โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรมันคาทอลิกในประเทศไทย

ดัชนี โรมันคาทอลิกในประเทศไทย

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ขณะเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างเสด็จเยือนประเทศไทย คริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย หรือที่ชาวคาทอลิกเรียกโดยย่อว่า พระศาสนจักรในประเทศไทย เป็นประชาคมของคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก มีการปกครองตนเองภายใต้การควบคุมของสันตะสำนักราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 468 ตามสถิติคาทอลิกในประเทศไท..

65 ความสัมพันธ์: บาทหลวงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระคาร์ดินัลกรณีพิพาทอินโดจีนการประกาศเป็นบุญราศีการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่งภราดาฆราวาสภาคคริสตจักรมรณสักขีแห่งสองคอนมลายูมิชชันนารีมุขมณฑลมุขนายกรองมุขนายกประจำมุขมณฑลมุขนายกเกียรตินามมีชัย กิจบุญชูยวง นิตโยวัดคอนเซ็ปชัญวัดซางตาครู้สสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสันตะสำนักหลุยส์ ลาโนหนานจิงอัครมุขนายกฌอง หลุยส์ เวย์ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัวจำเนียร สันติสุขนิรันดร์คริสต์ศาสนิกชนคณะฟรันซิสกันคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสคณะรักกางเขนคณะออกัสติเนียนคณะดอมินิกันคณะนักบวชคาทอลิกคณะเยสุอิตตะวันออกไกลตังเกี๋ยประเทศพม่าประเทศสเปนประเทศโปรตุเกสประเทศไทยปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตนักพรตหญิงโรมันคาทอลิก...โคชินไชนาเบรุตเกาะสุมาตราเขตมิสซังกรุงเทพฯเขตมิสซังราชบุรีเขตมิสซังสุราษฎร์ธานีเขตมิสซังอุบลราชธานีเขตมิสซังอุดรธานีเขตมิสซังจันทบุรีเขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงเขตมิสซังนครราชสีมาเขตมิสซังนครสวรรค์เขตมิสซังเชียงใหม่เขตผู้แทนพระสันตะปาปาเซมินารี ขยายดัชนี (15 มากกว่า) »

บาทหลวง

ทหลวงดนัย วรรณะ (อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) และ ขวา-บาทหลวงสมเกียรติ บุญอนันตบุตร (โรมันคาทอลิก) บาทหลวง (priest)ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 387-8 หมายถึง นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์เรียก priest ว่า ปุโรหิต.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและบาทหลวง · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน..

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

พระคาร์ดินัล

ตราประจำสมณศักดิ์พระคาร์ดินัล คาร์ดินัล (Cardinal) เป็นสมณศักดิ์ชั้นสูง รองจากพระสันตะปาปา ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพระสันตะปาปา ในการปกครองคริสตจักรโรมันคาทอลิก ตำแหน่งนี้อาจเทียบเท่ากับสมเด็จพระราชาคณะในศาสนาพุทธ หรือสมาชิกวุฒิสภาในทางโลก ในสมัยก่อนตำแหน่งคาร์ดินัลมักเป็นฆราวาส แต่นับตั้งแต่ตราประมวลกฎหมายพระศาสนจักรฉบับล่าสุด (ค.ศ. 1917–83) เฉพาะบาทหลวงและมุขนายกเท่านั้นที่มีสิทธิ์เป็นพระคาร์ดินัลได้ หน้าที่พิเศษอย่างหนึ่งของพระคาร์ดินัลคือ เข้าร่วมการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาองค์ใหม่ แทนตำแหน่งที่ว่างลง และตนเองก็มีสิทธิ์ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาด้วย พระคาร์ดินัลอาจมีตำแหน่งมุขนายกหรือเป็นหัวหน้าปกครองคณะบาทหลวง คณะนักบวชคาทอลิกชาย-หญิง และคริสต์ศาสนิกชนฆราวาส ในมุขมณฑลที่ท่านปกครองด้ว.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและพระคาร์ดินัล · ดูเพิ่มเติม »

กรณีพิพาทอินโดจีน

กรณีพิพาทอินโดจีน หรือ สงครามอินโดจีน ในต่างประเทศเรียกว่า สงครามฝรั่งเศส-ไทย เป็นการสู้รบระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศสเขตวีชีเหนือดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศส จอมพล ป. พิบูลสงคราม กล่าวปราศรัยแก่นิสิตนักศึกษาและประชาชนที่มาชุมนุมเรียกร้องเอาดินแดนอินโดจีน คืนจากฝรั่งเศส ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483 ที่หน้ากระทรวงกลาโหม หลวงวิจิตรวาทการประกาศสงครามผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและกรณีพิพาทอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

การประกาศเป็นบุญราศี

็ดบุญราศีมรณสักขีแห่งสองคอน เป็นคริสต์ศาสนิกชนชาวไทยกลุ่มแรกที่ได้รับการประกาศเป็นบุญราศี การประกาศเป็นบุญราศี (Beatification) คือกระบวนการที่คริสตจักรโรมันคาทอลิกกำหนดขึ้นเพื่อรับรองว่าบุคคลหนึ่งได้เข้าสู่สวรรค์และสามารถวอนขอพรจากพระเป็นเจ้าแทนมนุษย์บนโลกได้ กระบวนการนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สี่ของการประกาศเป็นนักบุญ.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและการประกาศเป็นบุญราศี · ดูเพิ่มเติม »

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรตองอูและอาณาจักรอยุธยา อันเป็นผลมาจากความต้องการของพระเจ้าบุเรงนองซึ่งต้องการได้กรุงศรีอยุธยาเป็นประเทศราชดนั.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ภราดาฆราวาส

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ภราดาฆราวาส เรียกโดยย่อว่า ภราดา หมายถึงบุรุษที่เป็นสมาชิกคณะนักบวชคาทอลิก แต่ไม่ได้รับศีลอนุกรมขั้นใด ๆ ดังนั้นจึงไม่สามารถโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ได้ การเรียกว่า "ภราดาฆราวาส" เพื่อให้ต่างจากผู้ได้รับศีลบวชแล้วหรือเตรียมจะรับศีลบวชต่อไป แม้จะมีชื่อว่า “ฆราวาส” แต่ภราดาฆราวาสก็มีสถานะเป็นนักบวชคาทอลิก เพราะได้ถือคำปฏิญาณของนักบวชเพื่อรับใช้พระเป็นเจ้าผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่คณะนักบวชที่ตนสังกัดได้กำหนดไว้ คณะนักบวชชายแต่ละคณะอาจกำหนดบทบาทหน้าที่ของภราดาฆราวาสแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและภราดาฆราวาส · ดูเพิ่มเติม »

ภาคคริสตจักร

ริสตจักร (ecclesiastical province) หรือ แขวงฝ่ายพระศาสนจักร เป็นเขตปกครองของศาสนาคริสต์ พบในนิกายโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และคริสตจักรตะวันออก.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและภาคคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

มรณสักขีแห่งสองคอน

มรณสักขีแห่งสองคอน คือคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกชาวไทย 7 คน ที่ถูกตำรวจยิงเสียชีวิตเพราะไม่ยอมเลิกนับถือศาสนาคริสต์ ทั้ง 7 คนได้รับการยกย่องจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกว่าเป็นมรณสักขี และได้รับการประกาศเป็นบุญราศีพร้อมกันโดยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร นครรัฐวาติกัน เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม..

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและมรณสักขีแห่งสองคอน · ดูเพิ่มเติม »

มลายู

มลายู (Melayu) หรือ มาเลย์ (Malay) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและมลายู · ดูเพิ่มเติม »

มิชชันนารี

มิชชันนารีคาทอลิกคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสกำลังอำลาญาติพี่น้อง ก่อนออกเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาคริสต์ยังดินแดนตะวันออกไกล มิชชันนารี (missionary) คือ สมาชิกองค์การทางศาสนา ที่ถูกส่งไปยังต่างแดนเพื่อทำการประกาศข่าวดีและรับใช้พระผู้เป็นเจ้าหรือศาสนจักร ในงานด้านการศึกษา การรู้หนังสือ ความยุติธรรมทางสังคม สาธารณสุข และการพัฒนาเศรษฐกิจThomas Hale 'On Being a Missionary' 2003, William Carey Library Pub, ISBN 0-87808-255-7 คำว่า "มิชชัน" มาจากภาษาละติน missionem ซึ่งแปลว่า การส่งออกไป มิชชันนารีมักทำงานรวมกันเป็นองค์กรเรียกว่า มิชชัน (โปรเตสแตนต์) หรือ มิสซัง (โรมันคาทอลิก) และเรียกสำนักงานของมิชชันนารีว่า ศูนย์มิชชัน (โปรเตสแตนต์) หรือ สำนักมิสซัง (โรมันคาทอลิก).

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและมิชชันนารี · ดูเพิ่มเติม »

มุขมณฑล

มุขมณฑลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 139 (diocese) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกว่า สังฆมณฑล ในประเทศไทยกรมการศาสนาเรียกว่า เขตมิสซังกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 เป็นเขตการปกครองของคริสตจักรซึ่งมีมุขนายกเป็นประมุข แต่ละมุขมณฑลจะแบ่งออกเป็นเขตแพริช ในกรณีที่เป็นมุขมณฑลขนาดใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากกว่ามุขมณฑลอื่นที่อยู่รอบ ๆ มุขมณฑลนั้นจะถูกยกสถานะขึ้นเป็นอัครมุขมณฑล โดยมีอัครมุขนายกเป็นประมุข อัครมุขนายกมีสถานะเป็นมุขนายกมหานคร มีอำนาจสูงกว่ามุขนายกปริมุขมณฑลซึ่งเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลอื่น ๆ ในภาคคริสตจักรเดียวกัน โครงสร้างการปกครองคริสตจักรแบบนี้เรียกว่า การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล มุขมณฑลยังอาจหมายถึง เขตมุขนายก (bishopric) หรือ อิปิสโคปัลซี (Episcopal see) แต่คำว่าอิปิสโคปัลซีมักใช้หมายถึงอาณาเขตที่ปกครองโดยบิชอป ขณะที่ bishopric อาจหมายถึงตำแหน่งบิชอปก็ได้.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายกรอง

มุขนายกรอง (coadjutor bishop) ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก หรือบิชอปโคแอดจูเตอร์ (bishop coadjutor) ในแองกลิคันคอมมิวเนียน เป็นตำแหน่งผู้ช่วยมุขนายกประจำมุขมณฑลในการบริหารมุขมณฑล คล้ายกับเป็นมุขนายกร่วมกันปกครองมุขมณฑลนั้น มุขนายกรองจึงมีตำแหน่งเป็นอุปมุขนายกประจำมุขมณฑลด้วย (แต่มีอำนาจหน้าที่มากกว่าอุปมุขนายกทั่วไปที่ไม่ได้เป็นมุขนายกรอง) เมื่อมุขนายกประจำมุขมณฑลพ้นจากตำแหน่งไปไม่ว่าด้วยการเกษียณอายุ ถูกถอดจากตำแหน่ง หรือถึงแก่กรรม มุขนายกรองจะสืบตำแหน่งมุขนายกประจำมุขมณฑลต่อทันที.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและมุขนายกรอง · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายกประจำมุขมณฑล

มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯองค์ปัจจุบันhttp://www.catholic.or.th/service/gallery/gallery_2010/santacruz2010/index.html ฉลองโบสถ์ซางตาครู้ส.เรียกข้อมูลวันที่ 13 ธ.ค. 2554 มุขนายกประจำมุขมณฑล (diocesan bishop) ในประเทศไทยกรมการศาสนาให้เรียกว่ามุขนายกมิสซัง ชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าพระสังฆราชประจำสังฆมณฑล คือมุขนายกที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งให้เป็นประมุขปกครองมุขมณฑลหนึ่ง.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและมุขนายกประจำมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายกเกียรตินาม

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายกเกียรตินาม มุขนายกเกียรตินาม (Titular bishop) หรือทับศัพท์ว่าทิทิวลาร์บิชอป ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าพระสังฆราชเกียรตินาม คือบาทหลวงที่ได้รับแต่งตั้งจากพระสันตะปาปาให้เป็นมุขนายก แต่ไม่มีมุขมณฑลปกครองเพราะมุขมณฑลที่ได้รับดูแลนั้นไม่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและมุขนายกเกียรตินาม · ดูเพิ่มเติม »

มีชัย กิจบุญชู

ระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นพระคาร์ดินัลชาวไทยองค์แรก ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอัครมุขนายกกิตติคุณมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและมีชัย กิจบุญชู · ดูเพิ่มเติม »

ยวง นิตโย

ระคุณเจ้ายอแซฟ ยวง นิตโย (29 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 – 2 ตุลาคม พ.ศ. 2541) บาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวปทุมธานี เคยดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งในคริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย เช่น ประธานสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย อัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ เป็นต้น.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและยวง นิตโย · ดูเพิ่มเติม »

วัดคอนเซ็ปชัญ

วัดคอนเซ็ปชัญ หรืออ่านออกเสียงว่า วัดคอนเซ็ปชั่น (Conception Church) เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในซอยสามเสน 11 ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร วัดคอนเซ็ปชัญประกอบด้วย ตัวอาคารหลังเดิม ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ทรงหลังคาจั่วแบบไทย เป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดคาดว่าก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ และส่วนของตัวโบสถ์คอนเซ็ปชัญซึ่งสร้างขึ้นโดยบาทหลวงฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว ชาวฝรั่งเศส ที่ได้เดินทางมาเป็นเจ้าอาวาส โดยได้ทำการเสกในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2380 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) นอกจากนี้ในบริเวณที่ตั้งของวัด ยังมีวัดนักบุญฟรังซีสเซเวียร์ ซึ่งตั้งอยู่ข้างกับวัดอีกด้วย ปัจจุบันตัวโบสถ์นี้มีอายุรวมแล้ว ปี ทำให้เป็นหนึ่งในโบสถ์คาทอลิกที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย วัดคอนเซ็ปชัญ มีประวัติมาตั้งแต่ครั้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งพระองค์ได้ทรงพระราชทานที่ดินให้กับชาวโปรตุเกสที่ร่วมรับราชการทำสงครามให้กับพระองค์ ในราวปี พ.ศ. 2217 ต่อมาในปี พ.ศ. 2325 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดให้ชาวเขมร 500 คน ที่หลบหนีลี้ภัยมาจากเขมร มาอยู่รวมกับชาวโปรตุเกสในหมู่บ้านนี้เท่านั้น และตังแต่นั้นมาก็มีการเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านเขมร" จนในเวลาต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานที่กับชาวญวน เข้ามารวมกับที่อยู่เดิมของชาวเขมร ทำให้ชาวญวนในเวลาต่อมาก็ได้เข้ารีตนิกายคริสต์กันเป็นส่วนใหญ่ ตัวโบสถ์คอนเซ็ปชัญ มีความโดดเด่นในด้านงานสถาปัตยกรรมกว่าโบสถ์ทั่วๆไป เนื่องจากเป็นโบสถ์ลูกครึ่งไทยและฮอลันดา หรือที่เรียกว่า "วิลันดา" ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนปลายจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีลักษณะคือใช้ระบบผนังรับน้ำหนัก มีเสาไม้รับโครงของหลังคาแบบไทย และตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น ซึ่งโดยมากจะเป็นลายเทศ เลียนแบบฝรั่ง โดยลดลายเส้นกนกออกไป, bloggang.com/.สืบค้นเมื่อ 29/05/2559 จนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดได้มีการเพิ่มเติมส่วนของหอระฆัง (Bell Tower) โดยมีสถาปนิกโจอาคิม กรัสซี ชาวออสเตรีย (Joachim Grassi) เป็นผู้ออกแบบ ซึ่งเป็นการออกแบบหอระฆัง ด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา มีหัวเสาแบบโรมาเนสก์รองรับช่วงชั้นต่างๆของอาคาร และการวางเป็นซุ้มโค้งแบบโรมัน ด้วยเหตุนี้เองทำให้โบสถ์คอนเซ็ปชัญ ประกอบด้วยงานสถาปัตยกรรมถึง 3 รูปแบบ คือ ไทย ฮอลันดา และโรมัน.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและวัดคอนเซ็ปชัญ · ดูเพิ่มเติม »

วัดซางตาครู้ส

วัดซางตาครู้ส, โบสถ์ซางตาครู้ส หรือ วัดกุฎีจีน (Santa Cruz Church) เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในซอยกุฎีจีน แยกซอยอรุณอมรินทร์ 4 (ถนนเทศบาล สาย 1) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร อาคารวัดแห่งนี้เป็นอาคารหลังที่สามซึ่งสร้างขึ้นเพื่อทดแทนอาคารวัดหลังเดิมที่คับแคบและชำรุดทรุดโทรมมาก โดยมีคุณพ่อกูเลียลโม กิ๊น ดา ครู้ส เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2459 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2539 โดยมีคุณพ่อศวง ศุระศรางค์ เป็นผู้ริเริ่มเพื่อการอนุรักษ์ต่อไป ปัจจุบันวัดหลังนี้มีอายุรวมแล้ว ปี อาคารวัดซางตาครู้สเป็นอาคารรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกเช่นเดียวกับอาสนวิหารอัสสัมชัญ มีจุดเด่นที่ยอดโดมแบบอิตาลีซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับโดมแห่งมหาวิหารฟลอเรนซ์หรือโดมของพระที่นั่งอนันตสมาคม ภายในเป็นอาคารชั้นเดียว มีจุดเด่นอีกประการคือ การใช้เสาลอยรับน้ำหนักของฝ้าเพดานแบบโค้ง รวมถึงกระจกสีที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา วัดซางตาครู้สเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่อยู่คู่กับชุมชนกุฎีจีนเก่าแก่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยบริเวณที่ตั้งของวัดอยู่ใกล้กับพระราชวังเดิม สมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระราชทานที่ดินให้แก่ชาวโปรตุเกสซึ่งร่วมทำการศึกต่อต้านพม่าจนได้รับชัยชนะ นักบวชชาวโปรตุเกสจึงได้เริ่มก่อสร้างอาคารวัดหลังแรกที่สร้างด้วยไม้ทั้งหมดแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2313 ต่อมาได้เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในชุมชนในปี พ.ศ. 2376 ทำให้อาคารวัดพังเสียหายทั้งหมด จึงต้องก่อสร้างใหม่ด้วยอิฐถือปูน และได้ก่อสร้างใหม่อีกครั้งในปี..

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและวัดซางตาครู้ส · ดูเพิ่มเติม »

สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย

ประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 คริสตชนคาทอลิกในประเทศไทยเรียก สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย (The Catholic Bishops' Conference of Thailand) เป็นองค์การปกครองสูงสุดของคริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ประกอบด้วยมุขนายกชาวไทยซึ่งเป็นประมุขเขตมิสซังต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยทั้งสิบมิสซัง ปัจจุบัน สำนักงานเลขาธิการสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 122/6-7 ซอยนาคสุวรรณ ถนนนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9

มเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือ สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 347 หรือ พระเจ้าท้ายสระนามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 165 หรือ พระเจ้าภูมินทราชา หรือ พระเจ้าบรรยงก์รัตนาสน์ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 30 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สามแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง..

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10 ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1644 ถึง ค.ศ. 1655 ประสูติเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1574 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1655 รวมพระชนมายุได้ 80 พรรษา หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2117 อินโนเซนต์ที่ 10 หมวดหมู่:บุคคลจากโรม.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6

''Desiderando nui'', 1499 สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 (Alexander VI) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1492 ถึง ค.ศ. 1503.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2

มเด็จพระสันตะปาปา นักบุญจอห์น ปอลที่ 2 มีพระนามเดิมว่า การอล ยูแซฟ วอยตือวา (ในภาษาโปแลนด์) เกิดเมื่อ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1920 ที่หมู่บ้านวาดอวิตแซ ใกล้เมืองกรากุฟ ประเทศโปแลนด์ บิดาเป็นทหารมียศเป็นจ่าทหารและเกษียณราชการแล้ว มารดาเสียชีวิต เมื่อคาโรลยังเป็นเด็ก ท่านเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์พิเศษ ชอบการกีฬาเป็นอันมาก ท่านยังชอบบทกวีและการแสดงละคร หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 1 คณะพระคาร์ดินัลทั่วโลกก็มีมติเลือกให้พระคาร์ดินัลการอล วอยตือวา ประมุขแห่งอัครมุขมณฑลกรากุฟ ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 58 พรรษา ขึ้นเป็นประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1978 นับเป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 264 ที่สืบตำแหน่งต่อจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูต สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เป็นประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก เป็นพระสันตะปาปาที่ไม่ใช่ชาวอิตาเลียนองค์แรกในรอบ 455 ปี และเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกที่เป็นชาวโปแลนด์ รวมทั้งยังเป็นพระสันตะปาปาที่ได้รับเลือกขณะที่มีอายุน้อยที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 อีกด้วย พระองค์เป็นพระสันตะปาปาที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน พระองค์ทรงเดินทางรอบโลกเพื่อเยี่ยมเยียนคริสตชนมากกว่าพระสันตะปาปาองค์ใด ๆ ในอดีตที่ผ่านมา ทรงต่อต้านกระแสทุนนิยมที่ไร้ขอบเขต การกดขี่ทางการเมือง ยืนกรานในการต่อต้านการทำแท้ง และปกป้องวิถีทางของศาสนจักรในเรื่องเพศของมนุษย์ ปัจจุบัน พระองค์ท่านได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2014 ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6

มเด็จพระสันตะปาปา บุญราศีปอลที่ 6 (Paulus PP.) ดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1963 ถึง ค.ศ. 1978 สืบต่อจากสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 ผู้เรียกประชุมสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง เมื่อได้รับตำแหน่งพระสันตะปาปาก็ทรงสืบสานงานการประชุมสังคายนานั้นต่อ ซึ่งมีผลให้พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกได้ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านคริสตศาสนสัมพันธ์กับนิกายโปรเตสแตนต์และอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เรื่อยมาจนปัจจุบัน ก่อนได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปา พระองค์เคยทำงานรับใช้ใกล้ชิดกับสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 โดยทำงานที่สำนักเลขาธิการแห่งรัฐวาติกัน และพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 นี้เองได้แต่งตั้งพระองค์เป็นอัครมุขนายกแห่งมิลาน ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสภามุขนายกแห่งอิตาลีอีกด้วย ต่อมาในสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 พระองค์ได้รับแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล และได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาหลังจากสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 ได้สิ้นพระชนม์ พระองค์เลือกใช้พระนามว่า เปาโล เพื่อสื่อถึงการเน้นพันธกิจทางด้านการประกาศข่าวดีเหมือนนักบุญเปาโลอัครทูต นอกจากนี้หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 พระองค์ยังคงสานงานการประชุมสังคายนาวาติกันครั้งที่สองนั้นต่อ ซึ่งมาแล้วเสร็จในสมณสมัยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ในวันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม..

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

มเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (พ.ศ. 2174/2175 - 2231; ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอ.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและสมเด็จพระนารายณ์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

สันตะสำนัก

ม่มีความสัมพันธ์ สันตะสำนักราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 251(Holy See) หรือที่บางตำราเรียกว่า อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 753 คือมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในกรุงโรม และเนื่องจากกรุงโรมมีความสำคัญที่สุดในคริสตจักรโรมันคาทอลิก บิชอปแห่งโรมจึงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาอันเป็นตำแหน่งประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมดด้วย สันตะสำนักเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ฉะนั้นเมื่อกล่าวถึง “สันตะสำนัก” จึงหมายถึงองค์กรบริหารส่วนกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมด และเป็นอาณาจักรทางศาสนาที่เป็นที่ยอมรับตามกฎหมายนานาชาติว่าเป็นรัฐอิสระที่มีประมุขเป็นพระสันตะปาปาและสถาปนาความสัมพันธ์ทางทูตกับประเทศอื่นได้ สันตะสำนักแบ่งการบริหารออกเป็น 4 ระดับ ได้แก.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและสันตะสำนัก · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ ลาโน

หลุยส์ ลาโน (Louis Laneau) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวฝรั่งเศสสมาชิกคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ซึ่งปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในอาณาจักรอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้ดำรงตำแหน่งประมุขมิสซังสยามเป็นองค์แรก.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและหลุยส์ ลาโน · ดูเพิ่มเติม »

หนานจิง

หนานจิง หรือรู้จักกันอีกชื่อว่า นานกิง เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยหนานจิงเป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าของจีน ปัจจุบันหนานจิงเป็นเมืองใหญ่อันดับสองในภาคตะวันออกของจีน รองจากช่างไห่ และหนานจิงเป็นเมืองหลวงของจีนคณะชาติสมัยปฏิวัติล้มล้างจักรพรรดิจีน ราชวงศ์ชิงหรือแมนจู หนานจิง ที่แปลว่านครหลวงใต้ เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ จนได้รับสมญานามว่า เมืองหลวงสิบแผ่นดิน และยังเป็น 1 ใน 6 นครโบราณ อันได้แก่ ปักกิ่ง หนานจิง ซีอาน ลั่วหยาง หางโจว และ ไคเฟิง เป็นเมืองหลวงครั้งสุดท้ายระหว่างปี พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2492 โดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ซึ่งมีผู้นำขณะนั้น คือ นายพลเจียงไคเช็ค หลังสถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลใหม่จึงได้ย้ายเมืองหลวงกลับมายังปักกิ่งดังเดิม บรรพบุรุษชาวหนานจิง จำนวนมากอพยพมาจากปักกิ่งตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง จึงมีส่วนทำให้ภาษาหนานจิงมีสำเนียงคล้ายภาษาจีนกลางที่ฟังเข้าใจได้ทั่วไป จนทำให้ปัจจุบันหนานจิงเป็นหนึ่งในเมืองที่มีนักศึกษาต่างชาติมากที่สุดในประเทศจีน แต่เนิ่นๆการพัฒนา ตั้งแต่ 3 ราชอาณาจักรระยะเวลาหนานจิงได้กลายเป็นศูนย์แห่งอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมของหนานจิงราชวงศ์ถูกขยายเพิ่มเติมและเมืองกลายเป็นหนึ่งในเมืองที่เจริญมากที่สุดในจีน.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและหนานจิง · ดูเพิ่มเติม »

อัครมุขนายก

2553. อาร์ชบิชอป (Archbishop) หรืออัครมุขนายก ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าพระอัครสังฆราช เป็นตำแหน่งการปกครองระดับสูงในบางคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน ถือว่ามีสถานะเหนือกว่ามุขนายกกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 (bishop) การเป็นอัครมุขนายกหมายถึงการได้ปกครองอัครมุขมณฑล (archdiocese) ซึ่งเป็นมุขมณฑลที่มีความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ หรือในกรณีของแองกลิคันคอมมิวเนียนจะหมายถึงกลุ่มมุขมณฑลที่รวมกันเป็นภาคคริสตจักร เช่น ภาคแคนเทอร์เบอรีที่ปกครองโดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป “อัครมุขนายก” มีฐานะเท่าเทียมกับมุขนายกในด้านการศาสนา แต่มีอภิสิทธิ์บางอย่างมากกว่า ฉะนั้นถ้าผู้ที่เป็นมุขนายกอยู่แล้วได้รับการแต่งตั้ง (appointment) เป็นอัครมุขนายกก็ไม่จำเป็นต้องรับการอภิเษก (consecration) อีก มีแต่พิธีเข้ารับตำแหน่ง (installation) แต่ถ้าผู้ที่ได้รับตำแหน่งไม่ได้เป็นมุขนายกมาก่อน ผู้นั้นก็ต้องเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับศีลอนุกรมเสียก่อนที่จะทำหน้าที่เป็นอัครมุขนายก คำว่า “Archbishop” มาจากภาษากรีกว่า “αρχι” ที่แปลว่า “ที่หนึ่ง” หรือ “หัวหน้า” และคำว่า “επισκοπος” ที่แปลว่า “ปกครองดูแล” “อัครมุขนายก” ปกครอง “อัครมุขมณฑล” หรือภาคคริสตจักร ถ้าเป็นในสมัยโบราณโดยเฉพาะในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อัครมุขนายกก็จะปกครอง “รัฐอัครมุขนายก” เช่น อาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ (Archbishop of Mainz) ผู้ปกครอง “ราชรัฐอัครมุขนายกไมนซ์” (Archbishopric of Mainz).

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและอัครมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

ฌอง หลุยส์ เวย์

มุขนายกฌอง หลุยส์ เวย์วิกตอร์ ลาร์เก, ประวัติพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย, แม่พระยุคใหม่, 2539, หน้า 213-264 (Jean Louis Vey) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวฝรั่งเศส ปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในราชอาณาจักรสยาม และได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายกผู้แทนพระสันตะปาปาประมุขมิสซังสยามตะวันออก (Vicar Apostolic of Eastern Siam) ในสมัยรัชกาลที่ 5.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและฌอง หลุยส์ เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว

ัง บัปติสต์ ปาลเลอกัวซ์ พร้อมด้วยเด็กไทยชื่อแก้ว และเด็กญวนชื่อชมถ่ายที่ปารีส เมื่อ พ.ศ. 2397 ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว (Jean-Baptiste Pallegoix.) หรือที่รู้จักในนามพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ เป็นบาทหลวงสังกัดคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในประเทศไทยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสมณศักดิ์เป็นประมุขมิสซังสยามตะวันออก (apostolic vicar of Eastern Siam) และมุขนายกเกียรตินามแห่งมาลลอสหรือมัลลุส (titular bishop of Mallos/Mallus) ท่านได้นำวิทยาการการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทย และนอกจากนี้ท่านยังจัดทำพจนานุกรมสี่ภาษาเล่มแรกของไทยขึ้นชื่อ สัพะ พะจะนะ พาสา ไท โดยมีภาษาทั้งสี่ที่ว่านี้คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาละติน.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว · ดูเพิ่มเติม »

จำเนียร สันติสุขนิรันดร์

thumbnail พระคุณเจ้าหลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ (30 ตุลาคม พ.ศ. 2485) เป็นบาทหลวงชาวนครพนม อดีตประธานสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหารหลายตำแหน่งในคริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย เช่น อัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกท่าแร่-หนองแสง เป็นต้น.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและจำเนียร สันติสุขนิรันดร์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศาสนิกชน

ัญลักษณ์กางเขนและอิกธัส (Ichthys) ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนมักใช้แทนศาสนาของตน คริสต์ศาสนิกชน หรือ คริสตชน หมายถึง บุคคลที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยมอันเกิดจากคำสอนของพระเยซูชาวนาซาเรธ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระองค์คือพระคริสต์หรือพระเมสสิยาห์ที่ถูกพยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู และเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าด้วย, BBC คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่เชื่อเรื่องพระตรีเอกภาพ คือ เชื่อว่าพระเป็นเจ้าพระองค์เดียวได้ปรากฏเป็น 3 พระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตามมีคริสต์ศาสนิกชนบางกลุ่มไม่ยอมรับเรื่องพระตรีเอกภาพ จึงเรียกว่า "อตรีเอกภาพนิยม" เช่น พยานพระยะโฮวา ในประเทศไทยเรียกคริสต์ศาสนิกชนชาวโรมันคาทอลิกว่าคริสตัง และชาวโปรเตสแตนต์ว่าคริสเตียน.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

คณะฟรันซิสกัน

ณะฟรันซิสกัน (Franciscan Order) บางแห่งเรียกว่าคณะฟรังซิสกัน เป็นกลุ่มคณะนักบวชคาทอลิกที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้ก่อตั้งขึ้น นอกจากในคริสตจักรโรมันคาทอลิกแล้วยังมีคณะฟรันซิสกันในคริสตจักรคาทอลิกเก่า นิกายแองกลิคัน และประชาคมฟรังซิสกันสากล (ecumenical Franciscan communities) ด้วย กลุ่มที่โดดเด่นที่สุดคือคณะภราดาน้อย (Order of Friars Minor) หรือที่รู้จักกันในนามคณะฟรันซิสกัน ซึ่งได้ชื่อนี้เพราะไฟรเออร์ในคณะถือวัตรปฏิบัติตามแบบที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้วางแนวทางและก่อตั้งคณะไว้ มีลักษณะเป็นคณะนักบวชภิกขาจาร คณะฟรันซิสกันยังประกอบด้วยคณะย่อย 3 คณะ โดยแต่ละคณะมีการปกครองตนเองเป็นอิสระต่อกัน ได้แก่ คณะผู้ถือวินัย (Observants) เรียกอีกชื่อว่าคณะภราดาน้อย คณะภราดาน้อยกาปูชิน และคณะภราดาน้อยคอนเวนชวล ทุกคณะยึดถือวินัยของนักบุญฟรังซิสเป็นวินัยประจำคณ.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและคณะฟรันซิสกัน · ดูเพิ่มเติม »

คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส

ณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (Missions Étrangères de Paris; M.E.P) เป็นคณะชีวิตแพร่ธรรมของคริสตจักรโรมันคาทอลิก (ไม่ใช่คณะนักบวชคาทอลิก) สมาชิกประกอบด้วยบาทหลวงประจำมุขมณฑลและฆราวาสที่อุทิศตนทำงานเป็นมิชชันนารีในต่างประเทศ คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสก่อตั้งราว..

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส · ดูเพิ่มเติม »

คณะรักกางเขน

ณะรักกางเขน (Amantes de la Croix; Lovers of the Holy Cross) เป็นกลุ่มคณะนักบวชคาทอลิกหญิงประจำมุขมณฑล ที่มุขนายกปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต ก่อตั้งขึ้นเมื่อมาปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคณะรักกางเขนคณะแรกตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและคณะรักกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

คณะออกัสติเนียน

นักบุญออกัสตินแห่งฮิบโปจากรายละเอียดของการประดับกระจกสีโดย หลุยส์ คอมฟอร์ต ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) ที่พิพิธภัณฑ์ไลท์เนอร์ (Lightner museum) โบสถ์เซนต์ออกัสติน รัฐฟลอริดา คณะออกัสติเนียน (Augustinian Order) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกกลุ่มหนึ่ง ตั้งชื่อตามนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป (ค.ศ. 354 - ค.ศ. 450) ปัจจุบันมีสองแบบ ได้แก.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและคณะออกัสติเนียน · ดูเพิ่มเติม »

คณะดอมินิกัน

ณะนักเทศน์ (Order of Preachers; Ordo fratrum Praedicatorum) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า คณะดอมินิกัน.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและคณะดอมินิกัน · ดูเพิ่มเติม »

คณะนักบวชคาทอลิก

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก คณะนักบวช หรือ สถาบันนักบวช (religious institute) เป็นสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วประเภทหนึ่ง สมาชิกประกอบด้วยชาวคาทอลิกที่สละชีวิตทางโลกมาถือคำปฏิญาณของนักบวชตลอดชีวิต เพื่ออุทิศตนทำงานรับใช้พระศาสนจักรเพียงอย่างเดียว และอยู่รวมกันเป็นคณะ (order/society/congregation) โดยแต่ละคณะมีแนวทางการทำงานและเน้นวัตรปฏิบัติแตกต่างกันไป นอกจากเรียกว่า "คณะนักบวช" แล้ว ราชบัณฑิตยสถานยังใช้คำว่า คณะนักพรต และ คณะนักบวชถือพรต โดยถือว่ามีความหมายเดียวกันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 163, 421-2 ส่วนประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ค.ศ. 1983 ฉบับภาษาไทย ใช้คำว่า คณะสถาบันนักพรต.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและคณะนักบวชคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

คณะเยสุอิต

ณะเยสุอิต.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและคณะเยสุอิต · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกไกล

ตะวันออกไกล ตะวันออกไกล (Far East) ในความหมายที่จำกัดหมายถึงพื้นที่ซึ่งประกอบด้วยประเทศทางด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ มองโกเลีย ไต้หวัน และไซบีเรีย แต่ในความหมายที่กว้างขึ้นมักหมายรวมถึงอาเซียนและบางส่วนของเอเชียใต้ ในทางประวัติศาสตร์ ชาติมหาอำนาจในยุโรปเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรียกดินแดนแถบนี้และกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกว่าตะวันออกไกลเนื่องจากอยู่ห่างไกลจากอาณาจักรของตนไปทางทิศตะวันออก.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและตะวันออกไกล · ดูเพิ่มเติม »

ตังเกี๋ย

อาณานิคมตังเกี๋ย (Bắc Kỳ บั๊กกี่; Tonkin, Tongkin, Tonquin หรือ Tongking) เป็นส่วนที่อยู่ทางเหนือสุดของประเทศเวียดนาม มีอาณาเขตติดต่อกับเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงและมณฑลยูนนานของจีนทางเหนือ ทางตะวันตกติดต่อกับลาว และทางตะวันออกติดต่อกับอ่าวตังเกี๋ย ตังเกี๋ยตั้งอยู่บริเวณสามเหลี่ยมแม่น้ำแดงอันอุดมสมบูรณ์ และนับเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและตังเกี๋ย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปรตุเกส

ปราสาทแห่งกีมารานช์ (Castle of Guimarães) ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศโปรตุเกส เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ต้นกำเนิดของโปรตุเกส" ศึกแห่งเซามาเมเด (São Mamede) เกิดขึ้นใกล้ๆ กับที่นี่ในปี พ.ศ. 1671 โปรตุเกส (Portugal ปุรตุกาล) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโปรตุเกส (República Portuguesa) เป็นสาธารณรัฐซึ่งมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรไอบีเรียทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และถือว่าเป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกมากที่สุดในบรรดาประเทศในทวีปยุโรปทั้งหลาย (ยกเว้นหมู่เกาะบริเตนใหญ่และหมู่เกาะใกล้เคียง) โปรตุเกสมีพรมแดนติดกับประเทศสเปนในทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และอยู่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกในทางทิศตะวันตกและทิศใต้ นอกจากนี้ โปรตุเกสยังประกอบไปด้วยอาณาเขตหมู่เกาะอยู่หลายหมู่เกาะด้วยกันในมหาสมุทรแอตแลนติก อาทิเช่น อะโซร์ส (Azores หรือ Açores) และเกาะมาเดราและโปร์ตูซันตู (รวมถึงหมู่เกาะซาเวจด้วย).

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและประเทศโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต

ปีแยร์ มารี ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต (Pierre Lambert de la Motte) บาทหลวงชาวฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งผู้แทนพระสันตะปาปาประจำมิสซังโคชินไชนา และมุขนายกเกียรตินามแห่งเบรุต ผู้ร่วมก่อตั้งคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส และก่อตั้งคณะรักกางเขน.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต · ดูเพิ่มเติม »

นักพรตหญิง

นจักรออร์โธดอกซ์ นักพรตหญิง (nun) คือสตรีที่ปฏิญาณอุทิศตนใช้ชีวิตเพื่อศาสนา อาจจะถือวัตรคล้ายนักพรตที่เลือกสละทางโลกแล้วหันไปใช้ชีวิตกับการอธิษฐานและการเพ่งพินิจ อาศัยในอารามหรือคอนแวนต์ "นักพรตหญิง" พบได้ทั้งในศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ (ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน) ศาสนาเชน และศาสนาเต๋า ในศาสนาคริสต์คำว่า "นักพรตหญิง" และ "ภคินี" ใช้แทนหรือสลับกันได้เพราะถือว่ามีความหมายเดียวกัน แต่ในบางกรณีก็ถูกจำแนกให้ต่างกันว่านักพรตหญิงคือนักบวชหญิงที่ใช้ชีวิตเป็นนักพรต อยู่แต่ภายในเขตพรต เน้นการเพ่งพินิจ การอธิษฐาน และการรำพึงธรรม ขณะที่ภคินีเป็นนักบวชหญิงที่เน้นนการอธิษฐาน การบริการผู้ยากไร้ เจ็บป่วย ยากจน และขาดการศึกษ.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและนักพรตหญิง · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โคชินไชนา

อาณานิคมโคชินไชนา หรือ อาณานิคมโคชินจีน (Cochinchina; Nam Kỳ, Kampuchea Krom) เป็นบริเวณที่อยู่ทางใต้ของเวียดนามซึ่งมีเมืองสำคัญคือไซ่ง่อนหรือไพรนครในภาษาเขมร ดินแดนนี้เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสตั้งแต..

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและโคชินไชนา · ดูเพิ่มเติม »

เบรุต

รุต (بيروت; Beirut) คือเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเลบานอน ตั้งอยู่บนปลายแหลมเล็กที่ยื่นออกไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและเบรุต · ดูเพิ่มเติม »

เกาะสุมาตรา

มาตรา หรือ ซูมาเตอรา (Sumatra; Sumatera) คือเกาะที่มีขนาดเป็นอันดับ 6 ของโลก (มีขนาดประมาณ 470,000 กม.&sup2) และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซี.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและเกาะสุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังกรุงเทพฯ

ื้นที่ในปกครองของมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ เขตมิสซังกรุงเทพฯ คริสต์ศาสนิกชนชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นอัครมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ ชัยนาท ฉะเชิงเทราบางส่วน อำเภอบ้านนา (นครนายก) นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง สำนักมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 51 ซอยโรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล ซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและเขตมิสซังกรุงเทพฯ · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังราชบุรี

อาณาเขตของเขตมิสซังราชบุรี เขตมิสซังราชบุรี ชาวคาทอลิกเรียกว่าสังฆมณฑลราชบุรี เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดสมุทรสงคราม สำนักมิสซังคาทอลิกราชบุรี ตั้งอยู่ที่ 31/2-4.สมบูรณ์กุล อ.เมือง.ราชบุรี 70000 มีพระคุณเจ้ายอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ เป็นมุขนายกมิสซังองค์ปัจจุบัน.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและเขตมิสซังราชบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังสุราษฎร์ธานี

อาสนวิหารอัครเทวดาราฟาแอล หลังเดิม เขตมิสซังสุราษฎร์ธานี เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย โดยแยกออกมาจากเขตมิสซังราชบุรี เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน..

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและเขตมิสซังสุราษฎร์ธานี · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังอุบลราชธานี

อาณาเขตของเขตมิสซังอุบลราชธานี เขตมิสซังอุบลราชธานี ชาวคาทอลิกเรียกว่าสังฆมณฑลอุบลราชธานี เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุม 7 จังหวัดในภาคอีสาน ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ สำนักมิสซังคาทอลิกอุบลราชธานี ตั้งอยู่ที่ 498.ชยางกูร อ.เมือง.อุบลราชธานี 34000 มีมุขนายกฟิลิป บรรจง ไชยรา เป็นมุขนายกมิสซังองค์ปัจจุบัน.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและเขตมิสซังอุบลราชธานี · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังอุดรธานี

ตในปกครองของมิสซังโรมันคาทอลิกอุดรธานี เขตมิสซังอุดรธานี เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่เขตปกครอง 8 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดบึงกาฬ มุขนายกมิสซังองค์ปัจจุบัน คือ มุขนายกยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย สำนักมิสซังคาทอลิกอุดรธานี ตั้งอยู่ที่ 129/18 ม.1.นิตโย ต.หมากแข้ง อ.เมือง.อุดรธานี 41000.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและเขตมิสซังอุดรธานี · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังจันทบุรี

อาณาเขตมัสซังโรมันคาทอลิกจันทบุรี เขตมิสซังจันทบุรี เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทยในภาคตะวันออกครอบคลุมพื้นที่เขตปกครอง 8 จังหวัด ประกอบด้วย จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา (บางส่วน) นครนายก (เว้น อ.บ้านนา) ชลบุรี ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว มี "อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล" หรือโบสถ์คาทอลิกจันทบุรีเป็นอาสนวิหารประจำเขตมิสซัง มุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกจันทบุรีองค์ปัจจุบันคือ พระคุณเจ้าซิลวีโอ สิริพงศ์ จรัสศรี สำนักมิสซังคาทอลิกจันทบุรี ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 21/3 ม. 1 ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและเขตมิสซังจันทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง

อาณาเขตของมิสซังโรมันคาทอลิกท่าแร่-หนองแสง เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง หรืออัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง เป็นอัครมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่เขตปกครอง 8 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดสกลนคร จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร มีอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลเป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑล และโบสถ์นักบุญอันนา หนองแสง เป็นรองอาสนวิหาร สำนักมิสซังโรมันคาทอลิกส์ท่าแร่-หนองแสงตั้งอยู่ที่ 362 หมู่ 2 สกล-อุดร ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง.สกลนคร 47000 ปัจจุบันมีพระคุณเจ้าหลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ เป็นอัครมุขนายก.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและเขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังนครราชสีมา

ตมิสซังนครราชสีมา หรือสังฆมณฑลนครราชสีมา เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักมิสซังคาทอลิกนครราชสีมา ตั้งอยู่ที่ 387 สุรนารี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000 มุขนายกมิสซังองค์ปัจจุบันคือ มุขนายกยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุท.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและเขตมิสซังนครราชสีมา · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังนครสวรรค์

ตมิสซังนครสวรรค์ ชาวคาทอลิกเรียงว่าสังฆมณฑลนครสวรรค์ เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุม 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก สุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์ นับเป็นมุขมณฑลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สำนักมิสซังคาทอลิกนครสวรรค์ ตั้งอยู่ที่ 69/39.ดาวดึงส์ อ.เมือง.นครสวรรค์ 60000 มีมุขนายกยอแซฟ พิบูลย์ วิสิฐนนทชัย เป็นมุขนายกมิสซังองค์ปัจจุบัน.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและเขตมิสซังนครสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังเชียงใหม่

อาณาเขตมิสซังโรมันคาทอลิกเชียงใหม่ ก่อนตั้งมิสซังเชียงรายในวันที่ 25เมษายน พ.ศ. 2561 เขตมิสซังเชียงใหม่ หรือสังฆมณฑลเชียงใหม่ เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย มีอาณาเขตครอบคลุม 4 จังหวัดในภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง (เว้นอำเภองาว) จังหวัดลำพูน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน และมีสถานะเป็นปริมุขมณฑลของเขตมิสซังกรุงเทพฯ สำนักมิสซังโรมันคาทอลิกเชียงใหม่ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 5/3.เจริญประเทศ 12 ต.ช้างคลาน อ.เมือง.เชียงใหม่ 50100.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและเขตมิสซังเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

เขตผู้แทนพระสันตะปาปา

ฟร็องซัว ปาลูว์ (François Pallu) มุขนายกเกียรตินามแห่งเฮลีโอโปลิส (Heliopolis) และประมุขมิสซังตังเกี๋ย เขตผู้แทนพระสันตะปาปา (Apostolic vicariate) หรือมิสซัง เป็นเขตอำนาจทางอาณาเขตของคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่ตั้งขึ้นในประเทศหรือแว่นแคว้นที่มีการเผยแพร่ศาสนาคริสต์แล้ว แต่ยังไม่ได้รับสถานะเป็น "มุขมณฑล" ตามปกติแล้วทุกคริสตจักรท้องถิ่นจะต้องปกครองตนเองภายใต้การนำของผู้ปกครองคือมุขนายก แต่กรณีที่คริสตจักรเพิ่งตั้งใหม่ หรือยังมีจำนวนคริสตชนน้อย ยังไม่พร้อมที่จะปกครองตนเอง พระสันตะปาปาจะทรงถือสิทธิ์ปกครองคริสตจักรนั้น แล้วส่งผู้แทนหรือวิคาร์ (vicar) ไปทำหน้าที่ปกครองแทน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกผู้ปกครองนั้นว่าผู้แทนพระสันตะปาปา (apostolic vicar) (เพราะพระสันตะปาปาทรงสืบตำแหน่งมาจากอัครทูต (apostle)) บางตำราก็เรียกว่าประมุขมิสซัง หรือผู้แทนสันตะสำนักประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพ ๒ ประชากรของพระเจ้า, กรุงเทพฯ: แผนกคำสอน เขตมิสซังกรุงเทพฯ, 2543, หน้า 97-8 และเรียกเขตปกครองนั้นว่าเขตผู้แทนพระสันตะปาปา (apostolic vicariate) นอกจากนี้ยังนิยมเรียกในชื่ออื่นอีก เช่น มิสซัง (mission) เทียบมุขมณฑล หรือเขตปกครองโดยผู้แทนสันตะสำนักด้วย บุคคลที่ดำรงตำแหน่งผู้แทนพระสันตะปาปาโดยปกติจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นมุขนายกเกียรตินาม (titular bishop) ด้วยเพื่อเป็นเกียรติในการทำงานและมีศักดิ์ศรีอย่างมุขนายกเขตมิสซังอื่น.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและเขตผู้แทนพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

เซมินารี

ซมินารี.

ใหม่!!: โรมันคาทอลิกในประเทศไทยและเซมินารี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มิสซังสยามรายนามประมุขมิสซังสยามศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »