โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรลันด์ ไฟรซเลอร์

ดัชนี โรลันด์ ไฟรซเลอร์

โรลันด์ ไฟรซเลอร์ โรลันด์ ไฟรซเลอร์ (Roland Freisler)(30 ตุลาคม 1893 – 3 กุมภาพันธ์ 1945) เป็นทนายความชั้นเลิศและเป็นผู้พิพากษานาซีของจักรวรรดิไรซ์ที่สาม เขาเป็นเลขานุการรัฐของกระทรวงยุติธรรมไรช์ และเป็นประธานของโฟล์คซดกริชท์ชอฟ ("ศาลประชาชน") และเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมการประชุมที่วานเซในปี 1942 ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อวางแผนการกำจัดชาวยิวในยุโรปของจักรวรรดิไรซ์ที่สาม โรลันด์ ไฟรซเลอร์นั้นเป็นที่รู้จักกันในฐานะผู้พิพากษาศาลเถื่อนของนาซีเยอรมันที่มีความดุดันแข็งกร้าวที่สุด มักพูดจาต่อว่าอย่างฉะฉานกับฝ่ายจำเลยที่เป็นนักโทษทางการเมืองและผู้ต่อต้านรัฐบาลนาซี เขาได้ตัดสินโทษประหารชีวิตนักโทษไปจำนวน 2,600 คน ในจำนวนนี้รวมถึงขบวนการกุหลาบสีขาว (กลุ่มนักศึกษาชาวเยอรมันที่ต่อต้านความเผด็จการของฮิตเลอร์และพรรคนาซี) และกลุ่มต่อต้านฝ่ายทหารและพลเรือนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนลับ 20 กรกฎาคม โรลันด์ ไฟรซเลอร์เสียชีวิตเนื่องจากกองทัพอากาศสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดในกรุงเบอร์ลิน เขาจึงถูกเศษซากอาคารถล่มทับในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 1945 หมวดหมู่:นักกฎหมายชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นาซี หมวดหมู่:เชลยศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่งชาวเยอรมัน.

5 ความสัมพันธ์: การประชุมที่วานเซกุหลาบขาวศาลประชาชน (เยอรมนี)ฮอโลคอสต์แผนลับ 20 กรกฎาคม

การประชุมที่วานเซ

หาสน์ ณ 56–58 เอเอ็ม โกเบน วานเซ (Am Großen Wannsee) ที่ประชุมวันน์เซ ปัจจุบันเป็นหออนุสรณ์และพิพิธภัณฑ์ การประชุมที่วานเซ (Wannsee Conference; Wannseekonferenz) เป็นการประชุมข้าราชการระดับสูงของนาซีเยอรมนีและผู้นำเอ็สเอ็ส จัดขึ้นที่เมืองวานเซ ชานกรุงเบอร์ลิน ณ วันที่ 20 มกราคม..

ใหม่!!: โรลันด์ ไฟรซเลอร์และการประชุมที่วานเซ · ดูเพิ่มเติม »

กุหลาบขาว

อนุสาวรีย์ของ'''ขบวนการกุหลาบสีขาว''' ด้านหน้าของ มหาวิทยาลัยลุดวิกเม็กซิมีเลียนแห่งมิวนิก ขบวนการกุหลาบสีขาว (die Weiße Rose)คือกลุ่มขบวนการที่ไม่ใช้ความรุนแรง, ปัญญา และต่อต้านของกลุ่มนักศึกษาและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมิวนิค เยอรมนีที่มีความคิดต่อต้านระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี พวกเขาได้ปฏิบัติการตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 1942 ด้วยการแจกใบปลิวและติดสื่อที่มีเนื้อหาการต่อต้านรัฐบาลพรรคนาซี,แจ้งข่าวความพ่ายแพ้ของกองทัพเยอรมัน(เวร์มัคท์)จากยุทธการต่างๆในสงครามโลกครั้งที่สองที่รัฐบาลนาซีได้พยายามปกปิดให้กับประชาชนชาวเยอรมันรับรู้ รวมทั้งการประณามการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของนาซีหรือฮอโลคอสต์ แต่ต้องจบลงด้วยการจับกลุ่มแกนนำทั้งหมดโดยพวกเกสตาโพในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1943 กลุ่มแกนนำและสมาชิกคนอื่นๆและผู้สนับสนุนที่มีความเกี่ยวข้องในการแจกใบปลิวได้ถูกนำตัวไปพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรมของโฟล์คซดกริชท์ชอฟ ("ศาลประชาชน") หลายคนถูกตัดสินประหารชีวิตและถูกจำคุก ในอีกหลายสิบปีหลังสงคราม เยอรมนีได้ประกาศยกย่องว่า เป็นขบวนการที่มีความกล้าหาญในการเรียกร้องต่อต้านนาซีด้วยหลักอหิงสาคือไม่ใช่ความรุนแรงใดๆเลย หมวดหมู่:นาซีเยอรมนี หมวดหมู่:ขบวนการต่อต้านสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: โรลันด์ ไฟรซเลอร์และกุหลาบขาว · ดูเพิ่มเติม »

ศาลประชาชน (เยอรมนี)

250px ศาลประชาชนหรือโฟล์คซดกริชท์ชอฟ (Volksgerichtshof,People's Court) เป็นศาลพิเศษ (Sondergericht) แห่งนาซีเยอรมนี,จัดตั้งขึ้นปฏิบัติการด้านนอกของกรอบรัฐธรรมนูญของกฎหม.สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เดิมในอดีตสภาขุนนางปรัสเซียนในกรุงเบอร์ลิน,ต่อมาย้ายไปที่อดีต Königliches Wilhelms-Gymnasium ที่ Bellevuestrasse 15 ในพอสดาเมอร์ พลาซ (Potsdamer Platz) ศาลได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1934 ตามคำสั่งผู้นำนาซี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในการตอบสนองต่อความไม่พอใจของเขาที่ผลการพิจารณาคดีเหตุเพลิงไหม้อาคารรัฐสภาไรชส์ทาค,ซึ่งทั้งหมดแต่หนึ่งในจำเลยกลับพ้นผิด ศาลมีขอบเขตเหนืออำนาจตามลำดับที่ค่อนข้างกว้างของ"ความผิดทางการเมือง", ซึ่งรวมถึงการก่ออาชญากรรม เช่น กิจกรรมตลาดมืด,ทำงานล่าช้า,ความเชื่อว่าจะพ่ายแพ้สงคราม(Defeatism)และการก่อกบฏต่อจักรวรรดิไรซ์ที่สาม.อาชญากรรมเหล่านี้ถูกมองโดยศาลคือWehrkraftzersetzung ("การสลายตัวของความสามารถในการป้องกัน")และถูกลงโทษอย่างรุนแรง;โทษประหารชีวิตได้ถูกกระจายออกไปในหลายกรณี ศาลได้ลงมือจากจำนวนมากมายของโทษประหารชีวิตของประธานผู้พิพากษา โรลันด์ ไฟรซเลอร์,รวมทั้งที่ตามมาด้วยแผนการลอบสังหารฮิตเลอร์ในวันที่ 20 กรกฏาคม 1944.ผู้คนจำนวนมากที่พบว่ามีความผิดโดยศาลจะได้รับการดำเนินการในเรือนจำ Plötzensee ในกรุงเบอร์ลิน การดำเนินการของศาลมักจะถูกแม้จะน้อยกว่าการพิจารณาคดีแสดง(show trials)ในบางกรณี อย่างเช่น โซเฟีย โชลล์(Sophie Scholl)และพี่ชายของเธอ ฮันส์ โชลล์(Hans Scholl)และผู้สนับสนุนในกลุ่มนักเคลื่อนไหว กุหลาบสีขาว(die Weiße Rose) การพิจารณาคดีได้ข้อสรุปในเวลาที่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงโดยไม่มีหลักฐานที่นำเสนอหรือมีข้อโต้แย้งที่ทำโดยทั้งสองฝ่าย ประธานศาลมักจะทำหน้าที่เป็นอัยการ,การประณามต่อจำเลย,แล้วออกเสียงคำตัดสินและประโยคของเขาโดยไม่ได้รับการคัดค้านจากทนายฝ่ายจำเลย,ที่มักจะยังคงเงียบตลอด ซึ่งมักจะเข้าข้างฝ่ายโจกท์,ไปยังจุดที่ถูกลากก่อนที่มันจะเป็นประหนึ่งการลงโทษประหารชีวิต ในขณะที่นาซีเยอรมนีไม่ได้เป็นกฏของกฏหมายรัฐ,ศาลประชาชนได้ชำระบ่อยด้วยแม้กฏหมายที่ได้ระบุและขั้นตอนของการพิจารณาคดีเยอรมันปกติและทำให้โดดเด่นได้อย่างง่ายดายด้วยการเป็น"ศาลเถื่อน"(kangaroo court).

ใหม่!!: โรลันด์ ไฟรซเลอร์และศาลประชาชน (เยอรมนี) · ดูเพิ่มเติม »

ฮอโลคอสต์

"การเลือกสรร" ในค่ายกักกันเอาชวิทซ์ พฤษภาคม/มิถุนายน 1944; ผู้ที่ถูกส่งไปอยู่ทางขวา คือ ไปใช้แรงงานทาส ส่วนผู้ที่ถูกส่งไปทางซ้าย คือ ไปห้องรมแก๊ส จากภาพ เป็นชาวยิวฮังการีที่เพิ่งมาถึงค่าย ผู้ถ่าย คือ แอร์นสท์ ฮอฟมันน์หรือเบอร์นาร์ด วอลเตอร์แห่งหน่วยเอสเอส ฮอโลคอสต์, โฮโลคอสต์ (The Holocaust) หรือรู้จักในอีกชื่อว่า haShoah (ภาษาฮีบรู: השואה), Churben (ภาษายิดดิช: חורבן) เป็นพันธุฆาตชาวยิวในยุโรปประมาณ 6 ล้านคนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โครงการฆาตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐโดยเยอรมนี นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ทั่วทั้งดินแดนที่เยอรมนียึดครอง จากชาวยิว 9 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปก่อนฮอโลคอสต์ ประมาณสองในสามถูกสังหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กชาวยิวกว่า 1 ล้านคนถูกสังหารในฮอโลคอสต์ เช่นเดียวกับหญิงชาวยิวประมาณ 2 ล้านคน และชายชาวยิว 3 ล้านคน นักวิชาการบางส่วนเสนอว่า นิยามของฮอโลคอสต์ยังควรรวมถึงพันธุฆาตประชากรกลุ่มอื่นอีกหลายล้านคนของนาซี รวมทั้งชาวโรมานี นักคอมมิวนิสต์ เชลยศึกโซเวียต พลเรือนโปแลนด์และโซเวียต พวกรักเพศเดียวกัน ผู้ทุพพลภาพ พยานพระยะโฮวา และคู่แข่งทางการเมืองและศาสนาอื่น ๆ ไม่ว่ากลุ่มชาติพันธุ์เยอรมันหรือไม่ก็ตาม นิยามนี้เป็นนิยามที่สามัญที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 หากใช้นิยามนี้ จำนวนเหยื่อฮอโลคอสต์ทั้งสิ้นอยู่ระหว่าง 11 ถึง 17 ล้านคน เฮนรี ฟีแลนเดอร์นิยามฮอโลคอสต์ว่า "การสังหารหมู่มนุษย์ เพราะพวกเขาเป็นสมาชิกของกลุ่มที่นิยามทางชีวภาพ" หมายความว่า "พวกนาซีใช้นโยบายการกำจัดที่คงเส้นคงวาและครอบคลุมเฉพาะกับมนุษย์สามกลุ่ม ผู้พิการ ชาวยิวและพวกยิปซี" การเบียดเบียนและพันธุฆาตมีการดำเนินแบ่งเป็นขั้น มีกฎหมายหลายฉบับที่ดึงชาวยิวออกจากประชาสังคม ที่เห็นชัดที่สุดคือ กฎหมายเนือร์นแบร์ก ซึ่งใช้บังคับในเยอรมนีหลายปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้น มีการสร้างค่ายกักกันซึ่งผู้ถูกกักกันถูกบังคับให้ใช้แรงงานทาสกระทั่งเสียชีวิตด้วยการหมดแรงหรือโรค ที่ใดที่เยอรมนียึดครองดินแดนใหม่ในยุโรปตะวันออก หน่วยเฉพาะที่เรียกว่า ไอน์ซัทซกรุพเพน จะฆาตกรรมยิวและคู่แข่งทางการเมืองในการยิงหมู่ ผู้ยึดครองกำหนดให้ชาวยิวและโรมานีถูกจำกัดอยู่ในเกตโตที่แออัดยัดเยียดก่อนถูกขนส่งโดยรถสินค้าไปยังค่ายมรณะ ที่ซึ่ง หากพวกเขารอดชีวิตจากการเดินทาง จะถูกสังหารไปโดยมากในห้องรมแก.

ใหม่!!: โรลันด์ ไฟรซเลอร์และฮอโลคอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

แผนลับ 20 กรกฎาคม

แผนลับ 20 กรกฎาคม (20 July plot) เป็นความพยายามลอบสังหารอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ฟือเรอร์แห่งไรช์ที่สาม ภายในกองบัญชาการสนาม "รังหมาป่า" ใกล้เมืองรัสเทนบูร์ก แคว้นปรัสเซียตะวันออก เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม..

ใหม่!!: โรลันด์ ไฟรซเลอร์และแผนลับ 20 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »