โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิส

ดัชนี ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิส

ททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิส (ชื่อย่อ: ไททันโอโบอา (Titanoboa)) เป็นชื่องูขนาดใหญ่ที่ไม่มีพิษ ในวงศ์ Boidae ซึ่งปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ถูกค้นพบโดยคณะนักวิทยาศาสตร์สาขาบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยโทรอนโต ไททันโอโบอาเป็นงูที่อยู่ในวงศ์เดียวกับงูไม่มีพิษจำพวกโบอา ที่คล้ายกับงูเหลือมหรืองูหลาม ที่พบได้ในทวีปอเมริกากลางและเกาะมาดากัสการ์ในปัจจุบัน นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่า ไททันโอโบอา มีรูปร่างลักษณะและมีพฤติกรรมคล้ายงูอนาคอนดาซึ่งปัจจุบันพบในป่าดิบชื้นทวีปอเมริกาใต้ โดยหากินในน้ำ ซึ่งอาหารได้แก่ จระเข้และปลาขนาดใหญ่ แต่ทว่ามีความยาวกกว่ามาก โดยมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 13.5 เมตร และอาจยาวได้ถึง 15 เมตร หนักถึง 2.6 ตัน โดยชื่อของมันเป็นภาษาลาติน แปลได้ว่า "งูยักษ์จากแซร์อาโฮน" (Titanic boa from Cerrejon) ซึ่งมาจากชื่อเมืองแซร์อาโฮน ซึ่งเป็นเหมืองแร่ ในประเทศโคลอมเบีย ซึ่งเป็นที่ ๆ ค้นพบซากฟอสซิลของมันเป็นครั้งแรก ซากฟอสซิลของไททันโอโบอา ที่ค้นพบเป็นกระดูกสันหลัง จำนวน 180 ชิ้น คาดว่าน่าจะเป็นของงูทั้งหมด 12 ตัว ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2007 ซึ่งกระดูกสันหลังนั้นมีขนาดใหญ่กว่ากระดูกสันหลังของงูอนาคอนดามากนัก จากการวิเคราะห์และคำนวณด้วยเครื่องมือต่าง ๆ พบว่า ไททันโอโบอามีชีวิตอยู่ในยุคพาลีโอซีน (56-60 ล้านปีก่อน) ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดิบชื้น มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 30-34 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของป่าดิบชื้นในยุคราว 3-4 องศาเซลเซียส และสอดคล้องกับสภาพอากาศในยุคพาลีโอซีนที่คาดว่ามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศปริมาณมาก.

36 ความสัมพันธ์: บรรพชีวินวิทยาพ.ศ. 2550กระดูกสันหลังการสูญพันธุ์การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ภาษาละตินมหาวิทยาลัยโทรอนโตวงศ์ย่อยงูโบอาวงศ์งูโบอาสมัยไพลโอซีนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานสารคดี (นิตยสาร)อักษรย่ออันดับกิ้งก่าและงูอุณหภูมิองศาเซลเซียสอเมริกากลางจระเข้จิตรกรรมทวีปอเมริกาใต้คาร์บอนไดออกไซด์งูงูอนาคอนดางูอนาคอนดายักษ์ตันซากดึกดำบรรพ์ประเทศโคลอมเบียปลาป่าดิบชื้นนักวิทยาศาสตร์น้ำน้ำหนักเกาะมาดากัสการ์เมตร

บรรพชีวินวิทยา

นักบรรพชีวินวิทยา บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) คือ วิชาที่ศึกษาลักษณะรูปร่าง ลักษณะความเป็นอยู่ และประวัติการวิวัฒนการของสิ่งมีชีวิต ได้แก่สัตว์และพืชในธรณีกาล โดยอาศัยข้อมูลหรือร่องรอยต่างๆ ของสัตว์และพืชนั้นๆที่ถูกเก็บบันทึกและรักษาไว้ในชั้นหิน จัดเป็นแขนงหนึ่งของวิชาธรณีวิทยา ที่อาศัยความรู้ทางชีววิทยาปัจจุบันไปเปรียบเทียบกับหลักฐานที่ได้สภาพซากดึกดำบรรพ์ เพื่อให้เข้าใจสภาพแวดล้อมในอดีตในช่วงที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาศัยอยู่ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ เรียกว่า นักบรรพชีวินวิท.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและบรรพชีวินวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2550

ทธศักราช 2550 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2007 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและพ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลัง มองจากด้านข้าง ส่วนต่างๆของแนวกระดูกสันหลัง ส่วนต่างๆกระดูกสันหลังหนึ่งชิ้น มองจากทางด้านข้าง กระดูกสันหลังส่วนคอ ชิ้นแรก มองจากทางด้านบน แนวกระดูกสันหลังส่วนคอตอนต้น แสดงกระดูกและเอ็นของข้อต่อบริเวณท้ายทอย กระดูกสันหลังส่วนอก มองจากทางด้านบน กระดูกสันหลัง (Vertebral column) ในกายวิภาคของมนุษย์ คือกระดูกแกนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตั้งแต่ส่วนต้นคอ ลงมาจนถึงส่วนก้น ภายในมีไขสันหลัง ซึ่งอยู่ในช่องไขสันหลังอีกทีหนึ่ง.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยโทรอนโต

หอประชุม อาคารหลักของมหาวิทยาลัยวิกตอเรียภายมหาวิทยาลัยโทรอโต มหาวิทยาลัยโทรอนโต (University of Toronto - U of T) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของรัฐ ตั้งอยู่ในออนทาริโอ ประทศแคนาดา วิทยาเขตหลักของมหาวิทยาลัยคือ เซนต์จอร์จ ตั้งในใจกลางเมืองโทรอนโตซึ่งล้อมรอบไปด้วยอุทยานควีนส์ปาร์กและรัฐสภาออนทาริโอ วิทยาเขตอีก 2 แห่งคือมหาวิทยาลัยโทรอนโต สการ์โบโร (UTSC) และมหาวิทยาลัยโทรอนโตมิสซิทซูกา (UTM) ซึ่งเรียกกันไม่เป็นทางการว่า "วิทยาเขตอีรินเดล" ตั้งอยู่ทางด้านฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของปริมลฑลโทรอนโตตามลำดับ จัดตั้งโดย จอห์น สแทรชาน เพื่อให้เป็นคิงส์คอลเลจโดยได้รับพระบรมราชานุญาตเมื่อ พ.ศ. 2370 และเปลี่ยนชื่อมาเป็นมหาวิทยาลัยโทรอนโต เมื่อ..

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและมหาวิทยาลัยโทรอนโต · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยงูโบอา

วงศ์ย่อยงูโบอา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Boinae; Boa, Anaconda) เป็นวงศ์ย่อยของงูไม่มีพิษในวงศ์ Boidae มีลักษณะโดยรวม คือ กระดูกพรีฟรอนทัลชิ้นซ้ายและขวามีขอบด้านในอยู่ชิดกันหรือแตะกัน มีแอ่งรับคลื่นความร้อนอินฟราเรดกระจายอยู่รอบขอบปากบนและล่าง เป็นงูที่มีขนาดใหญ่ ขนาดเล็กที่สุด คือ ชนิด Candoia aspera ที่มีขนาดความยาว 60-90 เซนติเมตร และใหญ่ที่สุด คือ Eunectes murinus หรืองูอนาคอนดาเขียว ที่ยาวได้ถึง 11.5 เมตร น้ำหนักกว่า 250 กิโลกรัม แต่ว่าในยุคก่อนประวัติศาสตร์มีงูในวงศ์ย่อยนี้อยู่ชนิดหนึ่ง คือ ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิส (Titanoboa cerrejonensis) ซึ่งได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว มีความยาวได้ถึง 13 หรือ 15 เมตร และอาจมีน้ำหนักได้มากถึง 2 ตัน ซึ่งนับว่าใหญ่และหนักกว่างูอนาคอนดาที่พบได้ในยุคปัจจุบันนี้มาก ค้นพบครั้งแรกเป็นซากดึกดำบรรพ์ในประเทศโคลอมเบีย เมื่อปี ค.ศ. 2007 มีทั้งหมด 28 ชนิด 5 สกุล โดยแพร่ขยายพันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัวทั้งสิ้น จำนวนลูกที่คลอดแต่ละครั้งจะแตกต่างออกไปตามแต่ละสกุลและชนิด โดยสกุล Cadoia ซึ่งเป็นสกุลที่มีขนาดเล็กจะตกลูกครั้งละ 5-6 ตัว แต่ในขณะที่สกุล Eunectes หรือที่รู้จักดีในชื่อ งูอนาคอนดา ซึ่งมีขนาดใหญ่จะตกลูกได้ถึงครั้งละ 40 ตัวหรือมากกว่านั้น หรือสกุล Boa ที่ตกลูกได้ถึงครั้งละ 60-70 ตัว เป็นงูที่ล่าเหยื่อได้แก่ นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วยการใช้การรับรู้จากอินฟราเรดจากตัวเหยื่อด้วยการเข้ารัดเหมือนงูในวงศ์ Pythonidae พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปอเมริกาใต้, เกาะมาดากัสการ์ และหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและวงศ์ย่อยงูโบอา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์งูโบอา

วงศ์งูโบอา หรือ วงศ์งูเหลือมโบอา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Boidae; Boa, Anaconda) เป็นวงศ์ของงูที่ไม่มีพิษขนาดใหญ่วงศ์หนึ่ง มีรูปร่างคล้ายกับงูในวงศ์งูเหลือม (Pythonidae) จึงมักสร้างความสับสนให้อยู่เสมอ ๆ มีลักษณะโดยรวม คือ กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาเรียงตัวตามยาวและมีฟัน ช่องเปิดตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัลกับกระดูกพาไรทัล กระดูกซูปราออคซิพิทัลมีสันใหญ่ ขากรรไกรล่างมีกระดูกโคโรนอยด์ มีกระดูกระยางค์ขาคู่หลังที่ยังลดรูปไม่หมดและเป็นแท่งขนาดเล็กที่มองเห็นได้ทางช่องเปิดทวารร่วม และมีกระดูกเชิงกรานขาคู่หลังที่ยังลดรูปไม่หมดฝังอยู่ในกล้ามเนื้อ ปอดข้างซ้ายค่อนข้างเจริญ มีท่อนำไข่ทั้งสองข้างเจริญเท่ากัน งูในวงศ์นี้ มีทั้งหมด 8 สกุล แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย มีทั้งสิ้น 43 ชนิด กระจายพันธุ์ไปในหลายพื้นที่รอบโลก ทั้ง ทวีปเอเชีย, ทวีปแอฟริกา, ทวีปอเมริกาใต้ ทั้งที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะต่าง ๆ กลางทะเล เช่น ศรีลังกา, เกาะมาดากัสการ์, หมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ เช่น ฟิจิ, หมู่เกาะโซโลมอน, เมลานีเซีย และตองกา เป็นต้น โดยตัวอย่างงูในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ งูอนาคอนดา คือ งูที่อยู่ในสกุล Eunectes ที่อยู่ในวงศ์ย่อย Boinae ซึ่งโตเต็มที่ยาวได้ถึง 11.5 เมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนิด Eunectes murinus หรือ งูอนาคอนดาเขียว ที่เป็นงูที่มีน้ำหนักตัวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยอาจมีน้ำหนักได้ถึง 250 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในป่าดิบชื้นของลุ่มแม่น้ำอเมซอน ทวีปอเมริกาใต้.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและวงศ์งูโบอา · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลโอซีน

Diodora italica จากสมัยไพลโอซีนของไซปรัส สมัยไพลโอซีน (Pliocene หรือ Paleocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคนีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 5.333 ถึง 2.588See the 2009 version of the ICS geologic time scale: ล้านปีก่อนปัจจุบัน สมัยไพลโอซีนเป็นสมัยที่สองและสมัยใหม่ที่สุดของยุคนีโอจีนของมหายุคซีโนโซอิก สมัยไพลโอซีนต่อมาจากสมัยไมโอซีนและตามด้วยสมัยไพลสโตซีน ชื่อของสมัยตั้งโดยนักธรณีวิทยาชาลส์ ไลเอลล์ ที่มาจากคำในภาษากรีกว่า πλεῖον (pleion แปลว่า "มาก") และ καινός (kainos ที่แปลว่า "ใหม่") ที่แปลง่าย ๆ ว่า "สมัยที่ตามมาจากสมัยปัจจุบัน" ที่หมายถึงสมัยของสัตว์ทะเลมอลลัสกาของสมัยใหม.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและสมัยไพลโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สารคดี (นิตยสาร)

นิตยสารสารคดี เป็นนิตยสารของไทย ที่มุ่งเน้นบทความแนวสารคดีโดยเฉพาะ ครอบคลุมทั้งเรื่องธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ บุคคล ชีวิต ศิลปวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยเริ่มวางแผงฉบับปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 โดยอยู่ในเครือของ บริษัท วิริยะธุรกิจ จำกัด โดยมีจุดเริ่มต้นจาก คุณสุชาดา จักพิสุทธิ์ บรรณาธิการคนแรก คุณจำนงค์ ศรีนวล บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ คุณสกล เกษมพันธ์ ช่างภาพสารคดี คุณสุดารา สุจฉายา และคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์เป็นนักเขียนรุ่นบุกเบิก โดยมีความคิดทำหนังสือที่มีสาระความรู้หลากหลาย ให้ความสำคัญกับการถ่ายภาพและการออกแบบรูปเล่มเป็นพิเศษ ปัจจุบันมีคุณสุวัฒน์ อัศวไชยชาญ เป็นบรรณาธิการบริหาร สำนักงานนิตยสารสารคดีตั้งอยู่ที่ บริษัทวิริยะธุรกิจ 28,30 ซอยวัดปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและสารคดี (นิตยสาร) · ดูเพิ่มเติม »

อักษรย่อ

อักษรย่อ หรือ คำย่อ หรือ รัสพจน์ เป็นการนำอักษรบางตัวในคำหนึ่งๆ ใช้เรียกแทนคำเต็ม โดยมากจะเป็นพยัญชนะ อาจใส่จุดหรือไม่ใส่หลังอักษรนั้นๆ นิยมนำอักษรต้นพยางค์ แต่บางครั้งก็มีการใช้อักษรท้ายพยางค์ก็มี และบางครั้งอักษรย่อก็สามารถอ่านได้เป็นพยางค์ใหม่ ในภาษาไทย เมื่ออักษรย่อมีตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป จะใส่จุดที่ตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว (ไม่ใส่ทีละอักษร) ยกเว้นบางตัวที่เคยมีใช้กันมาก่อนจนเป็นที่ยอมรับแล้ว เช่น น..

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและอักษรย่อ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกิ้งก่าและงู

อันดับกิ้งก่าและงู (Lizard and Snake) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ใช้ชื่อว่า Squamata (/สะ-ควอ-มา-ตา/) นับเป็นอันดับที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดและพบได้หลากหลายกว้างขวางมากที่สุด โดยอันดับนี้แบ่งได้เป็น 2 อันดับย่อย คือ Lacertilia หรือ อันดับย่อยกิ้งก่า กับ Serpentes หรือ อันดับย่อยงู การที่รวมสัตว์เลื้อยคลานทั้ง 2 ประเภทนี้ไว้ด้วยกัน เหตุเพราะมีโครงสร้างบางอย่างที่ร่วมกันถึง 70 ประการ โดยงูนั้นมีวิวัฒนาการมาจากกิ้งก่าในวงศ์ Amphisbaenidae ที่มีการลดรูปของขา นอกจากนั้นแล้วยังมีกล้ามเนื้อ, กระดูก, กะโหลก, อวัยวะถ่ายอสุจิที่เป็นถุงพีนิสคู่ แต่มีความแตกต่างกันทางด้านสรีระ พฤติกรรม และการทำงานของโครงสร้างอวัยวะ ทั้งกิ้งก่าและงูมีเกล็ดปกคลุมลำตัว โดยมีปริมาณ ลักษณะ และจำนวนที่ปกคลุมอวัยวะแต่ละส่วนแตกต่างกันตามลักษณะทางอนุกรมวิธาน กิ้งก่าบางชนิดมีกระดูกในชั้นหนังซ้อนอยู่ใต้เกล็ดซึ่งไม่มีในงู พื้นผิวลำตัวของกิ้งก่ามีต่อมผิวหนังไม่มากแต่บริเวณด้านหน้าช่องเปิดทวารร่วมและทางด้านในของต้นขาหลังของกิ้งก่าหลายชนิดมีต่อมผิวหนังค่อนข้างมาก ซึ่งสังเคราะห์สารเคมีเพื่อใช้ในการกำหนดอาณาเขตและหน้าที่ประการต่าง ๆ ซึ่งจำนวนต่อมดังกล่าวนี้อีกทั้งตำแหน่งที่ตั้งแตกต่างกันระหว่างเพศ โดยตัวผู้จะมีมากกว่าและใหญ่กว่า ซึ่งต่อมดังกล่าวนี้ยังใช้เป็นลักษณะในการจำแนกประเภทอีกด้วย กิ้งก่าและงูหลายชนิดสามารถปล่อยท่อนหางให้หลุดจากลำตัวเพื่อหนีเอาตัวรอดจากศัตรูได้ เช่น ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) บางตัวอาจหลุดได้หลายครั้งในช่วงชีวิต เหตุที่หลุดและงอกใหม่ได้เนื่องจากลักษณะการเรียงตัวของกล้ามเนื้อกับเนื้อเยื่อที่เกี่ยวพันซึ่งอาจมีตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เมื่อหางหลุดไปแล้วอาจงอกขึ้นมาใหม่สั้นกว่าเดิมหรือใช้เวลานานกว่าจะเท่าเดิม เพราะมีแกนเป็นแท่งกระดูกอ่อนทดแทนปล้องของกระดูกสันหลังแทน แต่ส่วนของงูแล้วเมื่อหลุดไปแล้วไม่อาจงอกใหม่ได้ กิ้งก่าในหลายวงศ์ ได้ลดรูปของขาลงจนหดเล็กสั้นจนดูเหมือนไม่มีขา รวมทั้งนิ้วด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ในการอาศัยอยู่ในโพรงดิน เช่น จิ้งเหลนด้วง เป็นต้น อวัยวะถ่ายอสุจิของตัวผู้ของกิ้งก่าและงูจะมีลักษณะเป็นถุงพีนิสอยู่ทางด้านท้ายของช่องเปิดทวารร่วม พื้นผิวด้นนอกจะเป็นร่องเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงตัวอสุจิเข้าสู่ช่องทวารร่วมของตัวเมียขณะผสมพันธุ์ ซึ่งถุงนี้มีลักษณะเป็นหนามและเป็นสันซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของถุง ซึ่งลักษณะรูปร่างและหนามของถุงนี้จะแตกต่างกันไปตามวงศ์ เช่น กิ้งก่าในวงศ์เหี้ย (Varanidae) มีแท่งกระดูกอยู่ภายในถุงเพื่อเสริมให้มั่นคงขณะผสมพันธุ์ ขณะเดียวกันในตัวเมียก็มีกระดูกดังกล่าว แต่มีขนาดเล็กมาก ขยายพันธุ์ได้ด้วยการวางไข่และตกลูกเป็นตัว ซึ่งปริมาณและจำนวนที่ออกมาแตกต่างกันไปตามวงศ์, สกุล และชนิด แต่ในส่วนของกิ้งก่าแล้วมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ตกลูกเป็นตัว อีกทั้งยังมีบางส่วนที่เกิดได้โดยไม่ผ่านการผสมพันธุ์ด้วย เช่น ในวงศ์เหี้ย, Leiolepidinae หรือ แย้ หรืองูในวงศ์ Typhlopidae.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและอันดับกิ้งก่าและงู · ดูเพิ่มเติม »

อุณหภูมิ

อุณหภูมิของก๊าซอุดมคติอะตอมเดี่ยวสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยพลังงานจลน์ของอะตอม อุณหภูมิ คือการวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ของอนุภาคในสสารใดๆ ซึ่งสอดคล้องกับความร้อนหรือเย็นของสสารนั้น ในอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับอุณหภูมิเกิดขึ้นเป็น 2 แนวทาง คือตามแนวทางของหลักอุณหพลศาสตร์ และตามการอธิบายเชิงจุลภาคทางฟิสิกส์เชิงสถิติ แนวคิดทางอุณหพลศาสตร์นั้น ถูกพัฒนาขึ้นโดยลอร์ดเคลวิน โดยเกี่ยวข้องกับการวัดในเชิงมหภาค ดังนั้นคำจำกัดความอุณหภูมิในเชิงอุณหพลศาสตร์ในเบื้องแรก จึงระบุเกี่ยวกับค่าตัวแปรต่างๆ ที่สามารถตรวจวัดได้จากการสังเกต ส่วนแนวทางของฟิสิกส์เชิงสถิติจะให้ความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งกว่าอุณหพลศาสตร์ โดยอธิบายถึงการสะสมจำนวนอนุภาคขนาดใหญ่ และตีความพารามิเตอร์ต่างๆ ในอุณหพลศาสตร์ (เชิงมหภาค) ในฐานะค่าเฉลี่ยทางสถิติของพารามิเตอร์ของอนุภาคในเชิงจุลภาค ในการศึกษาฟิสิกส์เชิงสถิติ สามารถตีความคำนิยามอุณหภูมิในอุณหพลศาสตร์ว่า เป็นการวัดพลังงานเฉลี่ยของอนุภาคในแต่ละองศาอิสระในระบบอุณหพลศาสตร์ โดยที่อุณหภูมินั้นสามารถมองเป็นคุณสมบัติเชิงสถิติ ดังนั้นระบบจึงต้องประกอบด้วยปริมาณอนุภาคจำนวนมากเพื่อจะสามารถบ่งบอกค่าอุณหภูมิอันมีความหมายที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ในของแข็ง พลังงานนี้พบในการสั่นไหวของอะตอมของสสารในสภาวะสมดุล ในแก๊สอุดมคติ พลังงานนี้พบในการเคลื่อนไหวไปมาของอนุภาคโมเลกุลของแก.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและอุณหภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

องศาเซลเซียส

องศาเซลเซียส (สัญลักษณ์ °C) หรือที่เคยเรียกว่า องศาเซนติเกรด (degree centigrade) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหน่วยหนึ่งในระบบเอสไอ กำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 °C และจุดเดือดคือ 100 °C โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้ซึ่งสร้างระบบใกล้เคียงกับปัจจุบัน ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน จะยกเว้นก็มีสหรัฐอเมริกาและประเทศจาไมกาเท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่ในประเทศดังกล่าว องศาเซลเซียสและเคลวินก็ใช้มากในด้านวิทยาศาสตร.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและองศาเซลเซียส · ดูเพิ่มเติม »

อเมริกากลาง

แผนที่อเมริกากลาง อเมริกากลาง (Central America) เป็นภูมิภาคย่อยที่หมายถึงกลุ่มประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งตามความหมายส่วนใหญ่แล้วจะนับจาก ทางใต้ของ อ่าวเม็กซิโก ไปถึงพรมแดนระหว่างปานามากับโคลัมเบีย (หรือประเทศต่าง ๆ ระหว่างเม็กซิโกกับโคลัมเบีย) ได้แก.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและอเมริกากลาง · ดูเพิ่มเติม »

จระเข้

ระเข้ (Crocodile, อีสาน: แข้) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Crocodylidae อยู่ในอันดับจระเข้ (Crocodilia) มีลักษณะโดยรวมคือ ส่วนปลายของหัวแผ่กว้างหรือเรียวยาว ขากรรไกรยาวและกว้าง เมื่อหุบปากแล้วจะเห็นฟันซี่ที่ 4 ของขากรรไกรล่างเนื่องจากขอบปากบนตรงตำแหน่งนี้เป็นรอยหยักเว้า ส่วนปลายของขากรรไกรล่างข้างซ้ายและข้างขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกเอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ชัดกับแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลา กระดูกพาลามีนมีก้านชิ้นสั้นอยู่ทางด้านหน้าและไม่ถึงช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ้นไม่มีสารเคอราติน ต่อมขจัดเกลือบนลิ้นมีขนาดใหญ่ มีก้อนเนื้อที่ปลายปากนูนสูงที่ช่องเปิดรูจมูกเรียกว่า "ก้อนขี้หมา" หรือ "หัวขี้หมา" ซึ่งจะแตกต่างออกไปตามชนิดและเพศหรือขนาด โคนหางเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่และแข็งแรงเรียกว่า "บ้องตัน" ใช้ในการฟาดเพื่อป้องกันตัว หางแบนยาวใช้โบกว่ายน้ำ จระเข้ ถือเป็นสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาาหร เนื่องจากเป็นสัตว์ผู้ล่ากินเนื้อขนาดใหญ่ ที่ไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ ยกเว้นจระเข้ในวัยอ่อน ที่ตกเป็นอาหารของสัตว์ขนาดใหญ่กว่าชนิดต่าง ๆ ได้ จระเข้ตัวโตเต็มวัยจะมีพฤติกรรมกินอาหารแบบหมุนตัว กล่าว คือ เมื่อจับเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ขณะอยู่ใต้น้ำและต้องการกินเหยื่อจะใช้ปากงับไว้และหมุนตัวเองเพื่อฉีกเนื้อเหยื่อออกเป็นชิ้น ส่วนเหยื่อที่มีขนาดเล็กถูกบดให้แหลกด้วยลิ้นขนาดใหญ่โดยใช้ลิ้นดันเหยื่ออัดแน่นกับเพดานของอุ้งปาก นอกจากนี้แล้วจระเข้ยังกลืนก้อนกรวดหรือก้อนหินเข้าไปในกระเพาะเพื่อช่วยในการบดอาหารด้วย แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 14 ชนิด พบได้ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของทุกทวีปทั่วโลก นับว่ามีจำนวนสมาชิกมากและหลากหลายที่สุดของอันดับจระเข้ที่ยังพบคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ มักอาศัยบริเวณป่าริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ เพราะหากินในน้ำเป็นหลัก บางชนิดหรือบางพื้นที่อาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำใกล้ทะเล ในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ จระเข้บึง หรือ จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis), อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้น้ำเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii) ซึ่งมิได้ถูกจัดอยู่ในวงศ์นี้.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรม

มนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก โดย นายชัยยะนุช จิตรกรรม (painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอนไดออกไซด์

ร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide) หรือ CO2 เป็นก๊าซไม่มีสี ซึ่งหากหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในปริมาณมากๆ จะรู้สึกเปรี้ยวที่ปาก เกิดการระคายเคืองที่จมูกและคอ และหาจยใจไม่ออกเนื่องจากอาจเกิดการละลายของแก๊สนี้ในเมือกในอวัยวะ ก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อน คาร์บอนไดออกไซด์มีความหนาแน่น 1.98 kg/m3 ซึ่งเป็นประมาณ 1.5 เท่าของอากาศ โมเลกุลประกอบด้วยพันธะคู่ 2 พันธะ (O.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและคาร์บอนไดออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

งู

งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและงู · ดูเพิ่มเติม »

งูอนาคอนดา

งูอนาคอนดา หรือ งูโบอาน้ำ (Anacondas, Water Boas) เป็นชื่อสามัญและสกุลของงูขนาดใหญ่ 4 ชนิดที่อยู่ในวงศ์ย่อย Boinae ในวงศ์ใหญ่ Boidae ใช้ชื่อสกุลว่า Eunectes อาศัยอยู่ในหนอง บึง และแม่น้ำในป่าดิบชื้นในทวีปอเมริกาใต้และเกาะตรินิแดด โดยที่คำว่า Eunectes มาจากภาษากรีกคำว่า Eυνήκτης หมายถึง "ว่ายน้ำได้ดี".

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและงูอนาคอนดา · ดูเพิ่มเติม »

งูอนาคอนดายักษ์

งูยักษ์ในแม่น้ำบนเกาะบอร์เนียว ที่เชื่อว่าเป็นภาพตกแต่ง งูอนาคอนดายักษ์ (Giant Anaconda) เป็นสิ่งมีชีวิตลึกลับที่เชื่อกันว่าว่ามีอยู่ในป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้ โดยเป็นงูอนาคอนดาขนาดใหญ่ที่ใหญ่กว่างูอนาคอนดาธรรมดามาก ซึ่งชื่อในภาษาท้องถิ่นเรียกว่า "คอบร้าแกรนดี" แปลว่า "งูยักษ์" โดยที่งูอนาคอนดาสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดนั้น คือ งูอนาคอนดาเขียว (Eunectes murinus) ที่โตเต็มที่จะยาวได้ประมาณ 17 ฟุต (แต่อาจยาวได้ถึง 29 ฟุต) และงูใหญ่จำพวกอื่น คือ งูเหลือม (Python reticulatus) ที่พบในทวีปเอเชีย ก็อาจยาวได้มากกว่า 20 ฟุต เรื่องราวของงูอนาคอนดายักษ์นั้น ปรากฏอยู่ในเรื่องเล่าและนิทานพื้นบ้านของชนพื้นเมืองมานานแล้ว จนกระทั่งมีการเข้าไปสำรวจทวีปอเมริกาใต้ของชาวตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม โดยชาวสเปนและชาวโปรตุเกสได้รายงานมาว่า มีงูขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "มาตาโตโร่" ที่แปลได้ว่า "งูกินวัว" โดยรายงานว่ามันมีความยาวกว่า 80 ฟุต ต่อมาในปี ค.ศ. 1906 พันเอกเพอร์ซี ฟาลเคตต์ ซึ่งเป็นนักสำรวจผู้เขียนแผนที่ป่าอเมซอนได้เขียนลงในบันทึกของเขาว่าเขามีหนังงูที่มีความยาว 62 ฟุต และกล่าวว่า เขาได้สังหารงูตัวนี้ด้วยปืนไรเฟิลด้วยกระสุนขน.44 ในกระดูกสันหลังของมัน ซึ่งมันโจมตีใส่เรือของคณะเขา เส้นผ่าศูนย์กลางของลำตัวมันเกินกว่า 12 นิ้ว และอาจจะใหญ่ได้มากกว่านี้ถ้าได้กินอาหารเข้าไป ในปี ค.ศ. 1925 สาธุคุณวิคเตอร์ไฮนซ์ เห็นงูขนาดใหญ่ที่แม่น้ำริโอเนโกรซึ่งสาขาของแม่น้ำอเมซอน ท่านกล่าวว่าลำตัวของมันที่มองเห็นได้อย่างน้อยยาวกว่า 80 ฟุต และร่างกายมีความหนาเหมือนหนังกลอง ต่อมาหนังสือพิมพ์เปอร์นัมบูโก ในบราซิลประจำวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1948 ตีพิมพ์ภาพและพาดหัวว่า พบงูอนาคอนดาที่มีน้ำหนักกว่า 5 ตัน ขณะที่กำลังกินวัวไปครึ่งตัว โดยภาพส่วนหนึ่งแสดงให้เห็นซากงูที่ถูกชำแหละโดยชาวอินเดียนพื้นเมือง วัดความยาวได้ 113 ฟุต 4 เดือนต่อมาหนังสือพิมพ์นูตี อิลลัสตราดา ของริโอเดอจาเนโร ได้ลงภาพถ่ายของงูอนาคอนดาตัวหนึ่งที่ถูกฆ่าโดยทหารบก มีความยาวทั้งสิ้น 115 ฟุต นอกจากนี้แล้วการรายงานพบเห็นงูขนาดใหญ่ยังมีในทวีปอื่นด้วย ในทวีปแอฟริกา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 มีเรื่องเล่าของนักสำรวจว่า ในประเทศแอฟริกาใต้ บริเวณแม่น้ำออเรนจ์ มีถ้ำที่มีอัญมณีซุกซ่อนอยู่ โดยมีงูยักษ์ชื่อ กรูสสแลง เฝ้าอยู่ปากถ้ำ งูนี้มีลำตัวยาว 13 เมตร และเส้นผ่านศูนย์กลางลำตัวกว้าง 1 เมตร และมีความเชื่อของชนพื้นเมืองแถบน้ำตกอูกราบีส์ ซึ่งเป็นน้ำตกของแม่น้ำออเรนจ์ว่า ใต้น้ำตกเป็นที่อยู่ของงูใหญ่ที่เฝ้าสมบัติอยู่ในนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังฝนตก เมื่อปรากฏรุ้งขึ้น นั่นคือ ลำตัวของงูที่มานอนอาบแดด ซึ่งมีผู้อ้างว่าเคยพบเห็นงูตัวนี้ โดยอ้างว่ามีสีดำสนิททั้งตัว พันเอกเรเน่ เลียร์ด ได้ขับเฮลิคอปเตอร์ของเขาจากเมืองกาตังกาในเบลเยียมคองโก ทันใดนั้นมีงูขนาดใหญ่ตัวหนึ่งได้โจมตีเฮลิคอปเตอร์ของเขา แต่เขาเอาตัวรอดพ้นได้และถ่ายรูปงูนั้นได้หลายรูป ประมาณความยาวได้กว่า 40–50 ฟุต ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 ปรากฏเป็นข่าวฮือฮาจากชาวพื้นเมือง บนเกาะบอร์เนียวของอินโดนีเซียว่าได้พบเห็นงูขนาดยักษ์ตัวหนึ่งแหวกว่ายอยู่ในแม่น้ำบนเกาะและถูกบันทึกภาพไว้ได้ ซึ่งน่าจะยาวกว่า 100 ฟุต แต่รูปนี้ก็ยังเป็นที่สงสัยอยู่ว่าเป็นการตกแต่งหรือไม่ และในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน ที่เมืองกูผิง มณฑลเจียงซี ประเทศจีน ขณะมีการก่อสร้างถนนผ่านพื้นที่ป่า คนงานก่อสร้างก็พบกับงูขนาดใหญ่ยาวถึง 16.7 เมตร หนักถึง 300 กิโลกรัม อายุคาดว่าน่าจะอยู่ที่ 140 ปี ถึง 2 ตัว และหนึ่งในสองตัวนั้นก็ได้รับบาดเจ็บจากการถูกรถแบ็คโฮขุดถนนขุดถูกทำให้บาดเจ็บและตายลงในที่สุด อีกตัวก็หนีเข้าป่าไป ซึ่งซากงูตัวที่ตายนั้นได้ถูกถ่ายภาพและเป็นภาพที่แพร่หลายกันในประเทศจีน เรื่องราวของงูอนาคอนดายักษ์ได้ถูกอ้างอิงในวัฒนธรรมสมัยนิยมหลายประการ เช่น ภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด 3 ภาค เรื่อง Anaconda ในปี ค.ศ. 1997 Anacondas: The Hunt for the Blood Orchid ในปี ค.ศ. 2004 และ Anaconda 3: The Offspring ในปี ค.ศ. 2008 และเป็นสารคดีทางโทรทัศน์ของดิสคัฟเวอรี่ แชนนอลชุด Lost Tapes ในปี ค.ศ. 2009 ชื่อตอน Megaconda.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและงูอนาคอนดายักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัน

ตัน เป็นหน่วยวัดมวล มีความหมายได้ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและตัน · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้น.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและซากดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโคลอมเบีย

ลอมเบีย (โกลมเบีย) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโคลอมเบีย เป็นประเทศในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดต่อกับเวเนซุเอลาและบราซิล ทางทิศใต้ติดต่อกับเอกวาดอร์และเปรู ทางทิศเหนือจรดทะเลแคริบเบียน ส่วนทางทิศตะวันตกติดต่อกับปานามาและมหาสมุทรแปซิฟิก.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและประเทศโคลอมเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและปลา · ดูเพิ่มเติม »

ป่าดิบชื้น

ป่าดิบชื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค ป่าดิบชื้น หรือ ป่าฝนเขตร้อน (tropical rain forest) จัดเป็นป่าประเภทไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีสีเขียวตลอดทั้งปี ต้นไม้จะไม่ผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก ต้นไม้ไม่มีความจำเป็นต้องผลัดใบเพื่อลดการคายน้ำ ป่าชนิดนี้มักจะเรียกกันว่าป่าดงดิบ เป็นป่าที่อยู่ในเขตมรสุมพัดผ่านเกือบตลอดทั้งปี ขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่ม ที่ราบเชิงเขาที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 0-100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (บางครั้งอาจพบอยู่สูงถึงระดับ 250 เมตร) และมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มม./ปี พบมากทางภาคใต้และแถบจังหวัดชายทะเลภาคตะวันออก เช่น จังหวัดระยอง จันทบุรี และตร.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและป่าดิบชื้น · ดูเพิ่มเติม »

นักวิทยาศาสตร์

นีล ดะแกรส ไทซัน นักวิทยาศาสตร์ คือบุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์อย่างน้อยหนึ่งสาขา และใช้หลักวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้าวิจัย คำนี้บัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2376 โดย วิลเลียม วีเวลล์ โดยก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ถูกเรียกว่า "นักปรัชญาธรรมชาติ" หรือ "บุคคลแห่งวิทยาศาสตร์".

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและนักวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ

น้ำในสองสถานะ: ของเหลว (รวมทั้งก้อนเมฆซึ่งเป็นตัวอย่างของละอองลอย) และของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำเป็นสิ่งที่โปร่งใส ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และเกือบจะไม่มีสี ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบหลักของลำธาร, แม่น้ำ, และมหาสมุทรในโลก เป็นต้น และยังเป็นของเหลวในสิ่งมีชีวิต มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หิมะ, ธารน้ำแข็ง, และภูเขาน้ำแข็ง, ก้อนเมฆ, หมอก, น้ำค้าง, ชั้นหินอุ้มน้ำ และ ความชื้นในบรรยากาศ น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศเป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน น้ำดื่มสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรีหรือสารอาหารที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในเกือบทุกส่วนของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่เพียงพอ มีความเกี่ยวพันกันเรื่องน้ำสะอาดและค่า GDP ต่อคน อย่างไรก็ดี นักสังเกตบางคนประมาณไว้ว่าภายในปี..

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำหนัก

เครื่องชั่งสปริงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้วัดขนาดของน้ำหนัก ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ น้ำหนัก หมายถึงแรงบนวัตถุอันเนื่องมาจากความโน้มถ่วง ขนาดของน้ำหนักในปริมาณสเกลาร์ มักเขียนแทนด้วย W แบบตัวเอน คือผลคูณของมวลของวัตถุ m กับขนาดของความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วง g นั่นคือ ถ้าหากพิจารณาน้ำหนักว่าเป็นเวกเตอร์ จะเขียนแทนด้วย W แบบตัวหนา หน่วยวัดของน้ำหนักใช้อย่างเดียวกันกับหน่วยวัดของแรง ซึ่งหน่วยเอสไอก็คือนิวตัน ยกตัวอย่าง วัตถุหนึ่งมีมวลเท่ากับ 1 กิโลกรัม มีน้ำหนักประมาณ 9.8 นิวตันบนพื้นผิวโลก มีน้ำหนักประมาณหนึ่งในหกเท่าบนพื้นผิวดวงจันทร์ และมีน้ำหนักที่เกือบจะเป็นศูนย์ในห้วงอวกาศที่ไกลออกไปจากเทหวัตถุอันจะส่งผลให้เกิดความโน้มถ่วง ในทางนิติศาสตร์และการพาณิชย์ น้ำหนัก มีความหมายเดียวกันกับมวล The National Standard of Canada, CAN/CSA-Z234.1-89 Canadian Metric Practice Guide, January 1989.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและน้ำหนัก · ดูเพิ่มเติม »

เกาะมาดากัสการ์

right เกาะมาดากัสการ์ (Madagascar Island) เกาะมาดากัสการ์ตั้งอยู่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกาบนมหาสมุทรอินเดีย มีช่องแคบโมซัมบิกคั่นระหว่างเกาะกับฝั่งทวีปแอฟริกาห่างกันเพียง 300 ไมล์ เกาะมาดากัสการ์มีพื้นที่ 587,713 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ขนาดเท่า ๆ กับประเทศสเปน และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งทั้งเกาะเป็นอาณาเขตของประเทศมาดากัสการ์ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะเป็นภูเขาสูงและที่ราบสูงในระดับตั้งแต่ 800-1800 เมตร มีที่ราบลุ่มอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะมีความยาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ คำว่า "มาดากัสการ์" มีความหมายว่า "ดินแดนแห่งบรรพบุรุษ" เนื่องจากชาวพื้นเมืองที่นี่มีความเชื่อว่า เมื่อตายไปแล้ว วิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตจะยังคงปกป้องสิ่งที่ชีวิตที่เหลือ เกาะมาดากัสการ์เริ่มมีมนุษย์เข้ามาอาศัยราว 2,000 ปีที่แล้ว ไม่ใช่มาจากผืนแผ่นดินใหญ่แอฟริกา หากแต่อพยพมาไกลจากอินโดนีเซีย เกาะมาดากัสการ์เกิดขึ้นมาครั้งเมื่อติดเป็นผืนแผ่นดินเดียวกับมหาทวีปกอนด์วานา ที่ถือกำเนิดเมื่อ 180 ล้านปีก่อน จนกระทั่ง 140 ล้านปีก่อน กอนด์วานาได้แตกตัวแยกออกจากกัน เกาะมาดากัสการ์ได้แยกตัวออกมาจากทวีปแอฟริกาเมื่อ 70 ล้านปีก่อน โดยเริ่มแรกอยู่ติดกับส่วนที่เป็นอินเดียในปัจจุบัน จากนั้นเมื่อ 40 ล้านปีก่อน อินเดียได้แยกตัวลอยขึ้นเหนือไปชนกับภูมิภาคเอเชียใต้ จนให้เกิดเป็นแนวเทือกเขาหิมาลัย ในขณะที่เกาะมาดากัสการ์ได้อยู่ในแนวภูมิอากาศที่แห้งแล้ง ส่งผลให้ทางตอนใต้ของเกาะมีสภาพที่แห้งแล้ง แต่ต่อมาได้ค่อย ๆ เคลื่อนที่อย่างช้า ๆ จนกระทั่งอยู่ใน ณ ที่อยู่ปัจจุบัน เมื่อ 60 ล้านปีก่อน และได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนที่พัดกระหน่ำชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา ซึ่งอิทธิพลทำให้เกาะมาดากัสการ์มีสภาพอากาศและภูมิประเทศที่หลากหลายแตกต่างกันอย่างสุดขั้วในปัจจุบัน โดยมีฤดูแล้งนานถึงครึ่งปี และอีกครึ่งปีฝนตกหนัก ซึ่งปริมาณน้ำฝนที่ตกมาเฉลี่ยวันละ 10 นิ้ว ส่งผลให้น้ำท่วมเอ่อล้นเกิดเป็นแม่น้ำและทะเลสาบหลายแห่ง และทุกวันนี้ตัวเกาะก็ยังคงเคลื่อนที่ต่อไปในทางเหนือเฉลี่ยปีละ 3-4 นิ้ว นั่นจึงทำให้เกาะมาดากัสการ์มีลักษณะของพืชพันธุ์และสัตว์ที่หลากหลายแห่งหนึ่งของโลก จนได้รับสมญาว่า "ทวีปที่ 8 ของโลก" ในบางประเภทพบได้แต่เฉพาะบนเกาะนี้เท่านั้น จากการปรับตัววิวัฒนาการให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อาศัย เช่น ลีเมอร์ ซึ่งสภาพความหลากหลายของพืชและสัตว์บนเกาะถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนโดยบริษัท ดรีมเวิร์กสแอนิเมชัน เรื่อง มาดากัสการ์ ในปี ค.ศ. 2005 Madagascar, "Mutant Planet" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและเกาะมาดากัสการ์ · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

TitanoboaTitanoboa cerrejonensisไททันโอโบอา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »