โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โยคะ

ดัชนี โยคะ

(yoga) เป็น กลุ่มของการปฏิบัติหรือการประพฤติทางกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยมีต้นกำเนิดในประเทศอินเดียสมัยโบราณ โยคะมีอยู่ด้วยกันหลานสำหนักซึ่งมีการปฏิบัติและเป้าหมายต่างกันไป ทั้งในศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ และศาสนาเชนStuart Ray Sarbacker, Samādhi: The Numinous and Cessative in Indo-Tibetan Yoga.

7 ความสัมพันธ์: ศาสนาพุทธศาสนาฮินดูศาสนาเชนคุรุประเทศอินเดียประเทศปากีสถานปรัชญา

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: โยคะและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: โยคะและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาเชน

ระมหาวีระ ศาสนาเชน, ไชนะ หรือ ชินะ (แปลว่า ผู้ชนะ) (Jainism) เป็นศาสนาแบบอินเดีย อนุมานกาลราวยุคเดียวกับสมัยพุทธกาล เป็นหนึ่งในลัทธิสำคัญทั้งหก ที่เกิดร่วมสมัยกับพระโคตมพุทธเจ้า ศาสนาเชนเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยมเช่นเดียวกับศาสนาพุทธ คือไม่นับถือพระเป็นเจ้า ถือหลักการไม่เบียดเบียน หรืออหิงสาอย่างเอกอุ ถือว่าการบำเพ็ญตนให้ลำบากคืออัตตกิลมถานุโยค เป็นทางนำไปสู่การบรรลุธรรมที่ ผู้ที่ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดทางกาย วาจา ใจ มีศาสดาคือพระมหาวีระ หรือ นิครนถนาฏบุตร หรือ องค์ตีรถังกร(ผู้สร้างทางข้ามพ้นไป)โดยศาสนิกเชนถือว่าเป็นศาสดาองค์ที่ 24 ของศาสนาเชน จึงถือว่าศาสนาเชนเก่าแก่กว่าศาสนาพุทธ ศาสนาเชนเกิดขึ้นในอนุทวีปอินเดียเมื่อประมาณศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: โยคะและศาสนาเชน · ดูเพิ่มเติม »

คุรุ

คุรุ (गुरु) หรือ กูรู (guru) หมายถึง ครู หรือ อาจารย์ ถ้าแยกศัพท์ออกมาแล้ว จะมีสองคำ คือ คำว่า คุ ซึ่งแปลว่า แสงสว่าง (เป็นผู้ชี้ทางแสงสว่าง) และคำว่า รุ แปลว่า ความมืดมน (เป็นผู้ขจัดความเขลาที่มืดมน) ในศาสนาพราหมณ์ฮินดู มาจากปรัชญาความเชื่อในความสำคัญของการเข้าถึงความรู้ โดยมี คุรุ หรือ อาจารย์เป็นผู้ชักนำไปสู่จุดสูงสุด ในประเทศอินเดียในปัจจุบัน สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู และซิกข์ คำ คุรุ นี้ยังคงความหมายของความศักดิ์สิทธิ์ เช่น คุรุนานัก คุรุปัทมสัมภวะ คุรุนาคารชุน อนึ่ง คำว่า คุรุ นี้มีการทับศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ โดยสะกดว่า "guru" ซึ่งหากทับศัพท์มาใช้ในภาษาไทย ก็จะต้องเขียน "คุรุ" ซึ่งมีศัพท์นี้อยู่แล้วในภาษาไทย เช่น คุรุสภา, คุรุศึกษา เป็นต้น (ในภาษาบาลีใช้ "ครุ" เช่น ครุศาสตร์, ครุภัณฑ์) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีความนิยมใช้คำว่า คุรุ นี้ในเชิงการบริหารและการศึกษา หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสาขานั้นๆ คุรุ ในภาษาสันสกฤตนั้นยังใช้หมายถึง พฤหัสบดี ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง ซึ่งตรงกับเทพเจ้าจูปิเตอร์ของชาวโรมันนั่นเอง ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูนั้น ดาว จูปีเตอร์/คุรุ/พฤหัสบดี ถือว่าเป็นดาวที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ในภาษาต่างๆ ของอินเดีย คำว่า พฤหัสปติวาร(วันพฤหัสบดี) จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าว่า คุรุวาร(วันคุรุ) โดย วาร นั้นหมายถึงวัน คุรุ ในอินเดียในทุกวันนี้ใช้ในความหมายทั่วไป หมายถึง "ครู" ในประเทศตะวันตก คุรุ ยังใช้ในความหมายที่กว้างขึ้นหมายถึง บุคคลที่เผยแพร่ศาสนา หรือ กลุ่มความเชื่อตามปรัชญาต่างๆ คำนี้ยังใช้ในความหมายเชิงอุปมา หมายถึงบุคคลผู้ซึ่งอยู่ในสถานะที่เชื่อถือได้ เนื่องมาจากความรู้ และความชำนาญ ที่เป็นที่ประจักษ์และยอมรับ หมวดหมู่:การศึกษา หมวดหมู่:คำยืม หมวดหมู่:ภาษาไทย.

ใหม่!!: โยคะและคุรุ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: โยคะและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปากีสถาน

ปากีสถาน (Pakistan; پاکستان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan; اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วยปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) สินธ์ (Sindh) และบาลูจิสถาน (BaluchisTAN).

ใหม่!!: โยคะและประเทศปากีสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: โยคะและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

โยคินโยคินีโยคี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »