โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไทลื้อ

ดัชนี ไทลื้อ

ทลื้อ หรือ ไตลื้อ หรือ คนลื้อ เป็นชาวไทกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแถบสิบสองปันนาของจีน มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือการใช้ภาษาไทลื้อ และยังมีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์อื่นๆ เช่น การแต่งกาย ศิลปะและประเพณีต่าง.

61 ความสัมพันธ์: พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะไดกลุ่มภาษาจีนภาษาพม่าภาษาลาวภาษาไทยภาษาไทลื้อภาษาไทดำภาคเหนือ (ประเทศไทย)รัฐชานศาสนาพุทธหม้อห้อมหลวงพระบางหุยอาณาจักรล้านช้างอำเภออำเภอบ้านธิอำเภอพานอำเภอภูซางอำเภอสองแควอำเภอสะเมิงอำเภอสันกำแพงอำเภอทุ่งช้างอำเภอท่าวังผาอำเภอดอยสะเก็ดอำเภอปัวอำเภอแม่สายอำเภอแม่ออนอำเภอแม่ทะอำเภอเชียงกลางอำเภอเชียงม่วนอำเภอเชียงของอำเภอเชียงคำอำเภอเชียงแสนอำเภอเมืองน่านอำเภอเวียงแก่นจังหวัดพะเยาจังหวัดลำพูนจังหวัดลำปางจังหวัดน่านจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดเชียงใหม่ตำบลยมประเทศประเทศพม่าประเทศลาวประเทศจีนประเทศไทยประเทศเวียดนาม...แม่น้ำโขงแขวงไชยบุรีไทยองเชียงรุ่งเชียงลาบเชียงตุงเชียงแสนเมืองยองเถรวาทเขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนาเดียนเบียนฟู ขยายดัชนี (11 มากกว่า) »

พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช

มหาอำมาตย์เอก พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เป็นเจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 63 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสืบเชื้อสายมาจากพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ และได้รับพระราชทานนามสกุล ณ น่าน.

ใหม่!!: ไทลื้อและพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได

กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได หรือบางครั้งเรียกว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไต-ไท เป็นชื่อเรียกโดยรวมของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มชาติพันธุ์ ไท-กะได กระจายตัวอยู่ในภูมิภาคอุษาคเนย์ รับประทานข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว เป็นอาหารหลัก นิยมปลูกเรือนเสาสูง มีใต้ถุน อาศัยทั้งในที่ราบลุ่ม และบนภูเขา ประเพณีศพเป็นวิธีเผาจนเป็นเถ้าแล้วเก็บอัฐิไว้ให้ลูกหลานบูชา ศาสนาดั้งเดิมเป็นการนับถือผี นับถือบรรพบุรุษ และบูชาแถน (ผีฟ้า หรือเสื้อเมือง) มีประเพณีสำคัญคือ ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นประเพณีเฉลิมฉลองวสันตวิษุวัต และการขึ้นปีใหม่ ทั้งนี้ คำเรียก ไต เป็นคำที่กลุ่มชนตระกูลไทใหญ่ใช้เรียกตนเอง ส่วน ไท เป็นคำเดียวกัน แต่เป็นสำเนียงของชาวไทน้อย และ ไทยสยาม บางครั้ง การใช้คำ ไต-ไท ในวงแคบจะหมายถึงเฉพาะผู้ที่ใช้ภาษาในกลุ่มภาษาไท (ไม่รวมกลุ่มภาษากะได เช่น ลักเกีย แสก คำ ต้ง หลี เจียมาว ฯลฯ).

ใหม่!!: ไทลื้อและกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: ไทลื้อและกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพม่า

ษาพม่า หรือ ภาษาเมียนมา (MLCTS: myanma bhasa) เป็นภาษาราชการของประเทศพม่า จัดอยู่ในในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า อันเป็นสาขาย่อยของตระกูลภาษา โดยเป็นภาษาแม่ของคนประมาณ 32 ล้านคนในพม่า และเป็นภาษาที่สองของชนกลุ่มน้อยในพม่า และในประเทศอินเดีย ประเทศบังกลาเทศ ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา ภาษาพม่าเป็นภาษาที่มีระดับเสียง หรือวรรณยุกต์ มีวรรณยุกต์ 4 เสียงและเขียนโดยใช้อักษรพม่า ซึ่งดัดแปลงจากอักษรมอญอีกทอดหนึ่ง และจัดเป็นสมาชิกในตระกูลอักษรพราหมี รหัส ISO 639 สำหรับภาษาพม่าคือ 'my' และรหัส SIL คือ BMS.

ใหม่!!: ไทลื้อและภาษาพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลาว

ษาลาว (ลาว: ພາສາລາວ พาสาลาว) เป็นภาษาราชการของประเทศลาว เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ในภาษากลุ่มไท และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาอีสานของประเทศไทย ระบบการเขียนในภาษาลาวจะใช้อักษรลาว ซึ่งเป็นระบบอักษรสระประกอบ (ระบบการเขียนที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์แทนพยัญชนะและตามด้วยสระที่จะอยู่ด้านหน้า หลัง บน ล่าง ของพยัญชนะ) และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอักษรไท.

ใหม่!!: ไทลื้อและภาษาลาว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: ไทลื้อและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทลื้อ

ษาไทลื้อ หรือ ภาษาลื้อ (ไทลื้อ: ᦅᧄᦺᦑᦟᦹᧉ กำไตลื้อ; 傣仂语 Dǎilèyǔ ไต่เล่อหยวื่อ; Lự, Lữ หลื่อ, หลือ) เป็นภาษาไทยถิ่นแคว้นสิบสองปันนา หรือ เมืองลื้อ อยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได และมีคำศัพท์และการเรียงคำศัพท์คล้ายกับภาษาไทยถิ่นอื่น ๆ ผู้พูดภาษาไทลื้อเรียกว่าชาวไทลื้อหรือชาวลื้อ ภาษาไทลื้อมีผู้พูดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 2,000,000 คน โดยมีจำนวนผู้พูดในประเทศจีน 300,000 คน ในประเทศพม่า 200,000 คน ในประเทศไทย 1,200,000 คน และในประเทศเวียดนาม 5,000 คน.

ใหม่!!: ไทลื้อและภาษาไทลื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทดำ

ษาไทดำ (Tai Dam language, Black Tai language; 傣担语, Dǎidānyǔ) มีผู้พูดทั้งหมด 763,700 คน อาศัยอยู่ระหว่างแม่น้ำแดงกับแม่น้ำดำ ทางภาคเหนือของประเทศเวียดนาม 699,000 คน (พ.ศ. 2545) อยู่ในแขวงคำม่วน ประเทศลาว 50,000 คน (พ.ศ. 2538) อยู่ในจังหวัดเลย ประเทศไทย 700 คน (พ.ศ. 2547) อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2428 ลาวโซ่งก็คือคนไทดำกลุ่มแรกที่เข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี นอกจากนี้ยังมีผู้พูดภาษานี้ในออสเตรเลีย จีน ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ภาษาไทดำอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได ภาษากลุ่มกัม-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก อัตราการรู้หนังสือภาษาแม่ราวร้อยละ 1-5 เป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยที่สำคัญในเวียดนาม.

ใหม่!!: ไทลื้อและภาษาไทดำ · ดูเพิ่มเติม »

ภาคเหนือ (ประเทศไทย)

หนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ด้านบนสุดของไทย มีลักษณะภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ต่อเนื่องมาจากทิวเขาฉานโยมาในประเทศพม่าและประเทศลาว ภาคเหนือมีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา เหมือนกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ การที่มีพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลและมีเส้นละติจูดอยู่ตอนบนทำให้สภาพอากาศของภาคเหนือเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ของภาคเหนือมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับอาณาจักรล้านน.

ใหม่!!: ไทลื้อและภาคเหนือ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

รัฐชาน

รัฐชาน หรือ รัฐฉาน (ရှမ်းပြည်နယ်, ช้าน ปหฺยี่แหน่; ไทใหญ่:; เมิ้งไต๊) บ้างเรียก รัฐไทใหญ่ เป็นรัฐหนึ่งในประเทศพม.

ใหม่!!: ไทลื้อและรัฐชาน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ไทลื้อและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

หม้อห้อม

หม้อห้อม เป็นชื่อเรียกเสื้อคอกลม แขนสั้น ผ่าอกตลอด มักย้อมสีน้ำเงินเข้มหรือดำ เขียนเป็น "ม่อห้อม" หรือ "ม่อฮ่อม" ก็มี หม้อห้อมเป็นเครื่องแต่งกายพื้นบ้านของไท ตั้งแต่ไทลื้อในสิบสองปันนา ลาวในประเทศลาว และไทล้านนาทางภาคเหนือของไท.

ใหม่!!: ไทลื้อและหม้อห้อม · ดูเพิ่มเติม »

หลวงพระบาง

หลวงพระบาง (ຫຼວງພຣະບາງ) เป็นเมืองเอกของแขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำคาน ซึ่งไหลมาบรรจบกันบริเวณนั้นเรียกว่า ปากคาน เป็นเมืองที่องค์การยูเนสโกได้ยกย่องให้เป็นมรดกโลกด้ว.

ใหม่!!: ไทลื้อและหลวงพระบาง · ดูเพิ่มเติม »

หุย

วหุย (จีน:回族;พินอิน:Huízú, อาหรับ:هوي) เป็นมุสลิมกลุ่มหนึ่งในประเทศจีน มีประชากร 9.82 ล้านคน มีประชากรเพียงหนึ่งในสามของประชากรทั้งหมดในเขตปกครองตนเองหุยหนิงเซี่ย ชาวหุยก็คือชาวจีนที่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวหุยส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ทุรกันดารทางตอนใต้ของเขตปกครองตนเอง ถึงแม้ว่าชาวหุยจะเป็นมุสลิม นับถืออิสลาม แต่ในปัจจุบันการแยกความแตกต่างของชาวหุยกับชาวจีนฮั่นโดยใช้ศาสนาค่อนข้างจะยากอยู่ ชาวหุยที่เป็นผู้ชายจะสวมหมวกสีขาว ส่วนผู้หญิงชาวหุยบางคนในปัจจุบันยังคงใส่ม่านบังหน้า ชาวหุยหลายคนที่ไม่คิดว่าคำว่า "เมกกะ" มีความสำคัญแต่อย่างใด แต่ในประเทศไทยชาวจีนที่นับถืออิสลาม จะเรียกว่า "จีนฮ่อ" ในพม่าจะเรียกว่า "ปันทาย" (Panthay) และชาวจีนมุสลิมที่อยู่ในเอเชียกลางจะถูกเรียกว่า "ดันกัน" (Dungans;дунгане).

ใหม่!!: ไทลื้อและหุย · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรล้านช้าง

อาณาจักรล้านช้าง (ອານາຈັກລ້ານຊ້າງ) เป็นอาณาจักรของชนชาติลาวซึ่งตั้งอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง มีอาณาเขตอยู่ในบริเวณประเทศลาวทั้งหมด ตลอดจนพื้นที่บางส่วนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งการเมืองการปกครอง ด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนพระพุทธศาสนา ที่มีพัฒนาการเคียงคู่มาพร้อมกันอาณาจักรอื่น ๆ ใกล้เคียง ทั้งล้านนา สยาม พม่า และเขมร อาณาจักรแห่งนี้ได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นปึกแผ่นมั่งคงอย่างแท้จริงในปี พ.ศ. 1896 สมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม มีความรุ่งเรืองสลับกับความร่วงโรยต่อมาหลายสมัย ซึ่งยุคที่นับได้ว่าเป็นยุคทองของอาณาจักรล้านช้างคือรัชสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2091- พ.ศ. 2114 และรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (พ.ศ. 2181- พ.ศ. 2238) หลังจากนั้นอาณาจักรลาวก็เสื่อมอำนาจลงและแตกแยกเป็น 3 ราชอาณาจักร และในปี พ.ศ. 2321 ทั้ง 3 อาณาจักรก็ได้สูญเสียเอกราชแก่ราชอาณาจักรสยามในที.

ใหม่!!: ไทลื้อและอาณาจักรล้านช้าง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอ

อำเภอ เป็นหน่วยการปกครองระดับที่สองในประเทศไทย ลำดับรองมาจากจังหวัด จัดตั้งขึ้นโดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีนายอำเภอ เป็นหัวหน้าปกครอง โดยในแต่ละอำเภอจะแบ่งส่วนย่อยออกเป็น ตำบล ในปัจจุบันประเทศไทยมี 878 อำเภอใน 76 จังหวัด ซึ่งไม่รวม 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการบริหารกรุงเทพมหานครในปี..

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบ้านธิ

้านธิ (40px) เป็นอำเภอขนาดเล็ก อยู่ทางตอนเหนือสุดของจังหวัดลำพูน แยกตัวออกจากอำเภอเมืองลำพูน มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน มีแหล่งมรดกทางประวัติศาสตร์โบราณคดีที่น่าสนใจ ทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยอีกด้วย อำเภอบ้านธิได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2533 โดยชื่อ "บ้านธิ" ตั้งขึ้นตามลำน้ำแม่ธิที่ไหลผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ ของอำเภอนี้ สีประจำอำเภอคือสีชมพู.

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอบ้านธิ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอพาน

น (30px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงร.

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอพาน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอภูซาง

อำเภอภูซาง (30px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวั.

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอภูซาง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสองแคว

องแคว (50px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดน่าน.

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอสองแคว · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสะเมิง

มิง (30px) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอเป็นทิวเขาสูง อากาศเย็นเกือบทั้งปี ประกอบด้วยชุมชนชาวไทยภูเขาจำนวนมาก สะเมิง เป็นเมืองที่ยังคงความเป็นธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์ มีทิวเขาสูงซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้จำนวนไม่น้อย รวมทั้งเป็นแหล่งปลูกพันธุ์ไม้เมืองหนาวและสตรอเบอร์รีแหล่งสำคัญของประเทศไทยอีกด้ว.

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอสะเมิง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสันกำแพง

ันกำแพง (50px) เป็นอำเภอหนึ่งในเขตปริมณฑลของนครเชียงใหม่ที่มีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาทุก ๆ ด้าน เป็นอำเภอที่มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ที่ขึ้นชื่อได้แก่ บ้านบ่อสร้าง เป็นแหล่งรวมหัตถกรรมการทำร่มกระดาษสา ป่าดงปงไหว ตลอดเส้นทางจากตัวอำเภอเมืองไปยังอำเภอสันกำแพงจะรายล้อมไปด้วยต้นไม้ใหญ่ 2 ข้างทาง นอกจากจะเป็นอำเภอที่มีแหล่งท่องเที่ยวมากมายแล้ว อำเภอสันกำแพงยังเป็นบ้านเกิดของอดีตนายกรัฐมนตรีไทย คือ นายทักษิณ ชินวัตร และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร.

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอสันกำแพง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอทุ่งช้าง

ทุ่งช้าง (50px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดน่าน.

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอทุ่งช้าง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอท่าวังผา

ท่าวังผา (40px) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดน่าน เป็นเมืองที่รองรับการขยายตัวเศรษฐกิจแห่งที่1 ของจังหวัดน่านตอนเหนือ.

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอท่าวังผา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอดอยสะเก็ด

อยสะเก็ด (50px) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด และเป็นอำเภอที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจในลำดับต้นๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากเป็นเส้นทางสำคัญที่ผ่านจากจังหวัดเชียงใหม่ไปยังจังหวัดเชียงร.

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอดอยสะเก็ด · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอปัว

ปัว (16px) เป็นอำเภอศูนย์กลางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัดน่านตอนเหนือ.

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอปัว · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแม่สาย

แม่สาย (50px; 50px) เป็นอำเภอเหนือสุดของจังหวัดเชียงรายและเหนือสุดของประเทศไทย ตั้งที่ว่าการที่ตำบลเวียงพางคำ มีด่านชายแดนไทย-พม่าเรียกว่า "ด่านแม่สาย" สามารถผ่านด่านข้ามไปยังจังหวัดท่าขี้เหล็กของพม่าได้โดยมีแม่น้ำสายเป็นพรมแดนทางธรรมชาติ การคมนาคมจากอำเภอเมืองเชียงรายไปอำเภอแม่สายโดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน ตอนเชียงราย-แม่สาย) ระยะทาง 63 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอแม่สาย · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแม่ออน

แม่ออน (45px) เป็นอำเภอขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่มีทั้งภูเขาและที่ราบสำหรับทำเกษตรกรรม นับเป็นพื้นที่รอบนอกสุดของเมืองเชียงใหม่ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ วัดพระธาตุดอยผาตั้ง น้ำพุร้อนสันกำแพง ถ้ำเมืองออน น้ำตกแม่กำปอง หมู่บ้านโฮมสเตย์แม่กำปอง และวังเย็น.

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอแม่ออน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแม่ทะ

แม่ทะ (50px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลำปาง.

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอแม่ทะ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเชียงกลาง

ียงกลาง (50px) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดน่าน เป็นเมืองที่รองรับการขยายตัวเศรษฐกิจแห่งที่ 2 ของจังหวัดน่านตอนเหนือ.

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอเชียงกลาง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเชียงม่วน

อำเภอเชียงม่วน (50px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพะเยา เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบ้านม่วง จังหวัดน่าน (อำเภอปง จังหวัดพะเยา ในปัจจุบัน) ต่อมาได้มีการแบ่งพื้นที่ตำบลสระ ตำบลเชียงม่วน ออกจากอำเภอปง จังหวัดเชียงราย พร้อมทั้งประกาศจัดตั้งตำบลบ้านมางอีกหนึ่งตำบล รวมเป็น กิ่งอำเภอเชียงม่วน จังหวัดเชียงราย ขึ้นตรงกับอำเภอปง ปี..

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอเชียงม่วน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเชียงของ

ียงของ (60px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ลักษณะภูมิประเทศพื้นที่ราบ สลับกับเทือกเขา มีพื้นที่ด้านทิศตะวันออกบางส่วนติดกับแม่น้ำโขง ซึ่งฝั่งตรงข้ามคือ เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว มีประชากรอาศัยอยู่ในพื้นที่หลายเชื้อชาติ เช่น ไตลื้อ ขมุ ชาวมูเซอ แม้ว เย้า โดยกลุ่มไทลื้อโดยมากจะอาศัยอยู่ที่ บ้านห้วยเม็ง และบ้านศรีดอนชัย อพยพมาจากทาง สิบสองปันนา ทางตอนใต้ของประเทศจีนปัจจุบันยึดอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก เคยทำสวนส้มกันจนมีชื่อเสียงโด่งดังแต่ปัจจุบันด้วยโรคภัยเยอะชาวบ้านเลยเลิกทำสวนส้มไปหลายราย หันไปทำไร่ข้าวโพดเหมือนกับชาวบ้านใกล้เคียงแทน เชื้อชาติขมุตั้งอยู่ที่บ้านห้วยกอกเป็นหมู่บ้านเล็กๆที่มีประชากรไม่มากนัก ประชากรในอำเภอเชียงของโดยส่วนมากทำอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ไร่ข้าวโพด สวนส้ม สวนลิ้นจี่ สวนส้มโอ และพืชผักต่างๆเป็นต้น มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย เช่น น้ำตกห้วยเม็งซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในหุบเขาพื้นที่บ้านห้วยเม็งสามารถเดินทางไปได้โดยออกจากตัวอำเภอเชียงของมุ่งหน้าไปทางอำเภอเชียงแสนจากตัวอำเภอระยะทาง 3 กิโลเมตรจะถึงหมู่บ้านห้วยเม็ง เลี้ยวซ้ายเข้าไปผ่านหมู่บ้าน ระยะทางอีกประมาณ 6 กิโลเมตร สภาพเส้นทางเป็นลูกลัง โดยผ่านตามแนวเขาไปยังน้ำตก เหมาะแก่การเดินเท้าสัมผัสธรรมชาติ และปั่นจักรยาน สำหรับรถยนต์ต้องเป็นรถกระบะถึงสามารถเข้าไปยังน้ำตกห้วยเม็งได้ โดยตัวน้ำตกจะมี 2 ฝั่งคือฝั่งซ้ายและฝั่งขวาเป็นน้ำตกขนาดเล็ก ช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวคือปลายฝนต้นหนาว จากตัวอำเภอเชียงของมุ่งหน้าไปทาง อ.เชียงแสน ประมาณ 13 กิโลเมตร จะถึงที่ตั้งของสวนป่าห้วยทรายมาน มีจุดชมวิว 2 ฝั่งของระหว่างไทย - ลาวได้พื้นที่ติดน้ำโขงบริเวณตัวอำเภอเชียงของจะมีการสร้างถนนเรียบน้ำโขงเริ่มตั้งแต่บ้านหาดไคร้ไปถึงบ้านหัวเวียงนักท่องเที่ยวสามารถแวะชมบรรยากาศริมโขงได้ ท่าจับปลาบึกทุกวันที่ 17-19 เมษายน บริเวณท่าจับปลาบึก (ลานหน้าวัดหาดไคร้) จะมีการบวงสรวงและจับปลาบึกซึ่งหาดูได้ที่เดียวในโลก ปัจจุบันการล่าปลาบึกจะล่าได้ปีละครั้งในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีเพื่อเป็นการอนุรักษ์ปลาบึก การล่าจึงทำเพื่อเป็นการสืบทอดการล่าปลาบึกให้คงอยู่ตามประเพณีของชาวบ้านหาดไคร้ และช่วงสงกรานต์บริเวณท่าปลาบึก(ลานหน้าวัดหาดไคร้)และท่าเรือบั๊กจะจัดงานมหาสงกรานต์อย่างยิ่งใหญ่ทุก ๆ ปี สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์มีมากมาย เช่น กล้วยอบเนยศรีลานนา ผ้าทอศรีดอนชัยที่มีการสืบทอดมาแต่โบราณจากบรรพบุรุษของชนชาวไตลื้อสามารถแวะชมได้ที่และศูนย์ผ้าทอไทลื้อตำบลศรีดอนชัย และสินค้าหัตถกรรมบ้านสถาน ศูนย์หัตถกรรมบ้านสถาน ในทุกปีช่วงเดือนเมษายน บริเวณแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของชาวบ้านจะลงไปเก็บไก (สาหร่ายน้ำจืดที่เกิดในแม่น้ำโขง เป็นชื่อเรียกของคนในพื้นที่) โดยจะนำมาตากแห้งบนคา (ชนิดเดียวกับที่ใช้มุงหลังคา) โดยอาจจะมีใส่เครื่องปรุงเช่น งา ข่า ตะไคร้ ต่าง ๆ ลงไป สามารถนำมาทอดกิน รสชาติหวาน กรอบ ปัจจุบันนำมาจัดเป็นสินค้าโอทอป ปัจจุบัน อำเภอเชียงของเป็นอำเภอที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเริ่มให้ความสนใจเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น สิ่งก่อสร้างที่พักอาศัยเริ่มมีเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะบริเวณบ้านหัวเวียง จะมีที่พักเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยนักท่องเที่ยวที่มายังอำเภอเชียงของสามารถข้ามไปยัง เมืองห้วยทรายได้ที่ท่าเรือบ้านหัวเวียง สามารถทำหนังสือเดินทางชั่วคราวเพื่อข้ามไปท่องเที่ยวได้และสามารถใช้พาสปอร์ตข้ามได้เช่นกัน นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือจากท่าเรือบ้านหัวเวียงล่องน้ำโขงไปยังเมืองหลวงพระบางได้ ทุกๆเย็นวันเสาร์จะมีการจัดงานถนนคนเดินที่ชาวบ้านในพื้นที่จะนำพืชผล ผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นมา มาจำหน่ายกันยังบริเวณถนนสายหลักตั้งแต่บ้านวัดแก้วไปจนถึงบ้านหัวเวียง นักท่องเที่ยวสามารหาซื้อของฝากที่ผลิตในท้องถิ่นได้ในวันดังกล่าว การเดินทางมายังอำเภอเชียงของ สามารถใช้เส้นทางจากทาง อ.เทิง-อ.ขุนตาล-อ.เชียงของ,อ.เมือง-อ.พญาเม็งราย-อ.เชียงของ,อ.เมือง-อ.เวียงเชียงรุ้ง-อ.เชียงของ, อ.เมือง-อ.แม่จัน-อ.เชียงแสน-อ.เชียงของ โดยจะมีรถเมล์วิ่งผ่านทุกเส้นทางยกเว้นเส้นทางจาก อ.เมือง-อ.แม่จัน-อ.เชียงแสน-อ.เชียงของ จะมีเพียงรถสองแถววิ่งผ่านเท่านั้น โดยรถเมล์จะออกจากสถานีขนส่งเชียงราย สลับกันแต่ละเส้นทาง.

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอเชียงของ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเชียงคำ

ียงคำ (50px) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพะเยา ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มน้ำลาว น้ำยวน และน้ำแวน ซึ่งเป็นลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำอิง ในอดีตเป็นแอ่งอารยธรรมของชุมชนที่มีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ.

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอเชียงคำ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเชียงแสน

อำเภอเชียงแสน (60px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีซากโบราณสถานของเมืองเชียงแสนเก่าอยู่ในบริเวณตัวอำเภอ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวและท่าเรือขนส่งสินค้าที่สำคัญในภาคเหนือ นอกจากนี้เชียงแสนมีพื้นที่ซึ่งเรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำ ในพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านสบรวก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย อันเป็นบริเวณที่บรรจบกันของชายแดนสามประเทศ คือ ไทย ลาว และพม.

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอเชียงแสน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองน่าน

มืองน่าน (40px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดน่าน.

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอเมืองน่าน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเวียงแก่น

วียงแก่น (50px) เป็นอำเภอซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดเชียงราย มีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นทั้งที่ราบลุ่มมีแม่น้ำงาวไหลผ่าน และเป็นภูเขาสลับซับซ้อนของดอยยาวและดอยผาหม่น มีชายแดนติดต่อกับประเทศลาวและมีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญ ได้แก่ เมืองโบราณสถานดงเวียงแก่น แก่งผาได และดอยผาตั้ง อำเภอเวียงแก่นเป็นอำเภอที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหลากกลุ่มชาติพันธุ์ ทำให้มีประชากรมีวิถีชีวิตเฉพาะแบบพหุวัฒนธรรม นอกจากนี้อำเภอเวียงแก่นยังเป็นแหล่งผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ส้มโอ ซึ่งมีชื่อเสียงทั้งในระดับจังหวัดและประเท.

ใหม่!!: ไทลื้อและอำเภอเวียงแก่น · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพะเยา

ังหวัดพะเยา (30px พ(ร)ะญาว) เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบน บริเวณที่ตั้งของตัวเมืองพะเยาในปัจจุบันอยู่ติดกับกว๊านพะเยา เดิมเป็นที่ตั้งของเมือง ภูกามยาว หรือ พะยาว ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16 โดยกษัตริย์องค์แรกคือ พญาจอมธรรม ซึ่งเป็นราชบุตรองค์หนึ่งจากเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสน และเป็นบรรพบุรุษของกษัตริย์เมืองพะยาวอีกหลายองค์ เช่น พญาเจือง วีรบุรุษแห่งเผ่าไท-ลาวในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง และพญางำเมืองซึ่งได้กระทำสัตย์สาบานเป็นไมตรีต่อกันกับพญามังรายแห่งนครพิงค์เชียงใหม่ และพญาร่วงรามคำแหงแห่งสุโขทัย ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจ และตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรล้านนา ในสมัยพญาคำฟู เมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ใน..

ใหม่!!: ไทลื้อและจังหวัดพะเยา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลำพูน

ังหวัดลำพูน (30px หละปูน) เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในภาคเหนือ นับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ ยาวนาน เคยเป็นที่ตั้งของนครหริภุญชัย ในสมัยพระนางจามเทวีเดิมชื่อเมืองหริภุญไชย เป็นเมืองโบราณ มีอายุประมาณ 1,343 ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย โดยฤๅษีวาสุเทพ เป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตรหรือชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้น ในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิง เมื่อมาสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม “จามเทวี” มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชยสืบราชวงศ์กษัตริย์ต่อมาหลายพระองค์ จนกระทั่งถึงสมัยพญายีบาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พญามังราย ผู้รวบรวมแว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา ถึงแม้ว่าเมืองลำพูนจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา แต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง ดังปรากฏหลักฐานทั่วไปในเวียงกุมกาม เชียงใหม่ และเชียงราย เมืองลำพูนจึงยังคงความสำคัญในทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองลำพูนจึงได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง..

ใหม่!!: ไทลื้อและจังหวัดลำพูน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลำปาง

ังหวัดลำปาง (40px) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบล้อมรอบด้วยภูเขา มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกอย่างหลากหลายตั้งแต่ เขลางค์นคร, เวียงละกอน, นครลำปาง ฯลฯ ในภายหลังเป็นที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองรถม้า ที่สัมพันธ์กับเอกลักษณ์ของลำปาง.

ใหม่!!: ไทลื้อและจังหวัดลำปาง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดน่าน

ังหวัดน่าน (15px) เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของภาคเหนือ เป็นที่ตั้งของเมืองที่สำคัญในอดีต อาทิ เมืองวรนคร เวียงศีรษะเกษ อีกทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่สำคัญของแม่น้ำน่าน.

ใหม่!!: ไทลื้อและจังหวัดน่าน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดแพร่

ังหวัดแพร่ (25px) เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อดีตนครรัฐอิสระขนาดเล็ก มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบระหว่างภูเขา โดยมีทิวเขาล้อมรอบ และมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านคือแม่น้ำยม.

ใหม่!!: ไทลื้อและจังหวัดแพร่ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเชียงราย

ังหวัดเชียงราย (55px เจียงฮาย; 50px) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีภูมิศาสตร์อยู่ทางเหนือสุดของประเทศ ที่ตั้งของเมืองมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เช่น เมืองเงินยาง เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองเชียงรายเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของชาวไทยวน ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ มีน้ำแม่กก น้ำแม่อิง แม่น้ำรวก และแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ทำเลที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศลาว หรือรู้จักกันในนามของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งอดีตเป็นแหล่งผลิตฝิ่นที่สำคัญของโลก ปัจจุบัน จังหวัดเชียงรายได้รับความสนใจในฐานะประตูสู่พม่า ลาว และจีนตอนใต้ ผ่านทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 3 เมืองเชียงรายมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นที่ตั้งของหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ซึ่งเป็นนครหลวงก่อนการกำเนิดอาณาจักรล้านนา มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในรูปแบบล้านนา ไทใหญ่ ไทเขิน และไทลื้อจากสิบสองปันนาผสมผสานกัน.

ใหม่!!: ไทลื้อและจังหวัดเชียงราย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเชียงใหม่

ังหวัดเชียงใหม่ (40px เจียงใหม่) เป็นจังหวัดหนึ่งของไทย ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากร 1,746,840 คน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชานเมือง 960,906 คน โดยจังหวัดเชียงใหม่ทิศเหนือติดต่อกับรัฐฉานของเมียนมา จังหวัดเชียงใหม่ จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศไทย รองจากกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกำลังพิจารณาสมัครเมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: ไทลื้อและจังหวัดเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ตำบลยม

ตำบลยม เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของตัวอำเภอ.

ใหม่!!: ไทลื้อและตำบลยม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศ

แผนที่แสดงประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประเทศ เป็นบริเวณที่ระบุเป็นเอนทิตีต่างหากในภูมิศาสตร์การเมือง ประเทศอาจเป็นรัฐเอกราชหรือรัฐที่ถูกรัฐอื่นยึดครอง เป็นรัฐซึ่งไร้เอกราชหรืออดีตเขตปกครองทางการเมืองเอกราช หรือพื้นที่ภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของประชาชนที่เดิมไม่ขึ้นต่อกันหรือมีความสัมพันธ์ต่างกันซึ่งมีลักษณะทางการเมืองเป็นเอกลักษณ.

ใหม่!!: ไทลื้อและประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: ไทลื้อและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ใหม่!!: ไทลื้อและประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ไทลื้อและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ไทลื้อและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: ไทลื้อและประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง (မဲခေါင်မြစ်; ແມ່ນ້ຳຂອງ; ទន្លេដ៏ធំ; Mê Kông) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านบริเวณที่ราบสูงทิเบตและมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ หลานชางเจียง (จีนตัวย่อ: 澜沧江, จีนตัวเต็ม: 瀾滄江) แปลว่า "แม่น้ำที่มีความเชี่ยวกราก" และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงได้แก่ ปลาบึก.

ใหม่!!: ไทลื้อและแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

แขวงไชยบุรี

ตราประจำจังหวัดลานช้างเมื่ออยู่ใต้การปกครองของไทย (พ.ศ. 2484 - 2489) ไชยบุรี (ໄຊຍະບູລີ, ไซยะบูลี) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของประเทศ มีพื้นที่ติดกับประเทศไทยทางด้านจังหวัดเชียงราย, จังหวัดพะเยา, จังหวัดน่าน, จังหวัดอุตรดิตถ์, จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดเลย เคยเป็นส่วนหนึ่งของสยามก่อนการเสียดินแดนเมื่อปี พ.ศ. 2447 ซึ่งมีผลให้แขวงนี้ไปขึ้นกับอินโดจีนของฝรั่งเศส ไทยได้กลับคืนมาชั่วคราวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อได้กลับคืนมาจึงตั้งเป็นจังหวัดลานช้าง แต่ต้องคืนกลับไปเหมือนเดิมหลังสงคราม เมื่อแขวงไชยบุรีกลับคืนไปเป็นของลาวอีกครั้ง จึงได้ตั้งชื่อว่า ไชยบุรี ซึ่งแปลว่า เมืองแห่งชัยชนะ ชัยชนะที่แขวงได้กลับคืนเป็นของลาวอีกครั้ง (แต่ก่อนไชยบุรีเป็นส่วนหนึ่งของแขวงหลวงพระบาง).

ใหม่!!: ไทลื้อและแขวงไชยบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ไทยอง

มารถดูชนกลุ่มที่มีความใกล้เคียงกับชาวไทยองได้ที่ ชาวไทลื้อ ชาวไทยอง หรือ ชาวเมืองยอง ใช้เรียกกลุ่มคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเมืองยอง และกระจายอยู่ในด้านตะวันออกของรัฐฉาน ประเทศพม่า เขตสิบสองพันนา ในมณฑลยูนนานของจีน ภายหลังได้อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนใน จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย และน่าน ในสมัยรัชกาลที่ 1 ภายใต้กุศโลบาย "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" ของ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ เพื่อรื้อฟื้นอาณาจักรล้านนาภายหลังการยึดครองของพม่าสิ้นสุดลง จากตำนาน ชาวเมืองยองนั้น ได้อพยพมาจากเมืองเชียงรุ้งและเมืองอื่นๆ ในสิบสองปันนา ซึ่งเป็นคนไทลื้อ และได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งใหญ่ในเมืองลำพูน และ เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2348 ด้วยสาเหตุของสงคราม เจ้าเมืองยองพร้อมด้วยบุตรภรรยา น้องทั้ง 4 ญาติพี่น้อง ขุนนาง พระสงฆ์และไพร่พลจากเมืองยอง จำนวน 20,000 คนเข้ามาแผ้วถางเมืองลำพูนที่ร้างอยู่ ตั้งบ้านเรือนตามลุ่มน้ำแม่ทา น้ำแม่ปิง ผู้คนทั่วไปในแถบนั้นจึงเรียกคนที่มาจากเมืองยองว่า ชาวไทยอง ในสมัยนั้นผู้คนต่างเมืองที่มาอยู่ร่วมกัน จะเรียกขานคนที่มาจากอีกเมืองหนึ่งตามนามของคนเมืองเดิม เช่น คนเมืองเชียงใหม่ คนเมืองลำปาง คนเมืองแพร่ คนเมืองน่าน คนเมืองเชียงตุง เป็นต้น แต่ของคนเมืองยองนั้น ต่อมาคำว่าเมืองได้หายไป คงเหลืออยู่คำว่า คนยอง ดังนั้น ยอง จึงมิใช่เป็นเผ่าพันธุ์ และเมื่อวิเคราะห์จากพัฒนาการ ประวัติศาสตร์ของเมืองยองแล้ว ชาวไทยอง ก็คือ ชาวไทลื้อนั่นเอง.

ใหม่!!: ไทลื้อและไทยอง · ดูเพิ่มเติม »

เชียงรุ่ง

แผนที่เชียงรุ่ง แม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านเชียงรุ่ง เชียงรุ่ง หรือในภาษาจีนคือ จิ่งหง, เจียงฮุ่ง หรือออกเสียงในภาษาไทลื้อว่า เจงฮุ่ง (ไทลื้อใหม่: ᦵᦋᧂᦣᦳᧂᧈ ;) คือเมืองเอกในเขตปกครองตนเองชนชาติไท - สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีชายแดนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับประเทศพม่า และทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับประเทศลาว.

ใหม่!!: ไทลื้อและเชียงรุ่ง · ดูเพิ่มเติม »

เชียงลาบ

มืองเชียงลาบ (Keng Lap) หรือ "เวียงแคว้นสา" เป็นเมืองเก่าแก่ของชาวไทลื้อบางครั้งจะเรียกชื่อเมืองโขง หรือ เมืองโขงโค้ง หรือ เวียงแคว้นสา ตั้งอยู่ในแขวงท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ประเทศพม่า ตรงข้ามกับบ้านเชียงกก เมืองลอง แขวงหลวงน้ำทา ประเทศลาว และตั้งอยู่ครึ่งทางระหว่างหิรัญเงินยางนคร (เมืองเชียงแสน) ประเทศไทย และเมืองเชียงรุ่ง สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ตัวเมืองตั้งอยู่ตรงแหลมเชียงลาบ มีเจ้าผู้ครองเมืองตามนามเมืองว่า "เจ้าหลวงเชียงลาบ" ปฐมผู้สร้างเมืองคือ พญาเจิงหาญ หรือ ขุนเจือง หรือ สมเด็จพระเจ้าเจืองฟ้าธรรมิกราชสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 1วีรบุรุษในตำนานของชนชาติไตย ตลอดลุ่มแม่น้ำโขง แห่งราชวงค์อาฬโวสวนตาน เชียงลาบซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงไหลเชี่ยวที่สุด หรือที่เรียกว่า "โขงโค้ง" เป็นแนวบริเวณที่อันตรายที่สุดในการเดินเรือ เนื่องจากเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงไหลลงมาตรงแล้วกระทบกับโขดหินและไหลย้อยกลับขึ้นไปข้างบน จึงทำให้แม่น้ำโขงในบริเวณนี้ไหลแรงและเชี่ยวที่สุดและต้องใช้ความชำนาญสูงในการเดินเรือสินค้า หากมองด้านจุดยุทธศาสตร์การเมือง การคมนาคม และการค้าขายในอดีต เมื่อสองร้อยกว่าปีที่ผ่านมา หากต้องเดินทางเดินทางจากเชียงแสนไปเชียงรุ่ง ต้องหยุดพักตรงนี้ เมื่อมีการหยุดพักแล้วจึงมีคารวานต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยนสินค้าในบริเวณดังกล่าว จึงทำให้เชียงลาบกลายเป็นเมืองหน้าด่านสู่ประตูสู่เชียงรุ่งโดยปริยาย บริเวณเมืองเมืองตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงที่ไหลย้อนขึ้นและไหลลง ชาวเมืองเรียกบริเวณนี้ว่า "โขงโค้ง" ทางตอนกลางของเมืองมีแม่น้ำลาบ ไหลผ่านลงไปแม่น้ำโขง หากนั่งเรือจากเชียงแสนขึ้นไปราว 82 กม.

ใหม่!!: ไทลื้อและเชียงลาบ · ดูเพิ่มเติม »

เชียงตุง

ียงตุง (ภาษาไทเขิน: ᨩ᩠ᨿᨦᨲᩩᨦ ไทใหญ่:; ကျိုင်းတုံမြို့; 60px; Keng Tung) เป็นเมืองตั้งอยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่า เป็นเมืองของชาวไทเขิน และชาวไทใหญ่ ถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองเทียบเท่า เมืองเชียงใหม่แห่งล้านนาไทย และเมืองเชียงรุ่งแห่งสิบสองปันนา โดยชาวไทใหญ่เรียกชื่อเมืองนี้ว่า เก็งตุ๋ง (Keng Tung) ในอดีตเชียงตุงเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางการค้าเชื่อมต่อระหว่างสิบสองปันนากับล้านนา โดยมีพ่อค้าชาวจีนฮ่อเดินทางไปมาค้าขายในเส้นทางนี้.

ใหม่!!: ไทลื้อและเชียงตุง · ดูเพิ่มเติม »

เชียงแสน

ียงแสน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ไทลื้อและเชียงแสน · ดูเพิ่มเติม »

เมืองยอง

มืองยอง เป็นเมืองหรืออำเภอหนึ่งใน รัฐฉาน ประเทศพม่าขึ้นกับแขวงเมืองพะยาค เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ทั้งเกี่ยวข้องกับ พม่า ล้านนา สยาม ลาว และ เขตสิบสองปันนา ของจีน ผู้ที่อยู่อาศัยในเมือง จะถูกเรียกว่า ชาวลื้อ คนเมืองยองสืบเชื้อสายมาจากผู้คนที่อพยพมาจากเมืองเชียงรุ่งและเมืองอื่น ๆ ในสิบสองพันนา ซึ่งเป็นคนลื้อหรือไทลื้อ และเมื่ออพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งใหญ่ในเมืองลำพูนในปี..

ใหม่!!: ไทลื้อและเมืองยอง · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: ไทลื้อและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา

ตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา (อักษรธรรม: ᩈᩥ᩠ᨷᩈ᩠ᩋᨦᨻᩢ᩠ᨶᨶᩣ ไทลื้อใหม่: ᦈᦹᧈᦈᦹᧈᦋᦵᦲᧁᦘᦱᦉᦱᦑᦺ᧑᧒ᦗᧃᦓᦱ) หรือชื่อย่อว่า ซีไต่ ตั้งอยู่ทางใต้สุดของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีเมืองเอก คือ เมืองเชียงรุ่ง.

ใหม่!!: ไทลื้อและเขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา · ดูเพิ่มเติม »

เดียนเบียนฟู

ียนเบียนฟู (Dien Bien Phu) หรือ เดี่ยนเบียนฝู (Điện Biên Phủ) (ชื่อเดิม: แถง) เป็นเมืองหนึ่งในจังหวัดเดี่ยนเบียนซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม ห่างจากกรุงฮานอยประมาณ 200 กิโลเมตร มีชื่อเสียงเนื่องจากเป็นที่รบยุทธการที่เดียนเบียนฟูระหว่างฝรั่งเศสกับเวียดมินห์ เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1954.

ใหม่!!: ไทลื้อและเดียนเบียนฟู · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ลื้อชาวลื้อชาวไทยยองชาวไทลื้อชาวไตลื้อไทยลื้อไตลื้อ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »