โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ญิน

ดัชนี ญิน

นิทานพันหนึ่งราตรี ญิน หรือ ดีญิน (جني jinnī, genie, dijinn; แปลว่า ผี หรือ ปีศาจ) เป็นสิ่งมีชีวิตเหนือธรรมชาติชนิดหนึ่ง ตามความเชื่อของชาวอาหรับ มีระบุอยู่ในอัลกุรอาน โดยทั่วไปแล้ว ลักษณะของญิน หรือ ดีญิน จะคล้ายคลึงกับผีหรือปีศาจ ตามความเชื่อของศาสนาหรือลัทธิอื่น หากแต่ญินกำเนิดมาจากไฟไร้ควันที่อัลลอฮฺทรงสร้างขึ้น และกำเนิดก่อนมนุษย์คนแรก คือ อาดัม เป็นเวลานานมาก จัดเป็นทูตสวรรค์อย่างหนึ่ง ญินเกิดมาเพื่อสร้างความดี (อิบาดะฮ์) ถวายแด่อัลลอฮฺ ญินอาศัยอยู่บนโลกมนุษย์ แต่อยู่อีกมิติหนึ่ง มีสังคมเหมือนกับมนุษย์ มีการดำเนินชีวิต มีเกิด มีตาย มีปัญญา มีศรัทธา มีปฏิเสธ มีความสามารถเหนือมนุษย์ สามารถทำในสิ่งที่หลากหลายมากกว่า อายุยืนยาวมากกว่ามาก สามารถบินได้ ปรากฏกายได้ จำแลงกายทั้งในรูปมนุษย์และสัตว์ ญินสามารถมองเห็นมนุษยได้ แต่มนุษย์จะมองไม่เห็นญิน เว้นแต่ญินจะปรากฏร่างให้เห็นเอง โดยรากศัพท์ของคำว่าญิน หมายถึง "ปกปิดซ่อนเร้น" ญินสามารถหลอกล่อหรือหลอกลวงมนุษย์ให้หลงผิดไปได้ด้วย หากผู้ใดที่พยายามติดต่อหรือสื่อสารกับญินจะสุ่มเสี่ยงมากต่อการผิดต่อหลักศาสนาหรือกลายเป็นผู้นอกรีต เนื่องจากเป็นการเข้าไปสู่ไสยศาสตร์ แต่ญิน มิใช่ผี ตามคติของศาสนาอิสลาม ผู้ที่ตายไปแล้วจะถูกนำไปพักรออยู่ในโลกแห่งบัรซัค ไม่สามารถออกมาอาละวาดหลอกหลอนผู้คนอย่างความเชื่อโดยทั่วไป เพียงแต่มีชัยฏอน หรือ อิบลิส ซึ่งก็เป็นญินตนหนึ่งที่ผิดต่ออัลลอฮฺ ปัจจุบันความเชื่อเรื่องญินยังคงมีอยู่ในหมู่ชาวชนบทหรือชาวเบดูอิน ผู้ที่อ้างว่าได้เคยพบเจอกับญิน อ้างว่าญินมีสภาพไม่มีตัวตน มองไม่เห็น แต่สามารถสัมผัสหรือรู้สึกได้ในบางสถานที่ เช่น ได้ยินเสียงคนเรียกชื่อตน แต่เมื่อหันไปมองแล้วกลับไม่พบตัว เป็นต้น โดยสถานที่ ๆ เชื่อว่ามีญินอาศัยอยู่ เช่น เพตรา ในจอร์แดน หรือหมู่บ้านชาวประมงร้างแห่งหนึ่งใกล้กับรัฐราสอัลไคมาห์ ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก็เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตย์ของญิน ในเชิงวัฒนธรรม ญิน เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ "จินนี่" ในนิทานพันหนึ่งราตรี ยักษ์หรืออสูรในตะเกียงวิเศษของอาละดินหรืออาลีบาบา ก็คือ ญิน.

14 ความสัมพันธ์: ชัยฏอนชาวอาหรับมนุษย์รัฐราสอัลไคมาห์อะลาดินอัลกุรอานอัลลอฮ์อาหรับราตรีอาดัมผีทูตสวรรค์ปิศาจไสยศาสตร์เปตรา

ชัยฏอน

ชัยฏอน หรือ อิบลีส ตามคติความเชื่อในศาสนาอิสลามแล้ว เป็นนามของญินตนหนึ่งที่หลอกลวงให้อาดัมและเฮาวาอ์ภรรยา ต้องออกจากสวนสวรรค์ และสาบานว่าจะตามล้างตามผลาญลูกหลานมนุษย์จนถึงวันโลกาวินาศ ในไบเบิลเรียกว่า ซาตาน ชัยฏอน อาจจะหมายถึง มารร้ายตนอื่น ๆ ที่เป็นพรรคพวกของอิบลีสก็ได้ ที่ว่าคำว่า "ซาตาน" ในภาษายุโรปเป็นคำที่ยืมมาจากคำว่า "ชัยฏอน" ในภาษาอาหรับเป็นเรื่องโกหกของชาวมุสลิมที่นิยมเล่าเพื่อหลอกลวงผู้อื่น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว Satan มาจากภาษาฮีบรู (שָּׂטָן) และก็ไปเป็นกรีก Σατάν ‎(Satán), และก็ไปเป็นลาติน (Satān) สุดท้ายจึงพัฒนามาเป็นภาษาอังกฤษ (Satan) หมวดหมู่:ศาสนาอิสลาม หมวดหมู่:เทพเจ้า.

ใหม่!!: ญินและชัยฏอน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอาหรับ

วอาหรับ (عرب) เป็นกลุ่มชนเซมิติกที่พูดภาษาอาหรับโดยมีประชากรอาศัยในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และแอฟริกาเหนือ ซึ่งกลุ่มชาวอาหรับประกอบด้วยชาวเลบานอน, ชาวซีเรีย, ชาวเอมิเรตส์, ชาวกาตาร์, ชาวซาอุดี, ชาวบาห์เรน, ชาวคูเวต, ชาวอิรัก, ชาวโอมาน, ชาวจอร์แดน, ชาวปาเลสไตน์, ชาวเยเมน, ชาวซูดาน, ชาวแอลจีเรีย, ชาวโมร็อกโก, ชาวตูนีเซีย, ชาวลิเบีย และชาวอียิปต.

ใหม่!!: ญินและชาวอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: ญินและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐราสอัลไคมาห์

รัฐราสอัลไคมาห์ (alternatively Ra'sal-Khaymah; رأس الخيمة) เป็นหนึ่งในรัฐ (emirate) ทั้งเจ็ดของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีพื้นที่ 1,683 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 263,217 คน ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตย โดยมีเจ้าผู้ครองรัฐ (Emir) องค์ปัจจุบันคือซาอุด บิน ซัคร์ อัลกอสิมีย์ หมวดหมู่:สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์.

ใหม่!!: ญินและรัฐราสอัลไคมาห์ · ดูเพิ่มเติม »

อะลาดิน

อะลาดินพบตะเกียงวิเศษในถ้ำ จาก ''อาหรับราตรี'' ฉบับพิมพ์เมื่อปี 1898 อะลาดิน (Aladdin) เป็นเทพปกรณัมเรื่องหนึ่งในแถบตะวันออกกลาง ว่าด้วยยาจกหนุ่มชาวจีนชื่อ อะลาดิน ซึ่งกลายเป็นราชาเพราะความช่วยเหลือของทาสยักษ์ เรื่องราวนี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางขึ้นเมื่ออ็องตวน ก็อลล็อง (Antoine Galland) นักเขียนชาวฝรั่งเศส ประมวลเข้าเป็นนิทานตอนหนึ่งในหนังสือชุด พันหนึ่งราตรี (One Thousand and One Nights) หรือ อาหรับราตรี (The Arabian Nights).

ใหม่!!: ญินและอะลาดิน · ดูเพิ่มเติม »

อัลกุรอาน

อัลกุรอาน บ้างเรียก โกหร่าน (الْقُرآن) เป็นคัมภีร์ในศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมเชื่อว่าเป็นพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ประทานผ่านทางเทวทูตญิบรีล มาสู่นบีมุฮัมมัด คำว่า กุรอาน มาจากรากศัพท์ในภาษาอาหรับแปลว่า การอ่าน หรือ อาขยาน อัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกรุอานแก่นบีมุฮัมมัดซึ่งชาวมุสลิมถือว่าเป็นศาสนทูตคนสุดท้าย และคัมภีร์นี้ก็เป็นคัมภีร์สุดท้ายที่อัลลอฮ์ได้ส่งมาให้แก่มวลมนุษยชาติ หลังจากนี้แล้วจะไม่มีคัมภีร์ใด ๆ จากพระเป็นเจ้าอีก คัมภีร์กรุอานนี้ได้ประทานมาเพื่อยกเลิกคัมภีร์เก่า ๆ ที่เคยได้ทรงประทานมาในอดีตนั่นคือคัมภีร์เตารอต ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีมูซา คัมภีร์ซะบูร ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีดาวูด (ดาวิด) และคัมภีร์อินญีลที่เคยทรงประทานมาแก่นบีอีซา (พระเยซู) เป็นคัมภีร์ที่บริบูรณ์ไม่มีการเพี้ยนเปลี่ยนแปลง ภาษาของคัมภีร์อัลกุรอานนั้นคือภาษาอาหรับ ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน การศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอานทั้งเล่มเป็นหลักการหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องศรัทธา นั่นก็หมายความว่าหากไม่ศรัทธาในอัลกุรอาน หรือศรัทธาเพียงบางส่วนก็จะเป็นมุสลิมไม่ได้ เช่นเดียวกับที่ต้องศรัทธาว่าคัมภีร์อัลกุรอานนี้มีความบริบูรณ์ภายใต้การพิทักษ์ของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้จึง ตั้งแต่วันที่ท่านศาสดาเสียชีวิตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีความเหมือนกันในทุกฉบับบนโลก และภาษาอาหรับในคัมภีร์จึงเป็นภาษาโบราณภาษาเดียว ที่มีใช้อย่างคงเดิมอยู่จนกระทั่งวันนี้ได้ และได้กลายเป็นภาษามาตรฐานของประเทศอาหรับทั้งหลาย เป็นภาษาวิชาการของอิสลาม และเป็นภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติศาสนพิธีของมุสลิมทุกคนทั่วโลก.

ใหม่!!: ญินและอัลกุรอาน · ดูเพิ่มเติม »

อัลลอฮ์

นาอิสลามเรียกพระเป็นเจ้าว่า อัลลอฮ์ บ้างก็สะกดว่า อัลลอฮฺ, อัลลอหฺ หรือ อัลเลาะห์ ตรงกับภาษาอังกฤษ "God" เชื่อว่าทรงเป็นพระผู้สร้างมนุษย์ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต และทุกสรรพสิ่งในจักรวาล พระองค์ทรงมีโดยไร้จุดเริ่มต้น และทรงมีอยู่นิรันดร์โดยไม่มีจุดจบ พระองค์แตกต่างกับทุกสรรพสิ่งอย่างสิ้นเชิง ทรงดำรงด้วยพระองค์เอง มิต้องทรงพึ่งพาสิ่งใด พระองค์เป็นพระผู้เป็นเจ้าเอกองค์เดียว ไม่มีพระผู้เป็นเจ้าอื่นใดอีกนอกเหนือจากพระองค์ ตามความเชื่อของอิสลาม อัลลอฮ์ทรงมีความสามารถในการบันดาลทุกสรรพสิ่ง ทรงรอบรู้โดยไม่จำกัดขอบเขต อัลลอฮ์เป็นพระปฐมนามแห่งพระองค์ พระองค์มีพระนามอันวิจิตรอื่น ๆ อีกมากถึง 99 พระนาม ซึ่งบ่าวของพระองค์สามารถใช้นามเหล่านั้นเรียกพระองค์ได้ พระองค์ทรงบริสุทธิ์ ไม่มีบุตร ไร้ภาคี ทรงอยู่นอกเหนือกาละและเทศะ เพราะทั้งสองสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง พระองค์ทรงกำหนดระบบและปัจจัยของทุกสรรพสิ่ง อีกทั้งยังได้กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดจบของสรรพสิ่งที่พระองค์สร้างทั้งมวล อัลลอฮ์ คืออัตมันที่ทรงสิทธิในการได้รับการเคารพบูชาอย่างแท้จริง ไม่มีสิ่งใดอย่างเด็ดขาดที่ควรแก่การเคารพบูชานอกเหนือจากพระองค์ ชาวมุสลิมถือว่าอัลลอฮ์คือพระยาห์เวห์ในศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห.

ใหม่!!: ญินและอัลลอฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

อาหรับราตรี

อาหรับราตรี หรือพันหนึ่งราตรี (كِتَاب أَلْف لَيْلَة وَلَيْلَة, One Thousand and One Nights หรือ Arabian Nights) เป็นงานรวบรวมนิยายและนิทานพื้นบ้านตะวันออกกลางและเอเชียใต้ซึ่งรวบรวมไว้เป็นภาษาอังกฤษระหว่างยุคทองของอิสลาม ซึ่งฉบับภาษาอังกฤษฉบับแรก (ค.ศ. 1706) ใช้ชื่อเรื่องว่า ความบันเทิงอาหรับราตรี (The Arabian Nights' Entertainment) งานดังกล่าวมีการรวบรวมเป็นเวลาหลายศตวรรษโดยมีผู้ประพันธ์ ผู้แปลและนักวิชาการต่าง ๆ ทั่วเอเชียตะวันตก เอเชียกลางและเอเชียใต้และแอฟริกาเหนือ ตัวนิทานเองสืบย้อนไปถึงตำนานพื้นบ้านวรรณกรรมอาหรับ เปอร์เซีย เมโสโปเตเมีย อินเดียและอียิปต์โบราณและสมัยกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิทานหลายเรื่องเดิมเป็นนิยายพื้นบ้านจากสมัยรัฐเคาะลีฟะฮ์ ส่วนเรื่องอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรอบเรื่อง เป็นไปได้ว่าถูกดึงมาจากงานภาษาเปอร์เซียปาห์ลาวี Hazār Afsā (هزار افسان, ท. พันนิยาย) ซึ่งอิงส่วนของอินเดียบางส่วน บางเรื่องสัมพันธ์อย่างกว้างขวางมากกับอาหรับราตรี โดยเฉพาะ "ตะเกียงวิเศษของอะลาดิน" "อาลีบาบากับโจรสี่สิบคน" และ "การเดินทางเจ็ดเที่ยวของกะลาสีซินแบด" แม้ว่าแทบเป็นนิทานพื้นบ้านตะวันออกกลางของแท้ค่อนข้างแน่นอน แต่มิใช่ส่วนหนึ่งของอาหรับราตรีในฉบับภาษาอาหรับดั้งเดิม แต่ถูกอ็องตวน ก็อลล็องและผู้แปลยุโรปคนอื่นเพิ่มเข้างาน.

ใหม่!!: ญินและอาหรับราตรี · ดูเพิ่มเติม »

อาดัม

อาดัม (אָדָם; ܐܕܡ; آدم; Adam) เป็นมนุษย์คนแรกที่พระเป็นเจ้าสร้างขึ้นจากดิน ตามคติของศาสนาอับราฮัม ปรากฏทั้งใน คัมภีร์ฮีบรู คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม และอัลกุรอาน ตามคติของศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห์ อาดัมเป็นเพียงมนุษย์คนแรกของโลก แต่ตามคติของอิสลามอาดัมยังเป็นนบีท่านแรกของอัลลอฮ์ด้วย อาดัมและภรรยาชื่อเอวา เดิมพระเจ้าประทานอยู่ในสวนเอเดน ต่อมาภายหลังถูกซาตานหลอกลวงให้ประพฤติผิด เกิดเป็นบาป ทำให้ถูกไล่จากสวนเอเดน.

ใหม่!!: ญินและอาดัม · ดูเพิ่มเติม »

ผี

ตรีสีน้ำตาลแห่งไรน์แฮมฮอลล์ ถ่ายโดยกัปตัน ฮูเบิร์ต ซี.โปรแวนด์ ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารคันทรี่ไลฟ์ ค.ศ. 1936 ตามความเชื่อและบันเทิงคดีแต่โบราณ ผี (ghost) เป็นวิญญาณ (soul) หรือสปิริต (spirit) ของคนหรือสัตว์ที่ตาย ซึ่งสามารถปรากฏให้คนเป็นเห็นได้ ไม่ว่าจะในรูปที่มองเห็นได้หรือสำแดงออกมาในรูปอื่น รายละเอียดการปรากฏตัวของผีมีหลากหลายมากตั้งแต่การแสดงตนแบบมองไม่เห็น ปรากฏเป็นรูปร่างบอบบางที่โปร่งแสงหรือแทบมองไม่เห็น ไปจนถึงการเห็นภาพสมจริงดุจมีชีวิต ความเชื่อในการแสดงตนของวิญญาณผู้ตายนั้นมีแพร่หลาย ย้อนไปตั้งแต่วิญญาณนิยมหรือการบูชาบรรพบุรุษในวัฒนธรรมก่อนรู้หนังสือ หลักในบางศาสนา เช่น พิธีกรรมงานศพ พิธีไล่ผี หลักเจตนิยมบางประการและเวทมนตร์ ได้รับการออกแบบมาเพื่อปลอบวิญญาณของผู้ตายให้สงบโดยเฉพาะ ผีมักได้รับการอธิบายว่า เป็นสิ่งที่อยู่โดดเดี่ยวซึ่งสิงสู่ในสถานที่ วัตถุหรือบุคคลหนึ่ง ๆ ที่ผีผูกพันยามมีชีวิตอยู.

ใหม่!!: ญินและผี · ดูเพิ่มเติม »

ทูตสวรรค์

''บทเพลงของทูตสวรรค์'' โดย บูเกอโร, 1825–1905. ทูตสวรรค์ หรือ เทวทูต (angel) คือชาวสวรรค์จำพวกหนึ่งตามความเชื่อทางศาสนาและในเทพปกรณัมต่าง ๆ โดยมีหน้าที่เป็นผู้แจ้งข่าวสารจากสวรรค์มายังโลก บ้างก็ทำหน้าที่อารักขา แนะนำ หรือมอบหมายภารกิจแก่มนุษย์ คำนี้แปลมาจากคำว่า ἄγγελος ในภาษากรีก ซึ่งตรงกับคำว่า מלאך (มลัก) ในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) และเป็นคำเดียวกับคำว่า ملائكة (มลาอิกะฮ์) ที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน ศัพท์เดิมในภาษาฮีบรูและภาษากรีกนี้แปลว่า ผู้แจ้งข่าว ซึ่งอาจเป็นมนุษย์ (ทั้งผู้เผยพระวจนะ ปุโรหิต และคนสามัญ) หรืออมนุษย์ก็ได้แล้วแต่บริบทในคัมภีร์ ที่เป็นอมนุษย์นั้นเป็นได้ทั้ง ผู้แจ้งข่าวจากพระเจ้า ลักษณะเฉพาะด้านของพระเจ้า (เช่น กฎจักรวาล) หรือแม้แต่พระเป็นเจ้าเองที่ทรงเป็นผู้แจ้งข่าว (theophanic angel) คำว่า "ทูตสวรรค์" ยังถูกใช้หมายถึงวิญญาณในศาสนาอื่น ๆ ด้วย นอกจากการแจ้งข่าวแล้ว ทูตสวรรค์ยังมีหน้าที่ปกป้องและนำทางมนุษย์ รวมถึงปฏิบัติหน้าที่ตามที่พระเจ้ามอบหมายให้สำเร็จลุล่วง เทววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับทูตสวรรค์เรียกว่า “วิทยาการทูตสวรรค์” (angelology) ในงานศิลปะทูตสวรรค์มักปรากฏภาพเป็นชายมีปีก ซึ่งอาจมาจากหนังสือวิวรณ์เรื่องสัตว์สี่ตัว (4:6-8) และคัมภีร์ฮีบรูเรื่องเครูบและเสราฟิม แต่คัมภีร์ไบเบิลระบุว่าเครูบและเสราฟิมมีปีก ไม่เคยกล่าวถึงทูตสวรรค์ว่ามีปีกด้ว.

ใหม่!!: ญินและทูตสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

ปิศาจ

ปีศาจ (ปิศาจ; demon) หมายถึง ผี วิญญาณชั่วร้ายให้โทษ ตรงข้ามกับเทวดาหรือทูตสวรรค์ซึ่งเป็นวิญญาณฝ่ายดีและให้คุณ เป็นคติที่มักพบในศาสนา เรื่องลี้ลับ วรรณกรรม บันเทิงคดี เรื่องปรัมปรา และนิทานพื้นบ้าน.

ใหม่!!: ญินและปิศาจ · ดูเพิ่มเติม »

ไสยศาสตร์

ตร์ หมายถึง วิชาทางไสย อันเป็นลัทธิเกี่ยวกับเวทมนตร์คาถาที่เชื่อว่ามาจากศาสนาพราหมณ์ โดยเฉพาะจากคัมภีร์อถรรพเวท ที่มีพิธีเพื่อให้เกิดสิริมงคลป้องกันอันตรายต่อตนเองหรือทำอันตรายต่อผู้อื่น.

ใหม่!!: ญินและไสยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปตรา

right เปตรา (จากภาษากรีก πέτρα แปลว่าหิน ภาษาอารบิก البتراء) คือนครหินแกะสลักโบราณที่ซ่อนตัวอย่างลึกลับในหุบเขาวาดี มูซา หุบเขาที่ตั้งอยู่ระหว่างทะเลเดดซีกับอ่าวอะกาบาในประเทศจอร์แดน นครนี้แต่เดิมนั้นเป็นนครแห่งการค้าขนาดใหญ่ซึ่งต่อมาถูกละทิ้งเป็นเวลานานกว่า 700 ปี จนเมื่อมีนักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โยฮันน์ ลุควิก บวร์กฮาร์ท เดินทางผ่านมาพบเห็นเข้าเมื่อปี พ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812) นครเปตราได้รับลงทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี..

ใหม่!!: ญินและเปตรา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Genieจินนี่ดีญินดีจินโลกของญิน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »