โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรคหวัด

ดัชนี โรคหวัด

อหอยส่วนจมูกอักเสบเฉียบพลัน หรือโรคเยื่อจมูกและลำคออักเสบเฉียบพลัน (Acute nasopharyngitis) เรียกโดยทั่วไปว่า โรคหวัด หรือ ไข้หวัด (Common cold) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนบนที่กระทบต่อจมูกเป็นหลัก อาการของโรคมีทั้งไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และไข้ซึ่งมักหายไปเองในเจ็ดถึงสิบวัน แต่บางอาการอาจอยู่ได้นานถึงสามสัปดาห์ ไวรัสกว่า 200 ชนิดเป็นสาเหตุของโรคหวัด โดยไรโนไวรัสเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนจำแนกได้หลวม ๆ ตามบริเวณที่ได้รับผลจากไวรัส โดยโรคหวัดกระทบต่อจมูก คอหอย (คอหอยอักเสบ) และโพรงจมูก (โพรงจมูกอักเสบ) เป็นหลัก ส่วนใหญ่อาการเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อมากกว่าการทำลายเนื้อเยื่อจากไวรัสเอง การล้างมือเป็นวิธีการป้องกันหลัก และหลักฐานบางชิ้นสนับสนุนประสิทธิภาพของการสวมหน้ากากอนามัย โรคหวัดไม่มีวิธีรักษาจำเพาะ แต่สามารถรักษาอาการได้ โรคหวัดเป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่พบบ่อยที่สุดในมนุษย์ และอยู่คู่กับมนุษยชาติมาแต่โบราณ ผู้ใหญ่ติดโรคหวัดโดยเฉลี่ยสองถึงสามครั้งต่อปี ขณะที่เด็กโดยเฉลี่ยติดโรคหวัดระหว่างหกถึงสิบสองครั้งต่อปี.

42 ความสัมพันธ์: พาราเซตามอลกระเทียมกล่องเสียงอักเสบอุดกั้นการกักกันการให้วัคซีนภูมิคุ้มกันหมู่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ คอลเลจพาร์กยาระงับปวดยาหลอกยาต้านไวรัสยาปฏิชีวนะละอองลอยวิตามินดีวิตามินซีสังกะสีสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์หลอดลมหน่วยรับความรู้สึกอินเตอร์เฟียรอนจมูกจีโนมทางเดินหายใจส่วนบนทางเดินหายใจส่วนล่างทุพโภชนาการท่อลมดอลลาร์สหรัฐความล้าคอหอยอักเสบคัดจมูกซูโดอีเฟดรีนปวดศีรษะน้ำผึ้งโรคโคโรนาไวรัสไอ (อาการ)ไอบิวพรอเฟนไข้ไข้หวัดใหญ่เสมหะเดอะนิวยอร์กไทมส์เนื้อเยื่อบุผิว

พาราเซตามอล

ราเซตามอล (Paracetamol (INN)) หรือ อะเซตามีโนเฟน (acetaminophen (USAN)) ทั้งหมดย่อมาจาก para-acetylaminophenol เป็นยาที่สามารถจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ (OTC) มีฤทธิ์แก้ปวดและลดไข้ ซึ่งเป็นยาพื้นฐานที่มักใช้เพื่อบรรเทาไข้ อาการปวดศีรษะ และอาการปวดเมื่อย และรักษาให้หายจากโรคหวัดและไข้หวัด พาราเซตามอลประกอบด้วยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตรอยด์ (NSAIDs) และโอปิออยด์ พาราเซตามอลมักใช้รักษาอาการปวดพื้นฐานถึงการปวดอย่างซับซ้อน โดยทั่วไปพาราเซตามอลจะปลอดภัยต่อมนุษย์หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม แต่หากได้รับปริมาณมากเกินไป (เกิน 1000 มิลลิกรัมต่อโดส หรือ 4,000 มิลลิกรัมต่อวันในผู้ใหญ่ หรือเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์) จะทำให้เกิดความเสียหายต่อการทำงานของตับได้ แต่ผู้ป่วยบางรายที่รับประทานในปริมาณปกติก็สามารถส่งผลต่อตับได้เช่นเดียวกับผู้ที่รับในปริมาณมากเกินไปเช่นกัน แต่หากกรณีดังกล่าวพบได้น้อยมาก อันตรายจากการใช้ยานี้จะมากขึ้นในผู้ดื่มแอลกอฮอล์ พิษของพาราเซตามอลสามารถทำให้แกิดภาวะตับล้มเหลวซึ่งมีการพบแล้วในโลกตะวันตก อาทิในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และนิวซีแลน.

ใหม่!!: โรคหวัดและพาราเซตามอล · ดูเพิ่มเติม »

กระเทียม

กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรไทยและเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง โดยมักใส่ในอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารไทย อาหารอินเดีย กระเทียมมีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้).

ใหม่!!: โรคหวัดและกระเทียม · ดูเพิ่มเติม »

กล่องเสียงอักเสบอุดกั้น

รุป หรือ กล่องเสียงอักเสบอุดกั้น (croup, acute obstructive laryngitis) เป็นการติดเชื้อในระบบหายใจอย่างหนึ่งที่มักเกิดจากไวรัส ภาวะนี้จะทำให้หลอดลมบวม ขัดขวางการหายใจ และทำให้เกิดอาการสำคัญได้แก่ การไอเสียงก้องคล้ายเสียงสุนัขเห่า การมีเสียงฮี้ด (stridor) ขณะหายใจ และเสียงแหบ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการไข้และน้ำมูกไหลร่วมด้วย อาการของโรคมีทั้งเป็นเล็กน้อย ปานกลาง และรุนแรง มักเริ่มเป็นหรือเป็นมากเวลากลางคืน ระยะเวลาของการเจ็บป่วยรวมแล้วประมาณ 1-2 วัน ไวรัสที่เป็นสาเหตุของครุปมีหลายอย่าง ที่พบบ่อยได้แก่เชื้อไวรัสพาราอินฟลูเอนซา และไวรัสอินฟลูเอนซา (หรือเชื้อไข้หวัดใหญ่) แบคทีเรียก็ทำให้เกิดโรคนี้ได้แต่พบได้น้อยกว่า การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำโดยอาศัยประวัติและผลการตรวจร่างกาย ก่อนวินิจฉัยจำเป็นต้องวินิจฉัยแยกเอาโรคอื่นที่อันตรายกว่า เช่น ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ หรือสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ ออกไปให้ได้ก่อน การตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ เช่น การตรวจเลือด การถ่ายภาพรังสี หรือการเพาะเชื้อ ส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นนัก เชื้อที่เป็นสาเหตุของครุปบางส่วนป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่ และเชื้อคอตีบ การรักษาที่สำคัญคือการให้สเตียรอยด์ครั้งเดียว ซึ่งอาจให้กินหรือให้ฉีดก็ได้ ถ้าอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องใช้ยาเอพิเนฟรีนพ่นแบบฝอยละอองเข้าทางการหายใจ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงบางรายอาจจำเป็นต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล คิดเป็นประมาณ 1-5% ของผู้ป่วยทั้งหมด โรคนี้ค่อนข้างพบได้บ่อย เด็กประมาณ 15% จะเคยป่วยโรคนี้ ช่วงอายุที่พบบ่อยที่สุดคือระหว่าง 6 เดือน ถึง 5 ปี แต่บางครั้งก็พบได้ในเด็กโตถึงอายุ 15 ปี พบในเพศชายบ่อยกว่าเพศหญิงเล็กน้อย มักพบบ่อยในฤดูใบไม้ร่วง ในยุคก่อนที่จะมีการฉีดวัคซีนโรคนี้มักเกิดจากเชื้อคอตีบ และมักเป็นอันตรายถึงชีวิต ปัจจุบันครุปจากเชื้อคอตีบพบได้น้อยมากเนื่องจากมีการให้วัคซีนโรคคอตีบอย่างกว้างขวาง.

ใหม่!!: โรคหวัดและกล่องเสียงอักเสบอุดกั้น · ดูเพิ่มเติม »

การกักกัน

กักกันชาวญี่ปุ่นแคนาดาในรัฐบริติชโคลัมเบียระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง การกักกัน (internment) คือ การจำขังหรือการกักประชาชน ซึ่งมักเป็นชนกลุ่มใหญ่ ให้อยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งเป็นการเฉพาะ โดยไม่มีการพิจารณาในศาล พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด ฉบับตีพิม..

ใหม่!!: โรคหวัดและการกักกัน · ดูเพิ่มเติม »

การให้วัคซีน

การให้วัคซีน (vaccination) เป็นการรักษาทางการแพทย์อย่างหนึ่ง หมายถึงการให้สารที่เป็นแอนติเจน (วัคซีน) เข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันชนิดรับมา (adaptive immunity) เป็นแอนติบอดีที่มีความจำเพาะต่อเชื้อก่อโรคหนึ่งๆ ซึ่งจะสามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคติดเชื้อได้ เมื่อมีสัดส่วนของประชากรที่ได้รับวัคซีนมากถึงระดับหนึ่งก็จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ขึ้น ทำให้คนอื่นๆ ที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือรับวัคซีนไม่ได้ ได้รับประโยชน์ในการป้องกันโรคจากผู้ที่มีภูมิคุ้มกันเหล่านี้ไปด้วย ประสิทธิผลของการให้วัคซีนนั้นได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางและเป็นที่ยืนยันแล้ว โดยพบว่าการให้วัคซีนเป็นวิธีการในการป้องกันโรคติดเชื้อที่ได้ผลดีที่สุด การมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อก่อโรคเป็นวงกว้างจากการให้วัคซีนนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มนุษยชาติสามารถกำจัดเชื้อโรคบางอย่างให้หมดไปได้ เช่น ฝีดาษ และอีกหลายเชื้อที่กำลังจะหมดไป เช่น โปลิโอ หัด และบาดทะยัก เป็นต้น การปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคฝีดาษเป็นความพยายามครั้งแรกๆ ในการป้องกันโรคติดเชื้อโดยมนุษย์ และวัคซีนโรคฝีดาษก็เป็นวัคซีนชนิดแรกของโลกที่ถูกผลิตตามมา โดยถูกผลิตขึ้นใน..

ใหม่!!: โรคหวัดและการให้วัคซีน · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิคุ้มกันหมู่

ูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity, herd effect, community immunity, population immunity, social immunity) เป็นรูปแบบหนึ่งของการป้องกันการติดต่อของโรคติดเชื้อในประชากร ซึ่งไม่ใช่การป้องกันโดยตรง ที่เกิดขึ้นเมื่อมีสัดส่วนของผู้ที่มีภูมิคุ้มกันมากขึ้นถึงระดับหนึ่ง แล้วจะทำให้ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคนั้นๆ ในประชากรดังกล่าวได้รับการป้องกันจากการติดโรคไปด้วย เนื่องจากเมื่อมีผู้ติดเชื้อเข้ามาในประชากรนี้ โอกาสเกิดการติดเชื้อต่อไปเรื่อยๆ จนไปถึงคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน จะเกิดขึ้นได้ยาก หรืออาจเกิดขึ้นไม่ได้เลย ยิ่งมีสัดส่วนของผู้มีภูมิคุ้มกันในประชากรมากเท่าไร โอกาสที่ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจะได้เจอกับผู้เป็นโรค ก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น การเกิดภูมิคุ้มกันของคนคนหนึ่งอาจเกิดจากการเคยติดโรคมาก่อนแล้วหายจากโรคนั้น หรืออาจเป็นภูมิคุ้มกันที่ได้รับการเสริมขึ้น เช่น จากการรับวัคซีน คนบางคนไม่สามารถจะสร้างภูมิคุ้มกันของตัวเองขึ้นได้จากโรคบางอย่าง เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือผู้ป่วยโรคมะเร็ง คนกลุ่มนี้มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องอาศัยผลของภูมิคุ้มกันหมู่ในประชากรที่อาศัย เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรคเหล่านี้.

ใหม่!!: โรคหวัดและภูมิคุ้มกันหมู่ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน

มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน (University of Wisconsin-Madison) หรือนิยมเรียก มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองแมดิสัน ในรัฐวิสคอนซิน มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี พ.ศ. 2391 (ค.ศ. 1848) ในปัจจุบัน (ปี 2548 เทอมฤดูใบไม้ร่วง) มีนึกศึกษาทั้งหมด 41,480 คน ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน มีนักศึกษามากเป็นอันดับ 10 ของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน มีชื่อเสียงในด้านแพทยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในตัวเมืองโดยด้านหลังมหาวิทยาลัยเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ และด้านหน้ามหาวิทยาลัยเป็นถนนชื่อสเตต เป็นแหล่งชอปปิงชื่อดังของเมืองแมดิสัน ภาพในมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ด้านหลังเป็นตึกแคปิตอลของรัฐวิสคอนซิน.

ใหม่!!: โรคหวัดและมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ คอลเลจพาร์ก

มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ คอลเลจพาร์ก (University of Maryland, College Park ย่อว่า UM, UMD, UMCP) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ในเมืองคอลเลจพาร์ก รัฐแมริแลนด์ โดยอยู่ไม่ห่างจากวอชิงตัน ดี.ซี. มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี ค.ศ. 1856 มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ คอลเลจพาร์ก มักจะรู้จักในชื่อ "มหาวิทยาลัยแมริแลนด์" ปัจจุบัน ณ ปี 2551 มหาวิทยาลัยมีนักศึกษาประมาณ 36,000 คน โดยมีคณาจารย์ 3,700 คน สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยคือ เต่า โดยสีประจำมหาวิทยาลัยคือ สีแดง สีขาว สีดำ และสีทอง.

ใหม่!!: โรคหวัดและมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ คอลเลจพาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ยาระงับปวด

ระงับปวด ยาบรรเทาปวด หรือ ยาแก้ปวด (analgesic หรือ painkiller) เป็นกลุ่มของยาที่ใช้บรรเทาความเจ็บปวด มีผลหลายทางทั้งระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system) และระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ประกอบด้ว.

ใหม่!!: โรคหวัดและยาระงับปวด · ดูเพิ่มเติม »

ยาหลอก

หลอก (placebo) เป็นการรักษาโรคหรืออาการอื่นทางการแพทย์ที่ไม่แท้หรือไม่มีผลทางการแพทย์ โดยตั้งใจให้หลอกผู้รับการรักษา บางครั้ง ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาปลอมจะมีการพัฒนาของอาการทางการแพทย์ที่รับรู้หรือแท้จริง ปรากฏการณ์ดังกล่าวโดยทั่วไปเรียกว่า ปรากฏการณ์ยาหลอก ในการวิจัยทางการแพทย์ มีการให้ยาหลอกเป็นการรักษาควบคุมและขึ้นอยู่กับการหลอกที่ควบคุมได้ ยาหลอกสามัญรวมถึง ยาเม็ดเฉื่อย การผ่าตัดหลอก และกระบวนการอื่นที่ใช้สารสนเทศเท็จ อย่างไรก็ดี ยาหลอกสามารถมีผลทางบวกอย่างน่าประหลาดใจต่อผู้ป่วยที่ทราบว่า การรักษาที่ให้แก่ตนนั้นปราศจากยาออกฤทธิ์ใด ๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ทราบว่าไม่ได้รับยาหลอก.

ใหม่!!: โรคหวัดและยาหลอก · ดูเพิ่มเติม »

ยาต้านไวรัส

ต้านไวรัส (Antiviral drugs) เป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาเฉพาะการติดเชื้อจากไวรัส เช่นเดียวกับยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัสก็ใช้ได้กับไวรัสบางชนิดเท่านั้น การแพทย์ดั้งเดิมจะไม่มียาฆ่าหรือต้านเชื้อไวรัสโดยตรง ถ้ามีการติดเชื้อไวรัสวิธีปฏิบัติคือ ถ้าเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงเช่น หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ก็จะให้พักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ ก็จะหายเอง แต่ถ้าติดเชื้อร้ายแรงอย่างโรคพิษสุนัขบ้านั้นไม่มียารักษา แต่ถึงแม้ไม่มียารักษาแต่ก็มีวัคซีนป้องกัน จนกระทั่งตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 1980 ก็ได้เกิดยาต้านไวรัสขึ้นมาเป็นสิบๆ ตัว จากความเจริญ ก้าวหน้าทางการแพทย์สาขาพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลที่ทำให้เราเข้าใจโครงสร้างและการทำงานของเชื้อไวรัส ประกอบกับความกดดันทางการแพทย์ ที่จะต้องหาทางรักษาโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเชื้อไวรัสเอชไอวี (human immunodeficiency virus - HIV) ที่ทำให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือโรคเอดส์ (acquired immunodeficiency syndrome - AIDS) มีคนกล่าวว่าเราควรขอบคุณโรคเอดส์ เพราะมันกดดันเราอย่างมากให้ต้องพัฒนาเทคโนโลยีการต่อต้านไวรัส ยาต้านไวรัสส่วนใหญ่ถูกออกแบบให้เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสที่ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น.

ใหม่!!: โรคหวัดและยาต้านไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

ยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".

ใหม่!!: โรคหวัดและยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

ละอองลอย

งที่ฉีดออกมาจากกระป๋องสเปรย์เป็นละอองลอยชนิดหนึ่ง ละอองลอย หรือ แอโรซอล (aerosol) คือ ของผสมประเภทคอลลอยด์ที่ประกอบด้วยอนุภาคของแข็งหรือของเหลวที่เป็นละอองฟุ้งกระจายในอากาศหรือในก๊าซอื่น (มักเรียกละอองอนุภาคของแข็งว่า ฝุ่น หรือ ฝุ่นละออง) อนุภาคเหล่านี้ลอยในอากาศในลักษณะกึ่งสารละลายและกึ่งสารแขวนลอย เช่นเดียวกับคอลลอยด์ชนิดอื่น ๆ ระยะแรกหมายความเฉพาะอนุภาคของแข็งที่กระจายในก๊าซ แต่ปัจจุบันรวมถึงหยดละอองของเหลวหรือทั้งคู่ที่กระจายในก๊าซ ละอองลอยมีอนุภาคขนาดเล็ก (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 10–100 ไมโครเมตร) ที่แขวนลอยในอากาศอยู่ในสถานะของแข็งและสถานะของเหลว มีแหล่งกำเนิดมาจากแหล่งกำเนิดธรรมชาติ เช่น เกิดจากภูเขาไฟ ไฟไหม้ป่า การกระเซ็นของละอองน้ำทะเล ฝุ่น ควัน การกัดเซาะผิวหน้าดินโดยลม เป็นต้น.

ใหม่!!: โรคหวัดและละอองลอย · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินดี

วิตามินดี หมายถึง เซกโคสเตอรอยด์ (secosteroids) ที่ละลายในไขมันกลุ่มหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เสริมการดูดซึมแคลเซียม เหล็ก แม็กนีเซียม ฟอสเฟตและสังกะสี ในมนุษย์ สารประกอบที่สำคัญที่สุดในกลุ่มนี้ คือ วิตามินดี3 (หรือ คอเลแคลซิเฟรอล) และวิตามินดี2 (เออร์โกแคลซิเฟรอล) คอเลแคลซิเฟรอลและเออร์โกแคลซิเฟรอลสามารถดูดซึมจากอาหารและอาหารเสริมได้ มีอาหารน้อยชนิดมากที่มีวิตามินดี การสังเคราะห์วิตามินดี (โดยเฉพาะคอเลแคลซิเฟรอล) ในผิวหนังเป็นแหล่งของวิตามินดังกล่าวตามธรรมชาติที่สำคัญเพียงแหล่งเดียว การสังเคราะห์วิตามินดีของผิวหนังจากคอเลสเตอรอลอาศัยการได้รับแสงแดด (โดยเฉพาะรังสียูวีบี) หมวดหมู่:วิตามิน หมวดหมู่:ยา หมวดหมู่:โมเลกุลชีวภาพ.

ใหม่!!: โรคหวัดและวิตามินดี · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินซี

วิตามินซี (vitamin C) หรือ กรดแอล-แอสคอร์บิก (L-ascorbic acid) หรือ แอสคอร์เบต (ascorbate) ซึ่งเป็นแอนไอออนของกรดแอสคอร์บิก เป็นสารอาหารจำเป็นสำหรับมนุษย์และสัตว์อื่นบางชนิด และเป็นวิตามินประเภทที่ละลายในน้ำ วิตามินซีหมายถึงหลายวิตาเมอร์ซึ่งมีกัมมันตภาพวิตามินซีในสัตว์ ซึ่งรวมกรดแอสคอร์บิกและเกลือของมัน บางรูปอ็อกซิไดซ์ของโมเลกุลอย่างกรดดีไฮโดรแอสคอร์บิก แอสคอร์เบตและกรดแอสคอร์บิกมีอยู่ธรรมชาติในร่างกายเมื่อตัวใดตัวหนึ่งถูกนำเข้าเซลล์ เนื่องจากรูปแปลงไปมาได้ตาม pH วิตามินซีเป็นโคแฟกเตอร์ในปฏิกิริยาเอ็นไซม์อย่างน้อยแปดปฏิกิริยา ซึ่งรวมหลายปฏิกิริยาของการสังเคราะห์คอลลาเจน ซึ่งหากทำงานผิดปกติจะทำให้เกิดกลุ่มอาการรุนแรงของโรคลักปิดลักเปิด ในสัตว์ ปฏิกิริยาเหล่านี้สำคัญมากในการสมานแผลและการป้องกันเลือดออกจากหลอดเลือดฝอย แอสคอร์เบตยังมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระต่อความเครียดอ็อกซิเดชัน (oxidative stress) ข้อเท็จจริงที่ว่า อีเนนทิโอเมอร์ (enantiomer) ดี-แอสคอร์เบต (D-ascorbate) ซึ่งไม่พบในธรรมชาติมีกัมมันตภาพต้านอนุมูลอิสระเช่นเดียวกับแอล-แอสคอร์เบตแต่มีกัมมันตภาพวิตามินน้อยกว่ามาก เน้นข้อเท็จจริงที่ว่าการทำหน้าที่วิตามินส่วนใหญ่ของแอล-แอสคอร์บิกนั้นมิได้อาศัยคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระของมัน แต่เป็นปฏิกิริยาเอ็นไซม์ซึ่งสเตอริโอเคมีจาเพาะ (stereospecific) "แอสคอร์บิก" ที่ไม่มีอักษรบอกรูปอีแนนทิโอเมอร์จะสันนิษฐานว่าหมายถึงสารเคมีแอล-แอสคอร์เบตเสมอ แอสคอร์เบตจำเป็นต่อหลายปฏิกิริยาเมแทบอลิซึมจำเป็นหลายปฏิกิริยาในสัตว์และพืชทุกชนิด มีการสร้างภายในในสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิด ซึ่งทุกชนิดที่ไม่สังเคราะห์จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร กรดแอสคอร์บิกมีการใช้เป็นสารปรุงแต่งอาหารอย่างกว้างขวางเพื่อป้องกันอ็อกซิเดชัน.

ใหม่!!: โรคหวัดและวิตามินซี · ดูเพิ่มเติม »

สังกะสี

ังกะสี (Zinc) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 30 และสัญลักษณ์คือ Zn สังกะสีอยู่ในตารางธาตุหมู่ 12 ชื่อในภาษาอังกฤษมาจากภาษาเยอรมันว่า Zink เป็นธาตุประเภทโลหะที่มีความไวต่อปฏิกิริยาเคมีพอสมควรกับออกซิเจนและธาตุที่ไม่ใช่โลหะ สังกะสีเมื่อทำปฏิกิริยากับกรดเจือจางจะปล่อยก๊าซไฮโดรเจนออก ธาตุชนิดนี้เป็นโลหะธาตุที่มีลักษณะที่เป็นสีเงิน มันวาว เป็นที่นิยมนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมมากมาย เพื่อเป็นโลหะโครงสร้างหรือโลหะผสมกับโลหะอื่นสำหรับประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ นอกจากนั้น สังกะสียังเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในร่างกายมนุษย์ และสัตว์ เนื่องจากจัดเป็นแร่ที่ร่างกายต้องการชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: โรคหวัดและสังกะสี · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์

ันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology, ตัวย่อ เอ็มไอที, เรียกโดยชุมชน MIT ว่า "the Institute แปลว่า สถาบัน") เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ที่มีชื่อเสียงมานานในเรื่องงานวิจัยและการศึกษาในสาขาเคมี ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์สาขาต่าง ๆ แล้วเริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นต่อ ๆ มาในสาขาชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และการจัดการ MIT ตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: โรคหวัดและสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดลม

หลอดลม (trachea) เป็นส่วนหนึ่งของระบบหายใจ มีหน้าที่หลัก คือ การนำส่งอากาศจากภายนอกร่างกายเข้าสู่ปอดเพื่อทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนเข้าสู่เลือด และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย หลอดลมของมนุษย์เริ่มตั้งแต่ส่วนที่ต่อจากกล่องเสียง (Larynx) ลงไปสิ้นสุดที่ถุงลม หลอดลม หลอดลม มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามขนาดและตำแหน่ง ได้แก.

ใหม่!!: โรคหวัดและหลอดลม · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยรับความรู้สึก

หน่วยรับความรู้สึก, ตัวรับหรือที่รับ (receptor) ในชีวเคมี เป็นโปรตีนที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ หรือในไซโทพลาสซึมหรือนิวเคลียสที่จะเชื่อมต่อกับโมเลกุลเฉพาะซึ่งเรียกว่า ลิแกนด์ (ligand) เช่น สารสื่อประสาท, ฮอร์โมน หรือสารประกอบอื่นๆ และทำให้เกิดการเริ่มต้นตอบสนองของเซลล์ต่อลิแกนด์นั้น.

ใหม่!!: โรคหวัดและหน่วยรับความรู้สึก · ดูเพิ่มเติม »

อินเตอร์เฟียรอน

โครงสร้างโมเลกุลของอินเตอร์เฟียรอนชนิดอัลฟาในมนุษย์ อินเตอร์เฟียรอน (Interferon, IFNs) เป็นสารประเภทโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเมื่อพบการเจริญของไวรัส และ INFs ที่ถูกขับออกจากเซลล์หนึ่งจะสามารถไปชักนำให้เซลล์อื่นๆ ที่ใกล้เคียงให้มีการสร้างสารโปรตีนกลุ่มหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของไวรัส ในเซลล์นั้นๆได้ จาก การสร้างสาร INFs จากเซลล์สปีชีส์ใดจะมีผลในการยับยั้งการเจริญของไวรัส ในสปีชีส์นั้นเท่านั้น (Host-cell specific) หมวดหมู่:ระบบภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:ยาต้านไวรัส.

ใหม่!!: โรคหวัดและอินเตอร์เฟียรอน · ดูเพิ่มเติม »

จมูก

มูก (Nose) เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนอกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย จมูกเป็นอวัยวะรับสัมผัสที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย โดยทำหน้าที่รับกลิ่นของสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา เช่นกลิ่นอาหาร กลิ่นดอกไม้ ฯลฯ นอกจากนี้ยีงเป็นทางผ่านของอากาศที่เราหายใจอยู่ตลอดเวลา โดยทำหน้าที่กรองอากาศ ปรับอุณหภูมิ และความชื้นของ อากาศก่อนที่จะเข้าสู่ปอด คือ ถ้าอากาศเย็น จมูกจะปรับให้อุ่นขึ้น ถ้าอากาศแห้งมาก จมูกจะให้อากาศ ซุ่มชื้น นอกจากนี้จมูกยังช่วยในการปรับเฟัยงที่เราพูด ให้กังวานน่าฟังอีกด้ว.

ใหม่!!: โรคหวัดและจมูก · ดูเพิ่มเติม »

จีโนม

วิชาพันธุศาสตร์และอณูชีววิทยายุคใหม่กำหนดใช้คำว่า จีโนม (genome) หมายถึง ข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ โดยอาจอยู่ในรูปของดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ (ในกรณีของไวรัสหลายชนิด) ก็ได้ โดยนับรวมทั้งส่วนที่เป็นยีนและส่วนที่ไม่มีการถอดรหัสด้ว.

ใหม่!!: โรคหวัดและจีโนม · ดูเพิ่มเติม »

ทางเดินหายใจส่วนบน

ทางเดินหายใจส่วนบน (Upper respiratory tract, upper airway) ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการหายใจเหนือกล่องเสียง (larynx) ขึ้นไป เช่น จมูก, คอหอย (pharynx) เป็นต้น โดยทางเดินหายใจส่วนบนนั้นจะทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศจากภายนอกเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างต่อไป.

ใหม่!!: โรคหวัดและทางเดินหายใจส่วนบน · ดูเพิ่มเติม »

ทางเดินหายใจส่วนล่าง

ทางเดินหายใจส่วนล่าง (lower respiratory tract) เป็นทางเดินของอากาศที่อยู่ถัดจากทางเดินหายใจส่วนบน มีความสำคัญคือลำเลียงอากาศเข้าสู่ปอดเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊ส ประกอบด้วย กล่องเสียง (larynx), หลอดคอ (trachea), หลอดลมใหญ่หรือหลอดลมปอด (bronchus) และปอด ทางเดินหายใ.

ใหม่!!: โรคหวัดและทางเดินหายใจส่วนล่าง · ดูเพิ่มเติม »

ทุพโภชนาการ

ทุพโภชนาการ (malnutrition) เป็นภาวะซึ่งเกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารไม่สมดุลกัน โดยอาจมีสารอาหารบางอย่างได้รับไม่เพียงพอ เกิน หรือผิดสัดส่วน ผลอาจทำให้เกิดความผิดปกติทางโภชนาการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับว่าสารอาหารที่ได้รับนั้นขาดหรือเกิน องค์การอนามัยโลกกล่าวถึงทุพโภชนาการว่าเป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดต่อสาธารณสุขของโลก การปรับปรุงสารอาหารถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นรูปแบบการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพสูงสุด มาตรการฉุกเฉินมีทั้งการจัดสารอาหารรองที่ขาดโดยใช้ผงกระแจะ (sachet powder) เสริมอาหาร เช่น เนยถั่ว หรือผ่านผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยตรง แบบจำลองการบรรเทาทุพภิกขภัยได้มีการใช้เพิ่มขึ้นโดยกลุ่มช่วยเหลือ ที่เรียกร้องให้ส่งเงินหรือคูปองเงินสดแก่ผู้หิวโหยเพื่อจ่ายชาวนาท้องถิ่น แทนที่จะซื้ออาหารจากประเทศผู้บริจาค ซึ่งมักกำหนดโดยกฎหมาย เพราะจะเสียเงินไปกับค่าขนส่ง มาตรการระยะยาวรวมถึงการลงทุนในเกษตรกรรมสมัยใหม่ในที่ซึ่งขาดแคลน เช่น ปุ๋ยและชลประทาน ซึ่งกำจัดความหิวโหยได้อย่างใหญ่หลวงในประเทศพัฒนาแล้ว อย่างไรก็ดี ธนาคารโลกตำหนิหน่วยงานของรัฐที่จำกัดชาวนาอย่างรุนแรง และการขยายการใช้ปุ๋ยถูกขัดขวางโดยกลุ่มสิ่งแวดล้อมบางกลุ่ม.

ใหม่!!: โรคหวัดและทุพโภชนาการ · ดูเพิ่มเติม »

ท่อลม

thumb ท่อลม (pneumatic tube, capsule pipeline, หรือ Pneumatic Tube Transport ย่อว่า PTT) เป็นระบบที่ใช้ส่งกระบอกบรรจุภัณฑ์ไปมาตามท่อโดยใช้อากาศหรือสุญญากาศขับดัน ระบบนี้ใช้ขนส่งของแข็ง ต่างจากท่อทั่วไปที่ใช้ส่งของเหลว สำนักงานต่าง ๆ เริ่มรับมาใช้ในระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กับต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ด้วยจำเป็นต้องขนส่งพัสดุขนาดเล็ก อย่างจดหมาย เอกสาร หรือเงินตรา เป็นการด่วนหรือภายในระยะทางอันสั้น เช่น ในอาคารหรือเมืองเดียวกัน ปัจจุบัน นิยมติดตั้งในโรงพยาบาลที่ซึ่งระบบนี้ได้รับการพัฒนาและเสริมแต่งขึ้นอีกมากในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ผ่านม.

ใหม่!!: โรคหวัดและท่อลม · ดูเพิ่มเติม »

ดอลลาร์สหรัฐ

100 ดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรที่มีค่ามากสุดในสหรัฐในปัจจุบัน ดอลลาร์สหรัฐ (United States dollar; ในเอกสารเก่าอาจพบการใช้ เหรียญสหรัฐ) เป็นสกุลเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังใช้เป็นสกุลเงินสำรองในหลายประเทศทั่วโลก รหัสสากลคือ ISO 4217 ใช้ตัวย่อว่า USD และสัญลักษณ์ $ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับเกือบ 34 บาท (baht) สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศ และในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป ชื่อเล่นที่ชาวอเมริกันเรียก 1 เซนต์ ว่า "เพนนี" (penny), 5 เซนต์ ว่า "นิกเกิล" (nickel), 10 เซนต์ ว่า "ไดม์" (dime), 25 เซนต์ ว่า "ควอเตอร์" (quarter), 1 ดอลลาร์สหรัฐ ว่า "บั๊ก (ภาษาสแลง, ภาษาพูด)" (buck) และเรียก หนึ่งพันดอลลาร์สหรัฐ ว่า แกรนด์ (grand).

ใหม่!!: โรคหวัดและดอลลาร์สหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ความล้า

วามล้า หรือ ความอ่อนล้า เป็นความรู้สึกเหนื่อยเชิงจิตวิสัย ซึ่งแตกต่างจากความอ่อนแอ (weakness) และมีการตั้งต้นทีละน้อย ความล้าสามารถบรรเทาได้โดยได้รับการพักผ่อนชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งต่างจากความอ่อนแอ ความล้าอาจมีสาเหตุทางร่างกายหรือจิตใจก็ได้ ความล้าทางกายภาพเป็นสภาพที่กล้ามเนื้อไม่สามารถธำรงสมรรถภาพทางกายภาพเหมาะสมได้ชั่วคราว และกิจกรรมทางกายอย่างหักโหมยิ่งทำให้ความล้ารุนแรงขึ้น ความล้าทางจิตใจเป็นการลดสมรรถภาพการรู้สูงสุดไปชั่วคราว อันเป็นผลมาจากกิจกรรมการคิดยาวนาน ความล้าสามารถแสดงออกมาเป็นอาการง่วงซึม ภาวะง่วงงุน หรือความล้ามุ่งประเด็นตั้งใ.

ใหม่!!: โรคหวัดและความล้า · ดูเพิ่มเติม »

คอหอยอักเสบ

อหอยอักเสบ (Pharyngitis) เป็นการอักเสบบริเวณด้านหลังของช่องคอ จัดเป็นการติดเชื้อทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง มักทำให้เกิดอาการเจ็บคอและเป็นไข้ และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วยได้แก่ คัดจมูก, ไอ, ปวดหัว, ออกเสียงลำบาก ผู้ป่วยจะมีอาการเหล่านี้อยู่ 3-5 วัน โดยอาจมีการอักเสบอื่นๆร่วมด้วย อาทิ โพรงอากาศอักเสบ และ/หรือ หูชั้นกลางอักเสบ ไวรัสคือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการคอหอยอักเสบ เด็ก 25% และผู้ใหญ่ 10% ที่เกิดอาการนี้มาสาเหตุมาจากเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส ส่วนสาเหตุอื่นๆได้แก่แบคทีเรียจำพวก หนองใน หรือ เห็ดรา หรือสารระคายเคืองจำพวก สารในบุหรี่ เกษรดอกไม้ เป็นต้น.

ใหม่!!: โรคหวัดและคอหอยอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

คัดจมูก

ัดจมูก หรือ อาการจมูกคั่ง (Nasal congestion) เป็นอาการอุดกั้นของช่องจมูก เนื่องมาจากเยื่อบุจมูกบวมจากการอักเสบของหลอดเลือด อาการคัดจมูกเกิดจากหลายสาเหตุ และทำให้เกิดอาการหลากหลายตั้งแต่สร้างความรำคาญจนถึงทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ในทารกแรกเกิดซึ่งสามารถหายใจได้เฉพาะทางจมูกเท่านั้น หากเกิดอาการคัดจมูกในอายุ 2-3 เดือนแรกจะรบกวนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และทำให้เกิดการหายใจอึดอัดเป็นอันตรายถึงชีวิต ส่วนอาการคัดจมูกในเด็กโตและวัยรุ่นมักเพียงสร้างความรำคาญ อาการคัดจมูกอาจรบกวนการเจริญของหู การได้ยินและการพูด อาการคัดจมูกอย่างมากอาจรบกวนการนอนหลับ ทำให้กรน และเกี่ยวข้องกับการหยุดหายใจขณะนอนหลับ อาการคัดจมูกในเด็กทำให้ทอนซิลคอหอยโต ก่อให้เกิดการหยุดหายใจขณะนอนหลับเรื้อรังร่วมกับภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย (hypoxia) และภาวะหัวใจข้างซ้ายล้มเหลว ซึ่งการรักษาคือการผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลและทอนซิลคอหอยออก อาการจมูกคัดอาจทำให้ปวดศีรษะและใบหน้าเล็กน้อยได้ ก่อให้เกิดความไม่สบายตัว.

ใหม่!!: โรคหวัดและคัดจมูก · ดูเพิ่มเติม »

ซูโดอีเฟดรีน

ซูโดอีเฟดรีน (pseudoephedrine, ย่อว่า PSE) เป็นสารเอมีนชนิดซิมพาเทติก มักใช้เพื่อลดอาการคัดจมูก ในประเทศไทย จัดเป็นยาเสพติดให้โทษควบคุมประเภท 2 ตาม.ร..วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เช่นเดียวกับยาเสพติดประเภทอื่น.

ใหม่!!: โรคหวัดและซูโดอีเฟดรีน · ดูเพิ่มเติม »

ปวดศีรษะ

อาการปวดศีรษะคืออาการปวดซึ่งเกิดกับบริเวณใดๆ ของศีรษะและคอ ซึ่งอาจเป็นอาการของหลายๆ ภาวะที่เกิดกับศีรษะและคอ ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองนั้นไม่สามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้เนื่องจากไม่มีตัวรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด ดังนั้นอาการปวดศีรษะส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ รอบๆ สมองที่สามารถรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้ โดยอวัยวะเหล่านี้อาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ ส่วนที่อยู่ในกะโหลกศีรษะ (หลอดเลือด เยื่อหุ้มสมอง และเส้นประสาทสมอง) และนอกกะโหลกศีรษะ (เยื่อหุ้มกระดูกของกะโหลกศีรษะ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท หลอดเลือด เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ตา หู โพรงอากาศ และเยื่อบุ) ระบบการจำแนกประเภทอาการปวดศีรษะมีใช้อยู่หลายระบบ ระบบหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายคือระบบของ International Headache Society (สมาคมอาการปวดศีรษะนานาชาติ) วิธีการรักษาอาการปวดศีรษะขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักมีการใช้ยาแก้ปวดร่วมในการรักษาด้วยเสมอ.

ใหม่!!: โรคหวัดและปวดศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำผึ้ง

น้ำผึ้ง น้ำผึ้ง เป็นอาหารหวานที่ผึ้งผลิตโดยใช้น้ำต้อยจากดอกไม้ น้ำผึ้งมักหมายถึงชนิดที่ผลิตโดยผึ้งน้ำหวานในสายพันธุ์ Apis เนื่องจาก เป็นผึ้งเก็บน้ำหวานให้คุณภาพสูง และสามารถเลี้ยงระบบกล่องได้ น้ำผึ้งมีประวัติการบริโภคของมนุษย์มายาวนาน และถูกใช้เป็นสารให้ความหวานในอาหารและเครื่องดื่มหลายชนิด น้ำผึ้งยังมีบทบาทในศาสนาและสัญลักษณ์นิยม รสชาติของน้ำผึ้งแตกต่างกันตามน้ำต้อยที่มา และมีน้ำผึ้งหลายชนิดและเกรดที่สามารถหาได้.

ใหม่!!: โรคหวัดและน้ำผึ้ง · ดูเพิ่มเติม »

โรค

รค เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไปหรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคยังอาจหมายถึงภาวะการทำงานของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเอง ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นอาการหรืออาการแสดงต่อโรคนั้นๆ ในมนุษย์ คำว่าโรคอาจมีความหมายกว้างถึงภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด, การทำหน้าที่ผิดปกติ, ความกังวลใจ, ปัญหาสังคม หรือถึงแก่ความตาย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ได้รับผลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด โรคอาจถูกใช้เพื่อเรียกการบาดเจ็บ, ความพิการ, ความผิดปกติ, กลุ่มอาการ, การติดเชื้อ, อาการ, พฤติกรรมเบี่ยงเบน, และการเปลี่ยนแปรที่ผิดปกติของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานในประชากรมนุษ.

ใหม่!!: โรคหวัดและโรค · ดูเพิ่มเติม »

โคโรนาไวรัส

Coronavirus หมายถึงสปีชีส์ต่างๆ ของไวรัสใน genera ที่อยู่ในซับแฟมิลี Coronavirinae และ Tonovirinae ในแฟมิลี Coronaviridae ในออร์เดอร์ Nidovirales เป็นไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม (enveloped) มีจีโนมเป็นอาร์เอ็นเอ โพซิทีฟเซนส์ มีนิวคลีโอแคปซิดที่มีสมมาตรแบบเฮลิกซ์ ขนาดจีโนมของไวรัสเหล่านี้มีตั้งแต่ 26-32 กิโลเบส ซึ่งถือว่าใหญ่มากสำหรับไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอ ชื่อ "coronavirus" มาจากคำภาษาลาติน corona ที่แปลว่ามงกุฎหรือรัศมี ในที่นี้หมายถึงลักษณะของตัวไวรัสที่มองเห็นจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่มีผิวยื่นเป็นแฉกๆ เหมือนกับรัศมีของดวงอาทิตย์ ลักษณะนี้ถูกสร้างโดยเพโพลเมอร์สไปค์ (S) ของไวรัส ซึ่งเป็นโปรตีนที่กระจุกตัวอยู่บนผิวไวรัส และเป็นตัวกำหนดการโน้มตอบสนองของโฮสต์.

ใหม่!!: โรคหวัดและโคโรนาไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไอ (อาการ)

อาการไอเป็นปฏิกิริยาตอบสนองอย่างหนึ่งของร่างกายที่มีขึ้นเพื่อกำจัดสารคัดหลั่ง สิ่งระคายเคือง สารแปลกปลอมอื่นๆ และจุลชีพออกจากทางเดินหายใจขนาดใหญ่ รีเฟลกซ์การไอประกอบด้วยสามระยะ ได้แก่ การหายใจเข้า การหายใจออกอย่างแรง ต้านกับกล่องเสียงที่ปิดอยู่ และการปล่อยอากาศออกจากปอดอย่างรวดเร็วพร้อมกันกับการเปิดกล่องเสียง ส่วนใหญ่มักทำให้เกิดเสียงไอร่วมด้วยเสมอ การไออาจเกิดจากความตั้งใจของคนคนนั้นเองหรือเกิดขึ้นเองโดยไม่ได้ตั้งใจก็ได้ หากมีอาการไอบ่อยครั้งมักบ่งชี้ว่ามีสาเหตุจากโรคบางอย่าง ไวรัสและแบคทีเรียหลายชนิดได้รับประโยชน์เชิงวิวัฒนาการจากการกระตุ้นให้โฮสต์มีอาการไอ ซึ่งจะช่วยแพร่กระจายเชื้อไปยังโฮสต์ใหม่ ส่วนใหญ่การไอมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อทางเดินหายใจแต่ก็อาจเกิดจากการสำลัก การสูบบุหรี่ มลพิษทางอากาศ โรคหอบหืด โรคกรดไหลย้อน เสมหะไหลลงคอ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หัวใจล้มเหลว และยาบางชนิดเช่น ACE inhibitor การรักษามักรักษาที่สาเหตุ เช่น เลิกบุหรี่ หยุดใช้ยา ACE inhibitor ผู้ป่วยบางรายอาจมีความกังวลว่าจะเป็นโรคร้ายแรง ซึ่งบางครั้งการให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดความสบายใจก็เป็นการเพียงพอ มักมีการสั่งยาแก้ไออย่าง codeine หรือ dextromethorphan อยู่บ่อยครั้ง แต่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีผลช่วยไม่มากนัก การรักษาอย่างอื่นมักรักษาที่การอักเสบของทางเดินหายใจหรือการกระตุ้นให้มีการขับเสมหะ เนื่องจากการไอเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายที่มีเพื่อป้องกันร่างกาย การยับยั้งอาการไอจึงอาจมีผลเสีย โดยเฉพาะหากอาการไอนั้นเป็นอาการไอแบบมีเสมห.

ใหม่!!: โรคหวัดและไอ (อาการ) · ดูเพิ่มเติม »

ไอบิวพรอเฟน

อบิวพรอเฟน หรือ ไอบิวพรอเฟิน (Ibuprofen) เป็นยาแก้อักเสบปราศจากสเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drug) หรือเอ็นเซด (NSAID) ซึ่งใช้รักษาอาการปวด ไข้ และการอักเสบ รวมถึงอาการปวดระดู และข้ออักเสบรูมาติก โดยปรกติแล้ว ร้อยละ 60 ของผู้ได้รับเอ็นเซดจะมีอาการดีขึ้น แต่ถ้าเอ็นเซดประเภทหนึ่งไม่ได้ผล ก็อาจใช้อีกประเภทได้ อนึ่ง ไอบิวพรอเฟนยังอาจใช้ระงับอาการ "ดักตัส อาร์เทอริโอซัส ยังคงอยู่" ในทารกคลอดก่อนกำหนด และอาจบริโภคทางปากหรือหลอดเลือด ไอบิวพรอเฟนนั้นมักออกฤทธิ์ภายในหนึ่งชั่วโมง ไอบิวพรอเฟนมักก่อผลข้างเคียงเป็นอาการแสบร้อนกลางอกและผื่น แต่เมื่อเทียบกับเอ็นเซดประเภทอื่น ๆ ไอบิวพรอเฟนอาจมีผลข้างเคียงอย่างอาการเลือดออกในทางเดินอาหารน้อยกว่า ทว่า ถ้าใช้ในปริมาณมากและเป็นเวลานาน ไอบิวพรอเฟนจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดหัวใจล้มเหลว ไตล้มเหลว และตับล้มเหลว ถ้าใช้น้อยและไม่นาน ก็ไม่ปรากฏว่าเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายขาดเลือด แต่ถ้าใช้มากและนานก็ไม่แน่ นอกจากนี้ ไอบิวพรอเฟนอาจทำให้โรคหืดแย่ลงได้ อนึ่ง แม้ยังไม่แน่ชัดว่า ไอบิวพรอเฟนเป็นอันตรายต่อครรภ์ในระยะแรกเริ่มหรือไม่ แต่ปรากฏว่า มีอันตรายต่อครรภ์ในระยะท้าย ไอบิวพรอเฟนนั้น สตูเวิร์ด แอดัมส์ (Stewart Adams) ค้นพบใน..

ใหม่!!: โรคหวัดและไอบิวพรอเฟน · ดูเพิ่มเติม »

ไข้

้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: โรคหวัดและไข้ · ดูเพิ่มเติม »

ไข้หวัดใหญ่

้หวัดใหญ่ (influenza หรือ flu) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ อาจมีอาการเล็กน้อยไปถึงรุนแรง อาการที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ไข้สูง คัดจมูก เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ไอและรู้สึกเหนื่อย อาการเหล่านี้จะออกอาการหลังได้รับไวรัสสองวันและส่วนมากอาการอยู่นานไม่เกินสัปดาห์ ทว่า อาการไออาจกินเวลานานกว่าสองสัปดาห์ได้ ในเด็ก อาจมีคลื่นไส้อาเจียน แต่ไม่ใช่อาการปกติในผู้ใหญ่ อาการคลื่นไส้อาเจียนเกินบ่อยกว่าในกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบซึ่งเป็นโรคติดเชื้ออีกโรคหนึ่ง ที่บ้างเรียกผิด ๆ ว่าเป็น "ไข้หวัดลงกระเพาะ" (stomach flu) หรือ "ไข้หวัด 24 ชั่วโมง" (24-hour flu) อาการแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่อาจมีปอดบวมจากไวรัส ปอดบวมจากแบคทีเรียตาม โพรงอากาศ (sinus) ติดเชื้อ และปัญหาสุขภาพที่มีอยู่เดิมแย่ลง เช่น โรคหอบหืดหรือภาวะหัวใจล้มเหลว โดยทั่วไป ไข้หวัดใหญ่ติดต่อผ่านอากาศโดยการไอหรือจาม ซึ่งปลดปล่อยละอองลอยที่มีไวรัส ไข้หวัดใหญ่ยังสามารถส่งผ่านโดยการสัมผัสโดยตรงกับมูลหรือสารคัดหลั่งจากจมูกของนก หรือผ่านการสัมผัสกับพื้นผิวที่ปนเปื้อน คาดกันว่าละอองลอยที่มาทางอากาศก่อให้เกิดการติดเชื้อมากที่สุด แต่ยังไม่ทราบช่องทางการส่งผ่านที่สำคัญที่สุด ไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถลดฤทธิ์ด้วยแสงแดด สารฆ่าเชื้อและสารชะล้างได้ การล้างมือบ่อย ๆ ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ เพราะสบู่สามารถลดฤทธิ์ไวรั.

ใหม่!!: โรคหวัดและไข้หวัดใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

เสมหะ

มหะ เสลดหรือสิ่งขาก (Phlegm) เป็นของไหลเหนียวที่ผลิตโดยเยื่อเมือกของมนุษย์และสัตว์อื่นๆ คำจำกัดความของเสหะคือเมือกที่ผลิตโดยระบบการหายใจนอกจากเมือกที่ออกมาทางช่องจมูกโดยเฉพาะที่ออกมาจากร่างกายโดยการจาม ส่วนผสมของเสหะอาจไม่เหมือนกันในแต่ละคนขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ สถานะของระบบภูมิต้านทาน หรือพันธุกรรมของคน ทั้งนี้ เสมหะยังเป็นเจลที่มีส่วนผสมของน้ำเป็นหลักและมีสารประกอบโปรตีน โปรตีนที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันโรค ลิพิดและอื่นๆอีกมากมาย เสมหะอาจจะมีหลายสีแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: โรคหวัดและเสมหะ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: โรคหวัดและเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อบุผิว

นื้อเยื่อบุผิว (Epithelium) เป็นเนื้อเยื่อพื้นฐานหนึ่งในสี่ชนิดของสัตว์ ร่วมกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อประสาท เนื้อเยื่อบุผิวบุโพรงและพื้นผิวของโครงสร้างทั่วร่างกาย และยังเกิดเป็นต่อมจำนวนมาก หน้าที่ของเซลล์บุผิวรวมไปถึงการหลั่ง การเลือกดูดซึม การป้องกัน การขนส่งระหว่างเซลล์และการตรวจจับการรู้สึก ชั้นเนื้อเยื่อบุผิวนั้นไร้หลอดเลือด ฉะนั้น เนื้อเยื่อบุผิวจึงได้รับอาหารผ่านการแพร่ของสสารจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ข้างใต้ ผ่านเยื่อฐาน เนื้อเยื่อบุผิวสามารถจัดเป็นกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อได้.

ใหม่!!: โรคหวัดและเนื้อเยื่อบุผิว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Common coldการรักษาไข้หวัดสาเหตุไข้หวัดหวัดอาการแทรกซ้อนไข้หวัดคอหอยส่วนจมูกอักเสบไข้หวัดไข้หัวลม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »