โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไบลาทีเรีย

ดัชนี ไบลาทีเรีย

ลาทีเรีย (Bilateria) คือ สัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้าง กล่าวคือมีด้านหน้า หลัง บน ล่าง ซ้ายและขวา ในทางตรงกันข้าม สัตว์ที่มีสมมาตรรัศมี เช่น แมงกะพรุน มีด้านบนและด้านล่าง แต่ไม่มีด้านหน้าและหลังที่แน่ชัด ไบลาทีเรียเป็นกลุ่มใหญ่ของสัตว์ ประกอบด้วยไฟลัมส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่ฟองน้ำ ไนดาเรีย พลาโคซัว และทีโนฟอรา ตัวอ่อนของไบลาทีเรียมีไทรโพลบลาสตี คือ มีเนื้อเยื่อคัพภะสามชั้น ได้แก่ เอนโดเดิร์ม เมโซเดิร์ม และเอ็กโทเดิร์ม สิ่งมีชีวิตเกือบทุกตัวที่มีสมมาตรไบลาทีเรีย ยกเว้นอิคีเนอเดอร์เมอเทอ เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยโตเต็มที่จะมีลักษณะที่ใกล้เคียงสมมาตรรัศมี แต่เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีสมมาตรด้านข้าง สัตว์สมมาตรด้านข้างยกเว้นบางไฟลัม (เช่น หนอนตัวแบน) มีทางเดินอาหารที่สมบูรณ์ และมีปากกับทวารหนักแยกออกจากกัน สัตว์ไบลาทีเรียบางตัวไม่มีช่องว่างระหว่างลำตัว.

40 ความสัมพันธ์: ฟองน้ำพลาโคซัวการสูญพันธุ์มอลลัสกามีมาโทมอร์ฟายุคอีดีแอคารันยูแคริโอตยูโรคอร์ดาตาลอริซิเฟอราสมัยโฮโลซีนสัตว์สัตว์พวกหนอนปล้องสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ขาปล้องหมีน้ำหนอนกำมะหยี่หนอนถั่วหนอนตัวแบนออร์โธเนคทิดาอะแคนโธเซฟาลาอิคีเนอเดอร์เมอเทอทวารหนักทางเดินอาหารทีโนฟอราปากนาโธสโทมูลิดานีมาโทดานีเมอร์เทียแบรคิโอพอดแมงกะพรุนโรติเฟอร์ไบลาทีเรียไฟลัมไดยีมิดาไคโนรินชาไนดาเรียเอนโดเดิร์มเอ็กโทเดิร์มเซฟาโลคอร์ดาตาเนื้อเยื่อคัพภะ

ฟองน้ำ

ฟองน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเดียวในไฟลัมพอริเฟอรา (Porifera มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน - porus หมายถึง รู และ ferre หมายถึง พยุงหรือค้ำเอาไว้) เป็นสัตว์หลายเซลล์ที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด มีรูปร่างคล้ายแจกันที่มีรูพรุนเล็ก ๆ ทั่วตัวซึ่งเป็นช่องทางให้น้ำผ่านเข้าไปในลำตัว มีเซลล์เรียงกันเป็นสองชั้นแต่ยังไม่มีเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่แท้จริง ไม่มีอวัยวะและทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำทะเล มีบางชนิดเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด ตัวอ่อนของฟองน้ำนั้นมีเซลล์ที่สามารถว่ายไดน้ำได้ เรียกระยะนี้ว่า แอมพิบลาสทูลา (Amphiblastula) โดยจะว่ายน้ำไปเกาะตามก้อนหิน เมื่อเจริญเติบโตแล้วจะกลายเป็นฟองน้ำที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ฟองน้ำในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 7,000 สายพันธุ์ มักพบในเขตน้ำลึกกลางมหาสมุทร (ลึกประมาณ 8,500 เมตร) ต้นกำเนิดของฟองน้ำอาจย้อนไปถึงยุคพรีคัมเบรียน (Precambrian) หรือประมาณ 4,500 ล้านปีที่แล้ว พิสูจน์โดยซากฟอสซิลของฟองน้ำ นอกจากนี้แล้ว ฟองน้ำยังถือว่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนสูงสุดในบรรดาอาณาจักรสัตว์ทั้งหมดอีกด้วย โดยมีอายุยืนได้ถึงหมื่นปี.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและฟองน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

พลาโคซัว

พลาโคซัว เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หมวดหมู่:สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หมวดหมู่:ไฟลัม en:Trichoplax.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและพลาโคซัว · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

มอลลัสกา

มอลลัสกา (ไฟลัม: Mollusca, เสียงอ่าน) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง คือสัตว์ที่มีลำตัวนิ่ม ส่วนใหญ่มีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก พบทั้งบนบก น้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย ดำรงชีวิตเป็นอิสระ มีต่อมเมือกตามผิวลำตัว ระบบอวัยวะมีความซับซ้อน ลำตัวสั้น ด้านหน้าเป็นส่วนหัว ด้านล้างเป็นแผ่นเท้าสำหรับเคลื่อนที่และว่ายน้ำ ด้าบบนมีแมนเทิลที่ทำหน้าที่สร้างเปลือกแข็ง ภายในช่องปากมีแรดูลา ยกเว้นในหอยสองฝา ช่วยในการกินอาหาร มีต่อมน้ำลายและตับช่วยสร้างน้ำย่อย ระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วยหัวใจอยู่ด้านบนและเส้นเลือดไปตามส่วนต่างๆ ระบบขับถ่ายมีเนฟริเดียม ระบบหายใจประกอบด้วยเหงือกหรือถุงหายใจที่คล้ายปอด ระบบประสาทมีปมประสาทสามคู่และมีเส้นประสาทยึดระหว่างปม มีอวัยวะสำหรับรับภาพ กลิ่นและการทรงตัว ระบบสืบพันธุ์ส่วนใหญ่แยกเพศ มีบางพวกไม่แยกเพศและเปลี่ยนเพศได้ มีการปฏิสนธิทั้งแบบภายในและภายนอก สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกาเรียกโดยรวมว่า มอลลัสก์ (mollusc, mollusk).

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและมอลลัสกา · ดูเพิ่มเติม »

มีมาโทมอร์ฟา

นีมาโทมอร์ฟา (Nematomorpha) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและมีมาโทมอร์ฟา · ดูเพิ่มเติม »

ยุคอีดีแอคารัน

อีดีแอคารัน (Ediacaran) หรือ ยุคเวนเดียน เป็นยุคสุดท้ายแห่งมหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิก อยู่ระหว่าง 630 ล้านปีมาแล้วถึง 542 ล้านปีมาแล้ว ยุคนี้มีสัตว์แปลก ๆ มากมาย เช่น ดิกคินโซเนีย ซึ่งมีลักษณะเหมือนพรมเช็ดเท้าฟู ๆ กินอาหารโดยใช้การย่อยเมือกแบคทีเรียใต้ทะเล แล้วดูดซับสารอาหาร อีกตัวหนึ่งก็คือสไปรกินา มีลักษณะยาว ดูดซับเมือกแบคทีเรียเหมือนดิกคินโซเนีย บนแผ่นดินยังว่างเปล.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและยุคอีดีแอคารัน · ดูเพิ่มเติม »

ยูแคริโอต

ูแคริโอต (eukaryote) คือ สิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่น (ออร์แกเนลล์) อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ยูแคริโอตเป็นหน่วยอนุกรมวิธาน ยูคาร์ยาหรือยูแคริโอตา อย่างเป็นทางการ เยื่อหุ้มนิวเคลียสเป็นโครงสร้างที่นิยามเซลล์ยูแคริโอตแยกจากเซลล์โปรแคริโอต โดยภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีสารพันธุกรรม การมีนิวเคลียสเป็นที่มาของชื่อยูแคริโอต ซึ่งมาจากภาษากรีก ευ (eu, "ดี") และ κάρυον (karyon, "ผลมีเมล็ดเดียว" หรือ "เมล็ด") เซลล์ยูแคริโอตส่วนใหญ่ยังมีออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มอื่นด้วย เช่น ไมโทคอนเดรียหรือกอลจิแอพพาราตัส นอกเหนือจากนี้ พืชและสาหร่ายยังมีคลอโรพลาสต์ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหลายชนิดเป็นยูแคริโอต เช่น โปรโตซัว แต่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ทุกชนิดเป็นยูแคริโอต ซึ่งได้แก่ สัตว์ พืชและเห็ดรา การแบ่งเซลล์ในยูแคริโอตแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีนิวเคลียส (โปรแคริโอต) มีกระบวนการแบ่งตัวสองประเภท คือ ไมโทซิสและไมโอซิส ไมโทซิสเป็นการที่เซลล์หนึ่งแบ่งตัวได้เซลล์ที่มีพันธุกรรมเหมือนกันสองเซลล์ ในไมโอซิสซึ่งจำเป็นในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เซลล์ดิพลอยด์หนึ่ง (ซึ่งมีโครโมโซมสองชุด ชุดหนึ่งมาจากพ่อ อีกชุดหนึ่งมาจากแม่) มีการจับคู่โครโมโซมจากพ่อแม่แต่ละคู่ใหม่ แล้วผ่านการแบ่งเซลล์อีกสองขั้นตอน จนได้เซลล์แฮพลอยด์สี่เซลล์ (เซลล์สืบพันธุ์) เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีโครโมโซมชุดเดียว ซึ่งเป็นการผสมโครโมโซมจากพ่อแม่คู่เดียวกัน โดเมนยูแคริโอตาดูเหมือนมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) จึงเป็นหนึ่งในสามโดเมนของสิ่งมีชีวิต อีกสองโดเมน ได้แก่ แบคทีเรียและอาร์เคีย เป็นโปรแคริโอตและไม่มีคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ยูแคริโอตเป็นสิ่งมีชีวิตส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ดี เนื่องจากยูแคริโอตมีขนาดใหญ่กว่ามาก มวลชีวภาพรวมทั่วโลกจึงประมาณว่าเท่ากับมวลชีวภาพของโปรแคริโอตWhitman, Coleman, and Wiebe,, Proc.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและยูแคริโอต · ดูเพิ่มเติม »

ยูโรคอร์ดาตา

ูโรคอร์ดาตา มีชื่อสามัญว่า Tunicate เป็นสัตว์มีแกนสันหลังที่เป็นสัตว์น้ำเค็ม ไม่มีกะโหลกศีรษะ ไม่มีขากรรไกร มักแตกหน่อแล้วอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม บางชนิดอยู่โดดเดี่ยว มีการสร้างสารคลุมตัว เป็นสารประกอบพวกเซลลูโลส ที่เรียกว่าทูนิซินเพื่อให้คงรูปร่างอยู่ได้ ซีลอมไม่ชัดเจนเนื่องจากมีอวัยวะภายในบรรจุอยู่เต็ม ระบบหมุนเวียนเลือดเป็นแบบเปิด ไม่แยกเพศ การเจริญมีตัวอ่อนมีหางยาวใช้ว่ายน้ำ มีโนโตคอร์ดไขสันหลังบริเวณหาง เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยหางจะค่อยๆสลายไปจนไม่มีหาง เหลือโนโตคอร์ดและไขสันหลังบริเวณลำตัวบ้างเท่านั้น เช่น เพรียงลอย เพรียงสาย เพรียงหัวหอม แบ่งย่อยได้เป็น 3 คลาส คือ.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและยูโรคอร์ดาตา · ดูเพิ่มเติม »

ลอริซิเฟอรา

ลอริซิเฟอรา เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หมวดหมู่:สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หมวดหมู่:ไฟลัม.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและลอริซิเฟอรา · ดูเพิ่มเติม »

สมัยโฮโลซีน

อุณหภูมิเฉลี่ยของบรรยากาศโลกในสมัยโฮโลซีน โฮโลซีน (Holocene) เป็นสมัย (epoch) ทางธรณีวิทยา ที่เริ่มขึ้นหลังจากการสิ้นสุดของไพลสโตซีน (11,700 ปีก่อนปัจจุบัน ตามปีปฏิทิน) มาจนถึงปัจจุบัน สมัยโฮโลซีนเป็นส่วนหนึ่งของยุคควอเทอร์นารี โดยนับตั้งแต่ปลายยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด ชื่อโฮโลซีน มาจากรากศัพท์ภาษากรีก ὅλος (holos แปลว่า ทั้งหมด) และ καινός (kainos แปลว่า ใหม่) ซึ่งแปลว่า "ใหม่ทั้งหมด" ได้รับการบัญญัติโดยสภาธรณีวิทยาสากล ในปี..

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและสมัยโฮโลซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์พวกหนอนปล้อง

ัตว์พวกหนอนปล้อง หรือ แอนเนลิดา เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังได้แก่ ไส้เดือนดิน ไส้เดือนทะเลและปลิงน้ำจืด ลำตัวกลมยาว คล้ายวงแหวนต่อกันเป็นปล้องอย่างแท้จริง อวัยวะภายนอกและภายในจัดเป็นชุดซ้ำๆกันในแต่ละปล้องไปตลอดตัว ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตเป็นอิสระ มีส่วนน้อยที่เป็นปรสิต ผิวหนังปกคลุมด้วยคิวติเคิลบาง มีต่อมสร้างเมือก มีระยางค์เป็นแท่งแข็งหรือเดือยในแต่ละปล้อง ช่วยในการเคลื่อนที่ ลำตัวมีกล้ามเนื้อวงกลมและกล้ามเนื้อตามยาว ซีลอมแบ่งเป็นห้องๆตามลำตัวตามปล้องลำตัว การหายใจผ่านทางผิวหนัง ระบบขับถ่ายมีเนฟฟริเดียมปล้องละ 1 คู่ นำของเสียมาตามท่อ เปิดสู่ภายนอก ระบบประสาทมีปมสมอง 1 คู่เชื่อมไปยังเส้นประสาทกลางตัวด้านล่างซึ่งมีปมประสาทและเส้นประสาทย่อย มีเซลล์รับสัมผัสกลิ่นและแสง ระบบสืบพันธุ์มีทั้งแบบแยกและไม่แยกเพศ แต่ไม่สามารถผสมพันธุ์ภายในตัวเองได้.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและสัตว์พวกหนอนปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ขาปล้อง

ัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda อาร์โธรโพดา) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า อาร์โธพอด เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็นส่วน ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและสัตว์ขาปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

หมีน้ำ

หมีน้ำ (Waterbears) หรือชื่อสามัญว่า ทาร์ดิกราดา (Tardigrada) หรือ ทาร์ดิเกรด (Tardigrades) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tardigrada.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและหมีน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

หนอนกำมะหยี่

หนอนกำมะหยี่ (Velvet worm) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกหนึ่งในไฟลัม Onychophora (หรือ Protracheata) หนอนกำมะหยี่ เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีรูปร่างคล้ายหนอนหรือหนอนผีเสื้อ แต่มิใช่แมลงเช่นหนอนทั่วไป หากแต่เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างจากยุคดึกดำบรรพ์เพียงไม่มาก โดยกำเนิดมาในยุคแคมเบรียน ในช่วงยุคแรกของยุคพาลีโซอิก เมื่อกว่า 530 ล้านปีที่แล้ว จึงจัดเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่ง มีความยาวประมาณ 1.4-15 เซนติเมตร ลำตัวปกคลุมด้วยคิวติเคิลที่อ่อนนุ่ม มีขาประมาณ 14-43 คู่ ส่วนปลายจะเป็นแผ่นและมีกรงเล็บ 2 อัน ส่วนหัวเป็นที่ตั้งของหนวด 1 คู่ มีตาอยู่ที่ด้านฐาน มีระบบท่อลมคล้ายกับที่พบในแมลงช่วยในการหายใจเชื่อมต่อกับรูเปิดทั่วร่างกาย มีระบบหมุนเวียนโลหิตแบบเปิด หัวใจเป็นท่อ สมองมีขนาดใหญ่ มีการแบ่งเพศชัดเจน บางชนิดพบว่ามีรกเป็นทางเชื่อมระหว่างแม่และลูก บางชนิดตัวอ่อนเจริญอยู่ในเปลือกหุ้ม หนอนกำมะหยี่ อาศัยอยู่ในพื้นดินที่มืดและชื้นแฉะ เช่น ในป่าฝนเมืองร้อนของอเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้ เป็นต้น ปัจจุบันพบแล้วประมาณ 180 ชนิด หนอนกำมะหยี่ โดยปกติจะเป็นอาหารของสัตว์ใหญ่กว่าชนิดต่าง ๆ เช่น ตะขาบ, นก หรือสัตว์ฟันแท.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและหนอนกำมะหยี่ · ดูเพิ่มเติม »

หนอนถั่ว

หนอนถั่ว (Sipuncula) เป็นสิ่งมีชีวิตอาศัยตามทราย โคลน ซอกหิน รอยแยกของปะการัง ในทะเลน้ำตื้น ถึง น้ำลึก ลักษณะลำตัวกลมยาวไม่มีขา ผิวไม่เรียบ เป็นร่องสันทั่วตัวคล้ายเปลือกถั่วลิสง ปลายด้านหนึ่งยืดหดได้คล้ายคอ มีกระจุกหนวดไว้คอยหาอาหาร หนอนถั่วมีอยู่ประมาณ 350 ชนิดพัน.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและหนอนถั่ว · ดูเพิ่มเติม »

หนอนตัวแบน

หนอนตัวแบน หรือ แพลทีเฮลมินธิส เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลักษณะเด่นคือ เป็นไฟลัมแรกที่มีสมมาตรแบบซ้ายขวา ลำตัวแบนจากบนลงล่าง (dorso-ventrally) ลักษณะคล้ายริบบิ้น ผิวลำตัวอ่อนนิ่ม ยกเว้นพวกที่เป็นปรสิตจะมีคิวติเคิลหนา พบประมาณ 25000 ชนิด จัดอยู่ในสัตว์กลุ่มที่ไม่มีช่องว่างลำตัวที่แท้จริง (Accoelomate) กลุ่มใหญ่ที่สุด สามารถพบได้ทั้งในทะเล น้ำจืด บนบก ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตแบบปรสิต (parasitic) บางวงศ์ดำรงชีวิตอิสระ (free living) ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และสั้น ยกเว้นพยาธิตัวตืด ขนาดและความยาวแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด พบยาวที่สุดกว่า 20 เมตร.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและหนอนตัวแบน · ดูเพิ่มเติม »

ออร์โธเนคทิดา

ออร์โธเนคทิดา เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หมวดหมู่:สัตว์ หมวดหมู่:สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หมวดหมู่:ไฟลัม.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและออร์โธเนคทิดา · ดูเพิ่มเติม »

อะแคนโธเซฟาลา

อะแคนโธเซฟาลา เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกหนอนปรสิตมักรู้จักกันอีกชื่อนึงว่า อะแคนโธเซฟาลัน,หรือ หนอนหัวหนาม ลักษณะเด่นของสัตว์ชนิดนี้คือ "งวงที่มีหนาม" ซึ่งมีไว้สำหรับเจาะผนังลำไส้ของเหยื่อจำพวกปลา(พบมากใน ปลาบลูฟิช(Blue Fish)),สัตว์เลี้อยคลาน,สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมวดหมู่:สัตว์ หมวดหมู่:สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หมวดหมู่:ไฟลัม.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและอะแคนโธเซฟาลา · ดูเพิ่มเติม »

อิคีเนอเดอร์เมอเทอ

อิคีเนอเดอร์เมอเทอ เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีสมาชิกได้แก่ ดาวทะเล ดาวเปราะ ปลิงทะเล เม่นทะเล พลับพลึงทะเลและเหรียญทะเล เป็นไฟลัมที่พบเฉพาะในทะเล ชื่อของไฟลัมหมายถึง "สัตว์ที่มีผิวหนังเป็นหนาม" (Echinos.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและอิคีเนอเดอร์เมอเทอ · ดูเพิ่มเติม »

ทวารหนัก

ทวารหนัก (anus) มาจากคำภาษาลาติน anus แปลว่า "วงแหวน" หรือ "วงกลม" เป็นรูเปิดตรงส่วนปลายของทางเดินอาหารของสัตว์ตรงข้ามกับปาก มีหน้าที่ในการควบคุมการปล่อยอุจจาระ, ของกึ่งแข็งที่ไม่เป็นที่ต้องการในระบบย่อยอาหาร ซึ่งขึ้นอยู่กับสัตว์แต่ละชนิด อาจรวมถึง สิ่งที่สัตว์ชนิดนั้นไม่สามารถย่อยได้ เช่น กระดูก, Summary at ส่วนที่เหลือของอาหารหลังสารอาหารถูกนำออกไปหมดแล้ว ตัวอย่างเช่น เซลลูโลสหรือลิกนิน (lignin), สิ่งที่อาจเป็นพิษหากคงอยู่ในทางเดินอาหาร และจุลินทรีย์ในลําไส้ (gut bacteria) ที่ตายแล้วหรือเกินจำเป็นรวมถึงสิ่งมีชีวิตร่วมอาศัย (endosymbiont) อื่น ๆ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน และนก ใช้ช่องเปิดช่องเดียวกันเรียกว่าทวารรวม (cloaca) สำหรับขับถ่ายของเสียทั้งของเหลวและของแข็ง, สำหรับรวมเพศ และสำหรับวางไข่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในชั้นย่อยโมโนทรีมมีทวารรวมเช่นกัน คาดว่าเป็นลักษณะที่สืบทอดจากสัตว์มีถุงน้ำคร่ำยุคแรกสุดผ่านสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มเทอแรพซิด (therapsid) สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องมีช่องเปิดเดียวสำหรับขับของเหลวและของแข็ง และเพศเมียมีช่องคลอดแยกสำหรับการสืบพันธุ์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่ม placentalia เพศหญิงมีช่องเปิดแยกสำหรับถ่ายอุจจาระ ขับปัสสาวะ และสืบพันธุ์ ส่วนเพศผู้มีช่องเปิดสำหรับอุจจาระและอีกช่องสำหรับทั้งปัสสาวะและสืบพันธุ์ แม้ช่องทางที่ไหลไปยังช่องเปิดนั้นแทบจะแยกกันอย่างสิ้นเชิง การพัฒนาของทวารหนักเป็นขั้นตอนสำคัญในวิวัฒนาการของสัตว์หลายเซลล.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและทวารหนัก · ดูเพิ่มเติม »

ทางเดินอาหาร

PAGENAME ทางเดินอาหาร (gut, alimentary canal หรือ alimentary tract) ในทางสัตววิทยา เป็นท่อซึ่งสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้าง (bilateria) ส่งอาหารไปยังอวัยวะที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร ทางเดินอาหารในสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้างขนาดใหญ่มักมีทางออกด้วย คือ ทวารหนัก ซึ่งเป็นช่องทางที่สัตว์ถ่ายของเสียออกมาเป็นของแข็ง ส่วนสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้างขนาดเล็กมักไม่มีทวารหนักและขับของเสียออกด้วยวิธีการอื่น เช่น ทางปาก สัตว์ที่มีทางเดินอาหารถูกจัดเข้าเป็นพวกโปรโตสโตม (protostome) หรือดิวเทอโรสโตม (deuterostome) เพราะทางเดินอาหารวิวัฒนาการสองครั้ง เป็นตัวอย่างหนึ่งของวิวัฒนาการเบนเข้า (convergent evolution) การจำแนกดังกล่าวดูจากพัฒนาการของเอ็มบริโอ สัตว์พวกโปรโตสโตมจะวิวัฒนาปากก่อน ขณะที่ดิวเทอโรสโตมจะวิวัฒนาปากเป็นลำดับที่สอง โปรโตสโตม ได้แก่ พวกสัตว์ขาปล้อง (arthropod) สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกา (mollusca) และแอนเนลิดา (annelida) ขณะที่พวกดิวเทอโรสโตม ได้แก่ สัตว์ในไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา (echinodermata) และคอร์ดาตา (chordata).

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและทางเดินอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

ทีโนฟอรา

ทีโนฟอรา เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพบตามชายฝั่งทะเล โครงสร้างคล้ายสัตว์ในไฟลัมไนดาเรียที่มีรูปร่างแบบกระดิ่งคว่ำ แต่ที่ต่างไปคือลำตัวเป็นทรงกลม มีด้านปากและด้านตรงข้ามปาก เทนทาเคิลไม่มีเข็มพิษ สืบพันธุ์แบบไม่แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก โดยไข่และสเปิร์มใช้ปากเป็นทางออก อยู่ในน้ำเค็มทั้งหมดว่ายน้ำอย่างอิสระ เคลื่อนที่โดยแผงหวี ได้แก่ หวีวุ้น โดยสัตว์เหล่านี้มีลักษณะ -ลำตัวโปรงใส -เคลื่อนที่โดยอาศัยการพัดโบกของชิเลีย (cilia) -มีเทนตาเคิล 2 เส้น -รอบตัวแบ่งเป็น 8 ส่วน โดยมีแถบชิเลียยาว 8 แถว มีลักษณะคล้ายชี่หวี.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและทีโนฟอรา · ดูเพิ่มเติม »

ปาก

ปาก หรือ ช่องปาก เป็นอวัยวะของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปใช้กินอาหารและดื่มน้ำ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและปาก · ดูเพิ่มเติม »

นาโธสโทมูลิดา

นาโธสโทมูลิดา (Gnathostomulida) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หมวดหมู่:สัตว์ หมวดหมู่:สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หมวดหมู่:ไฟลัม.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและนาโธสโทมูลิดา · ดูเพิ่มเติม »

นีมาโทดา

นีมาโทดา หรือหนอนตัวกลม เป็นชื่อเรียกของ แขนงวิชา วิทยาศาสตร์ โดยใช้เรียก ไฟลัม ซึ่งเป็นประเภทของการแบ่งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและนีมาโทดา · ดูเพิ่มเติม »

นีเมอร์เทีย

นีมอร์เทียน หรือ หนอนริบบิ้น (Nemertea) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีทั้งหมดประมาณ 1,400 สายพันธุ์ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทะเล บางชนิดพบได้ในมหาสมุทรทั่วโลก มีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด ชนิดที่อาศัยในทะเล เช่น หนอนริบบิ้น (Lineus longissimus) หมวดหมู่:สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หมวดหมู่:ไฟลัม.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและนีเมอร์เทีย · ดูเพิ่มเติม »

แบรคิโอพอด

''Spiriferina rostrata'' แบรคิโอพอด เป็นคำจากภาษาลาติน brachium หมายถึงแขน + ภาษาลาตินใหม่ -poda หมายถึงตีน เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอาศัยอยู่บนท้องน้ำรู้จักกันอีกชื่อหนึงว่า หอยตะเกียง เป็นสัตว์ทะเลมีสองฝาด้วยลักษณะภายนอกมีความละม้ายกับหอยกาบคู่ซึ่งที่แท้จริงแล้วไม่ได้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ใกล้ชิดกันอย่างใดเลย นักบรรพชีวินวิทยาได้ประมาณว่าหลักฐานของแบรคิโอพอดที่ได้รับการบันทึกไว้เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วถึงร้อยละ 99 แม้ว่าหอยกาบคู่และแบรคิโอพอดจะมีลักษณะภายนอกละม้ายคล้ายคลึงกัน แต่ที่แท้จริงแล้วมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยปรกติแล้วหอยกาบคู่จะมีระนาบสมมาตรอยู่ระหว่างเปลือกฝาทั้งสอง ขณะที่แบรคิโอพอดจะมีระนาบสมมาตรแบบสมมาตรด้านข้าง คือระนาบสมมาตรจะตั้งฉากกับแนวหับเผย (hinge) เปลือกฝาทั้งสองของแบรคิโอพอดแตกต่างกันทั้งขนาดและรูปร่าง หอยกาบคู่ใช้กล้ามเนื้อแอดดักเตอร์ในการทำให้เปลือกฝาทั้งสองมาปะกบกันและจะเปิดอ้าออกโดยใช้ลิกาเมนต์ด้านนอกหรือด้านในทันทีที่กล้ามเนื้อแอดดักเตอร์คลายตัว ขณะที่แบรคิโอพอดใช้กล้ามเนื้อดิดักเตอร์ด้านในดึงให้ฝาทั้งสองเปิดออก และจะปิดปะกบเข้าหากันด้วยกล้ามเนื้อแอดดักเตอร์ ความแตกต่างที่ชัดเจนอีกลักษณะหนึ่งคือ แบรคิโอพอดทั้งหลายจะอาศัยอยู่ด้วยการยึดเกาะกับพื้นท้องทะเลโดยอาศัยอวัยวะที่มีลักษณะเป็นก้านเนื้อเยื่อยื่นออกไป ในทางตรงกันข้ามหอยกาบคู่ทั้งหลายจะเคลื่อนที่ไปอย่างอิสระด้วยอวัยวะเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เป็นเท้า ทั้งนี้ยกเว้นหอยพวกหอยนางรม หอยแมลงภู่ และหอยรูดิสต์ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วที่ยึดเกาะกับพื้นท้องทะเล นอกจากนี้ เปลือกฝาของแบรคิโอพอดถ้าไม่ประกอบด้วยสารแคลเซี่ยมฟอสเฟตก็เป็นสารแคลเซียมคาร์บอเนต ขณะที่เปลือกฝาของหอยกาบคู่ทั่วไปจะประกอบด้วยสารแคลเซียมคาร์บอเนต และท้ายสุดที่แบรคิโอพอดไม่เหมือนกับหอยกาบคู่ก็คือ แบรคิโอพอดบางกลุ่มมีเปลือกฝาเป็นปีกคล้ายครีบยื่นออกไปและรวมถึงมีหนามบนพื้นเปลือกฝ.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและแบรคิโอพอด · ดูเพิ่มเติม »

แมงกะพรุน

แมงกะพรุน หรือ กะพรุน จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ไฟลัมย่อยเมดูโซซัว แบ่งออกเป็นอันดับได้ 5 อันดับ (ดูในตาราง) ลักษณะลำตัวใสและนิ่มมีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารมีเข็มพิษที่บริเวณหนวดที่อยู่ด้านล่าง ไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ เมื่อโตเต็มวัย ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำร้อยละ 94-98 ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร พบได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลก แมงกะพรุนส่วนใหญ่จัดอยู่ในอันดับไซโฟซัว แต่ก็บางประเภทที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว อาทิ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia physalis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก และแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) ที่อยู่ในอันดับคูโบซัว ก็ถูกเรียกว่าแมงกะพรุนเช่นกัน.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและแมงกะพรุน · ดูเพิ่มเติม »

โรติเฟอร์

รติเฟอร์ที่อยู่เป็นโคโลนี โรติเฟอร์ (Rotifer) เป็นชื่อสามัญของสัตว์ใน ไฟลัมโรติเฟอรา (Rotifera) ซึ่งเป็นกลุ่มของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีชื่อสามัญว่าโรติเฟอร์ ส่วนหัวมีขนเซลล์เรียงกันเป็นแผงเรียกว่าโคโรนา มีการพัดโบกของซิเลียดูคล้ายวงล้อหมุน สมมาตรครึ่งซีก มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้นในระยะเอ็มบริโอ มีระบบอวัยวะแบบสัตว์ชั้นสูง มีซีลอมไม่แท้ มีระบบทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ (Complete digestive tract) เป็นพวกแรก ลำตัวยาว โปร่งใส ถ้ามีสีจะมีสีสดใส มีตาเดี่ยวทำหน้าที่รับแสง ระบบสืบพันธุ์แยกเพศกัน ตัวผู้เล็กกว่าตัวเมียเสมอ บางชนิดมีสารเคลือบผิวหนา คล้ายเป็นเกราะ และมีหนามด้วย เรียกโครงสร้างนี้ว่า ลอริกา มีเท้าสำหรับยึดเกาะ บริเวณคอหอยมีอวัยวะคล้ายฟันเรียกว่า แมสแตกซ์ (Mastax) ตัวอย่างของสัตว์ในไฟลัมนี้ ได้แก่ไรหมุนหรือหนอนจักร มักอยู่กับพืชน้ำในน้ำจืด หรือมอสในน้ำเค็ม หากินอิสระ บางชนิดเป็นปรสิตบนเหงือกของสัตว์จำพวกกุ้ง-กั้ง-ปู โรติเฟอร์ที่มีเท้าจะเคลื่อนที่ไปตามพื้นท้องน้ำโดยใช้โคโรนาและเท้าคืบคลาน โรติเฟอร์ที่เป็นแพลงก์ตอนใช้โคโรนาเคลื่อนที่เพียงอย่างเดียว โคโรนาทำหน้าที่พัดอาหารเข้าปาก ใช้แมสแตกซ์บดเคี้ยว แล้วจึงส่งเข้าสู่กระเพาะอาหาร การผสมพันธุ์เป็นแบบปฏิสนธิภายใน เมื่อประชากรน้อย โรติเฟอร์จะสร้างไข่ที่เป็นดิพลอยด์ ซึ่งจะฟักเป็นตัวเมียทั้งหมด จนมีประชากรมากจึงจะสร้างไข่แบบแฮพลอยด์ ที่จะฟักเป็นตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจึงจะผสมพันธุ์กัน ไข่ของโรติเฟอร์ที่เกิดจากการปฏิสนธิมีผนังหนา ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี โรติเฟอร์บางชนิดอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่นบนมอสหรือทรายได้นาน 3-4 ปี โดยไม่มีการผสมพัน.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและโรติเฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไบลาทีเรีย

ลาทีเรีย (Bilateria) คือ สัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้าง กล่าวคือมีด้านหน้า หลัง บน ล่าง ซ้ายและขวา ในทางตรงกันข้าม สัตว์ที่มีสมมาตรรัศมี เช่น แมงกะพรุน มีด้านบนและด้านล่าง แต่ไม่มีด้านหน้าและหลังที่แน่ชัด ไบลาทีเรียเป็นกลุ่มใหญ่ของสัตว์ ประกอบด้วยไฟลัมส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่ฟองน้ำ ไนดาเรีย พลาโคซัว และทีโนฟอรา ตัวอ่อนของไบลาทีเรียมีไทรโพลบลาสตี คือ มีเนื้อเยื่อคัพภะสามชั้น ได้แก่ เอนโดเดิร์ม เมโซเดิร์ม และเอ็กโทเดิร์ม สิ่งมีชีวิตเกือบทุกตัวที่มีสมมาตรไบลาทีเรีย ยกเว้นอิคีเนอเดอร์เมอเทอ เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยโตเต็มที่จะมีลักษณะที่ใกล้เคียงสมมาตรรัศมี แต่เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีสมมาตรด้านข้าง สัตว์สมมาตรด้านข้างยกเว้นบางไฟลัม (เช่น หนอนตัวแบน) มีทางเดินอาหารที่สมบูรณ์ และมีปากกับทวารหนักแยกออกจากกัน สัตว์ไบลาทีเรียบางตัวไม่มีช่องว่างระหว่างลำตัว.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและไบลาทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและไฟลัม · ดูเพิ่มเติม »

ไดยีมิดา

ไดยีมิดา เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หมวดหมู่:สัตว์ หมวดหมู่:สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หมวดหมู่:ไฟลัม.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและไดยีมิดา · ดูเพิ่มเติม »

ไคโนรินชา

ไคโนรินชา เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หมวดหมู่:สัตว์ หมวดหมู่:สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หมวดหมู่:ไฟลัม.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและไคโนรินชา · ดูเพิ่มเติม »

ไนดาเรีย

ฟลัมไนดาเรีย หรือ เคยมีชื่อว่า ไฟลัมซีเลนเตอราตา หรือพวก ซีเลนเตอราตา เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีรูปร่างทรงกระบอก มีโพรงในลำตัว และมีเข็มพิษ เช่น แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ไฮดรา ส่วนใหญ่พบตามชายฝั่งลงไปจนถึงทะเลลึก บางชนิดพบในน้ำจืด กลางลำตัวเป็นท่อกลวง มีอวัยวะคล้ายหนวดหลายเส้น ภายในหนวดนี้มีเข็มพิษจำนวนมาก เมื่อสัมผัสจะทำให้ผิวหนังระคายเคืองและพิษจากเข็มพิษบางชนิดทำให้สัตว์เป็นอัมพาตได้ สัตว์กลุ่มนี้มีประโยชน์ต่อมนุษย์โดยเฉพาะพวกปะการัง เสมือนเป็นป่าใต้น้ำ ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ที่เจริญเติบโตและหลบภัยของสัตว์น้ำนานาชนิด สัตว์กลุ่มนี้ บางชนิดจะสืบพันธุ์ แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ เช่น ไฮดรา ปะการัง และกัลปังหา บางชนิดสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เช่น แมงกะพรุน.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและไนดาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เอนโดเดิร์ม

อนโดเดิร์ม (endoderm) เป็นหนึ่งใน germ layer ที่สร้างขึ้นระหว่างการเกิดเอ็มบริโอของสัตว์ เกิดจากเซลล์เดินทางเข้าด้านในผ่านอาร์เคนเทอรอน (archenteron; ส่วนเจริญเป็นทางเดินอาหาร) เกิดเป็นชั้นด้านในของแกสตรูลา ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นเอนโดเดิร์ม ในระยะแรกเอนโดเดิร์มประกอบด้วยชั้นเซลล์แบนๆ ซึ่งต่อมาจะมีรูปทรงกระบอก (columnar) เนื้อเยื่อชั้นนี้จะสร้างเป็นเนื้อเยื่อบุผิวของท่อทางเดินอาหารทั้งหมด ยกเว้นส่วนปาก และคอหอย และส่วนปลายของไส้ตรง (ซึ่งดาดโดยส่วนหวำของเอ็กโทเดิร์ม) นอกจากนี้ยังสร้างเป็นเซลล์บุของต่อมทั้งหมดที่เปิดออกสู่ท่อทางเดินอาหาร รวมทั้งตับและตับอ่อน; เนื้อเยื่อบุผิวของท่อหู (auditory tube) และโพรงหูส่วนกลาง (tympanic cavity); ท่อลม, หลอดลม, และถุงลมภายในปอด, กระเพาะปัสสาวะ, และส่วนของท่อปัสสาวะ; ฟอลลิเคิลของต่อมไทรอยด์และต่อมไทมั.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและเอนโดเดิร์ม · ดูเพิ่มเติม »

เอ็กโทเดิร์ม

อ็กโทเดิร์ม (ectoderm) เป็นเนื้อเยื่อแรกที่ปกคลุมพื้นผิวของร่างกาย เกิดขึ้นมาเป็นชั้นแรกและอยู่ชั้นนอกสุดของ germ layer กล่าวโดยทั่วไป เอ็กโทเดิร์มเจริญไปเป็นระบบประสาท, หนังกำพร้า, และส่วนนอกของระบบปกคลุมร่างกาย ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เอ็กโทเดิร์มแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ external ectoderm (หรือ surface ectoderm), นิวรัล เครสต์ (neural crest), และนิวรัล ทูบ (neural tube) ซึ่งสองอันหลังนี้เรียกรวมกันว่า นิวโรเอ็กโทเดิร์ม (neuroectoderm).

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและเอ็กโทเดิร์ม · ดูเพิ่มเติม »

เซฟาโลคอร์ดาตา

ซฟาโลคอร์ดาตา (Cephalochordata)เป็นสัตว์มีแกนสันหลังที่มีรูปร่างหัวท้ายแหลม ฝังตัวตามพื้นทรายในทะเล มีโนโตคอร์ดและไขสันหลังตลอดชีวิต ไม่มีสมอง ลำตัวเป็นปล้องชัดเจน กินอาหารโดยกรองจากน้ำ น้ำออกตามรูด้านหลังเรียกเอทริโอพอร์ (atriopore) มีอวัยวะสำคัญเรียกเอนโดสไตล์ (endostyle) ซึ่งสะสมไอโอดีนได้ มีหน้าที่สร้างเมือกเพื่อจับอาหารที่มากับน้ำ คาดว่าอวัยวะชนิดนี้วิวัฒนาการไปเป็นต่อมไทรอยด์ในสัตว์ชั้นสูง ตัวอย่างเช่น แอมฟิออกซัส (Amphioxus) ซึ่งเหลืออยู่เพียงสองสกุลคือ Branchiostoma และ Asymetron พบฟอสซิลของเซฟาโลคอร์ดาตา (Yunnanozoon) ทางภาคใต้ของจีนซึ่งมีอายุย้อนไปถึงยุคแคมเบรียนตอนต้น จัดเป็นฟอสซิลที่เก่าที่สุดของสัตว์กลุ่มนี้.

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและเซฟาโลคอร์ดาตา · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อคัพภะ

อวัยวะที่เจริญมาจาก Germ layer ในแต่ละชั้น ชั้นเนื้อเยื่อคัพภะ (Germ layer) เป็นเนื้อเยื่อ (กลุ่มของเซลล์) ที่เกิดขึ้นระหว่างการเกิดเอ็มบริโอ (embryogenesis) ของสัตว์ แม้ว่ามักกล่าวถึงในแง่การเจริญในสัตว์มีกระดูกสันหลัง แต่ความจริงแล้วสัตว์ทุกชนิดที่มีวิวัฒนาการซับซ้อนกว่าฟองน้ำ มีการสร้างชั้นเนื้อเยื่อปฐมภูมิ (primary tissue layers, บางครั้งเรียกว่า primary germ layers) 2 หรือ 3 ชั้น แล้ว สัตว์ที่มีสมมาตรในแนวรัศมี เช่น ไนดาเรีย (cnidarian) หรือทีโนฟอรา (ctenophore) สร้าง germ layer ขึ้นมา 2 ชั้น ได้แก่ เอ็กโทเดิร์ม และเอนโดเดิร์ม จึงเรียกว่า ไดโพลบลาสติก (diploblastic) ส่วนสัตว์ที่มีสมมาตรแบบ 2 ด้านคือตั้งแต่หนอนตัวแบนจนถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะมีการสร้างเนื้อเยื่อชั้นที่ 3 ขึ้นมา เรียกว่า เมโซเดิร์ม จึงเรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า ไตรโพลบลาสติก (triploblastic) Germ layer จะเจริญต่อไปเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะของสัตว์ทุกชนิดผ่านกระบวนการเกิดอวัยวะ (organogenesis).

ใหม่!!: ไบลาทีเรียและเนื้อเยื่อคัพภะ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Bilateria

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »