โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เคแมนแคระกูว์วีเย

ดัชนี เคแมนแคระกูว์วีเย

แมนแคระกูว์วีเย (Cuvier's dwarf caiman, Cuvier's caiman, Smooth-fronted caiman, Musky caiman) เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง จำพวกเคแมน จัดอยู่ในวงศ์แอลลิเกเตอร์ (Alligatoridae) จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับจระเข้ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง มีขนาดยาวเต็มที่ประมาณ 1.4 เมตร (4.6 ฟุต) ในตัวผู้ และ 1.2 เมตร (3.9 ฟุต) ในตัวเมีย น้ำหนักประมาณ 6 ถึง 7 กิโลกรัม (13 ถึง 15 ปอนด์) ถูกค้นพบและบรรยายทางวิทยาศาสตร์โดยฌอร์ฌ กูว์วีเย (Georges Cuvier) นักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ค้นพบเป็นบุคคลแรก โดยสถานที่ค้นพบครั้งแรกคือเมืองกาแยนในเฟรนช์เกียนา โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์ คำว่า Paleosuchus มาจากคำภาษากรีกว่า palaios หมายถึง "โบราณ" และ soukhos หมายถึง "จระเข้" เพราะเชื่อว่าเคแมนแคระกูว์วีเยสืบสายพันธุ์มาจากสัตว์ในอันดับจระเข้โบราณอายุนานกว่า 30 ล้านปี และคำว่า palpebrosus มาจากภาษาละติน palpebra หมายถึง "เปลือกตา" และ osus หมายถึง "เต็มไปด้วย" ซึ่งหมายถึงแผ่นกระดูกที่ปรากฏอยู่เหนือเปลือกตา ส่วนหัว เคแมนแคระกูว์วีเย กระจายพันธุ์อยู่ในป่าทึบของลุ่มน้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ โดยอาศัยในพื้นที่ที่เป็นแม่น้ำและทะเลสาบ การฟักไข่เหมือนกับเคแมนชนิดอื่น ๆ คือ ใช้ความร้อนจากแสงแดดหรือความร้อนจากการเน่าสลายของพรรณพืชที่ใช้ปกคลุมรังเพื่อการฟักเป็นตัว เคแมนแคระกูว์วีเยไม่มีชนิดย่อย กินอาหารได้หลากหลายชนิด ทั้งสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ, ปลา, ปู, นก, กุ้ง, หอย, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก รวมถึงแมลงปีกแข็งและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังด้วย เนื่องจากเป็นสัตว์ขนาดเล็กจึงนิยมเลี้่ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงด้ว.

11 ความสัมพันธ์: กาแยนภาษากรีกภาษาละตินวงศ์แอลลิเกเตอร์สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานอันดับจระเข้เฟรนช์เกียนาเคแมนเคแมนแคระ

กาแยน

เมืองกาแยน thumb กาแยน (Cayenne) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเฟรนช์เกียนา ซึ่งเป็นจังหวัดโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด มีพื้นที่ติดกับทะเล มีประชากร 116,124 คน หมวดหมู่:เฟรนช์เกียนา.

ใหม่!!: เคแมนแคระกูว์วีเยและกาแยน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: เคแมนแคระกูว์วีเยและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: เคแมนแคระกูว์วีเยและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์แอลลิเกเตอร์

วงศ์แอลลิเกเตอร์ (Alligator, Caiman; ชื่อวิทยาศาสตร์: Alligatoridae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับจระเข้ (Crocodylia) ที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ที่แยกออกจากวงศ์ Crocodylidae หรือวงศ์ของจระเข้ทั่วไป โดยวงศ์แอลลิเกเตอร์ปรากฏขึ้นมายุคครีเตเชียสเป็นครั้งแรก และไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงรูปร่างจากเดิมมากนักจนถึงปัจจุบันจนอาจเรียกว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่งก็ว่าได้ รูปร่างและลักษณะของวงศ์แอลลิเกเตอร์ จะแตกต่างจากจระเข้ในวงศ์ Crocodylidae คือ ปลายปากมีลักษณะคล้ายตัวอักษรยู (U) เมื่อหุบปากแล้วฟันที่ขากรรไกรล่างจะสวมเข้าไปในร่องของขากรรไกรบนจึงมองไม่เห็นฟันของขากรรไกรล่าง ส่วนปลายของขากรรไกรล่างซ้ายและขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกเอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ห่างจากแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลาเป็นช่องกว้าง กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกชิ้นยาวอยู่ทางด้านหน้าและยื่นเลยช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ้นมีสารเคอราติน ไม่มีต่อมขจัดเกลือบนลิ้น แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย คือ Alligatorinae คือ แอลลิเกเตอร์อเมริกัน (Alligator mississippiensis) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด พบได้ในสหรัฐอเมริกาอย่างกว้างขวาง และแอลลิเกเตอร์จีน (A. sinensis) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก พบได้เฉพาะพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแยงซีในภาคตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น และ Caimaninae ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า และเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อสามัญว่า "จระเข้เคแมน" ซึ่งพบได้ตั้งแต่อเมริกากลางจนถึงทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เพราะมีขนาดเล็ก โดยแต่เดิมนั้น แอลลิเกเตอร์มีจำนวนสมาชิกของวงศ์มากกว่านี้ แต่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ซึ่งปัจจุบันในสองวงศ์ย่อยนี้รวมกันแล้วมีจำนวนเพียง 8 ชนิดเท่านั้น.

ใหม่!!: เคแมนแคระกูว์วีเยและวงศ์แอลลิเกเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: เคแมนแคระกูว์วีเยและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: เคแมนแคระกูว์วีเยและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: เคแมนแคระกูว์วีเยและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับจระเข้

อันดับจระเข้ (Crocodile, Gharial, Alligator, Caiman) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานโบราณที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crocodilia หรือ Crocodylia ที่รู้จักกันดีในชื่อของ "จระเข้" โดยอันดับนี้ปรากฏขึ้นมาบนโลกมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียส (84 ล้านปีมาแล้ว) จนถึงปัจจุบัน เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ มีแผ่นแข็งและหนาปกคลุมลำตัวคล้ายเกล็ด แผ่นแข็งที่ปกคลุมลำตัวด้านหลังมีกระดูกชิ้นใหญ่อยู่ในชั้นหนังซึ่งในหลายชนิดมีกระดูกในชั้นหนังทางด้านท้องด้วย แผ่นแข็งของวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีแอ่งทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึกสัมผัสได้ ส่วนของปลายหัวยื่นยาวและมีฟันอยู่ในแอ่งของขากรรไกร ตามีแผ่นหนังโปร่งใสคลุมทับขณะดำน้ำ หางมีขนาดใหญ่ ขามีขนาดใหญ่แต่สั้นและแข็งแรงและมีแผ่นหนังเรียกว่าพังผืดยิดติดระหว่างนิ้ว ใช้ในการว่ายน้ำ ในวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีต่อมขจัดเกลืออยู่บนลิ้น เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ แบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ (ดูในตาราง) ปัจจุบันพบทั้งหมด 25 ชนิด แต่ในบางข้อมูลอาจจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกันหมด แต่แบ่งออกมาเป็นวงศ์ย่อย โดยเฉพาะความสัมพันธ์กันระห่างสกุล Tomistoma กับ สกุล Gavialis เพราะการวิเคราะห์ทางกายภาคจัดว่า Tomistoma นั้นอยู่ในวงศ์ Crocodylidae แต่การวิเคราะห์ทางโมเลกุล พบว่าใกล้เคียงกับสกุล Gavialis ที่อยู่ในวงศ์ Gavialidae มากกว่า (ในบางข้อมูลอาจจะยังจัดให้อยู่ในวงศ์ Crocodylidae) เป็นสัตว์กินเนื้อ ที่หากินในน้ำเป็นหลัก จึงมีสภาพของร่างกายใช้ชีวิตได้ดีเมื่ออยู่ในน้ำ กล่าวคือ ช่องเปิดจมูกอยู่ทางด้านบนตรงส่วนปลายสุดของส่วนหัวที่ยื่นยาวและช่องเปิดจมูกมีแผ่นลิ้นปิดได้อยู่ใต้น้ำ อุ้งปากมีเพดานปากทุติยภูมิเจริญขึ้นมาจึงแยกปากออกจากโพรงจมูกได้สมบูรณ์ โพรงจมูกทางด้านท้ายสุดของเพดานปากทุติยภูมิมีแผ่นลิ้นปิดเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้สามารถหายใจได้เมื่ออยู่ในน้ำขณะที่คาบอาหารอยู่ นอกจากนี้แล้วยังมีแผ่นเยื่อแบ่งแยกช่องอกออกจากช่องท้องซึ่งแผ่นเยื่อนี้ทำหน้าที่เหมือนกะบังลมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่เจริญจากเนื้อเยื่อที่ต่างกัน ปอดจึงมีถุงลมที่เจริญกว่าปอดของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับอื่น การแลกเปลี่ยนก๊าซจึงมีประสิทธิภาพสูงกว่า หัวใจมี 4 ห้องและมีลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกับหัวใจของสัตว์ปีก ซึ่งเป็นสัตว์ในชั้นที่วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานจำพวกไดโนเสาร์เช่นกัน แต่การปะปนกันของเลือดยังคงเกิดขึ้นบ้างทางช่องตรงตำแหน่งที่หลอดเลือดแดงซีสทีมิกซ้ายและหลอดเลือดแดงซิสทีมิกขวาทอดข้ามกัน และสามารถควบคุมการไหลเวียนของเลือดให้ไปเฉพาะสมองได้ขณะดำน้ำ ขณะอยู่บนบกแม้ไม่คล่องเท่าอยู่ในน้ำ แต่ก็เดินหรือวิ่งได้ดี โดยจะใช้ขายกลำตัวขึ้น และมีรายงานว่า จระเข้น้ำจืดออสเตรเลีย (Crocodylus johnsoni) สามารถกระโดดเมื่ออยู่บนบกได้ด้วย ภาพของสัตว์ในอันดับจระเข้ชนิดต่าง ๆ เมื่อเทียบกับมนุษย์ (สีแดง & สีส้ม-สูญพันธุ์ไปแล้ว) ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ในดินหรือทรายริมตลิ่งที่ปะปนด้วยพืชจำพวกหญ้าหรือวัชพืชต่าง ๆ ปกคลุม หรือในบางพื้นที่อาจวางไข่ในแหล่งน้ำหรือพื้นที่เปิดโล่ง ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแลไข่จนกระทั่งฟักออกมา ซึ่งมีความรักและผูกพันต่อลูกมาก ซึ่งเป็นลักษณะการดูแลลูกของสัตว์ในอันดับอาร์โคซอร์ เช่นเดียวกับสัตว์ปีกและไดโนเสาร์ การกำหนดเพศของตัวอ่อนขึ้นอยู่กับปัจจัยทางอุณหภูมิ อาหารส่วนมากเป็นสัตว์น้ำ แต่ก็อาจจะกินสัตว์อย่างอื่นหรือแม้กระทั่งสัตว์ที่ใหญ่กว่าได้ โดยมีมักหากินในเวลากลางคืน โดยลากลงไปในน้ำและใช้วิธีกดให้เหยื่อจมน้ำตายก่อนแล้วจึงกิน นับเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีประสิทธิภาพในการล่าเหยื่อสูงมากจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก และพบได้จนถึงแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าโกงกาง แม้ส่วนใหญ่จะอาศัยและหากินในน้ำจืดเป็นหลักก็ตาม.

ใหม่!!: เคแมนแคระกูว์วีเยและอันดับจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

เฟรนช์เกียนา

ฟรนช์เกียนา (French Guiana) หรือ กุยยานฟร็องแซซ (Guyane française) เป็นจังหวัดโพ้นทะเล (département d'outre-mer) ของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ทิศเหนือจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับประเทศบราซิล และทางทิศตะวันตกติดกับประเทศซูรินาม เช่นเดียวกับจังหวัดโพ้นทะเลของฝรั่งเศสจังหวัดอื่น ๆ เฟรนช์เกียนายังมีฐานะเป็นแคว้นโพ้นทะเล (région d'outre-mer) ซึ่งเป็น 1 ใน 18 แคว้นของประเทศฝรั่งเศสด้วย โดยถือเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับประเทศฝรั่งเศสในทวีปยุโรปและใช้สกุลเงินยูโรเช่นกัน.

ใหม่!!: เคแมนแคระกูว์วีเยและเฟรนช์เกียนา · ดูเพิ่มเติม »

เคแมน

แมน หรือ ไคแมน (Caiman) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับจระเข้ในวงศ์ย่อย Caimaninae ในวงศ์ Alligatoridae พบกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปอเมริกาใต้ ตั้งแต่ตอนกลางของเม็กซิโกไปจนถึงเอกวาดอร์ และทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีสไปจนถึงอุรุกวัย, ปารากวัย และทางตอนเหนือของอาร์เจนตินา เคแมน มีขนาดที่เล็กกว่าแอลลิเกเตอร์ มีกระดูกฮัยออยด์เป็นชิ้นกว้าง ช่องเปิดจมูกมีช่องเดียวขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำน้ำที่มีกระแสน้ำไม่แรง หลากหลายลักษณะ วางไข่บนกองดินและใช้หางปัดกวาดพรรณพืชต่าง ๆ มากองรวมกัน บางชนิดใช้ความร้อนจากแสงแดดหรือความร้อนจากการเน่าสลายของพรรณพืชสำหรับการฟักไข่ ขนาดเล็กที่สุด มีขนาดโตเต็มที่ 1.7 เมตร ขนาดใหญ่ที่สุดโตเต็มที่ได้ 2-5 เมตร ในสกุลที่สูญพันธุ์ไปแล้ว Purussaurus มีความยาวได้ถึง 12 เมตร และ Mourasuchus ซึ่งมีขนาดใหญ่เหมือนกัน มีจมูกกว้างเหมือนเป็.

ใหม่!!: เคแมนแคระกูว์วีเยและเคแมน · ดูเพิ่มเติม »

เคแมนแคระ

แมนแคระ หรือ ไคแมนแคระ (Dwarf caiman) เป็นสกุลของเคแมนที่จัดอยู่ในสกุล Paleosuchus (/พา-ลี-โอ-ซู-ชัส/) ในวงศ์ Alligatoridae เคแมนแคระ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 1.7 เมตร จัดเป็นสัตว์ในอันดับจระเข้ที่มีขนาดเล็ก อาศัยและกระจายพันธุ์ในลุ่มน้ำอเมซอน ในทวีปอเมริกาใต้ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: เคแมนแคระกูว์วีเยและเคแมนแคระ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Crocodilus palpebrosusCuvier's dwarf caimanPaleosuchus palpebrosusไคแมนแคระคูเวียร์เคแมนแคระคูเวียร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »