โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก

ดัชนี ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก

วะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก.

87 ความสัมพันธ์: ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาฟิล์มเลือดพยาธิพยาธิตัวตืดพยาธิใบไม้กระเพาะอาหารกรดไฮโดรคลอริกกลูเตนการชำระเลือดผ่านเยื่อการถ่ายเลือดการขาดธาตุเหล็กการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์การตรวจไขกระดูกการตั้งครรภ์การนอนไม่หลับการเรียนมะเร็งมาลาเรียมดลูกมนุษย์ม้ามยายับยั้งการหลั่งกรดยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์รกลำไส้ลำไส้ใหญ่ลำไส้เล็กลำไส้เล็กส่วนต้นลำไส้เล็กส่วนปลายวาร์ฟารินวิตามินซีวิตามินเอสหรัฐสหสัมพันธ์สัตว์สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา)หมดสติชั่วคราวหลอดอาหารหนอนตัวแบนอะมีบาอะตอมอัลมอนด์อาการหายใจลำบากอาการคันอาการปวดเค้นหัวใจองค์การอนามัยโลกฮีมาโทคริตผิวหนังถั่วเหลืองทาลัสซีเมีย...ทาลัสซีเมียแบบบีตาข้าวความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดงความล้าความซึมเศร้า (อารมณ์)ความไวและความจำเพาะความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงตับติ่งเนื้อเมือกประจำเดือนประเทศกำลังพัฒนาปริมาณเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ยปลอกไมอีลินนิวเคลียสของเซลล์แบคทีเรียแอสไพรินใจสั่นโรคกระเพาะอาหารโรคย้ำคิดย้ำทำโรคติดเชื้อโลหิตวิทยาโลหิตจางโดพามีนไขกระดูกไขสันหลังเกล็ดเลือดมากเมแทบอลิซึมเม็ดเลือดแดงเยื่อตาเยื่อเมือกเลือดเลซิทินเหล็กเฮโมโกลบินเซโรโทนินเนื้อเยื่อบุผิว ขยายดัชนี (37 มากกว่า) »

ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา

ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาที่มีชื่อเสียง แถวบน:ดับเบิลยู. อี. บี. ดู บอยส์ • มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ • เอดเวิร์ด บรูกแถวล่าง:มัลคอล์ม เอกซ์ • โรซา พรากส์ • ซอเยอร์เนอร์ ทรูธ ในสหรัฐอเมริกา คำว่า ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา (African-American, Afro-American) ภาษาปากว่า ชาวอเมริกันผิวดำ (Black American) เป็นชื่อเรียกของคนที่มีผิวสีดำแตกต่างจากคนอเมริกันที่มีผิวขาว โดยต้นกำเนิดของคนผิวสีส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มมาจากทวีปแอฟริกา แต่เนื่องจากเหตุการณ์การล่าอาณานิคมและธุรกิจการค้าทาส ทำให้ผู้คนเหล่านี้ถูกพาเข้ามาอยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก ในอดีตสหรัฐอเมริกามีปัญหาการเหยียดสีผิวอย่างรุนแรง แต่ในปัจจุบันนี้ทุกคนได้รับความเท่าเทียมกันในสังคม วัฒนธรรมของคนดำนั้นได้แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านดนตรี รวมทั้งการแต่งกายและการกีฬา หมวดหมู่:สหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ฟิล์มเลือด

ลิมโฟไซต์จากฟิล์มเลือดจากการย้อมแบบ Wright's stain ซึ่งสามารถเห็นเม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดด้วย ฟิล์มเลือด หรือ สเมียร์เลือด Blood film หรือ Blood smear คือ การหยดเลือดลงบนสไลด์แล้วทำการไถสไลด์เพื่อให้เซลล์เม็ดเลือดต่าง ๆ กระจายตัวไปบนแผ่นสไลด์ หลังจากนั้น จึงนำแผ่นสไลด์ไปทำการย้อมสี และนำไปวินิจฉัยทางโลหิตวิทยาต่อไป ฟิล์มเลือดนั้นสามารถบอกถึงลักษณะและจำนวนของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และสามารถใช้ประเมินปริมาณฮีโมโกลบินได้อย่างคร่าว ๆ นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ในการวินิจฉัยปรสิตบางชนิดที่อาศัยอยู่ในเลือด อาทิเช่น เชื้อมาลาเรีย และ เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคเท้าช้าง เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและฟิล์มเลือด · ดูเพิ่มเติม »

พยาธิ

ปากขอ พยาธิ เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องอาศัยในร่างกายของสัตว์อื่นโดยเรียกว่า ปรสิต.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและพยาธิ · ดูเพิ่มเติม »

พยาธิตัวตืด

พยาธิตัวตืด (Cestoda) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมแพลทีเฮลมินธิส เป็นสิ่งมีชีวิตที่แพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว สามารถขยายพันธุ์ได้ถึง 1 ล้านตัวต่อวัน ในแต่ละปล้องของพยาธิตัวตืด สามารถแบ่งตัวและเติบโตเป็นพยาธิตัวใหม่ได้ ปกติแล้วพยาธิตัวตืดเป็นปรสิตอาศัยในลำไส้ของ หมู หมวดหมู่:สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หมวดหมู่:แพลทีเฮลมินธิส ต.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและพยาธิตัวตืด · ดูเพิ่มเติม »

พยาธิใบไม้

พยาธิใบไม้ (Trematoda) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมแพลทีเฮลมินธิส หมวดหมู่:สัตว์ หมวดหมู่:สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หมวดหมู่:แพลทีเฮลมินธิส บไม้.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและพยาธิใบไม้ · ดูเพิ่มเติม »

กระเพาะอาหาร

กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่น ๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและกระเพาะอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

กรดไฮโดรคลอริก

รเจนคลอไรด์โอเวน กรดไฮโดรคลอริก หรือ กรดเกลือ (hydrochloric acid) เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ โดยเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) เป็นกรดแก่, เป็นส่วนประกอบหลักของกรดกระเพาะ (gastric acid) และใช้กันอย่างกว้างในอุตสาหกรรมเป็นของเหลวที่มีพลังการกัดกร่อนสูง กรดไฮโดรคลอริก หรือ มูเรียติกแอซิด ถูกค้นพบโดย "จาเบียร์ เฮย์ยัน" (Jabir ibn Hayyan) ราวปี ค.ศ. 1800 ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ เช่น วีนิลคลอไรด์ สำหรับผลิต PVC พลาสติก และ MDI/TDI (Toluene Diisocyanate) สำหรับผลิต พอลิยูลิเทน, (polyurethane) และใช้ในการผลิตขนาดเล็กเช่น การผลิต เจนลาติน (gelatin) ใช้ปรุงอาหาร, และ ใช้ฟอกหนัง กำลังผลิตในปัจจุบันประมาณ 20 ล้านเมตริกตัน ต่อปี (20 Mt/a) ของก๊าซ HCl.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและกรดไฮโดรคลอริก · ดูเพิ่มเติม »

กลูเตน

กลูเตน (gluten มาจากภาษาละติน glūten แปลว่า กาว) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งพบมากในแป้งสาลีและข้าวบาร์เลย์ กลูเตนเป็นโปรตีนที่สร้างความเหนียวให้กับก้อนแป้ง เกิดมาจากการรวมตัวของกลูเตนิน และ ไกลอะดิน โดยพันธะไดซัลไฟด์ มีลักษณะเหนียว ยืดหยุ่น และไม่ละลายน้ำ.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและกลูเตน · ดูเพิ่มเติม »

การชำระเลือดผ่านเยื่อ

ผู้ป่วยโรคไตกำลังรับการชำระเลือดผ่านเยื่อกรอง เครื่องชำระเลือดผ่านเยื่อกรอง หรือหน่วยไตเทียม การชำระเลือดผ่านเยื่อ (hemodialysis) หรือที่นิยมเรียกว่าการฟอกเลือดหรือการฟอกไต เป็นวิธีการทางการแพทย์ที่กระทำภายนอกร่างกายในการกำจัดของเสียส่วนเกิน เช่น สารในกลุ่มครีเอทีนีนและยูเรียและน้ำออกจากเลือดในผู้ป่วยโรคไตวายซึ่งไตไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ ถือเป็นวิธีการรักษาทดแทนไตชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากการปลูกถ่ายไตและการชำระเลือดผ่านเยื่อบุช่องท้อง (peritoneal dialysis) อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับแยกส่วนประกอบของเลือดเช่นพลาสม่าหรือเซลล์คือ apheresis (กระบวนการหนึ่งที่กระทำภายนอกร่างกายที่เลือดถูกถ่ายออกมาแล้วองค์ประกอบบางอย่างถูกแยกออกโดยการฟอก องค์ประกอบบางส่วนยังคงอยู่ที่เดิม เลือดส่วนที่เหลือจะถูกส่งกลับคืนผู้บริจาคโดยการถ่ายเลือด) การฟอกเลือดสามารถเป็นการบำบัดสำหรับผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน การฟอกเลือดเป็นประจำจะดำเนินการในศูนย์ฟอกไตผู้ป่วยนอกที่เป็นห้องในโรงพยาบาลที่สร้างโดยเฉพาะหรือห้องที่ทำขึ้นเฉพาะในคลินิกที่อยู่ลำพัง การฟอกเลือดที่ทำที่บ้านมีน้อย การฟอกเลือดในคลินิกจะดำเนินการและบริหารจัดการโดยทีมงานพิเศษจากพยาบาลและช่างเทคนิค; การฟอกเลือดที่บ้านสามารถดำเนินการได้เองและบริหารจัดการร่วมกันด้วยความช่วยเหลือของผู้ช่วยที่ผ่านการฝึกอบรมที่มักจะเป็นสมาชิกในครอบครัว.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและการชำระเลือดผ่านเยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายเลือด

การถ่ายเลือดโดยทั่วไปเป็นกระบวนการรับผลิตภัณฑ์ของเลือดเข้าระบบไหลเวียนของบุคคลเข้าหลอดเลือดดำ การถ่ายเลือดใช้ในภาวะการแพทย์ต่าง ๆ เพื่อทดแทนส่วนประกอบของเลือดที่เสียไป การถ่ายเลือดช่วงแรก ๆ ใช้เลือดเต็ม แต่เวชปฏิบัติสมัยใหม่ทั่วไปใช้เฉพาะบางองค์ประกอบของเลือดเท่านั้น เช่น เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว น้ำเลือด ปัจจัยจับลิ่มของเลือด (clotting factor) และเกล็ดเลือ.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและการถ่ายเลือด · ดูเพิ่มเติม »

การขาดธาตุเหล็ก

การขาดธาตุเหล็ก หรือ ภาวะขาดธาตุเหล็ก (Iron deficiency) เป็นการขาดสารอาหารที่สามัญที่สุดในโลก ธาตุเหล็กมีอยู่ในเซลล์ทั้งหมดของร่างกายมนุษย์และมีหน้าที่สำคัญมากหลายอย่าง เช่น การนำเอาออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ จากปอด โดยเป็นองค์ประกอบกุญแจสำคัญของโปรตีนเฮโมโกลบินในเลือด, การเป็นสื่อนำอิเล็กตรอนภายในเซลล์ในรูป cytochrome, การอำนวยการใช้และการเก็บออกซิเจนภายในกล้ามเนื้อโดยเป็นส่วนของไมโยโกลบิน, และเป็นสิ่งที่จำเป็นในปฏิกิริยาของเอนไซม์ในอวัยวะต่าง ๆ การมีธาตุเหล็กน้อยเกินไปสามารถรบกวนหน้าที่จำเป็นต่าง ๆ เหล่านี้ โดยทำให้เกิดโรค และอาจให้ถึงตายได้ ปริมาณธาตุเหล็กทั้งหมดในร่างกายมีประมาณ 3.8 ก. ในชาย และ 2.3 ก. ในหญิง ส่วนในน้ำเลือด เหล็กจะเวียนไปกับเลือดโดยยึดกับโปรตีน transferrin อย่างแน่น มีกลไกหลายอย่างที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของเหล็กในมนุษย์ และป้องกันไม่ให้ขาด กลไกควบคุมหลักอยู่ในทางเดินอาหาร แต่ถ้าการสูญเสียเหล็กไม่สามารถชดเชยได้จากการทานอาหาร ภาวะขาดเหล็กก็จะเกิดขึ้นในที่สุด และถ้าไม่รักษา ก็จะลามไปเป็นภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency anemia) แต่ก่อนจะถึงภาวะโลหิตจาง ภาวะการขาดธาตุเหล็กโดยที่ยังไม่ถึงภาวะโลหิตจางเรียกว่า Latent Iron Deficiency (LID) หรือ Iron-deficient erythropoiesis (IDE) การขาดธาตุเหล็กที่ไม่รักษาอาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจากเหตุขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นภาวะโลหิตจางที่สามัญ โดยมีเม็ดเลือดแดง (erythrocytes) หรือเฮโมโกลบิน ไม่พอ คือ ภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีเหล็กไม่พอ มีผลลดการผลิตโปรตีนเฮโมโกลบิน ซึ่งเป็นตัวจับออกซิเจนและทำให้เม็ดเลือดแดงสามารถส่งออกซิเจนให้กับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เด็ก หญิงช่วงวัยเจริญพันธุ์ และบุคคลที่มีอาหารไม่สมบูรณ์เสี่ยงต่อโรคมากที่สุด กรณีโดยมากของภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเล็กไม่รุนแรง แต่ถ้าไม่รักษาก็อาจสามารถสร้างปัญหาเช่นหัวใจเต้นเร็วหรือไม่ปกติ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ การโตช้าสำหรับทารกหรือเด็ก 75-381 refend more than 1000 refend.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและการขาดธาตุเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์

การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ หรือ การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (Complete blood count (CBC); Full blood count (FBC); Full blood exam (FBE)) หรือที่นิยมเรียกย่อว่า ซีบีซี เป็นการทดสอบที่ร้องขอโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์อื่น ๆ เพื่อต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับเซลล์เม็ดเลือดของผู้ป่วย ข้อมูลที่ได้อาจเรียกว่า ฮีมาโตแกรม (hemogram) Alexander Vastem เป็นคนแรกที่ใช้การนับจำนวนเม็ดเลือดเพื่อจุดประสงค์ทางการแพทย์ ค่ามาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบผลของการตรวจเลือดด้วยวิธีนี้มาจากการทดลองทางคลินิกตั้งแต่ ช่วง..

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจไขกระดูก

การตรวจไขกระดูกหมายถึงการวิเคราะห์ทางพยาธิสภาพของไขกระดูกที่ได้จากการตัดเนื้อออกตรวจ (biopsy) และการดูดออกจากไขกระดูก (aspiration) การตรวจไขกระดูกใช้สำหรับตรวจวินิจฉัยต่าง ๆ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวและโลหิตจาง เป็นต้น ไขกระดูกผลิตองค์ประกอบระดับเซลล์ของเลือด เช่น เกล็ดเลือด เม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว เป็นต้น แม้ว่าเราสามารถเก็บข้อมูลได้จากการทดสอบเลือดโดยตรง (ดึงจากเส้นเลือดดำโดยการผ่าหลอดเลือดดำ (Phlebotomy)) แต่บางครั้งก็จำเป็จต้องตรวจจากแหล่งกำเนิดเลือดในไขกระดูกเพื่อได้ข้อมูลมากขึ้นในการสร้างเม็ดเลือด (Haematopoiesis) และนี่คือบทบาทสำคัญของการตรวจไขกระดูก.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและการตรวจไขกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ คือ การเจริญของลูกตั้งแต่หนึ่ง ที่เรียก เอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ ในมดลูกของหญิง เป็นชื่อสามัญของการตั้งครรภ์ในมนุษย์ การตั้งครรภ์แฝดเกี่ยวข้องกับการมีเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งในการตั้งครรภ์ครั้งเดียว เช่น ฝาแฝด การคลอดปกติเกิดราว 38 สัปดาห์หลังการเริ่มตั้งท้อง หรือ 40 สัปดาห์หลังเริ่มระยะมีประจำเดือนปกติครั้งสุดท้ายในหญิงซึ่งมีความยาวรอบประจำเดือนสี่สัปดาห์ การร่วมเพศหรือเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทำให้เกิดการเริ่มตั้งท้อง เอ็มบริโอเป็นลูกที่กำลังเจริญในช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังเริ่มตั้งท้อง จากนั้นใช้คำว่า ทารกในครรภ์ จนกระทั่งคลอด นิยามทางการแพทย์หรือกฎหมายของหลายสังคมมีว่า การตั้งครรภ์ของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ไตรมาสเพื่อง่ายต่อการอ้างอิงช่วงการเจริญก่อนเกิด ไตรมาสแรกมีความเสี่ยงการแท้งเอง (การตายธรรมชาติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์) สูงสุด ในไตรมาสที่สองเริ่มเฝ้าสังเกตและวินิจฉัยการเจริญของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้น ไตรมาสที่สามมีการเจริญของทารกในครรภ์เพิ่มและการเจริญของแหล่งสะสมไขมันของทารกในครรภ์ จุดความอยู่รอดได้ของทารกในครรภ์ (point of fetal viability) หรือจุดเวลาที่ทารกในครรภ์สามารถดำรงชีวิตได้นอกมดลูก ปกติตรงกับปลายไตรมาสที่ 2 หรือต้นไตรมาสที่ 3 ทารกที่คลอดก่อนจุดนี้มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทางการแพทย์หรือตาย ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 40% ของการตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ และระหว่าง 25% ถึง 50% ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจเหล่านี้เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา หญิง 60% ใช้การคุมกำเนิดระหว่างเดือนที่เกิดการตั้งครร.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและการตั้งครรภ์ · ดูเพิ่มเติม »

การนอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับ (insomnia) เป็นความผิดปกติของการนอนหลับซึ่งไม่สามารถนอนหลับหรือนอนหลับได้ไม่นานเท่าที่ต้องการPunnoose Ann, Golub Robert, E Alison.(2012)"Insomnia", "JAMA".

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและการนอนไม่หลับ · ดูเพิ่มเติม »

การเรียน

การเรียนรู้ หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงใจ ที่เป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ และอาจเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารสนเทศชนิดต่าง ๆ ผู้ประมวลทักษะของการเรียนรู้เป็นได้ทั้งมนุษย์ สัตว์ และเครื่องจักรบางชนิด ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เมื่อเทียบกับเวลามีแนวโน้มเป็นเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ (learning curve) การเรียนรู้ของมนุษย์อาจเกิดขึ้นจากส่วนหนึ่งของการศึกษา การพัฒนาส่วนบุคคล การเรียนการสอน หรือการฝึกฝน การเรียนรู้อาจมีการยึดเป้าหมายและอาจมีความจูงใจเป็นตัวช่วย การศึกษาว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไรเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาประสาทจิตวิทยา (neuropsychology) จิตวิทยาการศึกษา (educational psychology) ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) และศึกษาศาสตร์ (pedagogy) การเรียนรู้อาจทำให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ (habituation) หรือการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (classical conditioning) ซึ่งพบในสัตว์หลายชนิด หรือทำให้เกิดกิจกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่างเช่นการเล่น ซึ่งพบได้เฉพาะในสัตว์ที่มีเชาวน์ปัญญา การเรียนรู้อาจก่อให้เกิดความตระหนักอย่างมีสำนึกหรือไม่มีสำนึกก็ได้.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและการเรียน · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

มาลาเรีย

มาลาเรีย (malaria) หรือไข้จับสั่น ไข้ป่า ไข้ป้าง ไข้ร้อนเย็นหรือไข้ดอกสัก เป็นโรคติดเชื้อของมนุษย์และสัตว์อื่นที่มียุงเป็นพาหะ มีสาเหตุจากปรสิตโปรโตซัว (จุลินทรีย์เซลล์เดียวประเภทหนึ่ง) ในสกุล Plasmodium (พลาสโมเดียม) อาการทั่วไปคือ มีไข้ อ่อนเพลีย อาเจียนและปวดศีรษะ ในรายที่รุนแรงอาจทำให้ตัวเหลือง ชัก โคม่าหรือเสียชีวิตได้ โรคมาลาเรียส่งผ่านโดยการกัดของยุงเพศเมียในสกุล Anopheles (ยุงก้นปล่อง) และปกติอาการเริ่ม 10 ถึง 15 วันหลังถูกกัด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม บุคคลอาจมีอาการของโรคในอีกหลายเดือนให้หลัง ในผู้ที่เพิ่งรอดจากการติดเชื้อ การติดเชื้อซ้ำมักมีอาการเบากว่า การต้านทานบางส่วนนี้จะหายไปในเวลาเป็นเดือนหรือปีหากบุคคลไม่ได้สัมผัสมาลาเรียอย่างต่อเนื่อง เมื่อถูกยุง Anopheles เพศเมียกัดจะนำเชื้อปรสิตจากน้ำลายของยุงเข้าสู่เลือดของบุคคล ปรสิตจะไปตับซึ่งจะเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ มนุษย์สามารถติดเชื้อและส่งต่อ Plasmodium ห้าสปีชีส์ ผู้เสียชีวิตส่วนมากเกิดจากเชื้อ P. falciparum เพราะ P. vivax, P. ovale และ P. malariae โดยทั่วไปก่อให้เกิดมาลาเรียแบบที่รุนแรงน้อยกว่า สปีชีส์รับจากสัตว์ P. knowlesi พบมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การวินิจฉัยมาลาเรียตรงแบบทำโดยการตรวจเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยใช้ฟิล์มเลือดหรือการวินิจฉัยชนิดรวดเร็ว (rapid diagnostic test) ที่อาศัยแอนติเจน มีการพัฒนาวิธีซึ่งใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสเพื่อตรวจจับดีเอ็นเอของปรสิต แต่ยังไม่มีใช้แพร่หลายในพื้นที่ซึ่งมีโรคมาลาเรียทั่วไปเนื่องจากราคาแพงและซับซ้อน ความเสี่ยงของโรคลดได้โดยการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยใช้มุ้งหรือสารขับไล่แมลง หรือด้วยมาตรการควบคุมยุง เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงหรือการระบายน้ำนิ่ง มียารักษาโรคหลายชนิดที่ป้องกันมาลาเรียในผู้ที่เดินทางไปยังบริเวณที่พบโรคมาลาเรียทั่วไป แนะนำให้ใช้ยารักษาโรคซัลฟาด็อกซีน/ไพริเมธามีนบางครั้งในทารกและหลังไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ในบริเวณซึ่งมีโรคมาลาเรียอัตราสูง โรคมาลาเรียยังไม่มีวัคซีน แต่กำลังพัฒนา การรักษาโรคมาลาเรียที่แนะนำ คือ การใช้ยาต้านมาลาเรียหลายชนิดร่วมกันซึ่งรวมอาร์ตีมิซินิน ยาชนิดที่สองอาจเป็นเมโฟลควิน ลูมีแฟนทรีนหรือซัลฟาด็อกซีน/ไพริเมธามีน อาจใช้ควินินร่วมกับด็อกซีไซคลินได้หากไม่มีอาร์ติมิซินิน แนะนำว่าในพื้นที่ซึ่งมีโรคมาลาเรียทั่วไป ให้ยืนยันโรคมาลาเรียหากเป็นไปได้ก่อนเริ่มการรักษาเนื่องจากความกังวลว่ามีการดื้อยาเพิ่มขึ้น มีการพัฒนาการดื้อยาในปรสิตต่อยาต้านมาลาเรียหลายชนิด เช่น P. falciparum ซึ่งดื้อต่อคลอโรควินได้แพร่ไปยังพื้นที่ซึ่งมีการระบาดมากที่สุด และการดื้อยาอาร์ทีมิซินินเป็นปัญหาในบางพื้นที่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โรคนี้แพร่หลายในเขตร้อนและอบอุ่นซึ่งอยู่เป็นแถบกว้างรอบเส้นศูนย์สูตร ซึ่งรวมพื้นที่แอฟริกาใต้สะฮารา ทวีปเอเชียและละตินอเมริกาบริเวณกว้าง โรคมาลาเรียมักสัมพันธ์กับความยากจนและยังอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ในทวีปแอฟริกา มีการประเมินว่ามีการสูญเสีย 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเนื่องจากค่าใช้จ่ายสาธารณสุขเพิ่มขึ้น เสียความสามารถการทำงาน และผลเสียต่อการท่องเที่ยว องค์การอนามัยโลกประเมินว่ามีผู้ป่วย 198 ล้านคน ใน..

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและมาลาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

มดลูก

มดลูก (Uterus) คือส่วนบริเวณตรงกลาง มดลูก เป็นอวัยวะกลวง รูปร่างคล้ายลูกแพร์ มีผนังหนา วางตัวอยูในช่องเชิงกราน อยู่หลังกระเพาะปัสสาวะ อยู่หน้าลำไส้ใหญ่และ ช่องทวารหนัก โพรงของมดลูกติดกับโพรงของปีกมดลูกและโพรงของช่องคลอด สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนคือ fundus, body และcervix หมวดหมู่:อวัยวะ.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและมดลูก · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ม้าม

ำลองภายในม้าม (Gray's Anatomy) ม้าม (spleen) เป็นอวัยวะในร่างกายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีรูปทรงเรียวรี คล้ายเมล็ดถั่ว เป็นอวัยวะที่ขจัดเชื้อโรคและเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ตายแล้วออกจากกระแสเลือด ม้ามจะอยู่บริเวณช่องท้องส่วนบน ใต้กะบังลมทางซ้าย และอยู่ใกล้กับตับอ่อน และไตซ้าย ถูกยึดติดไว้กับเยื่อบุช่องท้อง ม้ามมีขนาดแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยในวัยผู้ใหญ่ ม้ามจะมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร (ประมาณ 5 นิ้ว) และจะมีความกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร (4 นิ้ว) และหนาประมาณ 3.8 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว) และมีน้ำหนักประมาณ 200 กรัม (7 ออนซ์) หลอดเลือดที่เข้าสู่ม้ามคือ หลอดเลือดสเปลนิกอาร์เตอร์รี่ (splenic artery) และเลือดจากม้ามจะไหลเข้าสู่ตั.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและม้าม · ดูเพิ่มเติม »

ยายับยั้งการหลั่งกรด

(Proton pump inhibitors, PPI) เป็นกลุ่มของยาที่มีฤทธิ์ลดการผลิตกรดในกระเพาะอาหารได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ทางยาที่ใกล้เคียงกับยาอีกกลุ่มแต่ออกฤทธิ์ต่างกันเล็กน้อยเรียกว่า H2-รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ ยาพวกนี้มีใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีคุณภาพสูงและปลอดภัย ตามโครงสร้างทางเคมียาเหล่านี้จะเป็นสารเคมีในกลุ่มเบนซิมิดาโซล (benzimidazole).

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและยายับยั้งการหลั่งกรด · ดูเพิ่มเติม »

ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์

อ็นเซด (NSAID ย่อจาก Non-steroidal anti-inflammatory drugs) เป็นยาระงับปวด ลดไข้ และต้านการอักเสบ ยากลุ่ม สเตอรอยด์ (steroids) ก็มีฤทธิ์แบบนี้เช่นกัน แต่กลไกการออกฤทธิ์ต่างกัน โดยยากลุ่ม สเตอรอยด์กดภูมิคุ้มกัน แต่พวกเอ็นเซดไม่ เพื่อแยกความแตกต่างให้ชัดเจนเรา จึงตั้งชื่อยากลุ่มนี้ว่า ไม่ใช่กลุ่มสเตอรอยด์ โดยการใช้คำ นอน-สเตอรอยดอล นำหน้า เอ็นเซด บางครั้งเรียกว่า นอน-สเตอรอยดอล แอนตี้-อินแฟลมเมตอรี่ อะนาเจซิก (non-steroidal anti-inflammatory agents/analgesics (NSAIAs)) ตัวอย่างยาที่บทบาทมากที่สุดในกลุ่มนี้คือ.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

รก

ตำแหน่งของรกในครรภ์ รก คืออวัยวะพิเศษที่สร้างขึ้นมาในช่วงตั้งครรภ์ ทำหน้าที่ส่งอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกและกำจัดของเสีย ด้านหนึ่งของรกต่อกับเส้นเลือดที่สายสะดือของทารก อีกด้านของรกจะเกาะกับผนังมดลูก เลือดลูกกับแม่จะไม่ผสมกัน แต่มีการแลกเปลี่ยนสารต่าง ๆ ระหว่างกัน หมวดหมู่:ชีววิทยาการเจริญ หมวดหมู่:คัพภวิทยา หมวดหมู่:อวัยวะ.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและรก · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้

thumb ในกายวิภาคศาสตร์, ลำไส้ เป็นส่วนหนึงในทางเดินอาหารต่อจากกระเพาะอาหารไปสู่ทวารหนัก ในมนุษย์และสัตว์ส่วนใหญ่ ลำไส้แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ลำไส้เล็ก และ ลำไส้ใหญ่ ในมนษุย์สามารถแบ่งลำไส้เล็กเป็นส่วนๆ ได้แก่ ลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum), ลำไส้เล็กส่วนกลาง (Jejunum), ลำไส้เล็กส่วนปลาย (Ileum) ส่วนลำไส้ใหญ่แบ่งได้เป็น ลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (Cecum) และ ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Colon).

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและลำไส้ · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้ใหญ่

ลำไส้ใหญ่ (Colon) เป็นอวัยวะที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ใหญ่ของคนมีความยาวประมาณ 1.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและลำไส้ใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้เล็ก

ลำไส้เล็ก เป็นอวัยวะซึ่งมีหน้าที่ย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน โดยวิลไล(มีหน้าที่เพิ่มพื้นที่ในการย่อยอาหารในลำไส้เล็ก) เอนไซม์ย่อยในลำไส้เล็กนั้นมาจากลำไส้เล็กหลั่งเองส่วนหนึ่งและตับอ่อนหลั่งส่วนหนึ่ง.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและลำไส้เล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้เล็กส่วนต้น

ลำไส้ส่วนต้นหรือดูโอดีนัม (Duodenum) เป็นลำไส้เล็กส่วนแรกในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูงส่วนใหญ่ รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีก ในปลา ส่วนของลำไส้เล็กนั้นไม่ชัดเจน และอาจใช้คำว่า ลำไส้เล็กหน้าหรือลำไส้เล็กต้น (proximal intestine) แทน ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลำไส้เล็กส่วนต้นอาจเป็นที่ดูดซึมเหล็กหลัก ลำไส้เล็กส่วนต้นอยู่ก่อนลำไส้เล็กส่วนกลาง (jejunum) และลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) และเป็นลำไส้เล็กส่วนที่สั้นที่สุด เป็นที่ที่เกิดการย่อยเชิงเคมีมากที.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและลำไส้เล็กส่วนต้น · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้เล็กส่วนปลาย

ลำไส้เล็กส่วนปลาย (Ileum) เป็นส่วนปลายสุดของลำไส้เล็กในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์เลื้อยคลาน และนก ลำไส้เล็กส่วนปลายอยู่ถัดมาจากลำไส้เล็กส่วนต้นและลำไส้เล็กส่วนกลาง ลำไส้เล็กส่วนปลายในมนุษย์มีความยาวประมาณ 2-4 เมตร และค่า pH จะอยู่ระหว่าง 7 ถึง 8.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและลำไส้เล็กส่วนปลาย · ดูเพิ่มเติม »

วาร์ฟาริน

วาร์ฟาริน (warfarin, หรือชื่อการค้า คูมาดิน, มารีแวน, ยูนิวาร์ฟิน) เป็นสารกันเลือดเป็นลิ่มซึ่งปกติใช้ป้องกันภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือดและภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือด วาร์ฟารินมักเรียกผิด ๆ ว่าเป็น "ยาเจือจางเลือด" (blood thinner) เริ่มใช้ใน..

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและวาร์ฟาริน · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินซี

วิตามินซี (vitamin C) หรือ กรดแอล-แอสคอร์บิก (L-ascorbic acid) หรือ แอสคอร์เบต (ascorbate) ซึ่งเป็นแอนไอออนของกรดแอสคอร์บิก เป็นสารอาหารจำเป็นสำหรับมนุษย์และสัตว์อื่นบางชนิด และเป็นวิตามินประเภทที่ละลายในน้ำ วิตามินซีหมายถึงหลายวิตาเมอร์ซึ่งมีกัมมันตภาพวิตามินซีในสัตว์ ซึ่งรวมกรดแอสคอร์บิกและเกลือของมัน บางรูปอ็อกซิไดซ์ของโมเลกุลอย่างกรดดีไฮโดรแอสคอร์บิก แอสคอร์เบตและกรดแอสคอร์บิกมีอยู่ธรรมชาติในร่างกายเมื่อตัวใดตัวหนึ่งถูกนำเข้าเซลล์ เนื่องจากรูปแปลงไปมาได้ตาม pH วิตามินซีเป็นโคแฟกเตอร์ในปฏิกิริยาเอ็นไซม์อย่างน้อยแปดปฏิกิริยา ซึ่งรวมหลายปฏิกิริยาของการสังเคราะห์คอลลาเจน ซึ่งหากทำงานผิดปกติจะทำให้เกิดกลุ่มอาการรุนแรงของโรคลักปิดลักเปิด ในสัตว์ ปฏิกิริยาเหล่านี้สำคัญมากในการสมานแผลและการป้องกันเลือดออกจากหลอดเลือดฝอย แอสคอร์เบตยังมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระต่อความเครียดอ็อกซิเดชัน (oxidative stress) ข้อเท็จจริงที่ว่า อีเนนทิโอเมอร์ (enantiomer) ดี-แอสคอร์เบต (D-ascorbate) ซึ่งไม่พบในธรรมชาติมีกัมมันตภาพต้านอนุมูลอิสระเช่นเดียวกับแอล-แอสคอร์เบตแต่มีกัมมันตภาพวิตามินน้อยกว่ามาก เน้นข้อเท็จจริงที่ว่าการทำหน้าที่วิตามินส่วนใหญ่ของแอล-แอสคอร์บิกนั้นมิได้อาศัยคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระของมัน แต่เป็นปฏิกิริยาเอ็นไซม์ซึ่งสเตอริโอเคมีจาเพาะ (stereospecific) "แอสคอร์บิก" ที่ไม่มีอักษรบอกรูปอีแนนทิโอเมอร์จะสันนิษฐานว่าหมายถึงสารเคมีแอล-แอสคอร์เบตเสมอ แอสคอร์เบตจำเป็นต่อหลายปฏิกิริยาเมแทบอลิซึมจำเป็นหลายปฏิกิริยาในสัตว์และพืชทุกชนิด มีการสร้างภายในในสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิด ซึ่งทุกชนิดที่ไม่สังเคราะห์จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร กรดแอสคอร์บิกมีการใช้เป็นสารปรุงแต่งอาหารอย่างกว้างขวางเพื่อป้องกันอ็อกซิเดชัน.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและวิตามินซี · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินเอ

รงสร้างของเรตินอล วิตามินเอที่พบได้บ่อย วิตามินเอ เป็นวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน มีส่วนประกอบสำคัญของคอร์เนีย และยังมีผลต่อการเจริญเติบโต การสร้างกระดูก และระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้ ยังป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ ทำให้ผิวและผมแข็งแรง ค้นพบโดย ดร.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและวิตามินเอ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหสัมพันธ์

ำหรับสถิติศาสตร์ สหสัมพันธ์ (correlation) หมายถึงความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างตัวแปรสุ่มตั้งแต่สองตัวแปรขึ้นไป Several sets of (''x'', ''y'') points, with the Pearson correlation coefficient of ''x'' and ''y'' for each set. Note that the correlation reflects the noisiness and direction of a linear relationship (top row), but not the slope of that relationship (middle), nor many aspects of nonlinear relationships (bottom). N.B.: the figure in the center has a slope of 0 but in that case the correlation coefficient is undefined because the variance of ''Y'' is zero.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและสหสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา)

อาคาร 50 ของเอ็นไอเอช สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health) หรือ เอ็นไอเอช (NIH) เป็นหน่วยงานวิจัยในสหรัฐอเมริการับผิดชอบในด้านงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์ โดยมีหน่วยงานย่อย 27 สถาบัน หน่วยงานก่อตั้งในปี พ.ศ. 2430 ภายใต้ชื่อ Laboratory of Hygiene ได้เติบโตและเปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่อปัจจุบันในปี พ.ศ. 2473 สถาบันปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองบาเธสดา ในรัฐแมริแลน.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) · ดูเพิ่มเติม »

หมดสติชั่วคราว

หมดสติชั่วคราว (syncope, "ซิงคะพี") คือการที่ผู้ป่วยมีทั้งอาการหมดสติและเสียการทรงตัว (postural tone) พร้อมกัน มีลักษณะเฉพาะคือ เป็นเร็ว เป็นไม่นาน และหายได้เอง ส่วนใหญ่เกิดจากการที่มีเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลงจากสาเหตุต่างๆ ที่พบบ่อยคือภาวะความดันเลือดต่ำ.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและหมดสติชั่วคราว · ดูเพิ่มเติม »

หลอดอาหาร

หลอดอาหาร (อังกฤษ: oesophagus/esophagus/œsophagus; กรีก: οἰσοφάγος) เป็นอวัยวะของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เป็นท่อกลวงประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่อาหารจะผ่านจากคอหอยไปยังกระเพาะอาหาร ในมนุษย์ หลอดอาหารต่อเนื่องกับส่วนกล่องเสียงของคอหอย (laryngeal part of the pharynx) ที่ระดับของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 6.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและหลอดอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

หนอนตัวแบน

หนอนตัวแบน หรือ แพลทีเฮลมินธิส เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลักษณะเด่นคือ เป็นไฟลัมแรกที่มีสมมาตรแบบซ้ายขวา ลำตัวแบนจากบนลงล่าง (dorso-ventrally) ลักษณะคล้ายริบบิ้น ผิวลำตัวอ่อนนิ่ม ยกเว้นพวกที่เป็นปรสิตจะมีคิวติเคิลหนา พบประมาณ 25000 ชนิด จัดอยู่ในสัตว์กลุ่มที่ไม่มีช่องว่างลำตัวที่แท้จริง (Accoelomate) กลุ่มใหญ่ที่สุด สามารถพบได้ทั้งในทะเล น้ำจืด บนบก ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตแบบปรสิต (parasitic) บางวงศ์ดำรงชีวิตอิสระ (free living) ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และสั้น ยกเว้นพยาธิตัวตืด ขนาดและความยาวแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด พบยาวที่สุดกว่า 20 เมตร.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและหนอนตัวแบน · ดูเพิ่มเติม »

อะมีบา

อะมีบา (อังกฤษ amoeba, ameba) เป็นโปรโตซัวสกุลหนึ่ง สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยส่วนของลำตัวที่ยื่นออกมาชั่วคราว เรียกว่าเท้าเทียม (pseudopods) และถือว่าเป็นตัวแทนของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่รู้จักกันดี คำว่า อะมีบา นั้นมีการใช้หลากหลาย หมายถึงสัตว์เช่นนี้ และสัตว์จำพวกอื่นที่มีความใกล้ชิดในทางชีววิทยา ปัจจุบันจัดกลุ่มเป็น อะบีโบซัว (Amoebozoa) หรือหมายถึงโปรโตซัวทั้งหมด ที่เคลื่อนไหวได้ด้วยเท้าเทียม หรืออาจเรียกว่า อมีบอยด(amoeboids) อะมีบา เองนั้นพบได้ในน้ำจืด โดยปกติอยู่ในพืชผักที่เน่าเปื่อย จมอยู่ในลำน้ำ แต่ไม่ได้พบมากเป็นพิเศษในธรรมชาติ แท้จริงแล้วอะมีบาที่ก่อให้เกิดโรคในคนได้ เป็นอะมีบาที่อาศัยเป็นอิสระ ในธรรมชาติตามแหล่งน้ำ ดิน โคลนเลน มีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์เนจีเรีย ฟาวเลอรี่ (Naegleria fowleri) และสายพันธุ์อะคันธามีบา (Acantham.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและอะมีบา · ดูเพิ่มเติม »

อะตอม

อะตอม (άτομον; Atom) คือหน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยส่วนของนิวเคลียสที่หนาแน่นมากอยู่ตรงศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนที่มีประจุลบ นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยโปรตอนที่มีประจุบวกกับนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า (ยกเว้นในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งเป็นนิวไคลด์ชนิดเดียวที่เสถียรโดยไม่มีนิวตรอนเลย) อิเล็กตรอนของอะตอมถูกดึงดูดอยู่กับนิวเคลียสด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ในทำนองเดียวกัน กลุ่มของอะตอมสามารถดึงดูดกันและกันก่อตัวเป็นโมเลกุลได้ อะตอมที่มีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากันจะมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า มิฉะนั้นแล้วมันอาจมีประจุเป็นบวก (เพราะขาดอิเล็กตรอน) หรือลบ (เพราะมีอิเล็กตรอนเกิน) ซึ่งเรียกว่า ไอออน เราจัดประเภทของอะตอมด้วยจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียส จำนวนโปรตอนเป็นตัวบ่งบอกชนิดของธาตุเคมี และจำนวนนิวตรอนบ่งบอกชนิดไอโซโทปของธาตุนั้น "อะตอม" มาจากภาษากรีกว่า ἄτομος/átomos, α-τεμνω ซึ่งหมายความว่า ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไป หลักการของอะตอมในฐานะส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสารที่ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไปถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดยนักปรัชญาชาวอินเดียและนักปรัชญาชาวกรีก ซึ่งจะตรงกันข้ามกับปรัชญาอีกสายหนึ่งที่เชื่อว่าสสารสามารถแบ่งแยกได้ไปเรื่อยๆ โดยไม่มีสิ้นสุด (คล้ายกับปัญหา discrete หรือ continuum) ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 นักเคมีเริ่มวางแนวคิดทางกายภาพจากหลักการนี้โดยแสดงให้เห็นว่าวัตถุหนึ่งๆ ควรจะประกอบด้วยอนุภาคพื้นฐานที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกต่อไป ระหว่างช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักฟิสิกส์ค้นพบส่วนประกอบย่อยของอะตอมและโครงสร้างภายในของอะตอม ซึ่งเป็นการแสดงว่า "อะตอม" ที่ค้นพบตั้งแต่แรกยังสามารถแบ่งแยกได้อีก และไม่ใช่ "อะตอม" ในความหมายที่ตั้งมาแต่แรก กลศาสตร์ควอนตัมเป็นทฤษฎีที่สามารถนำมาใช้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอะตอมได้เป็นผลสำเร็จ ตามความเข้าใจในปัจจุบัน อะตอมเป็นวัตถุขนาดเล็กที่มีมวลน้อยมาก เราสามารถสังเกตการณ์อะตอมเดี่ยวๆ ได้โดยอาศัยเครื่องมือพิเศษ เช่น กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ มวลประมาณ 99.9% ของอะตอมกระจุกรวมกันอยู่ในนิวเคลียสไอโซโทปส่วนมากมีนิวคลีออนมากกว่าอิเล็กตรอน ในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งมีอิเล็กตรอนและนิวคลีออนเดี่ยวอย่างละ 1 ตัว มีโปรตอนอยู่ \begin\frac \approx 0.9995\end, หรือ 99.95% ของมวลอะตอมทั้งหมด โดยมีโปรตอนและนิวตรอนเป็นมวลที่เหลือประมาณเท่า ๆ กัน ธาตุแต่ละตัวจะมีอย่างน้อยหนึ่งไอโซโทปที่มีนิวเคลียสซึ่งไม่เสถียรและเกิดการเสื่อมสลายโดยการแผ่รังสี ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการแปรนิวเคลียสที่ทำให้จำนวนโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสเปลี่ยนแปลงไป อิเล็กตรอนที่โคจรรอบอะตอมจะมีระดับพลังงานที่เสถียรอยู่จำนวนหนึ่งในลักษณะของวงโคจรอะตอม และสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไปมาระหว่างกันได้โดยการดูดซับหรือปลดปล่อยโฟตอนที่สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ต่างกัน อิเล็กตรอนเหล่านี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติทางแม่เหล็กของอะตอม แนวคิดที่ว่าสสารประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ ไม่ต่อเนื่องกันและไม่สามารถแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กไปได้อีก เกิดขึ้นมานับเป็นพันปีแล้ว แนวคิดเหล่านี้มีรากฐานอยู่บนการให้เหตุผลทางปรัชญา นักปรัชญาได้เรียกการศึกษาด้านนี้ว่า ปรัชญาธรรมชาติ (Natural Philosophy) จนถึงยุคหลังจากเซอร์ ไอแซค นิวตัน จึงได้มีการบัญญัติศัพท์คำว่า 'วิทยาศาสตร์' (Science) เกิดขึ้น (นิวตันเรียกตัวเองว่าเป็น นักปรัชญาธรรมชาติ (natural philosopher)) ทดลองและการสังเกตการณ์ ธรรมชาติของอะตอม ของนักปรัชญาธรรมชาติ (นักวิทยาศาสตร์) ทำให้เกิดการค้นพบใหม่ ๆ มากมาย การอ้างอิงถึงแนวคิดอะตอมยุคแรก ๆ สืบย้อนไปได้ถึงยุคอินเดียโบราณในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล โดยปรากฏครั้งแรกในศาสนาเชน สำนักศึกษานยายะและไวเศษิกะได้พัฒนาทฤษฎีให้ละเอียดลึกซึ้งขึ้นว่าอะตอมประกอบกันกลายเป็นวัตถุที่ซับซ้อนกว่าได้อย่างไร ทางด้านตะวันตก การอ้างอิงถึงอะตอมเริ่มขึ้นหนึ่งศตวรรษหลังจากนั้นโดยลิวคิพพุส (Leucippus) ซึ่งต่อมาศิษย์ของเขาคือ ดีโมครีตุส ได้นำแนวคิดของเขามาจัดระเบียบให้ดียิ่งขึ้น ราว 450 ปีก่อนคริสตกาล ดีโมครีตุสกำหนดคำว่า átomos (ἄτομος) ขึ้น ซึ่งมีความหมายว่า "ตัดแยกไม่ได้" หรือ "ชิ้นส่วนของสสารที่เล็กที่สุดไม่อาจแบ่งแยกได้อีก" เมื่อแรกที่ จอห์น ดาลตัน ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับอะตอม นักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นเข้าใจว่า 'อะตอม' ที่ค้นพบนั้นไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกแล้ว ถึงแม้ต่อมาจะได้มีการค้นพบว่า 'อะตอม' ยังประกอบไปด้วย โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน แต่นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันก็ยังคงใช้คำเดิมที่ดีโมครีตุสบัญญัติเอาไว้ ลัทธินิยมคอร์พัสคิวลาร์ (Corpuscularianism) ที่เสนอโดยนักเล่นแร่แปรธาตุในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซูโด-กีเบอร์ (Pseudo-Geber) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า พอลแห่งทารันโท แนวคิดนี้กล่าวว่าวัตถุทางกายภาพทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดละเอียดเรียกว่า คอร์พัสเคิล (corpuscle) เป็นชั้นภายในและภายนอก แนวคิดนี้คล้ายคลึงกับทฤษฎีอะตอม ยกเว้นว่าอะตอมนั้นไม่ควรจะแบ่งต่อไปได้อีกแล้ว ขณะที่คอร์พัสเคิลนั้นยังสามารถแบ่งได้อีกในหลักการ ตัวอย่างตามวิธีนี้คือ เราสามารถแทรกปรอทเข้าไปในโลหะอื่นและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของมันได้ แนวคิดนิยมคอร์พัสคิวลาร์อยู่ยั่งยืนยงเป็นทฤษฎีหลักตลอดเวลาหลายร้อยปีต่อมา ในปี..

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

อัลมอนด์

อัลมอนด์ หรือ แอลมอนด์ ในภาษาอังกฤษ almond อ่านว่า อามึนด์ หรือ แอมึนด์ โดยไม่ออกเสียง l แต่ในภาษาไทยนิยมสะกดว่า อัลมอนด์ หรือ แอลมอนด์ (almond) เป็นพืชชนิดหนึ่งในสกุล Prunus เมล็ดรับประทานได้ เป็นพืชพื้นเมืองในตะวันออกกลางและเอเชียใต้ ผลของอัลมอนด์เป็นผลแบบมีเมล็ดเดียว มีเปลือกชั้นนอกและและเปลือกแข็งหุ้มเมล็ดโดยที่ไม่จัดเป็นผลแบบนัท อัลมอนด์จะขายทั้งแบบที่เอาเปลือกออกแล้วหรือขายทั้งเปลือก หรือนำไปผ่านน้ำร้อนเพื่อทำให้เปลือกอ่อนลง และเอ็มบริโอยังคงเป็นสีขาว ไฟล์:Green almonds.jpg|อัลมอนด์เขียว ไฟล์:Mandel Gr 99.jpg| อัลมอนด์มีเปลือก (ซ้าย) และไม่มีเปลือก (ขวา) ไฟล์:Blanched_almonds.jpg|อัลมอนด์ที่ผ่านน้ำร้อน.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและอัลมอนด์ · ดูเพิ่มเติม »

อาการหายใจลำบาก

อาการหายใจลำบากหรืออาการหอบ (dyspnea, shortness of breath) เป็นอาการที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าหายใจได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ นิยามโดยสมาคมโรคทรวงอกแห่งประเทศสหรัฐอเมริกากล่าวถึงอาการหายใจลำบากไว้ว่าหมายถึง "ประสบการณ์โดยอัตวิสัยที่คนผู้หนึ่งหายใจไม่สะดวก เป็นความรู้สึกที่วัดไม่ได้ ซึ่งมีความรุนแรงหลายระดับ" และแนะนำให้ผู้ที่ตรวจรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบาก ประเมินความรุนแรงของความรู้สึกที่ว่านี้ ระดับของความลำบากที่ปรากฎ และผลกระทบที่มีต่อกิจกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน ความรู้สึกหายใจลำบากนี้มีหลายแบบ (เชิงคุณภาพ) เช่น รู้สึกว่าต้องใช้แรงมากในการหายใจ รู้สึกแน่นอยู่ในอก หรือรู้สึกหิวอากาศ หายใจไม่เพียงพอต่อความต้องการ เป็นต้น อาการหายใจลำบากเป็นอาการปกติของการออกกำลังกายอย่างหนัก แต่หากเกิดขึ้นในขณะที่ไม่ได้ออกกำลังกาย หรือออกแรงเพียงเล็กน้อย จะถือเป็นความผิดปกติ โรคที่เป็นสาเหตุมีอยู่หลายอย่าง เช่น โรคหืด ปอดอักเสบ หัวใจขาดเลือด โรคเนื้อปอด หัวใจวาย ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือโรคทางจิตใจ เช่น โรคแพนิก โรควิตกกังวล เป็นต้น การรักษาอาการหายใจลำบากมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหต.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและอาการหายใจลำบาก · ดูเพิ่มเติม »

อาการคัน

อาการคัน เป็นความรู้สึกระคายเคืองทางผิวหนังของคนหรือสัตว์ ที่ ทำให้เกิดอาการอยากเกาขึ้นม.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและอาการคัน · ดูเพิ่มเติม »

อาการปวดเค้นหัวใจ

อาการปวดเค้นหัวใจ (angina pectoris) คืออาการเจ็บหน้าอกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นผลจากการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการอุดตันหรือหดเกร็งของหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการปวดเค้นหัวใจคือโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นผลจากการเกิดการแข็งของหลอดเลือดหัวใจ คำภาษาอังกฤษของอาการปวดเค้นหัวใจคือ angina pectoris มาจากคำภาษาลาตินว่า "angere" ("บีบรัด") ประกอบกับคำว่า pectus ("อก") ดังนั้นอาจแปลตามรูปศัพท์ได้ว่าอาการปวดเหมือนถูกบีบรัดหน้าอก ความรุนแรงของความเจ็บปวดมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของการขาดออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจอยู่บ้างเพียงเล็กน้อย (หมายความว่าแม้จะมีอาการปวดรุนแรง แต่อาจไม่เป็นหัวใจขาดเลือดก็ได้ และผู้ป่วยหัวใจขาดเลือด อาจไม่เจ็บหรือเจ็บไม่มากก็ได้) อาการปวดที่เป็นมากขึ้นๆ ("crescendo") อาการปวดที่เป็นมากขึ้นทันทีทันใดขณะไม่ได้ออกแรงหรือพัก และอาการปวดที่เป็นอยู่นานกว่า 15 นาที เป็นอาการของอาการปวดเค้นไม่เสถียร ("unstable angina") (มักนับรวมกับโรคอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกันเป็นกลุ่มภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน) อาการเช่นนี้มีโอกาสสูงที่จะเป็นจากการมีกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด จำเป็นต้องได้รับการตรวจจากแพทย์โดยด่วน ส่วนใหญ่เบื้องต้นมักถือว่าเป็นหัวใจขาดเลือดไว้ก่อน.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและอาการปวดเค้นหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

ฮีมาโทคริต

ีมาโทคริต (Hematocrit, Ht หรือ HCT) หรือ packed cell volume (PCV) หรือ erythrocyte volume fraction (EVF) คือ เปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดแดงต่อปริมาณเลือดทั้งหมด ค่าปกติของ HCT ในเพศชายอยู่ที่ 45% และเพศหญิงอยู่ที่ 40% HCT นับเป็นส่วนประกอบหนึ่งของผลการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ ร่วมกับ ความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน จำนวนเม็ดเลือดขาว และจำนวนเกล็ดเลือด ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ค่า HCT ขึ้นอยู่กับขนาดของร่างกาย คำว่า "hematocrit" มาจากภาษาเยอรมัน/ภาษาสวีเดน ซึ่ง "haematokrit" ถูกบัญญัติขึ้นโดย Blix ที่ Upsala เมื่อ ค.ศ. 1891 อ้างอิงจากบทความของ SG Hedin ที่ตีพิมพ์ใน Skandanavia Arch.f Physiolgie 2:134-140,1891 จากบทความที่มีชื่อว่า "The Haematokrit: a New Apparatus for the Investigation of Blood" คำว่า "Haematokrit" ถูกใช้เป็นต้นแบบหลังจากคำว่า "Lactokrit" ถูกใช้ในฟาร์มเลี้ยงนม (ดูเพิ่ม Scudder & Self in NEJM Oct 30, 1941 225:18 p.679 "Controlled Administration of Fluid in Surgery").

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและฮีมาโทคริต · ดูเพิ่มเติม »

ผิวหนัง

ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนที่ผิวหนังด้วย ผิวหนังเป็นส่วนที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นด่านป้องกันด่านแรกจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากจุลชีพก่อโรคProksch E, Brandner JM, Jensen JM.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและผิวหนัง · ดูเพิ่มเติม »

ถั่วเหลือง

ั่วเหลือง เป็นพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสำหรับปลูกสลับกับการปลูกข้าว ได้มีรายงานการปลูกถั่วเหลืองในประเทศจีนเมื่อเกือบ 5,000 ปีมาแล้ว แต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่าส่วนใดของประเทศจีนเป็นถิ่นกำเนิดที่สันนิษฐานและยอมรับกันโดยทั่วไปคือบริเวณหุบเขาแม่น้ำเหลือง (ประมาณเส้นรุ้งที่ 35 องศาเหนือ) เพราะว่าอารยธรรมของจีนได้ถือกำเนิดที่นั่น และประกอบกับมีการจารึกครั้งแรกเกี่ยวกับถั่วเหลือง เมื่อ 2295 ปีก่อนพุทธกาล ที่หุบเขาแม่น้ำเหลือง จากนั้นถั่วเหลืองได้แพร่กระจายสู่ประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น เมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล แล้วเข้าสู่ยุโรปในช่วงหลัง..

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและถั่วเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ทาลัสซีเมีย

รคเลือดจางทาลัสซีเมีย (thalassaemia) เป็นโรคเลือดจางที่มีสาเหตุมาจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้มีการสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดผิดปกติ จึงทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ แตกง่าย ถูกทำลายง่าย ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จึงมีเลือดจาง โรคนี้พบได้ทั้งหญิงและชายปริมาณเท่า ๆ กัน ถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ทางพันธุกรรมพบได้ทั่วโลก และพบมากในประเทศไทยด้วยเช่นกัน ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้ร้อยละ 1 และพบผู้ที่เป็นพาหะนำโรคถึงร้อยละ 30-40 คือประมาณ 20-25 ล้านคน เมื่อพาหะแต่งงานกันและพบยีนผิดปกติร่วมกัน ก็อาจมีลูกที่เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งประมาณการณ์ว่าจะมีคนไทยเป็นมากถึง 500,000 คน โรคนี้ทำให้เกิดโลหิตจางโดยเป็นกรรมพันธุ์ของการสร้างเฮโมโกลบิน ซึ่งมีสีแดงและนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่าง.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและทาลัสซีเมีย · ดูเพิ่มเติม »

ทาลัสซีเมียแบบบีตา

ทาลัสซีเมียแบบบีตา (Beta thalassemias, β thalassemias) เป็นกลุ่มโรคเลือดที่สืบทอดทางพันธุกรรม เป็นรูปแบบของทาลัสซีเมียที่มีเหตุจากการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่บีตาของเฮโมโกลบิน (HBB) ที่ผิดปกติ คือลดลงหรือไม่มีเลย ซึ่งอาจมีผลต่าง ๆ เริ่มต้นจากภาวะเลือดจางอย่างรุนแรง จนถึงบุคคลที่ไม่มีอาการเลย ความชุกของโรคทั่วโลกต่อปีอยู่ที่ 1 ใน 100,000 เป็นโรคที่มีเหตุจากการกลายพันธุ์ของยีน HBB บนโครโมโซมคู่ที่ 11 โดยสืบทางกรรมพันธุ์แบบผ่านลักษณะด้อยของออโตโซม (autosomal recessive) ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับลักษณะการกลายพันธุ์ แต่โดยทั่วไปแล้วความไม่สมดุลของห่วงลูกโซ่แอลฟาและบีตาจะทำให้เกิดการสลายของเม็ดเลือดแดง (hemolysis) และการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไม่มีประสิทธิภาพ คนที่มีกรรมพันธุ์แบบลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จะไม่มีอาการ ไม่ต้องรักษา และจะมีการคาดหมายคงชีพที่อายุปกติ ผู้ที่มีโรคเต็มตัว (major) จะมีภาวะเลือดจางแบบเม็ดเลือดแดงสลาย ไม่โต และมีความผิดปกติทางกระดูกในวัยทารก เด็กที่มีโรคเต็มตัวจะต้องถ่ายเลือดตลอดชีวิต ผู้ที่มีโรคเต็มตัวมักจะเสียชีวิตเกี่ยวกับปัญหาทางหัวใจเนื่องจากภาวะเหล็กเกินโดยอายุ 30 ปี ผู้ที่มีโรคระดับปานกลาง (intermedia) มีอาการรุนแรงน้อยกว่าแต่อาจจะต้องถ่ายเลือดเป็นครั้งคราว บุคคลที่มีโรคควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนมีบุตร/ก่อนแต่งงาน ความขัดข้องในการถอดรหัสยีน HBB มีผลเป็นการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่บีตาของโปรตีนโกลบินที่ลดลง ซึ่งมีผลเป็นการผลิตเฮโมโกลบินแบบ A (HbA) ที่ลดลง เมื่อเม็ดเลือดแดงมีโกลบินเอน้อยลง ก็ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็ก (microcytic anemia) ดังนั้น ภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็กจะเป็นผลโดยที่สุดของการขาด HBB เพราะเหตุนี้ คนไข้อาจจำเป็นต้องได้การถ่ายเลือดเพื่อทดแทนการไม่ผลิตห่วงลูกโซ่บีตา แต่การถ่ายเลือดซ้ำ ๆ อาจนำไปสู่ภาวะเหล็กเกิน (iron overload) ซึ่งมีผลเป็นภาวะเหล็กเป็นพิษ (iron toxicity) และภาวะเหล็กเป็นพิษสามารถมีผลหลายอย่าง รวมทั้ง myocardial siderosis (ภาวะสะสมเหล็กในหัวใจ) และหัวใจวายซึ่งอาจทำให้ถึงชีวิต.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและทาลัสซีเมียแบบบีตา · ดูเพิ่มเติม »

ข้าว

้าว ข้าว เป็นเมล็ดของพืชในสกุลข้าวที่พบมากในเอเชีย ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งประชากรโลกบริโภคเป็นอาหารสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย จากข้อมูลเมื่อปี 2553 ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งมีการปลูกมากที่สุดเป็นอันดับสามทั่วโลก รองจากข้าวสาลีและข้าวโพด ข้าวเป็นธัญพืชสำคัญที่สุดในด้านโภชนาการและการได้รับแคลอรีของมนุษย์ เพราะข้าวโพดส่วนใหญ่ปลูกเพื่อจุดประสงค์อื่น มิใช่ให้มนุษย์บริโภค ทั้งนี้ ข้าวคิดเป็นพลังงานกว่าหนึ่งในห้าที่มนุษย์ทั่วโลกบริโภค หลักฐานพันธุศาสตร์แสดงว่าข้าวมาจากการนำมาปลูกเมื่อราว 8,200–13,500 ปีก่อน ในภูมิภาคหุบแม่น้ำจูเจียงของจีน ก่อนหน้านี้ หลักฐานโบราณคดีเสนอว่า ข้าวมีการนำมาปลูกในเขตหุบแม่น้ำแยงซีในจีน ข้าวแพร่กระจายจากเอเชียตะวันออกไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ข้าวถูกนำมายังทวีปยุโรปผ่านเอเชียตะวันตก และทวีปอเมริกาผ่านการยึดอาณานิคมของยุโรป ปกติการปลูกข้าวเป็นแบบปีต่อปี ทว่าในเขตร้อน ข้าวสามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายปีและสามารถไว้ตอ (ratoon) ได้นานถึง 30 ปี ต้นข้าวสามารถโตได้ถึง 1–1.8 เมตร ขึ้นอยู่กับพันธุ์และความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นหลัก มีใบเรียว ยาว 50–100 เซนติเมตร และกว้าง 2–2.5 เซนติเมตร ช่อดอกห้อยยาว 30-50 เซนติเมตร เมล็ดกินได้เป็นผลธัญพืชยาว 5–12 มิลลิเมตร และหนา 2–-3 มิลลิเมตร การเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกข้าวเหมาะกับประเทศและภูมิภาคที่ค่าแรงต่ำและฝนตกมาก เนื่องจากมันใช้แรงงานมากที่จะเตรียมดินและต้องการน้ำเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ข้าวสามารถโตได้เกือบทุกที่ แม้บนเนินชันหรือเขตภูเขาที่ใช้ระบบควบคุมน้ำแบบขั้นบันได แม้ว่าสปีชีส์บุพการีของมันเป็นสิ่งพื้นเมืองของเอเชียและส่วนที่แน่นอนของแอฟริกา ร้อยปีของการค้าขายและการส่งออกทำให้มันสามัญในหลายวัฒนธรรมทั่วโลก วิธีแบบดั้งเดิมสำหรับเตรียมดินสำหรับข้าวคือทำให้น้ำท่วมแปลงชั่วขณะหนึ่งหรือหลังจากการตั้งของต้นกล้าอายุน้อย วิธีเรียบง่ายนี้ต้องการการวางแผนที่แข็งแรงและการให้บริการของเขื่อนและร่องน้ำ แต่ลดพัฒนาการของเมล็ดที่ไม่ค่อยแข็งแรงและวัชพืชที่ไม่มีภาวะเติบโตขณะจมน้ำ และยับยั้งศัตรูพืช ขณะที่การทำให้น้ำท่วมไม่จำเป็นสำหรับการเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกข้าว วิธีทั้งหมดในการการชลประทานต้องการความพยายามสูงกว่าในการควบคุมวัชพืชและศัตรูพืชระหว่างช่วงเวลาการเจริญเติบโตและวิธีที่แตกต่างสำหรับใส่ปุ๋ยลงดิน.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและข้าว · ดูเพิ่มเติม »

ความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง

ม็ดเลือดแดงของคน ความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง (Red blood cell distribution width; RDW หรือ RCDW) เป็นการวัดความกว้างของการกระจายของขนาดเม็ดเลือดแดงโดยเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ ขนาดเม็ดเลือดแดงปกติจะอยู่ที่ 6-8 μm ความผิดปกติบางอย่างอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของขนาดเม็ดเลือดแดงได้ ค่า RDW ที่สูง บ่งบอกว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงของขนาดเม็ดเลือดแดงอย่างมาก ซึ่งค่าปกติของ RDW ในมนุษย์จะอยู่ที่ 11-15% ในภาวะการเกิดโรคโลหิตจางนั้น ผลการตรวจ RDW มักจะถูกนำมาแปลผลร่วมกับปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (MCV) เพื่อประเมินถึงสาเหตุของการเกิดโลหิตจาง การขาดวิตามินบี 12 นำไปสู่การเกิดโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดขนาดใหญ่ (Macrocytic anemia) แต่ค่า RDW จะมีค่าปกติ แต่โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจะพบว่าขนาดเม็ดเลือดจะมีความแตกต่างกัน ดังนั้น ค่า RDW จึงสูงกว่าปกติ ส่วนโลหิตจางที่เกิดจากการขาดวิตามินบี 12 ร่วมกับการขาดธาตุเหล็กนั้น เราจะพบว่าเม็ดเลือดแดงขนาดเล็กและขนาดใหญ่ผสมกัน ดังนั้น ค่า RDW จึงมีค่าที่สูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของ RDW ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเม็ดเลือดแดงมี ขนาดไม่เท่ากันนั้น เรียกว่า ภาวะเม็ดเลือดแดงหลากขนาด (anisocytosis).

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง · ดูเพิ่มเติม »

ความล้า

วามล้า หรือ ความอ่อนล้า เป็นความรู้สึกเหนื่อยเชิงจิตวิสัย ซึ่งแตกต่างจากความอ่อนแอ (weakness) และมีการตั้งต้นทีละน้อย ความล้าสามารถบรรเทาได้โดยได้รับการพักผ่อนชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งต่างจากความอ่อนแอ ความล้าอาจมีสาเหตุทางร่างกายหรือจิตใจก็ได้ ความล้าทางกายภาพเป็นสภาพที่กล้ามเนื้อไม่สามารถธำรงสมรรถภาพทางกายภาพเหมาะสมได้ชั่วคราว และกิจกรรมทางกายอย่างหักโหมยิ่งทำให้ความล้ารุนแรงขึ้น ความล้าทางจิตใจเป็นการลดสมรรถภาพการรู้สูงสุดไปชั่วคราว อันเป็นผลมาจากกิจกรรมการคิดยาวนาน ความล้าสามารถแสดงออกมาเป็นอาการง่วงซึม ภาวะง่วงงุน หรือความล้ามุ่งประเด็นตั้งใ.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและความล้า · ดูเพิ่มเติม »

ความซึมเศร้า (อารมณ์)

วามซึมเศร้า หรือ อารมณ์ซึมเศร้า (Depression) เป็นสภาวะอารมณ์หดหู่และไม่ชอบทำอะไร ๆ ที่อาจมีผลต่อความคิด พฤติกรรม ความรู้สึก และความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคล คนซึมเศร้าอาจรู้สึกเศร้า วิตกกังวล ไร้ความหมาย สิ้นหวัง ไม่มีที่พึ่ง ไม่ภูมิใจในตนเอง/ไม่มีค่า รู้สึกผิด หงุดหงิด โกรธ อับอาย หรือกระวนกระวาย อาจจะสูญความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ ไม่อยากอาหารหรือทานมากเกินไป ไม่มีสมาธิ คอยระลึกถึงรายละเอียดในการตัดสินใจอะไรบางอย่าง มีปัญหาทางความสัมพันธ์ และอาจคิด พยายาม และทำการฆ่าตัวตาย การนอนไม่หลับ การนอนมากเกินไป อ่อนเปลี้ย เจ็บปวด มีปัญหาย่อยอาหาร และมีกำลังน้อยลง ก็อาจเป็นอาการร่วมด้วย อารมณ์ซึมเศร้าเป็นลักษณะอาการทางจิตเวชบางอย่าง เช่น โรคซึมเศร้า (major depressive disorder) แต่ก็อาจะเป็นปฏิกิริยาปกติต่อเหตุการณ์ในชีวิต เช่น สูญเสียคนรัก ถ้าไม่คงยืนเป็นระยะยาว และอาจเป็นอาการเจ็บป่วยทางกาย หรือเป็นผลข้างเคียงของยาหรือการรักษาทางแพทย์บางอย่าง ''Melencolia I'' (ราว พ.ศ. 2057), โดยจิตรกรชาวเยอรมัน อัลเบรชท์ ดือเรอร.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและความซึมเศร้า (อารมณ์) · ดูเพิ่มเติม »

ความไวและความจำเพาะ

วามไวและความจำเพาะ เป็นค่าวัดทางสถิติที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพของการทดสอบที่ให้ผลเป็นสองส่วน (เช่นเป็นบวกและลบ).

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและความไวและความจำเพาะ · ดูเพิ่มเติม »

ความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง

ฮีโมโกลบิน ความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (Mean corpuscular hemoglobin concentration หรือ MCHC) คือ ค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ คำนวณได้จากหารค่าฮีโมโกลบินด้วยค่าฮีมาโตคริต ช่วงค่าอ้างอิงอยู่ที่ 32 - 36 g/dl, หรือ ระหว่าง 4.9 - 5.5 mmol/LDerived from mass concentration, using molar mass of 64,458 g/mol.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและตับ · ดูเพิ่มเติม »

ติ่งเนื้อเมือก

ติ่งเนื้อเมือก (polyp) เป็นเนื้อเยื่อที่เจริญยื่นออกมาจากเยื่อเมือก (mucous membrane) อย่างผิดปกติ หากติ่งเนื้อนี้มีก้านที่ยึดติดกับพื้นผิวเดิมจะเรียกว่า ติ่งเนื้อเมือกมีก้าน (pedunculated polyp) แต่หากไม่มีก้านจะเรียกว่า ติ่งเนื้อเมือกติดฐาน หรือติ่งเนื้อเมือกไร้ก้าน (sessile polyp) ติ่งเนื้อเมือกมักพบบ่อยที่ลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร จมูก โพรงอากาศข้างจมูก กระเพาะปัสสาวะ และมดลูก และยังอาจพบตามส่วนใดๆ ของร่างกายที่มีเยื่อเมือกเช่นปากมดลูก หรือลำไส้เล็ก.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและติ่งเนื้อเมือก · ดูเพิ่มเติม »

ประจำเดือน

ประจำเดือน (Menstruation) หรือมักนิยมเรียกกันว่า เมนส์ หรือ ระดู และ รอบเดือน เป็นเลือดที่เกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก มีฮอร์โมนสองชนิดคือ เอสโตรเจน และ โปรเจสเตอโรน (progesterone) ควบคุมการสร้างและหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งระดับฮอร์โมนทั้งสองจะมีความสัมพันธ์กับการตกไข่จากรังไข่ โดยแต่ละรอบเดือนจะมีช่วงเวลาประมาณ 26-30 วัน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ทำให้ประจำเดือน เกิดขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง โดยมีรายงานว่า 80 เปอเซนต์ของผู้หญิงมีอาการแสดงก่อนจะมีประจำเดือน มีอาการดังนี้ เจ็บบริเวณหน้าอก, ตัวบวม, เหนื่อยง่าย, ขี้หงุดหงิด และอารมณ์เปลี่ยนแปลงง.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและประจำเดือน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศสีเหลือง/ส้ม มีการพัฒนามนุษย์ในระดับกลาง และประเทศสีแดง มีการพัฒนามนุษย์ในระดับต่ำ ประเทศกำลังพัฒนา หรือ ประเทศพัฒนาน้อยกว่า หรือ ประเทศด้อยพัฒนา เป็นคำที่ใช้เรียกประเทศที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตปานกลาง-ต่ำ พื้นฐานอุตสาหกรรมยังไม่พัฒนา และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) อยู่ในระดับปานกลาง-ต่ำ คำนี้มีแนวโน้มที่จะถูกแทนใช้ที่คำอื่น ๆ ที่เคยใช้ก่อนหน้า ซึ่งรวมถึงคำว่า "โลกที่สาม" ซึ่งเกิดขึ้นในยุคสงครามเย็น เนื่องจากไม่มีคำจำกัดความใดๆมากำหนด คำว่าประเทศพัฒนานาแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า ระดับของคำว่า พัฒนาแล้ว จะมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมากกว่า คำว่า กำลังพัฒนาด้วย สำหรับบางประเทศที่ถูกเรียกว่า เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังพบว่ามีค่าเฉลี่ยของมาตรฐานการดำรงชีวิตอยู่ในระดับสูงเช่นกัน ส่วนประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจที่จัดอยู่ในระดับก้าวหน้ามากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ยังไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ ประเทศพัฒนาแล้ว จะถูกจัดให้อยู่กลุ่มที่ใช้คำจำกัดความว่า ประเทศอุตสาหกรรมใหม.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและประเทศกำลังพัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

ปริมาณเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง

ปริมาณเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (Mean corpuscular hemoglobin หรือ mean cell hemoglobin (MCH)) คือ ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักฮีโมโกลบินที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดง นับเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ ค่า MCH จะต่ำลงใน hypochromic anemia ค่า MCH คำนวณได้จากปริมาณของฮีโมโกลบิน (Hb) หารด้วยจำนวนเม็ดเลือดแดง (RBC) หรือ MCH.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและปริมาณเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย

ปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (mean corpuscular volume หรือ mean cell volume (MCV)) คือ การวัดปริมาตรเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ สำหรับผู้ป่วยโรคโลหิตจาง ค่า MCV จะช่วยให้สามารถจำแนกป่วยออกเป็น โลหิตจางชนิดเม็ดเลือดขนาดเล็ก (microcytic anemia, ค่า MCV ต่ำกว่าช่วงปกติ), โลหิตจางชนิดเม็ดเลือดขนาดปกติ (normocytic anemia, ค่า MCV อยู่ในช่วง) หรือ โลหิตจางชนิดเม็ดเลือดขนาดใหญ่ (macrocytic anemia, ค่า MCV มากกว่าช่วงปกติ).

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย · ดูเพิ่มเติม »

ปลอกไมอีลิน

ตำแหน่งที่อยู่ของเยื่อไมอีลิน ไมอีลิน (Myelin sheath) เป็นเยื่อหุ้มแอกซอน (Axon) ของเซลล์ประสาท เป็นฉนวนไฟฟ้าช่วยทำให้กระแสประสาทผ่านไปได้เร็วขึ้น โดยเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเฉลี่ย 120 เมตรต่อวินาที ในระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ถูกสร้างจากเซลล์เกลีย และชวานน์เซลล์ในระบบประสาทรอบนอก (PNS) ได้รับการค้นพบโดยรูดอล์ฟ เวอร์โชฟ เมื่อเยื่อไมอีลินมีการชำรุดเสียหาย ก็จะทำให้การส่งต่อสัญญาณประสาทเกิดการติดขัดได้.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและปลอกไมอีลิน · ดูเพิ่มเติม »

นิวเคลียสของเซลล์

เซลล์spider man ย้อมดีเอ็นเอด้วยสีย้อม Blue Hoechst เซลล์ตรงกลางและเซลล์ทางขวาอยู่ในระยะอินเตอร์เฟสจึงทำให้สามารถย้อมสีเห็นนิวเคลียสได้ทั้งหมด ในขณะที่เซลล์ทางซ้ายอยู่ระหว่างการแบ่งนิวเคลียส (ไมโทซิส) ทำให้สามารถมองเห็นโครโมโซมที่กำลังแยกคู่จากกัน นิวเคลียส, (3) ไรโบโซม, (4) เวสิเคิล, (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ, (6) กอลไจแอปพาราตัส, (7) ไซโทสเกลเลตอน, (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ, (9) ไมโทคอนเดรีย, (10) แวคิวโอล, (11) ไซโทพลาซึม, (12) ไลโซโซม, (13) เซนทริโอล ในทางชีววิทยาของเซลล์ นิวเคลียส (nucleus) คือออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มพบในเซลล์ยูแคริโอต ภายในบรรจุสารพันธุกรรม (genetic material) ซึ่งจัดเรียงตัวเป็นดีเอ็นเอ (DNA) สายยาวรวมตัวกับโปรตีนหลายชนิด เช่น ฮิสโตน (histone) เป็นโครโมโซม (chromosome) ยีน (gene) ต่างๆ ภายในโครโมโซมเหล่านี้ รวมเรียกว่า นิวเคลียส จีโนม (nuclear genome) หน้าที่ของนิวเคลียสคือการคงสภาพการรวมตัวของยีนเหล่านี้และควบคุมการทำงานของเซลล์โดยการควบคุมการแสดงออกของยีน (gene expression) โครงสร้างหลักของนิวเคลียสคือ เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelope) ซึ่งเป็นเยื่อสองชั้นที่หุ้มทั้งออร์แกเนลล์และทำหน้าที่แยกองค์ประกอบภายในออกจากไซโทพลาซึม (cytoplasm) อีกโครงสร้างหนึ่งคือ นิวเคลียร์ลามินา (nuclear lamina) ซึ่งเป็นโครงสร้างร่างแหภายในนิวเคลียส ทำหน้าที่เป็นโครงร่างค้ำจุน ให้ความแข็งแรงแก่นิวเคลียส คล้ายไซโทสเกลเลตอน (cytoskeleton) ภายในเซลล์ เนื่องจากเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีลักษณะเป็นเยื่อเลือกผ่านที่โมเลกุลส่วนใหญ่ผ่านทะลุเข้าออกไม่ได้ ดังนั้นเยื่อหุ้มนิวเคลียสจึงต้องมีนิวเคลียร์พอร์ (nuclear pore) หรือช่องที่จะให้สารเคลื่อนผ่านเยื่อ ช่องเหล่านี้ทะลุผ่านเยื่อทั้งสองของเยื่อหุ้มนิวเคลียสให้โมเลกุลขนาดเล็กและไอออนเคลื่อนที่เข้าออกนิวเคลียสได้ การเคลื่อนที่เข้าออกของสารโมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีน ต้องมีการควบคุมและต้องใช้โปรตีนช่วยขนส่งสาร (carrier proteins หมวดหมู่:ออร์แกเนลล์ หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์ หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์เซลล์.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและนิวเคลียสของเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แอสไพริน

แอสไพริน (aspirin) (BAN, USAN) หรือกรดอะซีทัลซาลิซิลิก (acetylsalicylic acid, ASA) เป็นยาซาลิซิเลต มักใช้เป็นยาระงับปวด ยาลดไข้และยาแก้อักเสบ แอสไพรินยังมีฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือดโดยยับยั้งการผลิตทรอมบ็อกเซน ซึ่งปกติเชื่อมโมเลกุลเกล็ดเลือดเข้าด้วยกันเพื่อสร้างปื้นเหนือผนังหลอดเลือดที่เสียหาย เนื่องจากปื้นเกล็ดเลือดสามารถใหญ่เกินไปได้และยังขัดขวางการไหลของเลือด ทั้งเฉพาะที่และที่อยู่หลังจากนั้น แอสไพรินยังใช้ระยะยาวที่ขนาดต่ำเพื่อช่วยป้องกันอาการหัวใจล้ม โรคหลอดเลือดสมองและการเกิดลิ่มเลือดในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเกิดลิ่มเลือด นอกจากนี้ อาจให้แอสไพรินขนาดต่ำทันทีหลังอาการหัวใจล้มเพื่อลดความเสี่ยงอาการหัวใจลมอีกหนและการตายของเนื้อเยื่อหัวใจ แอสไพรินอาจให้ผลป้องกันมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ ฤทธิ์ข้างเคียงหลักของแอสไพริน คือ แผลกระเพาะและลำไส้ เลือดไหลในกระเพาะอาหารและเสียงในหู โดยเฉพาะในขนาดสูง ในเด็กและวัยรุ่น ไม่แนะนำแอสไพรินสำหรับอาการคล้ายหวัดหรือการเจ็บป่วยจากไวรัส เพราะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการไรย์ (Reye's syndrome) แอสไพรินอยู่ในกลุ่มยารักษาโรคชื่อ ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs, NSAIDs) แต่กลไกออกฤทธิ์ของมันต่างจาก NSAIDs อื่นส่วนมาก แม้มันและยาอื่นที่มีโครงสร้างคล้ายกัน เรียก ซาลิซิเลต มีฤทธิ์คล้ายกับ NSAIDs (ลดไข้ แก้อักเสบ ระงับปวด) และยับยั้งเอนไซม์ไซโคลออกซิจีเนส (cyclooxygenase, COX) ตัวเดียวกัน แต่แอสไพรินยับยั้งแบบผันกลับไม่ได้ และไม่เหมือนยาอื่น มีผลกับเอนไซม์ COX-1 มากกว่า COX-2 เอ็ดเวิร์ด สโตน แห่งวิทยาลัยวอแดม (Wadham College) มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ค้นพบส่วนประกอบกัมมันต์ของแอสไพรินครั้งแรกจากเปลือกต้นวิลโลว์ใน..

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและแอสไพริน · ดูเพิ่มเติม »

ใจสั่น

ใจสั่น (palpitation) เป็นอาการอย่างหนึ่ง หมายถึงการที่ผู้ป่วยรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ อาจมีสาเหตุจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น เต้นเร็วผิดปกติ หรือไม่เต้นเป็นช่วงๆ หรืออาจเป็นจากความวิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุจากโรคทางกาย เมื่อมีอาการใจสั่นอาจมีอาการอื่นร่วม เช่น เวียนศีรษะ หายใจลำบาก เป็นต้น โรคที่ทำให้มีอาการใจสั่นมีหลายอย่าง นับรวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ หอบหืด ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด และอื่นๆ อีกมาก หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมวดหมู่:อาการและอาการแสดงที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและใจสั่น · ดูเพิ่มเติม »

โรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหาร มีสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นโรคนี้คือการติดเชื้อ Helicobacter pylori ปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นได้แก่การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาหรือมีความเครียดเป็นระยะเวลานาน หมวดหมู่:โรคของระบบย่อยอาหาร.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและโรคกระเพาะอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

โรคย้ำคิดย้ำทำ

รคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive–compulsive disorder หรือ OCD) คือความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยต้องตรวจสอบสิ่งรอบตัวซ้ำ ๆ, มีความคิดผุดขึ้นมา, หรือมีความรู้สึกอยากทำในสิ่งที่ทำไปแล้วซ้ำไปซ้ำมา --> ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมและความคิดของตนเองได้ --> พฤติกรรมซึ่งพบเห็นได้บ่อย อาทิ การล้างมือ, การนับสิ่งของ, การตรวจสอบว่าประตูล็อกแล้วหรือยัง --> บางรายรู้สึกยากลำบากในการทิ้งสิ่งของ --> โดยพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย หลายครั้งพฤติกรรมเหล่านี้กินเวลาในแต่ละวันไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง ผู้ใหญ่หลายคนรู้ตัวว่าพฤติกรรมของพวกเขาไม่มีเหตุผล ความเจ็บป่วยนั้นเกี่ยวเนื่องกับอาการกระตุกบนใบหน้า, โรควิตกกังวล และการฆ่าตัวต.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและโรคย้ำคิดย้ำทำ · ดูเพิ่มเติม »

โรคติดเชื้อ

รคติดเชื้อ (Infectious disease) เป็นโรคซึ่งเป็นผลจากการมีเชื้อจุลชีพก่อโรค อาทิไวรัส แบคทีเรีย รา โพรโทซัว ปรสิต หรือแม้กระทั่งโปรตีนที่ผิดปกติเช่นพรีออน เชื้อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรคในสัตว์หรือพืชได้ โรคติดเชื้อจัดเป็นโรคติดต่อ (Contagious diseases, Communicable diseases) เนื่องจากสามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นหรือระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกัน การติดต่อของโรคติดเชื้ออาจเกิดได้มากกว่า 1 ทาง รวมถึงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง จุลชีพก่อโรคอาจถ่ายทอดไปโดยสารน้ำในร่างกาย อาหาร น้ำดื่ม วัตถุที่มีเชื้อปนเปื้อน ลมหายใจ หรือผ่านพาหะ"Infectious disease." McGraw-Hill Encyclopedia of Science and Technology.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและโรคติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

โลหิตวิทยา

ลหิตวิทยา เป็นสาขาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงสาเหตุ, การวินิจฉัย, การรักษา, การติดตามผล และการป้องกันโรคทางเลือด ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากผลิตภัณฑ์และองค์ประกอบของเลือดที่ผิดปกติ เช่น จำนวนเม็ดเลือด โปรตีนในเลือด หรือ กระบวนการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติไป เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและโลหิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

โลหิตจาง

ลหิตจาง หรือ ภาวะเลือดจาง ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและโลหิตจาง · ดูเพิ่มเติม »

โดพามีน

มีน (Dopamine) เป็นสารประกอบอินทรีย์ในกลุ่มเดียวกัน แคทิคอลลามีน และ เฟนเอทิลเอมีน ซึ่งมีความสำคัญกับสมองและร่างกาย ซื่อโดพามีน ได้จากโครงสร้างทางเคมี ซึ่งสังเคราะห์โดยการเปลี่ยนหมู่กรดอินทรีย์ของ L-DOPA ( L-3,4-dihydroxyphenylalanine) ให้เป็นหมู่อะมิโน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้นในสมองและไต และพบว่าพืชและสัตว์บางชนิดก็สามารถสังเคราะห์ได้เช่นกัน ในสมอง โดพามีนทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter) คอยกระตุ้น ตัวรับโดพามีน (dopamine receptor) โดพามีนทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนประสาท (neurohormone) ที่หลั่งมาจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส (hypothalamus) หน้าที่หลักของฮอร์โมนตัวนี้คือยับยั้งการหลั่งโปรแลคติน (prolactin) จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary) โดพามีนสามารถใช้เป็นยา ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system) โดยมีผลลัพธ์คือ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น แรงดันโลหิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อโดพามีนไม่สามารถผ่านโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมอง (blood-brain barrier) โดพามีนที่ใช้เป็นยา จะไม่มีผลโดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลาง การเพิ่มปริมาณของโดพามีนในสมองของผู้ป่วยที่เป็นโรคต่างๆ เช่น พาร์คินสัน สามารถให้สารตั้งต้นแบบสังเคราะห์แก่โดพามีน เช่น L-DOPA เพื่อให้สามารถผ่านโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมองได้ โดพามีนเป็นสารสื่อประสาทกลุ่มแคทีโคลามีน (catecholamines) ที่สร้างมาจากกรดอะมิโนไทโรซีน (tyrosine) โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ไทโรซีนไฮดรอกซิเลส (tyrosine hydroxylase) ในสมอง มีปริมาณโดพามีนประมาณร้อยละ 80 ของสารกลุ่มแคทีโคลามีนที่ถูกสร้างขึ้นทั้งหมด นอกจากนี้โดพามีนยังจัดเป็นนิวโรฮอร์โมน (neurohormone) ที่หลั่งจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งการหลั่งโปรแลกตินจากกลีบส่วนหน้าของต่อมพิทูอิตารี เมื่อโดพามีนถูกปลดปล่อยจากเซลล์ประสาทโดพามีนแล้ว จะมีผลต่อสมองส่วนต่างๆ ในหลายด้าน ซึ่งได้แก.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและโดพามีน · ดูเพิ่มเติม »

ไขกระดูก

กระดูก เป็นเนื้อเยื่อยืดหยุ่นที่พบได้ในกระดูกชั้นใน ไขกระดูกในกระดูกชิ้นใหญ่ของคนผลิตเม็ดเลือดแดงใหม่ โดยเฉลี่ยแล้วไขกระดูกมีน้ำหนักคิดเป็นร้อยละ 4 ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เช่นในผู้ใหญ่น้ำหนัก 65 กิโลกรัม จะมีไขกระดูกโดยประมาณ 2.6 กิโลกรัม ส่วนสร้างเม็ดเลือด (hematopoietic compartment) ของไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดง 500,000 ล้านเซลล์ต่อวันโดยประมาณ ซึ่งใช้ระบบไหลเวียนไขกระดูก (bone marrow vasculature) เป็นท่อสู่ระบบไหลเวียนของร่างกาย ไขกระดูกยังเป็นส่วนหลักของระบบน้ำเหลือง (lymphatic system) ที่ผลิตเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซท์ซึ่งช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างก.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและไขกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

ไขสันหลัง

ตำแหน่งของไขสันหลังที่อยู่ภายในกระดูกสันหลัง ภาพใกล้ของไขสันหลัง ภาพตัดขวางของไขสันหลังส่วนคอ ลำเส้นใยประสาทในไขสันหลัง ไขสันหลัง (spinal cord)คืออวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อยาวผอม ซึ่งมีเนื้อเยื่อประสาทเป็นส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ เซลล์ประสาท (neuron) และ เซลล์เกลีย (glia) หรือเซลล์ที่ช่วยค้ำจุนเซลล์ประสาท ซึ่งไขสันหลังจะเป็นส่วนที่ยาวต่อลงมาจากสมอง (brain) สมองและไขสันหลังจะรวมกันเป็นระบบประสาทกลาง (central nervous system) ซึ่งบรรจุภายในและถูกปกป้องโดยกระดูกสันหลัง (vertebral column) หน้าที่หลักของไขสันหลังคือการถ่ายทอดกระแสประสาท (neural signals) ระหว่างสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย ทั้งนี้เพียงตัวไขสันหลังเอง ยังสามารถควบคุมการเกิดรีเฟล็กซ์ (reflex) เช่นการยกขาทันทีเมื่อเผลอเหยียบตะปู และศูนย์สร้างรูปแบบการเคลื่อนไหวกลาง (central pattern generator).

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและไขสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

เกล็ดเลือดมาก

วะเกล็ดเลือดมาก หรือ เกล็ดเลือดสูง (thrombocytosis) คือภาวะซึ่งในเลือดมีปริมาณเกล็ดเลือดมากกว่าปกติ อาจเป็นชนิดปฐมภูมิ (เกิดจากที่ไขกระดูกสร้างเกล็ดเลือดมากผิดปกติโดยไม่มีเหตุกระตุ้น เป็นโรคไขกระดูกเจริญผิดปกติอย่างหนึ่ง) หรือเป็นการตอบสนองต่อภาวะที่กระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเกล็ดเลือดมากขึ้น (ทุติยภูมิ) ส่วนใหญ่ไม่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการใดๆ แต่อาจเพิ่มโอกาสเกิดลิ่มเลือดได้ในผู้ป่วยบางประเภท.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและเกล็ดเลือดมาก · ดูเพิ่มเติม »

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดแดง

ซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายมนุษย์ เม็ดเลือดแดง (red blood cell, Erythrocyte: มาจากภาษากรีก โดย erythros แปลว่า "สีแดง" kytos แปลว่า "ส่วนเว้า" และ cyte แปลว่า "เซลล์") มีหน้าที่ในการส่งถ่ายออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เม็ดเลือดแดงมีขนาดประมาณ 6-8 ไมครอน มีลักษณะค่อนข้างกลม เว้าบริเวณกลางคล้ายโดนัท ไม่มีนิวเคลียส มีสีแดง เนื่องจากภายในมีสารฮีโมโกลบิน โดยในกระแสเลือดคนปกติจะพบเม็ดเลือดแดงที่เจริญเติบโตเต็มที่ (Mature red cell) มีเพียงไม่เกิน 2% ที่สามารถพบเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (Reticulocyte) ได้.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและเม็ดเลือดแดง · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อตา

ื่อตา (Conjunctiva) เป็นเยื่อเมือกใสประกอบด้วยเซลล์และเยื่อฐานซึ่งคลุมส่วนของตาขาวและบุด้านในของหนังตา เยื่อตาประกอบด้วยเนื้อเยื่อบุผิว.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและเยื่อตา · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อเมือก

ื่อเมือก (mucous membranes, mucosa) เป็นชั้นที่บุผิวที่มักเจริญมาจากเอนโดเดิร์ม (endoderm) ปกคลุมด้วยเนื้อเยื่อบุผิว มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูดซึมและหลั่งสาร เยื่อเมือกจะดาดอยู่ที่หลายช่องว่างของอวัยวะซึ่งติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอกและอวัยวะภายใน เยื่อเมือกในหลายที่ที่ติดต่อมาจากผิวหนัง เช่นที่รูจมูก (nostril), ริมฝีปาก, หู บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ และทวารหนัก สารข้นเหนียวที่หลั่งออกมาจากเยื่อเมือกและต่อมเรียกว่า เมือก หรือมูก (mucus) ช่องว่างภายในร่างกายที่พบเยื่อเมือกนี้รวมถึงส่วนใหญ่ของระบบทางเดินหายใจ ลึงค์ (ส่วนหัวขององคชาต) และส่วนหัวของคลิตอริส และภายในของหนังหุ้มปลายองคชาต (prepuce หรือ foreskin) ต่างเป็นเยื่อเมือก ไม่ใช่ผิวหนัง.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและเยื่อเมือก · ดูเพิ่มเติม »

เลือด

ม่ ไม่รู้.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและเลือด · ดูเพิ่มเติม »

เลซิทิน

ตัวอย่างโครงสร้างทางเคมีของสารประกอบกลุ่มเลซิทิน เลซิทิน (lecithin) เป็นไขมันชนิดฟอสโฟไลปิค (phospholipid) ที่มีความจำเป็นต่อเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการเข้าออกของสารอาหาร ถ้าไม่มีเลซิทินจะมีลักษณะแข็งและขาดความยืดหยุ่น นอกจากนี้ยังพบว่าเลซิทินเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาท เลซิทินยังมีคุณสมบัติเป็น emulsifier หรือสารที่ทำให้น้ำกับน้ำมันเข้ากันได้ ดังนั้นจะพบว่าได้มีการนำมาใช้ในการควบคุมโคเลสเทอรอลในเลือดอย่างแพร่หลาย เลซิทินพบได้มากในถั่วเหลือง แต่แหล่งอาหารอื่น ๆ ที่ให้เลซิทินยังมีอีกมากมาย อาทิ ไข่แดง ตับ ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เนื้อสัตว์ ปลา บริวเวอร์ยีสต์ และพืชบางชนิด ทั้งนี้อาจจะรวมถึงผลิตภัณฑ์ Multi-Vitamin ที่มีเลซิทินผสมอยู่ด้วย เลซิทินที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่สองชนิด คือ แกรนูล และแคปซูล ชนิดแกรนูลนิยมรับประทาน โดยผสมกับเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เช่น นม นมเปรี้ยว น้ำผลไม้ ฯลฯ และยังนิยมให้ผสมหรือโปรยบนอาหารประเภทต่าง ๆ อีกด้วย สารสำคัญที่พบในเลซิทิน ได้แก่ ฟอสฟาทิดิลโคลีน (phosphatidylcholine) เป็น ซึ่งสารนี้จะให้วิตามินบีชนิดหนึ่ง เรียกว่า โคลีน สารโคลีนเป็นสารต้นตอในการสังเคราะห์สารสื่อประสาท อะซีทิลโคลีน (acetylcholine) ส่วนประกอบอื่น ๆ ของเลซิทิน ได้แก่ ฟอสฟาทิดิลอิโนซิทอล ฟอสฟาทิดิลเอททาโนลามีน กรดไลโนเลอิก ฯลฯ.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและเลซิทิน · ดูเพิ่มเติม »

เหล็ก

หล็ก (Iron ออกเสียงว่า ไอเอิร์น /ˈaɪ.ərn/) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ มีสัญลักษณ์ธาตุ Fe และหมายเลขอะตอม 26 เหล็กเป็นธาตุโลหะทรานซิชันหมู่ 8 และคาบ 4 สัญลักษณ์ Fe ย่อมาจาก ferrum ในภาษาละติน.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

เฮโมโกลบิน

ีโมโกลบินหรือเฮโมโกลบิน คือส่วนหนึ่งของระบบไหลเวียนโลหิตซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญจะอยู่ในเม็ดเลือดแดงและช่วยนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย องค์ประกอบสำคัญของเฮโมโกลบินคือ ฮีม (Heme) ซึ่งมีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ และทำหน้าที่จับและปล่อยออกซิเจน องค์ประกอบที่ 2 คือ สายโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนเส้นยาวขดพันกันอยู่ โดยแต่ละสาย มีฮีมติดอยู่ 1 อณู เฮโมโกลบิน 1 โมเลกุล จึงประกอบด้วยฮีม 4 อณู และสายโกลบิน 4.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและเฮโมโกลบิน · ดูเพิ่มเติม »

เซโรโทนิน

ซโรโทนิน (serotonin) (5-hydroxytryptamine, or 5-HT) เป็นสารสื่อประสาทที่มีโครงสร้างทางเคมีเป็นโมโนอะมีน (monoamine neurotransmitter) พบมากในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ (gastrointestinal tract of animals) และประมาณ 80-90% ของปริมาณเซโรโทนินรวมในร่างกายมนุษย์พบใน enterochromaffin cells ซึ่งเป็นเซลล์ในทางเดินอาหาร (gut) ซึ่งมันทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ส่วนเซโรโทนินในร่างกายอีก 10-20% นั้น ถูกสังเคราะห์ในระบบประสาทส่วนกลางจากเซลล์ประสาทที่สามารถสร้างเซโรโทนินได้ (serotonergic neurons) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท ซึ่งมีบทบาทหลายหน้าที่เช่น การควบคุมความหิว อารมณ์ และความโกรธ เซโรโทนินยังพบในเห็ดและพืชผักผลไม้ต่างๆอีกด้ว.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและเซโรโทนิน · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อบุผิว

นื้อเยื่อบุผิว (Epithelium) เป็นเนื้อเยื่อพื้นฐานหนึ่งในสี่ชนิดของสัตว์ ร่วมกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อประสาท เนื้อเยื่อบุผิวบุโพรงและพื้นผิวของโครงสร้างทั่วร่างกาย และยังเกิดเป็นต่อมจำนวนมาก หน้าที่ของเซลล์บุผิวรวมไปถึงการหลั่ง การเลือกดูดซึม การป้องกัน การขนส่งระหว่างเซลล์และการตรวจจับการรู้สึก ชั้นเนื้อเยื่อบุผิวนั้นไร้หลอดเลือด ฉะนั้น เนื้อเยื่อบุผิวจึงได้รับอาหารผ่านการแพร่ของสสารจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ข้างใต้ ผ่านเยื่อฐาน เนื้อเยื่อบุผิวสามารถจัดเป็นกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อได้.

ใหม่!!: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและเนื้อเยื่อบุผิว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Iron deficiency anaemiaIron deficiency anemiaIron-deficiency anaemiaIron-deficiency anemiaภาวะโลหิตจางเหตุพร่องธาตุเหล็กภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กภาวะโลหิตจางเพราะพร่องธาตุเหล็กภาวะเลือดจางเหตุพร่องธาตุเหล็กภาวะเลือดจางเพราะพร่องธาตุเหล็กภาวะเลือดจางเพราะขาดธาตุเหล็กโรคโลหิตจางเหตุพร่องธาตุเหล็กโรคโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กโรคโลหิตจางเพราะพร่องธาตุเหล็กโรคโลหิตจางเพราะขาดธาตุเหล็กโรคเลือดจางเหตุพร่องธาตุเหล็กโรคเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กโรคเลือดจางเพราะพร่องธาตุเหล็กโรคเลือดจางเพราะขาดธาตุเหล็กโลหิตจางจากการพร่องธาตุเหล็กโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »