โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โพรโทซัว

ดัชนี โพรโทซัว

รโทซัว (protozoa) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กที่จัดได้ว่ามีความสำคัญมากในระบบนิเวศ สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำจืด และน้ำเค็ม รวมทั้งบริเวณที่ชื้นแฉะ ยังพบว่าอาศัยอยู่ในร่างกายของสัตว์บกอีกหลายชนิด มีทั้งที่เป็นโทษและมีประโยชน์ โพรโทซัวนั้นมีทั้งที่สามารถสร้างอาหารได้เอง เช่น พวกที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ซึ่งมักจะสีเขียวของคลอโรฟิลล์ และพวกไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ การเพิ่มขึ้นของโพรโทซัวอย่างรวดเร็วหรือการบลูมขึ้นมา จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ red tide ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำบริเวณนั้น ความเป็นพิษเกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึม และถูกขับออกมาละลายอยู่ในน้ำ โดยพิษจะมีผลให้สัตว์น้ำเป็นอัมพาต.

19 ความสัมพันธ์: พลาสโมเดียมพารามีเซียมยูแคริโอตระบบนิเวศสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอะมีบาคลอโรฟิลล์ซิลิคอนซีเลียปรสิตน้ำจืดน้ำเค็มแฟลเจลลัมแพลงก์ตอนแอฟริกัน ทริปาโนโซมิเอซิสแคลเซียมคาร์บอเนตโพรทิสต์โพรโทซัวเมแทบอลิซึม

พลาสโมเดียม

พลาสโมเดียม (Plasmodium) เป็นสกุลของเชื้อปรสิตโปรโตซัวชนิดหนึ่งซึ่งทำให้เกิดโรคมาลาเรีย ในวงชีวิตของเชื้อชนิดนี้ต้องการโฮสต์สองตัวได้แก่พาหะที่เป็นยุงและโฮสต์ที่เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีเชื้อพลาสโมเดียมไม่ต่ำกว่าสิบชนิดที่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ได้ ส่วนชนิดอื่นๆ ก็ทำให้เกิดการติดเชื้อในสัตว์ชนิดอื่นเช่นนก สัตว์เลื้อยคลาน หรือสัตว์ฟันแทะ เป็นต้น หมวดหมู่:ปรสิตวิทยา หมวดหมู่:ปรสิต.

ใหม่!!: โพรโทซัวและพลาสโมเดียม · ดูเพิ่มเติม »

พารามีเซียม

รามีเซียม (Paramecium) เป็นโปรโตซัวสกุลหนึ่ง อยู่ในอาณาจักรโพรทิสตา มีขนรอบๆ ตัว โดยใช้ขนในการเคลื่อนที่ เรียกว่า ซิเลีย (cilia) ลักษณะภายนอก ลำตัวแบนรูปไข่ ด้านหน้า (anterior end) ค่อนข้างกลม ส่วนด้านท้าย (posterior end) จะเรียวแหลมกว่า รูปร่างของลำตัวจะคล้ายรองเท้าแตะ (slipper-shaped) หรือคล้ายเท้า (foot-shaped) ทำให้มีชื่อเรียกว่า Slipper Animalcule ผนังเซลล์เป็นแบบ pellicle มีร่องเป็นรูปหกเหลี่ยมเรียงไปทั่วตัว มีความยืดหยุ่นดี และทำให้มีรูปร่างคงที่ ผิวนอกลำตัวจะมีขน (cilia) ปกคลุมอยู่โดยรอบ ทำให้เคลื่อนที่หรือว่ายน้ำได้ดี ด้านข้างลำตัวมีร่องเว้าเป็นปากเด่นชัด เรียก peristome หรือ oral groove มี cilia เรียงอยู่ภายในขอบปากโดยรอบ และมีช่องเล็กๆทางด้านท้ายลำตัว (cytoproct หรือ anal pore) สำหรับขับถ่าย ลักษณะภายใน ภายในเซลล์ (endoplasm) ประกอบด้วยนิวเคลียสขนาดใหญ่ (macronucleus) รูปไข่อยู่เกือบกลางเซลล์ ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญและการทำงานของเซลล์ มีนิวเคลียสเม็ดเล็ก (micronucleus) อยู่ใกล้ๆ ทำหน้าที่ควบคุมการสืบพันธุ์แบบใช้เพศ มี contractile vacuole ทั้งทางด้านหน้าและท้ายลำตัว ทำหน้าที่ในการขับถ่ายของเสียคล้ายไต และมี food vacuole ที่เกิดจากการกินอาหารอยู่จำนวนมาก.

ใหม่!!: โพรโทซัวและพารามีเซียม · ดูเพิ่มเติม »

ยูแคริโอต

ูแคริโอต (eukaryote) คือ สิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่น (ออร์แกเนลล์) อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ยูแคริโอตเป็นหน่วยอนุกรมวิธาน ยูคาร์ยาหรือยูแคริโอตา อย่างเป็นทางการ เยื่อหุ้มนิวเคลียสเป็นโครงสร้างที่นิยามเซลล์ยูแคริโอตแยกจากเซลล์โปรแคริโอต โดยภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีสารพันธุกรรม การมีนิวเคลียสเป็นที่มาของชื่อยูแคริโอต ซึ่งมาจากภาษากรีก ευ (eu, "ดี") และ κάρυον (karyon, "ผลมีเมล็ดเดียว" หรือ "เมล็ด") เซลล์ยูแคริโอตส่วนใหญ่ยังมีออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มอื่นด้วย เช่น ไมโทคอนเดรียหรือกอลจิแอพพาราตัส นอกเหนือจากนี้ พืชและสาหร่ายยังมีคลอโรพลาสต์ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหลายชนิดเป็นยูแคริโอต เช่น โปรโตซัว แต่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ทุกชนิดเป็นยูแคริโอต ซึ่งได้แก่ สัตว์ พืชและเห็ดรา การแบ่งเซลล์ในยูแคริโอตแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีนิวเคลียส (โปรแคริโอต) มีกระบวนการแบ่งตัวสองประเภท คือ ไมโทซิสและไมโอซิส ไมโทซิสเป็นการที่เซลล์หนึ่งแบ่งตัวได้เซลล์ที่มีพันธุกรรมเหมือนกันสองเซลล์ ในไมโอซิสซึ่งจำเป็นในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เซลล์ดิพลอยด์หนึ่ง (ซึ่งมีโครโมโซมสองชุด ชุดหนึ่งมาจากพ่อ อีกชุดหนึ่งมาจากแม่) มีการจับคู่โครโมโซมจากพ่อแม่แต่ละคู่ใหม่ แล้วผ่านการแบ่งเซลล์อีกสองขั้นตอน จนได้เซลล์แฮพลอยด์สี่เซลล์ (เซลล์สืบพันธุ์) เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีโครโมโซมชุดเดียว ซึ่งเป็นการผสมโครโมโซมจากพ่อแม่คู่เดียวกัน โดเมนยูแคริโอตาดูเหมือนมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) จึงเป็นหนึ่งในสามโดเมนของสิ่งมีชีวิต อีกสองโดเมน ได้แก่ แบคทีเรียและอาร์เคีย เป็นโปรแคริโอตและไม่มีคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ยูแคริโอตเป็นสิ่งมีชีวิตส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ดี เนื่องจากยูแคริโอตมีขนาดใหญ่กว่ามาก มวลชีวภาพรวมทั่วโลกจึงประมาณว่าเท่ากับมวลชีวภาพของโปรแคริโอตWhitman, Coleman, and Wiebe,, Proc.

ใหม่!!: โพรโทซัวและยูแคริโอต · ดูเพิ่มเติม »

ระบบนิเวศ

ืดหินปะการังเป็นระบบนิเวศทะเลอย่างหนึ่ง ระบบนิเวศ คือกลุ่มอินทรีย์ (พืช สัตว์และจุลินทรีย์) ร่วมกับองค์ประกอบอชีวนะของสิ่งแวดล้อมของพวกมัน (เช่น อากาศ น้ำและดินอนินทรีย์) ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กันเป็นร.

ใหม่!!: โพรโทซัวและระบบนิเวศ · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (Single-celled organism, Unicellular organism) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็ก ประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว ซึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่สามารถศึกษาลักษณะและรูปร่างของสิ่งมีชีวิตเชลล์เดียวได้โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์.

ใหม่!!: โพรโทซัวและสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว · ดูเพิ่มเติม »

อะมีบา

อะมีบา (อังกฤษ amoeba, ameba) เป็นโปรโตซัวสกุลหนึ่ง สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยส่วนของลำตัวที่ยื่นออกมาชั่วคราว เรียกว่าเท้าเทียม (pseudopods) และถือว่าเป็นตัวแทนของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่รู้จักกันดี คำว่า อะมีบา นั้นมีการใช้หลากหลาย หมายถึงสัตว์เช่นนี้ และสัตว์จำพวกอื่นที่มีความใกล้ชิดในทางชีววิทยา ปัจจุบันจัดกลุ่มเป็น อะบีโบซัว (Amoebozoa) หรือหมายถึงโปรโตซัวทั้งหมด ที่เคลื่อนไหวได้ด้วยเท้าเทียม หรืออาจเรียกว่า อมีบอยด(amoeboids) อะมีบา เองนั้นพบได้ในน้ำจืด โดยปกติอยู่ในพืชผักที่เน่าเปื่อย จมอยู่ในลำน้ำ แต่ไม่ได้พบมากเป็นพิเศษในธรรมชาติ แท้จริงแล้วอะมีบาที่ก่อให้เกิดโรคในคนได้ เป็นอะมีบาที่อาศัยเป็นอิสระ ในธรรมชาติตามแหล่งน้ำ ดิน โคลนเลน มีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์เนจีเรีย ฟาวเลอรี่ (Naegleria fowleri) และสายพันธุ์อะคันธามีบา (Acantham.

ใหม่!!: โพรโทซัวและอะมีบา · ดูเพิ่มเติม »

คลอโรฟิลล์

ลอโรฟิลล์พบได้ตามคลอโรพลาสต์ คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) เป็นสารประกอบที่พบได้ในส่วนที่มีสีเขียวของพืช โดยพบมากที่ใบของพืชนอกจากนี้ยังพบได้ที่แบคทีเรียที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ และยังพบได้ในสาหร่ายเกือบทุกชนิด นอกจากนี้คลอโรฟิลล์ทำหน้าที่เป็นโมเลกุลรับพลังงานจากแสง และนำพลังงานดังกล่าวไปใช้ในการสร้างพลังงานเคมีโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อสร้างสารอินทรีย์ เช่น น้ำตาล และนำไปใช้เพื่อการดำรงชีวิต คลอโรฟิลล์ อยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า เยื่อหุ้มไทลาคอยล์ (Thylakoid membrane) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ภายใน คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) ภาคภูมิ พระประเสร.

ใหม่!!: โพรโทซัวและคลอโรฟิลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ซิลิคอน

ซิลิคอน (Silicon) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ ที่มีสัญลักษณ์ Si และเลขอะตอม 14 เป็นธาตุกึ่งโลหะแบบเตตระวาเลนต์ (คือมีวาเลนซ์เป็น 4) ซิลิคอนทำปฏิกิริยาน้อยกว่าธาตุที่คล้ายกันคือคาร์บอน เป็นธาตุที่มีมากที่สุดในเปลือกโลกเป็นอันดับ 2 มีปริมาตร 25.7% โดยน้ำหนัก ปรากฏในดินเหนียว เฟลด์สปาร์ (feldspar) หินแกรนิต ควอตซ์ และทราย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของซิลิคอน ไดออกไซด์ (หรือซิลิกา) และซิลิเกต (สารประกอบที่ประกอบจากซิลิคอน ออกซิเจน และ โลหะ) ซิลิคอน เป็นส่วนประกอบหลักของแก้ว ซีเมนต์ เซรามิก, อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ส่วนใหญ่ และซิลิโคน (สารพลาสติกที่มักจะสับสนกับซิลิคอน) ซิลิคอนใช้เป็นสารกึ่งตัวนำอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก สารกึ่งตัวนำเจอร์เมเนียมมีปัญหาเกี่ยวกับการไหลของกระแสไหลย้อนกลับ (reverse leakage current).

ใหม่!!: โพรโทซัวและซิลิคอน · ดูเพิ่มเติม »

ซีเลีย

ภาพถ่ายหน้าตัดของซีเลีย สังเกตซีเลียมที่มีลักษณะมนกลม จะเห็นว่ามีโครงสร้าง 9+2 อยู่ ซีเลีย (cilia หรือ cilium ในรูปเอกพจน์) เป็นออร์แกเนลล์ที่พบในเซลล์จำพวกยูแคริโอต (eukaryotic cell) ซิเลียมีลักษณะบาง ส่วนพัดโบกที่มีลักษณะคล้ายครีบหรือหางจะยื่นออกมาประมาณ 5-10 ไมโครเมตร นับจากผิวเปลือกของเซลล์ออกมา ซิเลียมีสองประเภทได้แก่ซิเลียที่เคลื่อนไหว (motile cilia) ซึ่งจะพัดโบกไปในทิศหนึ่งอย่างต่อเนื่อง ส่วนอีกประเภทหนึ่งคือซิเลียที่ไม่เคลื่อนไหว (non-motile cilia) ซึ่งทำหน้าที่เป็นออร์แกเนลล์ประสาทให้กับเซลล์ ซิเลียมีลักษณะทางโครงสร้างคล้ายๆ กับแฟลเจลลัมซึ่งจัดอยู่ในประเภทอุนดูลิโพเดียม (undilopodium) แต่ซิเลียจะต่างกับแฟลเจลลัมตรงที่ มีจำนวนส่วนที่ยื่นออกมาเยอะกว่าแฟลเจลลัมที่มีส่วนที่ยื่นออกมาเพียง 1-2 อันเท่านั้น รวมถึงยังมีขนาดเล็กกว่าและสั้นกว่าแฟลเจลลัมอีกด้วย ซิเลียทำหน้าที่ พัดโบกฝุ่นละออง และเมือก โครงสร้างของซิเลียนั้น ประกอบด้วยไมโครทิวบูลเรียงตัวกันเป็นวง ซึ่งด้านนอกของวงจะประกอบด้วยไมโครทิวบูลทั้งหมด 9 ชุด แต่ละชุดจะมีไมโครทิวบูล 2 อัน ส่วนตรงกลางของซิเลียนั้นจะมีไมโครทิวบูลอยู่ 2 ชุด แต่ละชุดจะมีไมโครทิวบูล 2 อันเช่นเดียวกัน แทนสัญลักษณ์ของไมโครทิวบูลในซิเลียด้วยตัวเลขเป็น 9+2 ไมโครทิวบูล 2 อันในแต่ละชุดจะเชื่อมกันด้วยแขนโปรตีนไดนีน (Dynien arm) และเมื่อคู่ไมโครทิวบูลในแต่ละชุดเกิดการเลื่อนหรือสไลด์ ก็จะทำให้ซิเลียสามารถโค้งงอได้ หมวดหมู่:ออร์แกเนลล์.

ใหม่!!: โพรโทซัวและซีเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ปรสิต

ปรสิต (parasite) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่อาศัยผู้อื่นหรือเซลล์ชนิดอื่นเป็นที่พักอาศัยและแหล่งอาหาร และบางครั้งทำร้ายสิ่งมีชีวิตที่ใช้ประโยชน์นั้นหรือเซลล์ภายในจนเจ็บป่วยหรือถึงกับเสียชีวิต เช่น การอาศัยอยู่สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำในร่างกายมนุษย์ ตัวอย่าง พยาธิ เป็นต้น.

ใหม่!!: โพรโทซัวและปรสิต · ดูเพิ่มเติม »

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

ใหม่!!: โพรโทซัวและน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

น้ำเค็ม

น้ำเค็ม อาจหมายถึง.

ใหม่!!: โพรโทซัวและน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

แฟลเจลลัม

แฟลกเจลลาของแบคทีเรียแกรมลบ แฟลเจลลัม (flagellum, พหูพจน์: flagella) เป็นเส้นใยขนาดยาว ที่ยืดยาวออกมาจากเซลล์ มีลักษณะการเคลื่อนที่คล้ายแส้ ช่วยให้เซลล์เคลื่อนที่ไปข้างหน้า ประกอบด้วยการจัดตัวของไมโครทูบูลเป็น 9+2 เช่นเดียวกับซิเลีย แต่มีจำนวนเส้นต่อเซลล์น้อยกว่า บริเวณโคนของแฟลเจลลัมจะยึดกับโครงสร้างภายในเซลล์ที่รียกว่า เบซัลบอดี (basal body) หรือ ไคนีโทโซม (kinetosome)ซึ่งมีการจัดเรียงตัวของไมโครทูบูลเป็น 9+0 ถ้าตัดเบซัลบอดีออก แฟลกเจลลานั้นจะเสียความสามารถในการทำให้เซลล์เคลื่อนที่ แฟลเจลลัมของเซลล์จำพวกยูคาริโอตนั้น จะโบกพัดไปมาคล้ายตัว S และถูกล้อมรอบไปด้วยเยื่อหุ้มเซลล์ หมวดหมู่:เซลล์ หมวดหมู่:ออร์แกเนลล์.

ใหม่!!: โพรโทซัวและแฟลเจลลัม · ดูเพิ่มเติม »

แพลงก์ตอน

แพลงก์ตอน แพลงก์ตอน (plankton) มาจากคำว่า πλανκτος ("planktos") ในภาษากรีกแปลว่า wanderer หรือผู้ท่องเที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย คือสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ที่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ไม่สามารถว่ายน้ำไปยังทิศทางที่ต้องการอย่างอิสร.

ใหม่!!: โพรโทซัวและแพลงก์ตอน · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกัน ทริปาโนโซมิเอซิส

แอฟริกัน ทริปาโนโซมิเอซิส (ภาษาอังกฤษ African trypanosomiasis) หรือ โรคเหงาหลับ เป็นโรคที่เกิดจากปรสิตในคนหรือสัตว์อื่น ๆ โรคนี้เกิดจากปรสิตชนิด ทริปาโนโซมา บรูเซีย ซึ่งมีอยู่สองชนิดที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ ได้แก่ ทริปาโนโซมา บรูเซีย แกมเบียนส์ (T.b.g) และ ทริปาโนโซมา บรูเซีย โรดเซียนส์ (T.b.r.). T.b.g เป็นสาเหตุของผู้ป่วยที่ได้รับรายงานกว่า 98% โรคเหงาหลับทั้งสองชนิดมักถูกส่งผ่านโดยการกัดของแมลงวันเซตซีที่ติดเชื้อและมักจะแพร่หลายในพื้นที่ชนบท  ในขั้นต้น ในระยะแรกของโรค ผู้ป่วยมักมีอาการไข้ ปวดศีรษะ มีอาการคันและปวดตามข้อ อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในช่วงหนึ่งถึงสามสัปดาห์หลังถูกกัด หลายสัปดาห์ถึงหลายเดือนต่อมา ระยะที่สองของโรคเริ่มขึ้นด้วยอาการสับสน มือไม้ทำงานไม่ประสานกัน อาการชา และปัญหาในการนอนหลับ การวินิจฉัยทำได้โดยการหาพยาธิในสเมียร์เลือด หรือในของเหลวในต่อมน้ำเหลือง มักมีความจำเป็นต้องใช้การเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อบอกความแตกต่างระหว่างระยะแรกและระยะที่สองของโรค การป้องกันโรคที่รุนแรงทำได้โดยการตรวจคัดประชากรที่มีความเสี่ยงโดยการตรวจเลือดเพื่อหา T.b.g. การรักษาสามารถทำได้ง่ายกว่าหากสามารถตรวจพบโรคอย่างรวดเร็วก่อนที่จะเกิดอาการทางระบบประสาท การรักษาอาการระยะแรกทำได้โดยการใช้ยาเพนทามิดินหรือซูรามิน ส่วนการรักษาอาการระยะที่สองทำได้โดยการใช้อีฟลอนิธินหรือส่วนผสมของไนเฟอไทมอกกับ อีฟลอนิธิน สำหรับ T.b.g. แม้ว่าเมลาร์โซโพรลจะใช้ได้กับเชื้อทั้งสองชนิด ยานี้มักถูกใช้เฉพาะกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ T.b.r. เนื่องจากมีผลข้างเคียงที่รุนแรง โรคนี้เกิดขึ้นเป็นประจำในบางพื้นที่ของแอฟริกาใต้สะฮารา โดยมีประชากรที่มีความเสี่ยงประมาณ 70 ล้านคนใน 36 ประเทศ ในปี 2553 โรคนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 9,000 ราย ซึ่งถือว่าลดน้อยลงจากจำนวน 34,000 รายในปี 2533 ปัจจุบันคาดว่ามีผู้ติดเชื้อประมาณ 30,000 ราย โดยเป็นผู้ติดเชื้อใหม่ 7,000 รายในปี 2555 กว่า 80% ของผู้ติดเชื้ออาศัยอยู่ใน สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เกิดการระบาดครั้งใหญ่ขึ้นสามครั้งในประวัติศาสตร์: ครั้งแรกในปี 2439 ถึงปี 2449 โดยเริ่มในประเทศยูกันดาและลุ่มแม่น้ำคองโก และอีกสองครั้งในปี 2463 และปี 2513 ในหลายประเทศในทวีปแอฟริกา สัตว์อื่น ๆ เช่น โค สามารถเป็นพาหะของโรคและติดเชื้อได้.

ใหม่!!: โพรโทซัวและแอฟริกัน ทริปาโนโซมิเอซิส · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซียมคาร์บอเนต

แคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate) เป็นสารประกอบมีสูตรเคมีคือ CaCO3 คาร์บอเนต ไม่ละลายในน้ำ แต่สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำและ คาร์บอนไดออกไซด์แล้วกลายเป็นแคลเซียมไบคาร์บอเนต (ซึ่งมีสูตรเคมีคือ Ca (HCO3) 2) แคลเซียมไบคาร์บอเนตละลายในน้ำได้เล็กน้อย ในธรรมชาติพบในรูปดังนี้.

ใหม่!!: โพรโทซัวและแคลเซียมคาร์บอเนต · ดูเพิ่มเติม »

โพรทิสต์

รทิสต์ (protist มาจากคำในภาษากรีกว่า protiston แปลว่า สิ่งแรกสุด) หมายถึงจุลชีพยูแคริโอตหลากหลายกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง ในอดีตกลุ่มโพรทิสต์มีสถานะเป็นอาณาจักร โพรทิสตา (Protista) ซึ่งรวมสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่ไม่สามารถจัดประเภทลงอาณาจักรอื่นได้เลย ซึ่งต่อมาก็ถูกคัดค้านในอนุกรมวิธานสมัยใหม่ มันอาจพิจารณาได้ว่าเป็นการรวมกลุ่มอย่างหลวม ๆ ของสิ่งมีชีวิต 30-40 ไฟลัมที่ผสมผสานกันต่าง ๆ นานาในเรื่องภาวะโภชนาการ กลไกของการเคลื่อนไหวเอง ผนังที่ห่อหุ้มเซลล์ และวงจรชีวิต คำศัพท์ โพรทิสตา ถูกใช้เป็นครั้งแรกโดย แอร์นสท์ เฮคเคิล (Ernst Haeckel) เมื่อ..

ใหม่!!: โพรโทซัวและโพรทิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โพรโทซัว

รโทซัว (protozoa) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กที่จัดได้ว่ามีความสำคัญมากในระบบนิเวศ สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำจืด และน้ำเค็ม รวมทั้งบริเวณที่ชื้นแฉะ ยังพบว่าอาศัยอยู่ในร่างกายของสัตว์บกอีกหลายชนิด มีทั้งที่เป็นโทษและมีประโยชน์ โพรโทซัวนั้นมีทั้งที่สามารถสร้างอาหารได้เอง เช่น พวกที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ซึ่งมักจะสีเขียวของคลอโรฟิลล์ และพวกไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ การเพิ่มขึ้นของโพรโทซัวอย่างรวดเร็วหรือการบลูมขึ้นมา จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ red tide ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำบริเวณนั้น ความเป็นพิษเกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึม และถูกขับออกมาละลายอยู่ในน้ำ โดยพิษจะมีผลให้สัตว์น้ำเป็นอัมพาต.

ใหม่!!: โพรโทซัวและโพรโทซัว · ดูเพิ่มเติม »

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ใหม่!!: โพรโทซัวและเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Phylum ProtozoaProtozoaProtozoanโปรโตซัว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »