โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โพรมีเทียม

ดัชนี โพรมีเทียม

โพรมีเทียม (Promethium) ธาตุ มีเลขอะตอม 61 และสัญลักษณ์ Pm เป็นธาตุสังเคราะห์ในกลุ่มแลนทาไนด์ โพรมีเทียมไม่มีไอโซโทปที่เสถียร ซึ่งแผ่รังสีเบต้า แต่ไม่แผ่รังสีแกมม่า โพรมีเทียมที่บริสุทธิ์มี 2 อัญรูป (allotropic forms) เกลือของโพรมีเทียมเรืองแสงสีน้ำเงินหรือสีเขียวในที่มืดได้ เนื่องจากมีกัมมันตภาพรังสีสูง พโรมีทเอียม พโรมีทเอียม.

19 ความสัมพันธ์: การสลายให้กัมมันตรังสีการจับยึดอิเล็กตรอนรังสีแกมมาอัญรูปอุณหภูมิห้องอนุภาคบีตาธาตุธาตุสังเคราะห์ของแข็งซาแมเรียมซีนอนปีนีโอดิเมียมแลนทาไนด์เบส (เคมี)เลขอะตอมเนปทูเนียม1 E-10 m1 E-25 kg

การสลายให้กัมมันตรังสี

การสลายให้อนุภาคแอลฟา เป็นการสลายให้กัมมันตรังสีชนิดหนึ่งที่นิวเคลียสของอะตอมปลดปล่อย อนุภาคแอลฟา เป็นผลให้อะตอมแปลงร่าง (หรือ "สลาย") กลายเป็นอะตอมที่มีเลขมวลลดลง 4 หน่วยและเลขอะตอมลดลง 2 หน่วย การสลายให้กัมมันตรังสี (radioactive decay) หรือ การสลายของนิวเคลียส หรือ การแผ่กัมมันตรังสี (nuclear decay หรือ radioactivity) เป็นกระบวนการที่ นิวเคลียสของอะตอมที่ไม่เสถียร สูญเสียพลังงานจากการปลดปล่อยรังสี.

ใหม่!!: โพรมีเทียมและการสลายให้กัมมันตรังสี · ดูเพิ่มเติม »

การจับยึดอิเล็กตรอน

องรูปแบบของการจับยึดอิเล็กตรอน ''บน'': นิวเคลียสดูดซับอิเล็กตรอน ''ล่างซ้าย'': อิเล็กตรอนรอบนอกเข้าแทนที่อิเล็กตรอน "ที่หายไป" รังสีเอ็กซ์ที่มีพลังงานเท่ากับความแตกต่างระหว่างสองเปลือกอิเล็กตรอนจะถูกปล่อยออกมา ''ล่างขวา'': ใน Auger effect, พลังงานจะถูกปล่อยออกมาเมื่ออิเล็กตรอนรอบนอกเข้าแทนที่อิเล็กตรอนรอบใน พลังงานจะถูกย้ายไปที่อิเล็กตรอนรอบนอก อิเล็กตรอนรอบนอกจะถูกดีดออกจากอะตอม เหลือแค่ไอออนบวก การจับยึดอิเล็กตรอน Electron capture หรือ Inverse Beta Decay หรือ K-electron capture หรือ K-capture หรือ L-electron capture หรือ L-capture) เป็นกระบวนการที่นิวเคลียสที่ร่ำรวยโปรตอนของอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าดูดซับอิเล็กตรอนที่อยู่วงในของอะตอม มักจะจากเปลือกอิเล็กตรอนที่วงรอบ K และวงรอบ L กระบวนการนี้จึงเป็นการเปลี่ยนโปรตอนของนิวเคลียสให้เป็นนิวตรอนและพร้อมกันนั้นได้มีการปลดปล่อยอิเล็กตรอนนิวทริโนออกมา ตามสมการ นิวไคลด์ลูกสาว (ผลผลิตที่ได้จากการสลาย) ถ้ามันอยู่ในสภาวะกระตุ้น มันก็จะเปลี่ยนผ่านไปอยู่ในสภาวะพื้น (ground state) ของมัน โดยปกติ รังสีแกมมาจะถูกปล่อยออกมาระหว่างการเปลี่ยนผ่านนี้ แต่การปลดการกระตุ้นนิวเคลียร์อาจเกิดขึ้นโดยการแปลงภายใน (internal conversion) ก็ได้เช่นกัน หลังการจับยึดอิเล็กตรอนรอบในโดยนิวเคลียส อิเล็กตรอนรอบนอกจะแทนที่อิเล็กตรอนที่ถูกจับยึดไปและโฟตอนลักษณะรังสีเอกซ์หนึ่งตัวหรือมากกว่าจะถูกปล่อยออกมาในกระบวนการนี​​้ การจับยึดอิเล็กตรอนบางครั้งยังเป็นผลมาจาก Auger effect ได้อีกด้วย ซึ่งในกระบวนการนี้อิเล็กตรอนจะถูกดีดออกมาจากเปลือกอิเล็กตรอนของอะตอมเนื่องจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอิเล็กตรอนด้วยกันของอะตอมนั้นในกระบวนการของการแสวงหาสภาวะของอิเล็กตรอนพลังงานที่ต่ำกว่า ลูกโซ่การสลายจากตะกั่ว-212 กลายเป็นตะกั่ว-208, เป็นการแสดงผลผลิตที่ได้จากการสลายในช่วงกลาง แต่ละช่วงเป็นนิวไคลด์ลูกสาวของตัวบน(นิวไคลด์พ่อแม่) หลังการจับยึดอิเล็กตรอน เลขอะตอมจะลดลงไปหนึ่งหน่วย จำนวนนิวตรอนจะเพิ่มขึ้นไปหนึ่งหน่วย และไม่มีการเปลี่ยนแปลงในมวลอะตอม การจับอิเล็กตรอนง่าย ๆ เกิดในอะตอมที่เป็นกลางเนื่องจากการสูญเสียอิเล็กตรอนในเปลือกอิเล็กตรอนจะถูกทำให้สมดุลโดยการสูญเสียประจุนิวเคลียร์บวก อย่างไรก็ตามไอออนบวกอาจเกิดจากการปล่อยอิเล็กตรอนแบบ Auger มากขึ้น การจับยึดอิเล็กตรอนเป็นตัวอย่างหนึ่งของอันตรกิริยาอย่างอ่อน ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของแรงพื้นฐาน การจับยึดอิเล็กตรอนเป็นโหมดขั้นปฐมของการสลายตัวสำหรับไอโซโทปที่มีโปรตอนอย่างมากในนิวเคลียส แต่ด้วยความแตกต่างของพลังงานไม่เพียงพอระหว่างไอโซโทปกับลูกสาวของมันในอนาคต (Isobar ที่มีประจุบวกน้อยลงหนึ่งหน่วย) สำหรับนิวไคลด์ที่จะสลายตัวโดยการปล่อยโพซิตรอน การจับยึดอิเล็กตรอนเป็นโหมดการสลายตัวแบบทางเลือกเสมอสำหรับไอโซโทปกัมมันตรังสีที่ไม่มีพลังงานเพียงพอที่จะสลายตัวโดยการปล่อยโพซิตรอน บางครั้งมันจึงถูกเรียกว่าการสลายให้บีตาผกผัน แม้ว่าคำนี้ยังสามารถหมายถึงปฏิสัมพันธ์ของอิเล็กตรอนปฏินิวทริโนกับโปรตอนอีกด้วย ถ้าความแตกต่างกันของพลังงานระหว่างอะตอมพ่อแม่และอะตอมลูกสาวมีน้อยกว่า 1.022 MeV, การปล่อยโพซิตรอนเป็นสิ่งต้องห้ามเนื่องจากพลังงานที่ใช้ในการสลายมีไม่เพียงพอที่จะยอมให้เกิดขึ้น ดังนั้นการจับยึดอิเล็กตรอนจึงเป็นโหมดการสลายตัวแต่เพียงอย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่นรูบิเดียม-83 (37 โปรตอน, 46 นิวตรอน) จะสลายตัวไปเป็น Krypton-83 (36 โปรตอน, 47 นิวตรอน) โดยการจับยึดอิเล็กตรอนแต่เพียงอย่างเดียว (เพราะความแตกต่างพลังงานหรือพลังงานสลายมีค่าประมาณ 0.9 MeV เท่านั้น) โปรตอนอิสระปกติจะไม่สามารถเปลี่ยนไปเป็นนิวตรอนอิสระได้โดยกระบวนการนี​​้ โปรตอนและนิวตรอนจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของนิวเคลียสที่มีขนาดใหญ่ \mathrm+\mathrm^- \rightarrow\mathrm+_e | \mathrm+\mathrm^- \rightarrow\mathrm+_e | ระลึกไว้ว่า ไอโซโทปกัมมันตภาพที่สามารถเกิด pure electron capture ได้ในทฤษฎีนั้นอาจถูกห้ามจาก radioactive decay หากพวกมันถูก ionized โดยสมบูรณ์ (คำว่า "stripped" ถูกใช้บางครั้งเพื่อบรรรยายไอออนเหล่านั้น) มีสมมติฐานว่าธาตุเหล่านั้น ถ้าหากถูกสร้างโดย r-process ในการระเบิด ซูเปอร์โนวา พวกมันจะถูกปลดปล่อยเป็น ionized โดยสมบูรณ์และจะไม่มี radioactive decay ตราบเท่าที่พวกมันไม่ได้ปะทะกับอิเล็กตรอนในสเปซภายนอก ความผิดปกติในการกระจายตัวของธาตุก็ถูกคิดว่าเป็นผลส่วนหนี่งจากผลกระทบของ electron capture นี้ พันธะเคมี ยังสามารถมีผลต่ออัตราของ electron capture ได้ระดับน้อย ๆ อีกด้วย (โดยทั่วไปน้อยกว่า 1%) ขึ้นอยู่กับความใกล้ของอิเล็กตรอนกับนิวเคลียส -->.

ใหม่!!: โพรมีเทียมและการจับยึดอิเล็กตรอน · ดูเพิ่มเติม »

รังสีแกมมา

รังสีแกมมา (Gamma radiation หรือ Gamma ray) มีสัญลักษณ์เป็นตัวอักษรกรีกว่า γ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่มีช่วงความยาวคลื่นสั้นกว่ารังสีเอกซ์ (X-ray) โดยมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 10-13 ถึง 10-17 หรือคลื่นที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่า 10-13 นั่นเอง รังสีแกมมามีความถี่สูงมาก ดังนั้นมันจึงประกอบด้วยโฟตอนพลังงานสูงหลายตัว รังสีแกมมาเป็นการแผ่รังสีแบบ ionization มันจึงมีอันตรายต่อชีวภาพ รังสีแกมมาถือเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงที่สุดในบรรดาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ที่เหลือทั้งหมด การสลายให้รังสีแกมมาเป็นการสลายของนิวเคลียสของอะตอมในขณะที่มีการเปลี่ยนสถานะจากสถานะพลังงานสูงไปเป็นสถานะที่ต่ำกว่า แต่ก็อาจเกิดจากกระบวนการอื่น.

ใหม่!!: โพรมีเทียมและรังสีแกมมา · ดูเพิ่มเติม »

อัญรูป

รและแกรไฟต์เป็นอัญรูปของคาร์บอน ซึ่งเป็นธาตุเดียวกันแต่โครงสร้างต่างกัน อัญรูป (allotropy หรือ allotropism;αλλος (allos), หรือ τροπος (tropos)) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธาตุเคมี ในธาตุหนึ่ง ๆ สามารถมีรูปแบบสองรูปแบบหรือมากกว่า หรือที่รู้จักกันในชื่อ อัญรูป ของธาตุนั้น ๆ ในแต่ละอัญรูป อะตอมของธาตุมีพันธะเคมีเชื่อมต่อกันในรูปแบบที่ต่างกัน มีโครงสร้างต่างกันไป อัญรูปนั้นไม่ใช่ไอโซเมอร์ที่เป็น สารประกอบ ที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่มีสูตรโครงสร้างต่างกัน ตัวอย่างเช่น, คาร์บอนมี 2 อัญรูป: เพชรที่คาร์บอนอะตอมเชื่อมกันในรูปหกเหลี่ยมทรงสี่หน้าและแกรไฟต์ที่คาร์บอนอะตอมเชื่อมกันในรูปแผ่นตาข่ายหกเหลี่ยม อัญรูปหมายถึงความแตกต่างทางโครงสร้างในสถานะเดียวกันเท่านั้น (คือรูปแบบของแข็ง, ของเหลว หรือ แก๊ส) - การเปลี่ยนสถานะไม่ถือเป็นอัญรูป สำหรับในบางธาตุอัญรูปมีสูตรโมเลกุลต่างกันนั้น สามารถคงอัญรูปได้เมื่อเปลี่ยนสถานะ เช่น อัญรูป 2 อัญรูปของออกซิเจน (ไดออกซิเจน, O2 และโอโซน, O3), ทั้งคู่มีสูตรโมเลกุลเหมือนเดิมทั้งในสภาวะของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ตรงกันข้าม ในบางธาตุไม่สามารถคงอัญรูปได้เมื่อเปลี่ยนสถานะ เช่น ฟอสฟอรัสมีอัญรูปมากมายในสถานะของแข็ง แต่จะกลายเป็นรูปแบบ P4 เหมือนกันทั้งหมดเมื่อละลายกลายเป็นของเหลว และยังมีอัญรูปที่สำคัญคือ อัญรูปของกำมะถันซึ่งมีสูตรโมเลกุลเป็นS8 แบ่งออกเป็น กำมะถันรอมบิก และกำมะถันมอนอคลินิก.

ใหม่!!: โพรมีเทียมและอัญรูป · ดูเพิ่มเติม »

อุณหภูมิห้อง

อุณหภูมิห้อง (Room temperature) คืออุณหภูมิของสถานที่ ๆ ทำการทดลอง อุณหภูมิห้องมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกอยู่ที่ 20 - 25 องศาเซลเซียส หมวดหมู่:ความร้อน หมวดหมู่:การถ่ายเทความร้อน.

ใหม่!!: โพรมีเทียมและอุณหภูมิห้อง · ดูเพิ่มเติม »

อนุภาคบีตา

อานุภาพการทะลุทะลวงของรังสีสามชนิดเปรียบเทียบกัน รังสีแอลฟาประกอบด้วยกลุ่มนิวเคลียสของฮีเลียมและไม่สามารถทะลุทะลวงแผ่นกระดาษได้ รังสีบีตาประกอบด้วยกลุ่มของอิเล็กตรอนหรือโพซิตรอนจะไม่สามารถทะลุทะลวงแผ่นอะลูมิเนียมได้ รังสีแกมมาจะถูกดูดซับด้วยตะกั่ว อนุภาคบีตา (Beta particle) เป็นกลุ่มของอิเล็กตรอนหรือโพซิตรอนความเร็วสูงและพลังงานสูงที่ปล่อยออกมาจากบางชนิดของนิวเคลียสที่มีกัมมันตรังสี เช่นโปแตสเซียม-40 อนุภาคบีตาที่ปล่อยออกมาในรูปของการแผ่รังสีแบบไอโอไนซิ่ง (ionizing radiation) จะเป็นรังสี เรียกว่ารังสีบีตา อนุภาคบีตาเกิดจากการสลายให้กัมมันตรังสีที่เรียกว่าการสลายให้อนุภาคบีตา อนุภาคบีตาถูกกำหนดโดยอีกษรกรีกว่า β มีสองรูปแบบของการสลายบีตา ได่แก่ β− and β+ ซึ่งก่อให้เกิดอิเล็กตรอนและโพซิตรอนตามลำดั.

ใหม่!!: โพรมีเทียมและอนุภาคบีตา · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุ

ในทางเคมี ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานเลขอะตอม อันเป็นจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น ตัวอย่างธาตุที่คุ้นเคยกัน เช่น คาร์บอน ออกซิเจน อะลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง ทองคำ ปรอทและตะกั่ว จนถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: โพรมีเทียมและธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุสังเคราะห์

ตุสังเคราะห์ คือ ธาตุที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นในห้องทดลอง ไม่พบอยู่ตามธรรมชาติ และไม่เสถียร มีครึ่งชีวิตที่สั้น (เป็นไปได้ตั้งแต่ ไม่กี่มิลลิวินาที จนถึงหลักล้านปี ก็มี) เมื่อเทียบกับอายุของโลก ที่อะตอมของธาตุนั้น ๆ อาจเคยปรากฏขณะเกิดโลกแล้วสลายไปจนหมด ธาตุที่สังเคราะห์ขึ้นได้ชนิดแรกคือ เทคนีเชียม (technetium) โดยค้นพบว่า ไม่มีไอโซโทปใดที่เสถียร และมีครึ่งชีวิตเท่ากับ 4.2 ล้านปี จึงพบได้ยากมากบนโลกปัจจุบัน เพราะอายุของโลกนานมากกว่า 4,600 ล้านปี อย่างไรก็ตาม ไม่จัดเทคนีเชียมเป็นธาตุสังเคราะห์ที่แท้จริง เพราะปัจจุบันตรวจพบได้บ้างแม้เป็นปริมาณที่น้อยมาก เช่น ในหินอุกกาบาต และยังถือว่ามีอายุนานกว่าธาตุสังเคราะห์อื่น ธาตุที่จัดเป็นธาตุสังเคราะห์นั้นมีอายุสั้นมาก พบเฉพาะที่เป็นผลิตผลจาก เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (nuclear reactors) หรือ เครื่องเร่งอนุภาค (particle accelerator) เท่านั้น.

ใหม่!!: โพรมีเทียมและธาตุสังเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ของแข็ง

ของแข็ง (Soild) เป็นสถานะหนึ่งในสี่ของสถานะพื้นฐานของสสาร (สถานะอื่นได้แก่ ของเหลว แก๊ส พลาสมา) ซึ่งมีลักษณะที่สามารถทนและต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่วงหรือปริมาตร แตกต่างกับของเหลว วัตถุที่เป็นของแข็งไม่สามารถไหลได้และไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่างและปริมาตรไปตามภาชนะที่บรรจุ อะตอมภายในโมเลกุลของของแข็งอยู่ชิดกันมากและมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคที่หนาแน่นกับอนุภาคอื่น ๆ สาขาของฟิสิกส์มีสาขาหนึ่งที่มีเพื่อศึกษาของแข็งโดยเฉพาะ เรียกว่าฟิสิกส์ของแข็งและมันยังเป็นสาขาหลักของฟิสิกส์สสารอัดแน่น (ซึ่งจะมีการศึกษาเกี่ยวกับของเหลวรวมอยู่ด้วย) ของแข็งที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุดในโลกคือ ซิลิกานาโนโฟม (silica nanofoam) มีความหนาแน่นประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของอากาศ เป็นผลิตภัณฑ์ของแอโรเจล (aerogel) ที่ดูดอากาศออก หมวดหมู่:สถานะของสสาร หมวดหมู่:ของแข็ง หมวดหมู่:วัสดุศาสตร์.

ใหม่!!: โพรมีเทียมและของแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ซาแมเรียม

ซาแมเรียม (Samarium) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 62 และสัญลักษณ์คือ Sm ซาแมเรียมเป็นธาตุหายาก ลักษณะเป็นสีเงินมันวาว ซาแมเรียมมีความเสถียรในอากาศ และติดไฟได้เองที่อุณหภูมิ 150 °C.

ใหม่!!: โพรมีเทียมและซาแมเรียม · ดูเพิ่มเติม »

ซีนอน

|- | Critical pressure || 5.84 MPa |- | Critical temperature || 289.8 K (16.6 °C) ซีนอน (Xenon) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 54 และสัญลักษณ์คือ Xe ซีนอนเป็นธาตุที่มีลักษณะเป็นก๊าซมีตระกูล (Noble gases) ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น น้ำหนักมาก พบเพียงเล็กน้อยในบรรยากาศโลก -มีน้ำหนักอะตอมเท่ากับ 131.30 amu -จุดหลอมเหลวเท่ากับ -111.9 องศา -จุดเดือน(โดยประมาณ)อยู่ที่ -108.12 +/-.01 องศา -ความหนาที่(stp) 5.8971 g/l เลขออกซิเดชันสามัญ +2,+4,+6,+8 1.

ใหม่!!: โพรมีเทียมและซีนอน · ดูเพิ่มเติม »

ปี

ปี หมายถึง ช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์แต่ละดวงโคจรรอบดาวฤกษ์ เช่นการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์แต่ละดวงจะมีระยะเวลาของปีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความเร็วในการโคจรของดาวเคราะห์และความยาววงโคจรของดาวเคราะห.

ใหม่!!: โพรมีเทียมและปี · ดูเพิ่มเติม »

นีโอดิเมียม

นีโอดิเมียม (Neodymium) เป็นธาตุโลหะลักษณะเงินมันวาวหายาก เมื่อสัมผัสอากาศสีจะหมองเพราะเกิดสนิมสารประกอบออกไซด์ หมายเลขอะตอมคือ 60 สัญลักษณ์ Nd จัดอยู่ในกลุ่มแลนทาไนด์ มีปริมาณบนพื้นโลกมากเป็นอันดับ2 ในกลุ่มเดียวกันรองจากซีเรียม นีโอดีเมียมเป็นธาตุที่ไม่ได้พบในรูปแบบโลหะหรือบริสุทธิ์เหมือนกับธาตุอื่นๆในกลุ่มแลนทาไนด์ และนีโอดีเมียมยังใช้การกลั่นปกติสำหรับการใช้งานทั่วไป แม้ว่านีโอดิเมียมถูกจัดว่าเป็น "โลกที่หายาก" มีการกระจายกันอย่างแพร่หลายในโลกอยู่ในชั้นเปลือกโลก ส่วนใหญ่นีโอดิเมียมในโลกจะขุดได้ที่ในประเทศจีน นีโอดิเมียมเป็นธาตุที่อยู่ในบล็อกF จำนวนอิเล็กตรอนในแต่ละชั้นนีโอดีเมียม คือ 2, 8, 18, 22, 8, 2 และการกำหนดค่าอิเล็กตรอนของมันคือ 4f46s2 นีโอไดเมียเป็นที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของธาตุหายากหลังจากซีเรียมและแลนทานัม.

ใหม่!!: โพรมีเทียมและนีโอดิเมียม · ดูเพิ่มเติม »

แลนทาไนด์

แลนทาไนด์ (Lanthanide) เป็น อนุกรมเคมีของธาตุ ในตารางธาตุ จำนวน 15 ตัว ตั้งแต่ ธาตุแลนทานัม ถึง ธาตุลูทีเตียม ชื่ออนุกรมมีที่มาจากชื่อธาตุแลนทานัม ซึ่งเป็นธาตุแรกในอนุกรม สิ่งที่น่าสนใจ ได้แก.

ใหม่!!: โพรมีเทียมและแลนทาไนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เบส (เคมี)

ตามคำจำกัดความของอาร์รีเนียส (Svante Arrhenius) คือ สารประกอบเคมีที่ดูดไฮโดรเนียมไอออน เมื่อละลายในน้ำ (ผู้รับโปรตอน) เบสที่ละลายในน้ำเรียกว่า อัลคาไล ในที่ที่สิ่งแวดล้อมเป็นน้ำ ไฮดรอกไซด์ไอออนจะถูกให้ เบสและกรดถูกมองว่าอยู่ตรงข้ามกันเพราะว่าผลของกรดคือการเพิ่มความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) ในน้ำ, ในขณะที่เบสลดความเข้มข้น เบส อาร์รีเนียสเมื่อละลายน้ำสารละลายของมันจะมี pH มากกว่า 7 เสมอ กรดเมื่อผสมกับเบสจะสะเทิน มี คำจำกัดความ กรด-เบส ทั่วไปและซับซ้อนอีกมากม.

ใหม่!!: โพรมีเทียมและเบส (เคมี) · ดูเพิ่มเติม »

เลขอะตอม

เลขอะตอม (atomic number) หมายถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้นๆ หรือหมายถึงจำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งวนรอบนิวเคลียสของอะตอมที่เป็นกลาง เช่น ไฮโดรเจน (H) มีเลขอะตอมเท่ากับ 1 เลขอะตอม เดิมใช้หมายถึงลำดับของธาตุในตารางธาตุ เมื่อ ดมิทรี อีวาโนวิช เมนเดลีเยฟ (Dmitry Ivanovich Mendeleev) ทำการจัดกลุ่มของธาตุตามคุณสมบัติร่วมทางเคมีนั้น เขาได้สังเกตเห็นว่าเมื่อเรียงตามเลขมวลนั้น จะเกิดความไม่ลงรอยกันของคุณสมบัติ เช่น ไอโอดีน (Iodine) และเทลลูเรียม (Tellurium) นั้น เมื่อเรียกตามเลขมวล จะดูเหมือนอยู่ผิดตำแหน่งกัน ซึ่งเมื่อสลับที่กันจะดูเหมาะสมกว่า ดังนั้นเมื่อเรียงธาตุในตารางธาตุตามเลขอะตอม ตารางจะเรียงตามคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ เลขอะตอมนี้ถึงแม้โดยประมาณ แล้วจะแปรผันตรงกับมวลของอะตอม แต่ในรายละเอียดแล้วเลขอะตอมนี้จะสะท้อนถึงคุณสมบัติของธาตุ เฮนรี โมสลีย์ (Henry Moseley) ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการกระเจิงของ สเปกตรัมของรังสีเอ็กซ์ (x-ray) ของธาตุ และตำแหน่งที่ถูกต้องบนตารางธาตุ ในปี ค.ศ. 1913 ซึ่งต่อมาได้ถูกอธิบายด้วยเลขอะตอม ซึ่งอธิบายถึงปริมาณประจุในนิวเคลียส หรือ จำนวนโปรตอนนั่นเอง ซึ่งจำนวนของโปรตอนนี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ หมวดหมู่:อะตอม ลเขอะตอม ลเขอะตอม.

ใหม่!!: โพรมีเทียมและเลขอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

เนปทูเนียม

นปทูเนียม (Neptunium)เป็นธาตุกลุ่มแอคติไนต์ธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 93 สัญลักษณ์ Np เป็นธาตุโลหะหนัก กัมมันตภาพรังสี อยู่ในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide group) และเป็นธาตุทรานซูแรนิค (transuranic element) เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่ไม่ปรากฏในธรรมชาติที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ซึ่งชนิดแรกที่ได้จากการสังเคราะห์เป็นผลพลอยได้จากเตาปฏิกรปรมณูและการผลิตพลูโทเนียมไอโซโทปที่เสถียรที่สุดคือ Np-237 ในธรรมชาติพบปริมาณเล็กน้อยในสินแร่ยูเรเนียมธาตุเนปทูเนียมมีสมบัติเป็นโลหะหนักเป็นของแข็งสีเงินเป็นมันวาว มีความบริสุทธิ์สูงมีประโยชน์อย่างมากในการนำมาใช้ผลิตธาตุที่เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานนิวเคลียร์ สามารถใช้ทำระเบิดนิวเคลียร์ได้.

ใหม่!!: โพรมีเทียมและเนปทูเนียม · ดูเพิ่มเติม »

1 E-10 m

ำหรับการเปรียบเทียบอันดับของขนาด (อังกฤษ: orders of magnitude) หน้านี้เป็นเป็นรายชื่อความยาวที่อยู่ระหว่าง 10−10 m กับ 10−9 m (100 pm กับ 1 nm).

ใหม่!!: โพรมีเทียมและ1 E-10 m · ดูเพิ่มเติม »

1 E-25 kg

ำหรับการเปรียบเทียบอันดับของขนาด (อังกฤษ: orders of magnitude) หน้านี้เป็นเป็นรายชื่อมวลที่อยู่ระหว่าง 60.22 u และ 602.2 u (10-25 กก. และ 10-24 กก., หรือ 100 ยอคโตกรัม และ 1 เซปโตกรัม) ---- มวลที่น้อยกว่า ----.

ใหม่!!: โพรมีเทียมและ1 E-25 kg · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

PmPromethiumอิลลิเนียมฟลอเรนเทียมโพรมิเทียมโพรมีเธียมโปรมีเทียม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »