โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โทมาฮอว์ก (ขีปนาวุธ)

ดัชนี โทมาฮอว์ก (ขีปนาวุธ)

ีจีเอ็ม-109 โทมาฮอว์ก (BGM-109 Tomahawk) เป็นขีปนาวุธร่อนนำวิถีระยะไกล ความเร็วต่ำกว่าเสียง ทุกสภาพกาลอากาศ เปิดตัวครั้งแรกในทศวรรษที่ 1970 โดยบริษัทเจเนอรัลไดนามิกส์ โทมาฮอว์กออกแบบมาให้เป็นขีปนาวุธระยะกลางถึงไกล ความสูงต่ำสามารถปล่อยออกจากฐานยิงหลายรูปแบบ โทมาฮอว์กได้รับการปรับปรุงออกมาหลายรุ่น ปัจจุบันผลิตโดยบริษัทเรเธียน และอีกส่วนหนึ่งผลิตโดยบริษัทแมคดอนเนลล์ดักลาส (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโบอิง)"," เว็บไซต์ประวัติศาสตร์โบอิง.

12 ความสัมพันธ์: การเจรจาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกรถถังอัตราเร็วของเสียงอากาศยานอากาศยานไร้คนขับทหารราบขีปนาวุธร่อนดาวเทียมแมคดอนเนลล์ดักลาสโบอิงเรือรบ

การเจรจาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์

SALT วันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1974 การเจรจาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ (Strategic Arms Limitation Talks ย่อว่า SALT) คือ การเจรจาเพื่อจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและ สหภาพโซเวียต ที่ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็น START (Strategic Arms Reduction Treaty)การเจรจาเริ่มครั้งแรกในวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1969 ได้มีการเจรจาหลายครั้ง จนที่สุดได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นครั้งแรก คือ SALT I ออกมาในเดือน ค.ศ. 1971 และในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1972 ที่กรุงมอสโก ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกซัน และประธานาธิบดี เลโอนิด เบรจเนฟ ได้ลงนามในสัญญา Anti-Ballistic Missile Treaty และ Interim Agreement Between The United States of America and The Union of Soviet Socialist Republics on Certain Measures With Respect to the Limitation of Strategic Offensive Arms ต่อมาได้มีการเจรจา SALT II START I และ START II อีก 3 ครั้ง.

ใหม่!!: โทมาฮอว์ก (ขีปนาวุธ)และการเจรจาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก

วาดแสดงดาวเทียม NAVSTAR ของสหรัฐ เครื่องรับสัญญาณจีพีเอส KAMAZ NAAV450 เครื่องรับสัญญาณจีพีเอส แมเกลลัน เบลเซอร์ ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก เรียกย่อว่า จีพีเอส (Global Positioning System: GPS) หรือรู้จักในชื่อ นาฟสตาร์ (Navstar) คือระบบดาวเทียมนำร่องโลก (์Global Navigation Satellite System: GNSS) เพื่อระบุข้อมูลของตำแหน่งและเวลาโดยอาศัยการคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากตำแหน่งของดาวเทียมต่างๆ ที่โคจรอยู่รอบโลกทำให้สามารถระบุตำแหน่ง ณ จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโลกและในทุกสภาพอากาศ รวมถึงสามารถคำนวณความเร็วและทิศทางเพื่อนำมาใช้ร่วมกับแผนที่ในการนำทางได้.

ใหม่!!: โทมาฮอว์ก (ขีปนาวุธ)และระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก · ดูเพิ่มเติม »

รถถัง

รถถัง Mark IV รถถัง เป็นยานพาหนะต่อสู้หุ้มเกราะติดตีนตะขาบที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการรบที่แนวหน้าซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างความคล่องตัว การรุก และการป้องกัน อำนาจการยิงของมันมาจากปืนหลักขนาดใหญ่ของมันที่ติดตั้งอยู่บนป้อมส่วนบนที่หมุนได้พรัอมกับมีปืนกลติดตั้งอยู่เพื่อเป็นอาวุธรอง ในขณะที่เกราะขนาดหนักและความสามารถในการเคลื่อนที่ของมันเป็นสิ่งที่คอยปกป้องชีวิตของพลประจำรถ นั่นทำให้มันสามารถทำงานหลักของทหารราบยานเกราะได้ทั้งหมดในสมรภูมิ รถถังเริ่มนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งแรกโดยอังกฤษ ได้แก่ Mark IV tank เพื่อใช้มันสนับสนุนทหารราบในการฝ่าทะลุแนวสนามเพลาะ พวกมันถูกใช้ในยุทธการซอมม์ในจำนวนน้อยมาก ในช่วงที่มันถูกสร้างขึ้นมันถูกเรียกว่ายานลำเลียงน้ำเพื่อปกปิดวัตถุประสงค์การใช้งานจริงของมัน คำว่า"แท็งค์" (tank) นั้นมาจากคำว่า "Water tank" ที่แปลว่าถังน้ำ ด้วยวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนทหารราบมันจึงทำความเร็วสูงสุดได้เพียง 5-6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การมาของ Mark IV tank ทำให้ฝ่ายเยอรมันพัฒนารถถังของตนเอง ได้แก่ A7V เพื่อตอบโต้ฝ่ายอังกฤษ รถถัง A7V ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกในโลกที่พัฒนารถถังที่ติดตั้งปืนบนป้อมซึ่งหมุนได้ 360 องศาได้แก่ Renault FT และใช้พลรถถังเพียง 2 คน ในการควบคุมรถถัง ต่างจาก Mark IV tank ของอังกฤษที่ต้องใช้พลรถถังถึง 8 คนในการควบคุม และ A7V ของเยอรมนีที่ใช้พลรถถัง 18 คน การพัฒนาในสงครามของมันเกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สองทำให้มันเป็นแนวคิดหลักของสงครามยานเกราะซึ่งอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นบทบาทหลักในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้นำรถถังที-34 มาใช้ มันเป็นหนึ่งในรถถังที่ดีที่สุดในสงครามและเป็นต้นตำรับของรถถังหลัก เยอรมนีใช้การโจมตีสายฟ้าแลบ ซึ่งเป็นยุทธวิธีในการใช้กองกำลังรถถังเป็นหลักโดยมีปืนใหญ่และการยิงทางอากาศเข้าสนับสนุนเพื่อเจาะทะลุแนวป้องกันของศัตรู ปัจจุบันรถถังนั้นไม่ปฏิบัติการเพียงลำพังนัก พวกมันจะรวมกันเป็นหน่วยซึ่งจะมีทหารราบให้การสนับสนุน ทหารเหล่านั้นจะทำงานร่วมกับรถสายพานลำเลียงพลหรือยานพาหนะต่อสู้ทหารราบ รถถังยังถูกใช้ร่วมกับการสอดแนมหรือการโจมตีภาคพื้นดินทางอากาศอีกด้วย เนื่องมาจากความสามารถและความหลากประโยชน์ของรถถังประจัญบานที่ถูกมองว่าเป็นกุญแจสำคัญของกองทัพยุคใหม่ อย่างไรก็ตามในสงครามนอกกรอบได้นำข้อสงสัยมาสู่กองพลยานเกราะ ไจโรสโคปถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความเสถียรให้กับปืนใหญ่ ทำให้มันเล็งได้อย่างแม่นยำและยิงได้ในขณะเคลื่อนที่ ปืนรถถังยุคใหม่ยังมีตัวลดความร้อนเพื่อลดการกระจายความร้อนที่เกิดจากการยิง มันจะช่วยลดควันที่เข้าไปในรถถังและบางครั้งก็ลดแรงถีบซึ่งจะเพิ่มความแม่นยำและอัตราการยิงให้มากขึ้น โดยทั่วไปแล้วการตรวจจับเป้าหมายจะใช้สายตามองเอาผ่านทางกล้องโทรทรรศน์ อย่างไรก็ตามมีบางครั้งที่ผู้บัญชาการรถถังจะเปิดฝาครอบด้านบนออกเพื่อมองไปรอบๆ ตัว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความระมัดระวังต่อสถานการณ์แต่ก็ทำให้เขาตกเป็นเป้าของพลซุ่มยิงได้ โดยเฉพาะเมื่อยู่ในป่าหรือเมือง แม้ว่าการพัฒนามากมายในการตรวจหาเป้าหมายจะเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ข้อปฏิบัติดังกล่าวก็ยังถูกใช้กันอยู่ ในบางกรณีปืนกลเคียงที่อยู่ข้างปืนใหญ่ก็ถูกใช้เพื่อหาวิถีโค้งและระยะของเป้าหมาย ปืนกลนี้จะถูกติดตั้งบนแกนเดียวกับปืนใหญ่รถถัง และยิงกระสุนไปที่เป้าหมายเดียวกัน พลปืนจะติดตามการเคลื่อนไหวของกระสุนติดตามเมื่อมันพุ่งชนเป้าหมาย และเมื่อมันชนเป้าหมาย มันก็จะปล่อยแสงออกมาพร้อมกับควันหลังจากที่ปืนใหญ่ยิงออกไปแล้ว อย่างไรก็ตามมันก็มักถูกแทนที่ด้วยเลเซอร์หาระยะแทน รถถังยุคใหม่ยังมีกล้องมองกลางคืนและกล้องจับถวามร้อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานในตอนกลางคืน ในสภาพอากาศที่เลวร้าย และในกลุ่มควัน ความแม่นยำของรถถังยุคใหม่ได้ก้าวไปสู่จุดสูงสุดโดยระบบควบคุมการยิง ระบบนี้ใช้เลเซอร์หาระยะเพื่อระบุความห่างจากเป้าหมาย มันยังมีตัววัดแรงลมและตัวควบคุมความร้อนที่ปากกระบอก การที่เลเซอร์หาระยะสามารถมองหาเป้าหมายสองเป้าได้พร้อมกับทำให้มันสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของเป้าหมายได้ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมเข้ากับการเคลื่อนไหวของรถถังและการเคลื่อนที่ของวัตถุในอากาศเพื่อคำนวณการไต่ระดับและจุดเล็งที่มันจะเข้าชนเป้าหมาย โดยปกติแล้วรถถังจะมีปืนขนาดเล็กกว่าเพื่อป้องกันตัวในระยะใกล้ซึ่งการยิงด้วยปืนใหญ่นั้นจะไร้ประสิทธิภาพ อย่างการจัดการกับทหารราบ ยานพาหนะขนาดเบา หรือเครื่องบิน อาวุธรองมักจะเป็นปืนกลเอนกประสงค์ที่อยู่ข้างปืนใหญ่และปืนกลต่อต้านอากาศยานที่อยู่ด้านบนสุดของป้อมปืน อาวุธเหล่านี้มักถูกดัดแปลงเพื่อใช้โดยทหารราบ และใช้กระสุนที่เหมือนๆ กัน.

ใหม่!!: โทมาฮอว์ก (ขีปนาวุธ)และรถถัง · ดูเพิ่มเติม »

อัตราเร็วของเสียง

อัตราเร็วของเสียง คือ ระยะทางที่เสียงเดินทางไปในตัวกลางใดๆ ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา โดยทั่วไปเสียงเดินทางในอากาศที่มีอุณหภูมิ 25°C (.

ใหม่!!: โทมาฮอว์ก (ขีปนาวุธ)และอัตราเร็วของเสียง · ดูเพิ่มเติม »

อากาศยาน

รื่องบินแอร์บัส A-380 อากาศยานโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก อากาศยาน (aircraft)หมายถึงสิ่งหรือเครื่องที่สามารถบินได้โดยได้รับการรองรับจากอากาศ หรือโดยทั่วไปคือชั้นบรรยากาศของโลก มันสามารถต้านแรงดึงดูดของโลกโดยใช้แรงลอยตัว(แรงยกอยู่กับที่)(Buoyancy หรือ static lift) หรือใช้แรงยกพลศาสตร์(dynamic lift)ของ airfoil อย่างใดอย่างหนึ่ง, หรือมีไม่กี่กรณีที่ใช้แรงขับลงด้านล่าง(downward thrust)จากเครื่องยนต์ไอพ่น กิจกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับอากาศยานเรียกว่า การบิน (aviation) อากาศยานที่มีลูกเรือจะถูกบินโดยนักบินที่อยู่บนเครื่อง แต่ยานพาหนะทางอากาศไร้คนขับอาจถูกควบคุมโดยระยะไกลหรือควบคุมตัวเองโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเครื่อง อากาศยานถูกแยกประเภทโดยเกณฑ์ที่แตกต่างกัน เช่นรูปแบบของการยกตัว การขับเคลื่อน การใช้งานและอื่นๆ อากาศยานที่มีคนขับนั้นขับด้วยบุคคลที่เรียกว่า นักบิน จนกระทั่งในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 ก็มีอากาศยานแบบที่ไม่มีคนขับเกิดขึ้น มีชื่อเรียกว่า "drone" ในช่วงทศวรรษที่ 1960 นั้น กองทัพสหรัฐได้นำคำว่า อากาศยานที่ควบคุมจากระยะไกล (remotely piloted vehicle (RPV)) มาใช้เรียกชื่ออากาศยานชนิดนี้ ปัจจุบันอากาศยานชนิดนี้มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า อากาศยานไร้คนขับ (unmanned aerial vehicle (UAV)).

ใหม่!!: โทมาฮอว์ก (ขีปนาวุธ)และอากาศยาน · ดูเพิ่มเติม »

อากาศยานไร้คนขับ

รนของบริษัท DJI เป็นอากาศยานไร้คนขับ เอ็มคิว-9 รีพเปอร์ ยูเอวีนักล่าสังหารที่ใช้โดยกองกำลังสหรัฐและกองกำลังอังกฤษในอิรักและอัฟกานิสถาน แม้ว่ายูเอวีส่วนมากจะเป็นอากาศยานปีกนิ่ง แต่เอ็มคิว-8 ไฟร์สเกาท์ที่เป็นยูเอวีแบบใบพัดก็ถูกใช้เช่นกัน อากาศยานไร้คนขับ หรือ ยูเอวี (Unmanned Aerial Vehicle, UAV) หมายถึงอากาศยานที่ไม่มีคนขับ ต่างจากขีปนาวุธตรงที่นำมาใช้ใหม่ได้ เป็นพาหนะไร้คนขับที่สามารถควบคุม ได้รับความเสียหาย บินต่างระดับ และใช้เครื่องยนต์ไอพ่นหรือเครื่องยนต์ลูกสูบ กระนั้นขีปนาวุธก็ไม่ถูกจัดว่าเป็นยูเอวีเพราะว่ามันเหมือนกับขีปนาวุธนำวิถีมากกว่า ซึ่งเป็นอาวุธที่ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ แม้ว่ามันจะไร้คนขับและถูกควบคุมจากระยะไกลก็ตาม ยูเอวีนั้นมีรูปร่าง ขนาด รูปแบบ และเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ตามหลักแล้วยูเอวีคือโดรน (Drone) (เป็นอากาศยานที่ควบคุมจากระยะไกล) แต่การควบคุมอัตโนมัติที่เหมือนกับยูเอวีมากกว่า ยูเอววีมีสองแบบ บ้างควบคุมจากระยะไกล และบ้างก็บินได้ด้วยตนเองโดยอาศัยการโปรแกรมที่เป็นระบบซึ่งซับซ้อนกว่า ปัจจุบันยูเอวีของทหารนั้นทำหน้าที่สอดแนมและภารกิจโจมตี ในขณะที่โดรนโจมตีมากมายที่ประสบความสำเร็จถูกรายงานว่าพวกมันได้รับความเสียหายได้ง่ายและมักมีข้อผิดพลาด ยูเอวียังถูกใช้ในจำนวนที่น้อยในทางพลเรือน อย่างการดับเพลิง ยูเอวีนั้นมักจะทำหน้าที่ในภารกิจที่ยากและอันตรายเกินกว่าที่จะใช้เครื่องบินที่มีคนขับทำ.

ใหม่!!: โทมาฮอว์ก (ขีปนาวุธ)และอากาศยานไร้คนขับ · ดูเพิ่มเติม »

ทหารราบ

ทหารราบชาวอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทหารราบ (infantry) คือทหารที่มีหน้าที่เข้าดำเนินกลยุทธ์ในการรบโดยใช้อำนาจการยิงจากอาวุธประจำกาย เพื่อเข้ายึดพื้นที่ และทำลายข้าศึก มีขีดสามารถเคลื่อนที่โดยตนเอง ไม่จำเป็นต้องพึ่งยานพาหนะเป็นจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นเหล่าทหารที่มีจำนวนมากที่สุด ได้รับฉายาว่า "ราชินีแห่งสนามรบ" มีเครื่องหมายเป็นรูปปืนเล็กไขว้ประกอบกับตับกระสุน หมวดหมู่:ทหาร หมวดหมู่:ทหารราบ.

ใหม่!!: โทมาฮอว์ก (ขีปนาวุธ)และทหารราบ · ดูเพิ่มเติม »

ขีปนาวุธร่อน

ขีปนาวุธร่อน (Cruise missile) หมายถึงขีปนาวุธนำวิถีใช้กับเป้าหมายบนพื้น ขีปนาวุธพิสัยใกล้เกือบทั้งหมดเป็นขีปนาวุธประเภทนี้ การที่เรียกเช่นนี้เนื่องจากมันมีปีกที่ทำให้มันร่อนอยู่ในอากาศได้ ขีปนาวุธประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อนำส่งหัวรบขนาดใหญ่เป็นระยะทางไกลโดยที่ยังคงความแม่นยำ ขีปนาวุธร่อนสมัยใหม่สามารถทำความเร็วเหนือเสียงหรือเท่ากับเสียงได้และมีระบบนำทางในตัวเอง ขีปนาวุธร่อนเป็นขีปนาวุธประเภทที่ครอบคลุมพิสัยการปฏิบัติการมากที่สุด ปัจจุบันมีขีปนาวุธร่อนตั้งแต่พิสัยใกล้ไม่เกิน 1000 กิโลเมตร ไปจนถึงขีปนาวุธร่อนแบบทอดตัวข้ามทวีป อย่างไรก็ตาม ขีปนาวุธร่อนยังสามารถร่อนที่วิถีความสูงระดับต่ำซึ่งเป็นการทำงานแบบไม่ทอดตัว ขีปนาวุธร่อนได้รับแรงบันดาลใจมากจาก ระเบิดบิน วี-1 ของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นขีปนาวุธแบบแรกของโลก หมวดหมู่:ขีปนาวุธ.

ใหม่!!: โทมาฮอว์ก (ขีปนาวุธ)และขีปนาวุธร่อน · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเทียม

นีบนพื้นโลก ดาวเทียม (satellite) คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นเป็นสิ่ง ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของสิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้ ทางการทหาร การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เช่นการสำรวจทางธรณีวิทยาสังเกตการณ์สภาพของอวกาศ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวอื่นๆ รวมถึงการสังเกตวัตถุ และดวงดาว ดาราจักร ต่าง.

ใหม่!!: โทมาฮอว์ก (ขีปนาวุธ)และดาวเทียม · ดูเพิ่มเติม »

แมคดอนเนลล์ดักลาส

แมคดอนเนลล์ดักลาส (McDonnell Douglas) (MD) เป็นบริษัทผลิตเครื่องบิน ก่อตั้งที่นครเซ็นต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2519 และปิดกิจการลงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2540 โดยบริษัทโบอิง ได้ทำการซื้อกิจการกับบริษัทแมคดอนเนลล์ดักลาสรวมเข้ากับโบอิง ด้วยมูลค่าทั้งสิ้น 13,000 ล้านบาท เครื่องบินที่มีชื่อเสียงของแมคดอนเนลล์ดักลาส ได้แก่ MD-11 MD-80 MD-90 เป็นต้น นอกจากจะเป็นผู้ผลิตเครื่องบินโดยสารแล้ว แมคดอนเนลล์ดักลาส ยังเป็นผู้ผลิตเครื่องบินรบ เอฟ-4 เอฟ-15 เอฟ-18 เฮลิคอปเตอร์อาพาเช่ รวมทั้งจรวดฮาร์พูน และ โทมาฮอว์ก.

ใหม่!!: โทมาฮอว์ก (ขีปนาวุธ)และแมคดอนเนลล์ดักลาส · ดูเพิ่มเติม »

โบอิง

อิง (The Boeing Company) เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานและยุทโธปกรณ์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา โบอิงนับเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินที่มีรายได้มากที่สุดในโลก และเป็นผู้ผลิตยุทโธปกรณ์อันดับสองของโลก ในปี พ.ศ. 2549 โบอิงเป็นผู้ผลิตเครื่องบินที่มีจำนวนสั่งซื้อมากที่สุดในโลก มีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 55 สำหรับยอดสั่งซื้อ และร้อยละ 54 สำหรับยอดส่งมอบ กุมชัยชนะเหนือแอร์บัสเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: โทมาฮอว์ก (ขีปนาวุธ)และโบอิง · ดูเพิ่มเติม »

เรือรบ

เรือรบในศตวรรษที่ 17 เรือรบ (Warship) คือเรือที่ถูกสร้างมาสำหรับใช้ในการสงคราม เรือรบนั้นจะถูกสร้างให้แตกต่างจากเรือสินค้าอย่างสิ้นเชิง โดยออกแบบมาให้บรรทุกอาวุธ และสามารถทนต่อการยิงของลูกกระสุนของฝ่ายตรงข้ามได้ดี เรือรบถูกใช้มากในสงครามโลกครั้งที่สอง และพัฒนาขึ้นมากจากแต่ก่อน เรือรบอาจจะแบ่งได้หลายลักษณะตามการใช้งาน โดยมีวิวัฒนาการตามรูปแบบของสงครามทางเรือที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย กล่าวคือในยุคสมัยแรกเรือรบ มีหน้าที่เพียงบรรทุกทหาร เสบียง อาวุธยุทโธปกรณ์ เพื่อนำไปส่งอีกที่หนึ่ง แล้วจึงทำการรบกันบนบกเท่านั้น เช่นเรือแกลเลย์ของกรีกในยุคโบราณ ต่อมาได้มีการติดอาวุธไปกับเรือ คือ ปืนใหญ่ชนิดบรรจุท้าย ทำให้เกิดยุทธนาวีหรือการรบกันกลางทะเลขึ้นมา โดยมีอาวุธปืนเป็นปัจจัยสำคัญในการรบ ในสมัยศตวรรษที่ 16 การเดินเรือด้วยเรือใบมีความสำคัญมาก เทคโนโลยีการต่อเรือสมัยนั้นสามารถต่อเรือที่มีขนาดใหญ่พอที่จะใช้เดินทางข้ามมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาลได้ สำหรับเรือรบของประเทศไทยนั้นจะมีการเรียกว่า เรือหลวง (รล.) มาจาก เรือของในหลวง โดยจะมีหลักการตั้งชื่อตามการใช้งาน และประเภทของเรือ เช่น เรือดำน้ำ ผู้มีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ เรือพิฆาต พระมหากษัตริย์ เรือทุ่นระเบิด สมรภูมิที่สำคัญ เรือเร็วโจมตี ชื่อเรือโบราณ เรือฟริเกตต์ แม่น้ำสำคัญ เรือช่วยรบ ชื่อเกาะ รบ หมวดหมู่:ยุทโธปกรณ์ หมวดหมู่:เรือรบ.

ใหม่!!: โทมาฮอว์ก (ขีปนาวุธ)และเรือรบ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

บีจีเอ็ม-109 โทมาฮอร์กบีจีเอ็ม-109 โทมาฮอว์ก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »