ไม่สามารถเห็นดวงอาทิตย์ได้แม้ในเวลากลางวัน ปรากฏการณ์เกิดขึ้นที่ขั้วโลกใต้เช่นกัน ตำแหน่งของวงกลมอาร์กติก ไม่ใช่ตำแหน่งที่คงที่ จนถึงวันที่ ตำแหน่งอยู่ที่ เหนือเส้นศูนย์สูตร ตำแหน่งนี้ขึ้นอยู่กับการเอียงของแกนโลก ซึ่งมีค่าไม่คงที่ ผันแปรประมาณ 2 องศา ตลอด 40,000 ปีที่ผ่านมานี้ เป็นผลมาจากแรงกระทำจากการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ ทำให้ตำแหน่งของวงกลมอาร์กติกไม่คงที่ ผลที่ตามมาคือ ตำแหน่งของวงกลมอาร์กติกขณะนี้ขยับขึ้นไปทางเหนือ ปีละ 15 เมตร หมวดหมู่:เส้นละติจูด.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และวงกลมอาร์กติก · ดูเพิ่มเติม »

วงกลมแอนตาร์กติก

แผนที่วงกลมแอนตาร์กติก วงกลมแอนตาร์กติก คือส่วนที่อยู่ไปทางขั้วโลกใต้มากที่สุดของ 5 วงกลมหลักของวงกลมละติจูดในแผนที่โลก พื้นที่ในบริเวณวงกลมขั้วโลกใต้นี้เป็นที่รู้จักในชื่อแอนตาร์กติก ด้านใต้ของวงกลมแอนตาร์กติกนี้ จะมีเหตุการที่ดวงอาทิตย์อยู่เหนือขอบฟ้า 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์ในเวลากลางคืน และอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งที่ดวงอาทิตย์จะไม่โผล่พ้นขอบฟ้าเป็นเวลาต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ไม่เห็นดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับบริเวณขั้วโลกเหนือ ที่วงกลมอาร์กติกด้วย ตำแหน่งของวงกลมแอนตาร์กติกยังไม่ใช่พิกัดคงที่ จนถึง 9 ธันวาคม 2559 พิกัดอยู่ที่ตำแหน่ง 66°33′46.5″ ด้านใต้ของเส้นศูนย์สูตร ทั้งนี้ละติจูดขึ้นอยู่กับการเอียงของโลก ซึ่งมีค่าไม่คงที่ ผันแปรประมาณ 2 องศา ในรอบ 40,000 ปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากแรงกระทำของการโคจรของดวงจันทร์ ทำให้วงกลมแอนตาร์กติกเลื่อนลงใต้ไปเรื่อยๆ ด้วยความเร็วประมาณปีละ 15 เมตร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และวงกลมแอนตาร์กติก · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์กลางมวล

ูนย์กลางมวล (center of mass) ของระบบหนึ่งๆ เป็นจุดเฉพาะเจาะจงซึ่งเสมือนหนึ่งมวลของระบบรวมตัวกันอยู่ ณ จุดนั้น เป็นฟังก์ชันของตำแหน่งและมวลขององค์ประกอบที่รวมกันอยู่ในระบบ ในกรณีที่ระบบเป็นวัตถุแบบ rigid body ตำแหน่งของศูนย์กลางมวลมักเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในวัตถุหรือมีความเกี่ยวพันกับวัตถุนั้น แต่ถ้าระบบมีมวลหลายชิ้นสัมพันธ์กันอย่างหลวมๆ ในพื้นที่ว่าง ตัวอย่างเช่น การยิงกระสุนออกจากปืน ตำแหน่งศูนย์กลางมวลจะอยู่ในอากาศระหว่างวัตถุทั้งสองโดยอาจไม่สัมพันธ์กับตำแหน่งของวัตถุแต่ละชิ้นก็ได้ หากระบบอยู่ภายใต้สนามแรงโน้มถ่วงที่เป็นเอกภาพ มักเรียกศูนย์กลางมวลว่าเป็น ศูนย์ถ่วง (center of gravity) คือตำแหน่งที่วัตถุนั้นถูกกระทำโดยแรงโน้มถ่วง ตำแหน่งศูนย์กลางมวลของวัตถุหนึ่งๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นจุดศูนย์กลางทางเรขาคณิตของรูปร่างวัตถุนั้น วิศวกรจะพยายามออกแบบรถสปอร์ตให้มีจุดศูนย์ถ่วงอยู่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อให้สามารถบังคับรถได้ดีขึ้น นักกระโดดสูงก็ต้องพยายามบิดร่างกายเพื่อให้สามารถข้ามผ่านคานให้ได้ขณะที่ศูนย์กลางมวลของพวกเขาข้ามไม่ได้.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และศูนย์กลางมวล · ดูเพิ่มเติม »

สมมติฐานเนบิวลา

มมติฐานเนบิวลา (Nebular hypothesis) เป็นแบบจำลองที่ยอมรับกันมากที่สุดในสาขาของทฤษฎีการกำเนิดจักรวาล ซึ่งอธิบายถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ ทฤษฎีนี้ยืนยันว่าระบบสุริยะก่อตัวขึ้นจากวัสดุเนบิวลา ทฤษฎีนี้สร้างขึ้นโดยอิมมานูเอล คานท์ และตีพิมพ์ลงในหนังสือของเขา แต่เดิมทฤษฎีนี้ถูกใช้อธิบายแค่ระบบสุริยะของเราเท่านั้น แต่กระบวนการการก่อตัวของระบบดาวเคราะห์นี้ใช้ได้ทั่วทั้งเอกภพ แบบจำลองที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดของสมมติฐานเนบิวลา มีชื่อว่า แบบจำลองเนบิวลาดวงอาทิตย์ สมมติฐานเนบิวลานี้อธิบายถึงสมบัติของระบบสุริยะจำนวนมาก รวมทั้ง การที่ดาวเคราะห์มีวงโคจรเป็นรูปร่างเกือบกลมและอยู่บนระนาบเดียวกัน และยังอธิบายถึงการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ที่ไปทางเดียวกันกับการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ เนื้อหาบางส่วนของสมมติฐานจะถูกกล่าวถึงมากในทฤษฎีที่อธิบายถึงการก่อตัวของดาวเคราะห์ในปัจจุบัน แต่ส่วนมาก เนื้อหาเหล่านี้มักจะถูกแทนที.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และสมมติฐานเนบิวลา · ดูเพิ่มเติม »

สหประชาชาติ

หประชาชาติ (United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สะเก็ดดาว

ก็ดดาว (meteoroid) คือ เศษวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ มีขนาดตั้งแต่ก้อนหินขนาดใหญ่ลงไปถึงผงฝุ่น เมื่อสะเก็ดดาวเคลื่อนที่เข้าสู่บรรยากาศของโลก (หรือของดาวเคราะห์อื่น) ทำให้เกิดความร้อนและแสงสว่างมองเห็นเป็นดาวตก คนทั่วไปมักเข้าใจว่าแสงสว่างนี้เกิดจากความเสียดทานระหว่างสะเก็ดดาวกับบรรยากาศ แต่ในความเป็นจริง กระบวนการหลักของการเกิดดาวตก คือ การแตกตัวเป็นไอออน (ionization) ของอนุภาคในบรรยากาศ หากสะเก็ดดาวมีขนาดใหญ่ วัตถุที่ตกลงถึงพื้นดิน เรียกว่า อุกกาบาต (meteorite) สะเก็ดดาวที่ลุกไหม้จนหมดในชั้นบรรยากาศของโลกเรียกว่า ดาวตก หรือ ผีพุ่งไต้ (meteor) ดาวตกที่สว่างมาก ๆ คือสว่างกว่าดาวศุกร์ อาจเรียกว่าลูกไฟ (fireball) สะเก็ดดาวจำนวนมากเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในฝนดาวตก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และสะเก็ดดาว · ดูเพิ่มเติม »

สัญกรณ์ส่วนในหลายส่วน

หนึ่งส่วนในล้านล้านส่วน (1 ppt) เป็นสัดส่วนที่เทียบเท่ากับ ปริมาณหนึ่งในยี่สิบของหยดน้ำ ที่เจืออยู่ในสระว่ายน้ำขนาดโอลิมปิก ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ สัญกรณ์ส่วนในหลายส่วน (parts-per notation) คือกลุ่มของหน่วยเทียมที่สร้างขึ้นเพื่ออธิบายค่าเล็กน้อยในปริมาณไร้มิติ อาทิ เศษส่วนโมล (mole fraction) หรือเศษส่วนมวล (mass fraction) เนื่องจากเศษส่วนเหล่านี้เป็นการวัดอัตราส่วนปริมาณต่อปริมาณ มันจึงเป็นจำนวนแท้จริงที่ไม่มีระบบการวัดมาเกี่ยวข้อง ตัวอย่างหน่วยที่ใช้โดยปกติเช่น ส่วนในล้านส่วน (ppm: พีพีเอ็ม), ส่วนในพันล้านส่วน (ppb: พีพีบี), ส่วนในล้านล้านส่วน (ppt: พีพีที), ส่วนในพันล้านล้านส่วน (ppq: พีพีคิว) เป็นต้น.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และสัญกรณ์ส่วนในหลายส่วน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมบริตานิกา

รานุกรมบริตานิกา (Encyclopædia Britannica) เป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยบริษัท Encyclopædia Britannica, Inc.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และสารานุกรมบริตานิกา · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบอนินทรีย์

รประกอบอนินทรีย์ (inorganic compound) คือสารประกอบเคมีที่นิยามตรงข้ามกับสารประกอบอินทรีย์ เป็นการจัดแบ่งสารเคมีตามความเชื่อแต่ดั้งเดิม ที่ให้สารเคมีที่ไม่ได้เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตเป็นสารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบอนินทรีย์มักไม่มีพันธะเชื่อมระหว่างอะตอมของคาร์บอนและไฮโดรเจน ถึงแม้สารประกอบอนินทรีย์จะมีอยู่มากมายแต่เทียบไม่ได้กับจำนวนของสารประกอบอินทรีย์ที่มีอยู่ในโลก สารประกอบคาร์บอนเกือบทั้งหมดถูกจัดให้เป็นสารประกอบอินทรีย์แต่ก็มีบางตัวถูกกำหนดชัดเจนว่าเป็นสารประกอบอนินทรีย์ เช่น.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และสารประกอบอนินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณสมบัติ

ัญลักษณ์อย่างไม่เป็นทางการ สำหรับ สาธารณสมบัติ สาธารณสมบัติ หรือ สมบัติสาธารณะ (public domain) หมายถึง องค์ความรู้หรือนวัตกรรม (เช่น งานเขียน ศิลปะ ดนตรี สิ่งประดิษฐ์) ที่ไม่มีใครสามารถถือตัวเป็นเจ้าของได้ รวมไปถึงสิ่งก่อสร้าง และถนนหนทาง ในทางคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สาธารณสมบัติ หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นแล้วผู้สร้างหรือเจ้าของยินยอมให้ใคร ๆ สามารถคัดลอกนำไปใช้ได้ โดยไม่ผิดลิขสิท.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และสาธารณสมบัติ · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิต

งมีชีวิต จะมีคุณลักษณะ (properties) ที่ไม่พบในสิ่งไม่มีชีวิต อันได้แก่ความสามารถในการใช้สสารและพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกหรือบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตซึ่งถือกำเนิดมาบนโลกกว่า 4 พันล้านปี เมื่อผ่านการวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากดังที่ปรากฏในปัจจุบัน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และสิ่งมีชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตที่ไม่ต้องการออกซิเจน

สิ่งมีชีวิตที่ไม่ต้องการออกซิเจน (anaerobic organism, anaerobe) คือสิ่งมีชีวิตชนิดใด ก็ตาม ที่มีชีวิตอยู่และเติบโตได้โดยไม่ต้องการออกซิเจน บางชนิดอาจได้รับผลเสียหรือถึงขั้นเสียชีวิตเมื่อได้รับออกซิเจน หมวดหมู่:การหายใจระดับเซลล์ หมวดหมู่:จุลชีววิทยา.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และสิ่งมีชีวิตที่ไม่ต้องการออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

สุริยวิถี

ริยวิถี (Ecliptic) คือ ระนาบทางเรขาคณิตที่เป็นระนาบวงโคจรของโลก ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะมีระนาบวงโคจรใกล้เคียงกับระนาบนี้ เมื่อมองจากโลก สุริยวิถีเป็นวงกลมใหญ่บนทรงกลมฟ้าที่แทนเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ตลอดทั้งปีท่ามกลางดาวฤกษ์ที่เป็นฉากหลัง ระนาบนี้ทำมุมเอียงกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าเป็นมุมประมาณ 23.5° ซึ่งเป็นผลจากความเอียงของแกนหมุนของโลก ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์เอียงกับระนาบสุริยวิถีเป็นมุมประมาณ 5° เนื่องจากดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ไปตามสุริยวิถีเป็นมุม 360 องศา ในระยะเวลาประมาณ 365.25 วัน หรือ 1 ปี ดวงอาทิตย์จึงเคลื่อนที่ไปด้วยอัตราประมาณ 1° ต่อวัน โดยมีทิศทางจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก ตรงข้ามกับการหมุนของทรงกลมฟ้า สุริยวิถีกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าตัดกันที่จุด 2 จุด ซึ่งอยู่ตรงข้ามกัน คือ จุดวสันตวิษุวัตและจุดศารทวิษุวัต เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมาถึง 2 ตำแหน่งนี้ กลางวันกับกลางคืนจะยาวนานเท่ากันสำหรับผู้สังเกตบนผิวโลก (อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี เพราะมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความยาวนานของกลางวัน-กลางคืน เช่น บรรยากาศโลก) จุดที่สุริยวิถีอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้ามากที่สุดขึ้นไปทางเหนือ เรียกว่า จุดครีษมายัน และลงไปทางใต้เรียกว่า จุดเหมายัน หากดวงจันทร์ผ่านแนวสุริยวิถีขณะจันทร์เพ็ญหรือจันทร์ดับ จะมีโอกาสเกิดอุปราคาขึ้นได้.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และสุริยวิถี · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา

ริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ. 2542 สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้ ในแต่ละปีสามารถเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง โอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบ ๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้น สุริยุปราคาเต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม น่าตื่นเต้น และสร้างความประทับใจแก่คนที่ได้ชม ผู้คนจำนวนมากต่างพากันเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกลเพื่อคอยเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์นี้ สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และสุริยุปราคา · ดูเพิ่มเติม »

สถานีอวกาศนานาชาติ

นีอวกาศนานาชาติ (International Space Station, ISS, Междунаро́дная косми́ческая ста́нция, МКС, Station spatiale internationale, SSI) เป็นห้องทดลองและสถานอำนวยความสะดวกสำหรับงานค้นคว้าวิจัยในระดับนานาชาติซึ่งถูกประกอบขึ้นในวงโคจรต่ำของโลก การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และสถานีอวกาศนานาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สตราโทสเฟียร์

ภาพแสดงชั้นบรรยากาศของโลก สตราโทสเฟียร์ (stratosphere) เป็นชั้นบรรยากาศของโลกชั้นที่สอง อยู่ระหว่างชั้นโทรโพสเฟียร์และมีโซสเฟียร์ มีระยะตั้งแต่ความสูง 10 กิโลเมตร จนถึง 50 กิโลเมตร เครื่องบินๆในชั้นนี้ มีอากาศเบาบาง เมฆน้อยมาก เนื่องจากปริมาณไอน้ำน้อย อากาศไม่แปรปรวน มีแก๊สโอโซนมาก ส หมวดหมู่:อุตุนิยมวิทยา.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และสตราโทสเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

สนามแม่เหล็กของโลก

วามแตกต่างระหว่างขั้วแม่เหล็กเหนือ กับขั้วโลกเหนือแท้จริง สนามแม่เหล็กของโลก The Earth’s magnetic field (และสนามแม่เหล็กพื้นผิว) เป็นแม่เหล็กสองขั้วชนิดหนึ่ง ซึ่งมีขั้วด้านหนึ่งอยู่ใกล้ตำแหน่งขั้วโลกเหนือ (ดู ขั้วแม่เหล็กเหนือ) และขั้วอีกด้านหนึ่งอยู่ใกล้ตำแหน่งขั้วโลกใต้ (ดู ขั้วแม่เหล็กใต้) เส้นที่เชื่อมระหว่างขั้วแม่เหล็กทั้งสองด้านมีความเอียงประมาณ 11.3° กับแกนการหมุนของโลก สาเหตุของการเกิดสนามแม่เหล็กให้ดูในทฤษฎีไดนาโม (dynamo theory) สนามแม่เหล็กนี้แผ่ออกไปไม่มีที่สิ้นสุด แม้จะมีความเข้มสนามอ่อนลงเรื่อยๆ เมื่ออยู่ห่างจากแหล่งกำเนิด ขอบเขตสนามแม่เหล็กของโลกแผ่ออกไปครอบคลุมเนื้อที่หลายหมื่นกิโลเมตรในห้วงอวกาศ มีชื่อเรียกว่า แมกนีโตสเฟียร์ สนามแม่เหล็กโลกเป็นรูปทรงรีไม่สมมาตร อิทธิพลของลมสุริยะทำให้ด้านที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มีความกว้างน้อยกว่าด้านตรงข้ามดวงอาทิตย์ สนามแม่เหล็กโลกไม่ใช่สิ่งคงที่ แต่มีการเปลี่ยนแปลงความเข้ม และมีการสลับขั้วเหนือ-ใต้ในช่วงเวลาห่าง ตั้งแต่หลายหมื่นปีไปจนถึงหลายล้านปี โดยมีค่าเฉลี่ยประมาณ 250,000 ปี ในปัจจุบันสนามแม่เหล็กโลกอยู่ในช่วงที่มีกำลังอ่อน สนามแม่เหล็กโลกเป็นสิ่งที่จำเป็นที่เอื้ออำนวยในการดำรงชีวิต หากปราศจากสนามแม่เหล็กโลกแล้ว อนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์และอวกาศ จะพุ่งชนพื้นผิวโลก ทำให้สิ่งมีชีวิตไม่สามารถดำรงอยู่ได้.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และสนามแม่เหล็กของโลก · ดูเพิ่มเติม »

หยาดน้ำฟ้า

ในทางอุตุนิยมวิทยา หยาดน้ำฟ้า (precipitation) เป็นปรากฏการณ์ของน้ำในอากาศ (hydrometeor) ประเภทหนึ่ง ซึ่งหมายความถึงผลิตภัณฑ์ใด ๆ อันเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำในบรรยากาศและตกลงมาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วง รูปแบบหลักของหยาดน้ำฟ้าประกอบด้วยฝนละออง (drizzle), ฝน, ฝนน้ำแข็ง (sleet), หิมะ, ลูกปรายหิมะ (graupel) และลูกเห็บ หยาดน้ำฟ้าเกิดขึ้นเมื่อบรรยากาศเหนือพื้นดินบริเวณหนึ่งอิ่มตัวด้วยไอน้ำ จากนั้นน้ำเกิดการควบแน่นและตกลงมา หมอกและหมอกน้ำค้างจึงไม่จัดเป็นหยาดน้ำฟ้า มีอยู่สองกระบวนการที่อากาศอิ่มตัวได้ คือ อากาศได้รับความเย็นหรือเพิ่มไอน้ำเข้าไปในอากาศ ซึ่งสองกระบวนการนี้อาจเกิดร่วมกันได้ โดยทั่วไป หยาดน้ำฟ้าจะตกกลับคืนสู่พื้นดิน แต่ยกเว้นน้ำโปรยฐานเมฆ (virga) ซึ่งระเหยไปหมดก่อนตกถึงพื้น หยาดน้ำฟ้าก่อตัวขึ้นเป็นหยาดเล็กที่รวมกันโดยชนกับหยดฝนหรือผลึกน้ำแข็งอื่นภายในเมฆ หยดฝนที่ตกลงมามีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่รูปทรงคล้ายแพนเค้กกลมแป้นสำหรับหยดขนาดใหญ่ ถึงทรงกลมเล็กสำหรับหยดขนาดเล็ก เกล็ดหิมะ (snowflake) มีหลายรูปทรงและแบบ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่เกล็ดหิมะเคลื่อนผ่านก่อนตกสู่พื้น หิมะและลูกปรายหิมะจะเกิดเฉพาะเมื่ออุณหภูมิใกล้ผิวดินใกล้หรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ ส่วนลูกเห็บสามารถเกิดขึ้นในเขตอุณหภูมิอบอุ่นได้จากกระบวนการก่อตัว โดยรวมหยาดน้ำฟ้าเกิดจากความชื้นเหนือแนวปะทะ (weather front) เป็นหลัก หากมีความชื้นเพียงพอและมีการเคลื่อนที่ขึ้น หยาดน้ำฟ้าจะตกจากมวลอากาศร้อนขึ้นทางแนวดิ่ง (convective cloud) เช่น คิวมูโลนิมบัส และสามารถก่อตัวเป็นบริเวณแถบฝนแคบ ๆ ได้.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และหยาดน้ำฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

หลุมยุบ

หลุมยุบ หลุมยุบ (Sinkhole) คือ ธรณีพิบัติภัยประเภทหนึ่ง ที่มีลักษณะพื้นผิวพังทลายเป็นหลุม ซึ่งเกิดจากหินตะกอนที่มีองค์ประกอบทางเคมีจำพวกคาร์บอเนต เช่น หินปูน ชั้นเกลือ หรือ หินตามธรรมชาติที่สามารถถูกละลายด้วยน้ำ ซึ่งเมื่อเกิดการไหลเวียนของน้ำใต้ดิน จะทำให้หินใต้ดินดังกล่าวละลาย เกิดช่องว่างใต้ดินขึ้น จนถึงจุดๆหนึ่งที่บริเวณพื้นผิวมีน้ำหนักมากเกินไป จะทำให้เกิดการถล่ม เกิดเป็นหลุมยุบ หลุมยุบปรากฏและพบมากในหลายๆ รัฐของประเทศอเมริกา เช่น ฟลอริดา เท็กซัส อลับามา เคนตักกี้ และเพนซิวาเนีย เป็นต้น สาเหตุการเกิดหลุมยุบ ไม่จำเป็นต้องเกิดจากธรรมชาติเท่านั้น อาจจะจากการกระทำของมนุษย์ได้ เช่น การใช้งานที่ดินทางด้านชลประทานหรือการสูบน้ำ เพื่อการก่อสร้างและพัฒนา หรือมีการก่อสร้างและส่งผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนทางน้ำ หรือระบบทางน้ำธรรมชาติใหม่ หรือ มีการปล่อยน้ำจากโรงงานอุตสาหรรม ซึ่งจากที่กล่าวมาทำให้เกิดหลุมยุบได้ หรือการบรรทุกของที่หนักเกินไป ถนนที่รถบรรทุกวิ่งผ่านมากๆ ย่อมทำให้เกิดหลุมยุบได้เร็วยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และหลุมยุบ · ดูเพิ่มเติม »

หินบะซอลต์

หินบะซอลต์ บะซอลต์ (basalt) เป็นหินอัคนีพุที่พบได้โดยทั่วไป มักพบมีสีเทาถึงสีดำ มีเนื้อละเอียดเนื่องจากเกิดจากการเย็นตัวของลาวาอย่างรวดเร็วบนพื้นผิวโลก อาจพบมีเนื้อสองขนาดที่มีผลึกขนาดโตกว่าอยู่ในพื้นเนื้อละเอียด หรือมีเนื้อเป็นโพรงข่าย หรือมีเนื้อเป็นตะกรันภูเขาไฟ (สคอเรีย) เนื้อหินบะซอลต์สดๆจะมีสีดำหรือสีเทา ปรกติหินบะซอลต์จะถูกนำไปใช้เป็นวัสดุก่อสร้างถนน เทพื้นรองหมอนและรางรถไฟ และทำเป็นแผ่นปูพื้นหรือผนัง และยังใช้เป็นส่วนผสมที่สำคัญในการผลิตแอสฟัลต์ ในโลกของเรานี้หินหนืด (แมกมา) เป็นวัตถุต้นกำเนิดของหินบะซอลต์ เกิดจากการพองตัวของวัตถุหลอมในชั้นเนื้อโลก หินบะซอลต์ก็เกิดได้บนดวงจันทร์ของโลกเรา รวมถึงบนดาวอังคาร ดาวศุกร์ และแม้แต่ดาวเคราะห์น้อย 4 เวสต้า หินต้นกำเนิดเพื่อการกึ่งหลอมละลายอาจจะเป็นทั้งเพริโดไทต์และไพรอกซีไนต์ (เช่น Sobolev et al., 2007) เปลือกโลกส่วนของมหาสมุทรโดยส่วนใหญ่แล้วจะประกอบไปด้วยหินบะซอลต์ที่เกิดจากการปะทุขึ้นมาจากชั้นเนื้อโลกที่อยู่ด้านล่างตรงบริเวณเทือกเขากลางสมุทร คำว่าบะซอลต์บางครั้งก็ถูกใช้เรียกหินอัคนีแทรกซอนในระดับตื้นๆที่มีองค์ประกอบเป็นแบบหินบะซอลต์ แต่หินที่มีองค์ประกอบดังกล่าวที่มีเนื้อหยาบโดยทั่วไปจะเรียกว่าโดเลอไรต์ (อาจเรียกเป็นไดอะเบสหรือแกบโบร) หินบะซอลต์ที่มีแนวแตกเสาเหลี่ยมที่ชีฟอีสเตอร์ในเยลโลสโตน หินบะซอลต์มีเนื้อเป็นโพรงข่ายที่ซันเซ็ตเครเตอร์ อะริโซนา สหรัฐอเมริกา ใช้เหรียญ 25 เซนต์เทียบเป็นมาตราส่วน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และหินบะซอลต์ · ดูเพิ่มเติม »

หินหนืด

หินหนืด หรือ หินแม็กมา (magma) เป็นสารเหลวที่อยู่ลึกลงไปภายใต้เปลือกโลก มีความหนืดหรือข้นมากกว่าปกติ เคลื่อนตัวได้ในวงจำกัด มีส่วนผสมของแข็ง ของเหลว หรือก๊าสรวมอยู่ด้วย มีอุณหภูมิที่สูงมาก เมื่อแทรกดันหรือพุ่งขึ้นจากผิวโลก จะเย็นตัวลงกลายเป็นหินแข็ง เรียกว่า หินอัคนี หินหนืดมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 650 - 1,200 องศาเซลเซียส ถูกอัดอยู่ภายใต้แรงดันสูง บางครั้งถูกดันขึ้นมาผ่านปล่องภูเขาไฟเป็นหินหลอมเหลว (lava) ผลลัพธ์จากการระเบิดของภูเขาไฟ มักจะได้ของเหลว ผลึก และก๊าส ที่ไม่เคยผุดขึ้นจากเปลือกโลกมาก่อน หินหนืดจะสะสมตัวอยู่ในช่องภายใต้เปลือกโลก โดยมีองค์ประกอบต่าง ๆ กันเล็กน้อยในพื้นที่ต่าง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และหินหนืด · ดูเพิ่มเติม »

หินอัคนี

หินอัคนี (igneous; มาจากภาษาละติน ignis แปลว่า ไฟ) คือหนึ่งในหิน 3 ประเภทหลัก อีก 2 ประเภทได้แก่ หินตะกอน (sedimentary rock) และหินแปร (metamorphic rock) หินอัคนีเกิดจากการเย็นตัวและแข็งตัวของหินหนืด (magma) หรือหินหลอมเหลว (lava) หินอัคนีสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักได้แก่ หินอัคนีพุ (volcanic rock)และหินอัคนีแทรกซอน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และหินอัคนี · ดูเพิ่มเติม »

หินทราย

250px หินทราย (Sandstone) เป็นหินมีลักษณะ เนื้อหยาบ จับดูระคายมือ เพราะประกอบด้วยเม็ดทรายขนาดแตกต่างกัน (1/16 – 2 มม.) เม็ดแร่ส่วนใหญ่เป็นแร่ควอร์ตซ์ แต่อาจมีแร่อื่นและเศษหินดินปะปนอยู่ด้วย เพราะมีวัตถุประสารมีความแข็งมากสามารถขูดเหล็กเป็นรอยได้ มีสีต่าง ๆ เช่น แดง น้ำตาล เทา เขียว เหลืองอ่อน อาจแสดงรอยชั้นให้เห็น มีซากดึกดำบรรพ์ เกิดจากการรวมตัวกันของเม็ดทราย ประกอบด้วยควอร์ตซ์เป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่แมกเนไทต์และไมกาปะปนอยู่ วัตถุประสาร (ซีเมนต์) ส่วนมากเป็นพวกซิลิกา (ควอร์ตซ์ หรือ เชิร์ต) แคลไซด์ โดโลไมต์ เหล็กออกไซด์ ซึ่งมักทำให้หินมีสีเหลือง น้ำตาล แดง ในประเทศไทย พบมากทางภาคอีสาน จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี และทางภาคใต้บางแห่ง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และหินทราย · ดูเพิ่มเติม »

หินตะกอน

หินโผล่ของชั้นหินตะกอน 2 ชนิด คือชั้นหินปูนวางซ้อนทับชั้นหินดินดานปนปูน ณ ที่ราบสูงคัมเบอร์แลนด์ รัเทนเนสซี หินตะกอน(sedimentary rock) คือ หินที่เกิดจากการตกตะกอนของเม็ดแร่ที่ได้จากการผุพังของหินชนิดใดก็ได้ที่ผิวโลก และถูกพัดพาไปโดย น้ำ ลม หรือธารน้ำแข็ง แล้วจับตัวกันแข็งเป็นหิน หรือ เกิดจากการตกตะกอนทางเคมีของสารละลายจากในน้ำ ในลำธาร ทะเล หรือมหาสมุทร เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีหรือการระเหยของน้ำ ที่อุณหภูมิปกติบนผิวโลก ลักษณะเด่นของหินตะกอน คือ การเกิดเป็นชั้นหลายๆชั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ หรือแสดงลักษณะโครงสร้างของการตกตะกอนตามลำดับอ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และหินตะกอน · ดูเพิ่มเติม »

หินปูน

ำหรับหินปูนในช่องปากให้ดูที่ คราบหินปูน หินปูน (limestone) เป็นหินในกลุ่มหินตะกอน มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่รู้จักกันในหมู่นักธรณีว่า แร่แคลไซต์ (Calcite)(CaCO3) เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์ และซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการัง และกระดองของสัตว์ทะเล ซึ่งถับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผลึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับกรด เนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา ชมพู หรือสีดำ เพราะฉะนั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ในหินได้ เช่น ซากหอย ปะการัง ภูเขาหินปูนมักมียอดยักแหลมเป็นหน้าผา และเป็นหินที่ละลายน้ำได้ดี.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และหินปูน · ดูเพิ่มเติม »

หินแกรนิต

ระยะใกล้ของหินแกรนิตจากอุทยานแห่งชาติหุบเขาโยเซไมต์ แม่น้ำเมอร์ซ เหมืองหินแกรนิตสำหรับวัดมอร์มอน รัฐอูทาห์ พื้นผิวดินกระจัดกระจายไปด้วยก้อนหินขนาดใหญ่และเศษของหินแกรนิตที่หลุดล่วงลงมา ซึ่งหลุดหล่นลงมาจากผนังของหน้าผา Little Cottonwood Canyon เหมืองประกอบไปด้วยบล็อกที่แตกย่อยออกไป หินแกรนิต (granite) เป็นหินอัคนีแทรกซอน สีจางพบได้ทั่วไปเป็นปรกติ แกรนิตมีเนื้อขนาดปานกลางถึงเนื้อหยาบ บางครั้งจะพบผลึกเดี่ยวๆบางชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่ามวลเนื้อพื้น (groundmass) เกิดเป็นหินที่รู้จักกันในนามของพอร์พายรี (porphyry) แกรนิตอาจมีสีชมพูจนถึงสีเทาเข้มหรือแม้แต่สีดำขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีและองค์ประกอบทางแร่ หินโผล่ของหินแกรนิตมีแนวโน้มจะเกิดเป็นมวลหินโผล่ขึ้นมาเป็นผิวโค้งมน บางทีหินแกรนิตก็เกิดเป็นหลุมยุบรูปวงกลมที่รายล้อมไปด้วยแนวเทือกเขาเกิดเป็นแนวการแปรสภาพแบบสัมผัสหรือฮอร์นเฟลส์ แกรนิตมีเนื้อแน่นเสมอ (ปราศจากโครงสร้างภายใน) แข็ง แรงทนทาน ดังนั้นจึงถูกนำไปใช้เป็นหินก่อสร้างกันอย่างกว้างขวาง ค่าความหนาแน่นเฉลี่ยของหินแกรนิตคือ 2.75 กรัม/ซม3 และค่าความหนืดที่อุณหภูมิและความกดดันมาตรฐานคือ ~4.5 • 1019 Pa•s.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และหินแกรนิต · ดูเพิ่มเติม »

หินแปร

หินแปร (Metamorphic rock) คือ หินที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบ ของ เนื้อหิน (Texture) จาก เดิมไปเป็นหินชนิดใหม่ใต้ผิวโลก ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงความดันและอุณหภูมิในสภาพที่ยังเป็นของแข็ง อาจมีส่วนประกอบใหม่มาเพิ่มหรือไม่ก็ได้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเรียกว่า การแปรสภาพ (Metamorphism).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และหินแปร · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือปฐมกาล

หนังสือปฐมกาล (Book of Genesis; בראשית; ܣܦܪܐ ܕܒܪܝܬܐ; Γένεση) มาจากภาษากรีกว่า “การเกิด” หรือ “ที่มา” เป็นหนังสือที่กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโลก มนุษย์ และอิสราเอล ซึ่งเป็นตัวแทนของชนชาติที่พระเจ้าได้เลือกไว้ (ซึ่งมีความนัยทางเทววิทยา) ชื่อ "ปฐมกาล" แปลมาจากคำแรกของคัมภีร์ฮีบรูคำว่า בראשית (B'reshit or Bərêšîth) แปลว่า "ในปฐมกาล..." (in the begining...).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และหนังสือปฐมกาล · ดูเพิ่มเติม »

หนูผี

หนูผี (Shrews) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับตุ่น (Soricomorpha) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Soricidae ครั้งหนึ่ง หนูผีเคยถูกจัดให้อยู่ในอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) หนูผี มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับหนู ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ซึ่งเป็นสัตว์คนละอันดับมาก แต่ทว่ามีขนาดเล็กกว่ามาก มีฟันที่แหลมคมที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด สามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า ตามลำตัวมีขนที่อ่อนนุ่มสีคล้ำปกคลุม ตาและใบหูมีขนาดเล็กมากฝังอยู่ในขน ดังนั้นตาและหูของหนูผีใช้การไม่ค่อยดี จึงอาศัยประสาทการดมกลิ่นจากจมูกเป็นหลัก โดยมักจะกระดุกกระดิกจมูกสอดส่ายหากลิ่นตามพื้นดิน หรือบางครั้งก็ชูขึ้นสูดกลิ่นในอากาศ หนูผี โดยขุดรูตื้น ๆ อยู่ในดินหรือซุกซ่อนในพงหญ้า กินอาหารหลักจำพวก แมลง และอาจมีเมล็ดพืชบ้าง หนูผีเป็นสัตว์ที่มีระบบการเผาผลาญอาหารสูงมาก ดังนั้น จึงจะหากินอยู่ตลอดเวลา ด้วยการหากิน 3 ชั่วโมง และนอนหลับ 3 ชั่วโมง เป็นเช่นนี้สลับกันไปตลอด หากไม่เช่นแล้ว อาจทำให้ถึงตายได้ หนูผี เป็นสัตว์ที่มีอุปนิสัยดุร้าย มักกัดกันเองเสมอ ๆ โดยหากเมื่อต่อสู้กันแล้ว มักจะขู่ศัตรูด้วยการยืนด้วยสองขาหลังส่งเสียงร้องแหลมเล็กให้หนีไป หากได้กัดแล้ว จะกัดด้วยการกัดที่หางและขาหลังของกันและกันเป็นวงกลมเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ พร้อมกับเสียงดังข่มขู่กันตลอด หนูผี บางชนิดเมื่อกัดแล้วมีพิษ และถือเป็นสัตว์ที่มีต่อมน้ำพิษที่มีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรงอยู่ใต้ผิวหนัง ดังนั้น หนูผีจึงมักไม่ค่อยตกเป็นอาหารของสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ ยกเว้นนกเค้าแมว หนูผี ทำรังด้วยใบไม้และฟาง ออกลูกครอกละ 5-8 ตัว ปีหนึ่ง ๆ อาจออกได้หลายครอก ลูกอ่อนจะสามารถหาเลี้ยงตัวเองได้เมื่อมีอายุได้ 5 สัปดาห์ แต่หนูผีมักมีอายุสั้นไม่เกินหนึ่งปี กระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทุกทวีปของโลก พบในหลากหลายภูมิประเทศ รวมถึงในบ้านเรือนของมนุษย์ หนูผีที่พบในบ้านจะไม่ทำลายข้าวของเหมือนเช่นหนูบ้านทั่วไป เนื่องด้วยไม่ใช่สัตว์ฟันแทะ แต่อาจจะมีขโมยเศษอาหารได้ ทำให้เกิดกลิ่นเหม็บสาบรุนแรง และอาจจะจับแมลงสาบกินได้ และกลิ่นเหม็นอันรุนแรงของหนูผีจะไล่หนูบ้านออกไปได้ นอกจากนี้แล้ว หนูผียังสามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้เก่งกว่าหนูมาก โดยสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานถึง 20 วินาที เพื่อจับสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น หอย หรือตัวอ่อนของแมลงปอ กินเป็นอาหาร หนูผี ในปัจจุบันนี้พบแล้วกว่า 385 ชนิด ใน 26 สกุล แบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อยได้ 3 วงศ์ (ดูในตาราง)สำหรับชนิดที่พบได้ในประเทศไทยมีหลายชนิด อาทิ หนูผีบ้าน (Suncus murinus), หนูผีจิ๋ว (S. etrusucs), และชนิดที่พบได้ในป่าและทุ่งนา เช่น หนูผีป่า (S. malayanus), หนูผีภูเขา (Crocidura monticola) เป็นต้น โดยที่ครั้งหนึ่ง หนูผีจิ๋วที่พบได้ในทวีปยุโรปและในไทยด้วย เคยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกนมที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกมาแล้ว.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และหนูผี · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยดาราศาสตร์

หน่วยดาราศาสตร์ (Astronomical Unit; ย่อในภาษาอังกฤษว่า AU หรือ au หรือ a.u. หรือ ua) คือ หน่วยของระยะทาง มีค่า (โดยประมาณ) เท่ากับระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ค่าที่ยอมรับในปัจจุบัน เท่ากับ 149,597,870,691±30 เมตร (ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 93 ล้านไมล์) สัญลักษณ์ "ua" ได้รับการเสนอจากสำนัก Bureau International des Poids et Mesures แห่งฝรั่งเศส แต่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษจะใช้อักษรตัวใหญ่มากกว่า ส่วนสหภาพดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union) เสนอให้ใช้ "au" ส่วนมาตรฐานนานาชาติ ISO 31-1 นั้นใช้ "AU".

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และหน่วยดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อวกาศ

อวกาศ (outer space, หรือ space) คือ ความว่างเปล่าที่มีอยู่ระหว่างวัตถุท้องฟ้า รวมถึงโลก อวกาศมิได้ว่างเปล่าอย่างสิ้นเชิง แต่ประกอบด้วยสุญญากาศแข็งที่ประกอบด้วยอนุภาคความหนาแน่นต่ำ ซึ่งมีพลาสมาของไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นหลัก เช่นเดียวกับรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า สนามแม่เหล็กและนิวตริโน ปัจจุบัน การสังเกตได้พิสูจน์แล้วว่าอวกาศยังมีสสารมืดและพลังงานมืดอยู่ด้วย อุณหภูมิเส้นฐานกำหนดโดยรังสีพื้นหลังที่หลงเหลือจากบิกแบงมีค่าเพียง 2.7 เคลวิน ในทางตรงข้าม อุณหภูมิในโคโรนาของดาวฤกษ์อาจสูงถึงหนึ่งล้านเคลวิน พลาสมาที่มีความหนาแน่นต่ำมาก (น้อยกว่าหนึ่งอะตอมไฮโดรเจนต่อลูกบาศก์เมตร) และอุณหภูมิสูง (หลายล้านเคลวิน) ในอวกาศระหว่างดาราจักรเป็นที่มาของสสารแบริออน (baryonic matter) ในอวกาศ ความเข้มข้นเฉพาะถิ่นรวมกันเป็นดาวฤกษ์และดาราจักร อวกาศระหว่างดาราจักรกินปริมาตรส่วนใหญ่ของเอกภพ กระนั้น แม้แต่ดาราจักรและระบบดาวฤกษ์ก็แทบเป็นอวกาศที่ว่างเปล่าสิ้นเชิง หมวดหมู่:สุญญากาศ หมวดหมู่:โครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

ออโรรา (ดาราศาสตร์)

แสงออโรราบนท้องฟ้า ออโรรา เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีแสงเรืองบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน โดยมักจะขึ้นในบริเวณแถบขั้วโลก โดยบางครั้งจะเรียกว่า แสงเหนือ หรือ แสงใต้ ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด ปรากฏการออโรราเป็นตัวอย่างปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่น่าทึงที่สุดที่เกิดขึ้นในอวกาศที่ใกล้พื้นโลก มันอาจปรากฏจากสิ่งจางๆ เป็นวงนิ่ง แล้วระเบิดออกมาเป็นสีต่าง ๆ พุ่งกระจายภายในเวลาไม่กี่วินาที บางครั้งจะปรากฏเหมือนมันจะแตะกับพื้น หรือในเวลาอื่นอาจเห็นมันพุ่งสูงขึ้นสู่ท้องฟ้า แต่ความจริงแล้ว แสงออโรรานั้นเกิดขึ้นที่ความสูงจากพื้นโลก (altitudes) ประมาณ 100 ถึง 300 กิโลเมตร บริเวณที่อยู่บริเวณบรรยากาศชั้นบนที่อยู่ใกล้กับอวก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และออโรรา (ดาราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

อะลูมิเนียม

มื่อวัดในทั้งปริมาณและมูลค่า การใช้อะลูมิเนียมมีมากกว่าโลหะอื่น ๆ ยกเว้นเหล็ก และมีความสำคัญในเศรษฐกิจโลกทุกด้าน อะลูมิเนียมบริสุทธิ์มีแรงต้านการดึงต่ำ แต่สามารถนำไปผสมกับธาตุต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม แมงกานีส และซิลิกอน (เช่น duralumin) ในปัจจุบันวัสดุเกือบทั้งหมดที่เรียกว่าอะลูมิเนียมเป็นโลหะผสมของอะลูมิเนียม อะลูมิเนียมบริสุทธิ์พบเฉพาะเมื่อต้องการความทนต่อการกัดกร่อนมากกว่าความแข็งแรงและความแข็ง เมื่อรวมกับกระบวนการทางความร้อนและกลการ (thermo-mechanical processing) โลหะผสมของอะลูมิเนียมมีคุณสมบัติทางกลศาสตร์ที่ดีขึ้น โลหะผสมอะลูมิเนียมเป็นส่วนสำคัญของเครื่องบินและจรวดเนื่องจากมีอัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง อะลูมิเนียมสามารถสะท้อนแสงที่มองเห็นได้ดีเยี่ยม (~99%) และสามารถสะท้อนแสงอินฟราเรดได้ดี (~95%) อะลูมิเนียมชั้นบาง ๆ สามารถสร้างบนพื้นผิวเรียบด้วยวิธีการควบแน่นของไอสารเคมี (chemical vapor deposition) หรือวิธีการทางเคมี เพื่อสร้างผิวเคลือบออปติคัล (optical coating) และกระจกเงา ผิวเคลือบเหล่านี้จะเกิดชั้นอะลูมิเนียมออกไซด์ที่บางยิ่งกว่า ที่ไม่สึกกร่อนเหมือนผิวเคลือบเงิน กระจกเงาเกือบทั้งหมดสร้างโดยใช้อะลูมิเนียมชั้นบางบนผิวหลังของแผ่นกระจกลอย (float glass).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และอะลูมิเนียม · ดูเพิ่มเติม »

อะลูมิเนียมออกไซด์

อะลูมิเนียมออกไซด์ (อังกฤษ: aluminum oxide) เป็นสารประกอบเคมีของอะลูมิเนียมและ ออกซิเจนมีสูตรเคมีดังนี้Al2O3ในทางเซรามิก วัสดุศาสตร์และเหมืองเรียกว่าอะลูมิน่า (alumina) อะลูมิเนียมออกไซด์ เป็นส่วนประกอบหลักของแร่บอกไซต์ (bauxite) หรือแร่ อะลูมิเนียม ในอุตสาหกรรมบอกไซต์ถูกทำให้บริสุทธ์เป็นอะลูมิเนียมออกไซด์ โดย กระบวนการไบเออร์ (Bayer process) และเปลี่ยนเป็นโลหะอะลูมิเนียมโดย กระบวนการฮอลล์-ฮีรูลต์ (Hall-Heroult process) บอกไซต์ที่ไม่บริสุทธ์จะประกอบด้วย AlO + FeO + SiO.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และอะลูมิเนียมออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (ความยาว)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และอันดับของขนาด (ความยาว) · ดูเพิ่มเติม »

อายัน

อายัน (solstice) ในการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ยังมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "อายัน" เกิดขึ้นปีละ 2 ครั้งเช่นกัน อายันเกิดขึ้นทุกปีระหว่างวันที่ 20 หรือ 21 มิถุนายนเรียกว่า ครีษมายัน และในวันที่ 22 หรือ 23 ธันวาคมเรียกว่า เหมายัน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ตะวันอ้อมข้าว นอกจากนี้โลกยังมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากันตลอดปี ช่วงที่ใกล้ที่สุดเกิดขึ้นในต้นเดือนมกราคม (147 ล้านกิโลเมตร) ส่วนช่วงที่ไกลที่สุดเกิดขึ้นในต้นเดือนกรกฎาคม (152 ล้านกิโลเมตร) เฉพาะแกนหมุนของโลกที่เอียง เมื่อโคจรรอบดวงอาทิตย์ จึงมีผลสลับขั้วโลกเหนือ กับ ขั้วโลกใต้ เข้าหาดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้น ส่วนการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ที่มีระยะใกล้บ้าง ไกลบ้าง นั้น เป็นอัตราส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับระยะห่างจากดวงอาทิตย์ จึงไม่ได้มีผล ต่อการเกิดฤดูกาลแต่อย่างใ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และอายัน · ดูเพิ่มเติม »

อารยธรรม

มือง เป็นสิ่งที่แสดงถึงอารยธรรมมนุษย์ อารยธรรม โดยทั่วไปอาจหมายถึงความเจริญทางวัฒนธรรม แต่สำหรับทางด้านประวัติศาสตร์ อารยธรรม อาจหมายถึงการศึกษาความซับซ้อนของระบบสังคม เพื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆในระบบสังคมนั้นๆ โดยมุ่งเน้นให้เห็นถึงเหตุปัจจัยการเกิดและการล่มสลายของอารยธรรมนั้น รวมถึงอิทธิพลของอารยธรรมนั้นต่ออารยธรรมอื่น.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และอารยธรรม · ดูเพิ่มเติม »

อาร์กอน

อาร์กอน (Argon) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Ar และเลขอะตอม 18 เป็นก๊าซมีตระกูล ตัวที่ 3 อยู่ในกลุ่ม 18 ก๊าซอาร์กอนประกอบเป็น 1% ของบรรยากาศของโลก ชื่ออาร์กอน มาจากภาษากรีกจากคำว่า αργον แปลว่า ไม่ว่องไว (inactive) ในขณะที่มีการอ้างอิงถึงความจริงที่ว่าองค์ประกอบเกือบจะไม่มีปฏิกิริยาทางเคมี ออคเต็ต สมบูรณ์ (ครบ8อิเล็กตรอน) ในเปลือกนอกทำให้อะตอมอาร์กอนที่มีความเสถียรภาพและความทนทานต่อพันธะกับองค์ประกอบอื่นๆที่อุณหภูมิสามจุดเท่ากับ 83.8058K เป็นจุดคงที่ที่กำหนดในอุณหภูมิระดับนานาชาติปี1990 อาร์กอนที่ผลิตโดยอุตสาหกรรมการกลั่นลำดับส่วนของอากาศและของเหลว อาร์กอนส่วนใหญ่จะใช้เป็นก๊าซเฉื่อยในการเชื่อมและกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่อุณหภูมิสูงมีสารอื่นๆที่ปกติจะไม่ทำปฏิกิริยากลายเป็นทำปฏิกิริยา ตัวอย่างเช่น ชั้นบรรยากาศอาร์กอนนอกจากนี้ยังมีการปลดปล่อยก๊าซหลอด อาร์กอนทำให้ก๊าซสีเขียว-สีฟ้า โดเด่นด้วยแสงเลเซอร์ นอกจากนั่นอาร์กอนยังใช้ในการริเริ่มการเรืองแสงอีกด้ว.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และอาร์กอน · ดูเพิ่มเติม »

อาหาร

อาหาร หมายถึงสิ่งที่รับประทานเข้าไป ซึ่งบริโภคเพื่อเสริมโภชนาการให้แก่ร่างกาย อาหารมักมาจากพืชหรือสัตว์ และมีสารอาหารสำคัญ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน หรือแร่ธาตุ สิ่งมีชีวิตย่อยและดูดซึมสสารที่เป็นอาหารเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปสร้างพลังงาน คงชีวิต และ/หรือ กระตุ้นการเจริญเติบโต ในอดีต มนุษย์ได้มาซึ่งอาหารด้วยสองวิธีการ คือ การล่าสัตว์และเก็บเกี่ยว (hunting and gathering) และเกษตรกรรม ปัจจุบัน พลังงานจากอาหารส่วนใหญ่ที่ประชากรโลกบริโภคนั้นผลิตจากอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทข้ามชาติซึ่งใช้เกษตรประณีต และอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตของระบบให้ได้มากที่สุด สมาคมระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองอาหาร สถาบันทรัพยากรโลก โครงการอาหารโลก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และสภาข้อมูลอาหารระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานเฝ้าสังเกตความปลอดภัยของอาหารและความมั่นคงทางอาหาร องค์การทั้งหลายนี้จัดการกับประเด็นปัญหาอย่างความยั่งยืน ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐศาสตร์สารอาหาร การเติบโตของประชากร ทรัพยากรน้ำ และการเข้าถึงอาหาร สิทธิในการได้รับอาหารเป็นสิทธิมนุษยชนซึ่งกำหนดขึ้นจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) โดยตระหนักถึง "สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพอย่างพอเพียง รวมทั้งอาหารที่เพียงพอ" เช่นเดียวกับ "สิทธิขั้นพื้นฐานที่จะปลอดจากความหิวโหย".

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

อาณานิคม

ในทางการเมืองและประวัติศาสตร์ อาณานิคม (Colony) หมายถึงดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมทางการเมืองของรัฐๆหนึ่ง ไม่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง อาณานิคมสามารถเกิดขึ้นได้จาก 2 กรณีคือ กรณีแรกคือการจัดตั้งอาณานิคม ในอดีต เจ้าอาณานิคมมักส่งคณะบุกเบิกไปตั้งอาณานิคมในดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ กรณีที่สองคือการเข้ายึดครองดินแดนซึ่งเดิมอาจเคยเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ของตนเองมาก่อน หรืออาจมีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ก่อน อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์หลักของการมีอาณานิคม คือการแสวงหาทรัพยากรและผลประโยชน์ป้อนแก่แผ่นดินบ้านเกิดของเจ้าอาณานิคมที่เรียกว่า "แผ่นดินแม่" อาณานิคมไม่เหมือนกับ รัฐหุ่นเชิด หรือ รัฐบริวาร เนื่องจากอาณานิคมไม่ได้มีฐานะเป็น รัฐ จึงไม่มีจุดยืนในเวทีระหว่างประเทศ เนื่องจากฝ่ายบริหารสูงสุดของอาณานิคม ยังคงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแผ่นดินแม่ ในปัจจุบัน อาณานิคมที่มีอยู่ทั้งหมดเป็นอาณานิคมโพ้นทะเล รัฐบาลกลางบางประเทศ อาจยินยอมให้อาณานิคมมีรัฐบาลเป็นของตนเองซึ่งเป็นการลดภาระของรัฐบาลกลาง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลอาณานิคมจะดูแลทุกอย่างภายในอาณานิคม ด้านกฎหมาย, การคลัง, กลาโหม, ต่างประเทศ ยังคงถูกกำหนดจากรัฐบาลกลาง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และอาณานิคม · ดูเพิ่มเติม »

อุทกภาค

World water distribution. อุทกภาค (จากภาษาบาลี "อุทก" แปลว่า น้ำ, "ภาค" แปลว่า ส่วน รวมกันหมายถึงส่วนที่เป็นน้ำ) ในวิชาภูมิศาสตร์กายภาพหมายถึง แหล่งที่น้ำจำนวนมากมาอยู่รวมกันบนหรือใต้ผิวโลก อีกอร์ ชีโคลมานอฟ ผู้ถูกคัดเลือกโดยองค์การสหประชาชาติให้ศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ ได้ประเมินว่าบนโลกมีน้ำทั้งสิ้น 1,386 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร ซึ่งรวมถึงน้ำในรูปของเหลว ของแข็ง น้ำบาดาล ธารน้ำแข็ง มหาสมุทร ทะเลสาบ และแม่น้ำ โดยร้อยละ 97.5 ของน้ำทั้งหมดบนโลกเป็นน้ำเค็ม น้ำจืดมีอยู่เพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น และร้อยละ 68.7 ของน้ำจืดก็อยู่ในรูปของน้ำแข็งและหิมะปกคลุมบริเวณอาร์กติก แอนตาร์กติกา และในเขตภูเขา ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 29.9 อยู่ในรูปของน้ำบาดาล ร้อยละ 0.26 ของน้ำจืดเท่านั้นที่สามารถใช้เป็นสาธารณูปโภคได้ ซึ่งสามารถพบน้ำเหล่านี้ใต้ในทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ และระบบแม่น้ำต่าง ๆ มวลทั้งหมดของน้ำบนโลกอยู่ที่ประมาณ 1.4 × 1018 ตัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.023 ของมวลโลกทั้งหมด ประมาณ 20 × 1012 ตันของน้ำทั้งหมดนั้นอยู่ในบรรยากาศของโลก (โดยน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตรมีน้ำหนักเท่ากับ 1 ตัน) ประมาณร้อยละ 75 ของผิวโลกทั้งหมดหรือประมาณ 361 ล้านตารางกิโลเมตรนั้นเป็นมหาสมุทร ค่าความเค็มเฉลี่ยของมหาสมุทรในโลกนั้นอยู่ที่ประมาณ 35 ของเกลือหนึ่งกรัมต่อน้ำทะเลหนึ่งกิโลกรัม (ร้อยละ 3.5).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และอุทกภาค · ดูเพิ่มเติม »

อุณหพลศาสตร์

แผนภาพระบบอุณหพลศาสตร์ทั่วไป แสดงพลังงานขาเข้าจากแหล่งความร้อน (หม้อน้ำ) ทางด้านซ้าย และพลังงานขาออกไปยังฮีทซิงค์ (คอนเดนเซอร์) ทางด้านขวา ในกรณีนี้มีงานเกิดขึ้นจากการทำงานของกระบอกสูบ อุณหพลศาสตร์ (/อุน-หะ-พะ-ละ-สาด/ หรือ /อุน-หะ-พน-ละ-สาด/) หรือ เทอร์โมไดนามิกส์ (Thermodynamics; มาจากภาษากรีก thermos.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และอุณหพลศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อุปราคา

right อุปราคา คือ ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ เกิดขึ้นเมื่อวัตถุท้องฟ้าหนึ่ง เช่น ดาวเคราะห์หรือดาวบริวารมาอยู่ระหว่างต้นกำเนิดแสง (เช่น ดวงอาทิตย์) กับอีกวัตถุหนึ่ง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และอุปราคา · ดูเพิ่มเติม »

องศา (มุม)

องศา (degree) หรือในชื่อเต็มคือ ดีกรีของส่วนโค้ง (degree of arc, arcdegree) คือหน่วยวัดมุมชนิดหนึ่งบนระนาบสองมิติ หนึ่งองศา แทนการกวาดมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมไปได้ 1 ส่วนใน 360 ส่วน และเมื่อมุมนั้นอ้างอิงกับเส้นเมอริเดียน องศาจะแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งต่างๆ บนวงกลมใหญ่ของทรงกลม อย่างที่มีการใช้อ้างอิงตำแหน่งบนโลก ดาวอังคาร หรือทรงกลมท้องฟ้า เป็นต้น สัญลักษณ์วงกลมเล็ก ° ใช้แทนหน่วยองศาในการเขียน และเป็นหน่วยเดียวที่ไม่ต้องเว้นวรรคระหว่างตัวเลขกับสัญลักษณ์ เช่น 15° แทนมุมขนาด 15 อง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และองศา (มุม) · ดูเพิ่มเติม »

องศาเซลเซียส

องศาเซลเซียส (สัญลักษณ์ °C) หรือที่เคยเรียกว่า องศาเซนติเกรด (degree centigrade) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหน่วยหนึ่งในระบบเอสไอ กำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 °C และจุดเดือดคือ 100 °C โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้ซึ่งสร้างระบบใกล้เคียงกับปัจจุบัน ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน จะยกเว้นก็มีสหรัฐอเมริกาและประเทศจาไมกาเท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่ในประเทศดังกล่าว องศาเซลเซียสและเคลวินก็ใช้มากในด้านวิทยาศาสตร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และองศาเซลเซียส · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก

ตราสัญลักษณ์ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization; ย่อ WMO) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลซึ่งมีรัฐและดินแดนสมาชิกจำนวนหนึ่งร้อยเก้าสิบเอ็ดราย จัดตั้งขึ้นเป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติเมื่อ..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก · ดูเพิ่มเติม »

จันทรุปราคา

ันทรุปราคาเต็มดวง 15 เมษายน 2557 จันทรุปราคา (ชื่ออื่น เช่น จันทรคาธ, จันทรคราส, ราหูอมจันทร์ หรือ กบกินเดือน; lunar eclipse) เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์ผ่านหลังโลก ซึ่งเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์เรียงตรงกันพอดีหรือใกล้เคียงมาก โดยมีโลกอยู่กลาง ชนิดและระยะของอุปราคาขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงจันทร์เทียบกับปมวงโคจร (orbital node) จันทรุปราคาสามารถดูได้จากทุกที่ในฝั่งกลางคืนของโลก ซึ่งต่างกับสุริยุปราคาซึ่งมองเห็นได้จากพื้นที่ค่อนข้างเล็กของโลก จันทรุปราคากินเวลาเป็นชั่วโมง ขณะที่สุริยุปราคาเต็มดวงกินเวลาเพียงไม่กี่นาทีในที่หนึ่ง ๆ เนื่องจากเงาของดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่า นอกจากนี้ จันทรุปราคายังสามารถดูได้โดยไม่ต้องมีสิ่งป้องกันดวงตาหรือการป้องกันเป็นพิเศษ เพราะมืดกว่าจันทร์เพ็ญ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และจันทรุปราคา · ดูเพิ่มเติม »

จันทร์ดับ

จันทร์ดับ, เดือนดับ หรือ อมาวสี (New moon) เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในทิศทางเดียวกับดวงอาทิตย์เมื่อมองจากโลก ดวงจันทร์จึงหันด้านมืดเข้าหาโลก ทำให้ไม่เห็นดวงจันทร์ มักเกิดในวันแรม 14 ค่ำ หรือแรม 15 ค่ำ (บางครั้งเกิดในข้างขึ้นอ่อน ๆ เพราะปฏิทินจันทรคติคลาดเคลื่อนจากดวงจันทร์จริงบนท้องฟ้า) หมวดหมู่:ดาราศาสตร์.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และจันทร์ดับ · ดูเพิ่มเติม »

จันทร์เพ็ญ

นอวกาศกาลิเลโลถ่ายภาพดวงจันทร์หลายภาพแล้วนำมาประกอบเป็นภาพเดียว เมื่อ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2535 โดยเดินทางไปเพื่อสำรวจระบบดาวพฤหัส ระหว่าง พ.ศ. 2538 - 2540 สีในภาพถูกปรับแต่งเพราะกล้อง CCD นั้นไวต่อความยาวคลื่นใกล้อินฟราเรด ที่สายตาของมนุษย์มองไม่เห็น จันทร์เพ็ญ หรือ วันเพ็ญ (Full moon) คือวันที่พระจันทร์เต็มดวง ตามปฏิทินจันทรคติไทย นับเป็นวัน "ขึ้น 15 ค่ำ" (หรือ วัน 15 ค่ำ ตามปฏิทินจันทรคติจีน) อันเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งด้านตรงข้ามของโลก เมื่อพิจารณาจากตำแหน่งดวงอาทิตย์ ในโอกาสนี้ดวงจันทร์ที่เห็นจากพื้นผิวของโลกจะดูสว่างเต็มดวง เพราะรับแสงโดยตรงจากดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม ภาพดวงจันทร์ที่เราเห็นเต็มดวงนั้น เป็นเพียงครึ่งหนึ่งของพื้นผิวทั้งหมดของดวงจันทร์ที่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิต.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และจันทร์เพ็ญ · ดูเพิ่มเติม »

จุลินทรีย์

จุลินทรีย์ ''E coli'' ขนาด 10,000 เท่า จุลินทรีย์, จุลชีพ, จุลชีวัน หรือ จุลชีวิน (microorganism) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ แบคทีเรีย อาร์เคีย รา และ ยีสต์ เป็นต้น เราสามารถพบจุลินทรีย์ได้ทุกสภาวะแวดล้อม แม้แต่ในสภาวะแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ไม่ได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดสามารถปรับตัวอาศัยอยู่ได้ เช่น ในน้ำพุร้อนบริเวณภูเขาไฟใต้ทะเลลึก หรือภูเขาไฟธรรมดา ใต้มหาสมุทรที่มีความกดดันของน้ำสูงๆ ในน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิเย็นจัด บริเวณที่มีสภาพความเป็นกรดด่างสูง หรือแม้กระทั่งในบริเวณที่ไม่มีออกซิเจนส่วนใหญ่หมายถึงสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หรือหลายๆเซลล์ (เช่น เชื้อรา) หมวดหมู่:ชีววิทยา.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และจุลินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

จุดร้อน

การแสดงให้เห็นภาพตัดขวางของชั้นธรณีฐาน(สีเหลือง)เมื่อมีแมกม่าขึ้นมาจากชั้นเนื้อโลก จุดร้อน (Hotspot) ในทางธรณีวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นผิวโลกที่คาดว่าอยู่ห่างจากขอบเขตการแปรสัณฐานของเปลือกโลก และเป็นปรากฏการณ์ทางภูเขาไฟอย่างหนึ่งซึ่งเกิดเนื่องมาจาก Mantle plume.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และจุดร้อน · ดูเพิ่มเติม »

จุดปลายระยะทางวงโคจร

ปลายระยะทางวงโคจร ในทางดาราศาสตร์ จุดปลายระยะทางวงโคจร (apsis) หมายถึง จุดในวงโคจรของวัตถุที่อยู่ใกล้ที่สุดหรือไกลที่สุดจากจุดศูนย์กลางมวลที่มันโคจรรอบ จุดที่เคลื่อนเข้าไปใกล้จุดศูนย์กลางมวลมากที่สุด เรียกว่า จุดใกล้ที่สุด (periapsis หรือ pericentre) จุดที่เคลื่อนออกไปไกลที่สุดเรียกว่า จุดไกลที่สุด (apoapsis, apocentre หรือ apapsis) เส้นตรงที่ลากจากจุดใกล้ที่สุดไปยังจุดไกลที่สุด เรียกว่า line of apsides ซึ่งก็คือแกนเอกของวงรี หรือเส้นที่ยาวที่สุดภายในวงรีนั่นเอง นอกจากนี้มีคำศัพท์เฉพาะอื่นๆ ที่ใช้เรียกจุดใกล้ที่สุดหรือจุดไกลที่สุดในการโคจรรอบเทหวัตถุบางชนิด จุดใกล้ที่สุดและจุดไกลที่สุดในการโคจรรอบโลก เรียกว่า perigee และ apogee ตามลำดับ จุดใกล้ที่สุดและจุดไกลที่สุดในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ เรียกว่า perihelion และ aphelion ตามลำดั.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และจุดปลายระยะทางวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

จีออยด์

ีออยด์ (geoid) คือ ผิวสมศักย์ ซึ่งโดยประมาณแล้วเป็นผิวที่ทับกันสนิทกับผิวเฉลี่ยของมหาสมุทร และมักจะใช้ในการแทนสัณฐานของโลก เกาส์ ได้กล่าวว่า จีออยด์นี้คือ "รูปทรงทางคณิตศาสตร์ของโลก" ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือรูปทรงของสนามแรงดึงดูดของโลกนั่นเอง ผิวสมศักย์นี้ โดยเฉลี่ยแล้วจะทับกันสนิทได้กับระดับน้ำทะเลปานกลาง ผิวจีออยด์ โดยปกติแล้วจะมีรูปร่างที่ ไม่สม่ำเสมอเท่ากับ รูปทรงรีโดยทั่วไปที่ใช้ประมาณรูปทรงของโลก แต่จะมีความสม่ำเสมอมากกว่าผิวจริงๆ ของโลก ในขณะที่ผิวจริงๆ ของโลกนั้นมีความเบี่ยงเบนอยู่ระหว่าง +8,000 เมตร (ยอดเขาเอเวอเรสต์) และ −11,000 เมตร (ท้องใต้ทะเลมารีอานา) ผิวจีออยด์จะเบี่ยงเบนจากผิวทรงรีอ้างอิงเพียง ±100 เมตร เนื่องจากแนวแรงโน้มถ่วงของโลก ตั้งฉากกับผิวจีออยด์ (ซึ่งเป็นผิวสมศักย์) ทุกๆ ที่ ดังนั้นผิวน้ำทะเลตามธรรมชาติจะมีผิวหน้าเป็นไปตามจีออยด์ หากไม่ถูกปิดกั้น หรือล้อมด้วยพื้นดิน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริง อย่างไรก็ตามนักวิชาการทางสัณฐานของโลก ได้ใช้เทคนิคในปรับระดับผิวหน้าให้ตรง สร้างผิวในจินตนาการเพื่อใช้ในการหาระดับความสูงของพื้นผิวทวีป ในการเดินทางทางทะเล เราจะไม่สังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงระดับของจีออยด์ ซึ่งในบริเวณเฉพาะที่นั้นจะขนานกับแนวขอบฟ้า และ ตั้งฉากกับแนวดิ่งเสมอ แต่ระดับความสูงที่แสดงในตัวรับ GPS จะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงความสูง โดยเทียบกับทรงรีอ้างอิง ที่มีจุดศูนย์กลางวงโคจรของดาวเทียม GPS เป็นจุดศูนย์กลาง ซึ่งก็คือจุดเดียวกับจุดศูนย์กลางมวลของโลก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และจีออยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีฟิสิกส์

ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของธรณีวิทยา ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ทางธรณีวิทยา โดยใช้วิธีการทางกายภาพฟิสิกส์ ได้แก่ การศึกษาสมบัติและกระบวนการทางธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องกับภาคพื้นดิน อุทกภาค (hydrosphere) บรรยากาศ และความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังมีความหมายถึงการใช้เครื่องมือเพื่อศึกษาดวงจันทร์และดาวเคราะห์ด้วย ประเด็นปัญหาทางธรณีฟิสิกส์ยังคาบเกี่ยวกับเรื่องของทางดาราศาสตร์ด้วย เนื่องจากการศึกษานั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากการสังเกตโดยตรง ต้องอาศัยการแปลความเชิงคณิตศาสตร์ จากการวัดเชิงกายภาพ เช่น การวัดสนามแรงโน้มถ่วงทั้งบนบกและในทะเล และดาวเทียมในอวกาศ การวัดสภาพแม่เหล็กของสนามแม่เหล็กบนดาวเคราะห์ และการสำรวจด้านวิทยาแผ่นดินไหว ของโครงสร้างทางธรณีวิทยา โดยอาศัยคลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหว หรือวิธีการอื่นๆ ธรณีฟิสิกส์ยังแตกสาขาเป็นศาสตร์แขนงต่างๆ ได้แก่ วิทยาแผ่นดินไหว (seiesmology) ธรณีฟิสิกส์แปรสัณฐาน (tectonophysics) และธรณีฟิสิกส์เชิงวิศวกรรม (engineering geophysics) ธธรณีฟิสิกส์.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และธรณีฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีกาล

รณีกาล (Geologic Time) ตามความหมายทางธรณีวิทยานั้น เป็นชื่อเรียกของระยะช่วงเวลา ซึ่งได้แบ่งลงมาเป็น บรมยุค (Eon) มหายุค (Era) ยุค (Period) สมัย (Epoch) และช่วงอายุ (Age) ตามลำดับ มาตราเวลาทางธรณีวิทยา ใช้โดยนักธรณีวิทยา หรือนักวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เพื่ออธิบายเวลาที่จุดต่างๆ และอธิบายความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตของประวัติของโลก ตัวอย่างของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดมาตราเวลาทางธรณีวิทยา มี International Commission on Stratigraphy กำหนดชื่อของเวลาและคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง (stratigraphy เป็นการศึกษาธรณีวิทยาในเรื่องชั้นต่างๆของโลก เช่นเปลือกโลก/ผิวโลกและชั้นอื่นๆใต้ผิวโลกลงไป), US Geological Survey กำหนดสีมาตรฐานของเวลาทางธรณีวิทยาที่ห้วงเวลาต่างๆ จากวิธีการหาเวลาในอดีตโดยการวัดการสลายของกัมมันตภาพรังสี (radiometric dating) พบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และธรณีกาล · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีภาค

รณีภาค (lithosphere; มีรากศัพท์จากภาษากรีก "λίθος " แปลว่า "หิน" และ "sphere" แปลว่า "โลก") เป็นชั้นหินแข็ง ที่อยู่ส่วนนอกสุดของโลก ซึ่งรวมตั้งแต่ชั้นหินหนืดตอนบนและชั้นเปลือกโลก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และธรณีภาค · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีสัณฐาน

รณีสัณฐาน หมายถึง แบบรูป หรือลักษณะของเปลือกโลก ที่มีรูปพรรณสัณฐานต่างๆ กัน เช่น เป็นภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบ และอื่นๆ การศึกษาเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศเรียกว่า ธรณีสัณฐานวิทยาส่วนผู้ที่ทำหน้าที่ในการศึกษาธรณีสัณฐาน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้เรียกว่า นักธรณีวิท.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และธรณีสัณฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ธารน้ำแข็ง

right right ธารน้ำแข็ง Baltoro ในเทือกเขาการาโกรัม, ในบอลติสตัน (Baltistan), ทางภาคเหนือของปากีสถาน ที่ความยาว 62 กิโลเมตร (39 ไมล์) มันเป็นหนึ่งในธารน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์ที่ยาวที่สุดในโลก ธารน้ำแข็ง (glacier) ธารน้ำแข็งเกิดจากการที่หิมะตกลงมาแล้วสะสมกันจนหนา 45-60 เมตร แล้วเกิดการเคลื่อนตัวลงมาอย่างช้า ๆ ซึ่งมักจะเกิดบริเวณที่ลาดชันหรือตามไหล่เขา การเคลื่อนตัวลงมาตามไหล่เขาอย่างช้า ๆ ทำให้เกิดการสึกกร่อนลึกลงไปเพราะความหนักของหิมะที่สะสมกันจนเป็นน้ำแข็ง ธารน้ำแข็งที่เคลื่อนตัวไปในหุบเขาจะทำให้พื้นดินที่รองรับเกิดร่องลึกและกว้างเพราะมีน้ำหนักของน้ำแข็งกดทับ ธารน้ำแข็งจะค่อย ๆ ครูดบริเวณที่รองรับจนเกิดหุบเขาตัดขวางรูปตัวยู เมื่อธารน้ำแข็งไหลไปถึงตอนล่างธารน้ำแข็งก็จะค่อย ๆ แตกออกแล้วก็จะค่อย ๆ ละลายกลายเป็นลำธาร ธารน้ำแข็งที่ถูกตัดขาดและแตกออกไหลลงทะเลเรียกว่าภูเขาน้ำแข็ง สีของธารน้ำแข็งมักจะมีสีเขียวแกมม่วง หรือ แกมน้ำเงิน รูปร่างของธารน้ำแข็งบนบกมักจะยกตัวสูงและมีความแตกต่างจากน้ำแข็งในทะเล (sea ice) ที่มีขนาดบางมากและน้ำแข็งในทะเลสาบซึ่งรูปทรงของมันจะอยู่บนพื้นผิวของแผ่นน้ำ บนโลก 99% ของเกล็ดน้ำแข็งจะอยู่ภายในแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ในบริเวณดินแดนขั้วโลก, แต่ธารน้ำแข็งอาจจะพบได้ในแถบเทือกเขาของทุก ๆ ทวีป, และในไม่กี่ละติจูดสูงของเกาะในมหาสมุทร ระหว่าง 35 องศาเหนือ และ 35 องศาใต้, ธารน้ำแข็งเกิดขึ้นเฉพาะในเทือกเขาหิมาลัย, เทือกเขาแอนดีส, ภูเขาสูงไม่กี่ลูกในแอฟริกาตะวันออก, เม็กซิโก, นิวกินี และซาร์ด คู (Zard Kuh) ในอิหร่าน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และธารน้ำแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุ

ในทางเคมี ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานเลขอะตอม อันเป็นจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น ตัวอย่างธาตุที่คุ้นเคยกัน เช่น คาร์บอน ออกซิเจน อะลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง ทองคำ ปรอทและตะกั่ว จนถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ถ่านหิน

นหิน ถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิดหนึ่งที่เกิดจากการตกตะกอนสะสมของซากพืชในยุคดึกดำบรรพ์เป็นเวลายาวนานหลายล้านปี จนตะกอนนั้นได้เปลี่ยนสภาพไปและมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นธาตุคาร์บอน โดยมีธาตุอื่นๆทั้งที่เป็นก๊าซและของเหลวปนอยู่ด้วยในสัดส่วนที่น้อยกว่าและเป็นแร่เชื้อเพลิงสามารถติดไฟได้ มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ มีทั้งชนิดผิวมันและผิวด้าน น้ำหนักเบา ถ่านหินประกอบด้วยธาตุที่สำคัญ 4 อย่างได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และออกซิเจน นอกจากนั้น มีธาตุหรือสารอื่น เช่น กำมะถัน เจือปนเล็กน้อย ถ่านหินที่มีจำนวนคาร์บอนสูงและมีธาตุอื่น ๆ ต่ำ เมื่อนำมาเผาจะให้ความร้อนมาก ถือว่าเป็นถ่านหินคุณภาพดี.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และถ่านหิน · ดูเพิ่มเติม »

ทรอปิกออฟแคนเซอร์

แผนที่โลกแสดงทรอปิกออฟแคนเซอร์ ทรอปิกออฟแคนเซอร์ (Tropic of Cancer) หรือเรียก ทรอปิกเหนือ เป็นวงกลมละติจูดเหนือสุดบนโลกที่ดวงอาทิตย์ปรากฏหัวศีรษะโดยตรงเมื่อถึงจุดสูงสุด เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นปีละครั้ง คือ เวลาอายันเหนือ (Northern solstice) เมื่อซีกโลกเหนือเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ถึงขนาดมากที่สุด วันที่ เส้นนี้อยู่ที่ เหนือเส้นศูนย์สูตร ส่วนในซีกโลกใต้ เส้นที่กำหนดตำแหน่งใต้สุดที่ดวงอาทิตย์อาจปรากฏเหนือศีรษะโดยตรง คือ ทรอปิกออฟแคปริคอร์น สองทรอปิกนี้เป็นการวัดองศาใหญ่หรือวงกลมละติจูดใหญ่สองจากห้าอย่างซึ่งทำเครื่องหมายแผนที่โลก นอกเหนือจากวงกลมอาร์กติกและแอนตาร์กติกและเส้นศูนย์สูตร ตำแหน่งของวงกลมละติจูดเหล่านี้ (สัมพันธ์กับเส้นศูนย์สูตร) กำหนดโดยความเอียงของแกนหมุนโลกเทียบกับระนาบวงโคจรของโลก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และทรอปิกออฟแคนเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทรัพยากรสิ้นเปลือง

ทรัพยากรสิ้นเปลือง (Nonrenewable resources) คือ ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป ธรรมชาติไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนของเก่าที่หมดไปเองได้ เช่น ป่าไม้ น้ำมัน สัตว์ป่า เป็นต้น หมวดหมู่:การอนุรักษ์ หมวดหมู่:ธรรมชาติ no:Ikke-fornybare ressurser.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และทรัพยากรสิ้นเปลือง · ดูเพิ่มเติม »

ทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติ เกิดขึ้นตามธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างปลอดการรบกวนจากมนุษย์ ในรูปแบบของธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติมักมีลักษณะของปริมาณความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายของภูมิประเทศในหลายระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติมาจากสิ่งแวดล้อม บางทรัพยากรสำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์ ขณะที่ส่วนใหญ่ถูกใช้เพื่อตอบสนองความต้องการ ทรัพยากรธรรมชาติยังอาจจำแนกต่อไปได้อีกหลายวิธีเช่นการทำสิ่งต่างๆที่เป็นประโยช ทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัสดุและองค์ประกอบที่สามารถพบได้ในสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ทุกอย่างที่มนุษย์ทำขึ้นประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติ (ในระดับมูลฐาน) ทรัพยากรธรรมชาติอาจมีเป็นสิ่งแยกกัน เช่น น้ำและอากาศบริสุทธิ์ เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอย่างปลา หรืออาจมีอยู่ในรูปผลัด (alternative) ที่ต้องผ่านขบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากร เช่น แร่โลหะ น้ำมันและพลังงานรูปส่วนใหญ่ มีการถกเถียงอย่างมากทั่วโลกในเรื่องการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งบางส่วนเป็นเพราะความขาดแคลนที่เพิ่มขึ้น (การหมดไปของทรัพยากร) แต่ยังเนื่องจากการส่งออกทรัพยากรธรรมชาติเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจหลายประเทศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศพัฒนาแล้ว) บางทรัพยากรธรรมชาติสามารถพบได้ทุกหนแห่ง เช่น แสงอาทิตย์และอากาศ อย่างไรก็ดี ทรัพยากรส่วนมากมิได้พบทั่วไป เพียงเกิดขึ้นในพื้นที่เล็ก ๆ กระจัดกระจายกัน ทรัพยากรกลุ่มนี้เรียกว่า ทรัพยากรท้องถิ่น มีทรัพยากรน้อยชนิดมากที่ถูกพิจารณาว่าใช้แล้วไม่หมด (inexhaustible) คือ จะไม่หมดไปในอนาคตอันใกล้ ทรัพยากรกลุ่มนี้ ได้แก่ รังสีดวงอาทิตย์ พลังงานความร้อนใต้พิภพ และอากาศ (แม้การเข้าถึงอากาศที่สะอาดอาจหมดไปได้) อย่างไรก็ดี ทรัพยากรส่วนใหญ่เป็นประเภทที่ใช้แล้วหมดไป (exhaustible) หมายความว่า มีปริมาณจำกัด และหมดไปได้หากจัดการอย่างไม่เหมาะสม ทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัสดุ ซึ่งสิ่งมีชีวิตสามารถได้รับจากธรรมชาติเพื่อดำรงชีพหรือองค์ประกอบอื่นของสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์ได้เพื่อเพิ่มสวัสดิการของตนก็ถูกพิจารณาว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติเช่นกัน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และทรัพยากรธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ทรงกลมฟ้า

ในทางดาราศาสตร์และการเดินเรือ ทรงกลมฟ้า (Celestial sphere) คือ ทรงกลมจินตภาพขนาดมหึมา หมุนรอบตัวเองโดยมีแกนหมุนและศูนย์กลางร่วมกันกับโลก คนยุคโบราณเชื่อกันว่าดาวฤกษ์ทุกดวงในท้องฟ้าอยู่ห่างจากโลกด้วยระยะทางเท่าๆ กัน และเป็นแบบจำลองที่ถูกต้องของเอกภพ แต่ในความเป็นจริง วัตถุท้องฟ้าต่างๆ อยู่ห่างจากโลกมากจนไม่สามารถคะเนระยะห่างที่แท้จริงได้ด้วยตาเปล่า บอกได้เพียงทิศทางที่ปรากฏเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แบบจำลองทรงกลมฟ้าเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์สำหรับวิชาวัดตำแหน่งดาว เราสามารถระบุตำแหน่งและทิศทางการปรากฏของวัตถุท้องฟ้าต่างๆ ได้ด้วยระบบพิกัดฟ้า ทรงกลมฟ้าสามารถแบ่งออกเป็นซีกฟ้าเหนือและซีกฟ้าใต้โดยมีเส้นศูนย์สูตรคั่นกลาง ขณะที่โลกหมุนรอบแกนหมุน วัตถุในทรงกลมฟ้าจะปรากฏเคลื่อนที่หมุนไปรอบขั้วฟ้าด้วยคาบ 24 ชั่วโมง เรียกว่าการเคลื่อนที่ประจำวัน ขณะที่โลกหมุนจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก ทรงกลมฟ้าจะหมุนจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่างก็ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก หมวดหมู่:ดาราศาสตร์ หมวดหมู่:ระบบพิกัดทรงกลมฟ้า.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และทรงกลมฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ทรงคล้ายทรงกลม

ทรงคล้ายทรงกลม หรือ สเฟียรอยด์ (spheroid) ในทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ผิวกำลังสอง ใน 3 มิติ ที่ได้จากการหมุนวงรีรอบแกนมุขสำคัญ หากรูปวงรีนั้นหมุนรอบแกนเอก ผิวที่ได้เรียกว่า ทรงคล้ายทรงกลมแบนข้าง (prolate spheroid) ซึ่งมีรูปคล้ายลูกรักบี้ หรือ เมล็ดข้าว หากรูปวงรีนั้นหมุนรอบแกนโท ผิวที่ได้เรียกว่า ทรงคล้ายทรงกลมแบนขั้ว (oblate spheroid) ซึ่งมีรูปเหมือนลูกโลก ทรงคล้ายทรงกลม คือ ทรงรีที่มีแกน(ในภาษาอังกฤษเรียก semi-axis เพื่อแสดงความแตกต่างจาก axis ซึ่งหมายถึงแกน)ของรูปสองแกนยาวเท่ากัน ดังแสดงในสมการ ทรงคล้ายทรงกลมแบนข้าง มี แกนโทสองแกน สั้นกว่า แกนเอกหนึ่งแกน (b.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และทรงคล้ายทรงกลม · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอนตาร์กติกา

วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และทวีปแอนตาร์กติกา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทอร์

ทอร์ ในเทพปกรณัมนอร์ส ธอร์ (Thor, จากภาษานอร์สโบราณ Þórr) เป็นเทพถือค้อนซึ่งเกี่ยวข้องกับสายฟ้า ฟ้าร้อง พายุ ต้นโอ๊ก พละกำลัง การคุ้มครองมนุษยชาติ และตลอดจนการทำให้ศักดิ์สิทธิ์ การรักษาและความอุดมสมบูรณ์ เทพที่มาจากกำเนิดเดียวกันในเทพปกรณัมเยอรมันและเพเกินที่กว้างกว่า เป็นที่รูจักกันในภาษาอังกฤษเก่าว่า Þunor และภาษาเยอรมันโบราณเขตเหนือว่า Donar (อักษรรูน þonar ᚦᛟᚾᚨᚱ) ซึ่งกำเนิดจากภาษาโปรโตเยอรมัน *Þunraz (หมายถึง "สายฟ้า") ธอร์เป็นเทพที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างสำคัญตลอดประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกของชาวเยอรมัน จากการยึดครองดินแดนเยอรมาเนียของโรมัน ไปจนถึงการขยายชนเผ่าในสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน ไปจนถึงการได้รับความนิยมอย่างสูงในยุคไวกิ้ง เมื่อ ในการเผชิญกับกระบวนการเผยแผ่ศาสนาคริสต์เข้าไปในสแกนดิเนเวีย สัญลักษณ์ค้อนมจอลนีร์ (Mjölnir) ของพระองค์ ถูกสวมใส่เป็นการท้าทายและชื่อตัวของนอร์สเพเกินซึ่งมีชื่อของเทพเจ้าเป็นพยานต่อความนิยมของเขา เมื่อย่างเข้าสู่สมัยใหม่ ธอร์ยังได้การยอมรับต่อไปในตำนานพื้นบ้านชนบททั่วภูมิภาคเยอรมนี ธอร์มักอ้างถึงบ่อยครั้งในชื่อสถานที่ ในวันประจำสัปดาห์ วันพฤหัสบดี (Thursday ("วันของธอร์") ปรากฏนามของพระองค์ และชื่อซึ่งมาจากยุคเพเกินที่มีนามพระองค์นั้นยังมีใช้กันอยู่จวบจนปัจจุบัน ตลอดจนยังเป็นที่มาของคำว่า "ฟ้าร้อง" หรือ "ฟ้าผ่า" ในภาษาอังกฤษ (Thunder) อีกด้วย นอกจากนี้แล้วนักวิชาการชาวอังกฤษผู้หนึ่งยังเชื่อว่า ค้อนมจอลนีร์ที่มีลักษณะขว้างไปแล้วสามารถวนกลับมาสู่มือของทอร์ได้เหมือนบูมเมอแรง เป็นที่มาของสัญลักษณ์สวัสดิกะ ที่แพร่หลายต่อมาในอารยธรรมของชาวอารยันอีกด้วย ธอร์เป็นหนึ่งในสิบสองสำคัญของเทพเจ้าสแกนดิเนเวีย เป็นเทพแห่งสายฟ้า ทอร์เป็นบุตรของเทพเจ้าโอดิน และจอร์ดน่ง (Fjörgyn) ยักษ์แห่งแผ่นดินหน้า 3, เทพสายฟ้า ผู้พิชิต. "ชักธงรบ" โดย กิเลน ประลองเชิง. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21303: วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทอร์นาโด

ทอร์นาโดที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ทอร์นาโด หรือ ทอร์เนโด (tornado) หรือ ลมงวง (ช้าง) เป็นพายุที่เกิดจากการหมุนของอากาศ สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ โดยลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุดคือลักษณะรูปทรงกรวย โดยส่วนปลายโคนชี้ลงที่พื้น ทอร์นาโดสามารถก่อพลังทำลายได้สูง โดยความเร็วลมสามารถสูงมากถึง 500 กม/ชม (300 ไมล์/ชม) ซึ่งก่อให้เกิดการพังทลายของสิ่งก่อสร้างได้ ถึงแม้ว่าทอร์นาโดส่วนใหญ่เกิดในสหรัฐอเมริกา ทอร์นาโดยังสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกทวีปและในหลายประเทศ อาทิเช่น ประเทศญี่ปุ่นมีการเกิดประมาณปีละ 20 ครั้ง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และทอร์นาโด · ดูเพิ่มเติม »

ทอเรียม

ทอเรียม (Thorium) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 90 และสัญลักษณ์คือ Th เป็นธาตุโลหะกัมมันตภาพรังสีที่พบในธรรมชาติเมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะสีเงินวาวอ่อนนุ่ม เมื่อสัมผัสกับอากาศจะหมองเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำเพราะเกิดอ๊อกไซด์ คือ ทอเรียมอ๊อกไซด์ (Thorium oxide (ThO2))หรือทอเรีย(thoria)เป็นอ๊อกไซด์ที่มีจุดเดือดสูงที่สุด(3300 °C) เมื่อถูกทำให้ร้อนในอากาศโลหะทอเรียมจะติดไฟได้เองเกิดเป็นแสงจ้าสีขาว มีอัตราการแผ่รังสีมากกว่ายูเรเนียม มักใช้ในการทำปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หมวดหมู่:วัสดุนิวเคลียร์ หมวดหมู่:ธาตุเคมี หมวดหมู่:วัสดุศาสตร์ หมวดหมู่:สารก่อมะเร็ง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และทอเรียม · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบ

ทะเลสาบกลางสวนเบญจกิตติ ขนาด 200x800 เมตร เมืองชิคาโก และทะเลสาบมิชิแกน 1 ในทะเลสาบทั้ง 5 ทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา ทะเลสาบ หรือ บึง เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่ล้อมรอบด้วยผืนดิน โดยทั่วไปทะเลสาบจะไม่มีทางไหลออกสู่ทะเล และมีน้ำจืด เรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำจืด" แต่ทะเลสาบบางแห่งอาจไหลออกสู่ทะเลได้ และมีน้ำเค็ม จึงเรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำเค็ม" คำว่า "ทะเลสาบ" ยังครอบคลุมถึงแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ทะเลสาบขนาดเล็กในสนามกอล์ฟ หรือ ทะเลสาบขนาดเล็กในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ หรือ แอ่งเก็บน้ำเหนือเขื่อน และ อ่างเก็บน้ำ ซึ่งนับเป็นทะเลสาบขนาดใหญ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และทะเลสาบ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลทรายโมฮาวี

right ทะเลทรายโมฮาวี (Mojave Desert) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา ทางใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนียด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครลอสแอนเจลิส มีเนื้อที่ประมาณ 39,000 ตารางกิโลเมตร ทะเลทรายโมฮาวีมีภูเขาล้อมรอบโดยทิศเหนือและทิศตะวันตกเป็นเทือกเขาเซียร์ราเนวาดา ทิศตะวันออกเฉียงใต้เชื่อมต่อกับทะเลทรายโคโลราโด พื้นทะเลทรายเป็นหินชั้นอุดมได้ด้วยแร่ธาตุต่างๆ มีฝนตกเพียงปีละ 115 มิลลิเมตร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และทะเลทรายโมฮาวี · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเดดซี

ทะเลเดดซีมุมมองจากฝั่งอิสราเอลมองข้ามไปยังจอร์แดน นักท่องเที่ยวสามารถลอยตัวในทะเลเดดซีเนื่องจากความเข้มข้นของเกลือสูง ทะเลเดดซี หรือ ทะเลมรณะ (Dead Sea; البَحْر المَيّت‎, อัลบะฮฺรุ อัลมัยยิต; יָם הַ‏‏מֶ‏ּ‏לַ‏ח‎, ยัม ฮาเมลาห์ (ทะเลเกลือ)) เป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่มีความเข้มข้นของเกลือสูงมาก อยู่ตรงเขตแดนประเทศจอร์แดน รัฐปาเลสไตน์ และอิสราเอล ระดับน้ำอยู่ต่ำที่สุด ทะเลเดดซีอยู่ระหว่างเทือกเขายูเดียที่ด้านเหนือ และที่ราบสูงทรานสจอร์แดนที่ด้านตะวันออก แม่น้ำจอร์แดนจะไหลจากทางเหนือมายังทะเลเดดซีนี้ ซึ่งมีความยาว 80 กิโลเมตร และมีความกว้างถึง 18 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่นั้น 1,020 ตารางกิโลเมตร แหลมอัลลิซาน (แปลว่า ลิ้น) แบ่งทะเลสาบด้านตะวันออกเป็นสองส่วน ตอนเหนือใหญ่กว่า ล้อมรอบพื้นที่ 3/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนความลึกนั้นประมาณ 400 เมตร แอ่งตอนเหนือนั้นเล็ก และตื้น (ลึกประมาณ 3 เมตร) ในสมัยที่เขียนคัมภีร์ไบเบิล จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 พื้นที่บริเวณตอนเหนือเท่านั้นที่มีผู้อยู่อาศัย และระดับน้ำต่ำกว่าในปัจจุบัน 35 เมตร คนชาวอาหรับจะเรียกทะเลสาบเดดซีกันว่า "อัลบาห์รัลไมยิต” หมายความว่า ทะเลมรณะ เช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ ขณะที่ภาษาฮีบรูเรียกทะเลสาบนี้ว่า "ยัมฮาเมละฮ์" ซึ่งหมายความว่า "ทะเลเกลือ" เป็นทะเลที่เค็มที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เค็มกว่าทะเลอื่นถึง 4 เท่า มีความยาว 76 กิโลเมตร กว้างถึง 18 กิโลเมตร มีจุดที่ลึกที่สุดคือ 400 เมตร และอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 417.5 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นพื้นที่ ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลมากที่สุดในโลกอีกแห่งด้วย สำหรับทะเลสาบเดดซี เป็นจุดหมายปลายทางของผู้ชื่นชอบในการเดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ เป็นทะเลที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่เลย ยกเว้นแต่แบคทีเรียและเห็ดราบางชน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และทะเลเดดซี · ดูเพิ่มเติม »

ทางช้างเผือก

ทางช้างเผือก คือดาราจักรที่มีระบบสุริยะและโลกของเราอยู่ เมื่อมองบนท้องฟ้าจะปรากฏเป็นแถบขมุกขมัวคล้ายเมฆของแสงสว่างสีขาว ซึ่งเกิดจากดาวฤกษ์จำนวนมากภายในดาราจักรที่มีรูปร่างเป็นแผ่นจาน ส่วนที่สว่างที่สุดของทางช้างเผือกอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู ซึ่งเป็นทิศทางไปสู่ใจกลางดาราจักร แต่เดิมนั้น นักดาราศาสตร์คิดว่าดาราจักรทางช้างเผือกมีลักษณะเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยธรรมดา แต่หลังจากผ่านการประเมินครั้งใหม่ในปี พ.ศ. 2548 พบว่าทางช้างเผือกน่าจะเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานเสียมากกว่า เมื่อเทียบกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า ทางช้างเผือกขึ้นไปเหนือสุดที่กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย และลงไปใต้สุดบริเวณกลุ่มดาวกางเขนใต้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระนาบศูนย์สูตรของโลก ทำมุมเอียงกับระนาบดาราจักรอยู่มาก คนในเมืองใหญ่ไม่มีโอกาสมองเห็นทางช้างเผือกเนื่องจากมลภาวะทางแสงและฝุ่นควันในตัวเมือง แถบชานเมืองและในที่ห่างไกลสามารถมองเห็นทางช้างเผือกได้ แต่บางคนอาจนึกว่าเป็นก้อนเมฆในบรรยากาศ มุมมองของทางช้างเผือกไปทางกลุ่มดาวแมงป่อง (รวมถึงศูกย์กลางดาราจักร) เห็นได้จากการปนเปื้อในนเขตที่ไม่ใช่แสง (ทะเลทรายหินสีดำ, รัฐเนวาด้า, สหรัฐอเมริกา) เมื่อสังเกตเห็นท้องฟ้ายามค่ำคืนคำว่า "ทางช้างเผือก" ถูกจำกัดกลุ่มหมอกของแสงสีขาวบาง 30 องศา ลอยกว้างข้ามท้องฟ้า (แม้ว่าทั้งหมดของดาวที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของดาราจักรทางช้างเผือก) แสงในแถบนี้มาจากดาวที่สลายและวัสดุอื่น ๆ ที่อยู่ภายในระนาบทางช้างเผือก บริเวณมืดภายในวง เช่น ระแหงดี และถุงถ่าน ที่สอดคล้องกับบริเวณที่มีแสงจากดาวไกลถูกบล็อกโดย ฝุ่นละอองระหว่างดวงดาว ดาราจักรทางช้างเผือก มีความสว่างพื้นผิวที่ค่อนข้างต่ำ การมองเห็นของมันสามารถลดน้อยลงโดยแสงพื้นหลังเช่น มลพิษทางแสงหรือแสงเล็ดลอดจากดวงจันทร์ เราสามารถมองเห็นได้อย่างง่ายดายเมื่อมีขนาด จำกัดคือ 5.1 หรือมากกว่า ในขณะที่แสดงการจัดการที่ดีของรายละเอียดที่ 6.1 ซึ่งทำให้ทางช้างเผือกมองเห็นได้ยากจากใด ๆ สถานที่ในเมืองหรือชานเมืองสดใสสว่าง แต่ที่โดดเด่นมากเมื่อมองจากพื้นที่ชนบทเมื่อดวงจันทร์อยู่ใต้เส้นขอบฟ้า ดาราจักรทางช้างเผือกผ่านส่วนในประมาณ 30 กลุ่มดาว ศูนย์กลางของดาราจักรที่อยู่ในทิศทางของกลุ่มดาวคนยิงธนู มันอยู่ที่นี่ว่าทางช้างเผือกเป็นที่สว่างที่สุด จากราศีธนู กลุ่มหมอกแสงสีขาวที่ปรากฏขึ้นจะผ่านไปทางทิศตะวันตกในทางช้างเผือกไปยังไม่ใช้ศูนย์กลางของทางช้างเผือกในกลุ่มดาวสารถี กลุ่มดาวแล้วยังไปทางทิศตะวันตกส่วนที่เหลือของทางรอบท้องฟ้ากลับไปกลุ่มดาวคนยิงธนู ข้อเท็จจริงที่ว่ากลุ่มแบ่งออกท้องฟ้ายามค่ำคืนเป็นสองซีกโลกเท่ากับแสดงให้เห็นว่าระบบสุริยะตั้งอยู่ใกล้กับระนาบทางช้างเผือก ระนาบทางช้างเผือก มีแนวโน้มเอียงประมาณ 60 องศาไปสุริยุปราคา (ระนาบของวงโคจรของโลก) เมื่อเทียบกับเส้นศูนย์สูตร ที่ผ่านเท่าทิศเหนือของกลุ่มดาวค้างคาว และเท่าทิศใต้ของกลุ่มดาวกางเขนใต้ แสดงให้เห็นความโน้มเอียงสูงของระนาบเส้นศูนย์สูตรของโลกและระนาบสัมพันธ์สุริยุปราคากับระนาบทางช้างเผือก ขั้วโลกเหนือทางช้างเผือกที่ตั้งอยู่ที่ขวาขึ้น 12h 49m ลดลง +27.4° (B1950) อยู่ใกล้กับ Beta Comae Berenices และขั้วโลกทางช้างเผือกทิศใต้ที่อยู่ใกล้กับดาวอัลฟา ช่างแกะสลัก เนื่องจากการแนวโน้มเอียงสูง ขึ้นอยู่กับเวลากลางคืนและปี ส่วนโค้งของทางช้างเผือกจะปรากฏค่อนข้างต่ำหรือค่อนข้างสูงในท้องฟ้า สำหรับผู้สังเกตการณ์จากประมาณ 65 องศาเหนือถึง 65 องศาใต้บนพื้นผิวโลกทางช้างเผือกผ่านโดยตรงข้างบนวันละสองครั้ง ตาปลา โมเสกในดาราจักรทางช้างเผือก โค้งที่เอียงสูงทั่วท้องฟ้ายามค่ำคืนที่ถ่ายจากตำแหน่งที่ตั้งท้องฟ้ามืดใน ชิลี.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และทางช้างเผือก · ดูเพิ่มเติม »

ที่ราบก้นสมุทร

แผนภาพตัดตามขวางของแอ่งมหาสมุทร แสดงความสัมพันธ์ระหว่างที่ราบก้นสมุทรกับลาดตีนทวีปและร่องลึกก้นสมุทร ภาพแสดงเขตความลึกก้นสมุทรโดยสัมพันธ์กับเขตทะเลลึกอื่นๆ ที่ราบก้นสมุทร (Abyssal plain) เป็นที่ราบใต้น้ำตรงบริเวณก้นสมุทร โดยทั่วไปจะพบที่ความลึกระหว่าง 3,000 ถึง 6,000 เมตร และอยู่ระหว่างลาดตีนทวีปกับเทือกเขากลางสมุทร มีพื้นที่มากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นผิวโลก มันเป็นพื้นที่ ๆ แบนและราบเรียบที่สุดแต่ได้รับการศึกษาน้อยมาก ที่ราบเหล่านี้เป็นองค์ประกอบทางธรณีวิทยาที่สำคัญของแอ่งมหาสมุทร (องค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ เทือกเขากลางสมุทรที่ยกตัวขึ้น และเขาก้นสมุทรที่ขนาบข้าง) นอกจากองค์ประกอบเหล่านี้แล้ว โดยปกติแอ่งมหาสมุทรมีพลัง (เชื่อมโยงกับรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกที่เคลื่อนไหวอยู่) จะมีร่องลึกก้นสมุทรและเขตมุดตัวของเปลือกโลกรวมอยู่ด้ว.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และที่ราบก้นสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

ขั้วโลก

ั้วโลก (geographical pole หรือ geographic pole) หมายถึงจุดสองจุด—ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้—บนพื้นผิวของดาวเคราะห์หรือวัตถุหมุนอื่น อันเป็นที่ซึ่งแกนหมุนบรรจบกับพื้นผิวของวัตถุนั้น ขั้วโลกเหนือจะทำมุม 90° และอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ในขณะที่ขั้วโลกใต้จะทำมุม 90° และอยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ขั้วโลกอาจมีความเป็นไปได้ที่จะคาดเคลื่อนเล็กน้อยเนื่องจากการหมุนของวัตถุนั้นเอง ขั้วโลกเหนือและใต้ทางกายภาพที่แท้จริงของโลกนั้นจะอาจเปลี่ยนตำแหน่งไปได้ในระยะทางไม่กี่เมตรเมื่อเวลาผ่านไป ปรากฏการณ์ดังกล่าวมีความชัดเจนจากการหมุนควงของวิษุวัติของโลก ซึ่งองศาของดาวเคราะห์ (ทั้งแกนหมุนและพื้นผิวต่างก็เคลื่อนที่ไปพร้อมกัน) อาจเปลี่ยนแปลงตำแหน่งได้อย่างช้า ๆ เมื่อเวลาผ่านไปนับหมื่นปี อย่างไรก็ตาม วิชาการเขียนแผนที่ต้องการพิกัดของขั้วโลกที่เที่ยงตรงและไม่เปลี่ยนตำแหน่ง ขั้วโลกในการแผนที่ (cartographical poles หรือ cartographic poles) จึงเป็นตำแหน่งคงที่บนโลกหรือวัตถุหมุนอื่นที่ตำแหน่งโดยประมาณที่เป็นไปได้ของขั้วโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และขั้วโลก · ดูเพิ่มเติม »

ขั้วโลกใต้

ั้วโลกใต้ (South Pole) เป็นจุดที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และขั้วโลกใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ขนาดเชิงมุม

้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุม การกำหนดเส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุม เส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุม หรือ ขนาดเชิงมุม หรือ ขนาดปรากฏ ของวัตถุที่เห็นจากตำแหน่งที่ให้มาเป็น "เส้นผ่านศูนย์กลางที่มองเห็นได้" ของวัตถุที่วัดเป็นมุม ในทางทัศนวิทยา มันถูกเรียกว่า มุมการมอง เส้นผ่านศูนย์กลางที่มองเห็นได้เป็นเส้นผ่านศูนย์กลางของโปรเจ็กชั่นแบบเปอร์สเปคตีฟของวัตถุบนระนาบผ่านศูนย์กลางของมันที่ตั้งฉากกับทิศทางการมอง เนื่องจากมีลักษณะเป็นภาพลึกบนผนังแบนเรียบ มันจึงค่อนข้างแตกต่างจากเส้นผ่านศูนย์กลางจริงทางฟิสิกส์ของวัตถุที่มองเห็นภายใต้มุม สำหรับวัตถุทรงจานในระยะไกล เส้นผ่านศูนย์กลางที่มองเห็นได้กับเส้นผ่านศูนย์กลางจริงเป็นอย่างเดียวกัน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และขนาดเชิงมุม · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์เที่ยงคืน

วงอาทิตย์เที่ยงคืนที่ประเทศนอร์เวย์ ดวงอาทิตย์เที่ยงคืน คือ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในฤดูร้อนของทวีปยุโรปและบริเวณใกล้เคียง ทางตอนเหนือของเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล และตอนใต้ของเส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล ที่ดวงอาทิตย์ยังคงมองเห็นในเวลาเที่ยงคืน โดยมีโอกาสตามสภาพอากาศ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้สำหรับอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของอาร์กติกเซอร์เคิลและตอนใต้ของแอนตาร์กติกเซอร์เคิล ดวงอาทิตย์เที่ยงคืนที่อาจเกิดขึ้นในจำนวนวันที่ไม่แน่นอน ไม่มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ถาวรทางตอนใต้ของขั้วโลกเหนือ ดังนั้นประเทศและดินแดนที่สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์เที่ยงคืนได้จะจำกัดให้คนข้ามเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล เช่น แคนาดา (ยูคอน, นูนาวุต), สหรัฐอเมริกา (อะแลสกา), เดนมาร์ค (กรีนแลนด์), นอร์เวย์, สวีเดน, ฟินแลนด์, รัสเซีย, ไอซ์แลนด์ โดยดินแดนของ นอร์เวย์ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอาร์กติกเซอร์เคิลเป็นจุดที่ดวงอาทิตย์ไม่ได้ตกดินเป็นเวลายาวนานที่สุด (73 วัน) ในช่วงฤดู​​ร้อนในสฟาลบาร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และดวงอาทิตย์เที่ยงคืน · ดูเพิ่มเติม »

ดวงจันทร์

วงจันทร์เป็นวัตถุดาราศาสตร์ที่โคจรรอบโลก เป็นดาวบริวารถาวรดวงเดียวของโลก เป็นดาวบริวารใหญ่ที่สุดอันดับที่ 5 ในระบบสุริยะ และเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่สุดเมื่อเทียบกับกขนาดของดาวเคราะห์ที่โคจร ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารที่มีความหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากไอโอของดาวพฤหัสบดี ซึ่งบางส่วนไม่ทราบความหนาแน่น คาดว่าดวงจันทร์ก่อกำเนิดประมาณ 4.51 พันล้านปีก่อน ไม่นานหลังจากโลก คำอธิบายที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางที่สุดคือดวงจันทร์ก่อกำเนิดจากเศษที่เหลือจากการชนขนาดยักษ์ระหว่างโลกกับเทห์ขนาดประมาณดาวอังคารชื่อเธียอา ดวงจันทร์หมุนรอบโลกแบบประสานเวลา จะหันด้านเดียวเข้าหาโลกเสมอคือด้านใกล้ที่มีลักษณะเป็นทะเลภูเขาไฟมืด ๆ ซึ่งเติมที่ว่างระหว่างที่สูงเปลือกโบราณสว่างและหลุมอุกกาบาตที่เห็นได้ชัดเจน เมื่อสังเกตจากโลก เป็นเทห์ฟ้าที่เห็นได้เป็นประจำสว่างที่สุดอันดับสองในท้องฟ้าของโลกรองจากดวงอาทิตย์ พื้นผิวแท้จริงแล้วมืด แม้เทียบกับท้องฟ้าราตรีแล้วจะดูสว่างมาก โดยมีการสะท้อนสูงกว่าแอสฟอลต์เสื่อมเล็กน้อย อิทธิพลความโน้มถ่วงของดวงจันทร์ทำให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร และทำให้หนึ่งวันยาวขึ้นเล็กน้อย มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางประมาณ 384,403 กิโลเมตร เทียบเท่ากับ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก จุดศูนย์กลางมวลร่วมของระบบตั้งอยู่ที่ตำแหน่ง 1700 กิโลเมตรใต้ผิวโลก หรือประมาณ 1 ใน 4 ของรัศมีของโลก ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในเวลาประมาณ 27.3 วันตัวเลขอย่างละเอียดคือ คาบโคจรแท้จริงเฉลี่ยของดวงจันทร์ (sideral orbit) คือ 27.321661 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 11.5วินาที) และคาบโคจรเฉลี่ยแบบทรอปิคัล (tropical orbit) อยู่ที่ 27.321582 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 4.7 วินาที) (Explanatory Supplement to the Astronomical Ephemeris, 1961, at p.107).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และดวงจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบริวาร

วบริวาร (Natural satellite) คือ วัตถุตามธรรมชาติที่โคจรรอบดาวเคราะห์ ระบบสุริยะของเรามีดาวบริวารบริวารอยู่มากกว่า 140 ดวง โดยปกติดาวเคราะห์แก๊สที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก จะมีดาวบริวารจำนวนมาก ดาวพุธและดาวศุกร์ไม่มีดาวบริวารแม้แต่ดวงเดียว โลกมี 1 ดวง คือดวงจันทร์ ดาวอังคารมีดาวบริวารขนาดเล็ก 2 ดวง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และดาวบริวาร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพลูโต

วพลูโต (Pluto; ดัชนีดาวเคราะห์น้อย: 134340 พลูโต) เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ วงแหวนของวัตถุพ้นดาวเนปจูน โดยเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มันมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดโดยปริมาตร แต่มีมวลน้อยกว่าอีริส ซึ่งเป็นวัตถุในแถบหินกระจาย ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ วงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 30 ถึง 49 หน่วยดาราศาสตร์ (4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ หมายความว่าเมื่อดาวพลูโตอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะอยู่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก แต่เนื่องด้วยการสั่นพ้องของวงโคจร ทำให้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงไม่สามารถโคจรมาชนกันได้ ในปี..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และดาวพลูโต · ดูเพิ่มเติม »

ดาวยักษ์แดง

นาดของดวงอาทิตย์ปัจจุบัน (อยู่บนแถบลำดับหลัก) เปรียบเทียบกับขนาดโดยประมาณหากอยู่ในสภาวะดาวยักษ์แดง ดาวยักษ์แดง (Red Giant) เป็นดาวฤกษ์มวลน้อยหรือมวลปานกลางขนาดยักษ์ที่ส่องสว่างมาก (มวลโดยประมาณ 0.5-10 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาท้ายๆ ของวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ บรรยากาศรอบนอกของดาวจะลอยตัวและบางมาก ทำให้รัศมีของดาวขยายใหญ่ขึ้นมาก และอุณหภูมิพื้นผิวก็ต่ำ อาจอยู่ที่ประมาณ 5000 เคลวินหรือน้อยกว่านั้น ภาพปรากฏของดาวยักษ์แดงจะมีสีตั้งแต่เหลืองส้มออกไปจนถึงแดง ครอบคลุมระดับสเปกตรัมในชั้น K และ M อาจบางทีรวมถึงชั้น S และดาวคาร์บอนจำนวนมากด้วย ดาวยักษ์แดงส่วนใหญ่โดยทั่วไปมักเรียกกันเป็น red giant branch stars (RGB) ซึ่งยังมีปฏิกิริยาหลอมไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียมอยู่ แต่ที่แกนกลางจะเป็นฮีเลียมที่ไม่มีปฏิกิริยาแล้ว แต่ยังมีดาวยักษ์แดงอีกพวกหนึ่งคือ asymptotic giant branch stars (AGB) ที่สร้างคาร์บอนจากฮีเลียมด้วยกระบวนการทริปเปิล-อัลฟา ดาวยักษ์แดงประเภท AGB จะเป็นดาวคาร์บอนประเภท C-N หรือ C-R ช่วงปลายๆ ดาวยักษ์แดงที่สว่างและโดดเด่นในยามค่ำคืน ได้แก่ ดาวอัลดิบาแรน ดาวอาร์คตุรุส และแกมมาครูซิส เป็นต้น ขณะที่ดาวที่ใหญ่ยิ่งกว่านั้นคือดาวอันแตร์ส (อัลฟาสกอร์ปิไอ) และดาวบีเทลจุส เป็นดาวยักษ์ใหญ่แดง (red supergiant).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และดาวยักษ์แดง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวหาง

ดาวหางเฮล-บอปป์ ดาวหางเวสต์ ดาวหาง คือ วัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีส่วนที่ระเหิดเป็นแก๊สเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและแก๊สที่ฝ้ามัวล้อมรอบ และทอดเหยียดออกไปภายนอกจนดูเหมือนหาง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไปบนนิวเคลียสของดาวหาง นิวเคลียสหรือใจกลางดาวหางเป็น "ก้อนหิมะสกปรก" ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร คาบการโคจรของดาวหางมีความยาวนานแตกต่างกันได้หลายแบบ ตั้งแต่คาบโคจรเพียงไม่กี่ปี คาบโคจร 50-100 ปี จนถึงหลายร้อยหรือหลายพันปี เชื่อว่าดาวหางบางดวงเคยผ่านเข้ามาในใจกลางระบบสุริยะเพียงครั้งเดียว แล้วเหวี่ยงตัวเองออกไปสู่อวกาศระหว่างดาว ดาวหางที่มีคาบการโคจรสั้นนั้นเชื่อว่าแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในแถบไคเปอร์ที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ส่วนดาวหางที่มีคาบการโคจรยาวอาจมาจากแหล่งอื่น ๆ ที่ไกลจากดวงอาทิตย์ของเรามาก เช่นในกลุ่มเมฆออร์ตซึ่งประกอบด้วยเศษซากที่หลงเหลืออยู่จากการบีบอัดตัวของเนบิวลา ดาวหางเหล่านี้ได้รับแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวเคราะห์รอบนอก (กรณีของวัตถุในแถบไคเปอร์) จากดวงดาวอื่นใกล้เคียง (กรณีของวัตถุในกลุ่มเมฆออร์ต) หรือจากการชนกัน ทำให้มันเคลื่อนเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อยมีกำเนิดจากกระบวนการที่ต่างไปจากนี้ อย่างไรก็ดี ดาวหางที่มีอายุเก่าแก่มากจนกระทั่งส่วนที่สามารถระเหิดเป็นแก๊สได้สูญสลายไปจนหมดก็อาจมีสภาพคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยก็ได้ เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกหลายดวงเคยเป็นดาวหางมาก่อน นับถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และดาวหาง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเทียม

นีบนพื้นโลก ดาวเทียม (satellite) คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นเป็นสิ่ง ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของสิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้ ทางการทหาร การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เช่นการสำรวจทางธรณีวิทยาสังเกตการณ์สภาพของอวกาศ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวอื่นๆ รวมถึงการสังเกตวัตถุ และดวงดาว ดาราจักร ต่าง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และดาวเทียม · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์

วเคราะห์ (πλανήτης; planet หรือ "ผู้พเนจร") คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ คือ โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ ในปี..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์คล้ายโลก

วเคราะห์ชั้นในของระบบสุริยะ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ขนาดเปรียบเทียบตามจริง ดาวเคราะห์คล้ายโลก (terrestrial planet) หรือบางครั้งเรียกว่า ดาวเคราะห์หิน (rocky planet) หรือ ดาวเคราะห์ชั้นใน (inner planet) หมายถึงดาวเคราะห์ที่มีองค์ประกอบพื้นฐานเป็นหินซิลิเกต ในระบบสุริยะจะหมายถึงดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มาก และดาวเคราะห์ที่มีลักษณะภายนอก "คล้ายกับโลก"มาก ดาวเคราะห์คล้ายโลกจะมีองค์ประกอบพื้นฐานที่แตกต่างจากดาวเคราะห์แก๊สยักษ์อย่างเด่นชัด โดยที่ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์จะไม่มีพื้นผิวเป็นของแข็งที่ชัดเจน และมีองค์ประกอบพื้นฐานส่วนมากเป็นไฮโดรเจน ฮีเลียม และน้ำ ในสถานะต่าง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และดาวเคราะห์คล้ายโลก · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์น้อย

วเคราะห์น้อย 253 แมธิลด์ เป็นดาวเคราะห์น้อยแบบ C-Type ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid หรือบางครั้งเรียกว่า Minor Planet / Planetoid) คือวัตถุทางดาราศาสตร์ขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ แต่ใหญ่กว่าสะเก็ดดาว (ซึ่งโดยปกติมักมีขนาดราว 10 เมตรหรือน้อยกว่า) และไม่ใช่ดาวหาง การแบ่งแยกประเภทเช่นนี้กำหนดจากภาพปรากฏเมื่อแรกค้นพบ กล่าวคือ ดาวหางจะต้องมีส่วนของโคม่าที่สังเกตเห็นได้ชัด และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของดาวหางเอง ดาวเคราะห์น้อยมีลักษณะปรากฏคล้ายดวงดาว (คำว่า asteroid มาจากคำภาษากรีกว่า αστεροειδής หรือ asteroeidēs ซึ่งหมายถึง "เหมือนดวงดาว" มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า Aστήρ หรือ astēr ซึ่งแปลว่า ดวงดาว) และมีการกำหนดเรียกชื่ออย่างคร่าวๆ ตามชื่อปีที่ค้นพบ จากนั้นจึงมีการตั้งชื่อตามระบบ (เป็นหมายเลขเรียงตามลำดับ) และชื่อ ถ้ามีการพิสูจน์ถึงการมีอยู่และรอบการโคจรเรียบร้อยแล้ว สำหรับลักษณะทางกายภาพของดาวเคราะห์น้อยโดยส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่มีการตั้งชื่อคือ ซีรีส ค้นพบในปี พ.ศ. 2344 โดย จูเซปเป ปิอาซซี ซึ่งในช่วงแรกคิดว่าได้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ และกำหนดประเภทให้มันว่าเป็นดาวเคราะห์แคระ ซีรีสนับเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน และจัดอยู่ในประเภทดาวเคราะห์แคระ ส่วนดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นๆ จัดเป็นวัตถุในระบบสุริยะขนาดเล็ก เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล (พ.ศ. 2281 - 2365 ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส เมื่อ พ.ศ. 2324) เป็นผู้ประดิษฐ์คำศัพท์ "asteroid" ให้แก่วัตถุอวกาศชุดแรก ๆ ที่ค้นพบในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งทั้งหมดมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี โดยส่วนใหญ่วงโคจรมักบิดเบี้ยวไม่เป็นวงรี แต่หลังจากนั้นมีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวเคราะห์ต่างๆ นับตั้งแต่ดาวพุธไปจนถึงดาวเนปจูน และอีกหลายร้อยดวงอยู่พ้นจากดาวเนปจูนออกไป ดาวเคราะห์น้อยส่วนมากพบอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อย ซึ่งมีวงโคจรเป็นวงรีอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่เป็นซากที่หลงเหลือในจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด ซึ่งไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ได้ระหว่างการก่อกำเนิดระบบสุริยะเนื่องจากแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์น้อยบางดวงมีดาวบริวาร หรือโคจรระหว่างกันเองเป็นคู่ เรียกว่า ระบบดาวเคราะห์น้อยคู.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และดาวเคราะห์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์แคระ

แสดงวัตถุพ้นดาวเนปจูนขนาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักแล้วในปัจจุบัน ดาวเคราะห์แคระ เป็นดาวชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายดาวเคราะห์ ตามการจำแนกชนิดดาวเคราะห์ที่เสนอโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union: IAU) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และดาวเคราะห์แคระ · ดูเพิ่มเติม »

ดิถี

ี หรือ เฟส หรือ การเกิดข้างขึ้นข้างแรม ของดวงจันทร์ (lunar phase) ในทางดาราศาสตร์ เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์อย่างหนึ่งที่เกิดกับดวงจันทร์ นั่นคือ ดวงจันทร์จะมีส่วนสว่างที่สังเกตได้ที่ไม่เท่ากันในแต่ละคืน เกิดจากการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก โดยหันส่วนสว่างเข้าหาโลกต่างกัน ดิถีที่ต่างกันนี้เองมักใช้กำหนดวันสำคัญทางพุทธศาสนา และใช้เป็นหลักในการนับเวลา ในปฏิทินจันทรคติ ก่อนที่จะมานิยมใช้ปฏิทินสุริยคติ การคำนวณดิถีของดวงจันทร์ สามารถทำได้ทั้งแบบดาราศาสตร์สมัยใหม่และดาราศาสตร์แผนเก่า เช่น ใช้กระดานปักขคณนาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือใช้ตำราสุริยยาตร์ ในการคำนวณ สำหรับในทางโหราศาสตร์ ดิถีคือวันทางจันทรคติ (lunar day) มีสองแบบคือ ดิถีเพียร และ ดิถีตลาด ดิถีเพียรจะเป็นดิถีที่คำนวณโดยอิงการโคจรของดวงจันทร์ในรอบเดือนจริง ๆ ไม่ใช่ขึ้นแรมในปฏิทินปกติ ในขณะที่ดิถีตลาด จะอนุโลมให้ดิถีนับแบบอิงวันสุริยคติเป็นวัน ๆ ไป เรียกเป็นข้างขึ้นข้างแรม ดิถีทั้งสองแบบล้วนแล้วแต่เกี่ยวพันกับข้างขึ้นข้างแรมหรือดิถีในความหมายทางดาราศาสตร์ที่กล่าวมาแล้ว โดยเป็นส่วนประกอบของปฏิทินจันทรคติ ซึ่งนั่นคือข้างขึ้นข้างแรมที่สังเกตได้ยามค่ำคืนนั่นเอง สำหรับกล่องข้อความด้านขวานี้จะแสดงดิถีของดวงจันทร์ตามการคำนวณแบบดาราศาสตร์สมัยใหม่ โดยที่แสดงวันที่ไว้เพื่อให้ทราบว่าเป็นดิถีของวันใด มิให้เกิดความสับสน และแสดงร้อยละของส่วนสว่างบนดวงจันทร์ไว้ด้านล่าง ภาพการเกิดดิถีของดวงจันทร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และดิถี · ดูเพิ่มเติม »

ดิน

ั้นดินที่อยู่ใต้รากของพืช ดิน หมายถึง วัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการสลายตัวทางกายภาพ และทางเคมีของหินและแร่ รวมกับสารอินทรีย์ ที่เกิดจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์เป็นผิวชั้นบนที่หุ้มห่อโลก ซึ่งดินจะมีลักษณะและคุณสมบัติต่างกันไปในที่ต่างๆ ตามสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ วัตถุต้นกำเนิด สิ่งมีชีวิตและระยะเวลาการสร้างตัวของดิน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และดิน · ดูเพิ่มเติม »

ดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ

นแดนที่ไม่มีเจ้าของ (terra nullius) เป็นศัพท์ซึ่งมีที่มาจากกฎหมายโรมัน หมายความว่า ดินแดนที่ไม่เป็นของผู้หนึ่งผู้ใด หรือดินแดนไร้ผู้ครอบครอง (no mans' land) ศัพท์นี้ใช้ในกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง หมายความว่า ดอนแดนที่ไม่เคยตกอยู่ในอำนาจอธิปไตยของรัฐใด ๆ หรือซึ่งไม่มีรัฏฐาธิปัตย์ใด ๆ เคยสละอำนาจอธิปไตยไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนที่ไม่มีเจ้าของนั้นอาจได้มาโดยการยึดครอง แต่ในบางกรณี การยึดครองดินแดนเช่นนั้นอาจเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศหรือสนธิสัญญาได้.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ · ดูเพิ่มเติม »

ครีษมายัน

แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกในส่วนครึ่งซีกโลกเหนือในวันครีษมายัน ครีษมายัน หรือ อุตตรายัน (summer solstice) เป็นการที่ดวงอาทิตย์ โคจรไปถึงจุดหยุด (solstice) คือ จุดสุดทางเหนือในราววันที่ 20 มิถุนายน หรือ 21 มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวันนานกว่ากลางคืน, ตรงข้ามกับ เหมายัน (winter solstice) (สันสกฤต: คฺรีษฺม + อายนฺ).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และครีษมายัน · ดูเพิ่มเติม »

คลอรีน

ลอรีน (Chlorine) (จากภาษากรีกว่า Chloros แปลว่าสี "เขียวอ่อน") เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 17 และสัญลักษณ์ Cl เป็นแฮโลเจน พบในตารางธาตุ ในกลุ่ม 17 เป็นส่วนของเกลือทะเลและสารประกอบอื่น ๆ ปรากฏมากในธรรมชาติ และจำเป็นต่อสิ่งมีชวิตส่วนใหญ่ รวมถึงมนุษย์ด้วย ในรูปของก๊าซ คลอรีนมีสีเขียวอมเหลือง มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ 2.5 เท่า มีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง และเป็นพิษอย่างร้ายแรง เป็นตัวออกซิไดซ์ ฟอกขาว และฆ่าเชื้อได้เป็นอย่างดี.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และคลอรีน · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นสึนามิ

แสดงคลื่นสึนามิพัดขึ้นฝั่ง คลื่นสึนามิ เป็นกลุ่มคลื่นน้ำที่เกิดขึ้นจากการย้ายที่ของปริมาตรน้ำก้อนใหญ่ คือ มหาสมุทรหรือทะเลสาบขนาดใหญ่ แผ่นดินไหว การปะทุของภูเขาไฟและการระเบิดใต้น้ำอื่นๆ (รวมทั้งการจุดวัตถุระเบิดหรือวัตถุระเบิดนิวเคลียร์ใต้น้ำ) ดินถล่ม ธารน้ำแข็งไถล อุกกาบาตตกและการรบกวนอื่น ไม่ว่าเหนือหรือใต้น้ำ ล้วนอาจก่อให้เกิดเป็นคลื่นสึนามิได้ทั้งสิ้น คลื่นสึนามิไม่เหมือนกับคลื่นทะเล(tidal wave)ตามปกติ เพราะมีความยาวคลื่นยาวกว่ามาก แทนที่จะเป็นคลื่นหัวแตก (breaking wave) ตามปกติ คลื่นสึนามิเริ่มแรกอาจดูเหมือนกับว่าคลื่นน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และด้วยเหตุนี้ คลื่นสึนามิจึงมักเรียกว่าเป็นคลื่นยักษ์ โดยทั่วไป คลื่นสึนามิประกอบด้วยกลุ่มคลื่นซึ่งมีคาบเป็นนาทีหรืออาจมากถึงชั่วโมง มากันเรียกว่าเป็น "คลื่นขบวน" (wave train) ความสูงของคลื่นหลายสิบเมตรนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากเหตุการณ์ขนาดใหญ่ แม้ผลกระทบของคลื่นสึนามินั้นจะจำกัดอยู่แค่พื้นที่ชายฝั่ง แต่อำนาจทำลายล้างของมันสามารถมีได้ใหญ่หลวงและสามารถมีผลกระทบต่อทั้งแอ่งมหาสมุทร คลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยมีผู้เสียชีวิตกว่า 230,000 คน ใน 14 ประเทศที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ธูซิดดิดีส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก เสนอเมื่อ 426 ปีก่อนคริสตกาล ว่า คลื่นสึนามิเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวใต้ทะเลThucydides: แต่ความเข้าใจในธรรมชาติของคลื่นสึนามิยังมีเพียงเล็กน้อยกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 และยังมีอีกมากที่ยังไม่ทราบในปัจจุบัน ขณะที่แผ่นดินไหวที่รุนแรงน้อยกว่ามากกลับก่อให้เกิดคลื่น พยายามพยากรณ์เส้นทางของคลื่นสึนามิข้ามมหาสมุทรอย่างแม่นยำ และยังพยากรณ์ว่าคลื่นสึนามิจะมีปฏิสัมพันธ์กับชายฝั่งแห่งหนึ่ง ๆ อย่างไร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และคลื่นสึนามิ · ดูเพิ่มเติม »

ควอตซ์

วอตซ์ (Quartz) (SiO2) หรือมีชื่อว่า "แร่เขี้ยวหนุมาน" เป็นแร่ที่พบมากที่สุดในโลกเป็นอันดับที่สองรองจาก เฟลด์สปาร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และควอตซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความชื้น

ความชื้น (humidity) เป็นคำใช้เรียกปริมาณไอน้ำในอากาศ อย่างเป็นทางการ อากาศชื้นเป็นสารผสมระหว่างไอน้ำกับองค์ประกอบอื่นของอากาศ โดยความชื้นนิยามในแง่ของปริมาณน้ำในสารผสมนี้ เรียกว่า ความชื้นสัมบูรณ์ ในการใช้ประจำวัน คำว่า "ความชื้น" มักหมายถึง ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า โดยแสดงเป็นร้อยละในการพยากรณ์อากาศและในเครื่องวัดความชื้นอากาศครัวเรือน ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นการวัดความชื้นสัมบูรณ์ปัจจุบันเทียบกับค่าสูงสุด ความชื้นจำเพาะ (specific humidity) เป็นอัตราส่วนของปริมาณไอน้ำในสารผสมกับปริมาณอากาศทั้งหมด (อิงมวล) ปริมาณไอน้ำในสารผสมสามารถวัดได้โดยมวลต่อปริมาตรหรือเป็นความดันย่อย (partial pressure) ขึ้นอยู่กับการใช้ ในทางอุตุนิยมวิทยา ความชื้นบ่งชี้ความน่าจะเกิดหยาดน้ำฟ้า น้ำค้างหรือหมอก ความชื้นสัมพัทธ์ที่สูงลดประสิทธิภาพการหลั่งเหงื่อเพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย เพราะไปลดอัตราการระเหยความชื้นจากผิวหนัง ปรากฏการณ์นี้คำนวณในรูปตารางดัชนีความร้อน ซึ่งใช้ระหว่างสภาพอากาศฤดูร้อน นอกจากความชื้นในอากาศแล้ว ความชื้น (moisture) ยังหมายถึง การมีของเหลว โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำ ตัวอย่างเช่น น้ำปริมาณน้อยอาจพบได้ในอากาศ ในอาหารและในผลิตภัณฑ์ทั้งหลาย หมวดหมู่:ภูมิอากาศ หมวดหมู่:ปริมาณทางกายภาพ หมวดหมู่:อุณหพลศาสตร์.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และความชื้น · ดูเพิ่มเติม »

ความกดอากาศ

'ความดันบรรยากาศความกดอากาศ, ความดันอากาศหรือเป็น ความกดดันอยู่จุดใดหนึ่งของชั้นบรรยากาศของโลก โดยทั่วไปความกดอากาศจะประมาณเท่ากับความกดดันที่เกิดขึ้นย้อนน้ำหนักของอากาศอยู่บนจุดนั้น ๆ ซึ่งหมายความว่า จุดที่มีความกดอากาศต่ำจะมีอากาศที่มีมวลสารต่ำกว่าจะอยู่ข้างบนนั้น ด้วยเหตุผลแบบเดียวกัน ความกดอากาศจะต่ำลงเมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น ความกดอากาศที่ความสูงระดับน้ำทะเล จะเท่ากับ 1 atm (หนึ่งหน่วยบรรยากาศ) นั่นก็คือ 760 mmHg (มิลลิเมตรปรอท)นั่นเอง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และความกดอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

ความสว่างดวงอาทิตย์

วามสว่างดวงอาทิตย์ เป็นหน่วยวัดความสว่างหรือฟลักซ์การแผ่รังสี (พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาในรูปโปรตอน) เคยถูกใช้โดยนักดารศาสตร์เพื่อวัดความสว่างของดาวฤกษ์ ค่าดังกล่าวมีค่าเท่ากับค่าความสว่างของดวงอาทิตย์ที่ยอมรับกันในปัจจุบัน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 3.839 × 1026 วัตต์ หรือ 3.839 × 1033 เอิร์ก/วินาที ค่าดังกล่าวจะสูงขึ้นเล็กน้อยเป็น 3.939 × 1026 วัตต์ (เท่ากับ 4.382 × 109 กิโลกรัม/วินาที) ถ้ารังสีนิวตริโนดวงอาทิตย์ถูกคิดรวมเข้าไปด้วยเช่นเดียวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ดวงอาทิตย์เป็นดาวแปรแสงอย่างอ่อน ดังนั้น ความสว่างของมันจึงมีความผันผวน ความผันแปรที่โดดเด่น คือ วัฏจักรสุริยะ (วัฏจักรจุดดับบนดวงอาทิตย์) ซึ่งทำให้เกิดความผันแปรตามเวลาราว ±0.1% ตัวแปรอื่น ๆ ตลอดช่วง 200-300 ปีที่ผ่านมามีการคาดการณ์ว่าส่งผลกระทบน้อยกว่านี้มาก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และความสว่างดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ความหลากหลายทางชีวภาพ

วามหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตน้อยนิด พันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (Species) สายพันธุ์ (Genetic) และระบบนิเวศ (Ecosystem.) ที่แตกต่างหลากหลายบนจักรวาล ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถพิจารณาได้จากความหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้สามารถเลือกบริโภคข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว ตามที่ต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆ แล้ว อาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่างๆ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อ เป็นต้น ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์ สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปถึงความแตกต่างระหว่างพืชและสัตว์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ และนกกระจอก เป็นต้น หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี และวัวแดง เป็นต้น พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์ได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด จากพืชมีท่อลำเลียง (vascular plant) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง 320,000 ชนิด ทั้งๆ ที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้สามารถนำมาบริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด (UNEP 1995) ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ 'บริการทางสิ่งแวดล้อม' (environmental service) ต่างกันด้วย อาทิเช่น ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทบถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย เป็นต้น.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และความหลากหลายทางชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ความหนาแน่นประชากร

วามหนาแน่นประชากร เป็นการวัดปริมาณประชากรในหน่วยพื้นที่หนึ่ง ๆ โดยขึ้นอยู่กับกลุ่มตัวอย่างที่เลือกนำมาสำรวจ เช่น ความหนาแน่นของประชากรในประเทศ หรือความหนาแน่นประชากรในเขตที่อยู่อาศัย และในบางครั้งจะเป็นการยากในการวัดที่ได้ค่าความหนาแน่นที่แน่นอน หน่วยที่ใช้ในการวัดความหนาแน่น ได้แก่ จำนวนประชากรต่อตารางกิโลเมตร หรือ จำนวนบ้านต่อพื้นที่ตารางกิโลเมตร หรือในบางกรณีพิเศษ จะใช้เป็นจำนวนประชากรต่อหน่วยความยาว เช่น จำนวนประชากรต่อบริเวณความยาวชายหาด ความหนาแน่นของประชากรของประเทศไทยทั่วทั้งประเทศ (ต่อตร.กม) ปี พ.ศ. 2545 เท่ากับ 123 คนต่อ ตร.กม.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และความหนาแน่นประชากร · ดูเพิ่มเติม »

ความหนืด

วามหนืด คือค่าบ่งชี้คุณสมบัติความต้านทานการไหลในตัวของไหล ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปจากการกระทำของความเค้นเฉือนหรือความเค้นภายนอก ความหนืดนี้อธิบายถึงความสามารถในการต้านทานการไหลภายในตัวของไหล และอาจจะถูกพิจารณาให้เป็นตัวชี้วัดความเสียดทานของไหลได้ ยิ่งของไหลมีความหนืดต่ำมากเท่าไร มันก็จะยิ่งมีความสามรถในการเปลี่ยนรูปได้มากเท่านั้นสำหรับคำเรียกใช้โดยทั่วไป อาจจะใช้คำว่า "ความหนา" ตัวอย่างเช่น น้ำ ที่มีความหนืดต่ำอาจจะถูกเรียกว่า "บาง" ในขณะที่น้ำผึ้งซึ่งมีความหนืดสูงนั้นอาจจะถูกเรียกว่า "หนา" สำหรับของไหลในความเป็นจริงนั้น (ยกเว้น ซูเปอร์ฟลูอิด) จะมีค่าความหนืดในตัว แต่อย่างไรก็ตาม ในทางอุดมคติ ของไหลอาจจะถุกสมมติให้ไร้ความหนืด เรียกว่า ของไหลในอุดมคติ หรือ ของไหลไร้ความหนืด สำหรับวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับของไหลคือ วิทยาศาสตร์การไหล ภาพประกอบอธิบายความหนืด ของเหลวสีเขียวทางซ้ายมีความหนืดสูงกว่าของเหลวใสทางขว.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และความหนืด · ดูเพิ่มเติม »

ความถี่

วามถี่ (frequency) คือจำนวนการเกิดเหตุการณ์ซ้ำในหนึ่งหน่วยของเวลา ความถี่อาจเรียกว่า ความถี่เชิงเวลา (temporal frequency) หมายถึงแสดงให้เห็นว่าต่างจากความถี่เชิงพื้นที่ (spatial) และความถี่เชิงมุม (angular) คาบคือระยะเวลาของหนึ่งวงจรในเหตุการณ์ที่เกิดซ้ำ ดังนั้นคาบจึงเป็นส่วนกลับของความถี่ ตัวอย่างเช่น ถ้าหัวใจของทารกเกิดใหม่เต้นที่ความถี่ 120 ครั้งต่อนาที คาบ (ช่วงเวลาระหว่างจังหวะหัวใจ) คือครึ่งวินาที (นั่นคือ 60 วินาทีหารจาก 120 จังหวะ) ความถี่เป็นตัวแปรสำคัญในวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม สำหรับระบุอัตราของปรากฏการณ์การแกว่งและการสั่น เช่น การสั่นของเครื่องจักร โสตสัญญาณ (เสียง) คลื่นวิทยุ และแสง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และความถี่ · ดูเพิ่มเติม »

ความโน้มถ่วง

หมุนรอบดวงอาทิตย์ ไม่หลุดออกจากวงโคจร (ภาพไม่เป็นไปตามอัตราส่วน) ความโน้มถ่วง (gravity) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งทำให้วัตถุกายภาพทั้งหมดดึงดูดเข้าหากัน ความโน้มถ่วงทำให้วัตถุกายภาพมีน้ำหนักและทำให้วัตถุตกสู่พื้นเมื่อปล่อย แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และ แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ในจำนวนแรงทั้งสี่แรงหลัก แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะเป็นแรงที่เราไม่สามารถรับรู้ได้มากนักเพราะความเบาบางของแรงที่กระทำต่อเรา แต่ก็เป็นแรงเดียวที่ยึดเหนี่ยวเราไว้กับพื้นโลก แรงโน้มถ่วงมีความแรงแปรผันตรงกับมวล และแปรผกผันกับระยะทางยกกำลังสอง ไม่มีการลดทอนหรือถูกดูดซับเนื่องจากมวลใดๆ ทำให้แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่สำคัญมากในการยึดเหนี่ยวเอกภพไว้ด้วยกัน นอกเหนือจากความโน้มถ่วงที่เกิดระหว่างมวลแล้ว ความโน้มถ่วงยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่เราเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน เช่น การเพิ่มหรือลดความเร็วของวัตถุ การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ เป็นต้น.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และความโน้มถ่วง · ดูเพิ่มเติม »

ความเร่ง

วามเร่ง คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง ที่จุดใดๆบนกราฟ v-t ความเร่งจะเท่ากับความชันของเส้นสัมผัสจุดนั้น ในฟิสิกส์ ความเร่ง (acceleration, สัญลักษณ์: a) คือ อัตราการเปลี่ยนแปลง (หรืออนุพันธ์เวลา) ของความเร็ว เป็นปริมาณเวกเตอร์ที่มีหน่วยเป็น ความยาว/เวลา² ในหน่วยเอสไอกำหนดให้หน่วยเป็น เมตร/วินาที² เมื่อวัตถุมีความเร่งในช่วงเวลาหนึ่ง ความเร็วของมันจะเปลี่ยนแปลงไป ความเร่งอาจมีค่าเป็นบวกหรือลบก็ได้ ซึ่งเรามักว่าเรียกความเร่ง กับ ความหน่วง ตามลำดับ ความเร่งมีนิยามว่า "อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง" และกำหนดโดยสมการนี้ \mathbf.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และความเร่ง · ดูเพิ่มเติม »

ความเร็วหลุดพ้น

การวิเคราะห์ของไอแซก นิวตัน เกี่ยวกับความเร็วหลุดพ้น กระสุนปืน ''A'' และ ''B'' จะตกกลับลงสู่พื้นโลก กระสุนปืน ''C'' จะเคลื่อนที่ครบรอบเป็นวงโคจรรูปวงกลม, กระสุนปืน ''D'' จะเคลื่อนที่เป็นรูปวงรี กระสุนปืน ''E'' จะเคลื่อนที่หลุดพ้นออกไปจากโลก ในวิชาฟิสิกส์ ความเร็วหลุดพ้น คือ อัตราเร็วที่พลังงานจลน์บวกกับพลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุแล้วมีค่าเป็นศูนย์ พลังงานศักย์โน้มถ่วงมีค่าเป็นลบเนื่องจากแรงโน้มถ่วงเป็นแรงดึงดูดและมีศักยที่ถูกกำหนดให้มีค่าเป็นศูนย์ที่ระยะอนันต์ ความเร็วหลุดพ้น คือ ความเร็วที่จะพาวัตถุไปได้ไกลจนพ้นจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลกได้พอดี ถ้าต้องการส่งยานอวกาศออกไปให้พ้นจากสนามโน้มถ่วงของโลก ต้องทำให้ยานอวกาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าความเร็วหลุดพ้น ความเร็วหลุดพ้นมีค่าประมาณ 11.2 km/s หรือ 40,320 km/h สำหรับวัตถุทรงกลมสมมาตร ความเร็วหลุดพ้นที่ระยะทางค่าหนึ่งคำนวณได้จากสูตร เมื่อ G คือ ค่าคงที่โน้มถ่วงสากล (the universal gravitational constant) (G.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และความเร็วหลุดพ้น · ดูเพิ่มเติม »

ความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์

วามเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์ (Scientific consensus) หรือ มติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ เป็นข้อตัดสิน จุดยืน และความเห็น โดยรวม ๆ ของชุมชนนักวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง คำว่า มติส่วนใหญ่ หมายถึงการเห็นพ้องกันโดยทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่ความเป็นเอกฉันท์ นักวิทยาศาสตร์จะถึงมติส่วนใหญ่ได้ก็ต้องอาศัยงานประชุม กระบวนการตีพิมพ์ (เช่นหนังสือหรือวารสารวิทยาศาสตร์) การทำงานทดลองซ้ำ (ที่ได้ผลอย่างเดียวกันโดยผู้อื่น) และกระบวนการทบทวนระดับเดียวกัน ซึ่งรวมกันมีผลเป็นสถานการณ์ที่นักวิทยาศาสตร์ในสาขานั้น บ่อยครั้งสามารถรู้ได้ว่าอะไรเป็นมติส่วนใหญ่ แต่การบอกบุคคลอื่น ๆ นอกสาขาว่า มีมติส่วนใหญ่ อาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะว่า การอภิปรายที่เป็นเรื่องธรรมดาของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ อาจจะปรากฏต่อบุคคลภายนอกว่าเป็นการต่อสู้กัน บางครั้ง จะมีสถาบันวิทยาศาสตร์ที่พิมพ์คำแถลงการณ์เกี่ยวกับจุดยืน เพื่อที่จะสื่อสารใจความสำคัญเกี่ยวกับประเด็นใดประเด็นหนึ่ง จากบุคคลภายในไปยังกลุ่มบุคคลภายนอก ในกรณีที่ไม่มีข้อโต้เถียงกันมากในประเด็นใต้การศึกษา การถึงมติส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา อาจจะมีการอ้างถึงมติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ในการอภิปรายทั่วไปหรือทางการเมือง เกี่ยวกับประเด็นที่ยังเป็นเรื่องโต้เถียงยังไม่ยุติในมวลชน แต่ความจริงไม่ใช่เรื่องที่ยังตกลงกันไม่ได้ในหมู่นักวิทยาศาสตร์ เช่นประเด็นเรื่องวิวัฒนาการ หรือเรื่องการฉีดวัคซีนรวมแบบ MMR ที่ไม่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ รวมทั้งออทิซึม หรือเรื่องโลกร้อน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ความเอียงของแกน

วามเอียงของแกนโลก แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแกนหมุน กับระนาบโคจร ความเอียงของแกน (axial tilt) คือองศาการเอียงของแกนหมุนของดาวเคราะห์เทียบกับระนาบการโคจรของมัน บางครั้งก็เรียกว่า axial inclination หรือ obliquity สามารถระบุได้เป็นหน่วยองศาระหว่างแกนของดาวเคราะห์กับเส้นตรงที่ลากผ่านจุดศูนย์กลางของดาวเคราะห์และตั้งฉากกับระนาบโคจร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และความเอียงของแกน · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอนไดออกไซด์

ร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide) หรือ CO2 เป็นก๊าซไม่มีสี ซึ่งหากหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในปริมาณมากๆ จะรู้สึกเปรี้ยวที่ปาก เกิดการระคายเคืองที่จมูกและคอ และหาจยใจไม่ออกเนื่องจากอาจเกิดการละลายของแก๊สนี้ในเมือกในอวัยวะ ก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อน คาร์บอนไดออกไซด์มีความหนาแน่น 1.98 kg/m3 ซึ่งเป็นประมาณ 1.5 เท่าของอากาศ โมเลกุลประกอบด้วยพันธะคู่ 2 พันธะ (O.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และคาร์บอนไดออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาไท-กะได

ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai–Kadai languages) หรือรู้จักกันในนาม กะได (Kadai), ขร้าไท (Kradai) หรือ ขร้า-ไท (Kra–Dai) เป็นตระกูลภาษาของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของประเทศจีน ในช่วงแรก ตระกูลภาษาไท-กะไดเคยถูกกำหนดให้เป็นอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต แต่ปัจจุบันได้แยกมาเป็นอีกตระกูลภาษาหนึ่ง และยังมีผู้เห็นว่าตระกูลภาษาไท-กะไดนี้มีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน โดยอยู่ในกลุ่มภาษาที่เรียกว่า "ออสโตร-ไท" หรือจัดเป็นตระกูลภาษาใหญ่ออสตริก รอเจอร์ เบลนช์ (Roger Blench) ได้กล่าวว่า ถ้าข้อจำกัดของความเชื่อมต่อของตระกูลภาษาออสโตร-ไทมีความสำคัญมาก แสดงว่าความสัมพันธ์ทั้งสองตระกูลอาจไม่ใช่ภาษาที่เป็นพี่น้องกัน กลุ่มภาษากะไดอาจเป็นสาขาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่อพยพจากฟิลิปปินส์ไปสู่เกาะไหหลำ แล้วแพร่สู่จีนแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่สาขาไดของภาษากลุ่มกะไดมีการปรับโครงสร้างใหม่โดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาม้ง-เมี่ยนและภาษาจีน โลร็อง ซาการ์ (Laurent Sagart) ได้เสนอว่า ภาษาไท-กะไดดั้งเดิมได้เกิดขึ้นในยุคต้นของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนที่อาจจะอพยพกลับจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของไต้หวันไปยังชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน หรือจากจีนไปไต้หวันและเกิดการพัฒนาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนบนเกาะนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนและไท-กะไดอาจจะอธิบายได้จากคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน คำยืมในยุคก่อนประวัติศาสตร์และอื่น ๆ ที่ยังไม่รู้ นอกจากนั้นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนอาจจะมีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในบริเวณชายฝั่งของจีนภาคเหนือและภาคตะวันออก ความหลากหลายของตระกูลภาษาไท-กะไดในทางตอนใต้ของประเทศจีนบ่งบอกถึงมีความสัมพันธ์กับถิ่นกำเนิดของภาษา ผู้พูดภาษาสาขาไทอพยพจากตอนใต้ของจีนลงทางใต้เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ครั้งโบราณ เข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยและลาวบริเวณนี้เป็นบริเวณที่พบผู้พูดภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ชื่อ "ไท-กะได" มาจากการจัดแบ่งตระกูลภาษาออกเป็นสองสาขาคือ "ไท" และ "กะได" ซึ่งเลิกใช้แล้ว เนื่องจากกะไดจะเป็นกลุ่มภาษาที่เป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีกลุ่มภาษาไทรวมอยู่ด้วย ในบางบริบทคำว่ากะไดจึงใช้เรียกตระกูลภาษาไท-กะไดทั้งตระกูล แต่บางบริบทก็จำกัดการใช้คำนี้ให้แคบลง โดยหมายถึงกลุ่มภาษาขร้าที่เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษานี้.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และตระกูลภาษาไท-กะได · ดูเพิ่มเติม »

ตัน

ตัน เป็นหน่วยวัดมวล มีความหมายได้ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และตัน · ดูเพิ่มเติม »

ตากิตุส

ปูบลิอุส (หรือ กาอิอุส) กอร์เนลิอุส ตากิตุส (Pvblivs (Gaivs) Cornelivs Tacitvs; ประมาณ ค.ศ. 56 - ค.ศ. 117) เป็นชาวโรมันและนักประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิโรมันผู้บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสมัยโรมัน อาทิ เหตุการณ์ระเบิดของภูเขาไฟวิสุเวียส ตากิตุสเป็นหนึ่งในนักประวัติศาสตร์ของโรมที่โด่งดัง โดยบันทึกต่าง ๆ ของเขาเป็นภาษาละติน หมวดหมู่:นักเขียนชาวโรมัน หมวดหมู่:นักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และตากิตุส · ดูเพิ่มเติม »

ฉบับพระเจ้าเจมส์

ฉบับพระเจ้าเจมส์ (King James Version: KJV) หรือ ไบเบิลพระเจ้าเจมส์ (King James Bible: KJB) หรือ ฉบับอนุมัติ (Authorized Version: AV) เป็นฉบับแปลภาษาอังกฤษของคัมภีร์ไบเบิลในคริสต์ศาสนา จัดทำขึ้นสำหรับคริสตจักรอังกฤษ เริ่มดำเนินการใน..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และฉบับพระเจ้าเจมส์ · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้น.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และซากดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซิลิกอนไดออกไซด์

ทราย หนึ่งในอัญรูปของซิลิกา ซิลิกอนไดออกไซด์ (silicon dioxide) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า ซิลิกา (จากภาษาละตินคำว่า silex) คือสารประกอบระหว่างออกไซด์และซิลิกอนรวมตัวกันเป็นสูตรทางเคมีคือ SiO2 และเป็นที่รู้กันตั้งแต่สมัยโบราณถึงความแข็งแกร่งของมัน ซิลิกามักพบได้ทั่วไปในธรรมชาติอาจในรูปของทรายหรือควอตซ์ และในผนังเซลล์ของไดอะตอม ซิลิกาเป็นสารประกอบที่มีจำนวนมากโดยทั่วไปบนเปลือกโลก ซิลิกาได้นำมาใช้เป็นวัสดุในการผลิตที่หลากหลาย อาทิ แก้ว, คริสตัล, เจล, แอโรเจล, ซิลิการมควัน และคอลลอยดอลซิลิกา ยิ่งไปกว่านั้น ซิลิกานาโนสปริงก็ผลิตขึ้นจากวิธีความดันไอ-ของเหลว-ของแข็ง ในอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้อง ซิลิกาใช้เป็นวัสดุเบื้องต้นในการผลิตกระจก, แก้วน้ำและขวดแก้ว สายใยแก้วที่ใช้ในการโทรคมนาคมก็เป็นผลิตผลจากซิลิกาเช่นเดียวกัน และยังใช้เป็นวัสถุดิบแรกเริ่มในผลิตภัณฑ์จำพวกเซรามิกเช่น เครื่องปั้นดินเผา, เครื่องหิน, เครื่องลายคราม และการผลิตพาร์ตแลนด์ซีเมนต.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และซิลิกอนไดออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ซิลิคอน

ซิลิคอน (Silicon) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ ที่มีสัญลักษณ์ Si และเลขอะตอม 14 เป็นธาตุกึ่งโลหะแบบเตตระวาเลนต์ (คือมีวาเลนซ์เป็น 4) ซิลิคอนทำปฏิกิริยาน้อยกว่าธาตุที่คล้ายกันคือคาร์บอน เป็นธาตุที่มีมากที่สุดในเปลือกโลกเป็นอันดับ 2 มีปริมาตร 25.7% โดยน้ำหนัก ปรากฏในดินเหนียว เฟลด์สปาร์ (feldspar) หินแกรนิต ควอตซ์ และทราย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของซิลิคอน ไดออกไซด์ (หรือซิลิกา) และซิลิเกต (สารประกอบที่ประกอบจากซิลิคอน ออกซิเจน และ โลหะ) ซิลิคอน เป็นส่วนประกอบหลักของแก้ว ซีเมนต์ เซรามิก, อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ส่วนใหญ่ และซิลิโคน (สารพลาสติกที่มักจะสับสนกับซิลิคอน) ซิลิคอนใช้เป็นสารกึ่งตัวนำอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก สารกึ่งตัวนำเจอร์เมเนียมมีปัญหาเกี่ยวกับการไหลของกระแสไหลย้อนกลับ (reverse leakage current).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และซิลิคอน · ดูเพิ่มเติม »

ซิลิเกต

ซิลิเกต (silicates) เป็นแร่ที่เกิดจากการรวมตัวของ ซิลิกอนและ ออกซิเจน และยังมีสารอื่นประกอบ ทำให้เกิดลักษณะต่างๆกันหลายชนิด ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด คือ นีโซซิลิเกต (Nesosilicate), โซโรซิลิเกต (Sorosilicate), ไซโคลซิลิเกต (Cyclosilicate), ไอโนซิลิเกต (Inosilicate), ฟิลโลซิลิเกต (Phyllosilicate), เทกโทซิลิเกต (Tectsilicate).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และซิลิเกต · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยารีดอกซ์

ปฏิกิริยารีดอกซ์ ปฏิกิริยารีดอกซ์แบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือปฏิกิริยารีดักชั่น (reduction) และปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (oxidation) ปฏิกิริยารีดอกซ์เป็นปฏิกิริยาเกี่ยวกับการรับส่งอิเล็กตรอน แบ่งได้เป็น 2 ครึ่งปฏิกิริยาคือ ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น เป็นปฏิกิริยาที่เสียอิเล็กตรอน และปฏิกิริยารีดักชั่น เป็นปฏิกิริยาที่รับอิเล็กตรอน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และปฏิกิริยารีดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาเคมี

ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมีสารเริ่มต้นปฏิกิริยาเรียกว่า "สารตั้งต้น" (reactant) ซึ่งจะมีเพียงตัวเดียวหรือมากกว่า 1 ตัวก็ได้ มาเกิดปฏิกิริยากัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน) และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน ในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี หมวดหมู่:ปฏิกิริยาเคมี หมวดหมู่:เคมี.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และปฏิกิริยาเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินจูเลียน

ปฏิทินจูเลียน (Julian calendar; คำว่า จูเลียน แปลว่า แห่งจูเลียส) เป็นปฏิทินที่สร้างขึ้นโดยกงสุลจูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมัน โดยปฏิรูปจากปฏิทินโรมัน เมื่อ 46 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีผลบังคับใช้ในปีถัดไปคือ 45 ปีก่อนคริสต์ศักราช รอบปีหนึ่งของปฏิทินจูเลียนมี 12 เดือน มีจำนวนวันรวม 365 วัน นอกจากนี้เดือนกุมภาพันธ์จะเพิ่มอธิกวารทุก ๆ สี่ปี ดังนั้นรอบปีโดยเฉลี่ยต่อสี่ปีของปฏิทินจูเลียนเท่ากับ 365.25 วัน แรกเริ่มนั้นวันวสันตวิษุวัตตรงกับวันที่ 1 Martius (มีนาคม) จึงถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาในปี 153 ก่อน..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และปฏิทินจูเลียน · ดูเพิ่มเติม »

ประชากรโลก

ประมาณประชากรโลกตั้งแต่ปี 1800 ถึง 2100 ตามhttp://esa.un.org/wpp/unpp/panel_population.htm ผลการคาดคะเนของสหประชาชาติเมื่อปี 2010 ('''แดง''' '''ส้ม''' '''เขียว''') และhttp://www.census.gov/ipc/www/worldhis.html การประมาณในอดีตของสำนักสำมะโนสหรัฐ ('''ดำ''') ตัวเลขประชากรที่บันทึกจริงเป็นสี'''น้ำเงิน''' ตามการประมาณสูงสุด ประชากรโลกอาจสูงถึง 16,000 ล้านคนในปี 2100 ตามการประมาณต่ำสุด ประชากรโลกอาจลดลงเหลือ 6 พันล้านคน ประชากรโลก เป็นจำนวนมนุษย์ทั้งหมดที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลก ซึ่งปัจจุบันองค์การสหประชาชาติ (UN) ประมาณการว่าประชากรโลกมีจำนวนราวๆ 7,300 ล้านคน ณ เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และประชากรโลก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศสีเหลือง/ส้ม มีการพัฒนามนุษย์ในระดับกลาง และประเทศสีแดง มีการพัฒนามนุษย์ในระดับต่ำ ประเทศกำลังพัฒนา หรือ ประเทศพัฒนาน้อยกว่า หรือ ประเทศด้อยพัฒนา เป็นคำที่ใช้เรียกประเทศที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตปานกลาง-ต่ำ พื้นฐานอุตสาหกรรมยังไม่พัฒนา และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) อยู่ในระดับปานกลาง-ต่ำ คำนี้มีแนวโน้มที่จะถูกแทนใช้ที่คำอื่น ๆ ที่เคยใช้ก่อนหน้า ซึ่งรวมถึงคำว่า "โลกที่สาม" ซึ่งเกิดขึ้นในยุคสงครามเย็น เนื่องจากไม่มีคำจำกัดความใดๆมากำหนด คำว่าประเทศพัฒนานาแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า ระดับของคำว่า พัฒนาแล้ว จะมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมากกว่า คำว่า กำลังพัฒนาด้วย สำหรับบางประเทศที่ถูกเรียกว่า เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังพบว่ามีค่าเฉลี่ยของมาตรฐานการดำรงชีวิตอยู่ในระดับสูงเช่นกัน ส่วนประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจที่จัดอยู่ในระดับก้าวหน้ามากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ยังไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ ประเทศพัฒนาแล้ว จะถูกจัดให้อยู่กลุ่มที่ใช้คำจำกัดความว่า ประเทศอุตสาหกรรมใหม.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และประเทศกำลังพัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคนาดา

แคนาดา (-enCanada) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ (หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง) ดินแดนที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบันในอดีตมีผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วเป็นชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจ และต่อมาจึงมีการตั้งรกรากขึ้นบนแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..1763 ฝรั่งเศสได้ยอมสูญเสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากสงครามเจ็ดปี ในปี..1867 มีการรวมตัวของอาณานิคมของอังกฤษ 3 แห่งขึ้น และประเทศแคนาดาก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของเขตปกครองสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 4 รัฐ และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มจำนวนขึ้นของรัฐและดินแดนต่างๆ และกระบวนการได้รับอำนาจปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักร รัฐบัญญัติแห่งเวสต์มินสเตอร์ในปี..1931 ได้เพิ่มอำนาจปกครองตนเองและเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติแคนาดาในปี..1982 ซึ่งมีผลให้แคนาดาตัดขาดจากการขึ้นตรงต่ออำนาจของรัฐสภาอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และประเทศแคนาดา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเอกวาดอร์

อกวาดอร์ (Ecuador) หรือ สาธารณรัฐเอกวาดอร์ (República del Ecuador) เป็นประเทศในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับโคลอมเบียทางทิศเหนือ ติดต่อกับเปรูทางทิศตะวันออกและทางทิศใต้ และจรดมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตก ประเทศนี้มีอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะกาลาปาโกส (หมู่เกาะโกลอน) ในแปซิฟิก ตั้งอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ไปทางทิศตะวันตก 965 กิโลเมตร (ประมาณ 600 ไมล์) เนื่องจากบริเวณนี้ตั้งอยู่บริเวณที่เส้นศูนย์สูตรพาดผ่าน จึงได้รับการตั้งชื่อตามคำในภาษาสเปนว่า Ecuador ซึ่งก็ตรงกับ "equator" ในภาษาอังกฤษนั่นเอง เอกวาดอร์มีพื้นที่ 272,045 ตารางกิโลเมตร (105,037 ตารางไมล์) เมืองหลวงคือกรุงกีโต (Quito).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และประเทศเอกวาดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์โลกร้อน

ผิดปรกติของอุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวโลกที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2403–2549 เทียบกับอุณหภูมิระหว่าง พ.ศ. 2504–2533 ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิผิวพื้นที่ผิดปกติที่เทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่างปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2551 ปรากฏการณ์โลกร้อน หมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 และมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา นับถึง พ.ศ. 2548 อากาศใกล้ผิวดินทั่วโลกโดยเฉลี่ยมีค่าสูงขึ้น 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ของสหประชาชาติได้สรุปไว้ว่า “จากการสังเกตการณ์การเพิ่มอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2490) ค่อนข้างแน่ชัดว่าเกิดจากการเพิ่มความเข้มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยกิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นผลในรูปของปรากฏการณ์เรือนกระจก” ปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่าง เช่น ความผันแปรของการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์และการระเบิดของภูเขาไฟ อาจส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อการเพิ่มอุณหภูมิในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมจนถึง พ.ศ. 2490 และมีผลเพียงเล็กน้อยต่อการลดอุณหภูมิหลังจากปี 2490 เป็นต้นมา ข้อสรุปพื้นฐานดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองโดยสมาคมและสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 30 แห่ง รวมทั้งราชสมาคมทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติที่สำคัญของประเทศอุตสาหกรรมต่าง ๆ แม้นักวิทยาศาสตร์บางคนจะมีความเห็นโต้แย้งกับข้อสรุปของ IPCC อยู่บ้าง แต่เสียงส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลกโดยตรงเห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ แบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศที่สรุปโดย IPCC บ่งชี้ว่าอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยที่ผิวโลกจะเพิ่มขึ้น 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2544–2643) ค่าตัวเลขดังกล่าวได้มาจากการจำลองสถานการณ์แบบต่าง ๆ ของการแผ่ขยายแก๊สเรือนกระจกในอนาคต รวมถึงการจำลองค่าความไวภูมิอากาศอีกหลากหลายรูปแบบ แม้การศึกษาเกือบทั้งหมดจะมุ่งไปที่ช่วงเวลาถึงเพียงปี..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และปรากฏการณ์โลกร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์เรือนกระจก

แผนภูมิแสดงการแลกเปลี่ยนพลังงานระหว่างดวงอาทิตย์ พื้นผิวโลก ชั้นบรรยากาศของโลก และอวกาศ ความสามารถของชั้นบรรยากาศในการจับและนำพลังงานที่แผ่ออกมาจากพื้นผิวโลกกลับมาใช้ใหม่เป็นลักษณะนิยามของปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) คือ ขบวนการที่รังสีความร้อนจากพื้นผิวโลกจะถูกดูดซับโดยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และแผ่รังสีออกไปอีกครั้งในทุกทิศทาง เนื่องจากการแผ่รังสีออกไปอีกครั้งถูกส่งกลับมายังพื้นผิวโลกและบรรยากาศด้านล่าง เป็นผลทำให้ระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยสูงขึ้นถ้าไม่มีก๊าซเหล่านี้A concise description of the greenhouse effect is given in the Intergovernmental Panel on Climate Change Fourth Assessment Report, "What is the Greenhouse Effect?", IIPCC Fourth Assessment Report, Chapter 1, page 115: "เพื่อความสมดุลของพลังงานที่ส่งมาจากดวงอาทิตย์ โลกโดยเฉลี่ยต้องแผ่รังสีพลังงานจำนวนที่เท่ากันกลับไปสู่อวกาศ เพราะว่าโลกเย็นกว่าดวงอาทิตย์ โลกจึงแผ่รังสีที่ความยาวคลื่นที่ยาวกว่าในแถบความถี่อินฟราเรด รังสีความร้อนที่ปล่อยออกมาจากพื้นดินและมหาสมุทรจำนวนมากนี้จะถูกดูดซับในชั้นบรรยากาศรวมทั้งหมู่เมฆและแผ่รังสีอีกครั้งกลับมายังโลก ขบวนการนี้เรียกว่าปรากฏการณ์เรือนกระจก" Stephen H. Schneider, in Geosphere-biosphere Interactions and Climate, Lennart O. Bengtsson and Claus U. Hammer, eds., Cambridge University Press, 2001, ISBN 0-521-78238-4, pp.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และปรากฏการณ์เรือนกระจก · ดูเพิ่มเติม »

ปาสกาล (หน่วยวัด)

ปาสคาล หรือ พาสคาล (pascal สัญลักษณ์ Pa) เป็นหน่วยอนุพันธ์เอสไอ ใช้วัดความดัน ความดันภายใน ความเค้น ค่ามอดูลัสของยัง และความทนแรงดึงสูงสุด นิยามค่าเท่ากับหนึ่งนิวตันต่อตารางเมตร ชื่อหน่วยตั้งตามผู้รู้รอบด้านชาวฝรั่งเศส แบลซ ปัสกาล พหุคูณของหน่วยปาสคาลที่พบทั่วไปคือ เฮกโตปาสคาล (1 hPa ≡ 100 Pa) เท่ากับ 1 มิลลิบาร์ กิโลปาสคาล (1 kPa ≡ 1000 Pa) เมกะปาสคาล (1 MPa ≡ 1,000,000 Pa) และจิกะปาสคาล (1 GPa ≡ 1,000,000,000 Pa) หน่วยวัดที่เป็นบรรยากาศมาตรฐาน (atm) นิยามไว้ที่ 101.325 กิโลปาสคาล และประมาณเท่ากับความดันเฉลี่ยที่ระดับน้ำทะเลที่ 45 องศาเหนือ รายงานอุตุนิยมวิทยาหลายรายงานกล่าวถึงความกดอากาศในหน่วยเฮกโตปาสคาล.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และปาสกาล (หน่วยวัด) · ดูเพิ่มเติม »

ปิโตรเลียม

แหล่งน้ำมันสำรองทั่วโลกที่พิสูจน์แล้วใน ค.ศ. 2009 บ่อปิโตรเลียมแห่งหนึ่งในเท็กซัส ปิโตรเลียม (petroleum, petra (หิน) + oleum (น้ำมัน) รวมหมายถึง "น้ำมันที่ได้จากหิน") หรือ น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อนระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่น ๆ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จากซากสิ่งมีชีวิต (มักเป็นแพลงก์ตอนสัตว์และสาหร่าย) จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล การขุดเจาะน้ำมันเป็นวิธีการส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยา การวิเคราะห์แอ่งตะกอน และลักษณะหินกักเก็บปิโตรเลียม หลังขุดเจาะขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมจะถูกกลั่นและแยกเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคหลายชนิด ตั้งแต่แก๊สโซลีนและน้ำมันก๊าด ไปจนถึงยางมะตอยและตัวทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งใช้ในการทำพลาสติกและเภสัชภัณฑ์ นอกจากนี้ ปิโตรเลียมยังใช้ในการผลิตวัสดุอีกหลายชนิด ปิโตรเลียมมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอนและไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ รวมถึงความร้อนและความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็นสองชนิดหลัก คือ น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยแก๊สธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 1-4 อะตอม.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และปิโตรเลียม · ดูเพิ่มเติม »

ปี

ปี หมายถึง ช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์แต่ละดวงโคจรรอบดาวฤกษ์ เช่นการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์แต่ละดวงจะมีระยะเวลาของปีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความเร็วในการโคจรของดาวเคราะห์และความยาววงโคจรของดาวเคราะห.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และปี · ดูเพิ่มเติม »

ปีแสง

ปีแสง (อังกฤษ: light-year) คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792,458 เมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607 กิโลเมตร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และปีแสง · ดูเพิ่มเติม »

ป่า

ป่า ป่าไม้ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ หมายถึง ที่ดินที่ไม่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ครอบครองตามกฎหมายที่ดิน โดยทั่วไป หมายถึง บริเวณที่มีความชุ่มชื้น และปกด้วยใบไม้สีเขียว ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและกว้างใหญ่พอที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น เช่น ความเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ มีสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และป่า · ดูเพิ่มเติม »

ป่าดิบชื้น

ป่าดิบชื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค ป่าดิบชื้น หรือ ป่าฝนเขตร้อน (tropical rain forest) จัดเป็นป่าประเภทไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีสีเขียวตลอดทั้งปี ต้นไม้จะไม่ผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก ต้นไม้ไม่มีความจำเป็นต้องผลัดใบเพื่อลดการคายน้ำ ป่าชนิดนี้มักจะเรียกกันว่าป่าดงดิบ เป็นป่าที่อยู่ในเขตมรสุมพัดผ่านเกือบตลอดทั้งปี ขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่ม ที่ราบเชิงเขาที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 0-100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (บางครั้งอาจพบอยู่สูงถึงระดับ 250 เมตร) และมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มม./ปี พบมากทางภาคใต้และแถบจังหวัดชายทะเลภาคตะวันออก เช่น จังหวัดระยอง จันทบุรี และตร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และป่าดิบชื้น · ดูเพิ่มเติม »

นาที

นาที อักษรย่อ น. (Minute) สมัยก่อนใช้คำว่า นาที เป็นหน่วยวัดเวลา โดยหนึ่งหน่วยเท่ากับ ของชั่วโมง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และนาที · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และนาซา · ดูเพิ่มเติม »

นิกเกิล

นิกเกิล (Nickel) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 28 และสัญลักษณ์คือ Ni อยู่ในตารางธาตุหมู่ 28 นิกเกิลเป็นโลหะที่มีความมันวาวสีขาวเงิน อยู่กลุ่มเดียวกับเหล็ก มีความแข็งแต่ตีเป็นแผ่นได้ ในธรรมชาติจะทำปฏิกิริยาเคมีกับกำมะถันเกิดเป็นแร่มิลเลอร์ไรต์ (millerite) ถ้าทำปฏิกิริยาเคมีกับสารหนู (arsenic) จะเกิดเป็นแร่นิกกอไลต์ (niccolite) แต่ถ้าทำปฏิกิริยาเคมีกับทั้งสารหนูและกำมะถันจะเป็นก้อนนิกเกิลกลานซ (nickel glance) ประเทศที่บริโภคนิเกิลมากที่สุดคือญี่ปุ่น ซึ่งใช้ 169,600 ตันต่อปี (ข้อมูลปี 2005).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และนิกเกิล · ดูเพิ่มเติม »

นูนาวุต

นูนาวุต (Nunavut) เป็นดินแดนที่ใหญ่ที่สุดและใหม่ที่สุดของสหพันธรัฐของแคนาดา แยกออกมาอย่างเป็นทางการจากนอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ เมื่อวันที่ 1 เมษายนน ค.ศ. 1999 ผ่านกฎหมายนูนาวุต และกฎหมายยินยอมอ้างสิทธิ์ดินแดนนูนาวุต (Nunavut Land Claims Agreement Act) กับพื้นที่จริงที่เกิดขึ้นในปี 1993 นูนาวุตประกอบด้วยพื้นที่ใหญ่ 2 ส่วนของแคนาดาเหนือ ส่วนมากอยู่ในพื้นที่หมู่เกาะอาร์กติก นูนาวุตยังเป็นรัฐหรือดินแดนของแคนาดาที่ใหญ่ที่สุด แต่มีประชากรน้อยที่สุด มีราว 29,474 คน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และนูนาวุต · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ (โมเลกุล)

น้ำมี สูตรเคมี H2O, หมายถึงหนึ่ง โมเลกุล ของน้ำประกอบด้วยสองอะตอมของ ไฮโดรเจน และหนึ่งอะตอมของ ออกซิเจน เมื่ออยู่ในภาวะ สมดุลพลวัต (dynamic equilibrium) ระหว่างสถานะ ของเหลว และ ของแข็ง ที่ STP (standard temperature and pressure: อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน) ที่อุณหภูมิห้อง เป็นของเหลวเกือบ ไม่มีสี, ไม่มีรส, และ ไม่มีกลิ่น บ่อยครั้งมีการอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ว่ามันเป็น ตัวทำละลายของจักรวาล และน้ำเป็นสารประกอบบริสุทธิ์ชนิดเดียวเท่านั้นที่พบในธรรมชาติทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และน้ำ (โมเลกุล) · ดูเพิ่มเติม »

น้ำบาดาล

น้ำใต้ดินแบ่งเป็น 3 โซนได้แก่ soil zone, intermediate zone และ the upper part of capillary fringe น้ำบาดาล (groundwater) คือน้ำที่ถูกกักเก็บหรือสะสมตัวอยู่ใต้ดิน อาจสะสมตัวอยู่ตามรอยแตก รอยแยกของชั้นหิน หรืออาจสะสมตัวอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดกรวด หรือเม็ดทรายใต้ผิวดิน น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลแย่งออกได้เป็น 2 โซนคือ unsaturated zone เป็นโซนที่มีทั้งน้ำและอากาศ และ saturated zone เป็นโซนที่มีแต่น้ำเท่านั้นโดยส่วนนี้จะเป็นส่วนของน้ำใต้ดินที่แท้จริง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และน้ำบาดาล · ดูเพิ่มเติม »

น้ำท่วม

วัดไชยวัฒนารามที่ถูกน้ำท่วมในอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 น้ำท่วม เป็นการไหลล้นของห้วงน้ำซึ่งทำให้แผ่นดินจมอยู่ใต้น้ำ คำว่า "น้ำเอ่อล้น" (flowing water) ยังอาจใช้กับการไหลเข้าของกระแสน้ำ น้ำท่วมอาจเป็นผลของปริมาตรน้ำภายในแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำหรือทะเลสาบ ซึ่งไหลล้นหรือทลายคันดิน เป็นผลให้น้ำบางส่วนออกจากขอบเขตตามปกติของมัน ขณะที่ขนาดของทะเลสาบหรือแหล่งน้ำอื่นมีความแตกต่างกันตามการเปลี่ยนแปลงหยาดน้ำฟ้าและการละลายของหิมะตามฤดูกาล แต่น้ำนั้นมิใช่อุทกภัยที่สำคัญเว้นแต่น้ำนั้นออกมาคุกคามพื้นที่ดินที่มนุษย์ใช้ เช่น หมู่บ้าน นครหรือพื้นที่อยู่อาศัยอื่น น้ำท่วมยังสามารถเกิดในแม่น้ำได้ เมื่อการไหลนั้นเกินความจุของฝั่งน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หัวเลี้ยว (bend) หรือทางน้ำโค้งตวัด (meander) อุทกภัยมักทำความเสียหายแก่บ้านและธุรกิจหากตั้งอยู่ในที่ราบน้ำท่วมถึงตามธรรมชาติ ขณะที่ความเสียหายอันเกิดจากอุทกภัยนั้นแท้จริงแล้วหมดไปได้โดยการย้ายออกจากแม่น้ำหรือแหล่งน้ำอื่น หากตั้งแต่สมัยโบราณ ผู้คนได้อาศัยและทำงานอยู่ริมน้ำเพื่อการยังชีพและได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวและการพาณิชย์ที่ถูกและง่ายโดยอาศัยอยู่ใกล้น้ำ การที่มนุษย์ยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมนั้นเป็นหลักฐานว่า มูลค่าที่สัมผัสได้ของการอาศัยอยู่ใกล้น้ำมีมากเกินมูลค่าของน้ำท่วมที่เกิดซ้ำเป็นเวล.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และน้ำท่วม · ดูเพิ่มเติม »

น้ำขึ้นลง

น้ำขึ้นน้ำลง (อังกฤษ: tide) เกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ (อิทธิพลของดวงอาทิตย์มีน้อยกว่าดวงจันทร์ประมาณครึ่งหนึ่ง) น้ำขึ้นเกิดใน 2 ส่วนของโลกคือ ส่วนที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ และส่วนที่อยู่ห่างจากซีกโลกด้านตรงข้าม และเกิดน้ำขึ้นน้ำลงสูงสุด หรือน้ำเกิด (Spring tide) เมื่อโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อยู่ในแนวเดียวกันหรือ ทุกๆ 2 อาทิตย์ คือ ขึ้น 15 ค่ำ และ แรม 15 ค่ำ และระดับน้ำขึ้นน้ำลงจะเปลี่ยนแปลงน้อยหรือน้ำตาย (Neap tide)เมื่อดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์ อยู่ในแนวตั้งฉากคือ วันขึ้น 7 ค่ำ และ แรม 7 ค่ำ การเคลื่อนที่ขึ้นลงของน้ำบริเวณชายฝั่งทะเลก่อให้เกิดกระแสน้ำขึ้น - น้ำลง (tidal current) ซึ่งอาจมีความเร็ว 7-8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตอนน้ำขึ้นกระแสน้ำที่ไหลท่วมชายฝั่งต่ำหรือท่วมลำน้ำสายเล็กๆนั้นเรียกว่า น้ำท่วมฝั่ง (flood tides) และช่วงกระแสน้ำลดต่ำลง จนบริเวณที่ถูกน้ำท่วมโผล่ขึ้นมาอีกเรียกกระแสน้ำนั้นว่า น้ำหนีฝั่ง (ebb tide) เราเรียกบริเวณที่ราบต่ำที่น้ำทะเลท่วมถึงซึ่งอาจเป็นดินหรือทรายก็ได้ ว่า หาดโคลน (tidal flat หรือ mud flat) หาดโคลนที่ประกอบด้วยดินโคลนมักมีวัชพืชที่ทนต่อน้ำเค็มขึ้นปกคลุมอยู่เรียกที่รายชนิดนี้ว่า ลุ่มดินเค็ม (salt marsh) หาดโคลนบางแห่ง อาจมีสภาวะเหมาะสมจนเป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญของหอยหลอดได้.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และน้ำขึ้นลง · ดูเพิ่มเติม »

แชลเลนเจอร์ดีป

ที่ตั้งของแชลเลนเจอร์ดีปในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก แชลเลนเจอร์ดีป (Challenger Deep) เป็นจุดที่ลึกที่สุดในมหาสมุทรของโลกเท่าที่รู้จัก โดยมีระดับความลึก 10,911 เมตร ตั้งอยู่ทางปลายด้านใต้สุดของร่องลึกมาเรียนา ใกล้กับกลุ่มหมู่เกาะมาเรียนา แชลเลนเจอร์ดีปมีลักษณะเป็นแอ่งขนาดเล็กที่ก้นของร่องลึกใต้มหาสมุทรรูปดวงจันทร์เสี้ยวขนาดค่อนข้างใหญ่ ซึ่งร่องเหล่านี้ก็เป็นลักษณะภูมิประเทศที่ลึกผิดปกติใต้ท้องมหาสมุทรอยู่แล้ว แผ่นดินที่อยู่ใกล้กับแชลเลนเจอร์ดีปที่สุด คือ เกาะไฟส์ (ส่วนหนึ่งของหมู่เกาะแย็พ) ห่างออกไป 289 กิโลเมตรทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และกวม ห่างออกไป 306 กิโลเมตรทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แอ่งดังกล่าวได้ชื่อตามเรือสำรวจราชนาวี เอชเอ็มเอส แชลเลนเจอร์ ซึ่งจัดการสำรวจใน ค.ศ. 1872-76 เป็นการบันทึกความลึกของมหาสมุทรเป็นครั้งแรก การทำแผนที่โซนาร์ของแชลเลนเจอร์ดีปครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และแชลเลนเจอร์ดีป · ดูเพิ่มเติม »

แกรไฟต์

แกรไฟต์ (graphite) เป็นอัญรูปหนึ่งของธาตุคาร์บอน ชื่อสามัญเรียกว่า พลัมเบโก (plumbago) หรือแร่ดินสอดำ มีลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกเป็นแผ่นบาง ๆ ทึบแสง อ่อนนุ่ม สีเทาเข้มถึงดำ เนื้ออ่อน เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี มักใช้ทำไส้ดินสอดำ เบ้าหลอมโลหะ น้ำมันหล่อลื่นบางชนิด ไส้ถ่านไฟฉาย ไส้ไฟอาร์ก ใช้เป็นตัวลดความเร็ว ช่วยควบคุมจำนวนอนุภาคนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ถูกนำมาใช้เมื่อ 4 พันปีก่อนคริสตกาล ในงานทาสีตกแต่งเครื่องเซรามิกในทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป ได้มีการค้นพบแหล่งสะสมตัวของแร่แกรไฟต์ขนาดใหญ่มากที่รัฐคัมเบรีย ประเทศอังกฤษ แร่ที่พบมีลักษณะบริสุทธิ์ ไม่แข็ง แตกหักง่าย และมีรูปแบบการสะสมตัวอัดแน่นกัน แกรไฟต์เป็นชื่อที่ตั้งโดย Abraham Gottlob Werner ในปี ค.ศ. 1789 โดยมาจากภาษากรีกว่า γραφειν หมายถึง "เพื่อวาด/เขียน" ซึ่งตั้งตามการใช้แกรไฟต์ในดินสอ แร่แกรไฟต์เป็นการจัดเรียงตัวรูปแบบหนึ่งของคาร์บอน ในภาษากรีกแปลว่า ใช้ขีดเขียนวาดภาพ มีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้าหรือกึ่งตัวนำไฟฟ้า แกรไฟต์มีการจัดเรียงตัวแบบเสถียรที่สภาวะมาตรฐาน แต่บางครั้งแร่แกรไฟต์เกิดจากถ่านหินเมื่อมีความร้อน ความดันสูงขึ้นระดับหนึ่งซึ่งพบอยู่บนแอนทราไซท์ (Anthracite) และเมตา-แอนทราไซท์ (Meta-anthracite) ซึ่งโดยปกติแล้ว มักไม่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเพราะติดไฟยาก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และแกรไฟต์ · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สธรรมชาติ

ประเทศผู้ผลิตแก๊สธรรมชาติ แก๊สธรรมชาติ (Natural gas) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอนที่เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ประเภทจุลินทรีย์ที่มีอายุหลายร้อยล้านปี ซึ่งสามารถแยกส่วนประกอบได้ เป็นมีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน เพนเทน เป็นต้น หรือ หมายถึง ปิโตรเลียมที่มีสภาพเป็นแก๊ส ณ ที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน 15.6 องศาเซลเซียส และ 101 กิโลปาสคาล โดยในแหล่งธรรมชาติอาจมีเฉพาะ มีเทน หรือ อีเทนล้วนหรืออาจ เจือปนโพรเพน และบิวเทนในบางแหล่ง ซึ่งถ้าแยกโพรเพน และบิวเทน ออกมาบรรจุลงในถังแก๊ส เรียกว่า แก๊สปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือ LPG หรือ แก๊สหุงต้ม แก๊สธรรมชาติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีสารพิษ ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยสูงสุดผลิตภัณฑ์หนึ่งในปัจจุบัน เมื่อเผาไหม้แล้วจะเป็นเชื้อเพลิงสะอาดและส่งผลกระทบแก่สิ่งแวดล้อมน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเตาและแก๊สหุงต้ม ด้วยเหตุนี้หลายประเทศจึงนิยมใช้แก๊สธรรมชาติ โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกตามสมบัติทางเทคนิคได้ 4 ประเภท ดังนี้ 1.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และแก๊สธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สเรือนกระจก

ice core) ล่าง: ปริมาณสุทธิของคาร์บอนที่เพิ่มในบรรยากาศเปรียบเทียบกับคาร์บอนที่ปลดปล่อยจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuel) แก๊สเรือนกระจก (greenhouse gas) หรือบางครั้งเรียกย่อๆว่า GHG คือแก๊สในบรรยากาศที่ดูดซับและปลดปล่อยรังสีภายในช่วงความถี่(คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)อินฟราเรดร้อน (thermal infrared range) ทำให้เกิดการสูญเสียความร้อนบางส่วนออกสู่ห้วงอวกาศภายนอกและปลดปล่อยความร้อนกลับสู่พื้นผิวโลก ขบวนการนี้จึงเป็นสาเหตุพื้นฐานของปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) แก๊สเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากแก๊สเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้ อุณหภูมิในโลกจะต่ำกว่าปัจจุบันที่ 14 °C (57 °F) ลงอีก 33 °C (59 °F) แต่การมีแก๊สเรือนกระจกมากเกินไปก็เป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตดังที่เป็นอยู่กับบรรยากาศของดาวศุกร์ซึ่งมีบรรยากาศที่ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 96.5 มีผลให้อุณหภูมิผิวพื้นร้อนมากถึง 467 °C (872 °F) คำว่า “แก๊สเรือนกระจก” บนโลกหมายถึงแก๊สต่างๆ เรียงตามลำดับความอุดมคือ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ โอโซน และ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) แก๊สเรือนกระจกเกิดเองตามธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีในบรรยากาศ 380 ppmv และที่ปรากฏในแกนน้ำแข็งตัวอย่าง (ดูแผนภูมิ) จะเห็นว่าระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบันสูงกว่าระดับเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 100 ppmv.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และแก๊สเรือนกระจก · ดูเพิ่มเติม »

แมกนีเซียม

แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Mg และเลขอะตอม 12 แมกนีเซียมเป็นธาตุที่มีอยู่มากเป็นอันดับ 8 และเป็นส่วนประกอบของเปลือกโลกประมาณ 2% และเป็นธาตุที่ละลายในน้ำทะเลมากเป็นอันดับ 3 โลหะอัลคาไลเอิร์ธตัวนี้ส่วนมากใช้เป็นตัวผสมโลหะเพื่อทำโลหะผสมอะลูมิเนียม-แมกนีเซียม.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และแมกนีเซียม · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำ

แม่น้ำตาปี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำ (river) เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินจะไหลไปยังแม่น้ำแล้วออกสู่มหาสมุทรหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำมีส่วนประกอบโดยพื้นฐานหลายส่วน อาจมีแหล่งกำเนิดจากต้นน้ำหรือน้ำซับ แล้วไหลสู่กระแสน้ำหลัก ลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำเรียกว่าแคว โดยปกติกระแสน้ำจะไหลไปตามร่องน้ำที่ขนาบข้างด้วยตลิ่ง ที่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำหรือปากแม่น้ำ มักมีลักษณะแผ่ขยายออก เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) หรือชะวากทะเล (Estuary).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แม็กนีโตสเฟียร์

วาดแสดงแม็กนีโตสเฟียร์ที่ช่วยป้องกันลมสุริยะ แม็กนีโตสเฟียร์ (Magnetosphere) คือย่านที่มีแม่เหล็กกำลังสูงรอบๆ วัตถุทางดาราศาสตร์ โลกมีแม็กนีโตสเฟียร์ครอบอยู่รอบๆ เช่นเดียวกันกับดาวที่มีสนามแม่เหล็กอื่นๆ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และ ดาวเนปจูน ดวงจันทร์แกนีมีดของดาวพฤหัสบดีก็มีสนามแม่เหล็กเช่นกัน แต่เป็นสนามที่มีกำลังอ่อนจนไม่สามารถป้องกันพลาสมาจากลมสุริยะได้ ส่วนดาวอังคารเป็นดาวที่มีสนามแม่เหล็กแบบเว้าแหว่งไม่ต่อเนื่อง คำว่า "แม็กนีโตสเฟียร์" นี้ยังสามารถใช้อธิบายถึงย่านรอบๆ วัตถุท้องฟ้าอื่นที่มีสนามแม่เหล็กรอบๆ ด้วย เช่น แม็กนีโตสเฟียร์ของพัลซาร์ เป็นต้น.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และแม็กนีโตสเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

แรงไทดัล

นามแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ (หรือดวงอาทิตย์) ที่ไม่เท่ากันบนพื้นผิวของโลก เรียกว่าแรงไทดัล หรือแรงที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง เป็นกลไกพื้นฐานที่ทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำขึ้นน้ำลงวันละ 2 ครั้ง ในภาพนี้ดวงจันทร์อาจอยู่ทางด้านซ้ายหรือด้านขวาของโลก แรงไทดัล (Tidal force) เป็นผลกระทบทุติยภูมิที่เกิดจากแรงโน้มถ่วง และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง แรงนี้เกิดขึ้นจากแรงโน้มถ่วงของวัตถุหนึ่งที่กระทำต่ออีกวัตถุหนึ่งอย่างไม่สม่ำเสมอกันตลอดแนวเส้นผ่านศูนย์กลาง ด้านที่อยู่ใกล้กับวัตถุที่สองมากกว่าจึงได้รับแรงดึงดูดที่มากกว่า ขณะที่ด้านตรงกันข้ามจะถูกแรงดึงดูดน้อยกว่า เมื่อวัตถุหนึ่ง (วัตถุ ก) ถูกกระทำโดยแรงโน้มถ่วงจากวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง (วัตถุ ข) สนามแรงโน้มถ่วงจะมีความแปรปรวนอย่างมีนัยสำคัญบนวัตถุ ก ระหว่างด้านที่วัตถุประจันหน้ากับวัตถุ ข กับอีกด้านหนึ่งที่อยู่ไกลออกไป แผนภาพด้านข้างนี้แสดงให้เห็นแรงกระทำจากแรงโน้มถ่วงที่แตกต่างกันที่เกิดขึ้นบนวัตถุทรงกลม ก อันเกิดจากแรงของวัตถุ ข ซึ่งทำให้เกิดแรงดึงระหว่างวัตถุทั้งสอง หากแรงมีขนาดสูงมากอาจทำให้วัตถุมีรูปร่างบิดเบี้ยวไป หรือกรณีสุดโต่งคือวัตถุอาจฉีกขาดออกจากกันได้ ขีดจำกัดโรเช คือระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์ที่ปรากฏการณ์ไทดัลสามารถทำให้วัตถุฉีกขาดออกเป็นเสี่ยงๆ เนื่องจากความแตกต่างอย่างมากของสนามแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์จนสามารถเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างชิ้นส่วนของวัตถุ แรงดึงชนิดนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าสนามแรงโน้มถ่วงมีลักษณะสม่ำเสมอ เพราะสนามที่สม่ำเสมอนี้จะทำให้วัตถุทั้งชิ้นเคลื่อนที่ไปในทิศทางและในอัตราความเร็วเท่าๆ กัน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และแรงไทดัล · ดูเพิ่มเติม »

แร่

ผลึกแร่ชนิดต่าง ๆ แร่ (Mineral) เป็นธาตุหรือสารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ด้วยกระบวนการทางอนินทรีย์ ส่วนใหญ่เป็นของแข็ง มีโครงสร้างภายในที่เป็นระเบียบ มีสูตรเคมีและสมบัติอื่น ๆ ที่แน่นอนคงที่หรืออาจเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกั.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และแร่ · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นยูเรเชีย

แผ่นยูเรเชียแสดงในสีเขียว แผ่นยูเรเชีย (Euresian Plate) คือแผ่นเปลือกโลกที่รองรับพื้นที่เกือบทั้งหมดของทวีปยูเรเชียแต่ไม่ได้รองรับประเทศอินเดีย อนุภูมิภาคอาหรับและพื้นที่ทางตะวันออกของเทือกเขาเชอร์สกีทางตะวันออกของไซบีเรีย นอกจากนี้ยังมีส่วนที่รองรับมหาสมุทรแอตแลนติกทางตอนเหนือไปจนถึงเทือกเขากลางสมุทรแอตแลนติกและเทือกเขาการ์กเกิลทางตอนเหนือและมีพื้นที่ประมาณ 67,800,000 ตารางกิโลเมตร การปะทุของภูเขาไฟทั้งหมดในไอซ์แลนด์อย่างเช่นการปะทุของภูเขาไฟแอลเฟจในปี 1973 การปะทุของภูเขาไฟลาไคปี 1783 และการปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553ล้วนเกิดจากการแยกตัวออกจากกันของแผ่นอเมริกาเหนือกับแผ่นยูเรเชีย ธรณีพลศาสตร์ของเอเชียกลางมักเป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างแผ่นยูเรเชียและแผ่นอินเดี.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และแผ่นยูเรเชีย · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นอเมริกาเหนือ

แผ่นอเมริกาเหนือแสดงในสีน้ำตาล แผ่นอเมริกาเหนือ (North American Plate) คือแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือ กรีนแลนด์ คิวบา บาฮามาส เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือไอร์แลนด์ และบางส่วนของไอซ์แลนด์ แผ่นเปลือกโลกนี้รองรับทั้งทวีปและมหาสมุทร หมวดหมู่:แผ่นเปลือกโลก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และแผ่นอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหว

แผนที่โลกแสดงจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวระหว่างปี พ.ศ. 2506–2541 ทั้งสิ้น 358,214 จุด แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์สั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปจะไม่รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา เรียกว่า วิทยาแผ่นดินไหว เมื่อจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่อยู่นอกชายฝั่ง อาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ นอกจากนี้ แผ่นดินไหวยังอาจก่อให้เกิดดินถล่ม และบางครั้งกิจกรรมภูเขาไฟตามมาได้ แผ่นดินไหววัดโดยใช้การสังเกตจากไซสโมมิเตอร์ (seismometer) มาตราขนาดโมเมนต์เป็นมาตราที่ใช้มากที่สุดซึ่งทั่วโลกรายงานแผ่นดินไหวที่มีขนาดมากกว่าประมาณ 5 สำหรับแผ่นดินไหวอีกจำนวนมากที่ขนาดเล็กกว่า 5 แมกนิจูด สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวแต่ละประเทศจะวัดด้วยมาตราขนาดท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ หรือเรียก มาตราริกเตอร์ สองมาตรานี้มีพิสัยความถูกต้องคล้ายกันในเชิงตัวเลข แผ่นดินไหวขนาด 3 หรือต่ำกว่าส่วนใหญ่แทบไม่รู้สึกหรือรู้สึกได้เบามาก ขณะที่แผ่นดินไหวตั้งแต่ขนาด 7 อาจก่อความเสียหายรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง ขึ้นอยู่กับความลึก แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มีขนาดมากกว่า 9 เล็กน้อย แม้จะไม่มีขีดจำกัดว่าขนาดจะมีได้ถึงเท่าใด แผ่นดินไหวใหญ่ล่าสุดที่มีขนาด 9.0 หรือมากกว่า คือ แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2554 และเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกในญี่ปุ่น ความรุนแรงของการสั่นสะเทือนวัดโดยมาตราเมร์กัลลีที่ถูกดัดแปลง หากตัวแปรอื่นคงที่ แผ่นดินไหวที่อยู่ตื้นกว่าจะสร้างความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างมากกว่าแผ่นดินไหวที่อยู่ลึกกว.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และแผ่นดินไหว · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นแปซิฟิก

แผ่นแปซิฟิกแสดงในสีเหลือง แผ่นแปซิฟิก (Pacific Plate) คือแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนของมหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่ประมาณ 103 ล้านตารางกิโลเมตรจึงถือว่าเป็นแผ่นเปลือกโลกที่ใหญ่ที่สุด แผ่นแปซิฟิกมีจุดร้อนภายในที่ทำให้เกิดหมู่เกาะฮาว.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และแผ่นแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

แขนนายพราน

รงสร้างที่สังเกตของแขนชนิดก้นหอยของทางช้างเผือกhttp://planetquest.jpl.nasa.gov/system/interactable/7/index.html See the "Spiral Arms" part of this NASA animation for details แขนนายพราน (Orion Arm) เป็นแขนชนิดก้นหอยย่อยของดาราจักรทางช้างเผือก กว้าง 3,500 ปีแสง (1,100 พาร์เซก) และยาวประมาณ 10,000 ปีแสง (3,100 พาร์เซก) ระบบสุริยะและโลกอยู่ในแขนนายพราน นอกจากนี้ แขนนายพรานยังมีชื่อเรียกเต็มว่า แขนหงส์-นายพราน รวมไปถึง แขนท้องถิ่น, สะพานนายพราน, เดือยท้องถิ่น และเดือยนายพราน แขนนายพราน ตั้งชื่อตามชื่อกลุ่มดาวนายพราน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มดาวที่โดดเด่นที่สุดในฤดูหนาวทางซีกโลกเหนือ (หรือฤดูร้อนทางซีกโลกใต้) ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดและเทห์วัตถุที่มีชื่อเสียงที่สุดในกลุ่มดาวนายพราน (ดาวบีเทลจุส ดาวไรเจล ดาวฤกษ์ในเข็มขัดนายพราน เนบิวลานายพราน) อยู่ในแขนนายพราน ดังที่แสดงในแผนที่อินเตอร์แอคทีฟด้านล่าง แขนท้องถิ่นตั้งอยู่ระหว่างแขนซาจิตทาเรียส-แครินา (เข้าใกล้ศูนย์กลางดาราจักร) และแขนเพอร์ซีอุส (เข้าใกล้เอกภพด้านนอก) แขนเพอร์ซีอุสเป็นหนึ่งในสองแขนหลักของดาราจักรทางช้างเผือก แต่ก่อน "เดือย" ระหว่างแขนเพอร์ซีอุสและแขนซาจิตทาเรียส-แครินา ที่ติดกันเคยคาดกันว่าเป็นโครงสร้างย่อย ปัจจุบันมีการนำเสนอหลักฐานในกลางปี 2556 ว่า เดือยดังกล่าวแท้จริงแล้วอาจเป็นแขนงของแขนเพอร์ซีอุส หรืออาจเป็นแขนอิสระส่วนหนึ่งก็ได้ ในแขนนายพราน ระบบสุริยะและโลกตั้งอยู่ใกล้กับขอบด้านในในฟองท้องถิ่น ราวครึ่งหนึ่งของความยาวแขนนายพราน คือ ราว 8,000 พาร์เซ็ก (26,000 ปีแสง) จากศูนย์กลางดาราจักร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และแขนนายพราน · ดูเพิ่มเติม »

แครอน (ดาวบริวาร)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และแครอน (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

แคลไซต์

แคลไซต์ (Calcite) เป็นแร่คาร์บอเนตและเป็นแร่ที่เสถียรที่สุดในกลุ่มแร่ที่มีสูตรโครงสร้างเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ส่วนแร่อื่นที่มีสูตรโครงสร้างเดียวกัน ได้แก่ อราโกไนท์ (Aragonite) และ วาเทอร์ไรต์ (Vaterite) โดยอราโกไนท์จะเปลี่ยนไปเป็นแคลไซต์ที่อุณหภูมิ 470 องศาเซลเซียส ส่วนวาเทอร์ไรต์นั้นไม่เสถียร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และแคลไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซียม

แคลเซียม (Calcium) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์เป็น Ca มีเลขอะตอมเป็น 20 แคลเซียมเป็นธาตุโลหะหนักประเภทอะคาไลที่มีสีเทาอ่อน มันถูกใช้เป็นสารรีดิวซิ่งเอเยนต์ในการสกัดธาตุ ทอเรียมเซอร์โคเนียม และยูเรเนียม แคลเซียมอยู่ในกลุ่ม 50 ธาตุที่มีมากที่สุดบนเปลือกโลก มันมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะในระบบสรีระวิทยาของเซลล์และการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ แคลเซียมมีพื้นดินเป็นแหล่งรองรับจะถูกพืชดูดไปใช้เป็นประโยชน์และสัตว์กินพืชก็ได้รับสารประกอบแคลเซียมเข้าไปด้วย เมื่อสีตว์และพืชตาย แคลเซียมก็จะกลับลงสู่ดินอีก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และแคลเซียม · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซียมออกไซด์

แคลเซียมออกไซด์ (Calcium oxide) เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า ปูนขาว หรือ ปูนเผา หรือในรูปของหินตะกอนว่า หินปูน เป็นสารเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย มันเป็นสีขาว,กัดกร่อน,ผลึกของแข็งอัลคาไล ในอุณหภูมิห้อง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และแคลเซียมออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

โพแทสเซียม

แทสเซียม (Potassium) ธาตุเคมีในกลุ่มโลหะ มีเลขอะตอม 19 สัญลักษณ์ K สัญลักษณ์ของโพแทสเซียม มาจากภาษาเยอรมันว่า Kalium ส่วนชื่อโพแทสเซียม มาจากคำว่า โพแทส ซึ่งเป็นชื่อเรียกแร่ชนิดหนึ่งที่สกัดธาตุโพแทสเซียมได้ โพแทสเซียมเป็นโลหะอัลคาไล เป็นผงสีขาว-เงินอ่อนๆ ในธรรมชาติมักเป็นสารประกอบร่วมกับธาตุอื่นเพราะไวต่อปฏิกิริยาเคมีมาก สามารถออกซิไดซ์ได้อย่างรวดเร็วในอากาศ มีสมบัติทางเคมีใกล้เคียงกับโซเดียม.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และโพแทสเซียม · ดูเพิ่มเติม »

โมโฮ

นักวิทยาการไหวสะเทือนชาวโคเอเชีย แอนเดรีย โมโฮโลวิคซิค (1857-1936) ผู้ค้นพบ "โมโฮ" ภาพแสดงความหนาของชั้นเปลือกโลกในบริเวณต่างๆของโลก โดย USGS ความไม่ต่อเนื่องของโมโฮโลวิคซิค (Mohorovicic’s discontinuity) หรือที่รู้จักในชื่อของ ในทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์นั้น โมโฮ คือ รอยต่อระหว่างชั้นเปลือกโลก (crust) กับชั้นเนื้อโลก (mantle) โดยอยู่ที่ความลึกเฉลี่ยประมาณ 7-8 กิโลเมตร ใต้เปลือกโลกใต้มหาสมุทร (oceanic crust) และประมาณ 30-50 กิโลเมตรใต้เปลือกโลกภาคพื้นทวีป (continental crust).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และโมโฮ · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และโลก · ดูเพิ่มเติม »

โลหะ

ลหะ คือ วัสดุที่ประกอบด้วยธาตุโลหะที่มีอิเล็กตรอนอิสระอยู่มากมาย นั่นคืออิเล็กตรอนเหล่านี้ไม่ได้เป็นของอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้มีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ เช่น.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และโลหะ · ดูเพิ่มเติม »

โอลิวีน

'''Descripyion:''''''Mineral:''' Forsterite: Mg2SiO4 Olivine: (Mg,Fe) 2SiO4 '''Location:''' Skardu, Nooristan, Pakistan. '''Scale:''' 2.5 x 2.7 cm. '''Description:''' olivine from San Carlos Indian Reservation, Arizona-3 '''Credit:''' R.Weller/Cochise College '''Crystal structure of olivine.''''''Description:''' The dominant slip system in olivine changes with temperature from the 110 plane in the 001 direction at low temperature to 010 plane in the 100 direction at high temperature. At intermediate temperature, there are a number of slip systems in the 001 direction. '''Description:''' การแบ่งแร่โอลิวีนตามองค์ประกอบทางเคมี '''Reference:''' C. Klein and C.S. Hurlbut, Jr., Manual of Mineralogy, copyright © 1985 John Wiley & Sons, Inc., reprinted with permission of John Wiley & Sons, Inc. โอลิวีน (Olivine) เป็นภาษาโบราณ หมายถึง สีเขียวมะกอก (Olive green) และยังหมายถึงว่า เป็น แร่ประกอบหิน แต่ในลักษณะที่เป็นรัตนชาติ เรียกว่า เพริดอต (Peridot) ส่วนคำว่า คริโซไลต์ (Chysolite) ก็หมายถึง โอลิวีน เช่นกัน แร่ในกลุ่มนี้ประกอบด้ว.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และโอลิวีน · ดูเพิ่มเติม »

โอดิน

โอดิน ขี่หลังม้าสเลปนีร์ โอดิน เทพเจ้าสูงสุดของชาวยุโรปเหนือ เป็นเทพเจ้าที่ใฝ่หาความรู้ ยึดมั่นในสัจจะ ช่วยเหลือผู้อื่น และออกผจญภัยเพื่อใช้ชีวิตให้คุ้มค่า รบอย่างกล้าหาญเพื่อให้ได้ตายอย่างมีเกียรติในสนามรบ ให้ลูกหลานนำเรื่องราวของตนไปเล่าขานในฐานะวีรบุรุษ และเพื่อให้ดวงวิญญาณได้รับเลือกให้เข้าร่วมกับกองทัพเทพ ร่วมต่อสู้กับยักษ์ในวันสิ้นโลก (ไวกิ้งเป็นตัวอย่างหนึ่งของชนที่นับถือศาสนานี้) แม้เทพโอดินทรงสร้างโลกแต่พระองค์ก็ไม่สามารถล่วงรู้อนาคตของโลกได้ โดยเฉพาะความลับสูงสุดของจักรวาล การถือกำเนิด ชีวิตหลังความตาย และอนาคตของโลก เพื่อให้ทรงทราบความลับเหล่านี้ จึงทรงทรมาณองค์เองโดยผูกเท้าข้างหนึ่งกับพฤกษาที่เป็นแกนกลางของโลก (อิ๊กก์ดราซิล) แทงหอกที่สีข้าง ทรมาณอยู่ถึง 9 วัน 9 คืน จนถึงกับสิ้นพระชนม์ แต่แล้วก็ทรงฟื้นคืนขึ้นมาใหม่โดยไม่เจ็บปวด แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยปรีชาญาณ ทรงบันทึกสิ่งที่พระองค์ค้นพบในรูปแบบอักษรศักดิ์สิทธิ์ 24 ตัว เรียกว่า รูนส์ ซึ่งต่อมาทรงพระราชทานรูนส์แก่ชาวโลกเพื่อให้ใช้ในฐานะเทพพยากรณ์ ในที่สุด ทรงล่วงรู้อนาคต รู้วันสิ้นโลก รู้ว่าในวันข้างหน้า โลกจะถึงกาลแตกดับ แต่ก่อนจะถึงวันนั้น พระองค์ จะทะนุถนอมโลกที่ทรงสร้างอย่างดี เพื่อเมื่อถึงวันโลกาวินาศ จะได้มีเทพและมนุษย์ที่หลงเหลืออยู่ไปสร้างโลกใหม่ที่มีความสุข แต่ยังทรงต้องการความรู้เพิ่มเติม จึงทรงไปที่รากของต้นไม้อี๊กก์ดราซิลเพื่อดื่มน้ำพุวิเศษที่ทำให้กลายเป็นผู้รอบรู้ ที่บ่อน้ำพุนี้มียักษ์ตนหนึ่งเฝ้าอยู่ ชื่อมีเมียร์ หากจะทรงถืออำนาจดื่มน้ำพุเลย ในฐานะจอมเทพ ย่อมทรงกระทำได้ แต่พระองค์ไม่ทำเพราะเห็นว่าเป็นการกระทำของคนโฉด จึงทรงแลกเปลี่ยนดวงตาข้างหนึ่ง เพื่อการได้ดื่มน้ำ ยักษ์ยินยอม แล้วพระองค์ก็ทรงดื่มน้ำนั้นจนหมดบ่อ แม้จะทรงมีหอกวิเศษกุงเนียร์ อันเป็นหอกที่ไม่เคยพลาดเป้าเป็นอาวุธ แต่กลับไม่ค่อยได้ใช้อาวุธของพระองค์เท่าใดนัก ว่ากันว่าพระองค์จะได้ใช้หอกนี้อย่างแท้จริงก็คือในวันทำสงครามแร็คนาร็อก แต่อย่างใดก็ดี ก็ไม่ช่วยให้พระองค์รอดพ้นจากคมเขี้ยวของพญาสุนัขป่าเฟนริล์ได้ ทรงมีสัตว์เลี้ยงคืออีกาคู่ และถือเป็นสัญลักษณ์ของพระองค์ ชื่อ ฮูกีน (ความคิด) และมูนีน (ความจำ) อีกาทั้งสองจะบินไปรอบโลก เพื่อนำข่าวคราวของสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกมาแจ้งแก่พระองค์ และทรงเลี้ยงสุนัขป่าขนสีเงินอีกสองตัวคือ เกรี และ เฟรคี สุนัขทั้งสองมักนั่งอยู่แทบพระบาท คอยกินอาหารที่ถูกนำมาถวาย ด้วยพระองค์ไม่โปรดอะไรนอกจากเหล้าน้ำผึ้ง ทรงมีพาหนะคือม้าสเลปไนร์ ซึ่งมีขาถึง 8 ขา จึงทำให้มันวิ่งเร็วกว่าม้าใดๆ ทรงมีมเหสีเอกคือเทวีฟริกก์ และต่อมาทรงรับเทวีเฟรยาเป็นมเหสีอีกองค์ เทวีฟริกกาทรงเปี่ยมไปด้วยเมตตา ปราศจากความอิจฉาริษยา เทวีเฟรายาจึงเคารพพระนางเป็นอย่างยิ่ง ไม่เคยทำอะไรให้มเหสีเอกต้องขุ่นเคืองพระทัย สำหรับผู้ที่เป็นนักพยากรณ์โดยไพ่ทาโรต์ จะคุ้นเคยกับใพ่ใบหนึ่งที่เป็นภาพของคนห้อยหัว ผูกขาข้างหนึ่งไว้กับต้นไม้ ไพ่ใบนี้ชื่อ Hang Man เชื่อกันว่ามีที่มาจากตำนานของเทพโอดินนั่นเอง ดังนั้นไพ่ใบนี้ จึงมีความหมายของการพยากรณ์ การหยุดนิ่งก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง การอดทนเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ การรอคอยโอกาสที่ยังมาไม่ถึง หมวดหมู่:เทพเจ้า หมวดหมู่:เทพปกรณัมนอร์ส หมวดหมู่:เทพแห่งสายฟ้า.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และโอดิน · ดูเพิ่มเติม »

โอโซน

อโซน (Ozone หรือ O3) เป็นโมเลกุลที่ประกอบจากออกซิเจน 3 อะตอม ปรากฏอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก และมีการใช้งานในทางอุตสาหกรรมและเครื่องใช้ตามบ้านทั่วไป โอโซนถูกค้นพบครั้งแรกโดย คริสเตียน ฟรีดริช เชินไบน์ (Christian Friedrich Schönbein) นักเคมีชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1840 โดยตั้งชื่อตามภาษากรีกคำว่า ozein ซึ่งแปลว่ากลิ่น โอโซนเข้มข้นมีสีฟ้าที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน (Standard Temperature and Pressure; STP) เมื่ออุณหภูมิลดลงถึง -112 °C โอโซนจะเป็นเป็นของเหลวสีน้ำเงิน และเมื่ออุณหภูมิลดต่ำกว่า -193 °C ก็จะกลายเป็นของแข็งสีดำ มนุษย์ได้นำโอโซนไปใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น นำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเคมีภัณฑ์ นำไปใช้เป็นสารซักฟอก ใช้ฆ่าแบคทีเรีย เป็นต้น ก๊าซโอโซนจัดเป็นก๊าซพิษ การสูดดมก๊าซโอโซนเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งแตกต่างจากคำว่าโอโซนที่บางครั้งถูกใช้ในบริบทของการท่องเที่ยวหรือการพักผ่อนหย่อนใจ เช่นในวลีว่า "สูดโอโซน", "รับโอโซน" หรือ "แหล่งโอโซน" เป็นต้น ถือว่าเป็นการใช้โอโซนผิดความหมาย เพราะความจริงแล้วโอโซนมีความเป็นพิษต่อมนุษย์ บริเวณที่มีโอโซนมากในประเทศไทย ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมแก่งคอย นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และย่านถนนสีลมในกรุงเทพมหานคร คำว่าโอโซนที่ใช้กันผิด ๆ จะหมายถึง ออกซิเจนหรืออากาศบริสุทธิ์ซึ่งดีต่อระบบการหายใจ ไม่ใช่ก๊าซโอโซนที่เป็นพิษ มีอันตรายต่อ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และโอโซน · ดูเพิ่มเติม »

โอเชียเนีย

อเชียเนีย (Oceania) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มของหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก การใช้ในวงแคบ หมายถึง หมู่เกาะพอลินีเซีย (รวมนิวซีแลนด์) หมู่เกาะเมลานีเซีย (รวมนิวกินี) และหมู่เกาะไมโครนีเซีย การใช้ในวงกว้างจะรวมออสเตรเลียเข้าไปด้วย และอาจรวมถึงกลุ่มเกาะมลายู บางทีนำไปใช้ในความหมายที่รวมเอาเกาะอื่นๆ เข้าไว้ เช่น ญี่ปุ่นและหมู่เกาะอาลิวเชียน แต่พบน้อยมาก "โอเชียเนีย" หมายถึง กลุ่มประเทศและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทวีปออสเตรเลียซึ่งเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุด เนื้อที่ราว 7.7 ล้านตารางกิโลเมตร เล็กกว่าทวีปเอเชียถึง 6 เท่า ประกอบด้วย ผืนแผ่นดินที่เป็นที่ตั้งของประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ และหมู่เกาะพอลินีเซีย หมู่เกาะไมโครนีเซีย หมู่เกาะเมลานีเซีย ทวีปออสเตรเลีย-โอเชียเนีย เป็นกลุ่มของหมู่เกาะจำนวนมากนับพันเกาะ อย่างไมโครนีเซียมีในครอบครองกว่า 600 เก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และโอเชียเนีย · ดูเพิ่มเติม »

โจวันนี โดเมนีโก กัสซีนี

วันนี โดเมนีโก กัสซีนี (Giovanni Domenico Cassini; 8 มิถุนายน ค.ศ. 1625 - 14 กันยายน ค.ศ. 1712) เป็นนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ วิศวกร และโหราจารย์ชาวอิตาลี บ้างก็เรียกว่า จันโดเมนีโก กัสซีนี (Giandomenico Cassini) เขาเป็นผู้ค้นพบจุดแดงใหญ่ของดาวพฤหัสบดี ร่วมกับโรเบิร์ต ฮุค และยังเป็นผู้แรกที่ค้นพบดวงจันทร์ของดาวเสาร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และโจวันนี โดเมนีโก กัสซีนี · ดูเพิ่มเติม »

โทรจัน (ดาราศาสตร์)

วเคราะห์น้อยทรอยของดาวพฤหัสบดี (สีเขียวในภาพ) ทั้งที่โคจรอยู่ก่อนและหลังในแนวโคจรของดาว ในภาพยังแสดงดาวเคราะห์น้อยในแถบหลักระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี (สีขาว) และดาวเคราะห์น้อยตระกูลฮิลดา (สีน้ำตาล ในทางดาราศาสตร์ คำคุณศัพท์ของทรอย (Trojan) มักใช้ในการอ้างถึงดาวเคราะห์ขนาดเล็กหรือดาวบริวาร (ดวงจันทร์) ที่มีวงโคจรร่วมกันกับดาวเคราะห์หรือดวงจันทร์ที่ใหญ่กว่า แต่ไม่ได้รวมเข้ากับดาวแม่เพราะมีการโคจรรอบจุดสมดุลลากร็องจ์ (Lagrangian point of stability) จุดใดจุดหนึ่งในสองจุด (L4 และ L5) ซึ่งอยู่ในตำแหน่ง 60° ล่วงหน้าหรือรั้งท้ายวัตถุใหญ่นั้นๆ คำว่าโทรจัน นี้ แต่เดิมเป็นคำที่ใช้อ้างถึงโทรจันของดาวพฤหัสบดี ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยโทรจันที่โคจรอยู่รอบๆ จุดลากร็องจ์ของดาวพฤหัสบดี อันเป็นประเภทของโทรจันที่พบมากที่สุดในระบบสุริยะ ต่อมาจึงพบวัตถุที่มีลักษณะเดียวกันโคจรอยู่รอบจุดลากร็องจ์ของดาวเนปจูนและดาวอังคาร นอกจากนี้ยังมีดวงจันทร์ทรอย ที่โคจรรอบจุดลากร็องจ์ของดวงจันทร์ขนาดกลาง 2 ดวงของดาวเสาร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และโทรจัน (ดาราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

โทรโพสเฟียร์

แสดงชั้นบรรยากาศของโลก โทรโพสเฟียร์ (Troposphere) (คำว่าโทรโพ (Tropo) มาจากภาษากรีกแปลว่า หมุน หรือ ผสม) บรรยากาศชั้นล่างสุดสูงจากผิวโลก 8 - 15 กิโลเมตร มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากที่สุด อากาศที่มนุษย์หายใจเข้าไปคืออากาศชั้นนี้ เมฆ  พายุ  ลม และลักษณะอากาศต่าง ๆ  เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นนี้  อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งและรวดเร็วกว่าบรรยากาศชั้นอื่น ๆอยู่ระหว่าง 0-10 กม.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และโทรโพสเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

โดโลไมต์

ลไมต์ (dolomite) เป็นชื่อแร่ ตั้งชื่อให้ป็นเกียรติแก่นักเคมีชาวฝรั่งเศส Déodat Gratet de Dolomieu (พ.ศ. 2293-2344) รูปผลึกแบบหกเหลี่ยม ผลึกของแร่มักจะพบในรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ผิวหน้าผลึกมักจะโค้ง บางครั้งจะโค้งเป็นรูปคล้ายอานม้า ผลึกในแบบอื่นมีพบได้บ้างแต่น้อย ซึ่งอาจพบเป็นเม็ดหยาบๆ ไปจนกระทั่งเม็ดเล็กเกาะกันแน่น แข็ง 3.5-4..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และโดโลไมต์ · ดูเพิ่มเติม »

โครงการอะพอลโล

ตราโครงการอะพอลโล โครงการอะพอลโล เป็นโครงการที่ 3 ต่อเนื่องมาจากเมอร์คิวรีและเจมินี มีเป้าหมายสำคัญคือ จะนำมนุษย์ลงไปสำรวจดวงจันทร์ ใช้มนุษย์อวกาศขึ้นไปครั้งละ 3 คน ตัวยานอวกาศประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และโครงการอะพอลโล · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้างของโลก

รงสร้างของโลก โครงสร้างภายในของโลกแบ่งเป็นชั้นในเปลือกทรงกลมคล้ายหัวหอม ชั้นเหล่านี้สามารถนิยามโดยคุณสมบัติทางเคมีหรือวิทยากระแส (rheology) ของมัน โลกมีเปลือกแข็งซิลิเกตชั้นนอก เนื้อโลกที่หนืดมาก แก่นนอกที่เหลวซึ่งหนืดน้อยกว่าเนื้อโลกมาก และแก่นในแข็ง ความเข้าใจโครงสร้างภายในของโลกอาศัยการสังเกตภูมิลักษณ์และการวัดความลึกของมหาสมุทร (bathymetry) การสังเกตหินในหินโผล่ ตัวอย่างซึ่งถูกนำสู่พื้นผิวจากชั้นที่ลึกกว่าโดยกิจกรรมภูเขาไฟ การวิเคราะห์คลื่นแผ่นดินไหวซึ่งผ่านโลก การวัดสนามความโน้มถ่วงของโลกและการทดลองกับของแข็งผลึกที่ลักษณะเฉพาะความดันและอุณหภูมิของภายในชั้นลึกของโลก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และโครงสร้างของโลก · ดูเพิ่มเติม »

โคลนถล่ม

ลนถล่มพัดสะพานและถนนขาด ใน อ.ท่าปลา อุตรดิตถ์ โคลนถล่ม เป็นภัยธรรมชาติ คือ คำเรียกรวมๆของการเคลื่อนที่ของมวลสาร (Mass movement หรือ mass-wasting) ซึ่งคือ กระบวนการเคลื่อนตัวของมวลหิน ดินและทรายลงมาตามความลาดชันภายใต้แรงดึงดูดของโลกเป็นหลัก โดยอาจอาศัยตัวกลางระหว่างการพัดพา ยกตัวอย่างเช่น น้ำ, ลมและธารน้ำแข็ง ซึ่งตัวกลางเหล่านี้เป็นตัวช่วยเสริมการย้ายมวล ดังนั้นหากตะกอนอิ่มตัวด้วยน้ำ แรงเสียดทานระหว่างเม็ดตะกอนจะลดลง การย้ายมวลจึงเกิดได้ดีขึ้น หลายคนเข้าใจว่า การย้ายมวลเกิดเฉพาะบนแผ่นดิน (Continents) เท่านั้น แต่จากการศึกษาทางธรณีฟิสิกส์และการลำดับชั้นหินตะกอนพบว่า บริเวณไหล่ทวีป ของมหาสมุทรหลายแห่ง มีการเคลื่อนตัวของตะกอนเช่นเดียวกับบนแผ่นดิน และจัดเป็นการเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วลงมาตามความลาดชัน เรียกว่า กระแสน้ำขุ่นข้น (turbidity current).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และโคลนถล่ม · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียมออกไซด์

ซเดียมออกไซด์ (Sodium oxide) เป็นสารประกอบเคมีที่มีสูตรว่า Na2O โดยจะใช้ในเซรามิก และแก้ว ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ในรูปแบบวัตถุดิบ รักษาด้วยกำบังน้ำโซดาไฟ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และโซเดียมออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟป่า

thumb ไฟป่า (wildfire, brush fire, bushfire, forest fire, desert fire, grass fire, hill fire, peat fire, vegetation fire, veldfire หรือ wildland fire) คือ เพลิงที่ไหม้อย่างเป็นอิสระในชนบทประเทศหรือถิ่นทุรกันดาร (wilderness area)Federal Fire and Aviation Operations Action Plan, 4.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และไฟป่า · ดูเพิ่มเติม »

ไกอา

กอา พระแม่ธรณีในเทพปกรณัมของกรีก ไกอา หรือ เกอา (Gaia; จากภาษากรีกโบราณ: Γαîα; ภาษากรีกปัจจุบัน: Γῆ; หมายความว่า พื้นดิน หรือพื้นโลก) หรือ จีอา (Gaea) เป็นเทพีองค์แรกของโลกตามตำนานของชาวกรีก ร่างกายของนางคือพื้นพิภพ นามในภาษาละตินของนางคือ เทอร์รา (Terra).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และไกอา · ดูเพิ่มเติม »

ไมกา

รูปแสดงกลุ่มแร่ไมกา(Muscovite)รูปแสดงรอยแตกกลุ่มแร่ไมกา(Muscovite) กลุ่มแร่ไมกา (Mica Group) ได้แก่ แร่ดิน (Clay mineral) และแร่กลีบหิน (flaky minerals) ประกอบด้วย ปิรามิดฐานสามเหลี่ยมที่จับตัวกันเป็นแผ่นซิลิเกด (sheet silicste) โดยแต่ละปิรามิดมีการใช้ออกซิเจนร่วมกับปิรามิดอื่นสามตัว จึงเหลือออกซิเจนอีกตัวที่ยังไม่สมดุล จึงมีสูตรทั่วไปว่า (Si4O10)n-4 ในกรณีที่ง่ายที่สุดก็คือเอา Al+3 มาจับกับออกซิเจน จนเกิดเป็นแร่ดินขาว (kaolinite) ในกรณีของแร่ไมกาตัวอื่น เช่น คลอไรด์หรือไบโอไทด์ นอกจาก Al แล้วยังมีไอออนตัวอื่นปรากฏและจับตัวเป็นแผ่นซิลิเกด แรงเกาะยึดก็มีลักษณะคล้ายพวกที่เป็นโซ่ คือแรงเกาะยึดระหว่างซิลิเกดกับออกซิเจนมากกว่าแรงจากออกซิเจนกับแคทไอออนตัวอื่น ด้วยเหตุนี้เองแร่ดินและแร่กลีบหินจึงมักแตกออกหรือปรากฏรอยแตกถี่ๆ ไปตามระนาบของแผ่นนั่นเองสำหรับกรณีกลุ่มแร่แผ่น (mica group) เช่น ไบโอไทต์ (biotite) แคทไอออน Al+3 สามารถเข้ามาแทนที่ Si+4 ในปิรามิดโดยการแทนที่ไอออน และไม่ทำให้สมบัติการจัดต่อสายโซ่เปลี่ยนแปลง เนื่องจาก Al+3 มีขนาดประจุเล็กกว่า Si+4 เล็กน้อย จึงอาจจับกับปิรามิดที่มีประจุลบเกินค่าอยู่หนึ่งประจุก็พบการทำให้ประจุสมดุลไม่สามารถทำได้การจัดต่อเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงต้องนำเอาแคทไอออนมาเพิ่มในโครงสร้างผลึก โดยทั่วไปประมาณหนึ่งในสี่ของปิรามิดในกลุ่มแร่ไมกา (หรือกลุ่มแร่แผ่น) ประกอบด้วย Al+3 (แทนที่จะเป็น Si+4 ตามปกติ) ดังนั้นเพื่อให้ประจุสมดุล ต้องมีการเพิ่มประจุบวกของ K+1 หรือ Mg+2 หรือแม้แต่ Al+3 ด้วยกัน ภายนอกปิรามิด ตัวอย่างแร่ที่สำคัญคือ แร่กลีบหินขาว (Muscovite-มัสโคไวต์ ซึ่งมีสูตร KAl2(Si3Al)O10(OH) 2 แร่คลอไรต์ (Chlorite) นับได้ว่าเป็นแร่แผ่น ซึ่งโดยมากเป็นสีเขียว (คลอไรต์มาจากภาษากรีกซึ่งก็แปลว่าเขียว) มีปิรามิดจับต่อสายโซ่เป็นแผ่น ซึ่งประกอบด้วยประจุไม่สมดุล ดังนั้นจึงต้องต่อกันหรือเกาะกับไอออนประจุบวกของ Mg+2,Fe+2 และ Al+3 เพื่อให้ได้มากซึ่งสูตร (Mg,Fe,Al)6(Si,Al)4O10(OH)8 แร่กลีบหินเขียว (หรือแร่คลอไรด์) นี้มักเป็นแร่ที่เป็นผลมาจากการแปลงเปลี่ยน (alteration) มาจากแร่ตัวอื่นที่มี Fe และ Mg เป็นองค์ประกอบ เช่น ไบโอไทด์ ฮอนเบลด์ หรือออ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และไมกา · ดูเพิ่มเติม »

ไม้

ตอไม้ ภาพของประดับที่ทำจากไม้ ภาพพื้นไม้ปาเก้ ภาพไม้แปรรูป Medium-density fibreboard (MDF) ไม้ เป็นวัสดุแข็งที่ทำจากแก่นลำต้นของต้นไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น โดยแบ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง ไม้แดง และไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้สัก ไม้ยางพารา โดยนิยามแล้วไม้ จะหมายถึงเนื้อเยื่อไซเล็มชั้นที่สอง (Xylem) ของต้นไม้ แต่ในความเข้าใจไม้ อาจหมายรวมไปถึงวัสดุใดๆ ที่มีส่วนประกอบทำมาจากไม้ด้วย ไม้สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ประโยชน์อย่างหนึ่งคือ ใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่น ถ่านหรือฟืน บางครั้งก็ใช้ในงานศิลปะ ทำเฟอร์นิเจอร์ ทำอาวุธ หรือเป็นวัสดุก่อสร้าง ไม้ยังคงเป็นส่วนประกอบสำคัญในการก่อสร้าง ตั้งแต่มนุษย์เริ่มสามารถสร้างบ้านที่อยู่อาศัย หรือเรือ โดยเรือแทบทุกลำในช่วงปี 80 ทำมาจากไม้แทบทั้งสิ้น ซึ่งในปัจจุบันบ้านหรือเรือที่ทำจากไม้ เริ่มมีจำนวนลดลง โดยปัจจุบันมีการนำวัสดุอื่นมาใช้ในการสร้างแทน แต่ว่าไม้ยังคงมีส่วนสำคัญในด้านการเสริมโครงสร้าง หรือเป็นวัสดุเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างหลังคา และของประดับนอกบ้าน ไม้ที่ใช้ในงานก่อสร้างรู้จักกันในชื่อ ไม้แปรรูป ไม้โดยสภาพแล้ว ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างโดยตรง เนื่องจากอาจจะมีการแตกหักในโครงสร้าง จึงต้องนำไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นก่อน เช่น ไม้อัด,chipboard, engineered wood, hardboard, medium-density fibreboard (MDF), oriented strand board (OSB) เป็นต้น ไม้ดังกล่าวนี้ใช้ประโยชน์กันในวงกว้าง อีกทั้งเยื่อไม้ยังเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตกระดาษอีกด้วย เซลลูโลสที่อยู่ในไม้ยังใช้การทำวัสดุสังเคราะห์ ซึ่งไม้ยังใช้ประโยชน์ในการทำอุปกรณ์อื่นนอกเหนือจากการก่อสร้าง เช่น ใช้ทำตะเกียบ เครื่องดนตรี เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ไอน้ำ

กราฟแสดงความสัมพันธ์ของเอนโทรปีและอุณหภูมิ ของไอน้ำ ไอน้ำ มักจะหมายถึงน้ำที่ระเหย ซึ่งมีลักษณะบริสุทธิ์และไม่มีสีซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับหมอก ที่ความดันปกติ น้ำจะกลายเป็นไอน้ำ ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส และมีปริมาตรขยายเพิ่มประมาณ 1,600 เท่าของปริมาตรน้ำ ไอน้ำสามารถมีอุณหภูมิได้สูงมาก (มากกว่า 100 องศาเซลเซียส) ซึ่งจะถูกเรียกว่า ไอน้ำซูเปอร์ฮีต (superheated steam) เมื่อน้ำในสภาวะของเหลวได้มีการสัมผัสกับวัตถุที่มีความร้อนสูง เช่นโลหะร้อน หรือลาวา น้ำสามารถกลายเป็นไอทันที หมวดหมู่:แก๊สเรือนกระจก หมวดหมู่:ธรรมชาติ หมวดหมู่:รูปแบบของน้ำ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และไอน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ไอโซโทป

แสดงไอโซโทปของไฮโดรเจนที่เกิดในธรรมชาติทั้งสามตัว ความจริงที่ว่าแต่ละไอโซโทปมีโปรตอนเพียงหนึ่งตัว ทำให้พวกมันทั้งหมดเป็นไฮโดรเจนที่แตกต่างกัน นั่นคือ ตัวตนของไอโซโทปถูกกำหนดโดยจำนวนของนิวตรอน จากซ้ายไปขวา ไอโซโทปเป็นโปรเทียม (1H) ที่มีนิวตรอนเท่ากับศูนย์, ดิวเทอเรียม (2H) ที่มีนิวตรอนหนึ่งตัว, และ ทริเทียม (3H) ที่มีสองนิวตรอน ไอโซโทป (isotope) เป็นความแตกต่างขององค์ประกอบทางเคมีที่เฉพาะเจาะจงของธาตุนั้นซึ่งจะแตกต่างกันในจำนวนของนิวตรอน นั่นคืออะตอมทั้งหลายของธาตุชนิดเดียวกัน จะมีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวล(โปรตอน+นิวตรอน)ต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และไอโซโทป · ดูเพิ่มเติม »

ไอเอิร์น(II) ออกไซด์

อเอิร์น(II) ออกไซด์ (Iron(II) oxide) เป็นหนึ่งในไอเอิร์นออกไซด์ เป็นผงสีดำที่มีสูตรทางเคมี FeO ประกอบด้วยเหล็กในสถานะออกซิเดชันจาก 2 พันธะของออกซิเจน รูปแบบที่แร่ธาตุของมันเป็นที่รู้จักกันว่า Wüstite ไม่ควรจะสับสนกับสนิม ซึ่งมักจะประกอบด้วยไฮเดรทไอเอิร์น(III) ออกไซด์ (เฟอริกออกไซด์) ระยะยาวอาจจะใช้มากขึ้นอย่างอิสระเพื่อเป็นสารประกอบไม่ใช่ทางทฤษฎี เป็นอัตราส่วนขององค์ประกอบเหล็ก และออกซิเจนอาจแตกต่างกันไป ตัวอย่างมักจะขาดเหล็กที่มีองค์ประกอบตั้งแต่ Fe0.84O to Fe0.95O.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และไอเอิร์น(II) ออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจน

รเจน (Hydrogen; hydrogenium ไฮโดรเจเนียม) เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 1 สัญลักษณ์ธาตุคือ H มีน้ำหนักอะตอมเฉลี่ย 1.00794 u (1.007825 u สำหรับไฮโดรเจน-1) ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุดและพบมากที่สุดในเอกภพ ซึ่งคิดเป็นมวลธาตุเคมีประมาณร้อยละ 75 ของเอกภพ ดาวฤกษ์ในลำดับหลักส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจนในสถานะพลาสมา ธาตุไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหาได้ค่อนข้างยากบนโลก ไอโซโทปที่พบมากที่สุดของไฮโดรเจน คือ โปรเทียม (ชื่อพบใช้น้อย สัญลักษณ์ 1H) ซึ่งมีโปรตอนหนึ่งตัวแต่ไม่มีนิวตรอน ในสารประกอบไอออนิก โปรเทียมสามารถรับประจุลบ (แอนไอออนซึ่งมีชื่อว่า ไฮไดรด์ และเขียนสัญลักษณ์ได้เป็น H-) หรือกลายเป็นสปีซีประจุบวก H+ ก็ได้ แคตไอออนหลังนี้เสมือนว่ามีเพียงโปรตอนหนึ่งตัวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง แคตไอออนไฮโดรเจนในสารประกอบไอออนิกเกิดขึ้นเป็นสปีซีที่ซับซ้อนกว่าเสมอ ไฮโดรเจนเกิดเป็นสารประกอบกับธาตุส่วนใหญ่และพบในน้ำและสารประกอบอินทรีย์ส่วนมาก ไฮโดรเจนเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาเคมีกรด-เบส โดยมีหลายปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนโปรตอนระหว่างโมเลกุลละลายได้ เพราะเป็นอะตอมที่เรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทราบ อะตอมไฮโดรเจนจึงได้ใช้ในทางทฤษฎี ตัวอย่างเช่น เนื่องจากเป็นอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าเพียงชนิดเดียวที่มีผลเฉลยเชิงวิเคราะห์ของสมการชเรอดิงเงอร์ การศึกษาการพลังงานและพันธะของอะตอมไฮโดรเจนได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม มีการสังเคราะห์แก๊สไฮโดรเจนขึ้นเป็นครั้งแรกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการผสมโลหะกับกรดแก่ ระหว่าง..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และไฮโดรเจน · ดูเพิ่มเติม »

ไดโนเสาร์

นเสาร์ (dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน) หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนเสาร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และไดโนเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไต้ฝุ่น

ต้ฝุ่นสามลูกขณะหมุนอยู่เหนือมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตกเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 พายุไต้ฝุ่น เป็นพายุหมุนเขตร้อนความเร็วลมสูงสุด ซึ่งก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่าง 180° กับ 100° ตะวันออก ซึ่งภูมิภาคนี้ถูกตั้งชื่อว่า "แอ่งแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ" สำหรับจุดประสงค์เกี่ยวกับองค์กร มหาสมุทรแปซฟิกตอนเหนือถูกแบ่งออกเป็นสามเขต ได้แก่ ทางตะวันออก (ทวีปอเมริกาเหนือจนถึงลองติจูด 140° ตะวันตก) ตอนกลาง (140° ตะวันตกถึง 180°) และทางตะวันตก (180° ถึง 100° ตะวันออก) ปรากฏการณ์พายุแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือทางตะวันออกจะถูกเรียกว่า เฮอร์ริเคน และพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่ไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกจะถูกเรียกว่า ไต้ฝุ่น ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (RSMC) ซึ่งมีหน้าที่พยากรณ์การเกิดพายุหมุนเขตร้อนตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น และศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนอื่น ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งอยู่ในโฮโนลูลู (ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น) ฟิลิปปินส์และฮ่องกง ขณะที่ RSMC ตั้งชื่อในแต่ละระบบ ตัวรายชื่อหลักนั้นเป็นความร่วมมือกันระหว่าง 18 ประเทศ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นทุกปี ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ พายุไต้ฝุ่นไม่มีการกำหนดฤดูกาลอย่างเป็นทางการ เพราะพายุไต้ฝุ่นก่อตัวขึ้นตลอดทั้งปี เช่นเดียวกับพายุหมุนเขตร้อนทั่วไป ปัจจัยที่ทำให้พายุไต้ฝุ่นก่อตัวและมีความเร็วเพิ่มขึ้นนั้นมีหกประการ ได้แก่ อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อุ่นเพียงพอ ความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ ระดับความชื้นสัมพัทธ์สูงในชั้นโทรโพสเฟียร์ระดับล่างถึงกลาง แรงโคริโอลิสที่มากพอที่จะสร้างศูนย์ความดันอากาศต่ำ การรบกวนหรือจุดรวมระดับต่ำที่มีอยู่แล้ว และวินเชียร์แนวดิ่งต่ำ พายุไต้ฝุ่นส่วนมากก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนและเดือนพฤศจิกายน ขณะที่พายุหมุ่นเขตร้อนก่อตัวขึ้นอย่างน้อยก็ระหว่างเดือนธันวาคมและพฤษภาคม โดยเฉลี่ยแล้ว มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือเป็นบริเวณที่เกิดพายุหมุนเขตร้อนบ่อยครั้งที่สุดและรุนแรงที่สุดในโลก เช่นเดียวกับแอ่งอื่น ๆ พายุจะถูกนำทางโดยลิ่มความกดอากาศสูงเหนือเขตร้อนไปทางตะวันตกหรือตะวันตกเฉยงเหนือ โดยมีบางลูกที่ย้อนกลับมาใกล้ทางตะวันออกของญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการขึ้นฝั่ง จีนและญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยกว่าบ้าง พายุไต้ฝุ่นที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ได้พัดเข้าถล่มจีน ทางตอนใต้ของจีนมีบันทึกผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นที่ยาวนานที่สุด ซึ่งสามารถย้อนหลังไปได้นับพันปีผ่านเอกสารในหอจดหมายเหตุ ไต้หวันเคยประสบกับพายุไต้ฝุ่นที่เปียกที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมาในแอ่งพายุหมุนเขตร้อนแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และไต้ฝุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ไนโตรเจน

นโตรเจน (Nitrogen) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ N และเลขอะตอม 7 เป็นอโลหะที่มีสถานะเป็นแก๊สที่มีอยู่ทั่วไป โดยปกติไม่มีสี กลิ่น หรือรส แต่ละโมเลกุลมี 2 อะตอม ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศ ของโลกถึง 78 เปอร์เซ็นต์ และเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ไนโตรเจนยังเป็นส่วนประกอบในสารประกอบที่สำคัญหลายชนิด เช่น กรดอะมิโน แอมโมเนีย กรดไนตริก และสารจำพวกไซยาไน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และไนโตรเจน · ดูเพิ่มเติม »

เบวูล์ฟ

ต้นฉบับเก่าแก่ของบทกวี ''เบวูล์ฟ'' หน้าแรก เบวูล์ฟ (Beowulf) เป็นบทกวีมหากาพย์เกี่ยวกับวีรบุรุษยุคอังกฤษโบราณแต่งโดยผู้ประพันธ์หลายคนที่ไม่ทราบชื่อ งานวรรณกรรมภาษาแองโกลแซกซอนชิ้นนี้คาดว่าแต่งขึ้นในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (1958).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเบวูล์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์

ื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ หรือ เชื้อเพลิงฟอสซิล (fossil fuel; เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์เป็นศัพท์ทางธรณีวิทยา ส่วนเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นศัพท์ทางวิศวกรรมเครื่องกล) หรือแร่เชื้อเพลิง (อังกฤษ: mineral fuel) เป็นเชื้อเพลิงอันเกิดแต่ซากดึกดำบรรพ์ซึ่งได้แก่ไฮโดรคาร์บอนที่พบจากช่วงชั้นดิน (layer) ด้านบนสุดของเปลือกโลก เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์มีตั้งแต่แร่สารระเหยสูง (volatile material) ซึ่งมีอัตราคาร์บอนต่อไฮโดรเจนต่ำ เป็นต้นว่า แก๊สมีเทน ไปจนถึงปิโตรเลียมเหลว (liquid petroleum) และแร่ไร้สารระเหย (nonvolatile material) ซึ่งแร่ไร้สารระเหยนี้มักประกอบด้วยคาร์บอนบริสุทธิ์ เป็นต้นว่า ถ่านแอนทราไซต์ (anthracite coal) ทั้งนี้ แก๊สมีเทนอันมีในแร่สารระเหยสูงเช่นว่าสามารถพบได้ในสารจำพวกไฮโดรคาร์บอนเพียงจำพวกเดียวก็ได้ ในสารจำพวกไฮโดรคาร์บอนประสมกับน้ำมันก็ได้ และในรูปมีเทนผังหนา (methane clathrate) ก็ได้ ใน พ.ศ. 2548 องค์การข้อมูลข่าวสารด้านพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Energy Information Administration) ได้ประเมินว่าในบรรดาผลิตผลจากพลังงานในโลกนี้ ร้อยละแปดสิบหกมีต้นกำเนิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ร้อยละหกจุดสามกำเนิดแต่พลังงานไฟฟ้าจากน้ำ (hydroelectric) และร้อยละหกจากพลังงานนิวเคลียร์ ส่วนร้อยละศูนย์จุดเก้าที่เหลือจากแหล่งพลังงานอื่น ๆ เป็นต้นว่า ความร้อนจากธรณีภาค (geothermal) พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากไม้ และพลังงานจากของใช้แล้ว.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

เฟลด์สปาร์

ฟลด์สปาร์ หรือ แร่ฟันม้า (feldspar) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเนื้อเซรามิก (ร้อยละ 15.35) และในน้ำยาเคลือบผิว (Glaze 30-50%) เฟลด์สปาร์เป็นแร่ที่มีปริมาณธาตุอัลคาไลด์สูง ทำให้หลอมตัวที่อุณหภูมิต่ำจึงทำหน้าที่เป็นฟลักซ์ทำให้เกิดเนื้อแก้วยึดเหนี่ยวเนื้อ ทำให้เกิดความแกร่งและความโปร่งใสของชิ้นงาน นอกจากนี้ ยังหาได้ง่ายในธรรมชาติ มีธาตุเหล็กต่ำ จึงเป็นที่นิยมใช้ แร่เฟลด์สปาร์ที่เกิดในธรรมชาติมีอยู่ 3 ชนิด คือ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเฟลด์สปาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เกษตรกรรม

กษตรกรรม (agriculture) เป็นการเพาะปลูกพืช เห็ดรา เลี้ยงสัตว์ และรูปแบบของชีวิตแบบอื่น ๆ เพื่อเป็นอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิงชีวภาพ ยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์อื่นเพื่อความยั่งยืนและเพิ่มสมรรถนะชีวิตมนุษย์ เกษตรกรรมเป็นพัฒนาการที่สำคัญในความเจริญของอารยธรรมมนุษย์ที่ไม่ย้ายที่อยู่ซึ่งการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ในสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่องได้ผลิตอาหารส่วนเกิน ซึ่งช่วยหล่อเลี้ยงพัฒนาการของอารยธรรม การศึกษาด้านเกษตรกรรมถูกเรียกว่า เกษตรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ของเกษตรกรรมย้อนกลับไปหลายพันปี และการพัฒนาของมันได้ถูกขับเคลื่อนโดยความแตกต่างอย่างมากของภูมิอากาศ วัฒนธรรมและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม เกษตรกรรมทั้งหมดโดยทั่วไปพึ่งพาเทคนิคต่างๆเพื่อการขยายและบำรุงที่ดินที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่อง สำหรับพืช เทคนิคนี้มักอาศัยการชลประทานบางรูปแบบ แม้จะมีหลายวิธีการของเกษตรกรรมในพื้นที่แห้งแล้งอยู่ก็ตาม ปศุสัตว์จะถูกเลี้ยงในระบบทุ่งหญ้าผสมกับระบบที่ไม่เป็นเจ้าของที่ดิน ในอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่เกือบหนึ่งในสามของพื้นที่ที่ปราศจากน้ำแข็งและปราศจากน้ำของโลก ในโลกพัฒนาแล้วเกษตรอุตสาหกรรมที่ยึดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ได้กลายเป็นระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่ที่โดดเด่น แม้ว่าจะมีแรงสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมถึงเกษตรถาวรและเกษตรกรรมอินทรีย์ จนกระทั่งมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ของประชากรมนุษย์ทำงานในภาคการเกษตร การเกษตรแบบก่อน-อุตสาหกรรมโดยทั่วไปเป็นการเกษตรเพื่อการดำรงชีวิต/การพึ่งตัวเองในที่ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชเพื่อการบริโภคของตัวเองแทน'พืชเงินสด'เพื่อการค้า การปรับเปลี่ยนที่โดดเด่นในการปฏิบัติทางการเกษตรได้เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาในการตอบสนองต่อเทคโนโลยีใหม่ๆและการพัฒนาของตลาดโลก มันยังได้นำไปสู่การปรับปรุงด้านเทคโนโลยีในเทคนิคการเกษตร เช่นวิธีของ 'ฮาเบอร์-Bosch' สำหรับการสังเคราะห์แอมโมเนียมไนเตรตซึ่งทำให้การปฏิบัติแบบดั้งเดิมของสารอาหารที่รีไซเคิลด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนและมูลสัตว์มีความสำคัญน้อยลง เศรษฐศาสตร์การเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืช เกษตรเคมีเช่นยาฆ่าแมลงและปุ๋ยและการปรับปรุงเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้เพิ่มอัตราผลตอบแทนอย่างรวดเร็วจากการเพาะปลูก แต่ในเวลาเดียวกันได้ทำให้เกิดความเสียหายของระบบนิเวศอย่างกว้างขวางและผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ในเชิงลบ การคัดเลือกพันธุ์และการปฏิบัติที่ทันสมัยในการเลี้ยงสัตว์ได้เพิ่มขึ้นในทำนองเดียวกันของการส่งออกของเนื้อ แต่ได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับสวัสดิภาพของสัตว์และผลกระทบต่อสุขภาพของยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมนที่สร้างการเจริญเติบโต และสารเคมีอื่นๆที่ใช้ทั่วไปในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเป็นองค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นของการเกษตร แม้ว่าพวกมันจะเป็นสิ่งต้องห้ามในหลายประเทศ การผลิตอาหารการเกษตรและการจัดการน้ำจะได้กลายเป็นเป็นปัญหาระดับโลกเพิ่มขึ้นที่ได้รับการสนับสนุนให้เกิดการอภิปรายเกี่ยวกับจำนวนของ fronts การเสื่อมสลายอย่างมีนัยสำคัญของทรัพยากรดินและน้ำ รวมถึงการหายไปของชั้นหินอุ้มน้ำ ได้รับการตั้งข้อสังเกตในทศวรรษที่ผ่านมา และผลกระทบของภาวะโลกร้อนกับการเกษตรและผลของการเกษตรต่อภาวะโลกร้อนยังคงไม่เป็นที่เข้าใจอย่างเต็มที่ สินค้าเกษตรที่สำคัญสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มกว้างๆได้แก่อาหาร เส้นใย เชื้อเพลิง และวัตถุดิบ อาหารที่เฉพาะได้แก่(เมล็ด)ธัญพืช ผัก ผลไม้ น้ำมันปรุงอาหาร เนื้อสัตว์และเครื่องเทศ เส้นใยรวมถึงผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ ป่าน ผ้าไหมและผ้าลินิน วัตถุดิบได้แก่ ไม้และไม้ไผ่ วัสดุที่มีประโยชน์อื่นๆมีการผลิตจากพืช เช่นเรซิน สีธรรมชาติ ยา น้ำหอม เชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตภัณฑ์ใช้ประดับเช่นไม้ตัดดอกและพืชเรือนเพาะชำ กว่าหนึ่งในสามของคนงานในโลกมีการจ้างงานในภาคเกษตร เป็นที่สองรองจากภาคบริการเท่านั้น แม้ว่าร้อยละของแรงงานเกษตรในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านม.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเกษตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เกาะเอลสเมียร์

กาะเอลสเมียร์ เกาะเอลสเมียร์ (Ellesmere Island) เป็นเกาะของประเทศแคนาดา ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติก นับเป็นเกาะใหญ่อันดับสิบของโลก และใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศแคนาดา มีพื้นที่ส่วนใหญ่ถูกปกคลุมด้วยธารน้ำแข็งและแผ่นน้ำแข็ง ตั้งอยู่เหนืออาร์กติกเซอร์เคิล จึงถูกนับเป็นส่วนหนึ่งของขั้วโลกเหนือ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเกาะเอลสเมียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เมฆโมเลกุล

กลุ่มเมฆในเนบิวลากระดูกงูเรือซึ่งถูกแสงดาวเป็นเวลาหลายล้านปีจนมีอุณหภูมิสูงมากและแตกตัวออกจากเนบิวลา ใกล้ ๆ กันจะเห็นดาวฤกษ์สว่างอยู่ ภาพของเมฆกลายเป็นสีแดงเพราะกระบวนการขจัดแสงน้ำเงินเพื่อลดความฟุ้งของฝุ่นในภาพ ภาพนี้ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในปี พ.ศ. 2542 เมฆโมเลกุล (Molecular Cloud) คือเมฆระหว่างดวงดาวชนิดหนึ่งที่มีความหนาแน่นมากและมีขนาดใหญ่พอจะทำให้เกิดการก่อตัวของโมเลกุลได้ โดยมากจะเป็นโมเลกุลของไฮโดรเจน (H2) บางครั้งก็เรียกว่า "อนุบาลดาวฤกษ์" (Stellar nursery) ในกรณีที่มีการก่อตัวของดาวฤกษ์อยู่ภายใน การตรวจจับโมเลกุลไฮโดรเจนโดยการสังเกตการณ์อินฟราเรดหรือการสังเกตการณ์คลื่นวิทยุจะทำได้ยากมาก ดังนั้นการตรวจจับมักใช้การสำรวจความมีอยู่ของ H2 โดยอาศัย CO (คาร์บอนมอนอกไซด์) โดยถือว่าสัดส่วนระหว่างการสะท้อนแสงของ CO กับมวล H2 เป็นค่าคงที่ แม้ว่าหลักการของสมมุติฐานนี้จะยังเป็นที่สงสัยอยู่ในการสังเกตการณ์ดาราจักรแห่งอื่น.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเมฆโมเลกุล · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เวลาสากล

วลาที่ถูกแบ่งเป็นเขตเวลา เวลาสากล (UT - Universal Time) คือหน่วยเวลาที่อ้างอิงการหมุนของโลก เป็นหน่วยเวลาสมัยใหม่ที่สืบทอดมาจากเวลาปานกลางกรีนิช (GMT - Greenwich Mean Time) อันได้แก่เวลา Mean Solar Time ของพื้นที่บนเส้นเมริเดียนแห่งกรีนิช (Greenwich) ของสหราชอาณาจักร ซึ่งตรงกับเส้นเมริเดียนแรก (ลองจิจูด 0°) ตามหลักภูมิศาสตร์ บางครั้งมีการใช้เวลาปานกลางกรีนิชที่ผิด โดยเข้าใจว่าเป็นหน่วยเวลาเดียวกับเวลาสากลเชิงพิกัด (UTC) เวลาปานกลางกรีนิชนี้สามารถจำแนกเป็นเป็นเวลาพิกัดสากล และ UT1.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเวลาสากล · ดูเพิ่มเติม »

เส้นศูนย์สูตร

้นศูนย์สูตรบนแผนที่โลก ในทางภูมิศาสตร์ เส้นศูนย์สูตร (Equator) คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวทิศตะวันตก-ตะวันออก และตั้งฉากกับแกนหมุนของโลก เป็นเส้นสมมุติที่ลากผ่านเส้นศูนย์กลางวงกลม แบ่งโลกออกเป็นสองซีกเท่า ๆ กัน ผู้สังเกตที่อยู่บนเส้นศูนย์สูตร มีระยะเวลาของกลางวันกับกลางคืนยาวนานเกือบเท่ากันตลอดทั้งปี และเห็นดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะในเวลาเที่ยงของวันวิษุวัต เส้นศูนย์สูตรของโลกมีความยาวประมาณ 40,075 กิโลเมตร ลากผ่าน 13 ประเทศ และเป็นหนึ่งในละติจูด 5 เส้นสำคัญของโลก เป็นละติจูดที่เรียกว่า "Great Circle" ที่ลากแบ่งครึ่งโลกเป็นวงกลมขนาดใหญ่ที่มีจุดศูนย์กลางและมีรัศมีเท่า ๆ กัน เมื่อขยายเส้นศูนย์สูตรโลกเป็นระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Plane) ออกไปตัดทรงกลมฟ้า เกิดเป็นวงกลมใหญ่ เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (Celestial Equator).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเส้นศูนย์สูตร · ดูเพิ่มเติม »

เส้นศูนย์สูตรฟ้า

้นศูนย์สูตรฟ้า (อังกฤษ celestrial equator) คือ วงกลมใหญ่บนทรงกลมฟ้าที่อยู่ในระนาบเดียวกันกับเส้นศูนย์สูตรของโลก เส้นศูนย์สูตรฟ้าทำมุมเอียงกับระนาบสุริยวิถีเป็นมุมประมาณ 23.5° ซึงเป็นผลจากความเอียงของแกนหมุนของโลก หมวดหมู่:ระบบพิกัดทรงกลมฟ้า สเส้นศูนย์สูตรฟ้า หมวดหมู่:กลศาสตร์ท้องฟ้า de:Äquator#Himmelsäquator.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเส้นศูนย์สูตรฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

เส้นผ่านศูนย์กลาง

เส้นผ่านศูนย์กลาง (Diameter) เส้นผ่านศูนย์กลาง (อังกฤษ: diameter) คือเส้นตรงซึ่งลากผ่านจุดศูนย์กลางของรูปวงกลมไปบรรจบกับเส้นรอบวงทั้งสองข้าง ซึ่งรูปวงกลมนั้นอาจมาจากหน้าตัดของทรงกระบอก ทรงกรวย หรือทรงกลมก็ได้ เส้นผ่านศูนย์กลางมีความยาวเป็นสองเท่าของเส้นรัศมี เป็นคอร์ดที่ยาวที่สุดในรูปวงกลม และแบ่งรูปวงกลมออกเป็นรูปครึ่งวงกลมสองส่วนเท่าๆ กัน และสามารถเปลี่ยนไปได้ทุกทิศทางไม่กำหนด เส้นผ่านศูนย์กลางจะสร้างมารถคำนวณได้โดยหาค่ารัศมีแล้วคูณสอง เพราะว่าความยาวของรัศมีหนึ่งเส้นเท่ากับครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลาง ในทางวิศวกรรมศาสตร์ เส้นผ่านศูนย์กลางสามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ ⌀ (ยูนิโคด: U+8960) ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปวงกลมเล็กๆ ขีดทับด้วยเส้นตรงเอียงลงทางซ้าย มีประโยชน์ในการบ่งบอกขนาดของรูปวงกลม หมวดหมู่:เรขาคณิตมูลฐาน หมวดหมู่:ความยาว.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเส้นผ่านศูนย์กลาง · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียน

เส้นเมริเดียน (meridian, line of longitude) เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ สร้างขึ้นจากการสมมติเส้นเมริเดียนปฐม มีค่ามุม 100 องศา ลากผ่านตำบลกรีนิซ กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร ไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ด้านละ 180 องศา โดยเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาตะวันออกและ 180 องศาตะวันตก จะทับกันเป็นเส้นเดียวนี้ให้เป็นเส้นวันที่หรือเส้นแบ่งเขตวันระหว่างชาติ หรือเส้นแบ่งเขตวันสากล เส้นเมริเดียนแรก หรือ เส้นเมริเดียนปฐม (Prime Meridian) คือเส้นเมริเดียนที่ลากไม่ผ่านหอดูดาวแห่งหนึ่ง ตำบล กรีนิช ใกล้กรุงลอนดอนในประเทศอังกฤษทั้งนี้เพื่อใช้เป็นหลักอ้างอิงในการนับเส้นเม ริเดียนอื่น ๆ ต่อไป เส้นเมริเดียนรอบโลก มี 360 เส้น แบ่งเป็นเส้นองศา ตะวันออก 180 เส้น และเส้นองศาตะวันตก 180 เส้น ความสำคัญของเส้นเมริเดียน คือ บอกพิกัดของตำแหน่งที่ตั้งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกโดยใช้ร่วมกันเส้นขนาน (เส้นละติจูด) และใช้เป็นแนวแบ่งเขตเวลาของโลก หมวดหมู่:เส้นลองจิจูด.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเส้นเมริเดียน · ดูเพิ่มเติม »

เหมายัน

แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกในส่วนครึ่งซีกโลกใต้ในวันเหมายัน เหมายัน (เห-มา-ยัน) หรือ ทักษิณายัน (winter solstice) เป็นการที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึงจุดหยุด (solstice) คือ จุดสุดทางใต้ในราววันที่ 22 ธันวาคม เป็นจุดในฤดูหนาวในซีกโลกเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้จะเกิดขึ้นราวเดือนมิถุนายน มีกลางคืนนานกว่ากลางวัน, ตรงข้ามกับครีษมายัน (summer solstice).

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเหมายัน · ดูเพิ่มเติม »

เหล็ก

หล็ก (Iron ออกเสียงว่า ไอเอิร์น /ˈaɪ.ərn/) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ มีสัญลักษณ์ธาตุ Fe และหมายเลขอะตอม 26 เหล็กเป็นธาตุโลหะทรานซิชันหมู่ 8 และคาบ 4 สัญลักษณ์ Fe ย่อมาจาก ferrum ในภาษาละติน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน

ำลองเหตุการณ์อุกบาตพุ่งเข้าชนโลก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งนี้ เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส-พาลิโอจีน เกิดขึ้นเมื่อราว 66 ล้านปีก่อน เป็นหนึ่งในการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์โลก การสูญพันธุ์ครั้งนี้เกิดหลังเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคไทรแอสสิก-จูแรสสิก ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส ซึ่งกวาดล้างสิ่งมีชีวิตไปกว่า 70% หรือประมาณ 3 ใน 4 ของสายพันธุ์ทั้งหมดบนโลกรวมถึงพวกไดโนเสาร์ เทอโรซอร์ และสัตว์เลื้อยคลานใต้ทะเล สาเหตุการสูญพันธุ์ในครั้งนี้นั้นได้มีการสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากอุกกาบาตที่พุ่งชนโลกบริเวณคาบสมุทรยูคาทาน ประเทศเม็กซิโก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน · ดูเพิ่มเติม »

เอกโซสเฟียร์

ภาพแสดงชั้นบรรยากาศของโลก เอกโซสเฟียร์ (exosphere) เป็นชั้นบรรยากาศของโลก อยู่ถัดจากชั้นเทอร์โมสเฟียร์ มีระยะตั้งแต่ความสูง 500 - 1,000 กิโลเมตร จนถึง 10,000 กิโลเมตร เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงที่สุด และกินพื้นที่ไปจนผสมรวมกับอวกาศ มีก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซฮีเลียม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ แต่มีอย่างเบาบาง อ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเอกโซสเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอลนีโญ

อลนีโญ (El Niño) เป็นรูปแบบสภาพอากาศที่เกิดขึ้นตลอดมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน โดยเกิดขึ้นเฉลี่ยทุกห้าปี ลักษณะของเอลนีโญ คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุณหภูมิผิวน้ำทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก โดยอุ่นขึ้นหรือเย็นลงผิดปกติ ซึ่งเรียกว่า เอลนีโญและลานีญาตามลำดับ และความดันบรรยากาศบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกเขตร้อน ซึ่งเรียกว่า ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นได้สองกรณี: เอลนีโญ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรอุ่นขึ้นผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศสูงบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ส่วนลานีญา เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรเย็นลงผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศต่ำบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก กลไกที่ทำให้เกิดความผันแปรดังกล่าวยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย เอนโซก่อให้เกิดสภาพอากาศเลวร้าย อย่างเช่น อุทกภัย ภัยแล้ง หรือการรบกวนสภาพอากาศในหลายภูมิภาคของโลก ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีเศรษฐกิจเน้นเกษตรกรรมและการประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนใหญ่แล้ว ปรากฏการณ์เอลนีโญ-ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ มักถูกเรียกย่อเหลือเพียง "เอลนีโญ" ซึ่งเป็นคำในภาษาสเปน ซึ่งแปลว่า "เด็กชาย" และหมายความถึงบุตรพระคริสต์ เนื่องจากมีการสังเกตว่าความอุ่นขึ้นผิดปกตินี้มักเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ลักษณะที่เกิดจากเอนโซเป็นไปได้ว่าก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอันเป็นผลกระทบของปรากฏการณ์โลกร้อน และเป็นเป้าหมายสำหรับการวิจัยในการนี้.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเอลนีโญ · ดูเพิ่มเติม »

เฮกตาร์

กตาร์ คือหน่วยของพื้นที่ มักย่อว่า ha จากภาษาอังกฤษ hectare 1 เฮกตาร์ มีค่าเท่ากับ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเฮกตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมนอร์ส

ทพเจ้าธอร์เข้าณรงค์ยุทธกับเหล่ายักษ์ เทพปกรณัมนอร์สหรือเทพปกรณัมสแกนดิเนเวียเป็นเทพปกรณัมของชนเจอร์แมนิกเหนือ และเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาเก่าแก่ของชาวนอร์สซึ่งเป็นความเชื่อพหุเทวนิยม และยังคงเล่าสืบเนื่องกันมาแม้ภายหลังจากชาวสแกนดิเนเวียหันมานับถือศาสนาคริสต์ จนกลายมาเป็นคติชาวบ้านสแกนดิเนเวียแห่งสมัยใหม่ เทพปกรณัมนอร์สเป็นการกระจายขึ้นเหนือสุดของเทพปกรณัมเจอร์มานิก โดยประกอบด้วยนิทานเทวดา และวีรบุรุษต่าง ๆ จากแหล่งที่มาจำนวนมากทั้งก่อนและหลังยุคเพกัน ซึ่งรวมถึงวรรณกรรมของชาวไอซ์แลนด์ที่เขียนขึ้นในสมัยกลาง หลักฐานทางโบราณคดีและประเพณีพื้นบ้าน เทพเจ้าองค์สำคัญในเทพปกรณัมนอร์ส ได้แก่ ธอร์เทพสายฟ้าผู้มีค้อนใหญ่เป็นอาวุธ โดยเป็นเทพนักรบผู้พิทักษ์มนุษยชาติ ฯ โอดิน เทพเจ้าพระเนตรเดียว ผู้ทรงขวนขวายหาความรู้ในโลกฐาตุทั้งหลาย และพระราชทานอักษรรูนให้แก่มนุษย์; เฟรยา (Freyja) เทพสตรีผู้ทรงสิริโฉม ผู้ใช้เวทมนตร์ (seiðr) และทรงฉลองพระองค์คลุมขนนก ผู้ทรงม้าเข้าสู่สมรภูมิเพื่อเลือกเอาดวงวิญญาณในหมู่ผู้ตาย; สคาดดี (Skaði) ยักขินีและเทวีแห่งการสกี ผู้อาศัยอยู่ท่ามกลางฝูงหมาป่าบนภูเขาในฤดูหนาว; นโยร์ด (Njörðr) เทพเจ้าทรงฤทธิ์ผู้อาจปราบได้ทั้งทะเลและไฟและยังประทานความมั่งคั่งและที่ดิน; เฟรย์ (Freyr) ผู้นำสันติภาพและความเพลิดเพลินสู่มนุษยชาติ ผ่านทางฤดูกาลและการกสิกรรม; อีดุนน์ (Iðunn) เทพเจ้าผู้ทรงรักษาแอปเปิลที่ให้ความเยาว์วัยชั่วนิรันดร์; เฮม์ดาลร์ (Heimdallr) เทพเจ้าลึกลับผู้ประสูติแต่มารดาเก้าตน ทรงสามารถฟังเสียงหญ้าโต มีพระทนต์เป็นทองคำ และมีเขาสัตว์ที่เป่าได้ดังกึกก้อง; และโยตุนโลกิ ผู้นำโศกนาฏกรรมมาสู่ทวยเทพโดยวางแผนให้บัลเดอร์ (Baldr) พระโอรสแห่งเทพเจ้าฟริกก์ ต้องตาย เป็นต้น เทพปกรณัมนอร์สจัดเหล่าเทพเจ้าออกเป็นสองกลุ่ม คือ พวกอัสร์ (Æsir) ซึ่งมีรากคำเดียวกับ "อสูร" ในภาษาสันสกฤต ได้แก่ พวกเทพเจ้าองค์สำคัญๆในเทพวิหารของนอร์ส (เช่น โอดิน, ธอร์, ฟริกก์, บัลเดอร์ ฯลฯ) พวกหนึ่ง และ พวกวาเน็น หรือวานร์ อันเป็นเหล่าเทพที่มีความเกี่ยวพันกับความอุดมสมบูรณ์ ปัญญาเฉลียวฉลาด ธรรมชาติ และการรู้อนาคตอีกพวกหนึ่ง ทั้งสองพวกเข้าทำสงครามกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ จนในที่สุดรู้ว่าตนมีอำนาจเท่าๆกัน นอกจากนี้ในโลกยังมีสัตว์และเผ่าในเทพนิยายอยู่อีกนานับประการ (เช่น ยักษ์, คนแคระ, เอลฟ์, และภูตในแผ่นดิน) จักรวาลวิทยาของนอร์สประกอบด้วยโลกเก้าโลก ซึ่งขนาบอิกดระซิล ต้นไม้แห่งเอกภพ โลกมนุษย์ในจักรวาลวิทยานอร์สมีชื่อเรียกว่า มิดการ์ นอกจากนี้ยังมีภพหลังความตายอยู่หลายภพซึ่งมีเทพเจ้าพิทักษ์รักษาอยู่แตกต่างกัน ในตำนานของนอร์สมีตำนานสร้างโลกอยู่หลายแบบ มีการทำนายว่าโลกเหล่านี้จะกำเนิดใหม่หลังเหตุการณ์แรกนะร็อก เมื่อเกิดการยุทธ์มโหฬารระหว่างเหล่าทวยเทพและฝ่ายศัตรู และโลกถูกเพลิงประลัยกัลป์หุ้มเพื่อถือกำเนิดใหม่ ที่นั่น เทพเจ้าที่เหลือรอดจะประชุม แผ่นดินจะเขียวอุดม และมนุษย์สองคนจะเพิ่มประชากรโลกอีกครั้ง.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเทพปกรณัมนอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

เทวดา

ระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทวดา (devatā) หรือ เทพ (deva เทว) ตามคติความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ หมายถึง ชาวสวรรค์ที่เป็นโอปปาติกะ มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ และเสวยสุขในสรวงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นภพภูมิที่ดี เทวดาผู้หญิงเรียกว่า เทวี หรือ "เทพี" หรือ นางฟ้า เทวดาผู้มีมิจฉาทิฐิ เรียกว่า มาร คำว่า เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น สุริยเทพ เทพเจ้าแห่งสายฟ้.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเทวดา · ดูเพิ่มเติม »

เทห์ฟ้า

ทห์ฟ้า หรือ วัตถุท้องฟ้า (astronomical object) หมายถึงวัตถุทางดาราศาสตร์ เช่น ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง ดาวเคราะห์แคระ เป็นต้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเทห์ฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

เทอร์รา (เทพปกรณัม)

เทพีเทอร์ร่า (Terra Mater หรือ Tellus Mater) ตามตำนานเทพปกรณัมโรมัน เป็นเทพีบุคลาธิษฐานแห่งโลก พระนามของนางแปลว่า "พระแม่ธรณี" ในภาษาละติน ชาวโรมันจะสวดอ้อนวอนต่อนางเพื่อป้องกันแผ่นดินไหว นอกจากนี้นางและเทพีเซเรส (Ceres) เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ยังมีส่วนช่วยในเรื่องผลผลิตของไร่นา เทพีเทอร์ร่ายังมีความเกี่ยวข้องกับการสมรส ความเป็นมารดา สตรีตั้งครรภ์ และสัตว์ที่ตั้งครรภ์อีกด้วย พระนามของนางในตำนานเทพปกรณัมกรีกคือเทพีไกอา (Gaia) ซึ่งเป็นพระมารดาของเทพีฟาม่า (Fama) เทพีแห่งเกียรติศักดิ์ชื่อเสียงและข่าวลือ นักภาษาศาสตร์ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับภาษาในแถบอินโด-ยูโรเปียนเชื่อว่าคำว่า เทลลุซ (Tellus) ดัดแปลงมาจากวลี tersa tellus ซึ่งแปลว่า "ผืนดิน" ถ้าความคิดนี้เป็นจริง คำว่า Tellus อาจเป็นต้นฉบับดั้งเดิมที่เก่าแก่ที่สุดของพระนามของนางก็เป็นได้ ดิกชันเนอร์รี่อ๊อกซ์ฟอร์ดได้ระบุไว้ว่า คำว่า Terra หมายความถึงธาตุดิน (หนึ่งในธาตุพื้นฐานทั้งสี่ อันได้แก่ ดิน ลม น้ำ และไฟ) และคำว่า Tellus หมายถึงเทพผู้ปกป้องคุ้มครองโลกมนุษย์ ซึ่งก็คือโลกของเรานี่เอง การใช้คำสองคำนี้ในภาษาละตินแท้จริงแล้วไม่มีความแต่งต่างกันอย่างข้อกล่าวอ้างข้างต้น งานเทศกาลสำหรับเทพีเทอร์ร่าเรียกว่า งานฟอร์ดิเซีย (Fordicia) หรืองานฮอร์ดิซิเดีย (Hordicidia) จะจัดขึ้นทุก ๆ ปีในวันที่ 15 เมษายน งานเทศกาลจะมีการบูชายัญโคที่กำลังตั้งครรภ์และจะจัดการโดยพระชั้นสูงที่เรียกว่า พอนติเฟกซ์ แม็กซิมุซ (pontifex maximus) และหลุ่มนักบวชหญิงนาม เวสทัล เวอร์จิ้นส์ (Vestal Virgins) เหล่านักบวชหญิงพรหมจรรย์จะเก็บเถ้ากระดูกของลูกโคไว้จนกระทั่งพิธีชำระล้างในงานพาริเลีย (Parilia) มีงานเทศกาลสองงานที่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม งานหนึ่งเพื่อเป็นการบอกลาฤดูหนาว เรียกว่า งานเซเมนทิเว (Sementivae) ซึ่งจะจัดขึ้นในเมือง และอีกงานหนึ่งคือ งานพากานาเลีย (Paganalia) ซึ่งส่วนใหญ่จะจัดขึ้นในเขตชนบท ช่วงแรกของงานเซเมนทิเวจะจัดขึ้นในวันที่ 24 ถึง 26 มกราคม เพื่อเป็นการยกย่องเทพีเทอร์ร่า ส่วนช่วงที่เหลือของเทศกาลจะเป็นการเฉลิมฉลองแด่เทพีเซเรส หมวดหมู่:เทพเจ้าโรมัน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเทอร์รา (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

เทอร์โมสเฟียร์

ภาพแสดงชั้นบรรยากาศของโลก เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) คือ ชั้นบรรยากาศของโลกที่อยู่ระหว่างความสูง 90 - 800 กิโลเมตรเหนือโลก ในชั้นนี้ปฏิกิริยาทางเคมีของแสงทำให้ก๊าซต่างๆ ในชั้นนี้แตกตัวเป็นไอออนจึงอาจเรียกว่า ไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere) พบว่าบรรยากาศชั้นนี้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นตามระดับความสูง ประมาณ 200 กิโลเมตรจากผิวโลกจะมีอุณหภูมิสูงกว่า 500°C และ ที่ระดับความสูง 700-800 กิโลเมตรจะมีอุณหภูมิ สูงกว่า 1000°C และสามารถเพิ่มสูงได้ถึง 2,000°C ที่อุณหภูมิสูงขึ้นก็เพราะบรรยากาศชั้นนี้มีการดูดกลืนแสง UV โดย O2 และ N2 ซึ่งโมเลกุลส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ อิออน เช่น NO+, O2 และ O+ เป็นต้น ท.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเทอร์โมสเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขากลางสมุทร

ตำแหน่งการกระจายตัวทางภูมิศาสตร์ของเทือกเขากลางสมุทรของโลก จาก USGS เทือกเขากลางสมุทร เปลือกโลกใต้มหาสมุทรเกิดขึ้นที่เทือกเขากลางสมุทร ขณะที่ธรณีภาคชั้นนอกมุดลงไปยังฐานธรณีภาคที่ร่องลึกก้นสมุทร เทือกเขากลางสมุทร (mid-oceanic ridge) คือแนวเทือกเขาใต้ทะเลโดยจะมีแนวร่องหุบที่รู้จักกันในนามของร่องแยก (rift) ที่สันของแนวเทือกเขาซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน รูปแบบของเทือกเขากลางสมุทรนี้เป็นลักษณะที่รู้จักกันว่าเป็นแนว “ศูนย์กลางของการแยกแผ่ขยายออก” ซึ่งเป็นการแผ่ขยายออกของแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทร การยกตัวของพื้นมหาสมุทรเป็นผลเนื่องมาจากกระแสการพาความร้อน (convection currents) ซึ่งเป็นการดันตัวขึ้นมาของหินหนืดจากชั้นฐานธรณีภาคตามแนวที่อ่อนตัวของพื้นมหาสมุทรโดยการปะทุขึ้นมาในรูปของลาวา เกิดเป็นเปลือกโลกใหม่เมื่อเย็นตัวลง เทือกเขากลางสมุทรเป็นแนวขอบเขตรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกทางเทคโทนิกสองแผ่นและถือกันว่าเป็นแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว เทือกเขากลางสมุทรของโลกมีการเชื่อมต่อกันเกิดเป็นระบบแนวเทือกเขากลางสมุทรระบบหนึ่งของทุกๆมหาสมุทรทำให้ระบบเทือกเขากลางสมุทรเป็นแนวเทือกเขาที่ยาวที่สุดของโลก แนวเทือกเขาที่ยาวต่อเนื่องกันนี้รวมกันแล้วมีความยาวทั้งสิ้นถึง 80,000 กิโลเมตร.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเทือกเขากลางสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

เขตร้อน

แผนที่โลกที่เน้นเขตร้อนด้วยสีแดง เขตร้อนหรือโซนร้อน (tropics) เป็นบริเวณของโลกที่อยู่รอบเส้นศูนย์สูตร จำกัดด้วยเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ในซีกโลกเหนือ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) เหนือ และทรอปิกออฟแคปริคอร์นในซีกโลกใต้ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) ใต้ ละติจูดนี้ใกล้เคียงกับความเอียงของแกนโลก เขตร้อนรวมทุกพื้นที่บนโลกซึ่งดวงอาทิตย์ถึงจุดใต้แสงอาทิตย์ (subsolar point) คือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงเหนือศีรษะพอดี อย่างน้อยครั้งหนึ่งในปีสุริยคติ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

เขตอาศัยได้

ตัวอย่างของระบบตาม ความสว่างของดาวฤกษ์ เพื่อคาดการณ์ที่ตั้งของโซนอาศัยอยู่รอบ ๆหลายประเภทของดาวฤกษ์,ขนาดดาวเคราะห์,ขนาดดาวฤกษ์,ระยะโคจร และขนาดโซนอาศัยไม่ได้ระดับ เขตอาศัยได้ (habitable zone) ในทางดาราศาสตร์ หมายถึง ย่านหนึ่งในอวกาศที่ซึ่งดาวเคราะห์คล้ายโลกสามารถดำรงน้ำในสถานะของเหลวได้บนพื้นผิว และสามารถมีสิ่งมีชีวิตคล้ายกับสิ่งมีชีวิตบนโลก เขตอาศัยได้เป็นจุดตัดกันระหว่างสองเขตที่ต่างก็เอื้อต่อการให้กำเนิดชีวิต คือหนึ่ง ภายในระบบดาวเคราะห์ และสอง คือภายในดาราจักร ดาวเคราะห์และดวงจันทร์บริวารของมันที่อยู่ในเขตนี้มีโอกาสมากที่จะเป็นแหล่งอยู่อาศัยของมนุษย์ได้ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตต่างดาวลักษณะคล้ายคลึงกับเราอยู่ที่นั่น จะต้องไม่สับสนปนเประหว่าง เขตอาศัยได้ กับ ดาวเคราะห์ที่อยู่อาศัยได้ (planetary habitability) ซึ่งในข้อหลังนี้จะคำนึงถึงเงื่อนไขต่างๆ ของดาวเคราะห์ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่มีคาร์บอนเป็นพื้นฐาน (carbon-based life) ขณะที่ เขตอาศัยได้ คำนึงถึงเงื่อนไขเกี่ยวกับดาวฤกษ์ซึ่งส่งอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่มีคาร์บอนเป็นพื้นฐาน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเขตอาศัยได้ · ดูเพิ่มเติม »

เขตขั้วโลก

250px ดินแดนขั้วโลก คือเขตที่อยู่เหนือและใต้สุดของโลกที่อยู่รอบๆบริเวณขั้วโลกทั้งขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ โดยมีขั้วโลกเป็นจุดศูนย์กลาง มีน้ำแข็ง ปกคลุม ได้แก่บริเวณมหาสมุทรอาร์กติกและทวีปแอนตาร์กติกา สำหรับขั้วโลกใต้เป็นดินแดนที่ไม่มีคนอยู่อาศัย ตามที่ได้กำหนดนโยบายกันว่าห้ามให้แต่ละประเทศเข้าไปจับจองพื้นที่ แต่ยังคงมีนักวิจัยเข้ามาวิจัยในพื้นที่นี้อยู่บ้าง ปัจจุบัน เกิดการละลายตัวของน้ำแข็งขั้วโลกบางส่วนซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเขตขั้วโลก · ดูเพิ่มเติม »

เดอะบลูมาร์เบิล

ม ภาพคอมโพสิต สร้างโดยนาซ่าในปี ค.ศ. 2001 (ซ้าย) และ 2002 (ขวา) เดอะบลูมาร์เบิล (The Blue Marble) เป็นภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกที่มีชื่อเสียง ถ่ายโดยลูกเรือของยานอวกาศอพอลโล 17 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ระยะประมาณ 45000 กิโลเมตร จากโลก เป็นภาพถ่ายภาพแรกที่เห็นโลกทั้งใบ ชื่อของภาพมาจากภาพของโลกที่เหมือนกับลูกหินลายหินอ่อนสีฟ้านั่นเอง อพอลโล 17 เป็นปฏิบัติการดวงจันทร์ครั้งสุดท้ายที่มีมนุษย์ไปด้วย หลังจากนั้นไม่เคยมีมนุษย์คนไหนได้ไปอยู่ในระยะที่จะสามารถถ่ายภาพโลกทั้งใบอย่างเดอะบลูมาร์เบิลได้อีกเล.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเดอะบลูมาร์เบิล · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เคลวิน

ลวิน (kelvin, สัญลักษณ์: K) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง และเป็นหน่วยพื้นฐานหนึ่งในเจ็ดของระบบเอสไอ นิยามให้เท่ากับ 1/273.16 เท่าของอุณหภูมิเทอร์โมไดนามิกของจุดสามสถานะของน้ำ เคลวินตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแต่นักฟิสิกส์และวิศวกรชาวอังกฤษ วิลเลียม ทอมสัน บารอนที่หนึ่งแห่ง เคลวิน (William Thomson, 1st Baron Kelvin) ซึ่งชื่อบรรดาศักดิ์นี้ตั้งตามชื่อ แม่น้ำเคลวิน อีกทีหนึ่ง แม่น้ำสายนี้ตัดผ่านมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ สกอตแลนด์ เคลวิน เป็นหน่วยของหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง ที่ลอร์เควิน ได้พัฒนาคิดสเกลขึ้นใหม่ โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความเร็วของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบนิวเคลียส โดยสังเกตว่าถ้าให้ความร้อนกับสสารมากขึ้น อิเล็กตรอนจะมีพลังงานมากขึ้น ทำให้เคลื่อนที่มีความเร็วมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าลดความร้อนให้กับสสาร อิเล็กตรอนก็จะมีพลังงานน้อยลง ทำให้การเคลื่อนที่ลดลง และถ้าสามารถลดอุณหภูมิลงจนถึงจุดที่อิเล็กตรอนหยุดการเคลื่อนที่ ณ จุดนั้น จะไม่มีอุณหภูมิหรือพลังงานในสสารเลย และจะไม่มีการแผ่รังสีความร้อนจากวัตถุ จึงเรียกอุณหภูมิ ณ จุดนี้ว่า ศูนย์สัมบูรณ์ (0 K) หมวดหมู่:หน่วยฐานเอสไอ หมวดหมู่:หน่วยวัดอุณหภูมิ.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเคลวิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกโลก

ภาพหน้าตัดของโลกทั้งหมด เปลือกโลก (Crust) เป็นเปลือกแข็งชั้นนอกสุดของโครงสร้างโลก มีทั้งที่เป็นแผ่นดิน และมหาสมุทร มีความหนาประมาณ 5 - 40 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เปลือกโลกภาคพื้นทวีป (Continental Crust) เป็นหินแกรนิต มักมีความหนามาก มีความหนาแน่นต่ำ ประกอบด้วยแร่ อะลูมินา และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีชื่อเรียกว่า ชนิดไซอัล (SIAL) และเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร (Oceanic Crust) เป็นหินบะซอลต์ มักจะมีความหนาน้อยกว่าเปลือกโลกภาคพื้นทวีป มีความหนาแน่นมากกว่า เนื่องจากประกอบด้วยแร่ แมกนีเซียม และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชั้นไซมา (SIMA) แผ่นของเปลือกโลก (Crust of the Earth) ประกอบไปด้วยความหลากหลายของหินอัคนี หินแปร หินตะกอน รองรับด้วยชั้นเนื้อโลก Mantle ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหิน peridotite หินที่มีความหนาแน่น และมีอยู่มากในเปลือกโลก รอยต่อระหว่างชั้นเปลือกโลก และชั้นเนื้อโลก หรือในทางธรณีวิทยาเรียกว่า ความไม่ต่อเนื่องของโมโฮโลวิคซิค (Mohorovicic’s discontinuity) คือเขตแดนที่ใช้เปรียบเทียบพฤติกรรมของคลื่นไหวสะเทือน หมวดหมู่:ธรณีวิทยา หมวดหมู่:เปลือกโลก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเปลือกโลก · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกโลกภาคพื้นทวีป

เปลือกโลกภาคพื้นทวีป คือส่วนที่มีแผ่นดินเป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีแผ่นทวีปอเมริกา แผ่นแอฟริกา แผ่นยูเรเซียและแผ่นออสเตรเลียและจะเคลื่อนตัวอยู่เรื่อยๆ อาจจะมีแผ่นทวีปเชื่อมต่อกันหรือแตกจากแผ่นเดิมในอนาคต ซึ่งแผ่นทวีปที่กล่าวมาก่อนหน้านี้แยกออกมาอย่างเด็ดขาดจากมหาทวีปแพนเจียตามทฤษฎีกฎการเลื่อนไหลของทวีป โดยอัลเฟรด เวเจเนอร์ โดยอ้างจากรอยต่อที่เข้ากันได้อย่างเหมาะเจาะ หมวดหมู่:เปลือกโลก.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเปลือกโลกภาคพื้นทวีป · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อโลก

หน้าตัดของโลกทั้งหมด เนื้อโลก (mantle) เป็นชั้นโครงสร้างของโลกที่อยู่ระหว่างเปลือกโลกกับแก่นโลก นอกจากนี้เรายังสามารถพบชั้นหินในลักษณะเดียวกับชั้นเนื้อโลกหรือแมนเทิลนี้ได้ในดาวเคราะห์หินทั่วไป สำหรับชั้นแมนเทิลของดาวเคราะห์โลกนี้มีความหนาประมาณ 2,885 กิโลเมตร ซึ่งนับเป็นองค์ประกอบร้อยละ 84 ของปริมาตรทั้งหมดของโลก ส่วนประกอบหลักของชั้นเนื้อโลกส่วนใหญ่เป็นแมกนีเซียมและเหล็ก เกือบทั้งหมดมีสถานะเป็นของแข็ง ยกเว้นที่ความลึกประมาณ 70-260 กิโลเมตรหรือที่เรียกว่าฐานธรณีภาค (asthenosphere) ในชั้นนี้มีการหลอมละลายของหินเป็นบางส่วน.

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเนื้อโลก · ดูเพิ่มเติม »

เนเจอร์ (วารสาร)

วารสาร''เนเจอร์''ฉบับแรก วันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1869 เนเจอร์ เป็นวารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: โลก (ดาวเคราะห์)และเนเจอร์ (วารสาร) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

🌏

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »