โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไมซีนี

ดัชนี ไมซีนี

มซีนี (Μυκῆναι or Μυκήνη อ่านว่า มูแคไน หรือ มูแคแน; Mycenae) คือเมืองโบราณสมัยสำริดก่อนยุคเฮเลนิก (อารยธรรมกรีซโบราณนับแต่กรีซยุคอาร์เคอิกป็นต้นมา) ตั้งอยู่ในเนินเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือของที่ราบอาร์กอส ในเพโลพอนนีส มีกำแพงสร้างอยู่โดยรอบ ปัจจุบันเป็นสถานที่ขุดค้นทางโบราณคดีที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกจากองค์กรยูเนสโก ในสหัสวรรษที่สองก่อน..

14 ความสัมพันธ์: กรีซยุคอาร์เคอิกกรีซโบราณยุคสัมฤทธิ์สงครามกรุงทรอยอะกาเมมนอนอารยธรรมไมซีนีอานาโตเลียฮีราซูสประเทศกรีซเพอร์ซิอัสเพโลพอนนีสเฮราคลีสเทพปกรณัมกรีก

กรีซยุคอาร์เคอิก

กรีซยุคอาร์เคอิก (Archaic Greece) ยุคอาร์เคอิกของกรีซ คือสมัยอารยธรรมของประวัติศาสตร์กรีซโบราณที่รุ่งเรืองราวระหว่าง 800 ถึง 480 ปีก่อนคริสต์ศักราช อันเป็นยุคก่อนก่อนหน้ากรีซยุคคลาสสิก (ศตวรรษที่ 4 และ 5 ก่อนคริสตกาล) กรีซในยุคอาร์เคอิกเป็นช่วงเวลาที่จำนวนประชากรกรีกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีลำดับเหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์ที่พลิกโฉมหน้าอารยธรรมของชาวกรีก ณ ช่วงสิ้น.ที่ 8 ก่อนคริสตกาล จนกลายสภาพไปในลักษณะที่แทบจำไม่ได้หากเปรียบเทียบกับยุคก่อนหน้า นักวิชาการเชื่อว่ายุคอาร์เคอิกของกรีซ เกิดขึ้นจากการปฏิวัติที่สำคัญสองประเภท คือ การปฏิวัติเชิงโครงสร้าง ประเภทหนึ่ง และ การปฏิวัติทางปัญญา อีกประเภทหนึ่ง การปฏิวัติเชิงโครงสร้าง นำไปสู่การสร้างแผนที่ และการกำหนดสถานะทางการเมืองระหว่างกันขึ้นในโลกของชาวกรีก เริ่มมีการก่อตั้งนครรัฐ "โปลิส" (poleis) ที่มีแบบแผนเฉพาะตัวขึ้นมา ในยุคนี้ชาวกรีกได้พัฒนาทฤษฎีการเมือง การเศรษฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การสงคราม และวัฒนธรรมขึ้นอย่างรวดเร็ว และสิ่งเหล่านี้ปูพื้นฐานไปสู่ยุคทอง หรือยุคคลาสสิคของอารยธรรมกรีก นอกจากนี้ชาวกรีกในยุคอาร์เคอิกยังได้ฟื้นฟูการเขียนที่หายไปในระหว่างยุคมืด โดยมีการพัฒนาตัวอักษรกรีกจนมีลักษณะอย่างที่ใช้กันมาจนปัจจุบัน ทำให้วรรณคดีของกรีซโดยเฉพาะมหากาพย์ของโฮเมอร์ เปลี่ยนจากการถ่ายทอดทางมุขปาถะ (ปากเปล่า) มาเป็นการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ในด้านศิลปะได้ปรากฏการสร้างเครื่องปั้นดินเผารูปเขียนสีแดง (red-figure pottery) ด้านการทหารได้มีการพัฒนากระบวนทัพแบบฮอปไลต์ขึ้น ซึ่งกลายเป็นแกนหลักและยุทธวิธีหลักของกองทัพกรีก ในนครเอเธนส์สถาบันประชาธิปไตยยุคเริ่มแรกถูกนำมาใช้ภายใต้การการชี้นำของโซลอน และต่อมาการปฏิรูปของไคลธีนีส (Cleisthenes) ในช่วงปลายยุคนำได้พัฒนาไปสู่ ประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์ อันเป็นรูปแบบการปกครองที่สืบต่อเนื่องมาในสมัยคลาสสิค คำว่า "กรีซยุคอาร์เคอิก" เป็นคำที่เริ่มใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่กลายมาเป็นคำมาตรฐานที่ใช้กันตั้งแต่นั้นมา คำดังกล่าวเป็นคำที่มาจากการศึกษาศิลปะกรีกที่หมายถึงลักษณะส่วนใหญ่ของศิลปะการตกแต่งพื้นผิวและประติมากรรม ที่ตกอยู่ระหว่างศิลปะเรขาคณิตกับกรีซคลาสสิก.

ใหม่!!: ไมซีนีและกรีซยุคอาร์เคอิก · ดูเพิ่มเติม »

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

ใหม่!!: ไมซีนีและกรีซโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสัมฤทธิ์

ำริดคือยุคที่มนุษย์อาศัยอยู่เป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้น ดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก ปลูกข้าว มีการเลี้ยงสัตว์ ชีวิตความเป็นอยู่ได้ดีขึ้นกว่ายุคหิน รู้จักการทำสำริดเป็นเครื่องประดับ ยุคสำริดสิ้นสุดลงในช่วง 1206-1150 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จักรวรรดิฮิตไทต์ และอาณาจักรไมซีเนียล่มสลาย ยุคต่อมาหลังยุคสัมฤทธิ์ คือ ยุคเหล็ก.

ใหม่!!: ไมซีนีและยุคสัมฤทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกรุงทรอย

"การเผากรุงทรอย" (1759/62) โดย Johann Georg Trautmann สงครามกรุงทรอย (Trojan War) เป็นสงครามระหว่างชาวอะคีอันส์ ​(Ἀχαιοί) (ชาวกรีก) กับชาวกรุงทรอย หลังปารีสแห่งทรอยชิงพระนางเฮเลนมาจากพระสวามี คือพระเจ้าเมเนเลอัสแห่งสปาร์ตา สงครามดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในเทพปกรณัมกรีก และมีการบอกเล่าผ่านงานวรรณกรรมกรีกหลายชิ้น ที่โดดเด่นที่สุด คือ อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ มหากาพย์อีเลียดเล่าเรื่องการล้อมกรุงทรอยปีสุดท้าย ส่วนโอดิสซีย์อธิบายการเดินทางกลับบ้านของโอดิสเซียส ส่วนอื่นของสงครามมีการอธิบายในโคลงวัฏมหากาพย์ (Epic Cycle) ได้แก่ ไซเพรีย, เอธิออพิส, อีเลียดน้อย, อีลิอูเพอร์ซิส, นอสตอย, และ เทเลโกนี ซึ่งปัจจุบันเหลือรอดมาเพียงบางส่วน ฯ การศึกแห่งกรุงทรอยเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่ กวีและนักประพันธ์โศกนาฏกรรมกรีก เช่น เอสคิลัส (Aeschylus) โซโฟคลีส (Sophocles) และ ยูริพิดีส (Euripides) นำมาใช้ประพันธ์บทละคร นอกจากนี้กวีชาวโรมัน โดยเฉพาะเวอร์จิลและโอวิด ก็ดึงเอาเหตุการณ์จากสงครามทรอยมาเป็นพื้นเรื่อง หรือเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานประพันธ์ของตนเช่นกัน สงครามกำเนิดจากการวิวาทระหว่างเทพีอะธีนา เฮราและแอโฟรไดที หลังอีริส เทพีแห่งการวิวาทและความบาดหมาง ให้ผลแอปเปิลสีทอง ซึ่งบางครั้งรู้จักกันในนาม "แอปเปิลแห่งความบาดหมาง" แก่ "ผู้ที่งามที่สุด" ซูสส่งเทพีทั้งสามไปหาปารีส ผู้ตัดสินว่าแอโฟรไดที "ผู้งามที่สุด" ควรได้รับแอปเปิลไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แอโฟรไดทีเสกให้เฮเลน หญิงงามที่สุดในโลกและมเหสีของพระเจ้าเมเนเลอัส ตกหลุมรักปารีส และปารีสได้นำพระนางไปยังกรุงทรอย อกาเมมนอน พระเจ้ากรุงไมซีนี และพระเชษฐาของพระเจ้าเมเนเลอัส พระสวามีของเฮเลน นำกองทัพชาวอะคีอันส์ไปยังกรุงทรอยและล้อมกรุงไว้สิบปี หลังสิ้นวีรบุรุษไปมากมาย รวมทั้งอคิลลีสและอาแจ็กซ์ของฝ่ายอะคีอันส์ และเฮกเตอร์และปารีสของฝ่ายทรอย กรุงทรอยก็เสียด้วยอุบายม้าโทรจัน ฝ่ายอะคีอันส์สังหารชาวกรุงทรอย (ยกเว้นหญิงและเด็กบางส่วนที่ไว้ชีวิตหรือขายเป็นทาส) และทำลายวิหาร ทำให้เทพเจ้าพิโรธ ชาวอะคีอันส์ส่วนน้อยที่กลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยและหลายคนตั้งนิคมในชายฝั่งอันห่างไกล ภายหลังชาวโรมันสืบเชื้อสายของพวกตนไปถึงเอเนียส หนึ่งในชาวกรุงทรอย ผู้กล่าวกันว่านำชาวกรุงทรอยที่เหลือรอดไปยังประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ชาวกรีกโบราณคาดว่าสงครามกรุงทรอยเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 หรือ 12 ก่อนคริสตกาล และเชื่อว่ากรุงทรอยตั้งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน ใกล้กับช่องแคบดาร์ดาเนลส์ เมื่อล่วงมาถึงสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่เชื่อว่าทั้งสงครามและกรุงทรอยเป็นนิทานปรำปราที่แต่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในปี 1868 นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ไฮน์ริช ชไลมันน์พบกับแฟรงก์ คัลเวิร์ท ผู้โน้มน้าวชไลมันน์ว่า กรุงทรอยเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง โดยตั้งอยู่ที่ฮิสซาร์ริคประเทศตุรกี และชไลมันน์เข้าควบคุมการขุดค้นของคัลเวิร์ทบนพื้นที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของคัลเวิร์ท คำถามที่ว่ามีความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ใดอยู่เบื้องหลังสงครามกรุงทรอยหรือไม่นั้นยังไม่มีคำตอบ นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่านิยายดังกล่าวมีแก่นความจริงทางประวัติศาสตร์ แม้อาจหมายความว่า เรื่องเล่าของโฮเมอร์เป็นการผสมนิทการล้อมและการออกเดินทางต่าง ๆ ของชาวกรีกไมซีเนียนระหว่างยุคสัมฤทธิ์ก็ตาม ผู้ที่เชื่อว่าเรื่องเล่าสงครามกรุงทรอยมาจากความขัดแย้งในประวัติศาสตร์อย่างเฉพาะมักระบุเวลาไว้ว่าอยู่ในศตวรรษที่ 12 หรือ 11 ก่อนคริสตกาล ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีของการเผาทำลายทรอย 7เอ.

ใหม่!!: ไมซีนีและสงครามกรุงทรอย · ดูเพิ่มเติม »

อะกาเมมนอน

อะกาเมมนอน (Agamemnon; Ἀγαμέμνων, Ἀgamémnōn) ตามเทพปกรณัมกรีก เป็นบุตรของกษัตริย์เอทริอัส และราชินิไอโรเปแห่งนครไมซีนี พระองค์มีพระอนุชาคือเมเนเลอัส มีพระมเหสีชื่อพระนางไคลเตมเนสตรา และมีราชบุตร/ราชธิดา 4 พระองค์ ได้แก่ อิฟิจิไนอา (Iphigenia), อีเลคตรา (Electra), ออเรสตีส (Orestes) และ คริซอธีมิส (Chrysothemis) ตำนานของกรีกถือว่าอากาเมมนอนเป็นกษัตริย์ปกครองนครไมซีนี หรืออาร์กอส ซึ่งอาจเป็นสถานที่เดียวกันแต่เรียกคนละชื่อ พระองค์เป็นผู้บัญชาการใหญ่ของกองกำลังพันธมิตรฝ่ายกรีก ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อยกทัพไปกรุงทรอย หลังจากปารีสลักลอบพาพระนางเฮเลน มเหสีของเมเนเลอัสหนีไป อะกาเมมนอนเป็นกษัตริย์นักรบที่ทะเยอะทะยาน เมื่อคราวยกทัพไปทรอยเกิดลมพายุใหญ่ขึ้น ทัพเรือกรีกไม่สามารถแล่นออกไปได้ พระองค์จึงปฏิบัติตามคำแนะนำของโหรเอกแคลคัส(เทสตอริดีส) โดยทรงสั่งให้บูชายันต์อิฟิจิไนอา พระธิดาของพระองค์เองแด่ทวยเทพ คลื่นลมจึงได้สงบ ฯ ต่อมาในระหว่างที่กำลังปิดล้อมกรุงทรอยอยู่เป็นปีที่สิบ ได้เกิดโรคระบาดใหญ่ที่ส่งมาโดยเทพอะพอลโล ด้วยเหตุที่อะกาเมมนอนไปลบหลู่ ไครซีส (Chryses) นักบวชของอะพอลโลโดยไม่ยอมคืนลูกสาวให้ อะคิลลีสนักรบคนสำคัญของกองทัพกรีกแนะนำให้เหล่าแม่ทัพกรีก (basileus) ยกทัพของตนกลับ ถ้ายังไม่อยากจะตายกันหมดอยู่ที่ชายหาดของทรอย อะกาเมมนอนจึงจำต้องคืนลูกสาวให้กับไครซีสเพื่อระงับพิโรธของอะพอลโล และใช้อำนาจริบเอาหญิงรับใช้ชาวทรอยที่อะคิลลีสได้เป็นรางวัลในการรบ มาเป็นของตนทดแทนลูกสาวของไครซีส ทำให้อะคิลลีสเสียใจและถอนตัว(ชั่วคราว)จากการสู้รบ เป็นผลให้นักรบกรีกล้มตายเป็นอันมาก เมื่ออะกาเมมนอนยกทัพกลับมาจากกรุงทรอย พระองค์ถูกลอบสังหารโดยการร่วมมือกันระหว่าง พระนางไคลเตมเนสตรา และอีจีสธัส (Aegisthus) ชู้รักของพระมเหสี (เป็นเหตุการณ์ที่ได้รับการกล่าวถึงในหมากาพย์ โอดิสซีย์ ล.11:409-11) ในบางตำนานกล่าวว่าพระนางไคลเตมเนสตราเป็นผู้ลงมือสังหารพระสวามีด้วยตนเอง.

ใหม่!!: ไมซีนีและอะกาเมมนอน · ดูเพิ่มเติม »

อารยธรรมไมซีนี

"ประตูสิงโต" (Lion Gate) ประตูทางเข้าหลักของป้อมปราการเมืองไมซีไน ศตวรรษที่ 13 ก่อนคริสตกาล อารยธรรมไมซีนี (Mycenaean civilization) มาจากภาษากรีกโบราณ: (Μυκῆναι Mykēnai หรือ Μυκήνη Mykēnē) เป็นวัฒนธรรมอีเจียนในช่วงปลายสมัยเฮลลาดิค (ยุคสำริด) เจริญอยู่ระหว่างปี 1650 จนถึงปี 1100 ก่อนคริสตกาล อารยธรรมไมซีนีเป็นอารยธรรมแรกที่แสดงความก้าวหน้าในระดับสูงบนแผ่นดินใหญ่ของกรีซ โดยมีจุดเด่นที่การสร้างพระราชวังที่มีลักษณะเป็นป้อมปราการ เริ่มมีการจัดตั้งชุมชนเมือง การสร้างงานศิลปะเครื่องปั้นดินเผารูปเขียนสี และระบบการเขียน ซึ่งปรากฏอยู่ในจารึกแผ่นดินเหนียวไลเนียร์บี อันเป็นหลักฐานทางตัวอักษรที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีก ชาวไมซีเนียนมีนวัตกรรมหลายอย่างทั้งในทางวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และทางการทหาร และมีการเดินทางค้าขายไปทั่วแถบเมดิเตอร์เรเนียน ศาสนาของไมซีนีมีเทพเจ้าหลายองค์ เช่นเดียวกับเทพเจ้าในเทวสภาโอลิมปัส สังคมของชาวกรีกในยุคไมซีนีเป็นสังคมที่นักรบชาติกำเนิดสูงมีบทบาทหลัก และประกอบไปด้วยเครือข่ายรัฐพระราชวังที่มีระบบของลำดับชั้นทางปกครอง ความสัมพันธ์ทางสังคม และทางเศรษฐกิจที่เข้มงวด ผู้ปกครองสูงสุดในสังคมเป็นกษัตริย์ ซึ่งเรียกว่า อะนักซ์ (wanak) วัฒนธรรมกรีกในยุคไมซีนีต้องพบกับจุดจบ เมื่ออารยธรรมยุคสำริดในแถบเมดิเตอเรเนียนตะวันออกล่มสลายลง และติดตามมาด้วยยุคมืดของกรีซ อันเป็นช่วงที่สังคมกรีกเปลี่ยนผ่านแบบไร้การจดบันทึก(เป็นลายลักษณ์อักษร) ไปสู่กรีซยุคอาร์เคอิก อันเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมอย่างมีนัยสำคัญ โดยอำนาจที่เคยรวมศูนย์อยู่ที่พระราชวังได้กระจายตัวออกไป และมีการใช้เหล็กเพิ่มมากขึ้น มีทฤษฎีที่อธิบายการล่มสลายของอารยธรรมไมซีนีอยู่หลายทฤษฎี บ้างก็ว่าเป็นเพราะการรุกรานของชาวดอเรียนหรือเพราะการขยายอำนาจของ "ชาวทะเล" (the Sea Peoples) ในแถบเมดิเตอเรเนียนซึ่งชาวอียิปต์โบราณได้บันทึกไว้ ทฤษฎีอื่นๆที่ยอมรับกันก็เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ อารยธรรมและประวัติศาสตร์ของยุคไมซีนีกลายเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของวรรณกรรมกรีกโบราณ โดยเฉพาะเทพปกรณัมกรีก ซึ่งรวมถึงวัฏมหากาพย์กรุงทรอย (Trojan Epic Cycle).

ใหม่!!: ไมซีนีและอารยธรรมไมซีนี · ดูเพิ่มเติม »

อานาโตเลีย

อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.

ใหม่!!: ไมซีนีและอานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ฮีรา

ีร่า หรือ เฮร่า (Hera; Ήρα, Ήρη) เป็นมเหสีและเชษฐภคินี (พี่สาว) ของซูสในพระเจ้าโอลิมปัสของเทพปกรณัมและศาสนากรีก เป็นธิดาของโครนัสและเรีย หน้าที่หลักของพระนางคือเป็นเทพเจ้าแห่งสตรีและการสมรส ภาคโรมัน คือ จูโน พิจารณาว่าวัว สิงโตและนกยูงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำพระองค์ ฮีร่าเป็นที่รู้จักจากธรรมชาติอิจฉาและพยาบาทของพระนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชายาองค์อื่น ๆ ของซูส และบุตรที่เกิดจากชายาเหล่านั้น ไม่ว่าพวกนางเป็นเทพเจ้าหรือมนุษย์ก็ตาม ตัวอย่างของผู้ที่ถูกฮีร่าปองร้ายมีมากมาย เช่น ลีโต มารดาของเทพอพอลโลและเทพีอาร์ทิมิส เฮราคลีส ไอโอ ลามิอา เกรานา ซิมิลี มารดาของเทพไดอะไนซัส ยูโรปา เป็นต้น ก็จะเจอจุดจบแบบไม่สวยงาม ในมหากาพย์อีเลียด ของ โฮเมอร์ ได้กล่าวถึงพระนางว่า เทพีตาวัว (ox-eyed goddess) ซึ่งแสดงถึงสัตว์ประจำตัวของฮีรานั่นเอง.

ใหม่!!: ไมซีนีและฮีรา · ดูเพิ่มเติม »

ซูส

ซุส หรือ ซีอุส (Zeus; Ζεύς, Zeús ซฺเดอุส) ทรงเป็น "พระบิดาแห่งพระเจ้าและมนุษย์" (πατὴρ ἀνδρῶν τε θεῶν τε, patḕr andrōn te theōn te) ผู้ปกครองเทพโอลิมปัสแห่งยอดเขาโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัวตามศาสนากรีกโบราณ พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก ซูสเป็นบุตรของโครนัสและรีอา และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในตำนานกล่าวว่า พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือ ไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ ความเชื่อกรีกโบราณ ว่า "ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์" ชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) "ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ" เฮซิออด กวี ธีโอโกนี ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ กวีโฮเมอริค พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ สัญลักษณ์ของซูสคือ อัสนีบาตสายฟ้า, เหยี่ยว, กระทิง และต้นโอ๊ก นอกเหนือจากตำนานอินโด-ยูโรเปียน ฉายาตามตำนาน "ผู้รวบรวมเมฆ" (กรีก: Νεφεληγερέτα, Nephelēgereta) ได้รับมาจากสัญลักษณ์ตามวัฒนธรรมตะวันออกใกล้โบราณ ตัวอย่างเช่น คทาของกษัตริย์ ศิลปินชาวกรีกมักจะนำเสนอรูปปั้นเทพซูสใน ท่ายืนหรือท่วงท่าการก้าวไปข้างหน้า มีอัสนีบาตประดับในพระหัตถ์ขวา หรือประทับอยู่บนพระราชบัลลังก.

ใหม่!!: ไมซีนีและซูส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกรีซ

กรีซ (Greece; Ελλάδα, Elládha เอลาฑา หรือ Ελλάς, Ellás) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία, Ellinikí Dhimokratía) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู.

ใหม่!!: ไมซีนีและประเทศกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

เพอร์ซิอัส

อร์ซิอัสกับศีรษะเมดูซา งานปั้นของอันโตนิโอ คาโนวา ในปี ค.ศ. 1801 ปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วาติกัน เพอร์ซิอัส (Perseus; Περσεύς) เป็นบุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก เป็นบุตรของเทพซูสกับหญิงชาวมนุษย์ชื่อ นางแดนาอี ตามตำนานกรีกเพอร์ซิอัสเป็นผู้ก่อตั้งแคว้นไมซีนี และเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์เพอร์เซอิด เขาเป็นวีรบุรุษคนแรกในปกรณัมกรีกที่มีชื่อเสียงจากการปราบสัตว์ประหลาดโบราณมากมาย ในยุครุ่งเรืองเทพโอลิมปัสทั้ง 12 องค์ ชาวกรีกเชื่อกันว่าเพอร์ซิอัสเป็นผู้ก่อตั้งเมืองไมซีนีขึ้น ณ จุดที่ได้สังหารอะคริซิอัส พระเจ้าตาของตนโดยอุบัติเหตุ นอกจากนี้เพอร์ซิอัสยังเป็นผู้สังหารเมดูซาและเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าหญิงแอนดรอมิดาจากเคตัส (Cetus) ปีศาจทะเลซึ่งถูกส่งมาโดยเทพโปเซดอน เพื่อทำลายเอธิโอเปีย ชื่อของเพอร์ซิอัสยังขาดข้อสรุปทางนิรุกติศาสตร์ที่ชัดเจน ทำให้มีข้อสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นชื่อโบราณก่อนภาษากรีกจะเข้ามา แต่ก็มีผู้สันนิษฐานว่าอาจจะมีรากมาจากคำกริยากรีกว่า "πέρθειν" (perthein) แปลว่า ปล้นสะดม หรือ เข้าตีเมือง.

ใหม่!!: ไมซีนีและเพอร์ซิอัส · ดูเพิ่มเติม »

เพโลพอนนีส

มุทรเพโลพอนนีส เพโลพอนนีส (Πελοπόννησος, Peloponnese หรือ Peloponnesus) เดิมเรียกว่า "มอเรีย" เป็นคาบสมุทรใหญ่ (หรือเกาะ หลังจากการตัดคลองคอรินท์ ซึ่งแยกเพโลพอนนีสออกจากส่วนที่เหลือของกรีซแผ่นดินใหญ่) ทางตอนใต้ของประเทศกรีซทางตอนใต้ของอ่าวคอรินท์ ที่มีเนื้อที่ทั้งหมดราว 21,549 ตารางกิโลเมตร คาบสมุทรเพโลโพนีสแบ่งเป็นเขตการปกครองสามเขต (periphery) เขตเพโลโพนีส ส่วนหนึ่งของกรีซตะวันตก และเขตอัตติกา เมื่อขุดคลองคอรินท์ในปี ค.ศ. 1893 แล้วคาบสมุทรเพโลโพนีสก็ถูกแยกออกจากแผ่นดินใหญ่แต่มิได้ถือว่าเป็น “เกาะ”.

ใหม่!!: ไมซีนีและเพโลพอนนีส · ดูเพิ่มเติม »

เฮราคลีส

''เฮราคลีสสู้กับไฮดรา'' ภาพวาดของอันโตนิโอ พอลเลียโล เฮราคลีส (Heracles หรือ Herakles) เป็นชื่อเทพองค์หนึ่งในตำนานเทพเจ้ากรีก ชื่อมีความหมายว่า "ความรุ่งโรจน์ของเฮรา" เขาเป็นบุตรของเทพซูสกับนางแอลก์มินี เกิดที่เมืองธีบส์ เป็นหลานของแอมฟิไทรออน และเป็นเหลนของเพอร์ซูส เฮราคลีสนับเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในปกรณัมกรีก ชื่อในตำนานเทพโรมันว่า เฮอร์คิวลีส ซึ่งดัดแปลงเอาเรื่องราวของเขาในปกรณัมกรีกไปใช้ นับแต่เฮราคลีสเกิดมาก็ตกอยู่ในความริษยาพยาบาทของเทพีเฮรา ซึ่งหึงหวงเทพซูสผู้สามี แม้เฮราคลีสเป็นบุตรเทพซูส แต่กลับมีกำเนิดเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดา เมื่อโตขึ้น เฮราคลีสได้แต่งงานกับนางเมการะ มีบุตรสามคน เทพีเฮราบันดาลให้เขาวิกลจริตและสังหารบุตรภรรยาตายสิ้น เมื่อเขาคืนสติก็จะฆ่าตัวตายตาม แต่ธีซูสเพื่อนสนิทห้ามปรามไว้ แนะให้ไปขอคำพยากรณ์จากวิหารเดลฟี คำพยากรณ์บอกให้เฮราคลีสไปหาท้าวยูริสเทียสและรับทำภารกิจทุกประการตามแต่จะได้รับ เพื่อเป็นการชำระมลทินให้บริสุทธิ์ ท้าวยูริสเทียสสรรหาภารกิจอันเหลือที่มนุษย์จะกระทำได้ เรียกกันว่า "The Twelves Labours of Heracles" หรือ ภารกิจ 12 ประการของเฮราคลีส ได้แก.

ใหม่!!: ไมซีนีและเฮราคลีส · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ใหม่!!: ไมซีนีและเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »