โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไฉ่สิ่งเอี้ย

ดัชนี ไฉ่สิ่งเอี้ย

ฉ่สิ่งเอี้ย หรือ จ่ายสินเอี้ย (财神; พินอิน: Cái-shén; Cai Shen, God of wealth, God of fortune) เป็นเทพเจ้าของจีนที่ให้คุณทางด้านเงินทอง และโชคลาภ (เทพเจ้าแห่งโชคลาภ) ซึ่งสำหรับชาวจีนแล้วถือเป็นเทพเจ้าที่มีความสำคัญมากที่สุดในการเริ่มเข้าสู่ปีนักษัตรใหม่ (ตรุษจีน) เนื่องจากเป็นเทพเจ้าที่ได้รับการกราบไหว้เป็นองค์แรกทีเดียว โดยคำว่า "ไฉ่สิ่ง" หรือ "ไฉซิ้ง" มีความหมายว่า "ทรัพย์สิน" หรือ "สิริมงคล" "เอี้ย" หมายถึง "เทพเจ้า" โดยเทพที่ได้รับการนับถือว่าเป็นไฉ่ซิ้งเอี้ย มีด้วยกันหลายองค์ แต่องค์ที่ได้รับการบูชามากที่สุด คือ ฟ่านหลี และปี่ กั้น ซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ โดยถือว่าเป็นไฉ่สิ่งเอี้ยฝ่ายบุ๋น ขณะที่จ้าวกงหมิง และกวนอู ถือเป็นไฉ่สิ่งเอี้ยฝ่ายบู๊ การบูชาไฉ่สิ่งเอี้ย สามารถพบได้ในหลายประเทศในทวีปเอเชีย เช่น ทิเบต, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย, ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, มาเก๊า, ฮ่องกง เป็นต้น ไฉ่สิ่งเอี้ยที่มีความเก่าแก่ที่สุดพบที่บนหน้าผาในทิเบต เรียกว่าปางชัมภล เชื่อว่าไฉ่สิ่งเอี้ย จะเสด็จมายังโลกมนุษย์เพียงปีละครั้ง คือ ในวันตรุษจีน ดังนั้น ชาวจีนตั้งแต่โบราณเมื่อเข้าสู่วันตรุษจีน (นับตั้งแต่ 0.00 น.) จะทำการตั้งโต๊ะบูชาไฉ่สิ่งเอี้ย โดยการหันหน้าไปทิศต่าง ๆ ที่เชื่อว่าไฉ่สิ่งเอี้ยจะเสด็จลงมา ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละปี โดยเวลาที่จะทำการบูชา คือ 23.00–01.00 น. ของวันตรุษจีน โดยทำการบูชาที่ดาดฟ้าบ้านหรือหลังคาบ้าน หรือระเบียงบ้านชั้นสองหรือสาม หรือหน้าบ้านก็ได้ ซึ่งของที่ทำการบูชาใช้ของหวาน เช่น ผลไม้, อาหารเจ, บัวลอย, สาคู หรือของรับประทานต่าง ๆ ที่มีสีสันสดใส แต่ไม่ใ้ช้ของคาวหรือเนื้อสัตว์ พร้อมกับนำสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเงินทอง เช่น สมุดบัญชีธนาคาร, เช็ค หรือกระเป๋าเงิน มาตั้งวางไว้ด้วย เป็นต้น และเมื่อธูปที่ใช้บูชาใกล้มอดให้รีบนำเข้าบ้าน และปิดประตูหน้าต่างให้สนิท เพื่อให้ควันธูปที่เหลือนั้นตลบอบอวลอยู่ภายในบ้าน เชื่อว่าเป็นการอัญเชิญไฉ่สิ่งเอี้ยเข้ามาประทับในบ้าน.

19 ความสัมพันธ์: ฟ่านหลี่ฟ้าวันใหม่พินอินกวนอูภาษาญี่ปุ่นภาษาหมิ่นใต้ภาษาแต้จิ๋วภาษาเวียดนามรายพระนามเทวดาจีนสารานุกรมบริตานิกาอักษรฮันกึลอักษรจีนตัวย่ออักษรจีนตัวเต็มตรุษจีนปี่ กั้นไทยรัฐเกาหลีเทวดาเทศกาลกินเจ

ฟ่านหลี่

thumb ฟ่านหลี่ บุคคลในประวัติศาสตร์จีน เป็นกุนซือของเยว่อ๋องโกวเจี้ยนแห่งรัฐเยว่ (越国) เกิดในช่วงปลายยุคชุนชิว ภายหลังรบชนะรัฐอู๋ (吴国) ได้ออกจากราชการและได้เปลี่ยนชื่อเป็น เถาจูกง และได้ทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จ จนได้รับการขนานนามว่าเป็น เทพเจ้าแห่งการค้า ในเวลาต่อม.

ใหม่!!: ไฉ่สิ่งเอี้ยและฟ่านหลี่ · ดูเพิ่มเติม »

ฟ้าวันใหม่

ฟ้าวันใหม่ เดิมชื่อ บลูสกายแชนแนล เป็นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในประเทศไท.

ใหม่!!: ไฉ่สิ่งเอี้ยและฟ้าวันใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: ไฉ่สิ่งเอี้ยและพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

กวนอู

กวนอู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชกาลฮั่นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี 763 ในรัชกาลฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (Yunchang) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า ง้าวมังกรเขียว หรือง้าวมังกรจันทร์ฉงาย ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุมกวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: ไฉ่สิ่งเอี้ยและกวนอู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาญี่ปุ่น

ษาญี่ปุ่น (日本語) เป็นภาษาทางการของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่างๆ คำภาษาญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาจีน ที่ได้นำมาเผยแพร่มาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1,500 ปีที่แล้ว และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้มีการยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เช่นคำที่มาจากภาษาดัตช์ ビール (bier แปลว่า เบียร์) และ コーヒー (koffie แปลว่า กาแฟ).

ใหม่!!: ไฉ่สิ่งเอี้ยและภาษาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาหมิ่นใต้

ษาหมิ่นใต้, ภาษาหมิ่นหนาน เป็นสำเนียงของภาษาจีน ใช้พูดทางใต้ ของมณฑลฝูเจี้ยน และบริเวณใกล้เคียง และโดยลูกหลานของผู้อพยพจากบริเวณนี้เข้าไปยังบริเวณอื่นๆทั่วโลก โดยทั่วไปภาษาหมิ่นใต้เป็นชื่อเรียกโดยชาวจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำเนียงหนึ่งในภาษานี้เรียกภาษาไต้หวัน อยู่ในกลุ่มภาษาหมิ่น ของภาษาจีน โดยปกติไม่สามารถเข้าใจกันได้กับภาษาหมิ่นตะวันออก ภาษาจีนกวางตุ้ง และภาษาจีนกลาง.

ใหม่!!: ไฉ่สิ่งเอี้ยและภาษาหมิ่นใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแต้จิ๋ว

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ไฉ่สิ่งเอี้ยและภาษาแต้จิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเวียดนาม

ษาเวียดนาม (tiếng Việt เตี๊ยงเหฺวียด, tiếng Việt Nam, Việt ngữ) เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์และเป็นภาษาทางการของประเทศเวียดนาม เป็นภาษาแม่ของประชากรเวียดนามถึงร้อยละ 87 รวมถึงผู้อพยพจากเวียดนามประมาณ 2 ล้านคน และรวมถึงชาวเวียดนาม-อเมริกันเป็นจำนวนพอสมควรด้วย ถึงแม้ว่าจะมีการยืมคำศัพท์จากภาษาจีนและเดิมใช้อักษรจีนเขียน แต่นักภาษาศาสตร์ยังคงจัดภาษาเวียดนามให้เป็นภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติกซึ่งในกลุ่มนี้ภาษาเวียดนามมีผู้พูดมากที่สุด (10 เท่าของภาษาที่มีจำนวนคนพูดเป็นอันดับรองลงมา คือ ภาษาเขมร) ในด้านระบบการเขียนของภาษาเวียดนามนั้น แต่เดิมใช้ตัวเขียนจีน เรียกว่า "จื๋อญอ" ต่อมาชาวเวียดนามได้พัฒนาตัวเขียนจีนเพื่อใช้เขียนภาษาเวียดนาม เรียกว่า "จื๋อโนม" แต่ในปัจจุบันเวียดนามใช้ตัวอักษรโรมันที่พัฒนาขึ้นโดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส โดยเครื่องหมายเสริมสัทอักษรใช้เป็นวรรณยุกต.

ใหม่!!: ไฉ่สิ่งเอี้ยและภาษาเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามเทวดาจีน

ทความนี้รวบรวมเทพเจ้าของจีนต่าง.

ใหม่!!: ไฉ่สิ่งเอี้ยและรายพระนามเทวดาจีน · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมบริตานิกา

รานุกรมบริตานิกา (Encyclopædia Britannica) เป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยบริษัท Encyclopædia Britannica, Inc.

ใหม่!!: ไฉ่สิ่งเอี้ยและสารานุกรมบริตานิกา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฮันกึล

"ฮันกึล" จะเห็นว่าใน 1 คำ ประกอบด้วยพยัญชนะและสระ ภาพส่วนหนึ่งของเอกสาร "ฮูมิน จองอึม" ฮันกึล (한글, Hangeul, Hangul) เป็นชื่อเรียกตัวอักษรของเกาหลีที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นใช้แทนตัวอักษรฮันจา ฮันจานั้นหมายถึงตัวอักษรจีนที่ใช้ในภาษาเกาหลีก่อนที่จะมีการประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้แทนโดยพระเจ้าเซจงมหาราช (세종대왕).

ใหม่!!: ไฉ่สิ่งเอี้ยและอักษรฮันกึล · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวย่อ

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ภาษาฮั่น หรือ ภาษาจีนกลาง เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ แผนภาพออยเลอร์แสดงกลุ่มของการเปลี่ยนแปลงอักษรจีนตัวเต็มไปเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีนตัวย่อ (เจี่ยนถี่จื้อ/เจี่ยนฮั่วจื้อ) เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน อักษรจีนตัวย่อประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 เหตุที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวย่อ หรือ Simplified Chinese character ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวเต็ม หรือ Traditional Chinese Character (อักษรจีนดั้งเดิม) อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: ไฉ่สิ่งเอี้ยและอักษรจีนตัวย่อ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวเต็ม

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ตัวอักษรจีน เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็ม อักษรจีนตัวเต็ม เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน ปรากฏครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 - 763) และได้ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวเต็ม หรืออักษรจีนดั้งเดิม ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวย่อ ซึ่งประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: ไฉ่สิ่งเอี้ยและอักษรจีนตัวเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

ตรุษจีน

pinoy301770 ตรุษจีน เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุด ในประเทศจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ" เพราะฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินจีนเริ่มต้นด้วยวันลีชุน ซึ่งเป็นวันแรกในทางสุริยคติของปีปฏิทินจีน วันดังกล่าวยังเป็นวันสิ้นสุดฤดูหนาว ซึ่งคล้ายกันกับงานเทศกาลของตะวันตก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 (正月) ในปฏิทินจีนโบราณและสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ด้วยเทศกาลโคมไฟ คืนก่อนตรุษจีนเป็นวันซึ่งครอบครัวจีนมารวมญาติเพื่อรับประทานอาหารเย็นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกว่า ฉูซี่ (除夕) หรือ "การผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน" เนื่องจากปฏิทินจีนเป็นแบบสุริยจันทรคติ ตรุษจีนจึงมักเรียกว่า "วันขึ้นปีใหม่จันทรคติ" ตรุษจีนเป็นงานเฉลิมฉลองที่ยาวที่สุดและสำคัญที่สุดในปฏิทินจีน จุดกำเนิดของตรุษจีนนั้นมีประวัติหลายศตวรรษและมีความสำคัญเพราะตำนานและประเพณีหลายอย่าง ตรุษจีนมีการเฉลิมฉลองกันในหลายประเทศและดินแดนซึ่งมีประชากรจีนอาศัยอยู่มาก อย่างเช่น จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเก๊า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย รวมทั้งในชุมชนชาวจีนที่อื่น ตรุษจีนถูกมองว่าเป็นวันหยุดสำคัญสำหรับชาวจีนและได้มีอิทธิพลต่อการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่จันทรคติของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมทั้งเกาหลี (โซลนาล) ภูฏาน และเวียดนาม ในประเทศจีน ธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่นเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองตรุษจีนนั้นหลากหลายมาก ประชาชนจะเทเงินของตนเพื่อซื้อของขวัญ ของประดับตกแต่ง วัสดุ อาหารและเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ยังมีประเพณีว่า ทุกครอบครัวจะทำความสะอาดบ้านอย่างละเอียดลออ เพื่อปัดกวาดโชคร้ายด้วยหวังว่าจะเปิดทางให้โชคดีเข้ามา มีการประดับหน้าต่างและประตูด้วยกระดาษตัดสีแดงและคู่กับธีม "โชคดี", "ความสุข", "ความมั่งคั่ง" และ "ชีวิตยืนยาว" ที่ได้รับความนิยม ในคืนก่อนตรุษจีน อาหารค่ำเป็นการกินเลี้ยงกับครอบครัว อาหารนั้นจะมีเช่น หมู เป็ด ไก่และอาหารอย่างดี (delicacies) รสหวาน ครอบครัวจะปิดท้ายค่ำคืนด้วยประทัด เช้าวันรุ่งขึ้น เด็กจะทักทายบิดามารดาของตนโดยอวยพรพวกท่านให้มีสุขภาพดีและสวัสดีปีใหม่ และได้รับเงินอั่งเปา ประเพณีตรุษจีนนั้นเพื่อการสมานฉันท์ ลืมความบาดหมางและปรารถนาสันติและความสุขแก่ทุกคนอย่างจริงใจ แม้ปฏิทินจีนแต่โบราณไม่ใช้ปีตัวเลขต่อเนื่องกัน นอกประเทศจีน ปีจีนจึงมักนับเลขนับแต่รัชสมัยจักรพรรดิเหลือง แต่เนื่องจากมีการกำหนดให้อย่างน้อยสามปีเป็นเลข 1 ที่นักวิชาการใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน จึงทำให้ปี..

ใหม่!!: ไฉ่สิ่งเอี้ยและตรุษจีน · ดูเพิ่มเติม »

ปี่ กั้น

ปี่ กั้น  เป็นบุคคลที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ซาง เขาเป็นบุตรชายของกษัตริย์เหวิน ติง และเป็นลุงคนสุดท้ายกษัตริย์ชางที่ดิซิน.

ใหม่!!: ไฉ่สิ่งเอี้ยและปี่ กั้น · ดูเพิ่มเติม »

ไทยรัฐ

ทยรัฐ (Thai Rath) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย นำเสนอข่าวทั่วไป ที่มียอดจำหน่ายมากที่สุดในประเทศไทย จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2523 ก่อตั้งโดยกำพล วัชรพล ปัจจุบันมี บริษัท วัชรพล จำกัด เป็นเจ้าของ, ยิ่งลักษณ์ วัชรพล เป็นผู้อำนวยการ และสราวุธ วัชรพล เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ มีจำนวนพิมพ์ปัจจุบันที่ 1,000,000 ฉบับ ราคาจำหน่าย 10.00 บาท.

ใหม่!!: ไฉ่สิ่งเอี้ยและไทยรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

เกาหลี

กาหลี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ไฉ่สิ่งเอี้ยและเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

เทวดา

ระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทวดา (devatā) หรือ เทพ (deva เทว) ตามคติความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ หมายถึง ชาวสวรรค์ที่เป็นโอปปาติกะ มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ และเสวยสุขในสรวงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นภพภูมิที่ดี เทวดาผู้หญิงเรียกว่า เทวี หรือ "เทพี" หรือ นางฟ้า เทวดาผู้มีมิจฉาทิฐิ เรียกว่า มาร คำว่า เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น สุริยเทพ เทพเจ้าแห่งสายฟ้.

ใหม่!!: ไฉ่สิ่งเอี้ยและเทวดา · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลกินเจ

ทศกาลกินเจ หรือ กินแจ (九皇勝會 Jiǔ huán Shèng huì; ฮกเกี้ยน: กิ้วอ๋องเซ่งโห่ย; Nine Emperor Gods Festival หรือ 九皇大帝誕; ฮกเกี้ยน: กิ้วอ๋องไต่เต้ตั้น) หรือบางแห่งเรียกว่า ประเพณีถือศีลกินผัก เป็นประเพณีแบบลัทธิเต๋ารวม 9 วัน กำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี มีจุดเริ่มต้นจากประเทศจีนมานานแล้ว โดยมีตำนานเล่าขานกันหลายตำนาน ปัจจุบัน เทศกาลกินเจจัดขึ้นในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ตลอดจนหมู่เกาะเรียวในอินโดนีเซียและอาจมีในบางประเทศเอเชีย เช่น ภูฏาน ญี่ปุ่น เกาหลี และประเทศจีน(ประกอบด้วยฮ่องกงและมฑทณไต้หวัน) ซึ่งการกินเจในเดือน 9 นี้ เชื่อกันว่าน่าจะเกิดขึ้นเมื่อราว..

ใหม่!!: ไฉ่สิ่งเอี้ยและเทศกาลกินเจ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ไฉซิ้งเอี้ยไฉ่ซิ้งเอี้ย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »