โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โทกูงาวะ อิเอมิตสึ

ดัชนี โทกูงาวะ อิเอมิตสึ

ทะกุงะวะ อิเอะมิสึ เป็น โชกุน คนที่ 3 แห่ง ตระกูลโทะกุงะวะ โดยท่านเกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1604 เป็นบุตรชายคนโตของโชกุนคนที่ 2 โทะกุงะวะ ฮิเดะทะดะ และเป็นหลานปู่ของโชกุนคนแรกของตระกูล โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ โดยท่านเป็นสมาชิกของตระกูลคนแรกที่เกิดในสมัย ที่ผู้เป็นปู่ได้เป็นโชกุนต่อมาเมื่อผู้เป็นบิดาได้ลงจากอำนาจในปี ค.ศ. 1623 ท่านก็ได้ขึ้นเป็นโชกุนคนใหม่ขณะอายุได้เพียง 19 ปีแต่อำนาจและอิทธิพลก็ยังคงอยู่ที่อดีตโชกุนฮิเดะทะดะผู้เป็นพ่อจนถึงปี ค.ศ. 1632 เมื่ออดีตโชกุนถึงแก่อสัญกรรม.

33 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2147พ.ศ. 2166พ.ศ. 2175พ.ศ. 2180พ.ศ. 2182พ.ศ. 2194พ.ศ. 2397มาเก๊ายุคเอะโดะยุคเซ็งโงกุรัฐบาลเอโดะราชวงศ์หมิงราชวงศ์โชซ็อนสหรัฐฮิระโดะตระกูลโทกูงาวะประเทศอังกฤษประเทศเนเธอร์แลนด์ปราสาทนิโจปราสาทเอโดะนางาซากิโชกุนโอะเอะโยะโอดะ โนบูนางะโทกูงาวะ สึนาโยชิโทกูงาวะ อิเอยาซุโทกูงาวะ อิเอสึนะโทกูงาวะ ฮิเดตาดะโทะกุงะวะ สึนะชิเงะไดเมียวเกียวโต (นคร)12 สิงหาคม8 มิถุนายน

พ.ศ. 2147

ทธศักราช 2147 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและพ.ศ. 2147 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2166

ทธศักราช 2166 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและพ.ศ. 2166 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2175

ทธศักราช 2175 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและพ.ศ. 2175 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2180

ทธศักราช 2180 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและพ.ศ. 2180 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2182

ทธศักราช 2182 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและพ.ศ. 2182 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2194

ทธศักราช 2194 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและพ.ศ. 2194 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2397

ทธศักราช 2397 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1854.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและพ.ศ. 2397 · ดูเพิ่มเติม »

มาเก๊า

ตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Macao Special Administrative Region of the People's Republic of China, เรียกสั้น ๆ ว่า มาเก๊า ในภาษาอังกฤษเขียนเป็น Macau และ Macao, อ้าวเหมิน; 馬交 ก็เรียก) เป็นพื้นที่บนชายฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ปกครองโดยประเทศโปรตุเกสก่อนพ.ศ. 2542 เป็นอาณานิคมของยุโรปที่เก่าแก่ที่สุดในจีน ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 อำนาจอธิปไตยเหนือมาเก๊าได้ย้ายไปที่สาธารณรัฐประชาชนจีนในพ.ศ. 2542 กลายเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน มาเก๊าได้มีบทบาทที่มีอิทธิพลต่อจีนและตะวันตกโดยเฉพาะระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ คริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้ที่อาศัยอยู่ในมาเก๊าส่วนใหญ่พูดภาษากวางตุ้งเป็นภาษาแม่ ภาษาแมนดาริน ภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษก็มีพูดด้วย โดยกว้าง ๆ ชาวมาเก๊า (Macanese) หมายถึงผู้ที่พำนักอาศัยถาวรอยู่ในมาเก๊า ส่วนในวงแคบ หมายถึง ชนพื้นเมืองในมาเก๊าที่สืบทอดมาจากชาวโปรตุเกส มักจะผสมกับชาวจีนและบรรพบุรุษชาติอื่น ๆ นอกจากสิ่งที่เหลือจากประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคมแล้ว.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและมาเก๊า · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเอะโดะ

อะโดะ หรือยุคที่เรียกว่า ยุคโทะกุงะวะ (徳川時代 Tokugawa-jidai) ค.ศ. 1603 - ค.ศ. 1868 คือยุคที่มีไดเมียวตระกูลโทะกุงะวะเป็นโชกุน เริ่มเมื่อโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ได้รวบอำนาจและตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นที่เอโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) ใน..

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและยุคเอะโดะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเซ็งโงกุ

ซ็งโงกุ เป็นช่วงเวลาของความไม่สงบใน ญี่ปุ่น อันเกิดจากอำนาจการปกครองของ โชกุนตระกูลอาชิกางะในยุคมูโรมาจิเสื่อมลง ทำให้บรรดาไดเมียวผู้ปกครองแคว้นต่าง ๆ ในญี่ปุ่นต่างพากันตั้งตนเป็นอิสระ โดยเฉพาะไดเมียวที่อยู่ห่างจากเมืองหลวงเกียวโตมาก และทำสงครามกันเอง ทำให้ญี่ปุ่นลุกเป็นไฟ บ้านเมืองไม่มีขื่อแป โชกุนที่เกียวโตไม่สามารถทำอะไรได้เพราะเป็นเพียงหุ่นเชิดของไดเมียวที่มีอำนาจ สมัยเซ็งโงกุเป็นสมัยแห่งวีรบุรุษ โดยเฉพาะวีรบุรุษทั้งสามที่รวมประเทศญี่ปุ่นให้กลับเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้งเป็นการสิ้นสุดสมัยเซ็งโงกุ ได้แก่ โอดะ โนบูนางะ, โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ, และ โทกูงาวะ อิเอยาซุ อักษรคันจิของคำว่ายุคเซ็งโงกุ ตรงกับคำว่า "ยุคจ้านกว๋อ" ในภาษาจีน หมายถึง "ยุครณรัฐ" ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ในช่วงระหว่าง 477-222 ปีก่อน..

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและยุคเซ็งโงกุ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลเอโดะ

รัฐบาลเอโดะ หรือ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เป็นฝ่ายบริหารของประเทศญี่ปุ่นซึ่งใช้ระบอบศักดินา สถาปนาโดยโทกูงาวะ อิเอะยะสุ (徳川家康 Tokugawa Ieyasu) มีผู้ปกครองสูงสุดเป็นโชกุน (将軍 shōgun) ซึ่งต้องมาจากตระกูลโทกูงาวะ (徳川氏 Tokugawa-shi) เท่านั้น ในสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนนั้น จะเรียกว่ายุคเอโดะ (江戸時代 edo-jidai) ตามชื่อเมืองเอโดะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) มีปราสาทเอโดะ (江戸城 Edo-jō) เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1603 - 1868 จนกระทั่งถูกสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ (明治天皇 Meiji-tennō) ล้มล้างไปในการปฏิรูปสมัยเมจิ (明治維新 Meiji Ishin) หลังจากยุคเซงโงะกุ (戦国時代 Sengoku-jidai) หรือยุคไฟสงคราม โอดะ โนะบุนะงะ (織田 信長 Oda Nobunaga) และโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (豊臣 秀吉 Toyotomi Hideyoshi) ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งในยุคอะซึจิ-โมะโมะยะมะ (あづちももやまじだい Azuchi momoyama jidai) ซึ่งเป็นยุคสั้นๆ ก่อนยุคเอโดะ ต่อมา หลังจากยุทธการเซะกิงะฮะระ (関ヶ原の戦い Sekigahara no Tatakai) ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ในค.ศ. 1600 การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของโทกูงาวะ อิเอะยะสุโดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้นตระกูลมินะโมะโตะ (源 Minamoto) ในยุคของโทกูงาวะ ต่างจากยุคโชกุนก่อนๆ คือมีการนำระบบชนชั้นที่เริ่มใช้โดยโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ มาใช้อีกครั้งอย่างเข้มงวด โดยชนชั้นนักรบ หรือซามูไร (侍 Samurai) อยู่บนสุด ตามด้วยชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า การใช้ระบบชนชั้นอย่างเข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นได้ทำให้เกิดจลาจลมาตลอดสมัย ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นชาวนานั้น อยู่ในอัตราคงที่โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของค่าเงิน ส่งผลให้รายได้ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นซามูไร ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆตลอดยุค ซึ่งสาเหตุนี้ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างซามูไรผู้ทรงเกียรติแต่ฐานะทางการเงินต่ำลงเรื่อยๆจากการจ่ายภาษี กับชาวนาผู้มีอันจะกิน เกิดเป็นการปะทะกันหลายต่อหลายครั้งที่เริ่มจากเหตุการณ์เล็กๆรุกลามเป็นเหตุการณ์วุ่นวาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงระบบสังคมยุคเอโดะได้ ตราบจนการเข้ามาของชาวตะวันตก เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลุ่มไดเมียวผู้มีอำนาจ เช่น ตระกูลชิมะสึ (島津氏 Shimazu-shi) ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในสมัยเอโดะเคยทรงเพียงศักดิ์แต่ไร้อำนาจ เพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนในโดยสงครามโบะชิน (戊辰戦争 Boshin Sensō) ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเมจิโดยจักรพรรดิเมจิ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1868 โดยมีโทกูงาวะ โยชิโนบุ (徳川 慶喜 Tokugawa Yoshinobu) เป็นโชกุนคนที่ 15 และเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น จากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคเมจิ (明治時代 Meiji-jidai)อันมีการฟื้นฟูราชวงศ์มายังเมืองเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียวดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและรัฐบาลเอโดะ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนักCrawford, Robert.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและราชวงศ์หมิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โชซ็อน

ราชวงศ์โชซอน (Joseon Dynasty) หรือ ราชวงศ์อี ที่สถาปนาขึ้นภายหลังการยกสถานะของอาณาจักรโชซอนเป็นจักรวรรดิโชซอนตามพระบรมราชโองการของจักรพรรดิควังมูแห่งจักรวรรดิโชซอน (จักรพรรดิโคจง) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองคาบสมุทรเกาหลีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและราชวงศ์โชซ็อน · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิระโดะ

ระโดะ เป็นเมืองในจังหวัดนะงะซะกิ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 235.63 ตารางกิโลเมตร เดิมตัวเมืองตั้งอยู่บนเกาะฮิระโดะ แต่ภายหลังการควบรวมกับหมู่บ้านข้างเคียง ทำให้อาณาเขตของเมืองฮิระโดะขยายขว้างขึ้น ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของเกาะคิวชู โดยมีสะพานฮิระโดะเชื่อมระหว่างกัน ฮิระโดะในอดีตเป็นเมืองท่าการค้าที่สำคัญระหว่างญี่ปุ่นกับจีนแผ่นดินใหญ่ และเกาหลี นอกจากนี้ยังเคยเป็นสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ในญี่ปุ่น.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและฮิระโดะ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลโทกูงาวะ

ตระกูลโทกูงาวะ เป็นตระกูลไดเมียวที่ทรงอำนาจของญี่ปุ่นในอดีต เป็นเชื้อสายของ จักรพรรดิเซวะ ผ่านราชสกุลฟุจิวะระและราชสกุลมินะโมโต..

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและตระกูลโทกูงาวะ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทนิโจ

กำแพงชั้นในและคูน้ำในปราสาทนิโจ ประตูทางเข้าหลักสู่พระราชวังนิโนะมะรุ ลวดลายแกะสลักที่ประตูทางเข้าพระราชวังนิโนะมะรุ พระราชวังฮนมะรุ สระน้ำในอุทยานนิโนะมะรุ ปราสาทนิโจ เป็นปราสาทสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในเมืองเคียวโตะ ประเทศญี่ปุ่น ประกอบไปด้วยป้อมปราการที่เรียงตัวเป็นวงแหวนสองชั้น พระราชวังนิโนะมะรุ ซากพระราชวังฮนมะรุ และอาคารอื่นกับสวนอุทยานอีกหลายแห่ง อาณาบริเวณของปราสาทมีพื้นที่ทั้งหมด 275,000 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ที่อาคารสร้างทับอยู่ 8,000 ตารางเมตร.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและปราสาทนิโจ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทเอโดะ

ปราสาทเอโดะ (江戸城, Edo Castle) เป็นปราสาทที่สำคัญแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น เพราะเคยใช้เป็นที่พักของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เริ่มก่อสร้างในปี..

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและปราสาทเอโดะ · ดูเพิ่มเติม »

นางาซากิ

มืองนางาซากิ เป็นเมืองเอกและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนางาซากิ บนเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น นางาซากิถูกก่อตั้งขึ้นโดยชาวโปรตุเกสในปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆเพื่อการประมง ซึ่งทำให้นางาซากิกลายเป็นศูนย์กลางอิทธิพลของชาวโปรตุเกสและชาวยุโรป ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 มีโบสถ์และศาสนสถานของศาสนาคริสต์มากมายในนางาซากิ ซึ่งศาสนสถานเหล่านี้ ได้ถูกขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก นอกเหนือไปจากนี้ ท่าเรือในนางาซากิ ยังเคยเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง และ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น นามของเมืองว่า "นางาซากิ" (長崎) มีความหมายว่า "แหลมที่ทอดยาว" ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง 9 สิงหาคม..

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและนางาซากิ · ดูเพิ่มเติม »

โชกุน

กุน เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการทหารแห่งญี่ปุ่นระหว่าง..

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและโชกุน · ดูเพิ่มเติม »

โอะเอะโยะ

โอะเอะโยะ เป็น มิได คนแรกของ รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ และมีศักดิ์เป็นหลานของ โอะดะ โนะบุนะงะ โอะเอะโยะ เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1573 เป็นบุตรสาวคนเล็กในบรรดา 3 คนของ อะซะอิ นะงะมะสะ จึงมีศักดิ์เป็นหลานของ โอะดะ โนะบุนะงะ เพราะแม่ของโอะเอะโยะคือ โออิจิ นั้นเป็นน้องสาวของโนะบุนะงะ โอะเอะโยะกับพี่สาวทั้งสองคือ โยะโดะ โดะโนะ และ โอะฮะซุ ต้องกำพร้าพ่อตั้งแต่เด็กโอะอิจิผู้เป็นแม่จึงพาทั้งสามมาอยู่กับโนะบุนะงะผู้เป็นลุง ต่อมาเมื่อโนะบุนะงะตายจากไปทั้งสามจึงมาอยู่กับ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ผู้ปกครองแผ่นดินคนต่อมาในฐานะลูกเลี้ยงแต่เธอไม่ถูกชะตากับฮิเดะโยะชิเพราะฮิเดะโยะชิทำให้แม่และพ่อเลี้ยงต้องตายและในเวลาต่อมาเธอได้แต่งงานกับญาติของเธอคือ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะคะซุ จนมีลูกสาว 1 คนแต่หลังจากนั้นฮิเดะคะซุ ก็ตายจากไปด้วยอาการป่วยระหว่างสงครามรุกรานเกาหลี ซึ่งก่อนหน้านั้นโอะเอะโยะได้เคยแต่งงานกับไดเมียวนามว่า ซะจิ คะซุนะริ ตามคำสั่งของโนะบุนะงะแต่ก็แยกจากกันไปหลังจากโนะบุนะงะได้ตายไป หลังจากฮิเดะคะซุตายไปโอะเอะโยะก็ได้แต่งงานครั้งที่ 3 กับ โทะกุงะวะ ฮิเดะทะดะ บุตรชายของ โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ และมีบุตรชาย 2 คนคือ อิเอะมิสึ และ ทะดะนะงะ โอะเอะโยะถึงแก่กรรมเมื่อปี ค.ศ. 1626 ขณะอายุได้ 53 ปี หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2116 หมวดหมู่:บุคคลในยุคเอะโดะ.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและโอะเอะโยะ · ดูเพิ่มเติม »

โอดะ โนบูนางะ

อดะ โนบุนางะ เป็นไดเมียว และหนึ่งในสามผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคเซงโงกุ เป็นหนึ่งในสามผู้รวบรวมญี่ปุ่นจากความแตกแยกในยุคเซงโงก.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและโอดะ โนบูนางะ · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ สึนาโยชิ

ทะกุงะวะ สึนะโยะชิ เป็น โชกุน คนที่ 5 แห่ง ตระกูลโทะกุงะวะ (ช่วงสมัย: พฤษภาคม ค.ศ. 1680 - 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1709) โทะกุงะวะ สึนะโยะชิ เกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและโทกูงาวะ สึนาโยชิ · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ อิเอยาซุ

ทกูงาวะ อิเอยาซุ คือผู้สถาปนาบะกุฟุ (รัฐบาลทหาร) ที่เมืองเอะโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) และเป็นโชกุนคนแรกจากตระกูลโทกูงาวะที่ปกครองประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่สิ้นสุด ศึกเซะกิงะฮะระและเริ่มต้นยุคเอะโดะ เมื่อปี..

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและโทกูงาวะ อิเอยาซุ · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ อิเอสึนะ

ทะกุงะวะ อิเอะสึนะ เป็น โชกุน คนที่ 4 แห่ง ตระกูลโทะกุงะวะ ในยุคสมัยของเขานี้เอง..

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและโทกูงาวะ อิเอสึนะ · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ ฮิเดตาดะ

ทะกุงะวะ ฮิเดะตะดะ เป็นโชกุนคนที่ 2 แห่ง ตระกูลโทะกุงะวะ โดยท่านเป็นบุตรชายคนที่ 3 ของ โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1579 หลังจากผู้เป็นบิดาได้ลงจากตำแหน่งโชกุนในปี ค.ศ. 1605 ท่านจึงขึ้นดำรงตำแหน่งสืบต่อมาขณะอายุได้เพียง 26 ปี ในสมัยของท่านตระกูลโทะกุงะวะสามารถขยายอำนาจออกไปได้อย่างกว้างขวาง และลงจากอำนาจในปี ค.ศ. 1623 ขณะอายุได้ 44 ปีแต่ก็ยังทรงอิทธิพลอยู่ก่อนจะที่จะเสียชีวิตลงในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1632 ขณะอายุได้ 53 ปี.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและโทกูงาวะ ฮิเดตาดะ · ดูเพิ่มเติม »

โทะกุงะวะ สึนะชิเงะ

ทะกุงะวะ สึนะชิเงะ (28 มิถุนายน 2187 – 29 ตุลาคม 2221) ไดเมียว หรือเจ้าแคว้นโคฟุคนที่ 3 เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ โทะกุงะวะ อิเอะมิสึ โชกุนลำดับที่ 3 แห่งรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะที่เกิดกับ ทะกะสึกะซะ ทะกะโกะ ผู้เป็น มิได หรือภรรยาเอกของอิเอะมิสึแต่เดิมสึนะชิเงะมีศักดิ์เป็นบุตรชายคนที่ 3 แต่เพราะ โทะกุงะวะ คะเมะมะสึ บุตรชายคนที่ 2 พี่ชายต่างมารดาของสึนะชิเงะถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์เขาจึงเป็นบุตรชายคนที่ 2 แทน สึนะชิเงะได้รับแต่งตั้งเป็นไดเมียวหรือเจ้าแคว้นโคฟุเมื่อ..

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและโทะกุงะวะ สึนะชิเงะ · ดูเพิ่มเติม »

ไดเมียว

ไดเมียว (แปลว่า มูลนาย) นั้นเป็นตำแหน่งเจ้าเมืองที่มีความสำคัญรองลงมาจากโชกุนและไดเมียวจากหลายตระกูลก็ได้เป็นโชกุนในเวลาต่อมา พวกตระกูลที่มีฐานะเป็นไดเมียวเรียกกันว่า โคตรตระกูล หมวดหมู่:ซะมุไร หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น หมวดหมู่:ไดเมียว.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและไดเมียว · ดูเพิ่มเติม »

เกียวโต (นคร)

แผนที่ ไดไดริ (แบบจำลอง) ของนครเฮอังเกียว เกียวโต, 1891 นักท่องเที่ยวที่วัดคิโยะมิซุ นครเกียวโต (ออกเสียง: เคียวโตะ) เป็นเมืองหลักของจังหวัดเกียวโต และเป็นอดีตเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจัดว่าเป็นศูนย์กลางของเกาะฮนชู นอกจากนี้ นครเกียวโตยังเป็นหนึ่งในสมาชิกของ กลุ่มเมืองใหญ่ "เคฮันชิง" และนครเกียวโต ยังจัดว่าเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 11 ของโลก ในปี..

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและเกียวโต (นคร) · ดูเพิ่มเติม »

12 สิงหาคม

วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันที่ 224 ของปี (วันที่ 225 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 141 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและ12 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

8 มิถุนายน

วันที่ 8 มิถุนายน เป็นวันที่ 159 ของปี (วันที่ 160 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 206 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: โทกูงาวะ อิเอมิตสึและ8 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อิเอะมิสึโทะกุงะวะ อิเอะมิสึ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »