โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เคแมน

ดัชนี เคแมน

แมน หรือ ไคแมน (Caiman) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับจระเข้ในวงศ์ย่อย Caimaninae ในวงศ์ Alligatoridae พบกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปอเมริกาใต้ ตั้งแต่ตอนกลางของเม็กซิโกไปจนถึงเอกวาดอร์ และทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีสไปจนถึงอุรุกวัย, ปารากวัย และทางตอนเหนือของอาร์เจนตินา เคแมน มีขนาดที่เล็กกว่าแอลลิเกเตอร์ มีกระดูกฮัยออยด์เป็นชิ้นกว้าง ช่องเปิดจมูกมีช่องเดียวขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำน้ำที่มีกระแสน้ำไม่แรง หลากหลายลักษณะ วางไข่บนกองดินและใช้หางปัดกวาดพรรณพืชต่าง ๆ มากองรวมกัน บางชนิดใช้ความร้อนจากแสงแดดหรือความร้อนจากการเน่าสลายของพรรณพืชสำหรับการฟักไข่ ขนาดเล็กที่สุด มีขนาดโตเต็มที่ 1.7 เมตร ขนาดใหญ่ที่สุดโตเต็มที่ได้ 2-5 เมตร ในสกุลที่สูญพันธุ์ไปแล้ว Purussaurus มีความยาวได้ถึง 12 เมตร และ Mourasuchus ซึ่งมีขนาดใหญ่เหมือนกัน มีจมูกกว้างเหมือนเป็.

16 ความสัมพันธ์: วงศ์แอลลิเกเตอร์สกุล (ชีววิทยา)สมัยไพลโอซีนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์อันดับจระเข้จระเข้ตีนเป็ดประเทศอาร์เจนตินาประเทศอุรุกวัยประเทศปารากวัยประเทศเม็กซิโกประเทศเอกวาดอร์เคแมนแคระเคแมนแคระกูว์วีเย

วงศ์แอลลิเกเตอร์

วงศ์แอลลิเกเตอร์ (Alligator, Caiman; ชื่อวิทยาศาสตร์: Alligatoridae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับจระเข้ (Crocodylia) ที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ที่แยกออกจากวงศ์ Crocodylidae หรือวงศ์ของจระเข้ทั่วไป โดยวงศ์แอลลิเกเตอร์ปรากฏขึ้นมายุคครีเตเชียสเป็นครั้งแรก และไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงรูปร่างจากเดิมมากนักจนถึงปัจจุบันจนอาจเรียกว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่งก็ว่าได้ รูปร่างและลักษณะของวงศ์แอลลิเกเตอร์ จะแตกต่างจากจระเข้ในวงศ์ Crocodylidae คือ ปลายปากมีลักษณะคล้ายตัวอักษรยู (U) เมื่อหุบปากแล้วฟันที่ขากรรไกรล่างจะสวมเข้าไปในร่องของขากรรไกรบนจึงมองไม่เห็นฟันของขากรรไกรล่าง ส่วนปลายของขากรรไกรล่างซ้ายและขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกเอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ห่างจากแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลาเป็นช่องกว้าง กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกชิ้นยาวอยู่ทางด้านหน้าและยื่นเลยช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ้นมีสารเคอราติน ไม่มีต่อมขจัดเกลือบนลิ้น แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย คือ Alligatorinae คือ แอลลิเกเตอร์อเมริกัน (Alligator mississippiensis) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด พบได้ในสหรัฐอเมริกาอย่างกว้างขวาง และแอลลิเกเตอร์จีน (A. sinensis) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก พบได้เฉพาะพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแยงซีในภาคตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น และ Caimaninae ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า และเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อสามัญว่า "จระเข้เคแมน" ซึ่งพบได้ตั้งแต่อเมริกากลางจนถึงทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เพราะมีขนาดเล็ก โดยแต่เดิมนั้น แอลลิเกเตอร์มีจำนวนสมาชิกของวงศ์มากกว่านี้ แต่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ซึ่งปัจจุบันในสองวงศ์ย่อยนี้รวมกันแล้วมีจำนวนเพียง 8 ชนิดเท่านั้น.

ใหม่!!: เคแมนและวงศ์แอลลิเกเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: เคแมนและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลโอซีน

Diodora italica จากสมัยไพลโอซีนของไซปรัส สมัยไพลโอซีน (Pliocene หรือ Paleocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคนีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 5.333 ถึง 2.588See the 2009 version of the ICS geologic time scale: ล้านปีก่อนปัจจุบัน สมัยไพลโอซีนเป็นสมัยที่สองและสมัยใหม่ที่สุดของยุคนีโอจีนของมหายุคซีโนโซอิก สมัยไพลโอซีนต่อมาจากสมัยไมโอซีนและตามด้วยสมัยไพลสโตซีน ชื่อของสมัยตั้งโดยนักธรณีวิทยาชาลส์ ไลเอลล์ ที่มาจากคำในภาษากรีกว่า πλεῖον (pleion แปลว่า "มาก") และ καινός (kainos ที่แปลว่า "ใหม่") ที่แปลง่าย ๆ ว่า "สมัยที่ตามมาจากสมัยปัจจุบัน" ที่หมายถึงสมัยของสัตว์ทะเลมอลลัสกาของสมัยใหม.

ใหม่!!: เคแมนและสมัยไพลโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: เคแมนและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: เคแมนและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: เคแมนและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: เคแมนและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับจระเข้

อันดับจระเข้ (Crocodile, Gharial, Alligator, Caiman) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานโบราณที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crocodilia หรือ Crocodylia ที่รู้จักกันดีในชื่อของ "จระเข้" โดยอันดับนี้ปรากฏขึ้นมาบนโลกมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียส (84 ล้านปีมาแล้ว) จนถึงปัจจุบัน เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ มีแผ่นแข็งและหนาปกคลุมลำตัวคล้ายเกล็ด แผ่นแข็งที่ปกคลุมลำตัวด้านหลังมีกระดูกชิ้นใหญ่อยู่ในชั้นหนังซึ่งในหลายชนิดมีกระดูกในชั้นหนังทางด้านท้องด้วย แผ่นแข็งของวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีแอ่งทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึกสัมผัสได้ ส่วนของปลายหัวยื่นยาวและมีฟันอยู่ในแอ่งของขากรรไกร ตามีแผ่นหนังโปร่งใสคลุมทับขณะดำน้ำ หางมีขนาดใหญ่ ขามีขนาดใหญ่แต่สั้นและแข็งแรงและมีแผ่นหนังเรียกว่าพังผืดยิดติดระหว่างนิ้ว ใช้ในการว่ายน้ำ ในวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีต่อมขจัดเกลืออยู่บนลิ้น เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ แบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ (ดูในตาราง) ปัจจุบันพบทั้งหมด 25 ชนิด แต่ในบางข้อมูลอาจจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกันหมด แต่แบ่งออกมาเป็นวงศ์ย่อย โดยเฉพาะความสัมพันธ์กันระห่างสกุล Tomistoma กับ สกุล Gavialis เพราะการวิเคราะห์ทางกายภาคจัดว่า Tomistoma นั้นอยู่ในวงศ์ Crocodylidae แต่การวิเคราะห์ทางโมเลกุล พบว่าใกล้เคียงกับสกุล Gavialis ที่อยู่ในวงศ์ Gavialidae มากกว่า (ในบางข้อมูลอาจจะยังจัดให้อยู่ในวงศ์ Crocodylidae) เป็นสัตว์กินเนื้อ ที่หากินในน้ำเป็นหลัก จึงมีสภาพของร่างกายใช้ชีวิตได้ดีเมื่ออยู่ในน้ำ กล่าวคือ ช่องเปิดจมูกอยู่ทางด้านบนตรงส่วนปลายสุดของส่วนหัวที่ยื่นยาวและช่องเปิดจมูกมีแผ่นลิ้นปิดได้อยู่ใต้น้ำ อุ้งปากมีเพดานปากทุติยภูมิเจริญขึ้นมาจึงแยกปากออกจากโพรงจมูกได้สมบูรณ์ โพรงจมูกทางด้านท้ายสุดของเพดานปากทุติยภูมิมีแผ่นลิ้นปิดเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้สามารถหายใจได้เมื่ออยู่ในน้ำขณะที่คาบอาหารอยู่ นอกจากนี้แล้วยังมีแผ่นเยื่อแบ่งแยกช่องอกออกจากช่องท้องซึ่งแผ่นเยื่อนี้ทำหน้าที่เหมือนกะบังลมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่เจริญจากเนื้อเยื่อที่ต่างกัน ปอดจึงมีถุงลมที่เจริญกว่าปอดของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับอื่น การแลกเปลี่ยนก๊าซจึงมีประสิทธิภาพสูงกว่า หัวใจมี 4 ห้องและมีลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกับหัวใจของสัตว์ปีก ซึ่งเป็นสัตว์ในชั้นที่วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานจำพวกไดโนเสาร์เช่นกัน แต่การปะปนกันของเลือดยังคงเกิดขึ้นบ้างทางช่องตรงตำแหน่งที่หลอดเลือดแดงซีสทีมิกซ้ายและหลอดเลือดแดงซิสทีมิกขวาทอดข้ามกัน และสามารถควบคุมการไหลเวียนของเลือดให้ไปเฉพาะสมองได้ขณะดำน้ำ ขณะอยู่บนบกแม้ไม่คล่องเท่าอยู่ในน้ำ แต่ก็เดินหรือวิ่งได้ดี โดยจะใช้ขายกลำตัวขึ้น และมีรายงานว่า จระเข้น้ำจืดออสเตรเลีย (Crocodylus johnsoni) สามารถกระโดดเมื่ออยู่บนบกได้ด้วย ภาพของสัตว์ในอันดับจระเข้ชนิดต่าง ๆ เมื่อเทียบกับมนุษย์ (สีแดง & สีส้ม-สูญพันธุ์ไปแล้ว) ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ในดินหรือทรายริมตลิ่งที่ปะปนด้วยพืชจำพวกหญ้าหรือวัชพืชต่าง ๆ ปกคลุม หรือในบางพื้นที่อาจวางไข่ในแหล่งน้ำหรือพื้นที่เปิดโล่ง ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแลไข่จนกระทั่งฟักออกมา ซึ่งมีความรักและผูกพันต่อลูกมาก ซึ่งเป็นลักษณะการดูแลลูกของสัตว์ในอันดับอาร์โคซอร์ เช่นเดียวกับสัตว์ปีกและไดโนเสาร์ การกำหนดเพศของตัวอ่อนขึ้นอยู่กับปัจจัยทางอุณหภูมิ อาหารส่วนมากเป็นสัตว์น้ำ แต่ก็อาจจะกินสัตว์อย่างอื่นหรือแม้กระทั่งสัตว์ที่ใหญ่กว่าได้ โดยมีมักหากินในเวลากลางคืน โดยลากลงไปในน้ำและใช้วิธีกดให้เหยื่อจมน้ำตายก่อนแล้วจึงกิน นับเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีประสิทธิภาพในการล่าเหยื่อสูงมากจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก และพบได้จนถึงแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าโกงกาง แม้ส่วนใหญ่จะอาศัยและหากินในน้ำจืดเป็นหลักก็ตาม.

ใหม่!!: เคแมนและอันดับจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

จระเข้ตีนเป็ด

แอลลิเกเตอร์ หรือ จระเข้ตีนเป็ด (Alligators; เรียกสั้น ๆ ว่า เกเตอร์: Gators) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับจระเข้ (Crocodilia) ในวงศ์ Alligatoridae ใช้ชื่อสกุลว่า Alligator แอลลิเกเตอร์เป็นจระเข้ที่อยู่ในวงศ์ Alligatoridae ซึ่งแยกมาจากจระเข้ทั่วไปส่วนใหญ่ที่จะอยู่ในวงศ์ Crocodylidae ซึ่งแยกออกมาจากกันราว 200 ล้านปีก่อน ในมหายุคมีโซโซอิก และไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่าง แอลลิเกเตอร์จึงจัดเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่ง แอลลิเกเตอร์ มีลักษณะที่แตกต่างไปจากจระเข้ในวงศ์ Crocodylidae หรือจระเข้ทั่วไป คือ เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นจะงอยปากสั้นและเป็นรูปตัวยู รูจมูกมีขนาดใหญ่ และเมื่อหุบปากแล้วฟันล่างจะไม่โผล่ออกมาให้เห็น เพราะมีส่วปลายของหัวแผ่กว้างและขากรรไกรยาว ส่วนปลายของขากรรไกรล่างซ้ายและขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกแอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ห่างจากแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลาเป็นช่องกว้าง กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกชิ้นยาวอยู่ทางด้านหน้าและยื่นเลยช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ่นมีสารเคอราติน ไม่มีต่อมขจัดเกลือบนลิ้น ปัจจุบัน แอลลิเกเตอร์ มีอยู่ 2 ชนิดเท่านั้น คือ แอลลิเกเตอร์อเมริกัน (Alligator mississippiensis) ซึ่งถือเป็นสัตว์จำพวกจระเข้ที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ และแอลลิเกเตอร์จีน (A. sinensis) ที่พบในลุ่มแม่น้ำแยงซีในประเทศจีนเท่านั้น และเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว ซึ่งคำว่า แอลลิเกเตอร์นั้น มาจากภาษาสเปนคำว่า "Lagarto" หมายถึง "สัตว์เลื้อยคลาน".

ใหม่!!: เคแมนและจระเข้ตีนเป็ด · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอาร์เจนตินา

อาร์เจนตินา (อังกฤษและArgentina อารฺเฆนตีนา (สเปน)) หรือชื่อทางการ สาธารณรัฐอาร์เจนตินา (Argentine Republic; República Argentina) เป็นหนึ่งในประเทศในทวีปอเมริกาใต้ (ลาตินอเมริกา) ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอนดีสทางทิศตะวันตก และมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ มีพรมแดนจดประเทศปารากวัยและประเทศโบลิเวียทางภาคเหนือ จดประเทศอุรุกวัยและประเทศบราซิลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจดประเทศชิลีทางภาคตะวันตกและภาคใต้ อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของทวีปอเมริกาใต้ รองจากบราซิล และมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก.

ใหม่!!: เคแมนและประเทศอาร์เจนตินา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอุรุกวัย

อุรุกวัย (Uruguay) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐบูรพาอุรุกวัย (República Oriental del Uruguay) เป็นประเทศเล็ก ๆ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตจรดประเทศบราซิลทางทิศเหนือ จรดแม่น้ำอุรุกวัยทางทิศตะวันตก จรดปากแม่น้ำรีโอเดลาปลาตา (มีความหมายตามตัวอักษรว่า "แม่น้ำแห่งแร่เงิน" แต่มักเป็นที่รู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า "แม่น้ำเพลต") ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีอาณาเขตของประเทศอาร์เจนตินาอยู่อีกฝั่ง และจรดมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประชากรประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศอาศัยอยู่ในเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือ กรุงมอนเตวิเดโอ อุรุกวัยเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของทวีปอเมริกาใต้ และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบการเมืองและระบบเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพที.

ใหม่!!: เคแมนและประเทศอุรุกวัย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปารากวัย

ปารากวัย (Paraguay; กวารานี: Paraguái) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐปารากวัย (República del Paraguay; กวารานี: Tetã Paraguái) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในทวีปอเมริกาใต้ ตั้งอยู่บนสองฝั่งแม่น้ำปารากวัย มีอาณาเขตจรดประเทศอาร์เจนตินาทางทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ จรดประเทศบราซิลทางทิศเหนือ และจรดประเทศโบลิเวียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อประเทศปารากวัยมีความหมายว่า "น้ำซึ่งไหลไปสู่น้ำ" (water that goes to the water) โดยมาจากคำในภาษากวารานี: ปารา (pará) แปลว่า มหาสมุทร, กวา (gua) แปลว่า สู่/จาก, และ อี (y) แปลว่า น้ำ วลีในภาษากวารานีมักจะอ้างถึงเมืองหลวงอาซุนซีออน แต่ถ้าเป็นในภาษาสเปนจะอ้างถึงทั้งประเท.

ใหม่!!: เคแมนและประเทศปารากวัย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเม็กซิโก

ม็กซิโก (Mexico; México) หรือชื่อทางการคือ สหรัฐเม็กซิโก (United Mexican States; Estados Unidos Mexicanos) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ มีพรมแดนทางทิศเหนือจรดสหรัฐอเมริกา ทิศใต้และทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันออกเฉียงใต้จรดกัวเตมาลา เบลีซ และทะเลแคริบเบียน ส่วนทิศตะวันออกจรดอ่าวเม็กซิโก เนื่องจากครอบคลุมพื้นที่ถึงเกือบ 2 ล้านตารางกิโลเมตร เม็กซิโกจึงเป็นประเทศที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของทวีปอเมริกา และเป็นอันดับที่ 15 ของโลก นอกจากนี้ยังมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก โดยมีการประมาณไว้ว่า เมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ประเทศนี้มีจำนวนประชากร 128,632,000 ล้านคน.

ใหม่!!: เคแมนและประเทศเม็กซิโก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเอกวาดอร์

อกวาดอร์ (Ecuador) หรือ สาธารณรัฐเอกวาดอร์ (República del Ecuador) เป็นประเทศในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับโคลอมเบียทางทิศเหนือ ติดต่อกับเปรูทางทิศตะวันออกและทางทิศใต้ และจรดมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตก ประเทศนี้มีอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะกาลาปาโกส (หมู่เกาะโกลอน) ในแปซิฟิก ตั้งอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ไปทางทิศตะวันตก 965 กิโลเมตร (ประมาณ 600 ไมล์) เนื่องจากบริเวณนี้ตั้งอยู่บริเวณที่เส้นศูนย์สูตรพาดผ่าน จึงได้รับการตั้งชื่อตามคำในภาษาสเปนว่า Ecuador ซึ่งก็ตรงกับ "equator" ในภาษาอังกฤษนั่นเอง เอกวาดอร์มีพื้นที่ 272,045 ตารางกิโลเมตร (105,037 ตารางไมล์) เมืองหลวงคือกรุงกีโต (Quito).

ใหม่!!: เคแมนและประเทศเอกวาดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เคแมนแคระ

แมนแคระ หรือ ไคแมนแคระ (Dwarf caiman) เป็นสกุลของเคแมนที่จัดอยู่ในสกุล Paleosuchus (/พา-ลี-โอ-ซู-ชัส/) ในวงศ์ Alligatoridae เคแมนแคระ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 1.7 เมตร จัดเป็นสัตว์ในอันดับจระเข้ที่มีขนาดเล็ก อาศัยและกระจายพันธุ์ในลุ่มน้ำอเมซอน ในทวีปอเมริกาใต้ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: เคแมนและเคแมนแคระ · ดูเพิ่มเติม »

เคแมนแคระกูว์วีเย

แมนแคระกูว์วีเย (Cuvier's dwarf caiman, Cuvier's caiman, Smooth-fronted caiman, Musky caiman) เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง จำพวกเคแมน จัดอยู่ในวงศ์แอลลิเกเตอร์ (Alligatoridae) จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับจระเข้ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง มีขนาดยาวเต็มที่ประมาณ 1.4 เมตร (4.6 ฟุต) ในตัวผู้ และ 1.2 เมตร (3.9 ฟุต) ในตัวเมีย น้ำหนักประมาณ 6 ถึง 7 กิโลกรัม (13 ถึง 15 ปอนด์) ถูกค้นพบและบรรยายทางวิทยาศาสตร์โดยฌอร์ฌ กูว์วีเย (Georges Cuvier) นักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ค้นพบเป็นบุคคลแรก โดยสถานที่ค้นพบครั้งแรกคือเมืองกาแยนในเฟรนช์เกียนา โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์ คำว่า Paleosuchus มาจากคำภาษากรีกว่า palaios หมายถึง "โบราณ" และ soukhos หมายถึง "จระเข้" เพราะเชื่อว่าเคแมนแคระกูว์วีเยสืบสายพันธุ์มาจากสัตว์ในอันดับจระเข้โบราณอายุนานกว่า 30 ล้านปี และคำว่า palpebrosus มาจากภาษาละติน palpebra หมายถึง "เปลือกตา" และ osus หมายถึง "เต็มไปด้วย" ซึ่งหมายถึงแผ่นกระดูกที่ปรากฏอยู่เหนือเปลือกตา ส่วนหัว เคแมนแคระกูว์วีเย กระจายพันธุ์อยู่ในป่าทึบของลุ่มน้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ โดยอาศัยในพื้นที่ที่เป็นแม่น้ำและทะเลสาบ การฟักไข่เหมือนกับเคแมนชนิดอื่น ๆ คือ ใช้ความร้อนจากแสงแดดหรือความร้อนจากการเน่าสลายของพรรณพืชที่ใช้ปกคลุมรังเพื่อการฟักเป็นตัว เคแมนแคระกูว์วีเยไม่มีชนิดย่อย กินอาหารได้หลากหลายชนิด ทั้งสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ, ปลา, ปู, นก, กุ้ง, หอย, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก รวมถึงแมลงปีกแข็งและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังด้วย เนื่องจากเป็นสัตว์ขนาดเล็กจึงนิยมเลี้่ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงด้ว.

ใหม่!!: เคแมนและเคแมนแคระกูว์วีเย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Caimaninaeจระเข้ไคแมนจระเข้เคแมนไคแมน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »