โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1

ดัชนี โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1

ลเรือโท โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1 ดยุกแห่งบรงเต (Horatio Nelson, 1st Viscount Nelson, 1st Duke of Bronté) เป็นนายทหารเรือแห่งราชนาวีอังกฤษ เป็นหนึ่งในชาวอังกฤษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติ ผู้มากด้วยกลยุทธ์ ชั้นเชิงสมัยใหม่ นำมาซึ่งชัยชนะของฝ่ายอังกฤษในหลายยุทธนาวี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามนโปเลียน ตลอดการรับราชการทหารของลอร์ดเนลสัน เขาได้รับบาดเจ็บจากการต่อสู้หลายครั้ง ครั้งหนึ่งเขาสูญเสียดวงตาข้างหนึ่งไปที่คอร์ซิกา และสูญเสียแขนข้างหนึ่งไปในยุทธนาวีที่ซันตาครูซเดเตเนรีเฟ (Santa Cruz de Tenerife) เขาเสียชีวิตขณะบัญชาการรบในยุทธการที่ตราฟัลการ์ ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะอันงดงามของอังกฤษ เนลสันเกิดในครอบครัวชนชั้นกลางในนอร์ฟอล์กของอังกฤษ และเข้ารับราชการในราชนาวีตามกัปตันเมาริช ซัคลิง (Maurice Suckling) ผู้เป็นลุง เนลสันเติบโตในราชการอย่างรวดเร็วจนได้ทำงานกับเหล่าผู้บัญชาการระดับสูง ก่อนที่ตัวเขาเองจะได้เป็นผู้บัญชาการเรือครั้งแรกในปี 1778 ความกล้าหาญตลอดจนการคิดค้นกลยุทธ์ต่างๆทำให้เขามีชื่อเสียงขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ภายหลังสงครามปฏิวัติอเมริกาซึ่งทำให้อังกฤษตกต่ำ เขาก็ต้องประสบกับความเจ็บป่วยตลอดจนถูกให้เกษียณจากราชการ เมื่อสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสปะทุขึ้น เขาก็ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการอีกครั้ง โดยคุมกองเรืออยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เขาเข้าต่อสู้ในศึกย่อยๆที่ชายฝั่งเมืองตูลงตลอดจนศึกสำคัญอย่างการเข้ายึดครองคอร์ซิกา และเป็นผู้ประสานงานทางการทูตกับบรรดาแคว้นในอิตาลี เขาโดดเด่นขึ้นมาอย่างมากจากชัยชนะในยุทธนาวีที่แหลมเซาวีแซงต์ (São Vicente) ของโปรตุเกสในปี 1797 ไม่นานหลังจากนั้น เขาก็ทำศึกในยุทธนาวีที่ซันตาครูซเดเตเนรีเฟ ซึ่งจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของเขาและตัวเองได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการสูญเสียแขนขวา เขาจำต้องกลับอังกฤษเพื่อพักรักษาตัว และในปีต่อมา เขาก็ได้รับชัยชนะอย่างขาดลอยเหนือฝรั่งเศสในยุทธนาวีที่แม่น้ำไนล์ และยังคงประจำการอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อคอยสนับสนุนราชอาณาจักรเนเปิลส์เพื่อต้านทานการรุกรานโดยฝรั่งเศสของนโปเลียน ต่อมาในปี 1801 เขาถูกโอนย้ายไปคุมกองเรือที่ทะเลบอลติกและได้รับชัยชนะเหนือเดนมาร์ก-นอร์เวย์ในยุทธนาวีที่โคเปนเฮเกน ต่อมาเขาบัญชาการการปิดล้อมกองเรือผสมของฝรั่งเศสและสเปนที่ตูลง แต่กองเรือผสมก็สามารถฝ่าออกไปได้ เขาไล่ตามกองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปนไปจนถึงหมู่เกาะเวสต์อินดีสในทวีปอเมริกา แต่ก็ไม่สามารถล่อกองเรือผสมให้ออกมาทำศึกได้ หลังจากนำกองเรือกลับมายังอังกฤษ เขาก็ไปปิดล้อมเมืองกาดิซในปี 1805 แต่เมื่อกองเรือฝรั่งเศส-สเปนเคลื่อนกำลังออกจากท่า กองเรือของเนลสันก็ไล่ตามไปจนถึงแหลมตราฟัลการ์ และเกิดเป็นยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์ ซึ่งถือเป็นชัยชนะทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประวัติศาสตร์ชาติอังกฤษ ความทะเยอทะยานในการพิชิตอังกฤษของนโปเลียนได้แตกสลาย อย่างไรก็ตาม ระหว่างการปะทะ เนลสันที่กำลังบัญชาการรบอยู่บนดาดฟ้าเรือหลวงวิกตอรี ก็ถูกกระสุนปืนจากพลแม่นปืนของฝรั่งเศสยิงเข้าที่บริเวณหน้าอกและเสียชีวิต ร่างของเขาถูกนำตัวกลับไปยังอังกฤษ มีการจัดรัฐพิธีศพให้อย่างสมเกียรติและยิ่งใหญ่ มีการสร้างอนุสาวรีย์ของเขาและนำขึ้นประดับไว้บนเสากลางตั้งจัตุรัสทราฟัลการ์ของกรุงลอนดอน.

21 ความสัมพันธ์: ชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับกาดิซยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์ยุทธนาวีที่โคเปนเฮเกนราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ราชอาณาจักรเนเปิลส์ราชนาวีสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์สงครามปฏิวัติฝรั่งเศสสงครามปฏิวัติอเมริกาสงครามประสานมิตรครั้งที่สามสงครามนโปเลียนหมู่เกาะเวสต์อินดีสจัตุรัสทราฟัลการ์ทะเลบอลติกทะเลเมดิเตอร์เรเนียนคอร์ซิกาตูลงนอร์ฟอล์กเรือหลวงวิกตอรีเดนมาร์ก–นอร์เวย์

ชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ

ันเดรดเกรตเตสต์บริทันส์ หรือ ชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ (100 Greatest Britons) คือรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศในปี..

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ · ดูเพิ่มเติม »

กาดิซ

กาดิซ (Cádiz) เป็นเมืองและเมืองท่าทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสเปนและเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นปกครองตนเองอันดาลูซีอา กาดิซเป็น "ศูนย์กลางบริหารทางทะเลในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ของกองทัพเรือสเปน" ตั้งแต่การเข้ามาของราชวงศ์บูร์บงในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมืองนี้เป็นเมืองหลวงของจังหวัดกาดิซและเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยกาดิซ ตามการสำรวจสำมะโนประชากรในปี พ.ศ. 2547 จำนวนประชากรเฉพาะในเขตเมืองกาดิซมี 133,242 คน ขณะที่ประชากรของเขตเมือง (urban area) ทั้งหมดมีประมาณ 629,054 คน ตัวเมืองตั้งอยู่บนแหลมที่ยื่นลงไปในอ่าวกาดิซ กำแพงสูงและหนาที่ล้อมรอบเมืองทำให้ปรากฏภาพที่สวยงามเมื่อมองจากทะเล กาดิซมีลักษณะเฉพาะของอันดาลูซีอา ย่านเก่าแก่ของเมือง เช่น เอลโปปูโล (El Populo), ลาบีญา (La Viña) หรือซานตามารีอา (Santa María) สร้างความตรงกันข้ามกับพื้นที่สมัยใหม่กว่าของเมือง ขณะที่ภาพของเมืองเก่ามีตรอกซอยแคบ ๆ มุ่งไปสู่จัตุรัสจำนวนหนึ่ง พื้นที่เมืองใหม่กลับประกอบไปด้วยถนนกว้างและอาคารสมัยใหม่ นอกจากนี้ ในเมืองยังมีต้นไม้ในสวนสาธารณะอยู่เป็นหย่อม ๆ รวมทั้งต้นไม้ใหญ่หลายต้นที่เชื่อกันว่าโคลัมบัสเป็นผู้นำไปไว้ที่นั่น.

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และกาดิซ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์

ทธนาวีที่ตราฟัลการ์ (Battle of Trafalgar, 21 ตุลาคม ค.ศ. 1805) เป็นการกระทำยุทธนาวีระหว่าง ราชนาวีอังกฤษกับกองเรือผสมของกองทัพเรือฝรั่งเศสร่วมกับกองทัพเรือสเปน ในช่วงสงครามประสานมิตรครั้งที่สาม (สิงหาคม-ธันวาคม 1805) ใน สงครามนโปเลียน (1803–1815) กองเรือราชนาวีอังกฤษที่มีเรือรบแนวเส้นประจัญบาน 27 ลำภายใต้บัญชาการของพลเรือโทลอร์ดเนลสัน สามารถมีชนะเหนือกองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปน 33 ลำ ภายใต้บัญชาการของ พลเรือโท ปีแยร์-ชาร์ล วีลเนิฟว์ แห่งกองทัพเรือฝรั่งเศส ที่ชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของสเปน ทางตะวันตกของแหลมตราฟัลการ์ ซึ่งกองเรือฝรั่งเศสสูญเสียเรือรบไปถึง 22 ลำโดยที่ไม่สามารรถจมเรือรบอังกฤษแม้แต่ลำเดียว ชัยชนะที่งดงามของอังกฤษครั้งนี้เป็นการยืนยันฐานะของราชนาวีอังกฤษที่ได้สั่งสมมาตลอดศตวรรษที่ 18 ในฐานะกองทัพเรือที่ทรงแสนยานุภาพที.

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธนาวีที่โคเปนเฮเกน

ทธนาวีที่โคเปนเฮเกน (Battle of Copenhagen) เมื่อกองเรืออังกฤษภายใต้การบัญชาของพลเรือโท เซอร์ ไฮด์ ปาร์เกอร์ และพลเรือโทโฮราชิโอ เนลสัน เข้าต่อสู้กับกองเรืออันมหึมาของเดนมาร์กซึ่งทอดสมออยู่ที่ปากน้ำของกรุงโคเปนเฮเกน ในวันที่ 2 เมษายน..

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และยุทธนาวีที่โคเปนเฮเกน · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่

ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (Kingdom of Great Britain) หรือ สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (United Kingdom of Great Britain) เป็นรัฐในยุโรปตะวันตก ดำรงอยู่ในช่วงค.ศ. 1707 จนถึง ค.ศ. 1801 เกิดจากการรวมกันของราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ภายใต้พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 (พ.ศ. 2250) ก่อนหน้านี้ราชอาณาจักรทั้งสองได้มีพระประมุขพระองค์เดียวกัน ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ขึ้นครองราชย์เป็นประมุขของอังกฤษในค.ศ. 1631 สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เข้าแทนที่ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ในปีค.ศ. 1801 หลังจากราชอาณาจักรไอร์แลนด์เข้าร่วมในพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800.

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเนเปิลส์

ราชอาณาจักรเนเปิลส์ (Kingdom of Naples) เป็นอาณาจักรที่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรอิตาลี (Italian peninsula) หรือบางครั้งก็รู้จักกันอย่างสับสนกับ “ราชอาณาจักรซิซิลี” ซึ่งเป็นราชอาณาจักรที่ก่อตั้งหลังจากการแยกตัวของซิซิลีจากราชอาณาจักรซิซิลีเดิมที่เป็นผลมาจากกบฏซิซิเลียนเวสเปิร์ส (Sicilian Vespers) ของปี..

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และราชอาณาจักรเนเปิลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชนาวี

กองทัพเรือสหราชอาณาจักร หรือ ราชนาวี (Royal Navy อักษรย่อ: RN) เป็นเหล่าทัพหลักของกองทัพสหราชอาณาจักร ซึ่งมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เหล่าทัพนี้เป็นเหล่าทัพที่เก่าแก่ที่สุด โดยตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 17 ถึงปลายศตวรรษที่ 19 ราชนาวีสหราชอาณาจักรจัดเป็นทัพเรือที่ทรงแสนยานุภาพที่สุดในโลก.

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และราชนาวี · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ (United Kingdom of Great Britain and Ireland.) เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักร ในช่วงตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1801)1 มกราคม..

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส

งครามปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolutionary Wars) เป็นสงครามต่อเนื่องที่เกิดขึ้นระหว่าง..

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

สงครามปฏิวัติอเมริกา

งครามปฏิวัติอเมริกา (American Revolutionary War; ค.ศ. 1775–1783) หรือเรียก สงครามประกาศอิสรภาพอเมริกา (American War of Independence) หรือสงครามปฏิวัติในสหรัฐ เป็นการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างบริเตนใหญ่และสิบสามอาณานิคมอเมริกาเหนือซึ่งหลังสงครามเปิดฉากประกาศอิสรภาพเป็นสหรัฐอเมริกา สงครามนี้มีจุดกำเนิดจากการต่อต้านภาษีบางชนิดและพระราชบัญญัติซึ่งชาวอเมริกันจำนวนมากอ้างว่าไม่ชอบธรรมและมิชอบด้วยกฎหมาย การประท้วงของแพทริอัต (Patriot) ลุกลามเป็นการคว่ำบาตร และในวันที่ 16 ธันวาคม 1773 พวกเขาทำลายการส่งสินค้าชาในท่าบอสตัน รัฐบาลบริเตนตอบโต้โดยปิดท่าบอสตัน แล้วผ่านมาตรการโดยมุ่งลงโทษอาณานิคมที่เป็นกบฏ แพทริอัตสนองโดยซัฟฟอล์กรีซอฟส์ (Suffolk Resolves) คือ การสถาปนารัฐบาลเงาซึ่งกำจัดการควบคุมมณฑลจากคราวน์นอกบอสตัน สิบสองอาณานิคมตั้งสภาภาคพื้นทวีปเพื่อประสานงานการต่อต้าน และสถาปนาคณะกรรมการและการประชุมใหญ่ซึ่งยึดอำนาจชะงัด ความพยายามยึดยุทโธปกรณ์อเมริกันของบริเตนในเดือนเมษายน 1775 นำสู่การยุทธ์อย่างเปิดเผยระหว่างกำลังคราวน์และทหารอาสาสมัครแพทริอัต ทหารอาสาสมัครเดินหน้าล้อมกำลังบริติชในบอสตัน บังคับให้ต้องอพยพนครในเดือนมีนาคม 1776 สภาภาคพื้นทวีปตั้งจอร์จ วอชิงตันให้บังคับบัญชาทหารอาสาสมัคร ต่อมา เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพภาคพื้นทวีปที่เพิ่งตั้ง ตลอดจนประสานงานหน่วยทหารอาสาสมัครของรัฐ ในเวลาเดียวกับการทัพบอสตัน ความพยายามบุกครองควิเบกของอเมริกาและปลุกการกบฏต่อพระมหากษัตริย์บริติชล้มเหลวโดยสิ้นเชิง วันที่ 2 กรกฎาคม 1774 สภาลงมติสนับสนุนเอกราชอย่างเป็นทางการ โดยออกคำประกาศในวันที่ 4 กรกฎาคม เซอร์วิลเลียม ฮาว (William Howe) เริ่มการตีโต้ตอบซึ่งมุ่งยึดนครนิวยอร์กคืน ฮาวชนะวอชิงตันด้วยอุบาย ทำให้ความมั่นใจของฝ่ายอเมริกาแตะจุดต่ำสุด วอชิงตันสามารถยึดกองทัพเฮชชัน (Hessian) ได้ที่เทรนตัน และขับบริเตนออกจากนิวเจอร์ซีย์ ฟื้นความมั่นใจของฝ่ายอเมริกา ในปี 1777 บริเตนส่งกองทัพใหม่โดยมีจอห์น เบอร์กอยน์ (John Burgoyne) เป็นผู้บังคับบัญชาให้ยกลงใต้จากแคนาดาและแยกอาณานิคมนิวอิงแลนด์ ทว่า ฮาวไม่สนับสนุนเบอร์กอยน์ แต่นำกองทัพของเขาในอีกการทัพหนึ่งต่อกรุงฟิลาเดลเฟีย เมืองหลวงฝ่ายปฏิวัติ เบอร์กอยน์หมดกำลังบำรุง ถูกล้อมและยอมจำนนในเดือนตุลาคม 1777 ความปราชัยของบริเตนที่ซาราโทกา (Saratoga) มีผลใหญ่หลวง ฝรั่งเศสและสเปนได้จัดหาอาวุธ เครื่องกระสุนและกำลังบำรุงอื่นให้ชาวอาณานิคมอย่างลับ ๆ ตั้งแต่เดือนเมษายน 1776 บัดนี้ฝรั่งเศสเข้าสู่สงครามอย่างเป็นทางการในปี 1778 โดยลงนามพันธมิตรทางทหารซึ่งรับรองเอกราชของสหรัฐ บริเตนตัดสินใจยอมเสียอาณานิคมทางเหนือ และกู้อดีตอาณานิคมทางใต้ กำลังบริเตนโดยมีชาลส์ คอร์นวอลลิส (Charles Cornwallis) เป็นผู้บังคับบัญชายึดจอร์เจียและเซาท์แคโรไลนา ยึดกองทัพอเมริกาได้ที่ชาลส์ตัน เซาท์แคโรไลนา ยุทธศาสตร์นี้อาศัยการก่อการกำเริบของลอยัลลิสต์ (Loyalist) ติดอาวุธจำนวนมาก แต่มีผู้มาเข้าร่วมน้อยเกินไป ในปี 1779 สเปนเข้าร่วมสงครามเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสภายใต้สนธิสัญญาตระกูล (Pacte de Famille) โดยเจตนายึดยิบรอลตาร์และอาณานิคมบริติชในแคริบเบียน บริเตนประกาศสงครามต่อสาธารณรัฐดัตช์ในปี 1780 ในปี 1781 หลังปราชัยอย่างเด็ดขาดสองครั้งที่คิงส์เมาน์เทนและคาวเพนส์ คอร์นวอลลิสถอยไปเวอร์จิเนียโดยตั้งใจอพยพ ชัยทางเรืออย่างเด็ดขาดของฝรั่งเศสในเดือนกันยายนตัดทางหนีของบริเตน กองทัพร่วมฝรั่งเศส-อเมริกาโดยมีเคาต์รอช็องโบ (Count Rochambeau) และวอชิงตันเป็นผู้นำล้อมกองทัพบริติชที่ยอร์กทาวน์ เมื่อเห็นว่าไม่มีการช่วยเหลือและสถานการณ์ป้องกันไม่อยู่ คอร์นวอลลิสยอมจำนนในเดือนตุลาคม และทหารถูกจับเป็นเชลยประมาณ 8,000 คน วิกในบริเตนคัดค้านฝ่ายข้างมากทอรีนิยมสงครามในรัฐสภาอย่างยาวนาน ทว่า ความปราชัยที่ยอร์กทาวน์ทำให้วิกเป็นฝ่ายเหนือกว่า ต้นปี 1782 พวกเขาลงมติยุติปฏิบัติการบุกทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือ แต่สงครามกับฝรั่งเศสและสเปนยังดำเนินต่อ โดยบริเตนชนะทั้งสองประเทศระหว่างการล้อมใหญ่ยิบรอลตาร์ นอกเหนือจากนี้ พวกเขาชนะฝรั่งเศสทางเรือหลายครั้งทโดยที่เด็ดขาดที่สุด คือ ยุทธนาวีที่ซานต์ (Battle of the Saintes) ในแคริบเบียนปีเดียวกัน วันที่ 3 กันยายน 1783 คู่สงครามลงนามสนธิสัญญากรุงปารีสซึ่งยุติสงคราม บริเตนตกลงรับรองเอกราชของสหรัฐเหนือดินแดนโดยมีขอบเขตคร่าว ๆ อยู่ที่แคนาดาทางเหนือ ฟลอริดาทางใต้และแม่น้ำมิสซิสซิปปีทางตะวันตก แม้การเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องของฝรั่งเศสมีผลชี้ขาดต่อสาเหตุของเอกราชอเมริกา แต่ได้ดินแดนเพียงเล็กน้อย และมีปัญหาหนี้สินมหาศาล สเปนได้อาณานิคมฟลอริดาของบริเตนและเกาะมินอร์กา แต่ไม่สามารถชิงยิบรอลตาร์คืนซึ่งเป็นเป้าหมายหลัก ฝ่ายดัตช์มีแต่เสีย โดยถูกบังคับให้ยกดินแดนบางส่วนให้บริต.

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และสงครามปฏิวัติอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามประสานมิตรครั้งที่สาม

งครามประสานมิตรครั้งที่สาม (War of the Third Coalition) เป็นสงครามในทวีปยุโรประหว่างปี..

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และสงครามประสานมิตรครั้งที่สาม · ดูเพิ่มเติม »

สงครามนโปเลียน

งครามนโปเลียน (Napoleonic Wars, Guerres napoléoniennes) เป็นสงครามต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับจักรวรรดิฝรั่งเศสของนโปเลียน และพันธมิตรต่าง ๆ ของยุโรป และฝ่ายพันมิตรต่อต้านที่เริ่มขึ้นราว..

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และสงครามนโปเลียน · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะเวสต์อินดีส

แผนที่แบ่งเขตการปกครองในหมู่เกาะเวสต์อินดีส หมู่เกาะเวสต์อินดีส (West Indies) เป็นภูมิภาคในเขตลุ่มน้ำแคริบเบียนและมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งมีเกาะต่าง ๆ และประเทศที่เป็นเกาะของเกรตเตอร์แอนทิลลีส เลสเซอร์แอนทิลลีส และหมู่เกาะลูคายานเป็นจำนวนมาก หลังจากการเดินทางครั้งแรกของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสซึ่งเดินทางไปยังทวีปอเมริกา ชาวยุโรปก็เริ่มใช้คำว่า "เวสต์อินดีส" (West Indies) เพื่อจำแนกภูมิภาคนั้นออกจากหมู่เกาะอีสต์อินดีส (เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้).

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และหมู่เกาะเวสต์อินดีส · ดูเพิ่มเติม »

จัตุรัสทราฟัลการ์

ัตุรัสทราฟัลการ์ จัตุรัสทราฟัลการ์ (Trafalgar Square) เป็นสถานที่แห่งหนึ่งในใจกลางกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นอนุสรณ์สถานของยุทธนาวีทราฟัลการ์ และสงครามวอเตอร์ลู ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1805 มีเสาเนลสัน ล้อมรอบด้วยอาคารสำคัญ เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะ โบสถ์เซนต์มาร์ตินอินเดอะฟีลด์ นอกจากนี้จัตุรัสทราฟัลการ์ เป็นสถานที่ที่ใช้ในการประท้วงและงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ หลายหน.

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และจัตุรัสทราฟัลการ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลบอลติก

ทะเลบอลติก (Baltic Sea) ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปเหนือ ห้อมล้อมด้วยคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคยุโรปเหนือ ภูมิภาคยุโรปตะวันออก ภูมิภาคยุโรปกลาง และหมู่เกาะของประเทศเดนมาร์ก ทะเลนี้เชื่อมเข้าสู่ช่องแคบแคตทีแกต (Kattegat) ผ่านทางช่องแคบเออเรซุนด์ (Öresund) ช่องแคบเกรตเบลต์ (Great Belt) และช่องแคบลิตเทิลเบลต์ (Little Belt) ซึ่งหากผ่านช่องแคบแคทีแกตต่อไปก็จะพบช่องแคบสแกเกอร์แรก (Skagerrak) ที่จะเข้าสู่ทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลบอลติกยังเชื่อมต่อกับทะเลขาวด้วยคลองไวต์ซี (White Sea) และเชื่อมต่อกับทะเลเหนือโดยผ่านทางคลองคีล (Kiel).

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และทะเลบอลติก · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

วเทียมของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) เป็นทะเลระหว่างทวีป คั่นกลางทวีปยุโรปที่อยู่ทางเหนือ ทวีปแอฟริกาที่อยู่ทางใต้ และทวีปเอเชียที่อยู่ทางตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร คำในภาษาอังกฤษ Mediterranean มาจากภาษาละติน mediterraneus หมายถึง 'ภายในแผ่นดิน' (medius 'กลาง' terra 'แผ่นดิน, โลก') ในภาษากรีกใช้ว่า "mesogeios".

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน · ดูเพิ่มเติม »

คอร์ซิกา

อร์ซิกา (Corsica), กอร์ส (Corse) หรือ กอร์ซีกา (Corsica) เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 4 ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (รองจากเกาะซิซิลี ซาร์ดิเนีย และไซปรัส) ตั้งอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางทิศตะวันตกของประเทศอิตาลี ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส และทิศเหนือของซาร์ดิเนีย คอร์ซิกาเป็นเป็นหนึ่งในแคว้น 18 แคว้นของประเทศฝรั่งเศส แต่ที่จริงแล้วตามกฎหมาย คอร์ซิกามีฐานะเป็นประชาคมดินแดน (collectivité territoriale) ของฝรั่งเศส จึงมีอำนาจมากกว่าแคว้นอื่น ๆ ในฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่อยู่บ้าง แต่ในการสนทนาทั่วไป คอร์ซิกามักจะถูกเรียกว่าเป็น "แคว้น" และอยู่ในรายนามแคว้นของประเทศฝรั่งเศสตลอดมา ทั้ง ๆ ที่เป็นเกาะแยกออกมาจากแผ่นดินใหญ่โดยมีทะเลลิกูเรียนขวางไว้ มีกลุ่มการเมืองหลายกลุ่มที่ต่อต้านและเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส เช่น แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติคอร์ซิก.

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และคอร์ซิกา · ดูเพิ่มเติม »

ตูลง

ตูลง (Toulon) เป็นเมืองทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส บนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นเมืองท่าทางทะเลและฐานทัพเรือที่สำคัญของฝรั่งเศสในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีอู่เรือและคลังแสงของกองทัพเรือ เป็นเมืองหลวงของจังหวัดวาร์ เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 4 ของเมืองชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของฝรั่งเศส รองจากมาร์แซย์ นิส และมงเปอลีเย ตูลงเป็นเมืองสำคัญด้านการต่อเรือ การประมง ผลิตเหล้าองุ่น อุปกรณ์การบิน อาวุธยุทธภัณฑ์ ทำแผนที่ กระดาษ ยาสูบ สิ่งพิมพ์ รองเท้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีการกล่าวถึงเมืองนี้เป็นครั้งแรกในฐานะสถานีกองทัพเรือสมัยโรมัน ตกเป็นของราชวงศ์ฝรั่งเศสใน..

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และตูลง · ดูเพิ่มเติม »

นอร์ฟอล์ก

ที่ตั้งของมณฑลนอร์ฟอล์ก นอร์ฟอล์ก หรือ นอร์เฟิก (Norfolk) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของอังกฤษ โดยมีนอริชเป็นเมืองหลวง นอร์ฟอล์กมีเขตแดนติดกับลิงคอล์นเชอร์ทางตะวันตก เคมบริดจ์เชอร์ทางตะวันตกและทางตะวันตกเฉียงใต้ และซัฟฟอล์กทางด้านใต้ ทางเหนือและตะวันออกติดทะเลเหนือ.

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และนอร์ฟอล์ก · ดูเพิ่มเติม »

เรือหลวงวิกตอรี

รือหลวงวิกตอรี (HMS Victory) เป็นเรือแนวเส้นประจัญบานชั้นเอก ติดตั้งปืน 104 กระบอก ของราชนาวีอังกฤษ สั่งให้ต่อขึ้นเมื่อ ปี..

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และเรือหลวงวิกตอรี · ดูเพิ่มเติม »

เดนมาร์ก–นอร์เวย์

นมาร์ก-นอร์เวย์ (Dänemark-Norwegen, Danmark-Norge, Denmark-Norway) เป็นรัฐร่วมประมุขที่เกิดจากการรวมตัวระหว่างประเทศเดนมาร์กและนอร์เวย์ และรวมทั้งดินแดนอิสระไอซ์แลนด์ของนอร์เวย์ หลังจากการล่มสลายของสหภาพคาลมาร์แล้ว สองราชอาณาจักรก็ทำการตกลงรวมกันเป็นราชอาณาจักรร่วมประมุขใหม่ในปี ค.ศ. 1536 และรุ่งเรืองมาจนถึง ค.ศ. 1814 บางครั้งคำว่า "ราชอาณาจักรเดนมาร์ก" ก็จะหมายถึงทั้งสองอาณาจักรระหว่างปี ค.ศ. 1536 จนถึง ค.ศ. 1814 เพราะอำนาจทางการเมืองและทางการเศรษฐกิจมีศูนย์กลางอยู่ที่โคเปนเฮเกนในเดนมาร์ก คำนี้ครอบคลุมส่วนที่เป็น "ราชอาณาจักร" โอลเดนบูร์กของปี..

ใหม่!!: โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1และเดนมาร์ก–นอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Admiral Horatio NelsonAdmiral Lord NelsonAdmiral NelsonHoratio NelsonHoratio Nelson, 1st Viscount NelsonLord Horatio NelsonLord Nelsonลอร์ดเนลสันโฮราชิโอ เนลสันโฮราชิโอ เนลสัน ไวส์เคานท์เนลสันที่ 1โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานท์เนลสันที่ 1

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »