โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อังคั่น

ดัชนี อังคั่น

อังคั่น เป็นชื่อเรียกรวมของเครื่องหมายวรรคตอนโบราณ แบ่งเป็นอังคั่นเดี่ยวและอังคั่นคู่ อังคั่นเดี่ยว หรือ คั่นเดี่ยว หรือ ขั้นเดี่ยว (ฯ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมใช้ในหนังสือไทยสมัยโบราณ ใช้เมื่อจบบท ตอน หรือเรื่อง ทั้งคำประพันธ์ร้อยกรองและร้อยแก้ว ใช้สัญลักษณ์เดียวกันกับไปยาลน้อย ปัจจุบันมีอังคั่นเดี่ยวให้เห็นในหนังสือวรรณคดีและตำราเรียนภาษาไทยเท่านั้น อังคั่นคู่ หรือ คั่นคู่ หรือ ขั้นคู่ (๚) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนปรากฏในหนังสือไทยโบราณ ใช้ในบทกวีต่างๆ โดยมีไว้ใช้จบตอน นอกจากนี้ยังมีการใช้อังคั่นคู่กับเครื่องหมายอื่น ได้แก่ อังคั่นวิสรรชนีย์ (ฯะ, ๚ะ) ใช้เมื่อจบบทกวี และ อังคั่นวิสรรชนีย์โคมูตร (๚ะ๛) ใช้จบบริบูรณ์ อังคั่นคู่ไม่มีปรากฏบนแป้นพิมพ์ภาษาไทย แต่มีอยู่ในรหัสอักขระ TIS 620 ที่ 0xFA (250) และรหัสยูนิโคดที่ U+0E5A.

7 ความสัมพันธ์: ภาษาฮินดีภาษาเขมรยูนิโคดคีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)ไปยาลน้อยเครื่องหมายวรรคตอนTIS-620

ภาษาฮินดี

ษาฮินดีเป็นภาษาที่พูด ส่วนใหญ่ในประเทศอินเดียเหนือและกลาง เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อยู่ในกลุ่มย่อย อินโด-อิหร่าน มีวิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤต ในสาขาอินโด-อารยันกลาง ของยุคกลาง และมีวิวัฒนาการทางอ้อมจากภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดีได้นำคำศัพท์ชั้นสูงส่วนใหญ่มาจากภาษาสันสกฤต นอกจากนี้ เนื่องจากอิทธิพลของชาวมุสลิมในอินเดียเหนือ ภาษาฮินดียังมีคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ และ ภาษาตุรกี เป็นจำนวนมาก และในที่สุดได้ก่อให้เกิดภาษาอูรดูขึ้น สำหรับภาษา"ฮินดีมาตรฐาน" หรือ "ฮินดีแท้" นั้น มีใช้เฉพะการสื่อสารที่เป็นทางการ ขณะที่ภาษาซึ่งใช้ในชีวิตประจำวันในพื้นที่ส่วนใหญ่นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในภาษาถิ่นย่อย ของภาษาฮินดูสตานี ในแง่ความสัมพันธ์ทางภาษาศาสตร์นั้น ภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ถือว่าเป็นภาษาเดียวกัน แตกต่างตรงที่ ภาษาฮินดีนั้นเขียนด้วยอักษรเทวนาครี (Devanāgarī) ขณะที่ภาษาอูรดูนั้น เขียนด้วยอักษรเปอร์เซียและอาหรั.

ใหม่!!: อังคั่นและภาษาฮินดี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเขมร

ษาเขมร (ភាសាខ្មែរ ภาสาแขฺมร เพียซา ขฺมะเอ) ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นหนึ่งในภาษาหลักของภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก และได้รับอิทธิพลหลายๆ ประการมาจากภาษาสันสกฤต และภาษาบาลี พอสมควร ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้เข้ามาผ่านศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ในขณะที่อิทธิพลจากภาษาอื่นๆ โดยมากเป็นคำยืม เช่น จากภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม เป็นผลมาจากการติดต่อกันทางด้านภาษา และความใกล้ชิดกันในทางภูมิศาสตร์ และภาษาจีนจากการอพยพ ภาษาฝรั่งเศสจากการตกเป็นอาณานิคมช่วงเวลาหนึ่ง และภาษามลายูจากความสัมพันธ์ในอดีตและการที่เคยมีอาณาจักรจามปาในตอนกลางของประเทศเวียดนาม ภาษาเขมรแปลกไปจากภาษาในประเทศเพื่อนบ้าน (ภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม) เนื่องจากไม่มีเสียงวรรณยุกต.

ใหม่!!: อังคั่นและภาษาเขมร · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิโคด

The Unicode Standard, Version 5.0 อักขระยูนิโคดทั้งหมดเมื่อพิมพ์ลงกระดาษ (รวมทั้งสองแผ่น) ยูนิโคด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์ ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์ สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2).

ใหม่!!: อังคั่นและยูนิโคด · ดูเพิ่มเติม »

คีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)

ีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ คียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ (ศัพท์บัญญัติใช้ว่า แผงแป้นอักขระ) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์) ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก.

ใหม่!!: อังคั่นและคีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์) · ดูเพิ่มเติม »

ไปยาลน้อย

ปยาลน้อย หรือ เปยยาลน้อย (ฯ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนอย่างหนึ่งในการเขียนภาษาไทย ใช้ย่อคำเพื่อให้เขียนสั้นลง โดยเขียนแต่ส่วนหน้า ละส่วนหลังเอาไว้ แล้วใส่ไปยาลน้อยไว้แทน ยังไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน คำว่า ไปยาล มาจากคำว่า เปยฺยาล ในภาษาบาลี แปลว่า ย่อ.

ใหม่!!: อังคั่นและไปยาลน้อย · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องหมายวรรคตอน

รื่องหมายวรรคตอน เป็นเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเขียนอักษรในภาษาหนึ่ง ๆ เพื่อประโยชน์ในการแบ่งวรรคตอน มักจะไม่เกี่ยวกับระบบเสียงใด ๆ ทั้งสิ้น ในแต่ละภาษาจะมีเครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ กัน และมีกฎเกณฑ์การใช้ต่าง ๆ กัน ซึ่งผู้ใช้ภาษานั้นจะต้องทราบ และใช้ตามกฎที่ปฏิบัติกันมา เพื่อให้มีความเข้าใจในภาษาไปในทางเดียวกัน.

ใหม่!!: อังคั่นและเครื่องหมายวรรคตอน · ดูเพิ่มเติม »

TIS-620

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 620-2533, มอก.620-2533, หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า TIS-620 เป็นชุดอักขระมาตรฐานอุตสาหกรรมของไทย มีชื่อเต็มว่า รหัสสำหรับอักขระไทยที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ รหัส TIS-620 มีรายละเอียดคล้ายรหัส ISO-8859-11 มาก แตกต่างกันแค่เพียงที่ ISO-8859-11 กำหนดให้ A0 เป็น "เว้นวรรคแบบไม่ตัดคำ" (no-break space) ส่วน TIS-620 นั้นแม้จะสงวนตำแหน่ง A0 เอาไว้ แต่ก็ไม่ได้กำหนดค่าใด ๆ ให้ TIS-620 x0x1x2x3x4x5x6x7x8x9xAxBxCxDxExF 0xไม่ได้ใช้ 1x 2xSP!"#$%&'()*+,-./ 3x0123456789:;<.

ใหม่!!: อังคั่นและTIS-620 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อังคั่นวิสรรชนีย์อังคั่นวิสรรชนีย์โคมูตรอังคั่นคู่อังคั่นเดี่ยวขั้นคู่ขั้นเดี่ยวคั่นคู่คั่นเดี่ยว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »